AE. Racing Club

AE Racing Club - FreeStyle => Free Style - AE Racing Club => ข้อความที่เริ่มโดย: doctorlan ที่ 25 กรกฎาคม 2009 20:17:38



หัวข้อ: เรียนรู้กฎหมายการแต่งรถ แต่งอย่างไร ถึงจะเรียกว่า ผิด หรือไม่ผิด...
เริ่มหัวข้อโดย: doctorlan ที่ 25 กรกฎาคม 2009 20:17:38
ไปอ่านเจอใน web thaispeedcar ครับ เห็นว่าน่าจะมีประโยชน์กับชาว ae club ที่คิดจะแต่งรถ จึงเอามาฝากกัน  :emos


มีหลายท่านมักจะถามผมว่าแต่งอย่างไรถึงจะไม่ผิดกฎหมาย หรือแบบที่เวลาตำรวจตั้งด่าน โบกให้จอด ขอดูใบอนุญาต แล้วแจ้งขอหาอย่างนู้นอย่างนี้ เราผิดจริงหรือ บางครั้งนำรถเข้าไปตรวจสภาพกับต.ร.อ. หรือกับขนส่ง มาเจอกับผลพิจารณา ไม่ผ่าน เสียอารมณ์จริง จะมาเถียงกับเจ้าหน้าที่ว่าไม่รู้ ก็ไม่ได้อีก (ไม่บอกแล้วจะรู้ม๊ะ) ผมในฐานะที่เคยทำงานด้านผู้วินิจฉัยผล ช่วยงานตำรวจในด้านงานติดตามพิสูจน์มาบ้าง ยอมรับครับว่ากฎหมายในข้อนี้ก็ผ่านมาพอสมควร

ในตอนนี้เป็นบทความฉลองครบรอบ 3 ปี Thaispeedcar ของเรา (ซึ่งปีนี้ผมต้องขอโทษสมาชิกด้วยที่ไม่ค่อยได้ออกบทความมาเท่าไหร่ เพราะปีนี้สุขภาพผมแย่จริงๆ) มาดูกันครับว่า กฎหมายว่าด้วยการแต่งรถ แต่งอย่างไหน ถึงจะเรียกว่า ผิดหรือ ไม่ผิด
 
ป้ายทะเบียนยาวป้ายปลอมผิดแค่ไหน
ป้ายทะเบียนที่นำมาตัดต่ออัดกรอบใหม่เป็นป้ายยาว ผิดข้อหาดัดแปลง เปลี่ยนแปลงเอกสารของทางราชการเจ้าหน้าที่มีสิทธิเรียกปรับ ระบุโทษไม่เกิน 2,000 บาท
รวมถึงการติดป้ายเอียง แบบแหงนขึ้น – แหงนลง มีวัสดุมาปิดทับ เจ้าหน้าที่อาจฟันธงว่า มองเห็นไม่ชัดเจนก็มีโทษปรับเช่นเดียวกัน
การไม่ติดป้าย หรือวางไว้ที่กระจกหน้ารถ ผิดเช่นกันต้องโทษปรับ 500 บาท
ส่วนการติดป้าย ที่ทำขึ้นเอง เช่นทำด้วยกระดาษ หรือใช้การเขียน แต่หมายเลขตรงกับทะเบียนรถ ผิดข้อหา ไม่ใช้เอกสารที่ทางราชการกำหนด
แต่ถ้าเป็นป้ายปลอม (ไม่มี ข.ส. ) ขอดูสำเนาแล้วไม่ตรงกับป้าย  ผิดต้องคดีข้อหาปลอมแปลงเอกสารของทางราชการ เจ้าหน้าที่อาจจะเรียกปรับ หรือส่งฟ้องเพื่อทำการเรียกปรับที่ชั้นศาล โดยระบุโทษไว้ที่100,000 บาท (อ่านไม่ผิดหรอกครับ 1แสนบาท)
และถ้าหมายเลขป้ายไม่ตรงกับ ป้ายวงกลม ไม่ตรงกับสำเนารถเจ้าหน้าที่ตำรวจมีสิทธิยึดรถ เพื่อส่งเข้ากองพิสูจน์หลักฐาน เพื่อหาที่มาของตัวรถและผู้ขับขี่ต้องไปให้ปากคำที่สถานีตำรวจ รวบรวมสำนวน ส่งให้ศาลตัดสินค่าปรับก็มีตั่งแต่หลักแสน จนถึงหลักล้านก็เคยมีมาแล้วครับ
 
โหลดเตี้ยๆหรือสุดๆ แบบ lowRider เตี้ยแค่ไหนถึงจะเรียกว่า ผิด
ในพระราชบัญญัติรถยนตร์พ.ศ.2522 ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า รถที่โหลดเตี้ยจะต่ำแค่ไหนก็ได้
ยึดหลักเพียงการวัดระยะกึ่งกลางไฟหน้า กับระดับพื้นถนนต้องไม่ต่ำกว่า 40 เซนติเมตร ถ้าต่ำกว่าถือว่าผิด
แต่ถ้าไฟหน้าสูงกว่าแต่รถใส่สปอยเลอร์จนเตี้ยต่ำแทบจะลากพื้น จะใช้กฎการพินิจ จากเจ้าหน้าที่ตำรวจนายช่างตรวจสภาพกรมขนส่ง และผู้วินิจฉัยผล ต.ร.อ. ว่าเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือสร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเอง และผู้อื่นหรือไม่ ถ้าฟันธงว่าเสี่ยงก็ถือว่าผิดได้เช่นกัน

ยกสูงมากๆแบบ Big Foot ผิดหรือปล่าว
ในพระราชบัญญัติรถยนตร์ก็ระบุไว้อย่างชัดเจนเช่นกันว่า จะยกสูงแค่ไหน แต่ต้องวัดระดับกึ่งกลางไฟหน้ากับพื้นถนนต้องไม่สูงกว่า 135 เซนติเมตร แต่ถ้าไฟหน้าสูงไม่เกิน แต่รถสูงมาก มีการดัดแปลงสภาพมากตัวนี้ต้องมีวิศวกรรองรับการดัดแปลงสภาพ และต้องแจ้งกับกรมขนส่งทางบกให้เป็นที่เรียบร้อยแต่ถ้าไม่สูงมาก แต่ใส่ยางใหญ่เกินแบบ ล้นออกมาข้างตัวรถมากๆ เกินบังโคลนล้อ ก็ต้องใช้หลักดุลพินิจอีกเช่นกันว่าเสี่ยงต่อผู้ร่วมใช้ถนนหรือไม่ ถ้าเสี่ยงผิดทันที
 
ใส่ล้อยางใหญ่มากๆ 19 - 20 หรือ 22 ผิดหรือไม่
ในกฎหมายไม่มีการระบุขนาดของล้อและขนาดก็ไม่ได้มีผลการเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ดังนั้น จะใส่ล้อใหญ่ขอบ 18 -19-20 หรือจะ 22 ไม่ผิดครับ แต่ถ้าใส่แล้วยางเกินออกมานอกบังโคลนล้อมากๆข้างละหลายๆนิ้ว เจ้าหน้าที่บอกว่าเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ อาจสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น(เช่นทำให้ผู้อื่นกะระยะรถผิดในขณะสวนหรือเลี้ยว) ก็ถือว่าผิดได้ หรือใส่ล้อใหญ่จนต้องแบะล้อเพื่อหลบซุ้มแล้ววิ่งจนยางสึกเห็นผ้าใบ ต้องเรียกว่าเสี่ยงต่ออุบัติเหตุต่อตนเอง ก็ถือว่าผิดเช่นกัน

 
ตีโป่งขยายซุ้มล้อ ใส่สปอยเลอร์ แล้วจะผิดไหม
โชคดีครับที่การตีโป่งซุ้มล้อหรือที่เรียกกันว่า Wide Body ข้อนี้ในกฎหมายไม่ได้ระบุไว้ชัดเจนแต่อย่างไร
แต่ระบุไว้ว่า ส่วนที่ตียื่นต้องมีลักษณะเป็นชิ้นเดียวกับตัวรถ หรือถ้าเป็นวัสดุคนละชนิดกัน ต้องมีการยึดติดอย่างแน่นหนา ถ้าไม่แน่นหนาหรือตีโป่งมาก (ยื่นจนหน้าเกลียด) เจ้าหน้าที่มีสิทธิขอตรวจดูสำเนาการจดทะเบียน ว่ามีการดัดแปลงเกินกว่าที่จดทะเบียนไว้หรือไม่ โดยอ้างอิงจากบริษัทผู้ผลิตถึงขนาดตัวรถ และฐานล้อ ซึ่งต้องใช้วิศวกรรับรองการดัดแปลงสภาพ และต้องแจ้งกับกรมขนส่งทางบก ถ้าขนส่งตรวจแล้วลงความเห็นว่าผ่านก็ดีไป แต่ถ้าลงความเห็นว่าไม่ผ่านต้องเลาะออกกลับสภาพเดิม
 
ฝากระโปรงหน้า–หลังดำ ฝากระโปรงไฟเบอร์ ที่เขาว่าผิด ผิดข้อไหน
เปลี่ยนฝากระโปรงไฟเบอร์ถ้าทำเป็นสีเดียวกับสีรถ ที่จดทะเบียนไว้ถือว่าไม่ผิด
แต่ถ้าเปลี่ยนสีฝากระโปรงเป็นสีดำ หรือสีอื่น ที่ไม่ตรงกับสีตัวรถเจ้าหน้าที่จะพิจารณาตามกฎที่ว่า รถยนต์ที่จดทะเบียนจะมีการระบุสีตัวรถไว้อย่างชัดเจนไม่รวมสีของกันชนรถ โดยสีอื่นต้องมีไม่เกินครึ่งหนึ่งของสีหลักที่จดทะเบียนไว้
เช่นในกรณีรถระบุไว้ในทะเบียนว่าเป็นสีขาวแต่ฝากระโปรงหน้าเป็นสีดำ เจ้าหน้าพินิจแล้วไม่เกินครึ่งหนึ่งก็ถือว่าไม่ผิด แต่พินิจว่าผิดก็ถือว่าผิดได้เช่นกัน (การพินิจหมายถึง การใช้หลักพิจรณาในแต่ละบุคล)
แต่ถ้าดำทั้งฝากระโปรงหน้าและหลัง ส่วนมากจะพินิจว่าผิด เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ของสีหลัก ซึ่งเจ้าของรถต้องนำรถเข้าไปแจ้งเปลี่ยนสี ว่าเป็นรถสองสี (ทูโทน) กับกรมขนส่งทางบกเสียก่อน ถ้าไม่แจ้งก็อาจต้องโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท เสียตังค์อีกเช่นกัน

เปลี่ยนท่อไอเสียใหญ่เสียงดังแค่ไหนถึงเรียกว่าผิด
จะเปลี่ยนท่อใหญ่ 3 นิ้ว 4 นิ้ว จะมีหม้อพักกี่ใบ หรือจะไม่หม้อพักเลยก็ได้แต่หม้อพักต้องปล่อยออกทางท้ายรถเท่านั้น (ยกเว้นเสียแต่พวกรถพ่วง รถโดยสารขนาดใหญ่)ถ้าออกข้างตัวถังรถก็ถือว่าผิดทันที
ตามกฎหมายจะระบุไว้แค่การวัดเสียงดังที่ปล่อยออกจากปลายท่อตามพระราชบัญญัติรถยนต์ระบุว่า
รถยนต์ที่เกิน 7 ปี ต้องนำรถเข้าตรวจสภาพ ณ.สถานตรวจสภาพ เพื่อตรวจวัดระดับเสียง ที่ปลายท่อไอเสียด้วยเครื่อง Sound level Meter ผลที่ได้ต้องไม่เกิน 100 เดซิเบล
(การตรวจวัดแบบ O.5 เมตร) สำหรับเครื่องยนต์เบนซิลวัดที่ ¾รอบที่ให้แรงม้าสูงสุด และรอบสูงสุดสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล
ถ้าท่านใดถูกจับในข้อหาเสียงท่อดัง คุณต้องถามเจ้าหน้าที่ว่าเสียงดังเกินที่กำหนดไว้เท่าไหร่ (ถ้าเจ้าหน้าที่ไม่มีเครื่องวัดใช้หูฟัง ก็พอจะเถียงค่ำๆคูๆเอาตัวรอดได้) แต่ถ้าเจ้าหน้าที่ส่งรถเข้าเครื่องตรวจวัดแล้วเกินจริง (เถียงไม่ออก) ก็ต้องโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

 
ไฟหน้าหลายสี
ไฟซีนอน ไฟท้ายขาว โคมขาว โคมดำ พ่นสีดำ จะผิดแค่ไหน
ปัจจุบันไฟหน้าแบบซีนอน ยังไม่มีกฎหมายออกมารองรับ จึงอนุญาตให้ติดได้ เพียงแต่ติดตั้งแล้วเมื่อเข้าเครื่องมือทดสอบโคมไฟ ลำแสงต้องมีองศาตกลงจากแนวระนาบ ไม่น้อยกว่า 2 องศาและต้องไม่เบนไปทางขวา ถึงเรียกว่าผ่าน สวนเรื่องสีของ แต่โคมไฟหน้าทางกรมกำหนดไว้เพียง2 สี เท่านั้นคือ สีเหลืองอ่อน และสีขาว
ถ้าเป็นสีอื่น เช่นสีฟ้า สีม่วง สีเหลืองเข้มหรือสีเขียว มีความผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์พ.ศ. 2522 มาตรา12 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

ส่วนไฟหยุด (ไฟเบรก) ต้องเป็นสีแดง ไฟเลี้ยวต้องเป็นสีเหลืองอำพัน ไฟส่องป้ายต้อเป็นสีขาวมองเห็นป้ายทะเบียนได้ไกลไม่น้อยกว่า 20 เมตร การเปลี่ยนโคมไฟเป็นสีขาวหรือพ่นโคมเป็นสีดำ ต้องพิจารณาขณะเปิดไฟเลี้ยว ไฟเบรก ถ้าไฟที่แสดงออกมาชัดเจนและเป็นสีที่กำหนดก็ถือว่าผ่าน ถ้าผิดสีก็เตรียมเงินไว้อีก 2,000 บาท เป็นค่าปรับครับ
 

ไฟสปอร์ทไลท์และโคมไฟตัดหมอก ผิดกฎหมายหรือไม่ ติดอย่างไรถึงจะว่าไม่ผิด
โคมไฟสปอร์ทไลท์หมายถึงโคมไฟแสงพุ่งไกล แบบกระจายวงกว้าง แบบนี้ห้ามติดโดยเด็จขาดแม้จะมีฝาครอบปิด ผิดพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
ส่วนไฟตัดหมอกมีลักษณะเป็นไฟแสงพุ่งต่ำล่าสุดปี พ.ร.บ. 2536 อนุญาตให้รถยนต์ติดไฟสปอร์ตไลท์หรือ ไฟตัดหมอกเพิ่มได้ ข้างละ 1 ดวง (เท่ากับ 2 ดวง)ในระดับแนวเดียวกัน ความสูงจากพื้นถนนไม่ต่ำกว่า 40 เซนติเมตรและไม่สูงกว่า 135 เซนติเมตร ต้องเป็นแสงสีเหลือง หรือสีขาว กำลังไฟไม่เกิน55 วัตต์ ไม่เกินกว่าระดับโคมไฟแสงพุ่งไกลและโคมไฟแสงพุ่งต่ำศูนย์รวมแสงต้องต่ำกว่าแนวขนานกับพื้นราบไม่น้อยกว่า 2 องศา หรือ 0.20 เมตร ในระยะ 7.50 เมตร และไม่เฉไปทางขวา

ส่วนการเปิดไฟตัดหมอกนั้นทำได้เมื่อมีอุปสรรค์ในการขับขี่ เช่นมีหมอกควัน หรือฝนตกหนัก มองเห็นสิ่งกีดขวางหรือรถที่สวนทางมาในระยะไม่เกิน 150 เมตร ถ้าติดไม่ถูกต้อง หรือเปิดไฟพร่ำเพื่อมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
รวมถึงการติดไฟนีออนใต้ท้อง หรือกรอบป้ายทะเบียน ก็เป็นสิ่งต้องห้าม ผิดอีกเช่นเดียวกันโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท


ดัดแปลงเป็นขับเคลื่อน4 ล้อ ผิดแน่นอน แก้ไขอย่างไร
ตามสมุดคู่มือการจดทะเบียนจะระบุไว้อย่างชัดเจนว่า เป็นรถยนต์ประเภทไหน (รย.1 –รย. 2 หรือ รย.3)ซึ่งจะมีการระบุจำนวนเพลาไว้ด้วย รถยนต์ที่ขับเคลื่อน 2 ล้อ (2เพลา) ถ้ามีการดัดแปลงเป็นระบบขับสี่ล้อต้องแจ้งกับกรมการขนส่งเสียก่อน ซึ่งต้องใช้หลักฐาน ใบเสร็จอะไหล่
ใบรับรองวิศวกร นำรถเข้าตรวจหาความถูกต้องปลอดภัยแข็งแรง ก่อนที่อาจจะมีการส่งรถเข้าช่างน้ำหนัก ส่งต่อให้กรมสรรพสามิตคำนวณอัตราภาษีที่ต้องเสียเพิ่ม
มีตั้งแต่หลักหลายพันจนถึงหลักหมื่นบาทเสียก่อน มิฉะนั้นจะถือว่า เป็นการดัดแปลงรถยนต์ให้ผิดจากการจดทะเบียนโดยมิได้ขออนุญาต ก็ผิดเต็มๆอยู่ดี

 
เปลี่ยนดิสเบรกหลังใส่หลังคาซันรูป ผิดจริงหรือ
การเปลี่ยนหลังคาซันรูปส่วนมากต้องมีการดัดแปลงเช่น การเจาะหลังคา หรือเปลี่ยนหลังคาใหม่แบบนี้ทางกรมขนส่งจะมองว่า เป็นการแก้ไขดัดแปลง ซึ่งมีผลต่อความแข็งแรงของตัวรถ แบบนี้ต้องมีใบเสร็จหลังคา รูปถ่ายขั้นตอนการติดตั้ง และใบรับรองวิศวกร และต้องแจ้งกรมขนส่งทางบกก่อนถึงจะไม่ผิด
ส่วนการเปลี่ยนดรัมเบรก เป็นดิสเบรกหลัง เรื่องนี้ไม่มีกฎออกมาชัดเจนจึงอาศัยการพินิจจากเจ้าหน้าที่กรมขนส่ง ซึ่งแต่ละเขตขนส่งต่างก็มีดุลพินิจไม่เหมือนกัน ถ้าเจ้าหน้าที่พินิจว่าไม่น่าผ่านก็ต้องหาใบเสร็จติดตั้ง และใบวิศวกรมาแจ้งเช่นเดียวกัน

 
ตีโรลบาร์แบบรถแข่ง ผิดด้วยหรือปล่าว
กฎหมายว่าด้วยห้องโดยสารมีเพียงข้อกำหนด เรื่องของจำนวนที่นั่ง มาตราวัดความเร็ว และไฟห้องโดยสารเท่านั้น
ส่วนการตีโรลบาร์ยังไม่มีกฎหมายออกมารองรับจึงไม่ผิด แต่การถอดเบาะหลังออกแล้วตีโรลบาร์ จะผิดกฎหมายเรื่องการระบุลักษณะรถ และจำนวนตอน ถือว่าผิดครับ
รวมถึงการความแน่หนา(เช่นเอามือจับแล้วโยกได้)ความเสี่ยงต่ำการเกิดอุบัติเหตุ (เช่นมีส่วนแหลมคมพุ่งเข้าหาผู้ขับขี่และผู้โดยสาร) ก็ถือว่าผิดได้อีกเช่นกัน
ยิ่งถอดเบาะออกเหลือตัวเดียวหรือตัดตัวถังรถออกบางส่วน แล้วตีโรล์บาร์ยึดแบบ Spec Frame แบบนี้ถือว่าผิด ขอหาดัดแปลงสภาพที่มีผลต่อความมั่นคงแข็งแรงของตัวรถ
 
ใส่กระจกมองข้างแบบเล็กๆ หรือกระจกซิ่ง ผิดไหม
ตามกฎหมายอีกเช่นกันระบุไว้ว่า รถยนต์ต้องมีเครื่องส่องหลัง (กระจกมองหลัง)  และเครื่องส่องหลังภายนอก (กระจกมองข้าง) อย่างน้อย 1 อัน
ซึ่งไม่ได้ระบุถึงขนาดและรูปแบบ ถ้าเปลี่ยนเป็นกระจกมองข้างแบบไฟเบอร์ หรือแบบกระจกซิ่งทรงแข่ง ถ้ามี 2 ด้าน หรือด้านเดียวก็ถือว่าถูกกฎหมาย แต่ถ้าไม่มี กระจกมองข้าง หรือกระจกมองหลัง หรือเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพ ฟันธงว่า มีเครื่องส่องหลังจริง แต่ชำรุดหรือมองเห็นไม่ชัดเจน (กระจกแตก เล็กมาก) ก็จะถือว่าผิด ต้องกลับมาแก้ไขอีกเช่นกัน
 
เปลี่ยนเบาะซิ่งใส่เซฟตี้เบล 4 จุด จะผิดอีกหรือปล่าว
เบาะหรือที่นั่งผู้ขับขี่ และผู้โดยสาร ทาง พ.ร.บ. จริงๆแล้วได้ระบุขนาดความกว้างยาวของเบาะเอาไว้ด้วย ซึ่งจะเกี่ยวข้องในการระบบุจำนวนผู้โดยสาร
เบาะแต่ง หรือเบาะไฟเบอร์ ส่วนมากมีความถูกต้องในเรื่องขนาด แต่ถ้าถอดเบาะออกไม่ว่าเบาะหลัง ถอดเหลือตัวเดียว หรือสั่งทำเบาะขนาดใหญ่พิเศษแบบนี้จะถือว่าผิด
ส่วนเซพตี้เบลทางกรมก็ได้ทำหนด มาตรฐานเอาไว้อีกเช่นกัน เบล 4 จุดแม้ว่าจะไม่ถูกต้องในเรื่องของมาตรฐาน แต่ถ้ามีการยึดแน่นหนา ก็อนุโลมว่าผ่าน แต่ถ้าใส่เบล 4 จุด 8 จุด แล้วไม่คาด แบบนี้ถือว่าไม่ผิดพระราชบัญญัติหรอกครับ แต่ผิดกฎหมายจราจรถูกจับ เสียทรัพย์ อีกแ้ล้วครับ

 
ดัดแปลงเครื่องยนต์ขยายซีซี เปลี่ยนเทอร์โบ โมกล่อง ซัก 1000 ม้า จะผิดหรือไม่
การขยายซีซีเพิ่มความจุถ้าเป็นในสนามแข่งแบบ OneMake Race ถือว่าผิด สั่งถอนการแข่งขันลูกเดียว (จบเกมส์)
แต่ถ้าเป็นรถใช้งานบนท้องถนน การจะมาวัดกำลังอัด หาขนาดความจุนั้นทำได้ยาก จึงอาศัยการตรวจดูหมายเลขเครื่องยนต์ว่าถูกต้องตามทะเบียนที่แจ้งไว้หรือไม่เท่านั้น
ถ้าเลขเครื่องถูกถือว่าไม่ผิด จะขยายความจุ เปลี่ยนลูก ยืดข้อ เสริมเสื้อสูบก็ไม่ผิด หรือไม่ว่าจะเปลี่ยนเทอร์โบใหญ่ ใส่กรองเปลือย ตีเฮดเดอร์ เปลี่ยนหัวฉีด
โมกล่องจนได้ 500 ม้า 1000 ม้าก็ไม่ผิด เพียงแต่อุปกรณ์ภายในห้องเครื่องต้องดูแล้วแน่หนาและมีความปรอดภัย

แต่ถ้าจูนน้ำมันจนหนามาก เจ้าหน้าที่จะใช้ผลการตรวจวัดควันดำ  ค่า CO (คาร์บอนมอนออกไซต์) และค่า HC (ไฮโดรคาร์บอน) ที่ปล่อยออกมาจากท่อไอเสียเป็นข้อกำหนดถึงสภาพเครื่องยนต์
โดยตามพระราชบัญญัติรถยนต์ กล่าวว่า
รถยนต์ที่จดทะเบียนก่อน 1 พค  2536 ต้องวัดค่า Co ไม่เกิน 4.5 เปอร์เซนต์ และค่า Hc ไม่เกิน 600 PPM
รถยนต์ที่จดทะเบียนหลัง  1 พค 2536 ต้อง วัดค่า Co ไม่เกิน 1.5 เปอร์เซนต์  และค่า Hc ไม่เกิน 200 PPM

ส่วนถ้าเป็นรถเครื่องยนต์ดีเซลไม่ว่าจะเปลี่ยนโบใหญ่ แต่งปั้มเพียงใด
มาตรฐานการวัดควันดำ ต้องไม่เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ ด้วยเครื่องวัดแบบกระดาษกรอง และ 45 เปอร์เซ็นต์ ด้วยเครื่องวัดแบบหาความทึบแสง
ซึ่งรถยนต์ที่มีอายุเกิน7 ปี ต้องได้รับการตรวจวัดค่า Co และ Hc จาก ต.ร.อ
ดังนั้นจะโมเครื่องแค่ไหนแต่งเครื่องอย่างไร ถ้าการเผาไหม้หมดจด Co และ Hc ผ่านก็ถือว่าถูกกฎหมาย 

ถึงจะแต่งรถถูกกฎหมาย แต่ถ้าเอารถ 500 ม้า 1000 ม้า มาวิ่งหวาดเสียวบนท้องถนน หรือไล่แซงผู้อื่นแบบแข่งขัน   แบบนี้ของเพียงอย่าให้ถูกจับได้  ซึ่งอาจมีความผิดตาม พรบ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43( , 160 วรรคสาม ฐานขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัย หรือความเดือดร้อนของผู้อื่น  ถูกจับฟ้องศาล ยึดรถ คุมความประพฤติ แบบนี้อาจเรียกว่า จบเกมส์จริงๆ ใช่ไหมล่ะครับ

http://board.thaispeedcar.com/viewthread.php?tid=26959

credit thaispeedcar.com


หัวข้อ: Re: เรียนรู้กฎหมายการแต่งรถ แต่งอย่างไร ถึงจะเรียกว่า ผิด หรือไม่ผิด...
เริ่มหัวข้อโดย: noohnu ที่ 25 กรกฎาคม 2009 21:03:14
ไปอ่านเจอใน web thaispeedcar ครับ เห็นว่าน่าจะมีประโยชน์กับชาว ae club ที่คิดจะแต่งรถ จึงเอามาฝากกัน  :emos

http://board.thaispeedcar.com/viewthread.php?tid=26959

ปล.ต้องสมัครสามชิกก่อนนะครับ .. พอดีบทความเค้าไม่อนุญาตให้ copy ลงที่อื่น  :emo7
Set ระบบไว้ซะแน่นหนาเลย Registor แล้ว login ไม่ได้...ยุ่งยากมั่กๆ :emotf


หัวข้อ: Re: เรียนรู้กฎหมายการแต่งรถ แต่งอย่างไร ถึงจะเรียกว่า ผิด หรือไม่ผิด...
เริ่มหัวข้อโดย: doctorlan ที่ 25 กรกฎาคม 2009 21:09:32
 :emote ของผมมันทำได้ง่ายเหมือนตอนสมัคร aethaiclub เลยง่ะ
เอาเป็นว่ามีคำตอบเกี่ยวกับเรื่อง...
-ป้ายทะเบียนยาวป้ายปลอมผิดแค่ไหน
-โหลดเตี้ยๆหรือสุดๆ แบบ lowRider เตี้ยแค่ไหนถึงจะเรียกว่า ผิด
-ยกสูงมากๆแบบ Big Foot ผิดหรือปล่าว
-ใส่ล้อยางใหญ่มากๆ 19 - 20 หรือ 22 ผิดหรือไม่
-ตีโป่งขยายซุ้มล้อ ใส่สปอยเลอร์ แล้วจะผิดไหม
-ฝากระโปรงหน้า–หลังดำ ฝากระโปรงไฟเบอร์ ที่เขาว่าผิด ผิดข้อไหน
-เปลี่ยนท่อไอเสียใหญ่เสียงดังแค่ไหนถึงเรียกว่าผิด
-ไฟหน้าหลายสี ไฟซีนอน ไฟท้ายขาว โคมขาว โคมดำ พ่นสีดำ จะผิดแค่ไหน
-ไฟสปอร์ทไลท์และโคมไฟตัดหมอก ผิดกฎหมายหรือไม่ ติดอย่างไรถึงจะว่าไม่ผิด
-ดัดแปลงเป็นขับเคลื่อน4 ล้อ ผิดแน่นอน แก้ไขอย่างไร
-เปลี่ยนดิสเบรกหลังใส่หลังคาซันรูป ผิดจริงหรือ
-ตีโรลบาร์แบบรถแข่ง ผิดด้วยหรือปล่าว
-ใส่กระจกมองข้างแบบเล็กๆ หรือกระจกซิ่ง ผิดไหม
-เปลี่ยนเบาะซิ่งใส่เซฟตี้เบล 4 จุด จะผิดอีกหรือปล่าว
-ดัดแปลงเครื่องยนต์ขยายซีซี เปลี่ยนเทอร์โบ โมกล่อง ซัก 1000 ม้า จะผิดหรือไม่

ถ้าใครสนใจจริงๆลองเข้าไปดูครับ ผมว่ามีประโยชน์ดีคับ เอาไว้สู้กะหัวปิงปอง  :emotk


หัวข้อ: Re: เรียนรู้กฎหมายการแต่งรถ แต่งอย่างไร ถึงจะเรียกว่า ผิด หรือไม่ผิด...
เริ่มหัวข้อโดย: iPuNN (ปั้น) ที่ 25 กรกฎาคม 2009 22:11:04
คุณ iPuNN ครับ กรุณาลบออกด้วยนะครับ เพราะ เจ้าของบทความ ไม่อนุญาตให้ผู้ใดทำซ้ำ ตีพิมพ์ หรือคัดลอกไปไว้ที่ WEB อื่น
แม้ท่านอาจจะปรารถนาดี ว่าการสมัครสมาชิกป็นเรื่องยุ่งยากก็ตามครับ


ลบทิ้งให้ละคับ

ขอโทดทีคร๊าบบบบบ

 :emo7


หัวข้อ: Re: เรียนรู้กฎหมายการแต่งรถ แต่งอย่างไร ถึงจะเรียกว่า ผิด หรือไม่ผิด...
เริ่มหัวข้อโดย: gunnm99 ที่ 10 กันยายน 2010 00:21:15
ลบกระทู้ออกไปแล้ว ?   ดีครับสาปสูญไปเลย  ข้อมูลดีดี 


หัวข้อ: Re: เรียนรู้กฎหมายการแต่งรถ แต่งอย่างไร ถึงจะเรียกว่า ผิด หรือไม่ผิด...
เริ่มหัวข้อโดย: wasabi ที่ 10 กันยายน 2010 08:15:57
ข้อมูลดีๆ ถูกต้อง ก็ น่าจะเผยแพร่ ให้ รู้โดยทั่วกัน  คนทั่วไป จะได้ มีข้อมูล ไว้ พูดคุยกับ เจ้าหน้าที่ให้เข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน  เป็นประโยชน์ ต่อส่วนรวม และ นักแต่งรถ โดนส่วนใหญ่  น่าจะ ทำ Pdf แจก ด้วยซ้ำ

ดันห้ามเผยแพร่ ซะงั้น ใจแคบ ว่ะ admin น่ะ  ไม่เห็นเหมือน เออี เลย  ทุกคนทั่วโลก ได้ ความรู้ อย่างแท้จริง :)


หัวข้อ: Re: เรียนรู้กฎหมายการแต่งรถ แต่งอย่างไร ถึงจะเรียกว่า ผิด หรือไม่ผิด...
เริ่มหัวข้อโดย: TAOTAO-TZ#056- ที่ 10 กันยายน 2010 08:31:04
อันนี้ ของ Thaispeedcar จาก คลับ1500 ขอบคุณนะครับ

มีหลายท่านมักจะถามผมว่าแต่งอย่างไรถึงจะไม่ผิดกฎหมาย หรือแบบที่เวลาตำรวจตั้งด่าน โบกให้จอด ขอดูใบอนุญาต แล้วแจ้งขอหาอย่างนู้นอย่างนี้ เราผิดจริงหรือ บางครั้งนำรถเข้าไปตรวจสภาพกับต.ร.อ. หรือกับขนส่ง มาเจอกับผลพิจารณา ไม่ผ่าน เสียอารมณ์จริง จะมาเถียงกับเจ้าหน้าที่ว่าไม่รู้ ก็ไม่ได้อีก (ไม่บอกแล้วจะรู้ม๊ะ) ผมในฐานะที่เคยทำงานด้านผู้วินิจฉัยผล ช่วยงานตำรวจในด้านงานติดตามพิสูจน์มาบ้าง ยอมรับครับว่ากฎหมายในข้อนี้ก็ผ่านมาพอสมควร

ในตอนนี้เป็นบทความฉลองครบรอบ 3 ปี Thaispeedcar ของเรา (ซึ่งปีนี้ผมต้องขอโทษสมาชิกด้วยที่ไม่ค่อยได้ออกบทความมาเท่าไหร่ เพราะปีนี้สุขภาพผมแย่จริงๆ) มาดูกันครับว่า กฎหมายว่าด้วยการแต่งรถ แต่งอย่างไหน ถึงจะเรียกว่า ผิดหรือ ไม่ผิด

 
ป้ายทะเบียนยาวป้ายปลอมผิดแค่ไหน
ป้ายทะเบียนที่นำมาตัดต่ออัดกรอบใหม่เป็นป้ายยาว ผิดข้อหาดัดแปลง เปลี่ยนแปลงเอกสารของทางราชการเจ้าหน้าที่มีสิทธิเรียกปรับ ระบุโทษไม่เกิน 2,000 บาท
รวมถึงการติดป้ายเอียง แบบแหงนขึ้น – แหงนลง มีวัสดุมาปิดทับ เจ้าหน้าที่อาจฟันธงว่า มองเห็นไม่ชัดเจนก็มีโทษปรับเช่นเดียวกัน
การไม่ติดป้าย หรือวางไว้ที่กระจกหน้ารถ ผิดเช่นกันต้องโทษปรับ 500 บาท
ส่วนการติดป้าย ที่ทำขึ้นเอง เช่นทำด้วยกระดาษ หรือใช้การเขียน แต่หมายเลขตรงกับทะเบียนรถ ผิดข้อหา ไม่ใช้เอกสารที่ทางราชการกำหนด
แต่ถ้าเป็นป้ายปลอม (ไม่มี ข.ส. ) ขอดูสำเนาแล้วไม่ตรงกับป้าย  ผิดต้องคดีข้อหาปลอมแปลงเอกสารของทางราชการ เจ้าหน้าที่อาจจะเรียกปรับ หรือส่งฟ้องเพื่อทำการเรียกปรับที่ชั้นศาล โดยระบุโทษไว้ที่100,000 บาท (อ่านไม่ผิดหรอกครับ 1แสนบาท)
และถ้าหมายเลขป้ายไม่ตรงกับ ป้ายวงกลม ไม่ตรงกับสำเนารถเจ้าหน้าที่ตำรวจมีสิทธิยึดรถ เพื่อส่งเข้ากองพิสูจน์หลักฐาน เพื่อหาที่มาของตัวรถและผู้ขับขี่ต้องไปให้ปากคำที่สถานีตำรวจ รวบรวมสำนวน ส่งให้ศาลตัดสินค่าปรับก็มีตั่งแต่หลักแสน จนถึงหลักล้านก็เคยมีมาแล้วครับ
 
โหลดเตี้ยๆหรือสุดๆ แบบ lowRider เตี้ยแค่ไหนถึงจะเรียกว่า ผิด
ในพระราชบัญญัติรถยนตร์พ.ศ.2522 ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า รถที่โหลดเตี้ยจะต่ำแค่ไหนก็ได้
ยึดหลักเพียงการวัดระยะกึ่งกลางไฟหน้า กับระดับพื้นถนนต้องไม่ต่ำกว่า 40 เซนติเมตร ถ้าต่ำกว่าถือว่าผิด
แต่ถ้าไฟหน้าสูงกว่าแต่รถใส่สปอยเลอร์จนเตี้ยต่ำแทบจะลากพื้น จะใช้กฎการพินิจ จากเจ้าหน้าที่ตำรวจนายช่างตรวจสภาพกรมขนส่ง และผู้วินิจฉัยผล ต.ร.อ. ว่าเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือสร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเอง และผู้อื่นหรือไม่ ถ้าฟันธงว่าเสี่ยงก็ถือว่าผิดได้เช่นกัน

ยกสูงมากๆแบบ Big Foot ผิดหรือปล่าว
ในพระราชบัญญัติรถยนตร์ก็ระบุไว้อย่างชัดเจนเช่นกันว่า จะยกสูงแค่ไหน แต่ต้องวัดระดับกึ่งกลางไฟหน้ากับพื้นถนนต้องไม่สูงกว่า 135 เซนติเมตร แต่ถ้าไฟหน้าสูงไม่เกิน แต่รถสูงมาก มีการดัดแปลงสภาพมากตัวนี้ต้องมีวิศวกรรองรับการดัดแปลงสภาพ และต้องแจ้งกับกรมขนส่งทางบกให้เป็นที่เรียบร้อยแต่ถ้าไม่สูงมาก แต่ใส่ยางใหญ่เกินแบบ ล้นออกมาข้างตัวรถมากๆ เกินบังโคลนล้อ ก็ต้องใช้หลักดุลพินิจอีกเช่นกันว่าเสี่ยงต่อผู้ร่วมใช้ถนนหรือไม่ ถ้าเสี่ยงผิดทันที
 
ใส่ล้อยางใหญ่มากๆ 19 - 20 หรือ 22 ผิดหรือไม่
ในกฎหมายไม่มีการระบุขนาดของล้อและขนาดก็ไม่ได้มีผลการเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ดังนั้น จะใส่ล้อใหญ่ขอบ 18 -19-20 หรือจะ 22 ไม่ผิดครับ แต่ถ้าใส่แล้วยางเกินออกมานอกบังโคลนล้อมากๆข้างละหลายๆนิ้ว เจ้าหน้าที่บอกว่าเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ อาจสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น(เช่นทำให้ผู้อื่นกะระยะรถผิดในขณะสวนหรือเลี้ยว) ก็ถือว่าผิดได้ หรือใส่ล้อใหญ่จนต้องแบะล้อเพื่อหลบซุ้มแล้ววิ่งจนยางสึกเห็นผ้าใบ ต้องเรียกว่าเสี่ยงต่ออุบัติเหตุต่อตนเอง ก็ถือว่าผิดเช่นกัน

 
ตีโป่งขยายซุ้มล้อ ใส่สปอยเลอร์ แล้วจะผิดไหม
โชคดีครับที่การตีโป่งซุ้มล้อหรือที่เรียกกันว่า Wide Body ข้อนี้ในกฎหมายไม่ได้ระบุไว้ชัดเจนแต่อย่างไร
แต่ระบุไว้ว่า ส่วนที่ตียื่นต้องมีลักษณะเป็นชิ้นเดียวกับตัวรถ หรือถ้าเป็นวัสดุคนละชนิดกัน ต้องมีการยึดติดอย่างแน่นหนา ถ้าไม่แน่นหนาหรือตีโป่งมาก (ยื่นจนหน้าเกลียด) เจ้าหน้าที่มีสิทธิขอตรวจดูสำเนาการจดทะเบียน ว่ามีการดัดแปลงเกินกว่าที่จดทะเบียนไว้หรือไม่ โดยอ้างอิงจากบริษัทผู้ผลิตถึงขนาดตัวรถ และฐานล้อ ซึ่งต้องใช้วิศวกรรับรองการดัดแปลงสภาพ และต้องแจ้งกับกรมขนส่งทางบก ถ้าขนส่งตรวจแล้วลงความเห็นว่าผ่านก็ดีไป แต่ถ้าลงความเห็นว่าไม่ผ่านต้องเลาะออกกลับสภาพเดิม
 
ฝากระโปรงหน้า–หลังดำ ฝากระโปรงไฟเบอร์ ที่เขาว่าผิด ผิดข้อไหน
เปลี่ยนฝากระโปรงไฟเบอร์ถ้าทำเป็นสีเดียวกับสีรถ ที่จดทะเบียนไว้ถือว่าไม่ผิด
แต่ถ้าเปลี่ยนสีฝากระโปรงเป็นสีดำ หรือสีอื่น ที่ไม่ตรงกับสีตัวรถเจ้าหน้าที่จะพิจารณาตามกฎที่ว่า รถยนต์ที่จดทะเบียนจะมีการระบุสีตัวรถไว้อย่างชัดเจนไม่รวมสีของกันชนรถ โดยสีอื่นต้องมีไม่เกินครึ่งหนึ่งของสีหลักที่จดทะเบียนไว้
เช่นในกรณีรถระบุไว้ในทะเบียนว่าเป็นสีขาวแต่ฝากระโปรงหน้าเป็นสีดำ เจ้าหน้าพินิจแล้วไม่เกินครึ่งหนึ่งก็ถือว่าไม่ผิด แต่พินิจว่าผิดก็ถือว่าผิดได้เช่นกัน (การพินิจหมายถึง การใช้หลักพิจรณาในแต่ละบุคล)
แต่ถ้าดำทั้งฝากระโปรงหน้าและหลัง ส่วนมากจะพินิจว่าผิด เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ของสีหลัก ซึ่งเจ้าของรถต้องนำรถเข้าไปแจ้งเปลี่ยนสี ว่าเป็นรถสองสี (ทูโทน) กับกรมขนส่งทางบกเสียก่อน ถ้าไม่แจ้งก็อาจต้องโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท เสียตังค์อีกเช่นกัน

เปลี่ยนท่อไอเสียใหญ่เสียงดังแค่ไหนถึงเรียกว่าผิด

จะเปลี่ยนท่อใหญ่ 3 นิ้ว 4 นิ้ว จะมีหม้อพักกี่ใบ หรือจะไม่หม้อพักเลยก็ได้แต่หม้อพักต้องปล่อยออกทางท้ายรถเท่านั้น (ยกเว้นเสียแต่พวกรถพ่วง รถโดยสารขนาดใหญ่)ถ้าออกข้างตัวถังรถก็ถือว่าผิดทันที
ตามกฎหมายจะระบุไว้แค่การวัดเสียงดังที่ปล่อยออกจากปลายท่อตามพระราชบัญญัติรถยนต์ระบุว่า
รถยนต์ที่เกิน 7 ปี ต้องนำรถเข้าตรวจสภาพ ณ.สถานตรวจสภาพ เพื่อตรวจวัดระดับเสียง ที่ปลายท่อไอเสียด้วยเครื่อง Sound level Meter ผลที่ได้ต้องไม่เกิน 100 เดซิเบล
(การตรวจวัดแบบ O.5 เมตร) สำหรับเครื่องยนต์เบนซิลวัดที่ ¾รอบที่ให้แรงม้าสูงสุด และรอบสูงสุดสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล
ถ้าท่านใดถูกจับในข้อหาเสียงท่อดัง คุณต้องถามเจ้าหน้าที่ว่าเสียงดังเกินที่กำหนดไว้เท่าไหร่ (ถ้าเจ้าหน้าที่ไม่มีเครื่องวัดใช้หูฟัง ก็พอจะเถียงค่ำๆคูๆเอาตัวรอดได้) แต่ถ้าเจ้าหน้าที่ส่งรถเข้าเครื่องตรวจวัดแล้วเกินจริง (เถียงไม่ออก) ก็ต้องโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

 
ไฟหน้าหลายสี
ไฟซีนอน ไฟท้ายขาว โคมขาว โคมดำ พ่นสีดำ จะผิดแค่ไหน
ปัจจุบันไฟหน้าแบบซีนอน ยังไม่มีกฎหมายออกมารองรับ จึงอนุญาตให้ติดได้ เพียงแต่ติดตั้งแล้วเมื่อเข้าเครื่องมือทดสอบโคมไฟ ลำแสงต้องมีองศาตกลงจากแนวระนาบ ไม่น้อยกว่า 2 องศาและต้องไม่เบนไปทางขวา ถึงเรียกว่าผ่าน สวนเรื่องสีของ แต่โคมไฟหน้าทางกรมกำหนดไว้เพียง2 สี เท่านั้นคือ สีเหลืองอ่อน และสีขาว
ถ้าเป็นสีอื่น เช่นสีฟ้า สีม่วง สีเหลืองเข้มหรือสีเขียว มีความผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์พ.ศ. 2522 มาตรา12 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

ส่วนไฟหยุด (ไฟเบรก) ต้องเป็นสีแดง ไฟเลี้ยวต้องเป็นสีเหลืองอำพัน ไฟส่องป้ายต้อเป็นสีขาวมองเห็นป้ายทะเบียนได้ไกลไม่น้อยกว่า 20 เมตร การเปลี่ยนโคมไฟเป็นสีขาวหรือพ่นโคมเป็นสีดำ ต้องพิจารณาขณะเปิดไฟเลี้ยว ไฟเบรก ถ้าไฟที่แสดงออกมาชัดเจนและเป็นสีที่กำหนดก็ถือว่าผ่าน ถ้าผิดสีก็เตรียมเงินไว้อีก 2,000 บาท เป็นค่าปรับครับ
 

ไฟสปอร์ทไลท์และโคมไฟตัดหมอก ผิดกฎหมายหรือไม่ ติดอย่างไรถึงจะว่าไม่ผิด
โคมไฟสปอร์ทไลท์หมายถึงโคมไฟแสงพุ่งไกล แบบกระจายวงกว้าง แบบนี้ห้ามติดโดยเด็จขาดแม้จะมีฝาครอบปิด ผิดพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
ส่วนไฟตัดหมอกมีลักษณะเป็นไฟแสงพุ่งต่ำล่าสุดปี พ.ร.บ. 2536 อนุญาตให้รถยนต์ติดไฟสปอร์ตไลท์หรือ ไฟตัดหมอกเพิ่มได้ ข้างละ 1 ดวง (เท่ากับ 2 ดวง)ในระดับแนวเดียวกัน ความสูงจากพื้นถนนไม่ต่ำกว่า 40 เซนติเมตรและไม่สูงกว่า 135 เซนติเมตร ต้องเป็นแสงสีเหลือง หรือสีขาว กำลังไฟไม่เกิน55 วัตต์ ไม่เกินกว่าระดับโคมไฟแสงพุ่งไกลและโคมไฟแสงพุ่งต่ำศูนย์รวมแสงต้องต่ำกว่าแนวขนานกับพื้นราบไม่น้อยกว่า 2 องศา หรือ 0.20 เมตร ในระยะ 7.50 เมตร และไม่เฉไปทางขวา

ส่วนการเปิดไฟตัดหมอกนั้นทำได้เมื่อมีอุปสรรค์ในการขับขี่ เช่นมีหมอกควัน หรือฝนตกหนัก มองเห็นสิ่งกีดขวางหรือรถที่สวนทางมาในระยะไม่เกิน 150 เมตร ถ้าติดไม่ถูกต้อง หรือเปิดไฟพร่ำเพื่อมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
รวมถึงการติดไฟนีออนใต้ท้อง หรือกรอบป้ายทะเบียน ก็เป็นสิ่งต้องห้าม ผิดอีกเช่นเดียวกันโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท


ดัดแปลงเป็นขับเคลื่อน4 ล้อ ผิดแน่นอน แก้ไขอย่างไร
ตามสมุดคู่มือการจดทะเบียนจะระบุไว้อย่างชัดเจนว่า เป็นรถยนต์ประเภทไหน (รย.1 –รย. 2 หรือ รย.3)ซึ่งจะมีการระบุจำนวนเพลาไว้ด้วย รถยนต์ที่ขับเคลื่อน 2 ล้อ (2เพลา) ถ้ามีการดัดแปลงเป็นระบบขับสี่ล้อต้องแจ้งกับกรมการขนส่งเสียก่อน ซึ่งต้องใช้หลักฐาน ใบเสร็จอะไหล่
ใบรับรองวิศวกร นำรถเข้าตรวจหาความถูกต้องปลอดภัยแข็งแรง ก่อนที่อาจจะมีการส่งรถเข้าช่างน้ำหนัก ส่งต่อให้กรมสรรพสามิตคำนวณอัตราภาษีที่ต้องเสียเพิ่ม
มีตั้งแต่หลักหลายพันจนถึงหลักหมื่นบาทเสียก่อน มิฉะนั้นจะถือว่า เป็นการดัดแปลงรถยนต์ให้ผิดจากการจดทะเบียนโดยมิได้ขออนุญาต ก็ผิดเต็มๆอยู่ดี

 
เปลี่ยนดิสเบรกหลังใส่หลังคาซันรูป ผิดจริงหรือ
การเปลี่ยนหลังคาซันรูปส่วนมากต้องมีการดัดแปลงเช่น การเจาะหลังคา หรือเปลี่ยนหลังคาใหม่แบบนี้ทางกรมขนส่งจะมองว่า เป็นการแก้ไขดัดแปลง ซึ่งมีผลต่อความแข็งแรงของตัวรถ แบบนี้ต้องมีใบเสร็จหลังคา รูปถ่ายขั้นตอนการติดตั้ง และใบรับรองวิศวกร และต้องแจ้งกรมขนส่งทางบกก่อนถึงจะไม่ผิด
ส่วนการเปลี่ยนดรัมเบรก เป็นดิสเบรกหลัง เรื่องนี้ไม่มีกฎออกมาชัดเจนจึงอาศัยการพินิจจากเจ้าหน้าที่กรมขนส่ง ซึ่งแต่ละเขตขนส่งต่างก็มีดุลพินิจไม่เหมือนกัน ถ้าเจ้าหน้าที่พินิจว่าไม่น่าผ่านก็ต้องหาใบเสร็จติดตั้ง และใบวิศวกรมาแจ้งเช่นเดียวกัน

 
ตีโรลบาร์แบบรถแข่ง ผิดด้วยหรือปล่าว
กฎหมายว่าด้วยห้องโดยสารมีเพียงข้อกำหนด เรื่องของจำนวนที่นั่ง มาตราวัดความเร็ว และไฟห้องโดยสารเท่านั้น
ส่วนการตีโรลบาร์ยังไม่มีกฎหมายออกมารองรับจึงไม่ผิด แต่การถอดเบาะหลังออกแล้วตีโรลบาร์ จะผิดกฎหมายเรื่องการระบุลักษณะรถ และจำนวนตอน ถือว่าผิดครับ
รวมถึงการความแน่หนา(เช่นเอามือจับแล้วโยกได้)ความเสี่ยงต่ำการเกิดอุบัติเหตุ (เช่นมีส่วนแหลมคมพุ่งเข้าหาผู้ขับขี่และผู้โดยสาร) ก็ถือว่าผิดได้อีกเช่นกัน
ยิ่งถอดเบาะออกเหลือตัวเดียวหรือตัดตัวถังรถออกบางส่วน แล้วตีโรล์บาร์ยึดแบบ Spec Frame แบบนี้ถือว่าผิด ขอหาดัดแปลงสภาพที่มีผลต่อความมั่นคงแข็งแรงของตัวรถ
 
ใส่กระจกมองข้างแบบเล็กๆ หรือกระจกซิ่ง ผิดไหม
ตามกฎหมายอีกเช่นกันระบุไว้ว่า รถยนต์ต้องมีเครื่องส่องหลัง (กระจกมองหลัง)  และเครื่องส่องหลังภายนอก (กระจกมองข้าง) อย่างน้อย 1 อัน
ซึ่งไม่ได้ระบุถึงขนาดและรูปแบบ ถ้าเปลี่ยนเป็นกระจกมองข้างแบบไฟเบอร์ หรือแบบกระจกซิ่งทรงแข่ง ถ้ามี 2 ด้าน หรือด้านเดียวก็ถือว่าถูกกฎหมาย แต่ถ้าไม่มี กระจกมองข้าง หรือกระจกมองหลัง หรือเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพ ฟันธงว่า มีเครื่องส่องหลังจริง แต่ชำรุดหรือมองเห็นไม่ชัดเจน (กระจกแตก เล็กมาก) ก็จะถือว่าผิด ต้องกลับมาแก้ไขอีกเช่นกัน
 
เปลี่ยนเบาะซิ่งใส่เซฟตี้เบล 4 จุด จะผิดอีกหรือปล่าว
เบาะหรือที่นั่งผู้ขับขี่ และผู้โดยสาร ทาง พ.ร.บ. จริงๆแล้วได้ระบุขนาดความกว้างยาวของเบาะเอาไว้ด้วย ซึ่งจะเกี่ยวข้องในการระบบุจำนวนผู้โดยสาร
เบาะแต่ง หรือเบาะไฟเบอร์ ส่วนมากมีความถูกต้องในเรื่องขนาด แต่ถ้าถอดเบาะออกไม่ว่าเบาะหลัง ถอดเหลือตัวเดียว หรือสั่งทำเบาะขนาดใหญ่พิเศษแบบนี้จะถือว่าผิด
ส่วนเซพตี้เบลทางกรมก็ได้ทำหนด มาตรฐานเอาไว้อีกเช่นกัน เบล 4 จุดแม้ว่าจะไม่ถูกต้องในเรื่องของมาตรฐาน แต่ถ้ามีการยึดแน่นหนา ก็อนุโลมว่าผ่าน แต่ถ้าใส่เบล 4 จุด 8 จุด แล้วไม่คาด แบบนี้ถือว่าไม่ผิดพระราชบัญญัติหรอกครับ แต่ผิดกฎหมายจราจรถูกจับ เสียทรัพย์ อีกแ้ล้วครับ

 
ดัดแปลงเครื่องยนต์ขยายซีซี เปลี่ยนเทอร์โบ โมกล่อง ซัก 1000 ม้า จะผิดหรือไม่
การขยายซีซีเพิ่มความจุถ้าเป็นในสนามแข่งแบบ OneMake Race ถือว่าผิด สั่งถอนการแข่งขันลูกเดียว (จบเกมส์)
แต่ถ้าเป็นรถใช้งานบนท้องถนน การจะมาวัดกำลังอัด หาขนาดความจุนั้นทำได้ยาก จึงอาศัยการตรวจดูหมายเลขเครื่องยนต์ว่าถูกต้องตามทะเบียนที่แจ้งไว้หรือไม่เท่านั้น
ถ้าเลขเครื่องถูกถือว่าไม่ผิด จะขยายความจุ เปลี่ยนลูก ยืดข้อ เสริมเสื้อสูบก็ไม่ผิด หรือไม่ว่าจะเปลี่ยนเทอร์โบใหญ่ ใส่กรองเปลือย ตีเฮดเดอร์ เปลี่ยนหัวฉีด
โมกล่องจนได้ 500 ม้า 1000 ม้าก็ไม่ผิด เพียงแต่อุปกรณ์ภายในห้องเครื่องต้องดูแล้วแน่หนาและมีความปรอดภัย

แต่ถ้าจูนน้ำมันจนหนามาก เจ้าหน้าที่จะใช้ผลการตรวจวัดควันดำ  ค่า CO (คาร์บอนมอนออกไซต์) และค่า HC (ไฮโดรคาร์บอน) ที่ปล่อยออกมาจากท่อไอเสียเป็นข้อกำหนดถึงสภาพเครื่องยนต์
โดยตามพระราชบัญญัติรถยนต์ กล่าวว่า
รถยนต์ที่จดทะเบียนก่อน 1 พค  2536 ต้องวัดค่า Co ไม่เกิน 4.5 เปอร์เซนต์ และค่า Hc ไม่เกิน 600 PPM
รถยนต์ที่จดทะเบียนหลัง  1 พค 2536 ต้อง วัดค่า Co ไม่เกิน 1.5 เปอร์เซนต์  และค่า Hc ไม่เกิน 200 PPM

ส่วนถ้าเป็นรถเครื่องยนต์ดีเซลไม่ว่าจะเปลี่ยนโบใหญ่ แต่งปั้มเพียงใด
มาตรฐานการวัดควันดำ ต้องไม่เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ ด้วยเครื่องวัดแบบกระดาษกรอง และ 45 เปอร์เซ็นต์ ด้วยเครื่องวัดแบบหาความทึบแสง
ซึ่งรถยนต์ที่มีอายุเกิน7 ปี ต้องได้รับการตรวจวัดค่า Co และ Hc จาก ต.ร.อ
ดังนั้นจะโมเครื่องแค่ไหนแต่งเครื่องอย่างไร ถ้าการเผาไหม้หมดจด Co และ Hc ผ่านก็ถือว่าถูกกฎหมาย 

ถึงจะแต่งรถถูกกฎหมาย แต่ถ้าเอารถ 500 ม้า 1000 ม้า มาวิ่งหวาดเสียวบนท้องถนน หรือไล่แซงผู้อื่นแบบแข่งขัน   แบบนี้ของเพียงอย่าให้ถูกจับได้  ซึ่งอาจมีความผิดตาม พรบ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43(8) , 160 วรรคสาม ฐานขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัย หรือความเดือดร้อนของผู้อื่น  ถูกจับฟ้องศาล ยึดรถ คุมความประพฤติ แบบนี้อาจเรียกว่า จบเกมส์จริงๆ ใช่ไหมล่ะครับ

ปล. บทความใน website www.thaispeedcar.com อนุญาติให้คัดลอกได้ ควรให้เกียรติผู้เขียน และที่มา ด้วยนะครับ



หัวข้อ: Re: เรียนรู้กฎหมายการแต่งรถ แต่งอย่างไร ถึงจะเรียกว่า ผิด หรือไม่ผิด...
เริ่มหัวข้อโดย: TAOTAO-TZ#056- ที่ 10 กันยายน 2010 08:34:37
เนติไทยดอทคอม : สังคมแห่งการแบ่งปันและการเรียนรู้กฎหมาย
ห้องทั่วไป => เก็บมาฝาก => ข้อความที่เริ่มโดย: newwave ที่ 19 ธ.ค. 52, 19:41:33 น.


--------------------------------------------------------------------------------
หัวข้อ: มาดูการแต่งรถให้ถูกกฎหมายคับ
เริ่มหัวข้อโดย: newwave ที่ 19 ธ.ค. 52, 19:41:33 น.
--------------------------------------------------------------------------------


มาดูการแต่งรถให้ถูกกฎหมายคับ

กฎหมายพระราชบัญญัติรถยนต์ เพื่อให้เพื่อน ๆ วัยรุ่น วัยมันส์ ขาซิ่งทั้งหลายได้รับรู้กันทั่วหน้ากันครับ เริ่มด้วยเรื่องของ

การใส่ Part (ชุดแต่งรอบคัน)
รวมไปถึงชุดกันชนรอบคันด้วย ซึ่งกรณีนี้ทางเจ้าหน้าที่จะพิจารณาจากลักษณะของการติดตั้ง หากติดตั้งในลักษณะที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกา ย หรือจิตใจของผู้อื่น เช่น ไม่ติดยื่น ติดยาวจนเกินไป และไม่มีส่วนหนึ่ง ส่วนใดเป็นสิ่งแหลมคม ยื่นออกมาทำร้ายให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ อันนี้ถือว่าไม่ผิดกฎหมายนะครับ แต่จะผิดกฎหมายก็ต่อเมื่อติดตั้งในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย หรือจิตใจของผู้อื่น เช่น ติดยื่น ติดยาวจนเกินไป หรือมีลักษณะเป็นของแหลมคม จนมีคนเดินผ่านรถไปเฉี่ยวถูกทำร้ายให้ได้รับบาดเจ็บ

((http://topicstock.pantip.com/ratchada/topicstock/2009/01/V7419126/V7419126-0.jpg))

ต่อไปว่าด้วยเรื่อง กระจกมองข้างแต่งซิ่งทรงต่าง ๆ ซึ่งการติดกระจกมองข้างทรงต่าง ๆ ไม่ว่าจะอันเล็ก อันใหญ่ ถือว่าไม่ผิดกฎหมาย สามารถติดได้ เหตุผลเพราะ พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 บัญญัติว่า รถยนต์ต้องมีและใช้เครื่องอุปกรณ์สำหรับรถดังต่อไปนี้
- เครื่องมองหลัง เป็นกระจกเงา ติดอยู่ในที่ที่ผู้ขับรถ สามารถมองเห็นภาพการจราจรด้านข้าง และด้านหลังได้ทุกขณะอย่างชัดเจน
เนื่องจากไม่ได้กำหนดจำนวน หรือขนาดของเครื่องมองหลัง ดังนั้นจึงสามารถติดเพิ่มจากเดิมได้โดยไม่ผิดกฎหมาย

((http://topicstock.pantip.com/ratchada/topicstock/2009/01/V7419126/V7419126-1.jpg))

อีกเรื่องกับเทรนด์ฮิต ไฟตัดหมอก ซึ่งขอบอกเอาไว้เลยนะครับว่าไม่ผิดกฎหมาย แต่ก็มีข้อกำหนดกฎเกณฑ์เอาไว้ไม่ให้เกินงามด้วยเช่นกัน ดังนี้

1. สามารถติดได้ที่หน้ารถข้างละหนึ่งดวงอยู่ในระดับเดียวกัน ใช้ไฟแสงขาว หรือแสงเหลือง
มีกำลังไฟเท่ากันไม่เกินดวงละ 55 วัตต์ สูงจากพื้นทางราบไม่เกินกว่าระดับโคมไฟแสงฟุ่งไกล (ไฟสูง) และโคมไฟแสงพุ่งต่ำ (ไฟต่ำ) ศูนย์รวมแสงต้องอยู่ต่ำกว่าแนวขนานกับพื้นทางราบไม่น้อยกว่า 2 องศา หรือ 0.20 เมตรในระยะ 7.50 เมตร และไม่เฉไปทางขวา

2. ไฟตัดหมอกจะเปิดไฟ หรือใช้แสงสว่างได้เฉพาะในทางที่จะขับรถผ่าน มีหมอก ควัน หรือฝุ่นละอองจนเป็นอุปสรรค อันอาจเกิดอันตรายในขณะขับรถ และเมื่อไม่มีรถอยู่ด้านหน้าหรือสวนมาในระยะของแสงไฟ

ดังนั้น สรุปว่า
1. การติดไฟตัดหมอก มีเงื่อนไขตาม ข้อ 1
2. การใช้ไฟตัดหมอก ต้องปฎิบัติตามเงื่อนไขตาม ข้อ 2

((http://topicstock.pantip.com/ratchada/topicstock/2009/01/V7419126/V7419126-2.jpg))

อีกหนึ่งเรื่องที่วัยรุ่นนั้นขาดไม่ได้เช่นกันนั่นก็คือ ท่อไอเสีย

รถยนยต์ที่มีการเปลี่ยนแปลงขนาดท่อไอเสีย และปลายท่อด้านท้ายมีขนาดใหญ่กว่าปรกติ ซึ่งจะมีความผิดหรือไม่นั่นบอกได้เลยว่า ไม่ผิดครับ แต่สำคัญอย่าให้เสียงดังเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ก็พอ
คือ ต้องไม่เกิน 100 เดซิเบล

((http://topicstock.pantip.com/ratchada/topicstock/2009/01/V7419126/V7419126-3.jpg))

เรื่องนี้ก็สำคัญ และยังเป็นที่ค้างคาอยู่ในจิตใจของวัยรุ่นมาโดยตลอดกับการโหลดเตี้ย-ยกสูง

ว่าที่ถูกกฎหมาย และผิดกฎหมายนั้นเป็นยังไง (ทำไมรถโหลดเตี้ยชอบโดนจับ แต่ทำไมรถ Off Road ยกสูงถึงไม่ค่อยโดนจับ) กล่าวเลย ก็คือ รถโหลดเตี้ย หรือรถยกสูง ไม่ผิดกฎหมาย เว้นแต่รถโหลดเตี้ย หากโหลดแล้ว มีผลต่อเนื่องไป ทำให้ส่วนอื่นของรถผิดกฎหมายไปก็จะถือว่ามีความผิดไปด้วย

ซึ่งเห็นได้ชัดที่สุดคือ การโหลดเตี้ยทำให้ระดับของไฟหน้ารถผิดไปจากเดิมตามที่กฎหมายพระราชบัญญัติรถยนต์กำหนดไว้ ได้แก่ ไฟหน้ารถถูกกำหนดให้สูงจากพื้นทางราบถึงจุดศูนย์กลางดวงโคมไม่น้อยกว่า 0.60 ม. แต่ไม่เกิน 1.35 ม. หากนำรถไปโหลดเตี้ยแล้วลองเอาไม้บรรทัดวัดดูว่าน้อยกว่า 0.60 ม. หรือไม่ หากน้อยกว่าก็ผิดกฎหมายครับ สำหรับรถยกสูงหากไฟสูงเกิน 1.35 ม. ก็ผิดกฎหมายพระราชบัญญัติรถยนต์เช่นเดียวกันครับ
ถ้าโหลดตามรูปก็ผิดนะคับ อิอิ

((http://topicstock.pantip.com/ratchada/topicstock/2009/01/V7419126/V7419126-4.jpg))

เรื่องสุดท้ายกับสิ่งที่ไม่สามารถยั้งใจวัยรุ่นเอาไว้ได้ นั่นก็คือ เรื่องของความเร็วสำหรับวัยรุ่นขาซิ่ง และ การตรวจจับความเร็ว ของทางเจ้าหน้าที่ในลักษณะที่ผิดกฎหมายนั้นก็ได้แก่

1. ความเร็วตามที่กฎหมายกำหนด สำหรับประเทศไทยนั้นแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน

1.1 ความเร็วตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งเป็นกฎกระทรวงออกตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ ระบุไว้โดยสรุปดังนี้
รถส่วนบุคคล รถเก๋ง รถแท๊กซี่ รถปิคอัพขนาด 1 ตัน
- ใช้ความเร็วในเขต กทม.หรือ เขตเทศบาลได้ไม่เกิน 80 กม./ชม.
- ใช้ความเร็วนอกเขต กทม.หรือนอกเขตเทศบาล ใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 90 กม./ชม.
- ซึ่งความเร็วดังกล่าวข้างต้นรวมถึงบนทางด่วนทุกขั้น (ที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร) ด้วย

1.2 ยกเว้นทางมอเตอร์เวย์ มีกฎหมายระบุไว้เป็นการเฉพาะให้วิ่งได้ไม่เกิน 120 กม./ชม. เหตุที่เป็นเช่นนี้เข้าใจว่า เพราะมอเตอร์เวย์เป็นทางในระดับพื้นราบ ไม่มีทางโค้ง หรือจุดที่เกิดอันตรายมาก และส่วนใหญ่เป็นเส้นทางตรง ๆ ไม่ค่อยมีทางร่วมหรือทางเชื่อม ทำให้รถสามารถใช้ความเร็วได้มากอย่างปลอดภัย แต่บนทางด่วน มีทางเชื่อม ทางขึ้นลง ทางแยก รวมทั้ง มีทางโค้ง โค้งหักศอก เป็นทางยกระดับ ทางลาดชัน อาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย หากใช้ความเร็วสูง ซึ่งก็มีตัวอย่างให้เห็นบ่อย ๆ กรณีรถเกิดอุบัติเหตุแล้ว ตกลงจากทางด่วนลงมาพื้นราบ ทำให้คนที่ไม่มรู้เรื่องรู้ราวด้านล่างตายไปหลายกรณี แล้ว

1.3 กรณีการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจนั้น ส่วนใหญ่จะบังคับใช้ หรือเข้มงวดกับรถที่ขับรถเร็วจนผิดปกติ หรือใกล้จุดที่น่าจะเกิดอันตราย เช่น แหล่งชุมชน เป็นต้น และจะมีการใช้เครื่องเรดาห์ ในการตรวจจับโดยเครื่องดังกล่าว ได้รับการรับรองความมาตรฐานจากกองทัพอากาศ เป็นระยะ ๆ เพื่อกันปัญหาร้องเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนทางด่วนจะมีการเรียกตรวจจับที่คว ามเร็วเกินกว่า 110 กม./ชม. โดยผู้ขับขี่จะถูกเรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่รถ และออกใบแทน (ใบสั่ง) ให้รับไป ซึ่งกฎหมายกำหนดอัตราโทษไว้ ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ส่วนใหญ่พนักงานสอบสวนจะปรับไม่เกิน 500 บาท แต่จะถูกยึดใบขับขี่ตามมาตรการบันทึกคะแนนไว้ 15 วัน หลังจากนั้น มารับใบขับขี่คืนได้ที่โรงพักที่เราเสียค่าปรับ

((http://topicstock.pantip.com/ratchada/topicstock/2009/01/V7419126/V7419126-5.jpg))

ปกติการจับกุมผู้ขับขี่รถเร็วกว่า กม.กำหนดก็ได้ทำเป็นเหตุการณ์ประจำวันอยู่แล้ว แต่บาง สน.ไม่มีพื้นที่ให้จับเนื่องจากไม่มีระยะทางไกล ๆ ในการยิงด้วยเครื่องตรวจจับ เฉลี่ยเดือนละประมาณ 1,000 ราย

การขับรถด้วยความเร็วไม่เกิน 90 กม./ชม. อาจดูช้าไปบ้างในเขตกรุงเทพฯ แต่เป็นความเร็วที่เมื่อเกิดอุบัติเหตุจะลดความรุนแรงของการบาดเจ็บได้ รวมทั้งเป็นความเร็วที่ประหยัดน้ำมัน ในยุคพลังงานเชื้อเพลิงมีราคาแพง ส่วนผลต่างของเวลาระหว่าง 90 กม./ชม. กับ 110 กม./ชม. จะไม่มีความแตกต่างกันมากนัก

เครดิต
ขอขอบคุณ ที่มา หนังสือ The Truck ฉบับ ส.ค.51
ท่าน chp__chp จาก cm-club
((http://topicstock.pantip.com/ratchada/topicstock/2009/01/V7419126/V7419126-6.jpg))

จากคุณ : bigkeymouse PANTIP.com
http://topicstock.pantip.com/ratchada/topicstock/2009/01/V7419126/V7419126.html


หัวข้อ: Re: เรียนรู้กฎหมายการแต่งรถ แต่งอย่างไร ถึงจะเรียกว่า ผิด หรือไม่ผิด...
เริ่มหัวข้อโดย: ae100ao ที่ 10 กันยายน 2010 08:50:10
ข้อมูลดีมากคับ :emo2 :emo2 :emo2


หัวข้อ: Re: เรียนรู้กฎหมายการแต่งรถ แต่งอย่างไร ถึงจะเรียกว่า ผิด หรือไม่ผิด...
เริ่มหัวข้อโดย: poky ที่ 10 กันยายน 2010 08:54:12
 :emotn


หัวข้อ: Re: เรียนรู้กฎหมายการแต่งรถ แต่งอย่างไร ถึงจะเรียกว่า ผิด หรือไม่ผิด...
เริ่มหัวข้อโดย: ~ Funky_nu_NoO : ที่ 10 กันยายน 2010 09:00:35
ไม่รู้ของเว็บนู้นที่โดนลบเป็นยังไง แต่ขอบคุณพี่เต๋ามากเลยครับ  :emotn


หัวข้อ: Re: เรียนรู้กฎหมายการแต่งรถ แต่งอย่างไร ถึงจะเรียกว่า ผิด หรือไม่ผิด...
เริ่มหัวข้อโดย: noohnu ที่ 10 กันยายน 2010 09:03:49
ข้อมูล...สุดยอดเลยครับ


หัวข้อ: Re: เรียนรู้กฎหมายการแต่งรถ แต่งอย่างไร ถึงจะเรียกว่า ผิด หรือไม่ผิด...
เริ่มหัวข้อโดย: VIP-AE92 ที่ 10 กันยายน 2010 09:14:50
 :emo2 :emo2
 :emotn :emotn


หัวข้อ: Re: เรียนรู้กฎหมายการแต่งรถ แต่งอย่างไร ถึงจะเรียกว่า ผิด หรือไม่ผิด...
เริ่มหัวข้อโดย: yoshio ae ที่ 10 กันยายน 2010 09:40:26
ไฟสปอร์ทไลท์และโคมไฟตัดหมอก ผิดกฎหมายหรือไม่ ติดอย่างไรถึงจะว่าไม่ผิด
โคมไฟสปอร์ทไลท์หมายถึงโคมไฟแสงพุ่งไกล แบบกระจายวงกว้าง แบบนี้ห้ามติดโดยเด็จขาดแม้จะมีฝาครอบปิด
 ผิดพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
ส่วนไฟตัดหมอกมีลักษณะเป็นไฟแสงพุ่งต่ำล่าสุดปี พ.ร.บ. 2536 อนุญาตให้รถยนต์ติดไฟสปอร์ตไลท์หรือ ไฟตัดหมอกเพิ่มได้ ข้างละ 1 ดวง (เท่ากับ 2 ดวง)ในระดับแนวเดียวกัน ความสูงจากพื้นถนนไม่ต่ำกว่า 40 เซนติเมตรและไม่สูงกว่า 135 เซนติเมตร ต้องเป็นแสงสีเหลือง หรือสีขาว กำลังไฟไม่เกิน55 วัตต์ ไม่เกินกว่าระดับโคมไฟแสงพุ่งไกลและโคมไฟแสงพุ่งต่ำศูนย์รวมแสงต้องต่ำกว่าแนวขนานกับพื้นราบไม่น้อยกว่า 2 องศา หรือ 0.20 เมตร ในระยะ 7.50 เมตร และไม่เฉไปทางขวา
ส่วนการเปิดไฟตัดหมอกนั้นทำได้เมื่อมีอุปสรรค์ในการขับขี่ เช่นมีหมอกควัน หรือฝนตกหนัก มองเห็นสิ่งกีดขวางหรือรถที่สวนทางมาในระยะไม่เกิน 150 เมตร ถ้าติดไม่ถูกต้อง หรือเปิดไฟพร่ำเพื่อมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท


ถ้าแบบนี้กันชนหน้าผมก็ผิดเต็มๆเลยอ่ะคับ


หัวข้อ: Re: เรียนรู้กฎหมายการแต่งรถ แต่งอย่างไร ถึงจะเรียกว่า ผิด หรือไม่ผิด...
เริ่มหัวข้อโดย: yoshio ae ที่ 10 กันยายน 2010 09:48:19
เมื่อก่อนที่เป็นสภาพนี้ผ่านด่านไหนโดนทุกด่าน

เหมือนต้องบริจาคทานทุกครั้งเลย ครั้งละ 100-300 บาท

สุดท้ายทำสีเดียวกับตัวรถไปเลยจบ  ไม่เคยโดนเรียกอีกเลย

(http://images.temppic.com/10-09-2010/images_vertis/1284086929_0.13933200.jpg) (http://www.temppic.com/img.php?10-09-2010:1284086929_0.13933200.jpg)

(http://images.temppic.com/10-09-2010/images_vertis/1284086929_0.49714700.jpg) (http://www.temppic.com/img.php?10-09-2010:1284086929_0.49714700.jpg)

(http://images.temppic.com/10-09-2010/images_vertis/1284087002_0.07737000.jpg) (http://www.temppic.com/img.php?10-09-2010:1284087002_0.07737000.jpg)


หัวข้อ: Re: เรียนรู้กฎหมายการแต่งรถ แต่งอย่างไร ถึงจะเรียกว่า ผิด หรือไม่ผิด...
เริ่มหัวข้อโดย: TAOTAO-TZ#056- ที่ 10 กันยายน 2010 09:51:23
ไม่รู้ของเว็บนู้นที่โดนลบเป็นยังไง แต่ขอบคุณพี่เต๋ามากเลยครับ  :emotn
อันเดียวกันครับ มีคนก๊อบไปลงหลายที่อยู่....  :emotn


หัวข้อ: Re: เรียนรู้กฎหมายการแต่งรถ แต่งอย่างไร ถึงจะเรียกว่า ผิด หรือไม่ผิด...
เริ่มหัวข้อโดย: จี่จี๋ รักในหลวง ที่ 10 กันยายน 2010 10:50:30
ข้อมูลดี เอามาเผยแพร่ เอาไป 1 กาโหลก ตาเต๋า อิอิ


หัวข้อ: Re: เรียนรู้กฎหมายการแต่งรถ แต่งอย่างไร ถึงจะเรียกว่า ผิด หรือไม่ผิด...
เริ่มหัวข้อโดย: ตก...กาป๋อง ที่ 10 กันยายน 2010 11:26:08
ความรู้ทั้งนั้น...ขอบคุณครับ   :emotn


หัวข้อ: hidden
เริ่มหัวข้อโดย: cmos"79 ที่ 10 กันยายน 2010 11:43:37
ขอบคุณครับความรู้ดีๆ เอา ไว้ เถียงกะ ตำ รวจ


หัวข้อ: Re: เรียนรู้กฎหมายการแต่งรถ แต่งอย่างไร ถึงจะเรียกว่า ผิด หรือไม่ผิด...
เริ่มหัวข้อโดย: ขุนสุราบาน ที่ 10 กันยายน 2010 13:59:48
ถ้าตามกฎหมายก้อตามนั้นคับ ส่วนหน้างานก้อตาม....


หัวข้อ: Re: เรียนรู้กฎหมายการแต่งรถ แต่งอย่างไร ถึงจะเรียกว่า ผิด หรือไม่ผิด...
เริ่มหัวข้อโดย: wolfboy ที่ 10 กันยายน 2010 21:02:41
 :emo2