AE. Racing Club

AE Racing Club - FreeStyle => Free Style - AE Racing Club => ข้อความที่เริ่มโดย: jabberwock ที่ 09 ธันวาคม 2014 11:02:52



หัวข้อ: วันนี้ซวยครับ
เริ่มหัวข้อโดย: jabberwock ที่ 09 ธันวาคม 2014 11:02:52
ขับออกมาจากปากซอยบ้านกำลังจะเลี้ยวออกเจอตะกวดตั้งด่านอยุ่มันมองแบบไม่กระพริบตาเลย คือผมไม่ได้รัดเข็มขัดครับ มันก็เรียกทีนี้มันก็บอกขอดูใบขับขี่ผมก็ให้มันดูพอมันเอาไปเท่านั้นละครับ ไม่คืนเลยสอบถามน้าๆหน่อยครับว่ามันยึดใบขับขี่เราได้หรอครับ แล้วงี้ผมจะใช้รถใช้ถนนได้หรอไม่มีใยขับขี่ ปล.ผมว่าไม่รัดเข็มขัดนี่น่าจะเตือนกันนะแล้วตรงนั้นมันเปนทางเลี้ยวออกจากซอยเล็กๆอย่างน้อยก็น่าจะตักเตือนไม่ใช่ทำแบบนี้หงุดหงิดมากครับ  :emof


หัวข้อ: Re: วันนี้ซวยครับ
เริ่มหัวข้อโดย: Mouse Pl ที่ 02 กุมภาพันธ์ 2015 15:36:12
ผมก็เคยโดนมาเหมือนกัน ไม่เตือน เขียนใบสั่ง ไปถึง สน.แค่ 200 กะจะเสียเหมือนกันรำคาญ นึกได้เสียศักดิ์ศรี ตัดสินใจหาเพื่อนเลยไม่ต้องเสียซักสะตางค์แดงเดี่ยว


หัวข้อ: Re: วันนี้ซวยครับ
เริ่มหัวข้อโดย: jabberwock ที่ 02 กุมภาพันธ์ 2015 20:08:04
ผมก็เคยโดนมาเหมือนกัน ไม่เตือน เขียนใบสั่ง ไปถึง สน.แค่ 200 กะจะเสียเหมือนกันรำคาญ นึกได้เสียศักดิ์ศรี ตัดสินใจหาเพื่อนเลยไม่ต้องเสียซักสะตางค์แดงเดี่ยว
ผมให้คนรู้จักเอาให้เสีย 100 ครับ ถือว่าให้เขาช่วยไปเอาให้ที่ สน -*- ปวดหัวคับเจองี้


หัวข้อ: Re: วันนี้ซวยครับ
เริ่มหัวข้อโดย: porn ที่ 04 กุมภาพันธ์ 2015 12:14:56
ผมเคยโดนเหมือนกันคับพอกับไปเอาหายอีกคับผมต้องไปทำไหมตำรวจไม่รับผิดชอบเลย เป็นไปได้ให้เขียนใบสั่งดีกว่าคับยังมีลักถานคับ


หัวข้อ: Re: วันนี้ซวยครับ
เริ่มหัวข้อโดย: plew_ch ที่ 04 กุมภาพันธ์ 2015 12:18:29
ผิดเต็มฯ เสีย 200 ไม่มีเตือน


หัวข้อ: Re: วันนี้ซวยครับ
เริ่มหัวข้อโดย: ne_dnet ที่ 04 กุมภาพันธ์ 2015 14:15:43
ไม่คาดเข็มขัดผิดอยู่แล้วครับ เตือนไม่เตือนอยู่ที่ดุลพินิจเจ้าพนักงาน แต่การยึดใบขับขี่แจ้งกลับได้นะครับ


หัวข้อ: Re: วันนี้ซวยครับ
เริ่มหัวข้อโดย: Hunter_JIK.CZ48 ที่ 04 กุมภาพันธ์ 2015 14:41:59
คุณผิดที่ไม่คาดเข็มขัดเองนิครับก็ไปเสียค่าปรับก็จบแล้วนิครับ


หัวข้อ: Re: วันนี้ซวยครับ
เริ่มหัวข้อโดย: jabberwock ที่ 04 กุมภาพันธ์ 2015 21:42:44
ไม่คาดเข็มขัดผิดอยู่แล้วครับ เตือนไม่เตือนอยู่ที่ดุลพินิจเจ้าพนักงาน แต่การยึดใบขับขี่แจ้งกลับได้นะครับ
คุณผิดที่ไม่คาดเข็มขัดเองนิครับก็ไปเสียค่าปรับก็จบแล้วนิครับ
  ครับทราบว่าผิดครับแต่ยึดใบขับขี่นี่มันไม่เกินไปหรอครับใบสั่งอย่างเดียวก็น่าจะพอ


หัวข้อ: Re: วันนี้ซวยครับ
เริ่มหัวข้อโดย: Hunter_JIK.CZ48 ที่ 05 กุมภาพันธ์ 2015 08:38:17
ไม่คาดเข็มขัดผิดอยู่แล้วครับ เตือนไม่เตือนอยู่ที่ดุลพินิจเจ้าพนักงาน แต่การยึดใบขับขี่แจ้งกลับได้นะครับ
คุณผิดที่ไม่คาดเข็มขัดเองนิครับก็ไปเสียค่าปรับก็จบแล้วนิครับ
  ครับทราบว่าผิดครับแต่ยึดใบขับขี่นี่มันไม่เกินไปหรอครับใบสั่งอย่างเดียวก็น่าจะพอ

มันก็ยึดมาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้วครับ


หัวข้อ: Re: วันนี้ซวยครับ
เริ่มหัวข้อโดย: bboy357 ที่ 06 กุมภาพันธ์ 2015 10:16:57
กฎหมายก็บอกว่ายึดได้นะครับ  เคยอ่านเจอมา  ไอ้ที่บอกว่าเป็นทรัพย์สินส่วนตัวตำรวจยึดไม่ได้ ลองไปแจ้งความสิครับ จะชนะไหม   เลยมีคนก็อบกฎหมายมาแปะ  จึงรู้ว่ามันมีช่องทางให้ตำรวจยึดไปขับขี่ได้เหมือนกันคับ  เจอแบบนี้ก็เซ็งเหมือนกัน  ถ้าขับรถไม่มีใบขับขี่ เจอด่านตรวจใช้ใบสั่งแสดงแทนได้ครับ ใช้ได้แทนใบขับชี่เจ็ดวันตามกฎหมาย จากนั้นก็ตามไปเอาคืนซะ ที่ สน.  ( เอาไปขับขี่นะครับ )


หัวข้อ: Re: วันนี้ซวยครับ
เริ่มหัวข้อโดย: suebpong ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2015 00:03:45

ใบขับขี่เป็นทรัพย์สิน ตำรวจมีอำนาจยึดหรือไม่

ปกติเมื่อทำผิดกฎจราจร ตำรวจจราจรมักยึดใบขับขี่แล้วให้ไปจ่ายค่าปรับที่สถานีตำรวจ แต่ก็มีความเห็นว่า ตำรวจไม่มีอำนาจยึด เพราะใบขับขี่เป็นทรัพย์สิน การยึดใบขับขี่จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ หากต่อไปตำรวจยึดใบขับขี่ก็ให้แจ้งความกลับว่า ตำรวจลักทรัพย์ เมื่อแรกเห็นความเห็นนี้ ก็น่าสนใจอย่างยิ่งว่า เป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่ จึงเป็นมูลเหตุให้ดำเนินการค้นคว้าว่า ตำรวจมีอำนาจยึดใบขับขี่หรือไม่

ใบขับขี่เป็นทรัพย์สิน ปกติคนอื่นเอาทรัพย์สินเราไปโดยไม่มีสิทธิ ย่อมเป็นความผิดในฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๓๔๔ ได้ ซึ่งวางหลักว่า ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่นไป ย่อมมีความผิดฐานลักทรัพย์ โดยการเอาไปในที่นี้ต้องเป็นการเอาไปโดยไม่มีสิทธิหรือไม่มีอำนาจตามกฎหมาย ดังนั้น หากผู้เอาไปซึ่งทรัพย์สินมีสิทธิหรืออำนจตามกฎหมาย ผู้เอาไปยอมไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์ เช่น ลูกหนี้ที่แพ้คดีแพ่งในศาล และไม่ยอมชำระเงินตามคำพิพากษา ต่อมาศาลออกคำสั่งยึดทรัพย์เพื่อขายทอดตลาด แม้ลูกหนี้เป็นเจ้าของทรัพย์สิน แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีก็มีอำนาจตามกฎหมายที่จะยึดทรัพย์ได้ เป็นต้น ซึ่งกรณีนี้ก็จะไปแจ้งความว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีลักทรัพย์ก็ไม่ได้

แต่น่าคิดที่ว่า ตำรวจจราจรมีอำนาจในการยึดใบขับขี่หรือไม่ ซึ่งพิจารณาเป็นลำดับได้ดังนี้

 

ประการแรก ในระบบกฎหมายไทย เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ย่อมเป็นผู้ที่มีอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ในการจำหน่าย จ่าย โอน ทร้พย์สิน รวมถึงทำลายทรัพย์สินนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๓๖ บัญญัติไว้ว่า

“มาตรา ๑๓๓๖  ภายในบังคับแห่งกฎหมาย เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอยและจำหน่ายทรัพย์สินของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น กับทั้งมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย”

ประการที่สอง อำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ที่ว่านี้ หากมีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ก็ต้องเป็นไปตามกฎหมายนั้น ๆ เพราะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๓๓๖ นั้น ขึ้นต้นด้วยถ้อยคำว่า "ภายในบังคับแห่งกฎหมาย เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอย จำหน่ายทรัพย์สิน ...." ซึ่งหมายความว่า หากมีกฎหมายอื่นกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น กฎหมายนั้น ๆ ย่อมริดรอนสิทธิหรืออำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ของเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้

ตัวอย่างเช่น หากเราเป็นเจ้าของที่มีกรรมสิทธิ์ในดินสอหนึ่งแท่ง วันหนึ่งเราอาจหักดินสอ เช่นนี้ เราก็สามารถทำได้ เพราะเราเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ย่อมมีสิทธิในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ อีกทั้งไม่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น แต่ในกรณีที่เราเป็นเจ้าของต้นไม้สักทองที่เราปลูกขึ้นมาเองกับมือบนที่ดินที่เราเป็นเจ้าของ เมื่อเราต้องการตัดต้นไม้สักทองที่เราปลูก ตามปกติด้วยอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์เราย่อมมีสิทธิตัดได้ โดยไม่ต้องไปขออนุญาตใคร เพราะเราเป็นผู้ทรงกรรมสิทธิ์ แต่ในกรณีนี้หาทำได้โดยพลการไม่ เพราะมีกฎหมายเฉพาะ คือ พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.๒๔๘๔ มาตรา ๗ ประกอบมาตรา ๖ และมาตรา ๔  กำหนดไว้ว่า ไม่ว่าไม้สักทองจะขึ้นในที่ดินของบุคคลใด เวลาจะตัดจะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ หากไม่แจ้งย่อมมีความผิด

ตัวอย่างที่ยกมานี้ เพื่อแสดงว่า กรรมสิทธิ์ของเราที่มีอยู่ อาจมีกฎหมายกำหนดให้คนอื่นมีสิทธิในกรรมสิทธิ์นั้นได้หรือเข้ามาเกี่ยวข้องกับกรรมสิทธิ์นั้นได้ ทั้งนี้ ต้องอาศัยอำนาจแห่งกฎหมาย

 

ประการที่สาม ตำรวจจราจรจะมีอำนาจยึดใบขับขี่หรือไม่ จากที่กล่าวมาทั้ง ๒ ประการข้างต้น จะเห็นว่า ใบขับขี่เป็นกรรมสิทธิ์ของเรา คนอื่นจะมายึดมายุ่งโดยไม่มีอำนาจตามกฎหมายไม่ได้

ดังนั้น หากตำรวจจะยึดใบขับขี่ในกรณีที่เราทำผิดกฎจราจรได้ ก็ต้องค้นหาว่าตำรวจอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติใดแห่งกฎหมายที่จะยึดใบขับขี่ ทั้งนี้เพราะหลักกฎหมายทั่วไปมีว่า “เจ้าหน้าที่ของรัฐจะใช้อำนาจกระทบสิทธิและเสรีภาพของบุคคลไม่ได้ เว้นแต่จะอาศัยอำนาจที่กฎหมายบัญญัติไว้” ซึ่งหากไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้ ตำรวจก็จะยึดใบขับขี่ไม่ได้ หากยึดไปโดยไม่มีกฎหมายให้อำนาจก็อาจจะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ได้

อย่างไรก็ดี เมื่อค้นคว้าตัวบทกฎหมายก็พบว่า พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.๒๕๒๒ บัญญัติไว้ว่า

“มาตรา ๑๔๐ เมื่อเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่พบว่าผู้ขับขี่ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอันเกี่ยวกับรถนั้นๆ จะว่ากล่าว ตักเตือนผู้ขับขี่ หรือออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่ชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบก็ได้ ในกรณีที่ไม่พบตัวผู้ขับขี่ก็ให้ติดหรือผูกใบสั่งไว้ที่รถที่ผู้ขับขี่เห็นได้ง่าย

สำหรับความผิดที่กำหนดไว้ในมาตรา ๑๕๗/๑ มาตรา ๑๕๙ มาตรา ๑๖๐ มาตรา ๑๖๐ ทวิ และมาตรา ๑๖๐ ตรี ห้ามมิให้ว่ากล่าวตักเตือนหรือทำการเปรียบเทียบ

ในการออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่ชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบตามวรรคหนึ่ง เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่จะเรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่ไว้เป็นการชั่วคราวก็ได้ แต่ต้องออกใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่ให้แก่ผู้ขับขี่ไว้ และเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องรีบนำใบอนุญาตขับขี่ที่เรียกเก็บไว้ไปส่งมอบพนักงานสอบสวนภายในแปดชั่วโมง นับแต่เวลาที่ออกใบสั่ง

ใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่ที่ออกให้ตามวรรคสามให้ใช้แทนใบอนุญาตขับขี่ได้เป็นการชั่วคราวไม่เกินเจ็ดวัน เมื่อเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือพนักงานสอบสวนได้ว่ากล่าวตักเตือนหรือทำการเปรียบเทียบปรับและผู้ขับขี่ได้ชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบแล้ว ให้คืนใบอนุญาตขับขี่ทันที

ในกรณีเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบสั่งแต่ไม่พบตัวผู้ขับขี่ ให้สันนิษฐานว่าเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถเป็นผู้กระทำผิดดังกล่าว เว้นแต่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้อื่นเป็นผู้ขับขี่

การกำหนดจำนวนค่าปรับตามที่เปรียบเทียบ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนด

ใบสั่งและใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่ ให้ทำตามแบบที่เจ้าพนักงานจราจรกำหนด”

          ดังนั้น จะเห็นได้ว่า จากบทบัญญัติของมาตรา ๑๔๐ นี้ ได้ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานซึ่งหมายถึง ตำรวจจราจรที่จะยึดใบอนุญาตขับขี่ได้เมื่อมีการฝ่าฝืนกฎจราจร จึงทำให้แม้ผู้เป็นเจ้าของใบขับขี่มีอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๓๓๖ แต่ตำรวจจราจรก็มีอำนาจตามกฎหมายเฉพาะที่จะยึดใบขับขี่ได้ เช่นนี้แล้วเมื่อตำรวจจราจรมีอำนาจตามกฎหมายในการยึดใบขี่ การที่ตำรวจจราจรเอาใบขับขี่ของเราไป เราก็จะไปแจ้งความว่าตำรวจมีความผิดฐานลักทรัพย์ไม่ได้ เพราะการเอาไปของตำรวจเป็นการเอาไปซึ่งทรัพย์สินโดยมีอำนาจตามกฎหมาย

 

ปล. ประเด็นปัญหาด้านอำนาจของตำรวจจราจรที่น่าสนใจในเรื่องใกล้เคียงกับเรื่องการยึดใบขับขี่ คือ กรณีตำรวจยึดกุญแจรถของผู้ขับรถผิดกฎจราจร โดยประเด็นปัญหามีว่า ตำรวจมีอำนาจยึดกุญแจรถหรือไม่ เพราะเท่าที่สำรวจตรวจตรากฎหมายดู ยังไม่เห็นว่ามีกฎหมายใดให้อำนาจตำรวจในเรื่องนี้ไว้ ดังนั้น หากตำรวจยึดกุญแจรถเราไป เราต้องถามตำรวจโดยถ้อยคำว่า “ตำรวจครับ/คะ ไม่ทราบว่าอาศัยอำนาจตามกฎหมายเรื่องใด มาตราใด ในการยึดกุญแจครับ/คะ” หากตำรวจตอบไม่ได้ ก็มีแน้วโน้มว่าเราจะแจ้งความว่าตำรวจลักทรัพย์ และอาจเพิ่มข้อหาให้ตำรวจได้อีกว่า เป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบได้
http://www.vcharkarn.com/vblog/39697


หัวข้อ: Re: วันนี้ซวยครับ
เริ่มหัวข้อโดย: jabberwock ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2015 21:09:13

ใบขับขี่เป็นทรัพย์สิน ตำรวจมีอำนาจยึดหรือไม่

ปกติเมื่อทำผิดกฎจราจร ตำรวจจราจรมักยึดใบขับขี่แล้วให้ไปจ่ายค่าปรับที่สถานีตำรวจ แต่ก็มีความเห็นว่า ตำรวจไม่มีอำนาจยึด เพราะใบขับขี่เป็นทรัพย์สิน การยึดใบขับขี่จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ หากต่อไปตำรวจยึดใบขับขี่ก็ให้แจ้งความกลับว่า ตำรวจลักทรัพย์ เมื่อแรกเห็นความเห็นนี้ ก็น่าสนใจอย่างยิ่งว่า เป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่ จึงเป็นมูลเหตุให้ดำเนินการค้นคว้าว่า ตำรวจมีอำนาจยึดใบขับขี่หรือไม่

ใบขับขี่เป็นทรัพย์สิน ปกติคนอื่นเอาทรัพย์สินเราไปโดยไม่มีสิทธิ ย่อมเป็นความผิดในฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๓๔๔ ได้ ซึ่งวางหลักว่า ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่นไป ย่อมมีความผิดฐานลักทรัพย์ โดยการเอาไปในที่นี้ต้องเป็นการเอาไปโดยไม่มีสิทธิหรือไม่มีอำนาจตามกฎหมาย ดังนั้น หากผู้เอาไปซึ่งทรัพย์สินมีสิทธิหรืออำนจตามกฎหมาย ผู้เอาไปยอมไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์ เช่น ลูกหนี้ที่แพ้คดีแพ่งในศาล และไม่ยอมชำระเงินตามคำพิพากษา ต่อมาศาลออกคำสั่งยึดทรัพย์เพื่อขายทอดตลาด แม้ลูกหนี้เป็นเจ้าของทรัพย์สิน แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีก็มีอำนาจตามกฎหมายที่จะยึดทรัพย์ได้ เป็นต้น ซึ่งกรณีนี้ก็จะไปแจ้งความว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีลักทรัพย์ก็ไม่ได้

แต่น่าคิดที่ว่า ตำรวจจราจรมีอำนาจในการยึดใบขับขี่หรือไม่ ซึ่งพิจารณาเป็นลำดับได้ดังนี้

 

ประการแรก ในระบบกฎหมายไทย เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ย่อมเป็นผู้ที่มีอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ในการจำหน่าย จ่าย โอน ทร้พย์สิน รวมถึงทำลายทรัพย์สินนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๓๖ บัญญัติไว้ว่า

“มาตรา ๑๓๓๖  ภายในบังคับแห่งกฎหมาย เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอยและจำหน่ายทรัพย์สินของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น กับทั้งมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย”

ประการที่สอง อำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ที่ว่านี้ หากมีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ก็ต้องเป็นไปตามกฎหมายนั้น ๆ เพราะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๓๓๖ นั้น ขึ้นต้นด้วยถ้อยคำว่า "ภายในบังคับแห่งกฎหมาย เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอย จำหน่ายทรัพย์สิน ...." ซึ่งหมายความว่า หากมีกฎหมายอื่นกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น กฎหมายนั้น ๆ ย่อมริดรอนสิทธิหรืออำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ของเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้

ตัวอย่างเช่น หากเราเป็นเจ้าของที่มีกรรมสิทธิ์ในดินสอหนึ่งแท่ง วันหนึ่งเราอาจหักดินสอ เช่นนี้ เราก็สามารถทำได้ เพราะเราเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ย่อมมีสิทธิในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ อีกทั้งไม่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น แต่ในกรณีที่เราเป็นเจ้าของต้นไม้สักทองที่เราปลูกขึ้นมาเองกับมือบนที่ดินที่เราเป็นเจ้าของ เมื่อเราต้องการตัดต้นไม้สักทองที่เราปลูก ตามปกติด้วยอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์เราย่อมมีสิทธิตัดได้ โดยไม่ต้องไปขออนุญาตใคร เพราะเราเป็นผู้ทรงกรรมสิทธิ์ แต่ในกรณีนี้หาทำได้โดยพลการไม่ เพราะมีกฎหมายเฉพาะ คือ พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.๒๔๘๔ มาตรา ๗ ประกอบมาตรา ๖ และมาตรา ๔  กำหนดไว้ว่า ไม่ว่าไม้สักทองจะขึ้นในที่ดินของบุคคลใด เวลาจะตัดจะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ หากไม่แจ้งย่อมมีความผิด

ตัวอย่างที่ยกมานี้ เพื่อแสดงว่า กรรมสิทธิ์ของเราที่มีอยู่ อาจมีกฎหมายกำหนดให้คนอื่นมีสิทธิในกรรมสิทธิ์นั้นได้หรือเข้ามาเกี่ยวข้องกับกรรมสิทธิ์นั้นได้ ทั้งนี้ ต้องอาศัยอำนาจแห่งกฎหมาย

 

ประการที่สาม ตำรวจจราจรจะมีอำนาจยึดใบขับขี่หรือไม่ จากที่กล่าวมาทั้ง ๒ ประการข้างต้น จะเห็นว่า ใบขับขี่เป็นกรรมสิทธิ์ของเรา คนอื่นจะมายึดมายุ่งโดยไม่มีอำนาจตามกฎหมายไม่ได้

ดังนั้น หากตำรวจจะยึดใบขับขี่ในกรณีที่เราทำผิดกฎจราจรได้ ก็ต้องค้นหาว่าตำรวจอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติใดแห่งกฎหมายที่จะยึดใบขับขี่ ทั้งนี้เพราะหลักกฎหมายทั่วไปมีว่า “เจ้าหน้าที่ของรัฐจะใช้อำนาจกระทบสิทธิและเสรีภาพของบุคคลไม่ได้ เว้นแต่จะอาศัยอำนาจที่กฎหมายบัญญัติไว้” ซึ่งหากไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้ ตำรวจก็จะยึดใบขับขี่ไม่ได้ หากยึดไปโดยไม่มีกฎหมายให้อำนาจก็อาจจะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ได้

อย่างไรก็ดี เมื่อค้นคว้าตัวบทกฎหมายก็พบว่า พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.๒๕๒๒ บัญญัติไว้ว่า

“มาตรา ๑๔๐ เมื่อเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่พบว่าผู้ขับขี่ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอันเกี่ยวกับรถนั้นๆ จะว่ากล่าว ตักเตือนผู้ขับขี่ หรือออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่ชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบก็ได้ ในกรณีที่ไม่พบตัวผู้ขับขี่ก็ให้ติดหรือผูกใบสั่งไว้ที่รถที่ผู้ขับขี่เห็นได้ง่าย

สำหรับความผิดที่กำหนดไว้ในมาตรา ๑๕๗/๑ มาตรา ๑๕๙ มาตรา ๑๖๐ มาตรา ๑๖๐ ทวิ และมาตรา ๑๖๐ ตรี ห้ามมิให้ว่ากล่าวตักเตือนหรือทำการเปรียบเทียบ

ในการออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่ชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบตามวรรคหนึ่ง เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่จะเรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่ไว้เป็นการชั่วคราวก็ได้ แต่ต้องออกใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่ให้แก่ผู้ขับขี่ไว้ และเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องรีบนำใบอนุญาตขับขี่ที่เรียกเก็บไว้ไปส่งมอบพนักงานสอบสวนภายในแปดชั่วโมง นับแต่เวลาที่ออกใบสั่ง

ใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่ที่ออกให้ตามวรรคสามให้ใช้แทนใบอนุญาตขับขี่ได้เป็นการชั่วคราวไม่เกินเจ็ดวัน เมื่อเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือพนักงานสอบสวนได้ว่ากล่าวตักเตือนหรือทำการเปรียบเทียบปรับและผู้ขับขี่ได้ชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบแล้ว ให้คืนใบอนุญาตขับขี่ทันที

ในกรณีเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบสั่งแต่ไม่พบตัวผู้ขับขี่ ให้สันนิษฐานว่าเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถเป็นผู้กระทำผิดดังกล่าว เว้นแต่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้อื่นเป็นผู้ขับขี่

การกำหนดจำนวนค่าปรับตามที่เปรียบเทียบ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนด

ใบสั่งและใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่ ให้ทำตามแบบที่เจ้าพนักงานจราจรกำหนด”

          ดังนั้น จะเห็นได้ว่า จากบทบัญญัติของมาตรา ๑๔๐ นี้ ได้ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานซึ่งหมายถึง ตำรวจจราจรที่จะยึดใบอนุญาตขับขี่ได้เมื่อมีการฝ่าฝืนกฎจราจร จึงทำให้แม้ผู้เป็นเจ้าของใบขับขี่มีอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๓๓๖ แต่ตำรวจจราจรก็มีอำนาจตามกฎหมายเฉพาะที่จะยึดใบขับขี่ได้ เช่นนี้แล้วเมื่อตำรวจจราจรมีอำนาจตามกฎหมายในการยึดใบขี่ การที่ตำรวจจราจรเอาใบขับขี่ของเราไป เราก็จะไปแจ้งความว่าตำรวจมีความผิดฐานลักทรัพย์ไม่ได้ เพราะการเอาไปของตำรวจเป็นการเอาไปซึ่งทรัพย์สินโดยมีอำนาจตามกฎหมาย

 

ปล. ประเด็นปัญหาด้านอำนาจของตำรวจจราจรที่น่าสนใจในเรื่องใกล้เคียงกับเรื่องการยึดใบขับขี่ คือ กรณีตำรวจยึดกุญแจรถของผู้ขับรถผิดกฎจราจร โดยประเด็นปัญหามีว่า ตำรวจมีอำนาจยึดกุญแจรถหรือไม่ เพราะเท่าที่สำรวจตรวจตรากฎหมายดู ยังไม่เห็นว่ามีกฎหมายใดให้อำนาจตำรวจในเรื่องนี้ไว้ ดังนั้น หากตำรวจยึดกุญแจรถเราไป เราต้องถามตำรวจโดยถ้อยคำว่า “ตำรวจครับ/คะ ไม่ทราบว่าอาศัยอำนาจตามกฎหมายเรื่องใด มาตราใด ในการยึดกุญแจครับ/คะ” หากตำรวจตอบไม่ได้ ก็มีแน้วโน้มว่าเราจะแจ้งความว่าตำรวจลักทรัพย์ และอาจเพิ่มข้อหาให้ตำรวจได้อีกว่า เป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบได้
http://www.vcharkarn.com/vblog/39697


ขอบคุณครับ ได้ความรุ้เยอะเลย