AE. Racing Club

AE Racing Club - ต่างจังหวัด => โซนชลบุรี => ข้อความที่เริ่มโดย: ชาติจร๊า!!! ที่ 06 เมษายน 2010 16:56:44



หัวข้อ: ประวัติ 4AGE <ซ้ำขออภัย>
เริ่มหัวข้อโดย: ชาติจร๊า!!! ที่ 06 เมษายน 2010 16:56:44
ไปเจอมาครับ เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยครับ


คุณทราบหรือไม่ว่าเครื่องยนต์รุ่น 4A-GE นั้นมีกี่รุ่น และแต่ละรุ่นมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง...อ้า! ยกตัวอย่างเครื่อง 4A-GE รุ่นแรกเลย 16Valve ที่สายหัวเทียนโชว์ให้เห็นกันแบบจะๆ กับอีกรุ่นนึง ซึ่งเป็นรุ่นต่อมาที่มีฝาปิดสายหัวเทียนเรียบร้อย แถมมีการปรับปรุงอีกเยอะแยะ เช่น
- ขยายความจุของชุดกรองอากาศ
- เสริมชุดรีโซแนนซ์ช่วย(Secondary Resonator)
- เปลี่ยนลักษณะช่องทางไอดีในฝาสูบ
- เปลี่ยนลักษณะแนวการไหลเข้าของอากาศเย็น
- ขยายขนาดของท่อร่วมไอเสีย
- เพิ่มวงจรป้องกันเครื่องยนต์น๊อค
- เพิ่มอัตราส่วนกำลังอัดจาก 9.4 : 1 เป็น10.3 : 1
- ใช้ระบบการฉีดเชื้อเพลิงแบบแยกอิสระเป็น 2กลุ่ม
- เปลี่ยนหัวฉีดสตาร์ทเย็นเป็นแบบ 2รู
- เปลี่ยนระยะห่างเขี้ยวหัวเทียน จาก 1.1mm. เป็น 0.8mm.
- เปลี่ยนรูปร่างของฝาครอบจานจ่าย
- เปลี่ยนแนวท่อร่วมไอดี และยกเลิกระบบ T-VIS
เพราะถึงมันจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการประจุไอดีที่ความเร็วรอบสูงได้เยอะก็จริง แต่มันก็ทำให้สมรรถนะด้านแรงบิดที่รอบต่ำลดลง ส่วนเครื่อง 4A-GE รุ่นใหม่กว่า เค้าปรับปรุงให้มีแรงบิดที่รอบต่ำที่ดีกว่า โดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเผาไหม้
เป็นไงหล่ะครับ...ฮ่าฮ่าฮ่า! เครื่องแต่ละปีแต่ละรุ่นมีความแตกต่างกันมิใช่น้อยเลยใช่ม๊า นี่แค่ตัวอย่างเครื่องรุ่น 4A-GE 16Valveนะ นอกจากนี้นะยังต้องดูถึงว่าเครื่องแต่ละตัวที่ใช้กันแต่ละปี มันก็ยังมีข้อแตกต่างกันอีก ซึ่งมีการดัดแปลงตามความเหมาะสม อย่างวางใน MR 2 ที่เป็นเครื่องท้ายขับหลัง จุดยึด และส่วนประกอบก็แตกต่างกัน หรือแม้แต่เครื่องตัวเดียวกันเนี่ยแต่ไปอยู่ประเทศอื่นก็จะมีสเปคที่ต่างกัน เช่นเครื่อง 4A-GE สมัยอยู่ญี่ปุ่น มีพลัง 140ps ที่ 7,200rpm และแรงบิดสูงสุด 15kg/m ที่ 6,000rpm พอลงเรือล่องทะเลมาอยู่ใน Corolla AE92 บ้านเรา เหลือพลังให้ใช้กัน 130.5ps ที่ 7,000rpm แรงบิดสูงสุดเหลือแค่ 14.8kg/m ที่ 6,000rpm (เอะ! หายไปไหนหว่า สงสัยจะตกทะเลตายไประหว่างทาง เหอๆ) นี่เป็นการยกตัวอย่างให้เห็นว่าเครื่องแต่ละรุ่นแต่ละปีนั้นมีความแตกต่างกันไม่น้อย ตามความเหมาะสมกับรูปแบบ ของรถด้วย แต่ผมคงไม่พูดถึงข้อแตกต่างกันอย่างละเอียดเหมือนตัวอย่างที่ยกให้ดูข้างบนหรอกนะ เอาแค่คร่าวๆพอ ลงสเปคให้ดูพอ




เครื่อง4A-GE รุ่นแรก สมัยปี 1984-1985 เริ่มใช้กับรถขับเคลื่อนล้อหลังเช่น Corona รุ่นหน้าแหลม Celica, Carina, Corolla Levin, Corolla Sprinter และMR 2 สังเกตกันได้ง่ายเพราะจะมีสายหัวเทียนโผล่ออกมา ดูแล้วรุงรัง สายหัวเทียนที่ฝาครอบจานจ่ายจะกระจายไปรอบตัว ซึ่งในยุคนั้นจะเป็นเครื่อง 4A-GEU และ4A-GELU รวม 2รุ่นแต่มีสเปคเครื่องเหมือนกัน

เครื่อง 4A-GEU และ4A-GELU ปี1984-1985
General DOHC 4cylinder 16valve
Capacity 1,587cc.
Bore 81mm.
Stroke 77mm.
Compression ratio 9.4 : 1
Max Power(hp) 130 at 6,600rpm
Max Torque(kg/cm) 15.2 at 5,200rpm

พอมาช่วงปี 1986-1987 เครื่อง 4A-GEU และ4A-GELU รูปทรงของเครื่อง และสเปคเครื่องยังไม่เปลี่ยน มีการโชว์สายหัวเทียนเหมือนเดิม แต่มีการเพิ่มเครื่อง 4A-GZE พลังซุปเปอร์ชาร์จแบบ Roots Type ในบอดี้ของ MR 2 เพิ่มขึ้นมาอีกเครื่อง ซึ่งตัวบล็อคของ 4A-GZE มันก็เหมือนกับ 4A-GEU และ4A-GELU มีการโชว์สายหัวเทียนอยู่เหมือนเดิม แต่เปลี่ยนจานจ่ายเป็นรุ่นใหม่ แบบที่เรียงเป็น 2แถวซ้อนกัน และขั้วเสียบสายหัวเทียนชี้ขึ้นด้านบนหมด ไม่กระจายรอบตัวแบบเครื่อง 4A-GEU และ4A-GELU

เครื่อง 4A-GZE ปี1986-1987
General DOHC 4cylinder 16valve Supercharger
Capacity 1,587cc.
Bore 81mm.
Stroke 77mm.
Compression ratio 8.0 : 1
Max Power(hp) 145 at 6,400rpm
Max Torque(kg/cm) 19.0 at 4,400rpm

สำหรับปี 1987-1988 เครื่องบล็อก 4A-GZE ยังใช้สเปคเหมือนเดิม เบ่งพลังออกมาให้ใช้ 145ps ที่ 6,000rpm แต่หน้าตาได้เปลี่ยนไปแล้ว คือจะมีตัวหนังสือคำว่า SUPER CHARGER สีแดงแถวขอบ Intercooler ตัวไดชาร์จที่เคยอยู่ใต้จานจ่าย เที่ยวนี้ถูกไล่ไปอยู่ข้างๆอ่างน้ำมันเครื่อง ส่วนเครื่อง 4A-GELU และ4A-GE(ไม่มี U ต่อท้ายแล้ว) หน้าตายังคงเหมือนเดิม แต่ภายในได้เปลี่ยนไป ทำให้เรี่ยวแรงถดถอยลงกว่าเดิมอีก (เหอๆ จะเปลี่ยนทำไมหว่า)

เครื่อง 4A-GELU และ4A-GE ปี1987-1988
General DOHC 4cylinder 16valve
Capacity 1,587cc.
Bore 81mm.
Stroke 77mm.
Compression ratio 9.4 : 1
Max Power(hp) 120 at 6,600rpm
Max Torque(kg/cm) 14.5 at 5,200rpm



ในปี 1989-1990 เครื่องตัว 4A-GE เริ่มมีการแต่งหน้าทาปากเสริมหล่อมากขึ้น มีแผ่นปิดสายหัวเทียนเรียบร้อยไม่เกะกะสายตา พร้อมกับเพิ่มพลังให้มากขึ้นด้วย จะได้ไม่ถูกพรรคพวกพิกัดเดียวกันสวนเอาง่ายๆ (เหอๆ จะเหลือไม๊เนี่ย) ส่วนเครื่อง 4A-GZE ถึงจะไม่มีการแต่งเติมเสริมความหล่อก็ตาม แต่ภายในมีการอัดฉีดเพิ่มพลังกังฟู จนได้พลังเพิ่มขึ้นอีกโขเลยทีเดียว

เครื่อง 4A-GE ปี1989-1990
General DOHC 4cylinder 16valve
Capacity 1,587cc.
Bore 81mm.
Stroke 77mm.
Compression ratio 10.3 : 1
Max Power(hp) 140 at 7,200rpm
Max Torque(kg/cm) 15 at 6,000rpm



เครื่อง 4A-GZE ปี1989-1990
General DOHC 4cylinder 16valve Supercharger
Capacity 1,587cc.
Bore 81mm.
Stroke 77mm.
Compression ratio 8.9 : 1
Max Power(hp) 165 at 6,400rpm
Max Torque(kg/cm) 21.0 at 4,400rpm

ปี 1991-1992 เครื่องบล็อค 4A-GE และ4A-GZE มีการปรับปรุงครั้งยิ่งใหญ๋ ไม่ว่าจะเป็นรูปลักษณ์ภายนอกที่ดูน่าสยิว(เจ้ย..ไม่ช่าย) ที่ดูน่าคบหายิ่งขึ้น ภายในก็มีเรี่ยวแรงให้ใช้มากกว่าเดิม ตัว 4A-GE คราวนี้เปลี่ยนฝาสูบเป็นแบบเรียบคล้ายกับเครื่อง JZ ฝาวาล์วมีเครื่องหมาย "3ห่วง" ของToyota พร้อมกับคำว่า "TWIN CAM 20" ประดับอยู่ เพราะได้เปลี่ยนมาใช้วาล์ว 5ตัวต่อสูบแล้ว โดยวางเครื่องตัวนี้ลงในบอดี้ของ Sprinter 1600 GT-Apex กับ Levin GT-Apex ส่วนเครื่อง 4A-GE 16Valve 140ps ก็ยังใช้อยู่ เครื่อง 4A-GZE ก็แปลงโฉมด้วยเช่นกัน ตัวIntercooler บนฝาครอบวาล์ว จะมีเครื่องหมาย "3ห่วง" และคำว่า "SUPER CHARGER" สีขาวบนพื้นดำติดเอาไว้ แทนรุ่นเก่าที่ตัวหนังสือเป็นสีแดง และยังเปลี่ยนจากเดิมที่ใช้มาตรวัดการไหลของอากาศแบบAir flow meter มาเป็นแบบ Map sensor ทำให้มีพลังออกมาให้ใช้กัน 170ps ที่ 6,400rpm



เครื่อง 4A-GE 20valve ปี1991-1992
General DOHC 4cylinder 20valve
Capacity 1,587cc.
Bore 81mm.
Stroke 77mm.
Compression ratio 10.5 : 1
Max Power(hp) 160 at 7,400rpm
Max Torque(kg/cm) 16.5 at 5,200rpm



เครื่อง 4A-GZE ปี1991-1992
General DOHC 4cylinder 16valve Supercharger
Capacity 1,587cc.
Bore 81mm.
Stroke 77mm.
Compression ratio 8.9 : 1
Max Power(hp) 170 at 6,400rpm
Max Torque(kg/cm) 21.0 at 4,400rpm

สำหรับปี 1993-1994 มีหลงเหลือให้ใช้กันเพียงแค่ตัว 4A-GE 20Valve 160ps ที่ 7,400rpm เท่านั้น ส่วนเจ้า 4A-GZE ซุปเปอร์ชาร์จก็ได้หายหน้าหายตาไปแล้ว พอมาถึงปี 1995-1996 เครื่อง 4A-GE 20Valve ก็ได้ถูกพัฒนาขึ้นไปอีกระดับ เปลี่ยนจากที่ใช้มาตรวัดการไหลของอากาศแบบAir flow meter มาเป็น Map sensor แทน แล้วเพิ่มกำลังอัดจากเดิม 10.5 : 1 เป็น11.0 : 1 ทำให้มีเรี่ยวแรงเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม ส่วนเจ้า 4A-GZE ซุปเปอร์ชาร์จ ก็ไม่เห็นวี่แววว่าจะมายัดใส่ห้องเครื่องรถคันไหนอีกเลย



เครื่อง 4A-GE 20valve ปี1995-1996
General DOHC 4cylinder 20valve
Capacity 1,587cc.
Bore 81mm.
Stroke 77mm.
Compression ratio 11.0 : 1
Max Power(hp) 165 at 7,800rpm
Max Torque(kg/cm) 16.5 at 5,600rpm


ปล.อยากแรงมั้งจังเลยคร๊าบบบบ


หัวข้อ: Re: ประวัติ 4AGE <ซ้ำขออภัย>
เริ่มหัวข้อโดย: MR..LIM ที่ 06 เมษายน 2010 17:33:49
 :emom :emom :emom


ไม่มี  4E บ้างหรอ  :emoq :emoq :emoq


หัวข้อ: Re: ประวัติ 4AGE <ซ้ำขออภัย>
เริ่มหัวข้อโดย: ชาติจร๊า!!! ที่ 06 เมษายน 2010 18:29:19
:emom :emom :emom


ไม่มี  4E บ้างหรอ  :emoq :emoq :emoq
เดี๋ยวตามหาให้ครับ
ทำโอป่าวคร๊าบบบบ


หัวข้อ: Re: ประวัติ 4AGE <ซ้ำขออภัย>
เริ่มหัวข้อโดย: ชาติจร๊า!!! ที่ 06 เมษายน 2010 18:38:59
:emom :emom :emom


ไม่มี  4E บ้างหรอ  :emoq :emoq :emoq
เดี๋ยวตามหาให้ครับ
ทำโอป่าวคร๊าบบบบ

อันนี้น่าจะได้นะครับ

โตโยต้า
โคโรลล่า (Toyota
Corolla) (Corolla แปลว่า กลีบดอกไม้)เป็นรถโตโยต้ารุ่นที่ประสบความสำเร็จทั้งด้านการขายและการเป็น ที่นิยมมายาวนาน โดยเฉพาะในเมืองไทย รู้จักรถโคโรลล่านี้มาอย่างกว้างขวางและยาวนาน
โดยเฉพาะในปัจจุบัน นิยมเอารถโตโยต้า
โคโรลล่า อัลติส (Toyota
Corolla Altis) มาทำรถแท็กซี่ในเมืองไทย
โดยรถโตโยต้า โคโรลล่า จัดอยู่ในระดับรถขนาดเล็กมาก
(Subcompact) ในโฉมที่ 1-5 ส่วนโฉมที่ 6 เป็นต้นมา จัดอยู่ในระดับรถขนาดเล็ก (Compact)

โคโรลล่า เป็นคู่แข่งทางธุรกิจกับ ฮอนด้า ซีวิค
นิสสัน ทีด้า เชฟโรเล็ต ออพตร้า และ มิตซูบิชิ แลนเซอร์
ในฐานะที่เป็นรถที่ไม่เล็กเกินไปในการใช้เป็นรถครอบครัว ทำให้สามรุ่นนี้เป็นรถที่พบเห็นได้ค่อนข้างมากบนท้องถนนไทยในปัจจุบัน มีวิวัฒนาการตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน
แบ่งเป็น 10 รูปโฉม ได้แก่……………………………..

Generation ที่ 1
(ผลิตระหว่าง
ค.ศ. 1966-1970)
 
โตโยต้า โคโรลล่า โฉมที่ 1โฉมนี้ เปิดตัวครั้งแรกใน ค.ศ. 1966 รหัสตัวถัง KE10 โดยในช่วงแรก ผลิตเพียงตัวถังแบบ sedan 2 ประตู แล้วตัวถังแบบ sedan 4 ประตูเริ่มมีใน ค.ศ. 1967 และตัวถัง station
wagon 4 ประตู
ก็เริ่มผลิตใน ค.ศ. 1968 และตามด้วยรถ coupe 2 ประตูปิดท้ายรุ่น โดยรถคูเป้ 2 ประตู โคโรลล่าได้ตั้งชื่อเฉพาะให้ว่า
โคโรลล่า สปรินเตอร์ รหัสตัวถัง KE15 โดยในระหว่างโฉมแรกนี้
มี 2 ขนาดเครื่องยนต์ให้เลือก คือ 1.1 ลิตรในช่วงแรก และ 1.2 ลิตรในช่วง ค.ศ. 1969 เป็นต้นไป

ระบบเกียร์ในสมัยนั้น ไม่เน้นการประหยัดน้ำมัน
และเทคโนโลยียังไม่ก้าวหน้า ระบบเกียร์ในรถโคโรลล่าโฉมนี้ จึงมี 2 ระบบให้เลือก คือ เกียร์ธรรมดาเพียง 4 สปีด และเกียร์อัตโนมัติเพียง 2 สปีด
แต่การที่มีเครื่องยนต์ลูกสูบขนาดเล็ก
ทำให้รถประหยัดน้ำมัน ชดเชยการที่เกียร์มีไม่กี่สปีด

โคโรลล่าเลิกผลิตโฉมนี้ใน ค.ศ. 1970 เนื่องจากมีการเปิดตัว โคโรลล่า โฉมที่
2

Generation ที่ 2
(ผลิตระหว่าง
ค.ศ. 1970-1978)
 
โตโยต้า โคโรลล่า โฉมที่ 2โฉมนี้ เปิดตัวครั้งแรกใน ค.ศ. 1970 รหัสตัวถัง KE20 โดยรถรุ่นโคโรลล่า สปรินเตอร์ (Corolla Sprinter) มีการเพิ่มรูปแบบตัวถัง sedan เข้าไปในเมนูผลิต และมีการเปิดตัวรถรุ่น โคโรลล่า เลวิน
(Corolla Levin) และ โคโรลล่า ทรูโน (Corolla Trueno) โดยนำตัวถังแบบ coupe GT มาใช้ และทางโตโยต้า เห็นว่า รถโคโรลล่าประสบความสำเร็จสูงมาก
จึงแยกธุรกิจการขายรถโตโยต้า โคโรลล่า ออกเป็น 2 ธุรกิจ คือ ธุรกิจขายรถโคโรลล่า
สปรินเตอร์ กับ ธุรกิจขายรถโคโรลล่า , โคโรลล่า เลวิน , โคโรลล่า ทรูโน

รูปแบบตัว ถังมีความหลากหลายมากขึ้น ได้แก่ coupe 2 ประตู , station wagon 3 กับ 5 ประตู ,
sedan 4 ประตู
และ van 5 ประตู และมีการเพิ่มขนาดเครื่องยนต์
เป็น 1.2 , 1.4 , 1.6 ลิตรให้เลือก
และรถโฉมนี้ประสบความสำเร็จสูงมาก ดังจะเห็นได้จากการที่ถึงแม้โคโรลล่าจะเปิดตัวโฉมที่ 3 ใน ค.ศ. 1974 แต่โฉมที่ 2 นี้ ผลิตอย่างต่อเนื่องไปจนถึง ค.ศ. 1978 จึงเลิกผลิต

 Generation ที่ 3 (ผลิตระหว่าง ค.ศ. 1974-1981)
 
โตโยต้า โคโรลล่า โฉมที่ 3โฉมนี้ เปิดตัวครั้งแรกใน ค.ศ. 1974 รหัสตัวถัง KE30
, KE40 , KE50 และ
KE60 มีการเพิ่มรูปแบบตัวถัง hardtop coupe 2 ประตูเข้าไป ส่วนตัวถังแบบอื่นมีดังเดิม มีและเริ่มมีการพัฒนาและได้ผลิตระบบเกียร์ให้เลือกเพิ่มเป็น
4 ระบบ คืออัตโนมัติ 2 กับ 3 สปีด และ ธรรมดา 4 กับ
5 สปีด ขนาดเครื่องยนต์ 1.2 กับ 1.4 ลิตร

หลังจากการเปิดตัวรถโคโรลล่าโฉมที่ 4 ใน ค.ศ. 1979 ทั่วโลกก็เริ่มทยอยหยุดขายหยุดผลิตโฉมที่
3 และโฉมนี้ได้หยุดผลิตอย่างสมบูรณ์ใน
ค.ศ. 1981

 Generation ที่
4 (ผลิตระหว่าง
ค.ศ. 1979-1983)
 
โตโยต้า โคโรลล่า โฉมที่ 4โฉมนี้ เปิดตัวครั้งแรกใน ค.ศ. 1979 รหัสตัวถัง KE70 ในโฉมนี้ ได้เพิ่มความหลากหลายของรูปตัวถังขึ้น โดยเพิ่มรูปตัวถัง
sedan 2 ประตู และ liftback 3 ประตูเข้าไปเพิ่ม
แต่ได้ระงับการผลิตตัวถังแบบ coupe 2 ประตู

ระบบ เกียร์ 4 ระบบดังเดิม ขนาดเครื่องยนต์ 3 ขนาด ได้แก่ 1.3
, 1.6 และ 1.8 ลิตร

และรูปโฉมนี้ เป็นรูปโฉมสุดท้ายที่รถโคโรลล่าขับเคลื่อนล้อหลังเพียงอย่างเดียว ซึ่งโฉมต่อจากนี้ จะค่อยๆ
ยกเลิกระบบขับเคลื่อนล้อหลังของโคโรลล่าไป และจะแทนที่ด้วยระบบขับเคลื่อนล้อหน้า

และโฉมนี้ก็เป็นโฉมสุดท้ายที่ มีการผลิตระบบเกียร์อัตโนมัติ 2 สปีด และระบบเกียร์ธรรมดา 4 สปีดด้วยเช่นกัน

โฉมนี้ เลิกผลิตในปีเดียวกับการเปิดตัวรถโคโรลล่าโฉมที่
5 ใน ค.ศ. 1983

Generation ที่ 5
(ผลิตระหว่าง
ค.ศ. 1983-1987)
 
โตโยต้า โคโรลล่า โฉมที่ 5โฉมนี้ เปิดตัวครั้งแรกใน ค.ศ. 1983 เป็นโฉมแรกของโคโรลล่า ที่ขับเคลื่อนล้อหน้า รหัสเครื่องยนต์ AE80 แต่ยกเว้น โคโรลล่า เลวิน และโคโรลล่า ทรูโน ที่ยังเป็นขับเคลื่อนล้อหลัง
ใช้รหัสตัวถัง AE86 โฉมนี้ โคโรลล่าได้ปรับรูปแบบตัวถังใหม่
ได้แก่ coupe 2 ประตู , hatchback 3 ประตู , sedan และ station
wagon 4 ประตู
, liftback 5 ประตู และโฉมนี้ เป็นโฉมแรกที่โคโรลล่า
มีการผลิตรถที่ใช้น้ำมันดีเซล(สำหรับเครื่องยนต์ 1.8 ลิตร) และใช้เบนซิน (สำหรับเครื่องยนต์ 1.3 และ 1.6 ลิตร) พร้อมๆ กัน โดยโฉมนี้ มีระบบเกียร์เหลือให้เลือก 2 ระบบ คือ อัตโนมัติ 3 สปีด
และธรรมดา 5 สปีด ลักษณะโฉมแบบนี้
วงการรถไทยมักเรียกว่า “โฉมท้ายตัด”

โฉม นี้ ได้รับการออกแบบทั้งสมรรถนะ
การขับเคลื่อน 3 แบบให้เลือก (ล้อหน้า,ล้อหลัง,4ล้อ) ในช่วงนี้
รถขับเคลื่อนล้อหลังเริ่มมียอดขายลดลง เพราะคนเริ่มไปซื้อรถขับเคลื่อนล้อหน้า แต่ในภาพรวมทั้งหมด เทคโนโลยีต่างๆในรถและรูปทรงที่ล้ำสมัยมากในยุคนั้น
ทำให้ในปัจจุบัน โฉมนี้ไม่ถือเป็นสิ่งล้าสมัย
ยอดขายรถโคโรลล่าโฉมนี้ รวมยอดผลิตได้มากกว่า 3.3 ล้านคัน ในขณะที่รถโคโรลล่าทั้ง 10 โฉมรวมกันแล้ว ได้ยอดขาย 31 ล้านคัน และจนถึงปัจจุบัน
นักเลงรถในญี่ปุ่น
ก็จะยังรู้จักและขับรถโคโรลล่าโฉมนี้อยู่
โดยไม่ถือว่าล้าสมัย และโฉมนี้ ก็เป็นโฉมสุดท้ายที่จัดเป็นรถขนาด Subcompact ที่อยู่ในตระกูลโคโรลล่า

โฉม นี้
เลิกผลิตในปีเดียวกับการเปิดตัวรถโคโรลล่าโฉมที่ 6 ใน ค.ศ. 1987

Generation ที่ 6
(ผลิตระหว่าง
ค.ศ. 1987-1992)
 
โตโยต้า โคโรลล่า โฉมที่ 6เมื่อความนิยมในการซื้อรถโคโรลล่าโฉมที่ 5 ไปถึงจุดอิ่มตัว ก็ได้มีการเปิดตัวรถโคโรลล่า โฉมที่ 6 ใน ค.ศ. 1987 และส่งเข้าตีตลาดขายแทนโฉมที่ 5 ในปีค.ศ. 1988 โฉมนี้ เป็นโฉมที่รถโคโรลล่า ได้เลื่อนขั้นจากรถขนาดเล็กมาก (Subcompact) เป็นรถขนาดเล็ก (Compact) โฉมนี้ ระบบขับเคลื่อนล้อหลังหายไป
ได้มีการเพิ่มการผลิตรูปแบบตัวถัง hatchback 5 ประตู และโฉมนี้ ผลิตในช่วงที่ระบบเกียร์อัตโนมัติถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รถโฉมนี้ ได้เริ่มมีการผลิตเกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด มา แต่ก็ยังผลิตรถรุ่นเกียร์อัตโนมัติ 3 สปีดอยู่ เครื่องยนต์ก็ยังมีทั้งระบบเบนซิน
(ในขนาดเครื่องยนต์ 1.3 ,
1.5 , 1.6 ลิตร)
และแบบดีเซล (ในขนาดลูกสูบ 2.0 ลิตร)
และยังมีระบบขับเคลื่อน 4
ล้อด้วย นอกจากนี้ ในช่วงโฉมนี้
โคโรลล่า เลวิน , โคโรลล่า ทรูโน และโคโรลล่า สปรินเตอร์
ได้เปลี่ยนมาเป็นระบบขับเคลื่อนล้อหน้า และโฉมนี้ พ่อค้าเต๊นท์รถในประเทศไทยนิยมเรียกว่า
“โฉมโดเรมอน”

โฉมนี้ ในเมืองไทยจะรู้จักกันดีในฐานะของโฉมที่มีเทคโนโลยีเครื่องยนต์
16 วาล์ว รุ่นแรกที่มีขายในไทย ในช่วงนั้น
มักมีสัญลักษณ์อักษรเขียนว่า “TWINCAM 16 VALUE” ไว้เป็นสัญลักษณ์ที่ประตูรถในรถบางคัน
นอกจากนี้ รุ่นท้ายๆ ของโฉม โคโรลล่าในไทยได้เริ่มเปลี่ยนมาใช้เครื่องยนต์ระบบหัวฉีด ซึ่งประหยัดน้ำมันกว่า และสามารถเติมแก๊สโซฮอล์
ได้ แต่อย่างไรก็ตาม โฉมโดเรมอนส่วนใหญ่
ยังเป็นคาร์บูเรเตอร์ ซึ่งไม่เหมาะกับเชื้อเพลิงแก๊สโซฮอล์

โฉมนี้ เลิกผลิตใน ค.ศ. 1992 หนึ่งปีหลังจากการเปิดตัวรถโคโรลล่า
โฉมที่ 7

Generation ที่ 7
(ผลิตระหว่าง
ค.ศ. 1991-1997)
 
โตโยต้า โคโรลล่า โฉมที่ 7โฉมนี้ เปิดตัวครั้งแรกใน ค.ศ. 1991 โฉมนี้ ได้เริ่มมีการผลิตเกียร์ธรรมดา 6 สปีดขึ้น
ควบคู่กับการผลิตรถเกียร์ธรรมดา 5 สปีด
และเกียร์อัตโนมัติ 4 และ 3 สปีด เครื่องยนต์ยังมีระบบดีเซล (2.0 ลิตร) และเบนซิน (1.3 , 1.5 , 1.6 , 1.8 ลิตร) ทันทีที่เปิดตัวในไทย โคโรลล่าโฉมนี้ก็ได้สร้างปรากฏการณ์ยอดการจองรถทะลุ 10,000 คันอย่างรวดเร็วกว่าที่โรงงานคิดไว้มาก
และยอดจองยังมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แม้โรงงานทุกโรงงานในไทยจะเร่งผลิตเต็มที่ งัดแผนสำรองมาใช้
ก็ยังไม่ทัน ต้องสั่งนำเข้าจากญี่ปุ่นมา 1,000 คัน และเพิ่มราคาขายคันละ 5,000 บาท

รูป แบบตัวถังมี 6 รูปแบบ เหมือนโฉมโดเรมอน ได้แก่ sedan 4 ประตู , hatchback 3 กับ 5 ประตู ,
coupe 2 ประตู
, liftback 3 ประตู และ station wagon 4 ประตู โฉมนี้ พ่อค้ารถในไทย เรียกว่า
“โฉมสามห่วง” เพราะเป็นโฉมแรกของโคโรลล่า ที่ตราสัญลักษณ์วงรีไขว้สามวง(สามห่วง)ถูกนำมาใช้เป็นตราสัญลักษณ์ของโตโย ต้า (ก่อนหน้านี้ใช้เขียนเป็นอักษร TOYOTA ไม่ใช่สัญลักษณ์สามห่วง) โฉมนี้ เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของตระกูลโคโรลล่า
เพราะก่อนนี้ โคโรลล่าจะมีลักษณะเป็นรูปทรงเหลี่ยมๆ
แต่โฉมนี้ จะเริ่มเปลี่ยนจากความเหลี่ยม
เป็นความโค้งมน และรถตั้งแต่โฉมสามห่วงเป็นต้นมา
ก็มีความโค้งมนมากขึ้นเรื่อยๆ และโคโรลล่าโฉมนี้ เครื่องยนต์แบบคาร์บูเรเตอร์ในรถเก๋งค่อยๆ หายไป จนในที่สุดก็เลิกผลิตไป
กลายเป็นแบบหัวฉีดทั้งหมด

โฉมสามห่วง เลิกผลิตในปี ค.ศ. 1997 สองปีหลังการเปิดตัวรถโคโรลล่า โฉมที่ 8

Generation ที่ 8
(ผลิตระหว่าง
ค.ศ. 1995-2002)
 
โตโยต้า โคโรลล่า โฉมที่ 8โฉมนี้ เปิดตัวครั้งแรกใน ค.ศ. 1995 แต่กว่าจะได้โด่งดังแทนที่โฉมสามห่วง ก็ล่วงไปถึง ค.ศ. 1998 ทางโตโยต้า ต้องมีการปรับปรุงเพื่อให้มีความหลากหลายและสร้างความเป็นที่นิยมให้ปรส บความสำเร็จสูงเหมือนโฉมสามห่วง
ดังนั้น ผลการปรับปรุงคือ โฉมที่8 แตกแขนงออกเป็น
2 โฉมย่อย คือ โฉมตองหนึ่ง ผลิตระหว่าง
ค.ศ. 1995 – ค.ศ. 1997 , โฉมไฮทอร์ก เริ่มผลิตเมื่อ ค.ศ. 1998 ซึ่งโฉมไฮทอร์กนี้ ได้สร้างความนิยมโดยมีคนซื้อไปทำแท๊กซี่เป็นจำนวนมาก และนอกจากนี้ ใน ช่วงโฉมไฮทอร์กนี้ โคโรลล่า
ยังได้เปิดตัวเนื้อหน่อใหม่ในตระกูลโคโรลล่า ที่เป็นที่นิยมในไทยจนถึงปัจจุบัน
นั่นคือ โคโรลล่า อัลติส (Corolla
Altis) โดย
Altis จะเป็นรถที่มีความหรูหรา
มีอุปกรณ์รักษาความปลอดภัย Options ต่างๆ
ดีกว่า แต่รูปโฉมตัวรถจะคล้ายโคโรลล่าทั่วไป

โฉมที่ 8 นี้
ระงับการผลิตรูปแบบตัวถังประเภท hatchback 5 ประตู liftback 3 ประตู และ
station wagon 4 ประตู
แต่ได้เอา liftback และ station wagon 5 ประตูมาผลิตแทน

โฉมที่ 8 เลิกผลิตในปี ค.ศ. 2002 สองปีหลังการเปิดตัวของรถโคโรลล่า
โฉมที่ 9

Generation ที่ 9
(ผลิตระหว่าง
ค.ศ. 2000-2008)
 
โตโยต้า โคโรลล่า โฉมที่ 9โฉมนี้ เปิดตัวครั้งแรกใน ค.ศ. 2000 แต่กว่าจะเป็นอันดับหนึ่งแทนโฉมที่ 8 ก็ล่วงไปถึง ค.ศ. 2003 แต่เมื่อได้รับความนิยมแล้ว ก็มีชื่อเสียงมาถึงปัจจุบัน
เมื่อทางโตโยต้า ตัดสินใจผลิตโคโรลล่า อัลติสต่อในโฉมที่ 9 และยังมีการปรับปรุงทั้งขนาด
ความสะดวก และสิ่งอื่นๆอีกมาก
โดยรุ่นที่เป็นที่นิยมในเมืองไทยมากที่สุดก็ยังเป็น อัลติส และโฉมที่ 9 ยกเลิกการผลิตเกียร์อัตโนมัติ 3 สปีด และยกเลิกการผลิตตัวถัง coupe 2 ประตู และ liftback 5 ประตู แล้วเอาแบบ van และ hatchback 5 ประตูมาผลิตแทน และยังคงผลิตรุ่นเครื่องดีเซล ขนาดเครื่องยนต์ 2.2 ลิตร (ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย) ส่วนรุ่นเครื่องยนต์เบนซิน ก็เป็น 1.4 , 1.5 , 1.6 , 1.8 ลิตรเหมือนเดิม โฉมนี้ กลุ่มพ่อค้ารถในไทยมักเรียก
“โฉมหน้าหมู” หรือ “โฉมตาถั่ว” เพราะไฟหน้ามีลักษณะคล้าย เมล็ดถั่ว

โฉมนี้ ในประเทศไทย โคโรลล่าได้มีการออกรุ่นใหม่ คือ LIMO (ลิโม) โดยจะเป็นรถโคโรลล่า ที่มี Options ต่างๆ น้อย
แต่รถจะมีราคาถูกกว่าโคโรลล่าทั่วไป และโคโรลล่า อัลติส อย่างมาก อย่างไรก็ตาม LIMO จะไม่มีขายเป็นรถนั่งส่วนบุคคล โตโยต้าประเทศไทย ขาย LIMO โฉมนี้ เพื่อทำเป็นแท็กซี่เท่านั้น

โฉม ที่ 9 เลิกผลิตในปี ค.ศ. 2008 สองปีหลังการเปิดตัวของรถโคโรลล่า
โฉมที่ 10

Generation ที่ 10
(ผลิตระหว่าง
ค.ศ. 2008-ปัจจุบัน)
 
โตโยต้า โคโรลล่า โฉมที่ 10โฉมนี้ เปิดตัวครั้งแรกใน ค.ศ. 2006 แต่ใช้เวลาค่อนข้างนานในการพิชิตตลาดต่างๆเพื่อไปแทนโฉมที่
9 โดยเฉพาะในไทย โฉมที่ 10 เพิ่งเข้ามาในไทยเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 ระบบเกียร์ในครั้งนี้
จะผลิตระบบเกียร์แบบธรรมดา 5 หรือ
6 สปีด สำหรับเกียร์อัตโนมัติ
จะเป็นระบบเกียร์อัตโนมัติแบบใหม่ CVT 4 หรือ 5 สปีด

โฉม นี้ เครื่องยนต์ดีเซลเลิกผลิตไป
เหลือแต่เครื่องเบนซินขนาด 1.5 , 1.8 , 2.4 ลิตร และได้ยกเลิกรูปแบบตัวถังออกไปมาก เหลือแต่แบบ sedan และ station wagon 4 ประตู และเฉพาะในออสเตรเลีย มีการผลิต hatchback 5 ประตู

ส่วน LIMO ในโฉมนี้ มีการผลิตรถรุ่น LIMO CNG ซึ่งเป็นรถลิโม ที่ติดระบบการใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ มาตั้งแต่ในโรงงานโตโยต้า
และ LIMO โฉมนี้
ได้เปิดขายให้กับประชาชนทั่วไปอยู่ช่วงหนึ่งด้วย ก่อนที่จะกลับไปขายทำแท็กซี่โดยเฉพาะเหมือนเดิม
โดยโตโยต้าได้ทำรถรุ่น
Advanced CNG มาขายให้ประชาชนทั่วไปแทน
LIMO CNG



หัวข้อ: Re: ประวัติ 4AGE <ซ้ำขออภัย>
เริ่มหัวข้อโดย: ลุงหนวด-(ZC72S) ที่ 06 เมษายน 2010 18:47:10
ของดำก็แรงแบบนี้แหละครับ........ :emoa


หัวข้อ: Re: ประวัติ 4AGE <ซ้ำขออภัย>
เริ่มหัวข้อโดย: MR..LIM ที่ 06 เมษายน 2010 20:02:51
จัดไป ๆ


หัวข้อ: Re: ประวัติ 4AGE <ซ้ำขออภัย>
เริ่มหัวข้อโดย: AE 71 ที่ 14 เมษายน 2010 22:13:41
 :emotk ข้อมูลแน่นครับ