หัวข้อ: การดูแลรักษายางรถยนต์ เริ่มหัวข้อโดย: toyotanon ที่ 13 ธันวาคม 2013 13:05:31 ด้วยหน้าที่การรับน้ำหนักของผู้ขับขี่และตัวรถยนต์ทั้งคัน ยางรถยนต์จึงมีผลกับความปลอดภัยอย่างมาก วันนี้โตโยต้านนทบุรี จะบอกถึงวิธีการดูแลรักษายางรถยนต์มาบอก
(http://www.toyotanon.com/article-images/toyota_2013-02-27-14-44-33.jpg) ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อประสิทธิภาพของยางก็คือ ความดันลมยาง ถ้าความดันลมภายในยาง มากหรือน้อยกว่าที่กำหนด จะมีผลทำให้อายุการใช้งานของยางสั้นลง เช่น ถ้าความดัน ลมยางมากเกินไป จะมีผลทำให้ดอกยางสึก โดยเฉพาะบริเวณตอนกลางของหน้ายาง เพราะโครงยางจะเบ่งตัวเต็มที่ อาจทำให้ยางระเบิดได้ง่าย หากรับแรงกระแทกรุนแรง หรือของมีคม แต่ถ้าความดันลมยางน้อยเกินไปก็จะมีผลทำให้ไหล่ยางด้านข้างทั้งซ้าย และขวาสึก ส่วนตอนกลางของยางจะยุบตัวเข้าไปหรือที่เรามักเรียกว่า ยางแบน การรับน้ำหนัก ถ้ารถมีน้ำหนักบรรทุกเกินอัตราส่งผลให้ยางเกิดความร้อนสูงสึกหรอเร็ว แล้วถ้าล้อใดล้อหนึ่งรับน้ำหนักมากกว่าล้ออื่น จะทำให้ล้อนั้น ๆ สึกหรอเร็วกว่าปกติ นอกจากนี้ยังมีเรื่องของสภาพถนนที่ขรุขระ สภาพรถเกี่ยวกับศูนย์ล้อ เช่น มุมโทอิน*, มุมโท-เอาต์* และมุมแคมเบอร์** ของรถยนต์ถ้าไม่ถูกต้องตามกำหนดของรถแต่ละรุ่น ก็จะทำให้ยางสึกหรอเร็วและที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ วิธีการขับขี่ของผู้ใช้รถยนต์ การขับรถด้วยความเร็วสูง หรือการหยุดที่ความเร็วสูง รวมทั้งการเบรกและออกตัว อย่างรุนแรงก็มีผลทำให้ยางสึกหรอเร็วยิ่งขึ้นอีก การดูแลรักษา สามารถทำได้โดยหมั่นเช็กลมยางอยู่เสมออย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ครั้ง และหลีกเลี่ยงถนนหนทางที่ขรุขระ หลีกเลี่ยงการขับชนฟุตบาท นอกจากนี้ขณะออกรถไม่ควรเร่งเครื่องยนต์ และออกตัวอย่างรวดเร็ว เพราะจะทำให้ยางสึกเร็วกว่าปกติและไม่ควรจอดรถชิดจนติดกับฟุตบาท เพราะอาจทำให้โครงยางชำรุด ประการสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ ถ้ายางมีแผล และเป็นแผลชำรุดที่มีขนาดใหญ่เกินกว่าที่จะซ่อมแซมได้ควรเปลี่ยนยางเส้นใหม่ ปัจจัยที่มีผลต่อการสึกหรอของยาง ยางรถยนต์เป็นชิ้นส่วนสำคัญที่ทำให้รถยนต์เคลื่อนที่ไปได้ และยางรถยนต์ยังเป็นชิ้นส่วนเดียวของรถยนต์ ที่สัมผัสกับพื้นถนน ดังนั้น เมื่อมีการใช้งานไปนานๆ ยางก็ย่อมเกิดการสึกหรอ หากแต่การสึกหรอของดอกยาง จากการใช้งานของผู้ขับขี่แต่ละคนจะแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิธีการใช้งาน และการดูแลรักษา เป็นสำคัญ นอกจากนี้ อาจขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ อีกด้วย ซึ่งปัจจัยหลักที่มีผลต่อการสึกหรอมีดังนี้ ความดันลมยาง การเติมลมยางอ่อนกว่ามาตรฐาน ทำให้อายุยางสั้นลง บริเวณไหล่ยางจะเกิดความร้อนสูงและสึกหรอเร็วกว่าส่วนอื่น ซึ่งอาจทำให้เนื้อยางไหม้ และโครงสร้างยางแยกตัวออกจากกัน อันนำไปสู่การบวมล่อนและระเบิดของยาง นอกจากนี้ อาจทำให้ โครงยางบริเวณแก้มยางฉีกขาดหรือหักได้ และยังเป็นการสิ้นเปลืองน้ำมันอีกด้วย การเติมลมยางมากเกินไป ไม่เป็นผลดีเช่นกัน เนื่องจากพื้นที่สัมผัสของหน้ายางกับพื้นถนนลดลง อาจทำให้เกิดการลื่นไถลได้ง่าย และโครงยางอาจระเบิดได้ง่ายเมื่อได้รับแรงกระแทก หรือถูกตำเนื่องจากโครงยางเบ่งตัวเต็มที่ เกิดการยืดหยุ่นตัวได้น้อย อายุยางก็จะลดน้อยลง เนื่องจากดอกยางจะสึกบริเวณตอนกลางมากกว่าส่วนอื่น และทำให้ความนุ่มนวลในขณะขับขี่ลดลงอีกด้วย น้ำหนักบรรทุก การบรรทุกน้ำหนักมากเกินไป จะทำให้มีการบิดตัวบริเวณหน้ายางที่สัมผัสพื้นผิวถนนมาก ทำให้เกิดความร้อนได้ง่าย เป็นผลให้มีการสึกหรอ ของเนื้อยางอย่างรวดเร็ว อายุยางก็จะสั้นลง ความเร็ว ขณะที่รถวิ่งด้วยความเร็วสูง จะมีแรงเสียดทานและความร้อนที่เกิดขึ้นตามมาด้วย ซึ่งจะมีผลต่อความต้านทาน ต่อการสึกหรอ ทำให้อายุของยางลดลงตามไปด้วย การเบรกและการออกตัว ในขณะที่รถยนต์วิ่งอยู่บนถนนจะเกิดแรงเฉื่อยซึ่งมีค่าสูงกว่าความเร็ว ดังนั้น เมื่อเบรกจนล้อหยุดหมุนแล้ว แรงเฉื่อยของตัวรถจะดันให้ล้อลื่นไถลไปกับพื้นถนน ทำให้ยางเกิดการสึกหรอ ซึ่งจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับความเร็วและระยะในการเบรกเป็นสำคัญ ส่วนการออกตัวอย่างรุนแรง ทำให้ล้อหมุนฟรี หน้ายางจะเสียดสีกับพื้นถนนอย่างหนัก ทำให้ยางสึกหรอเร็วขึ้น สภาพรถยนต์ เช่น ช่วงล่างและศูนย์ล้อ มีผลอย่างมากกับการสึกหรอที่รวดเร็ว หากระบบศูนย์ล้อผิดพลาดไปจากสเปคของรถ จะทำให้เกิดแรงเสียดทานและลื่นไถลที่หน้ายางมากกว่าปกติ สภาพผิวถนน ผิวถนนยิ่งราบเรียบมาก ยางก็จะยิ่งสึกหรอช้า ใช้งานได้นานกว่าการขับรถบนถนนที่ขรุขระ เพราะความต้านทาน ต่อการหมุนบนถนนเรียบมีน้อยกว่า ยางจึงเสียดสีกับผิวถนนเพื่อเคลื่อนที่ไปข้างหน้าด้วยแรงที่น้อยกว่า นอกจากนี้ ลักษณะเส้นทางก็มีผลเช่นกัน การขับขี่บนทางตรงจะเกิดการสึกหรอช้ากว่าการขับขึ้นเขาหรือขับบนถนนที่คดเคี้ยว สภาพภูมิอากาศ ยางรถยนต์มีส่วนผสมหลักเป็นยางธรรมชาติ จึงทนต่ออุณหภูมิสูงได้น้อยกว่ายางสังเคราะห์ ดังนั้น หากยางเกิดความร้อนมากขึ้นจากการใช้งาน ก็จะยิ่งส่งผลต่อการสึกหรอที่รวดเร็วขึ้น ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้การสึกหรอเกิดขึ้นช้าที่สุด สม่ำเสมอใกล้เคียงกันในทุกตำแหน่งล้อ และให้ประสิทธิภาพของยางแต่ละเส้นใกล้เคียงกันมากที่สุด คือ ควบคุมปัจจัยอันเป็นสาเหตุหลัก ของการสึกหรอของยาง โดย... ตรวจเช็คและปรับแต่งความดันลมยางให้อยู่ในค่ามาตรฐานด้วยวิธีการที่ถูกต้องเป็นประจำในขณะที่ยางยังเย็นอยู่หรือก่อนการใช้งาน - ไม่บรรทุกน้ำหนักมากเกินไป หากเป็นการใช้งานเพื่อบรรทุกหนัก ควรเลือกใช้ยางที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ - ไม่ควรขับขี่ด้วยความเร็วสูงมากเกินไป เพื่อไม่ให้เกิดความร้อนในยางสูง อันเป็นสาเหตุให้ยางสึกหรอเร็วขึ้น - ใช้ความเร็วในการขับขี่ที่เหมาะสม และหลีกเลี่ยงการเบรกหยุดรถอย่างกระทันหัน หรือการออกตัวอย่างรุนแรง - ดูแลรักษาศูนย์ล้อและระบบช่วงล่างอย่างสม่ำเสมอ - หลีกเลี่ยงถนนที่มีสภาพทุรกันดาร ขรุขระ มีหลุมบ่อ หากต้องขับขี่บนถนนดังกล่าว ควรเลือกใช้ดอกยางให้ถูกประเภทและลดความเร็วในการขับขี่ลง อายุการใช้งานของยาง โดยปกติอายุของยางนั้นจะเริ่มนับตั้งแต่ถูกนำไปใช้งาน คือ หลังจากที่ยางประกอบเข้ากับกระทะล้อ และติดตั้งเข้ากับรถยนต์แล้วนำไปวิ่งใช้งาน ซึ่งยางรถยนต์ทุกเส้นจะได้รับการรับประกันคุณภาพจากบริษัทผู้ผลิตแต่ละราย โดยสามารถศึกษารายละเอียดและเงื่อนไขได้จากคู่มือการรับประกันคุณภาพ อายุของยางรถยนต์ ขึ้นอยู่กับการใช้งานของคุณเป็นสำคัญ เพื่อให้สามารถใช้งานได้ยาวนานและปลอดภัย มีข้อแนะนำในการบำรุงรักษายางที่ถูกต้องดังต่อไปนี้ - ตรวจเช็คลมยางอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง โดยเติมลมยางตามมาตรฐาน ที่ระบุในคู่มือรถยนต์ - บรรทุกน้ำหนักให้เหมาะสม ไม่มากเกินอัตราที่กำหนด เพื่อป้องกันการบวมล่อนและ ระเบิดของโครงยาง - ทำการสลับยางและตรวจเช็คศูนย์ล้อ ทุก ๆ ระยะทาง 10,000 กม. หรือตามคำแนะนำ ของผู้ผลิตรถยนต์ - ขับขี่อย่างระมัดระวังบนถนนขรุขระ และหลีกเลี่ยงสิ่งมีคมต่าง ๆ รวมทั้งน้ำมันหรือสารเคมี ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยและช่วยยืดอายุการใช้งานให้ยาวนาน จึงควรเพิ่มการดูแลเอาใจใส่ยางรถยนต์ มากยิ่งขึ้น และเลือกใช้ยางให้ถูกต้องเหมาะสมด้วย หมายเหตุ : 1.มุมโท หมายถึง แนวที่กำหนดให้ล้อคู่หน้าพุ่งตรงไปข้างหน้าจะต้องขนานกันตลอดเวลา ถ้าด้านหน้าแยกออกจากกัน เรียกว่า โทเอาต์ ถ้าหุบเข้าหากันเรียกว่า โทอิน 2.มุมแคมเบอร์ หมายถึง มุมที่หน้ายางด้านล่างที่สัมผัสกับพื้นดิน ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างเส้นตั้งฉากกั้บเส้นสลักเพลาล้อหน้าถ้ามุมแคมเบอร์เป็นบวก ระยะห่างของหน้ายางตอนล่างที่สัมผัสกับผิวถนนจะสั้นกว่าระยะห่างของหน้ายางตอนบน หมายถึง หน้ายางตอนล่างหุบเข้าตอนบนถ่างออก ถ้ามุมแคมเบอร์เป็นลบ ผลของระยะห่างหน้ายางก็จะออกมาในทางตรงกันข้าม แคมเบอร์มีผลต่อการขับและการยึดเกาะถนน ข้อมูลจาก การดูแลรักษายางรถยนต์ (http://www.toyotanon.com/article_detail.php?article_id=38) http://www.toyotanon.com/ (http://www.toyotanon.com/) |