หัวข้อ: เข้าพรรษา "ปทุมธานีโซน" เราจะไปถวายเทียนกันมัยที่ไหนดีครับ เริ่มหัวข้อโดย: Ae-RaNgSiT101-Ohana ที่ 16 กรกฎาคม 2010 08:54:49 พอดีอยากไปทำบุญร่วมกันอีกนะครับ "ถวายเทียนพรรษา"
วัดที่คิดไว้ก็น่าจะในจังหวัดปทุมธานี ใครพอจะรู้จักวัดที่ ออกแนวกันดานหน่อยบ่างมัยครับ วัดใหญ่ๆ เจริญๆไม่อยากไปอะครับ ท่านใดสะดวกก็ไปด้วยกันเหมือนเดิมครับ ท่านใดไม่สะดวกก็ไว้ปีหน้าครับ ยังไงรบกวนเพื่อนๆท่านใดมีวัดแนะนำ ก็จะขอบคุณมากๆครับ :emotn หัวข้อ: Re: เข้าพรรษา "ปทุมธานีโซน" เราจะไปถวายเทียนกันมัยที่ไหนดีครับ เริ่มหัวข้อโดย: rod@PT.Z#005 ที่ 16 กรกฎาคม 2010 09:04:29 เดี๋ยวจัดการสืบหาให้ครับน้า...ดีครับทำบุญกันอีก
หัวข้อ: Re: เข้าพรรษา "ปทุมธานีโซน" เราจะไปถวายเทียนกันมัยที่ไหนดีครับ เริ่มหัวข้อโดย: Yoshikuni...Sw33t Devil ที่ 16 กรกฎาคม 2010 09:14:19 วัดกันดารๆไม่รู้จักอ่าน้าบอย แต่นู๋ชอบไปวัดโภสพให้หารเต่า ที่นั้นมีเต่ามาเฟียด้วย :emots
สรุปกันได้ไปวัดไหน หากไม่ติดขัดประการใดจะกระดืบคืบคลานไปร่วมทำบุญด้วยนะค๊ะ :emov หัวข้อ: Re: เข้าพรรษา "ปทุมธานีโซน" เราจะไปถวายเทียนกันมัยที่ไหนดีครับ เริ่มหัวข้อโดย: tatee_ae ที่ 16 กรกฎาคม 2010 09:25:08 รอสรุปครับ
หัวข้อ: Re: เข้าพรรษา "ปทุมธานีโซน" เราจะไปถวายเทียนกันมัยที่ไหนดีครับ เริ่มหัวข้อโดย: ram_รังสิต ที่ 16 กรกฎาคม 2010 09:49:01 รอสรุปครับ รอฟังด้วยคนหัวข้อ: Re: เข้าพรรษา "ปทุมธานีโซน" เราจะไปถวายเทียนกันมัยที่ไหนดีครับ เริ่มหัวข้อโดย: mawmuay ที่ 16 กรกฎาคม 2010 11:04:28 :emoa :emoa :emoa :emoa :emoa
วัดเจดีย์หอย อำเภอเมือง จ.ปทุมธานี ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลบ่อเงิน การเดินทางใช้ทางหลวงหมายเลข 341 (ปทุมธานี-ลาดหลุมแก้ว) ถึงหลักกิโลเมตรที่ 21-22 แล้วแยกเข้าวัดไปอีกประมาณ 10 กิโลเมตร บริเวณวัดมีการขุดพบ ซากหอยนางรมยักษ์อายุนับล้านปีจำนวนมาก หลวงพ่อทองกลึงจึงนำซากหอยโบราณ มาก่อเป็นเจดีย์ขึ้นที่ด้านหน้าทางเข้าและในวัด นอกจากนี้ยังมีพิพิธภัณฑ์รวบรวมพระพุทธรูป และศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ ข้าวของเครื่องใช้เก่า ๆ จำนวนมาก เช่น ตุ่มสามโคก ถ้วยชามดินเผา ไม้แกะสลัก เครื่องคิดเลข เปลือกหอยนางรมยักษ์ หอยมือเสือยักษ์ ฆ้องทองเหลืองที่ลูบแล้วมีเสียงดังได้โดยไม่ต้องตี นอกจากนี้ในบริเวณวัดยังมีสวนสมุนไพร บ่อเลี้ยงเต่าและบ่อปลาสำหรับให้นักท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ กับการให้อาหารสัตว์เหล่านี้ วัดหงษ์ปทุมาวาส (วัดมอญ) อำเภอเมือง จ.ปทุมธานี ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ตำบลบางปรอก ใกล้กับตลาดสดเทศบาล เป็นวัดที่สร้างโดยชาวมอญที่อพยพหนีพม่ามาไทย ในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี มีสัญลักษณ์ของวัดมอญคือ เสาหงส์ ซึ่งบนยอดเสาเป็นตัวหงส์หมายถึง เมืองหงสาวดี เมืองหลวงของชาวมอญ ปูชนียวัตถุสำคัญของวัดคือ พระพุทธชินราชจำลองปางมารวิชัย เจดีย์มอญจำลองแบบมาจาก เจดีย์จิตตะกองในเมืองหงสาวดี วิหารจำลองได้แบบมาจากกรุงหงสาวดี หลังคาเป็นชั้นๆ มีลวดลายที่สวยงามมาก อุโบสถเป็นอุโบสถสร้างใหม่ตามสถาปัตยกรรมของไทย มองเห็นช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ได้แต่ไกล ภายในอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง เรื่องราวพุทธประวัติและยังมีพระพุทธรูปปางมารวิชัย รูปหล่อหลวงปู่เฒ่าที่ชาวบ้านนับถือ และมีศาลาการเปรียญประดับด้วยไม้แกะสลักสวยงาม วัดแห่งนี้ได้รับรางวัลชนะเลิศ โครงการอนุรักษ์พันธุ์ปลาหน้าวัด มีพันธุ์ปลาต่างๆ มากมายที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยาเช่น ปลาสวาย ปลาเทโพ ว่ายมาชุมนุมกันอยู่เนืองแน่น เพื่อรอรับอาหารจากผู้มาทำบุญไหว้พระที่วัด วัดพืชอุดม อำเภอลำลูกกา จ.ปทุมธานีตั้งอยู่ที่ตำบลลำไทร จากแยกอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ไปตามทางหลวงสาย 3312 ประมาณ 31 กิโลเมตร มีรถสองแถวบริการจากมีนบุรี หนองจอก และจากสะพานใหม่มายังวัดตลอดวัน วัดพืชอุดมตั้งอยู่ริมคลองหกวา บริเวณวัดเต็มไปด้วยรูปปั้นแสดงความเชื่อเรื่องบาปบุญในพระพุทธศาสนา ส่วนในพระอุโบสถประดิษฐานหลวงพ่อโสธรจำลอง มีบันไดเล็ก ๆ ขึ้นไปยังสวรรค์ภูมิทั้ง 9 ชั้นที่ได้จำลองไว้ และมีทางลงไปนรกภูมิใต้อุโบสถ วัดบัวขวัญ อำเภอลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี เป็นวัดเก่าแก่ของอำเภอลาดหลุมแก้ว การเดินทางใช้เส้นทางสาย 341 (ปทุมธานี-ลาดหลุมแก้ว) เลี้ยวซ้ายที่หลักกิโลเมตรที่ 21-22 ไปอีก 5 กิโลเมตร ที่วัดนี้มีพระพุทธรูปทองสำริด ปางบำเพ็ญทุกขกิริยา ซึ่งสร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่ 5 พร้อมกับพระพุทธรูป ตามระเบียงวัดเบญจมบพิตร นอกจากนี้ยังมีรอยพระพุทธบาทจำลอง ซึ่งจำลองมาจากวัดพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรีและพลับพลาที่ประทับแรกนาขวัญ สมัยรัชกาลที่ 6 เดิมเรียกว่า "ศาลาแดง" ตั้งอยู่ที่วังพญาไท ในกรุงเทพฯ วัดไผ่ล้อม อำเภอสามโคก จ.ปทุมธานี ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านงิ้ว บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ด้านเหนือของจังหวัดปทุมธานี ใช้เส้นทาง 3309 (ถนนสายเชียงรากน้อย ซึ่งเป็นทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา) เป็นแหล่งดูนกปากห่างที่ได้รับความสนใจ ทั้งจากนักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวต่างประเทศ เป็นอันมาก ได้รับการประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ซึ่งรวมพื้นที่ของวัดไผ่ล้อมและวัดอัมพุวราราม ในเนื้อที่ 74 ไร่ บริเวณวัดมีต้นไม้ขึ้นอยู่หนาแน่น เป็นที่อาศัยของนกปากห่างมากว่า 100 ปีแล้ว นกปากห่างเป็นนกในวงศ์นกกระสา แต่มีลักษณะเฉพาะที่จะงอยปากซึ่งปิดไม่สนิท คือมีร่องโค้งตรงกลางปาก ซึ่งมีประโยชน์ต่อนกในการจับหอยโข่งกินเป็นอาหาร นกปากห่างมีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ศรีลังกา พม่า ไทย ลาว เขมร และเวียดนาม อพยพมาหาพื้นที่เหมาะสมในไทยเพื่อผสมพันธุ์ สร้างรังและวางไข่ ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมิถุนายนของทุกปี ซึ่งในช่วงฤดูผสมพันธุ์นี้ จะเห็นถึงสายสัมพันธ์ของครอบครัวนกในการสร้างรังด้วยกิ่งไม้ ผลัดกันหาอาหารและดูแลลูกน้อย มีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติและหอดูนก รายละเอียดติดต่อที่ทำการเขตห้ามล่าสัตว์ป่า วัดไผ่ล้อมและวัดอัมพุวราราม โทร. 0 2979 8596, 0 2979 8596 การเดินทาง วัดไผ่ล้อมสามารถโดยสารรถสองแถว จากตัวเมืองสายปทุมธานี-เชียงราก ลงรถหน้าวัด หรือนั่งรถสองแถวสายปทุมธานี-สามโคก ลงรถที่วัดดอน (วัดสุราษฏร์รังสรรค์) หรือวัดสามัคคิยาราม แล้วต่อเรือข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามายังวัด ค่าโดยสารเรือคนละ 10 บาท นอกจากนี้ยังมีรถสายหมอชิต-อ.เสนา และรถสายนนทบุรี-อ.เสนา ลงรถที่วัดดอนแล้วนั่งเรือข้ามฟากมายังวัดไผ่ล้อม นอกจากนี้ ยังมีบริการนำเที่ยวทางเรือกรุงเทพฯ-วัดไผ่ล้อม-ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร จัดโดยบริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด ไป-กลับ ทุกวันอาทิตย์ สอบถามรายเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2623 6001-3 วัดสิงห์ อำเภอสามโคก จ.ปทุมธานี ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา การเดินทางใช้ถนนสายปทุมธานี-สามโคก ประมาณ 3 กิโลเมตร จะมีทางแยกขวาเข้าวัด เป็นวัดเก่าแก่ซึ่งยังปรากฏเจดีย์ โบสถ์ วิหารเก่าแก่ ควรค่าแก่การศึกษาด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี พระพุทธรูปสำคัญของวัดคือ หลวงพ่อโต พระพุทธรูปลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย สมัยกรุงศรีอยุธยา พระพุทธไสยาสน์ (หลวงพ่อเพชร) นอกจากนี้ยังมีโกศบรรจุอัฐิหลวงพ่อพญากราย ซึ่งเป็นพระมอญธุดงค์มาจำพรรษาที่วัดสิงห์ บนกุฎิของวัดมีพิพิธภัณฑ์ เก็บรักษาของเก่าได้แก่ ตุ่มสามโคก แท่นบรรทมของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อครั้งเสด็จประพาสเมืองสามโคก ใบลานอักษรมอญ ตู้พระธรรม และพระพุทธรูป การเข้าชมต้องขออนุญาตเจ้าอาวาสวัดก่อน ด้านหน้าวัดสิงห์มีการขุดค้นพบโบราณสถานเตาโอ่งอ่าง ซึ่งถือเป็นหลักฐานของการตั้งชุมชนมอญในสมัยแรก ในบริเวณนี้นับแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ตุ่มสามโคก เป็นภาชนะบรรจุที่ใหญ่ที่สุดซึ่งผลิตจากเตาแหล่งนี้ ต่อมาภายหลังชาวรามัญเมืองสามโคก ได้เลิกร้างการผลิตไปโดยย้ายการผลิตไปที่เกาะเกร็ด เมืองนนทบุรี ซึ่งได้ขยายการผลิตตุ่มสามโคกขึ้นเป็นจำนวนมาก และได้นำไปขายขึ้นล่องตามลำน้ำไปทั่วทุกภาค ก่อนที่จะถูกแทนที่ด้วยโอ่งลายมังกรจากราชบุรีลักษณะตุ่มสามโคกมีเนื้อดินสีแดงส้ม เหมือนสีอิฐหรือสีมันปู เนื้อภาชนะค่อนข้างหนา รูปทรงปากโอ่งแคบ คอโอ่งจะติดกับไหล่ มีลายยืดเป็นเส้นคู่ตรงไหล่ ตรงกลางตุ่มป่องกลม รูปทรงเตี้ยป้อม ปากและก้นโอ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน ปัจจุบันหาดูตุ่มสามโคกของเก่าได้ที่ วัดสิงห์ วัดสามโคก และตุ่มสามโคกขนาดใหญ่ ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนครที่กรุงเทพฯ วัดเจดีย์ทอง อำเภอสามโคก จ.ปทุมธานี ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลคลองควาย การเดินทางใช้เส้นทางสายปทุมธานี-สามโคก ประมาณ 8 กิโลเมตรและแยกขวาเข้าวัดอีกประมาณ 500 เมตร ในวัดนี้มีเจดีย์ทรงรามัญ สร้างในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์โดยชาวมอญ เป็นสถาปัตยกรรมมอญที่เลียนแบบมาจาก เจดีย์จิตตะกองของพม่า และมีพระพุทธรูปปางมารวิชัย สร้างขึ้นด้วยหยกขาว เป็นที่เคารพสักการะของชาวไทยรามัญ วัดเขียนเขต อำเภอธัญบุรี จ.ปทุมธานี สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2439 โดยหม่อมเขียน หม่อมในพระเจ้าวรวงศ์เธอเจ้าสายสนิทวงศ์ เป็นผู้มอบถวายที่ดินเพื่อสร้างวัด แรกเริ่มนั้นวัดนี้เป็นเพียงสำนักสงฆ์ มีหลวงพ่อดำเป็นเจ้าสำนักโดยใช้วัตถุหาง่าย เช่น นำเอาไม้ไผ่มาขัดเป็นพื้นหลังคา และฝาผนังทำด้วยหญ้า หม่อมเขียนพร้อมด้วยเครือญาติและประชาชนในท้องถิ่น เห็นความลำบากของพระเณรที่จำพรรษาอยู่ จึงได้ร่วมกันบริจาค ทรัพย์สร้างกุฏิเป็นทรงไทยขึ้นใหม่รวม 6 หลัง เพื่อเป็นสมบัติในพระพุทธศาสนา ภายในวัดมีสิ่งที่น่าสนใจ เช่น หอระฆังเก่า โบสถ์หินอ่อนเก่าและจิตรกรรมฝาผนัง ที่แสดงให้เห็นประเพณีไทยดั้งเดิม และชีวิตความเป็นอยู่ของชาวปทุมธานี วัดลำมหาเมฆ อำเภอลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานีตั้งอยู่ที่บ้านลำมหาเมฆ หมู่ที่ 5 ตำบลบ่อเงิน อำเภอลาดหลุมแก้ว ห่างจากตัวจังหวัดตามเส้นทางสายปทุมธานีบางเลน ประมาณ 14 กิโลเมตร สิ่งที่น่าสนใจคือ บริเวณบึงน้ำไหลของวัดมีนกมากมายหลายชนิดอาศัยสร้างรัง ฟักไข่ตามธรรมชาติจำนวนมาก ได้แก่ นกกระยางขาว นกกระสา นกกาน้ำ และนกชนิดอื่นๆ วัดพลับสุธาวาส อำเภอสามโคก จ.ปทุมธานีตั้งอยู่ที่ ตำบลเชียงรากน้อย วัดมีสิ่งสำคัญคือ พระพุทธรูปสร้างด้วยโลหะเงินปางสะดุ้งมาร ธรรมมาสน์ทำด้วยไม้สักฉลุสีแดงลายทอง และเจดีย์มอญอายุกว่า 100 ปี มีฐานเป็นสิงห์ องค์สถูปชั้นยอดเจดีย์เป็นดอกบัว 9 ชั้น ลักษณะเจดีย์เป็นทรงสี่เหลี่ยม วัดบางนา อำเภอสามโคก จ.ปทุมธานี ตั้งอยู่ตำบลบางโพธิเหนือ เป็นวัดที่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2310 โดยมีครอบครัวคนไทยอพยพหนีภัยสงครามมาจากกรุงศรีอยุธยา และได้จัดสร้างวัดนี้ขึ้นซึ่งแต่เดิมอยู่ในคลอง ไม่สะดวกต่อการคมนาคม จึงได้ย้ายมาอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ภายในบริเวณวัดมีพระป่าเลไลย์ เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง 2 องค์ เสาหงส์ และกุฏิตึกโบราณ นอกจากนี้ยังขุดค้นพบกระเบื้องดินเผาตัวผู้ ตัวเมียสำหรับมุงหลังคาโบสถ์อายุกว่า 100 ปี ประชาชนมักแวะมาสักการหลวงปู่เส็งซึ่งมรณภาพแล้ว แต่สรีระไม่เน่าไม่เปื่อย และยกหินศักดิ์สิทธิ์เสี่ยงทาย วัดท้ายเกาะ อำเภอสามโคก จ.ปทุมธานี อยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศตะวันตกอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลท้ายเกาะ อยู่ท้ายเกาะใหญ่มีเจดีย์มอญที่ใหญ่ที่สุด กุฏิลายจำหลักไม้สวยงาม ชมศาลาสองหลังต่อกันที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในคราวเสด็จประพาสต้นเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม ร.ศ. 125 ซึ่งพระองค์เสด็จประทับ ณ ศาลาหลังนี้ และชมจระเข้สตาฟแต่ก่อนนั้นจระเข้บริเวณนี้ชุกชุมมาก มอญเรียกว่า เวียงจาม เป็นวัดที่อยู่สุดเขตจังหวัด ปทุมธานีต่อกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา วัดจันทน์กะพ้อ อำเภอสามโคก จ.ปทุมธานี ตั้งอยู่ที่ตำบลบางเตย ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 6 กิโลเมตร สร้างโดยชาวมอญ ในสมัยรัชกาลที่ 2 ชื่อว่า วัดโกว๊ะ ซึ่งแปลว่า จันทน์กะพ้อ ซึ่งชาวมอญ ถือว่าเป็นไม้มงคลเหมือนต้นราชพฤกษ์ ภายในวัดมีหอวัฒนธรรม ซึ่งเก็บรวบรวมศิลปวัตถุมอญ และยังมีโครงการอนุรักษ์พันธุ์ปลาหน้าวัด นอกจากนี้ยังเป็นวัดที่ประกอบพิธีสำคัญของชาวปทุมธานีเช่น พิธี ออกฮ้อยปะจุ๊ แข่งธงตะขาบ งานตักบาตรพระร้อย เป็นต้น วัดศาลาแดงเหนือ อำเภอสามโคก จ.ปทุมธานี ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลเชียงรากน้อย อยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก มีสิ่งที่น่าสนใจคือ ธรรมมาสน์ลายจำหลักไม้ ศาลาการเปรียญ หมู่กุฏิหอไตร และเครื่องกรองน้ำสมัยโบราณที่หาชมได้ยาก นอกจากนี้มีการสวดมนต์ด้วยภาษามอญทุกวัน เวลาประมาณ 15.00 น. บริเวณวัดนี้มีการรักษาความสะอาดของหมู่บ้านได้อย่างดีเยี่ยม เป็นหมู่บ้านที่ชนะเลิศการประกวดหมู่บ้านอนุรักษ์แม่น้ำเจ้าพระยาดีเด่น ของกระทรวงสาธารณสุขปี พ.ศ. 2541 และยังมีการปลูกบ้านเรือนไทยผสมผสานแบบมอญที่หาชมได้ยากยิ่ง วัดสองพี่น้อง อำเภอสามโคก จ.ปทุมธานี ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านงิ้ว ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เหนือวัดไผ่ล้อม สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2410 มีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ 2 องค์ประดิษฐานอยู่ริมแม่น้ำ คือ หลวงพ่อเพชร เป็นพระพุทธรูปศิลา ศิลปะอู่ทองปางมารวิชัย และหลวงพ่อพลอย เป็นพระพุทธรูปศิลปะอู่ทองจำหลักด้วยศิลา แต่ถูกขโมยไป ทางวัดได้จัดสร้างขึ้นมาใหม่ เป็นที่เคารพนับถือของชาวเรือและประชาชนทั่วไป วัดเมตารางค์ อำเภอสามโคก จ.ปทุมธานีอยู่ในเขต ตำบลเชียงรากน้อย ภายในมีเจดีย์แบบชะเวดากองเป็นรูปแปดเหลี่ยม ยอดเจดีย์มีฉัตรทำด้วยทองเหลืองเป็นลายเทพพนมอายุ 150 ปี หอสวดมนต์พื้นไม้สัก เสาไม้แก่นกลมศาลาการเปรียญมีเสาหงส์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของวัดมอญ มีรูปหงส์อยู่บนยอดเสา วัดป่ากลางทุ่ง อำเภอเมือง จ.ปทุมธานีอยู่ที่ตำบลบางขะแยง ภายในอุโบสถผนังด้านหลังพระประธาน ปรากฏภาพเขียนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อครั้งอดีต ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชีภายในซุ้มเรืองแก้วอันวิจิตร ด้านซ้ายขวามีสาวกบนฐานดอกบัวบาน ประนมมือด้วยดอกบัว 3 ดอก น้อมกายไปข้างหน้าอย่างอ่อนช้อยเต็มเปี่ยมด้วยศรัทธา พื้นผนังสีแดงชาด เขียนภาพดอกไม้ร่วงโปรยลงมาเป็นระยะ จึงเป็นผลงานในอดีต อันทรงคุณค่าของเมืองปทุมธานี วัดบางหลวง อำเภอเมือง จ.ปทุมธานี ตั้งอยู่ที่ตำบลบางหลวง ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 3 กิโลเมตร วัดมีสิ่งที่สำคัญคือ พระอุโบสถทรงไทยโบราณ ภายในมีพระประธานปางมารวิชัย และภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นภาพพุทธประวัติ นอกจากนี้ ยังมีเจดีย์มอญ 2 องค์ คือ ทรงชเวดากอง และมูเตา ซึ่งวัดนี้ใช้ประกอบศาสนพิธีของชาวบ้าน มาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนมาถึงปัจจุบัน วัดฉาง อำเภอเมือง จ.ปทุมธานีตั้งอยู่ที่บ้านฉาง ภายในวัดมีสิ่งสำคัญคือพระวิหารเก่า มีจิตรกรรมปรากฎอยู่ที่หน้าบันพระวิหาร และพระพุทธรูปปางสมาธิ ที่สร้างจากสตางค์แดงทั้งองค์ ซึ่งประชาชนเลื่อมใสมานมัสการอยู่มิได้ขาด นอกจากนี้ยังมีศาลาท่าน้ำที่มีความงดงาม อยู่ที่ลวดลายแกะสลักที่ชายคาวัดนี้ชาวบ้านใช้ประกอบศาสนาพิธี ตั้งแต่รัชกาลที่ 2 จนถึงปัจจุบัน วัดโบสถ์ อำเภอเมือง จ.ปทุมธานี ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านกลาง ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เดินทางโดยข้ามสะพานปทุมธานีไปฝั่งตะวันออก จะมีทางแยกซ้ายไปกลับรถใต้สะพาน เพื่อไปยังวัดซึ่งอยู่อีกฟากหนึ่งของถนน วัดโบสถ์สร้างเมื่อ พ.ศ. 2164 โดยชาวมอญที่อพยพมาจากเมืองหงสาวดี ชื่อวัดโบสถ์นำมาจากชื่อหมู่บ้านที่ชาวมอญอพยพมาจากเมืองมอญ เช่นเดียวกับวัดอีกหลายวัดในปทุมธานี เช่น วัดหงษ์ วัดบางตะไนย์ ประชาชนมักมาที่วัดเพื่อสักการะหลวงพ่อสามพี่น้องในพระอุโบสถ และรูปหล่อหลวงปู่เทียน (พระครูบวรธรรมกิจ) พระเถระผู้ทรงคุณวิทยา ส่งเสริมด้านการศึกษาให้ชาวปทุม วัดนี้ยังคงมีวิหารเก่าเหลืออยู่ 1 หลัง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปเก่าแก่จากรามัญ คือ พระแสงอาญาสิทธิ์ และยังเก็บรักษาสิ่งสำคัญคือ ช้างสี่เศียร และบุษบกสัมฤทธิ์สำหรับประดับเสาหงส์ และรูปปั้นสุนัขย่าเหลหล่อด้วยตะกั่วที่เจ้าอาวาสได้รับพระราชทานมา จากรัชกาลที่ 6 เมื่อครั้งเสด็จประพาสเมืองปทุมธานี วัดเจตวงศ์ อำเภอเมือง จ.ปทุมธานีเป็นวัดที่ตั้งอยู่ที่ตำบลบางขะแยง อำเภอเมือง สภาพโบราณสถานโบราณวัตถุด้านหน้าพระอุโบสถมีขนาดเล็ก ผนังก่ออิฐมุงด้วยกระเบื้องดินเผาด้านหน้า มีชายคาปีกนกยื่นมากันฝน มีช่องประตูเดียว มีหน้าต่างข้างๆ 3 ช่อง ภายในพระอุโบสถประดิษฐาน พระประธานบนฐานชุกชีปางมารวิชัย ลดหลั่นลงมาเป็นพระอันดับซ้ายขวา 2 องค์ และยังมีภาพจิตรกรรม ฝาผนังที่เก่าแก่งดงาม ควรค่าแก่การศึกษา วัดโคก อำเภอเมือง จ.ปทุมธานี ตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลบ้านฉาง ภายในวัดมีพระประธานปางสมาธิ เจดีย์มอญก่อสร้างแบบก่ออิฐถือปูนทาสีขาว ธรรมมาสน์เก่าทำด้วยไม้มะเกลือฝังมุขอายุกว่าร้อยปี และศาลาการเปรียญก่อสร้างด้วยไม้สัก เสาเป็นไม้แดง มีอายุ 100 ปีเศษ วัดดาวดึงษ์ (สวรรค์ชั้นที่ ๒) ต.บ้านใหม่ อ.เมือง จ.ปทุมธานี วัดดาวดึงษ์ ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี เป็นวัดเก่าอีกวัดหนึ่ง ในย่านจังหวัดปทุมธานี สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นมาเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๒๐ เป็นวัดของชาวรามัญ จากคำเล่าขานสืบต่อกันมาว่า ในท้องถิ่นย่านตำบลบ้านใหม่ แห่งนี้เดิมทีเป็นแหล่งพำนักพักพิงของชาวบ้านรามัญ ที่อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร พระมหากษัตริย์ไทย ชาวรามัญเหล่านั้น เมื่อลงหลักปักฐานรวมตัวกันอยู่เป็นชุมชนมี ความสุขสบายตามอัตภาพ ก็ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างวัดขึ้นมา เพื่อใช้เป็นที่อบรมสั่งสอน กุลบุตรกุลธิดาละแวกบ้าน กาลเวลาผ่านไปนานเข้าๆจากชุมชนเล็กๆก็กลายเป็นชุมชนใหญ่ วัดแต่แรกเริ่มก่อตั้งเป็นสำนักสงฆ์ขึ้นมาก่อน จากนั้นก็ยกฐานะเป็นวัดในเวลาต่อมา วัดดาวดึงษ์ ชื่อนี้เล่ากันมาจากปากของชาวรามัญว่า เมื่อครั้งที่ต้นตระกูลของ พวกเขาอยู่ที่เมืองรามัญ วัดที่ต้นตระกูลของพวกเขาก็ชื่อ วัดดาวดึงษ์ ครั้นพอมา อยู่เมืองไทยและได้สร้างวัด เพื่อเป็นการระลึกถึงถิ่นกำเนิดของบรรพบุรุษจึงพากันขนานนามว่า วัดดาวดึงษ์ไว้เป็นอนุสรณ์ และวัดนี้ยังเป็นชื่อของสวรรค์ชั้นที่ ๒ อีกด้วย วัดดาวดึงษ์ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๘ ลำดับเจ้าอาวาสรูปแรกเท่าที่ทราบจากปากคำบอกต่อกันมาว่าชื่อ พระอธิการตูบ ก่อนหน้านี้จักมีเจ้าอาวาสอีกหรือเปล่าไม่มีใครทราบ เพราะไม่มีการบันทึกเอาไว้ เพียงแต่เก็บจากปากคำของผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านที่รับทราบสืบต่อกันมา พระอธิการตูบเป็นชาวรามัญอยู่ละแวกวัดนั่นเอง ครั้นเมื่อสิ้นอธิการตูบไปแล้ว พระอธิการตุ๋ย ก็ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสแทน พระอธิการตุ๋ยเป็นคนไทยอยู่ได้ไม่นานก็ลาสิกขาไป หัวข้อ: Re: เข้าพรรษา "ปทุมธานีโซน" เราจะไปถวายเทียนกันมัยที่ไหนดีครับ เริ่มหัวข้อโดย: mawmuay ที่ 16 กรกฎาคม 2010 11:13:47 เที่ยวต่อด้วยปะละ?
ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดปทุมธานี ศาลหลักเมือง อำเภอเมือง จ.ปทุมธานี เป็นที่เคารพสักการะของชาวจังหวัดปทุมธานี ตั้งอยู่บริเวณทางเข้าศาลากลางจังหวัด เป็นศาลาแบบจตุรมุขยอดปรางค์ ประดิษฐานเสาหลักเมืองซึ่งมีลักษณะคล้ายก้านดอกบัวหลวงทำจากไม้ชัยพฤกษ์ และมีรูปหล่อพระนารายณ์สี่กรทรงเหนือหลังนกฮูกและพระวิษณุหล่อด้วยสัมฤทธิ์ ด้านหลังของมณฑปบรรจุพระยอดธงวัดไก่เตี้ย อีกทั้งสิ่งศักดิ์สิทธิ์มากมายประกอบด้วยเครื่องรางของขลังที่รวบรวมมาจากวัดต่างๆ ในจังหวัดปทุมธานี ศาลากลางจังหวัดปทุมธานี (หลังเก่า) อำเภอเมือง จ.ปทุมธานี ตั้งอยู่ด้านตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นเรือนปั้นหยา ด้านหน้าก่อปูนเป็นสถาปัตยกรรมแบบยุโรป มีลวดลายตกแต่งด้านหน้า ที่สวยงาม ซึ่งทางกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนโบราณสถานแห่งชาติ หออัครศิลปิน อำเภอคลองหลวง จ.ปทุมธานี ตั้งอยู่ตำบลคลองห้า อยู่เลยพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ไปอีกราว 3 กิโลเมตร สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเป็นเลิศในศิลปะทั้งมวล เป็นที่ประจักษ์ชัดแก่พสกนิกรและศิลปินทั่วโลก เป็นสถานที่จัดแสดงผลงานด้านศิลปและวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าของพระองค์ 9 ด้าน คือ ด้านหัตถกรรม ด้านกีฬา ด้านวรรณศิลป์ ด้านจิตรกรรม ด้านถ่ายภาพ ด้านภูมิสถาปัตยกรรม ด้านประติมากรรม ด้านดนตรี และด้านการพระราชนิพนธ์เพลง นอกจากนี้ ยังเป็นที่จัดแสดงประวัติ และผลงานอันล้ำค่า ของศิลปินแห่งชาติทุกท่านในรูปแบบนิทรรศการภาพ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยและถ่ายทอดผลงานและภูมิปัญญาของศิลปินแห่งชาติทั้ง 4 สาขา คือ สาขาวรรณศิลป์ ศิลปการแสดง ทัศนศิลป์ และสถาปัตยกรรม ผู้สนใจสามารถเข้าชมได้ในวันอังคาร-วันอาทิตย์ และ วันหยุดนักขัตฤกษ์ 09.30-16.00 น. ปิดวันจันทร์ โทร. 0 2986 5020-4 เว็บไซต์ www.culture.go.th/supreme/main.php ภายในบริเวณใกล้เคียงกับหออัครศิลปิน ยังมีโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อีกหลายแห่ง เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้แก่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก หอจดหมายเหตุแห่งชาติและพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา ตลาดไท อำเภอคลองหลวง จ.ปทุมธานี เป็นตลาดกลางสินค้าการเกษตรแห่งประเทศไทย ศูนย์กลางสินค้าการเกษตร และอุตสาหกรรม การเกษตร ครบวงจร เพื่อภาคการเกษตรกรรมไทย ยิ่งใหญ่ ทันสมัย ก้าวไกลไปสู่ความเป็นหนึ่ง บนเนื้อที่กว่า 500 ไร่ ตลาดไท ถูกออกแบบให้ยิ่งใหญ่กว้างขวาง และสะดวกสบาย แตกต่างจากตลาดกลางแบบเก่าอย่างสิ้นเชิง ด้วยการแบ่งตลาดออกเป็นสัดส่วน ตามประเภทของสินค้าที่หลากหลาย ทำให้สามารถรองรับปริมาณสินค้าที่หลากหลายวันละกว่า 15,000ตัน จากเกษตรกรทั่วประเทศไทย โดยจัดแบ่งพื้นที่เป็น อาคารส้ม เป็นตลาดผลไม้ส้มเขียวหวาน, อาคารผลไม้รวม เป็นตลาดที่ช่วยรองรับผลไม้รวมจากเกษตรกรทั่วประเทศ เช่น มะม่วง แคนตาลูป กระท้อน มะปราง น้อยหน้า ผรั่ง มะละกอ ละมุด พุทรา แตงไทย ส้มโอ ส้มเช้ง กล้วยหอม ชมพุ่ องุ่น มะขามเทศ ฯลฯ, ลานขายผลไม้ตามฤดูกาล เนื่องจากในช่วงฤดูกาลผลไม้จะมีผลไม้แต่ละชนิดจำนวนมาก พื้นที่นี้เปิดให้เกษตรกรและผู้ซื้อมาซื้อขายกันโดยตรง, ตลาดไม้ดอกไม้ประดับและกิ่งพันธุ์ไม้ รวบรวมกลุ่มผู้ขายไม้ดอกไม้ประดับ และกิ่งพันธุ์ไม้จากแหล่งผลิตที่สำคัญ และรวบรวมกลุ่มผู้ค้าวัสดุอุปกรณ์เพื่อการเพาะปลูก, อาคารผัก, ตลาดสด ขายสินค้าเกี่ยวกับสินค้าอุปโภคบริโภคทุกประเภทเช่น เนื้อ หมู เป็ด ไก่ ปลา อาหารทะเล ผัก ผลไม้ ร้านขายของชำ ชั้น 2 มีสินค้าเบ็ดเตล็ดทั่วไป, ตลาดดอกไม้ มีร้านจำหน่ายไม้ดอกไม้ประดับหลากหลายจำนวนมาก เช่น ดอกกุหลาบ กล้วยไม้ เยอรบีร่า ร้านจัดทำพวงหรีด ร้านจำหน่ายสังฆภัณฑ์ ตลาดไท เปิดบริการ 24 ชั่วโมง ตั้งอยู่ริมถนนพหลโยธิน กม.ที่ 42 เยื้องมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ติดต่อสอบถามได้ที่โทร. 0 2908 4490-2 www.taladthai.com พิพิธภัณฑ์บัว อำเภอธัญบุรี จ.ปทุมธานีตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เริ่มจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2543 ในการดูแลของสำนักงานโครงการภูมิทัศน์และสำนักงานกิจการพิเศษของมหาวิทยาลัยฯ ตามโครงการอนุรักษ์พันธุ์กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อรวบรวมพันธุ์บัว ทั้งพันธุ์ไทย พันธุ์เทศและพันธุ์ลูกผสม เพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ ค้นคว้าวิจัย ขยายพันธุ์บัว เพื่อศึกษาเรื่องการนำส่วนต่าง ๆ ของบัวไปใช้ประโยชน์ อีกทั้งเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มีการรวบรวมพันธุ์บัวต่าง ๆ ทั้งของไทยและต่างประเทศ และพันธุ์ลูกผสม กว่า 100 สายพันธุ์ปลูกไว้ในกระถางและสระน้ำ อาทิ บัวหลวง บัวผัน บัวเผื่อน บัวยักษ์ บัวจงกลนี บัวกระด้ง ฯลฯ รวมทั้งบัวที่ชื่อว่า "มังคลอุบล " ที่ได้รับรางวัล Best New Hardy Waterlily 2004 ในการประกวดบัวโลกครั้งที่ 19 ที่สหรัฐอเมริกา เปิดให้เข้าชมฟรี ในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30 - 16.30 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ถนนรังสิต-นครนายก ตำบลคลองหก อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี 12110 โทร. 0 2549 3043 - 5 โทรสาร 0 2549 349, 0 2577 2357, 0 2577 2357 ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา รังสิต อำเภอธัญบุรี จ.ปทุมธานีตั้งอยู่ในเนื้อที่ 62 ไร่ ณ ตำบลรังสิต ถนนรังสิต-นครนายก อำเภอธัญบุรี ระหว่างคลอง 5 และคลอง 6 เข้าทางเดียวกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล โดยแยกจากถนนสายรังสิต-นครนายกเข้าไป 4 กิโลเมตร ก่อตั้งเมื่อปี 2537 เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียน นักศึกษา เยาวชนและประชาชนทั่วไป ภายในอาคารมีพื้นที่ใช้สอย 35,000 ตารางเมตร แบ่งพื้นที่ออกเป็น ห้องนิทรรศการถาวร ห้องท้องฟ้าจำลอง ห้องประชุมสัมมนาห้องปฎิบัติการวิทยาศาสตร์ นิทรรศการภายในอาคาร เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้าน วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เช่น นิทรรศการ ประทีปแห่งแผ่นดิน ดาราศาสตร์และอวกาศ วิทยาศาสตร์พื้นฐาน เมืองเด็กแดนวิทยาศาสตร์มหัศจรรย์เปิดโลกสิ่งแวดล้อม เรียนรู้มหัศจรรย์แห่งชีวิตโลกล้านปี โลกดาวเคราะห์ กีฬากับวิทยาศาสตร์ นิทรรศการนอกอาคาร อุทยานวิทยาศาสตร์ เช่น สวนสมุนไพร สวนวิทยาศาสตร์ สวนเกษตรธรรมชาติ นาฬิกาแดด ไม้ในวรรณคดี สวนธรณีวิทยา ท้องฟ้าจำลอง รังสิตภายในศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษารังสิต มีท้องฟ้าจำลองแห่งใหม่ ห้องฉายดาวเป็นแบบโดมเอียง จุที่นั่งได้ 160 ที่นั่ง พร้อมทั้งสามารถฉาย ภาพยนต์แบบ IMAX ได้ ซึ่งถือเป็นท้องฟ้าจำลองที่ทันสมัยที่สุด ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หอดูดาว สร้างเป็นหอดูดาวแบบโดม ติดตั้งกลองขนาด 16 นิ้ว รุ่น LX 200 พร้อม CCD นอกจากนี้ยังมีกล้องภาคสนามอื่นอีกเช่นกล้องนิวโทเนียน 16 นิ้ว และกล้องหักเหแสง ขนาด 4 นิ้ว อีก 3 ตัว เพื่อกิจกรรมดาราศาสตร์ ที่ให้บริการแก่บุคคลทั่วไป กิจกรรม มีหลากหลายกิจกรรม เช่น ค่ายวิทยาศาสตร์ ทั้งค่ายไป-กลับ ค่ายแรม ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ การประชุมอบรม สัมมนาทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม การเข้าชม ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษารังสิต เปิดบริการทุกวันอังคาร-อาทิตย์ เวลา 09.00 - 16.00 น. ค่าเข้าชมท้องฟ้าจำลอง คนละ 30 บาท สอบถายรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษารังสิต โทร . 0 2577 5455-9 หรือ www.rscience.net พิพิธภัณฑสถานเครื่องถ้วยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อำเภอคลองหลวง จ.ปทุมธานี ตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ภายในจัดแสดงศิลปโบราณวัตถุ เครื่องถ้วยที่ผลิตจากแหล่งเตาในประเทศไทย เช่น เครื่องถ้วยสุโขทัย เครื่องถ้วยล้านนาและเครื่องถ้วยอยุธยา รวมทั้งเครื่องถ้วยที่ผลิตจากเตาเผาในต่างประเทศ ซึ่งค้นพบในประเทศไทย อาทิ เครื่องถ้วยจีน เครื่องถ้วยเวียตนาม และเครื่องถ้วยพม่า เป็นต้น พิพิธภัณ แบ่งออกเป็นห้องนิทรรศการถาวร ห้องนิทรรศการชั่วคราว ร้านจำหน่ายหนังสือและสินค้าที่ระลึก เปิดให้เข้าชมทุกวัน ยกเว้นวันอาทิตย์ วันจันทร์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์เวลา 09.00-16.00 น. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0 2902 0299 , 0 2902 0299 ต่อ 2890 โทรสาร. 0 2516 6115, 0 2516 6115 E-mail: museum@bu.ac.th เว็บไซด์ http://museum.bu.ac.th สวนสนุกดรีมเวิลด์ อำเภอธัญบุรี จ.ปทุมธานีตั้งอยู่ที่ตำบลบึงยี่โถ กิโลเมตรที่ 7 เส้นทางสายรังสิต-นครนายก บริเวณคลองสาม หากเดินทางโดยรถประจำทาง มีรถจากหมอชิต สาย ปอ. 523 (หมอชิต-สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล) หรือ ปอ. 538 (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล) หรือนั่งรถโดยสาร ขสมก.มาลงที่รังสิต แล้วต่อรถสายที่ไปสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล แวะลงที่หน้าดรีมเวิลด์ดรีมเวิลด์เป็นสวนสนุกและสถานที่พักผ่อน ที่รวบรวมความบันเทิงนานาชนิดเข้าไว้ด้วยกันในเนื้อที่กว่า 160 ไร่ ประกอบด้วยดินแดนต่างๆ 4 ดินแดน ซึ่งได้รับการออกแบบ ให้มีบรรยากาศแห่งความสุข สนุกสนานที่แตกต่างกันออกไป ได้แก่ ดรีมเวิลด์ พลาซ่า ดินแดนที่เต็มไปด้วยความงดงามของสถาปัตยกรรมอันวิจิตรพิศดารตลอดสองข้างทาง ดรีมการ์เด้น เป็นอุทยานสวนสวยที่ถูกจัดไว้อย่างสวยงาม ท่ามกลางความเย็นสบายจากทะเลสาบขนาดใหญ่ และเคเบิ้ลคาร์ ที่จะพาชมความงามของทัศนียภาพในมุมสูง แฟนตาซี แลนด์ เป็นดินแดนแห่งเทพนิยาย ประกอบด้วย ปราสาทเจ้าหญิงนิทรา บ้านขนมปัง และบ้านยักษ์ แอดแวนเจอร์ แลนด์ ดินแดนแห่งการผจญภัย และท้าทาย ประกอบด้วย รถไฟตะลุยจักรวาล ไวกิ้งส์ เมืองหิมะ เป็นต้นอัตราค่าบริการ บัตรผ่านประตู ชาวไทย ผู้ใหญ่ 120 บาท เด็ก 95 บาท บัตรรวมเครื่องเล่น 330 บาท ชาวต่างประเทศ 450 บาท เปิดบริการทุกวัน เวลา 10.00-17.00 น. เสาร์-อาทิตย์ เปิดถึง 19.00 น. โทร. 0 2533 1152, 0 2533 1152, 0 2533 1447, 0 2533 1447 โทรสาร 0 2533 1899, 0 2533 1899 เว็บไซต์http://www.dreamworld-th.com , E-mail : info@dreamworld-th.com อนุสรณ์สถานแห่งชาติ อำเภอคลองหลวง จ.ปทุมธานี ตั้งอยู่ที่ตำบลคูคต บริเวณถนนวิภาวดีรังสิตบรรจบกับถนนพหลโยธิน มีเนื้อที่ประมาณ 38 ไร่ ในความดูแลของกรมยุทธศึกษาทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็นทั้งอนุสรณ์สถานเทิดทูนวีรกรรมบรรพบุรุษไทย ที่ได้ใช้สติปัญญา ความสามารถตลอดจนเลือดเนื้อและชีวิต เข้าปกป้องผืนพสุธามาตุภูมิแห่งนี้ไว้ และเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ชาติไทยตลอดจนเหตุการณ์รบครั้งสำคัญของไทย และสงครามที่กองทัพไทยได้ไปปฏิบัติการรบในต่างประเทศ อาทิ สงครามเวียดนาม สงครามเกาหลี โดยใช้หุ่นจำลองเหตุการณ์ และภาพถ่าย มีห้องจัดแสดงวิวัฒนาการเครื่องแบบ เครื่องหมายยศของทหารทุกยุคสมัย ดินจากสมรภูมิรบที่สำคัญ ด้านหน้าอาคารประดิษฐานพระบรมรูปรัชกาลที่ 5 แกะสลักด้วยหินอ่อนขนาดเท่าครึ่งของพระองค์จริง และที่น่าสนใจมากคืออาคารภาพปริทัศน์ แสดงภาพจิตรกรรมอันงดงามบนผนังโค้งวงกลม เรื่องราวจากสมัยสุโขทัยถึงปัจจุบันประกอบเสียงคำบรรยาย รวมความยาวโดยรอบถึง 90 เมตร ด้านนอกจัดแสดงวัตถุยุทโธปกรณ์ขนาดใหญ่ที่ปลดประจำการ เปิดให้เข้าชมวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 09.00-12.00 น.และ 13.00-15.00 น. โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หมู่คณะต้องการผู้บรรยายควรติดต่อล่วงหน้า สามารถใช้บริการรถประจำทางสาย 29, 34, 39, 59, 95, ปอ. 503, ปอ. 504, ปอ. 510, ปอ. 513, ปอ. 524, ปอ. 529 และ ปอ. 539 สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2532 1020-1 พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ อำเภอคลองหลวง จ.ปทุมธานีตั้งอยู่ที่ตำบลคลองหนึ่ง ถนนพหลโยธิน กม. 46-48 ตรงข้ามนิคมอุตสาหกรรมนวนคร ประกอบด้วย กลุ่มอาคารพิพิธภัณฑ์ 9 อาคาร มีทางเดินเชื่อมต่อกัน จัดแสดงเรื่องราวทางการเกษตรผ่านเทคโนโลยีทันสมัย และหุ่นจำลอง ครอบคลุมเนื้อหางานการเกษตรทุกด้าน ได้แก่ การพัฒนาที่ดิน ป่าไม้ ประมง ปศุสัตว์ ระบบนิเวศ ส่วนด้านนอกมีเรือนเพาะปลูก แปลงนาสาธิต และจำลองสภาพความเป็นอยู่ของเกษตรกรทุกภูมิภาคของไทย นอกจากนี้ ยังเป็นศูนย์ฝึกอบรม ศูนย์ประชุมสัมมนาด้านวิชาการเกษตร และยังเป็นแหล่งการศึกษาทางด้านโครงการพระราชดำริ เปิดวันอังคาร-วันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ปิดวันจันทร์ เวลา 09.3015.30 น. ไม่เก็บค่าเข้าชม สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2529 2211-4 http://www.nsm.or.th/rms/index.html พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก อำเภอคลองหลวง จ.ปทุมธานีพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก สร้างขึ้นเนื่องในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงครองราชครบ 50 ปี ในปี พ.ศ.2539 เป็นพิพิธภัณฑ์ทางด้าน ชาติพันธุ์วิทยา ตั้งอยู่ ณ ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี บนเนื้อที่ 305 ไร่ เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในวโรกาสที่สำคัญยิ่งของพสกนิกรชาวไทย กรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง จึงได้อัญเชิญนามพระราชพิธีมาเป็นชื่อหน่วยงานนี้ว่า "พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก"โครงการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติด้านชาติพันธุ์วิทยานั้น กำเนิดมาจากนโยบายของกรมศิลปากรที่ตระหนักถึงแนวทาง การพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ที่มุ่งเน้นทางด้านการกระจายความเจริญ จากเมืองไปสู่ชานเมือง นับเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเฉพาะสาขาในส่วนกลาง ลำดับที่ 3 นอกจากนี้ทางกรมศิลปากรได้จัดให้พิพิธภัณฑสถานเฉพาะด้านสาขาอื่นๆ ผนวกกับการสร้างอาคารของหน่วยงานอนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรม ที่โยกย้ายออกจากกรุงเทพฯ มารวมอยู่ในพื้นที่เดียวกัน เพื่อเตรียมจัดให้เป็นพื้นที่ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ ร.9 แหล่งเรียนรู้สหสาขาวิชาที่ครอบคลุมความรู้ เรื่องที่เกี่ยวกับคนไทยทั้งศิลปวัฒนธรรมชาติพันธุ์วิทยา และธรรมชาติวิทยา เพื่อเอื้ออำนวยประโยชน์การเรียนรู้แก่ผู้ที่มาเยี่ยมเยียน เป็นบทนำการเดินทางท่องเที่ยว และศึกษาในภูมิภาคต่างๆของประเทศ ภายในพื้นที่โครงการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษกจึงมีพิพิธภัณฑ์และหน่วยงานด้านการอนุรักษ์ อยู่ร่วมกันหลายหน่วยงาน อาทิ หอจดหมายแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 9 หออัครศิลปิน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติธรณีวิทยา เป็นต้น ถึงแม้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ก็ตาม แต่สามารถให้ความรู้แก่นักเรียน หรือผู้ที่สนใจได้ ในรูปแบบของนิทรรศการสัญจรตามสถานศึกษา และศูนย์กลางชุมชน พร้อมสื่อการเรียนรู้ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นศิลปะวัตถุ โบราณวัตถุจำลอง ภาพสไลด์ เป็นต้น โดยมีผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้บรรยาย และในปี พ.ศ.2548 นี้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกาญจนาภิเษก เปิดให้บริการในส่วนของศูนย์ข้อมูลโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ ซึ่งจะมีการจัดแสดงโบราณวัตถุ และศิลปวัตถุประเภทเครื่องปั้นดินเผา ผ้า อาวุธ เครื่องใช้ในการเกษตร เป็นต้น จำนวนมากกว่า 10,000 รายการ ในรูปแบบของคลังเปิด เปิดให้เข้าชมวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00-16.00 น. (เข้าชมเป็นหมู่คณะติดต่อล่วงหน้าก่อนเข้าชม) ตลาดน้ำคลองสาม อำเภอคลองหลวง จ.ปทุมธานี จากตำนานการอพยพของชาวรามัญเข้ามาสู่เมืองสามโคก หรือจังหวัดปทุมธานีในปัจจุบัน เส้นทางสำคัญในการค้าขายของบรรพบุรุษได้บอกเล่าวิถีชีวิต ที่อิงแอบกับสายน้ำเจ้าพระยามาตั้งแต่สมัยโบราณ ด้วยการดำเนินชีวิตที่เปี่ยมด้วยมนต์เสน่ห์ของวิถีชาวชุมชนสองฝากฝั่ง อันเต็มไปด้วยเรื่องราวของความเจริญรุ่งเรือง ทางประวัติศาสตร์ อารยธรรมและความสำคัญทางด้านการสถาปนาของพระเจ้าแผ่นดินหลากหลายพระองค์ อำเภอคลองหลวง ถือเป็นหนึ่งในต้นกำเนิดตำนานทางประวัติศาสตร์ ที่แฝงด้วยเรื่องราวให้น่าค้นหาอีกมากมาย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน วิถีความเป็นอยู่ของชาวคลองสาม ที่ผูกพันธ์อยู่กับสายน้ำได้สร้างวัฒนธรรมชุมชนที่งดงามท่ามกลางการดำรงชีวิต ที่ผูกพันธ์อยู่กับธรรมชาติมาตั้งแต่สมัยโบราณ และในวันนี้จะเป็นวันที่ชาวคลองสามได้นำความภาคภูมิใจในอดีต มาบอกเล่าด้วยเรื่องราวใหม่ ที่ทำให้คนทั้งประเทศได้ร่วมเป็นหนึ่งกับความภาคภูมิใจนี้ก็คือการกำเนิดขึ้นของตลาด น้ำคลองสาม ตลาดน้ำคลองสามนับเป็นแหล่งท่องเที่ยวล่าสุด ที่ได้รับความร่วมมือทั้งจากภาครัฐและเอกชนที่ให้การสนับสนุน ในการก่อตั้งชุมชนตลาดน้ำแห่งนี้ ซึ่งไม่เพียงแต่จะมีการบอกเล่าเรื่องราวแห่งการดำเนินชีวิตอันงดงาม ในสมัยโบราณแล้ว ยังเป็นการรักษาวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม ท่ามกลางวิถีสมัยใหม่อย่างแท้จริงด้วยความยาวกว่า 20 กิโลเมตร ตลอดลำน้ำแห่งนี้ เราจะได้สัมผัสกับเรือลำเล็กลำน้อยมากกว่า 100 ลำ ซึ่งจะนำสินค้ามาขายให้แก่ผู้ที่เดินทางผ่านไปมาได้จับจ่ายใช้สอยกันทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น สินค้าเกษตรกรรม สินค้าหัตถกรรมพื้นเมืองจากปทุมธานี สินค้าประเภทอาหารหลากหลายชนิดทั้งคาว-หวาน หรือสินค้าประเภทของชำร่วยของที่ระลึกก็มีให้เลือกซื้อหากันอย่างเต็มที่ ไม่เพียงแต่จะเป็นตลาดน้ำแห่งใหม่ที่ดึงดูดใจด้วยเสน่ห์ที่แปลกตา ตลาดน้ำคลองสามยังได้รับความร่วมมือกันเป็นอย่างดี ให้มีความใสสะอาดด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เยี่ยมชมกับอดีตอย่างสมบูรณ์แบบ พร้อมกันนี้ยังปรับปรุงเส้นทางการคมนาคม ที่เชื่อมโยงทางบกและทางน้ำให้ติดต่อถึงกัน ทำให้การเดินทางไปท่องเที่ยวมีความสะดวกสบาย และได้สุนทรียรสจากความเป็น"ตลาดน้ำ"อีกแห่งของเมืองไทยอย่างแท้จริง ศูนย์บริการการกีฬา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อำเภอคลองหลวง จ.ปทุมธานี ศูนย์บริการการกีฬา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีจุดกำเนิดมาจากการก่อสร้างสนามกีฬา เพื่อรองรับการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ซึ่งมีการก่อสร้างอาคารขึ้นมาเพื่อรองรับเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นอาคารที่พักนักกีฬา จำนวน 5,000 ยูนิต สนามกีฬา อาคารสระว่ายน้ำ อาคารยิมเนเซียม ทั้งหมด 7 อาคาร ซึ่งปัจจุบันได้ทำการปรับปรุง เพื่อประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัย อาทิเช่น อาคารยิมเนเซียม 3 ได้ปรับปรุงให้เป็นสถานที่ตั้งของศูนย์บริการการกีฬา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นต้น ศูนย์บริการการกีฬา เป็นหน่วยงานที่แยกส่วนของการกีฬาออกจากสำนักงานจัดการทรัพย์สิน เนื่องจากมีสภาพในการทำงานที่แตกต่างกัน ซึ่งในส่วนของศูนย์บริการการกีฬานั้น มีพันธกิจหลัก คือการจัดให้มีกิจกรรมด้านการกีฬาและการออกกำลังกายอย่างหลากหลายและทั่วถึง รวมทั้งเปิดโอกาสให้บุคคลากร นักศึกษา คณาจารย์ และประชาชนทั่วไปสามารถใช้สนามกีฬาได้อย่างเต็มที่ พร้อมทั้งให้ความร่วมมือกับการกีฬาของประเทศในทุกๆด้าน ศูนย์บริการการกีฬา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกอบด้วยสนามกีฬาหลัก ศูนย์กีฬาทางน้ำ สนามเทนนิส อาคารยิมเนเซียม 3 หลัง รวมพื้นที่ประมาณ 400 ไร่ ภายในศูนย์กีฬาแห่งนี้ต้องการให้บริการทางด้านกีฬาที่ครบถ้วนมากที่สุด ในเรื่องของกีฬาและสุขภาพ เปิดให้บริการกับประชาชนทั่วไป หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ อำเภอคลองหลวง จ.ปทุมธานี ในมหามงคลวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองราชสมบัติครบ 50 ปี ในปี พ.ศ.2539 กรมศิลปากรได้ทำการจัดตั้งหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ขึ้น เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย เป็นสิ่งอนุสรณ์เฉลิมพระเกียรติ ด้วยงบประมาณทั้งสิ้น 720.4 ล้านบาท ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อว่า "หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ตั้งอยู่บนพื้นที่ 75 ไร่ อาคารก่อสร้างเป็นแบบสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ สมัยรัชกาลที่ 9 ตั้งอยู่ ณ ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี มีลักษณะเป็นกลุ่มอาคาร 4 ส่วน มีทางเชื่อมและลานเอนกประสงค์รวมพื้นที่ 20,000 ตารางเมตร ประกอบด้วย อาคารส่วนที่ 1 อาคารเก็บเอกสารจดหมายเหตุ เป็นอาคาร 9 ชั้น มีพื้นที่ 6,000 ตารางเมตร อาคารส่วนที่ 2 อาคารให้บริการค้นคว้า มีพื้นที่ 4,500 ตารางเมตร อาคารส่วนที่ 3-4 อาคารจัดแสดงนิทรรศการถาวร เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจและโครงการในพระราชดำริมีพื้นที่ 3,000 ตารางเมตร ลานเอนกประสงค์ เป็นส่วนจัดกิจกรรม มีพื้นที่ 3,500 ตารางเมตร อาคารทั้ง 4 อาคารในหอจดหมายเหตุแห่งชาติแห่งนี้ ทางกรมศิลปากรต้องการให้เป็นหอสมุดจดหมายเหตุแห่งชาติที่สมบูรณ์ที่สุด ในการเก็บรวบรวมเอกสารสำคัญของชาติ เกี่ยวกับพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเด ช และพระบรมวงศานุวงศ์ เพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการศึกษา ค้นคว้า วิจัยให้แก่หน่วยงานราชการ เอกชน นิสิต นักศึกษาและประชาชนทั่วไป อำนวยประโยชน์ในการรวบรวมจัดเก็บจัดแสดง ให้บริการสืบค้นและอนุรักษ์เอกสารที่เกี่ยวเนื่อง ในพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ อาทิ พระราชหัตถเลขา พระบรมราโชวาท พระราชดำรัส พระราชนิพนธ์ ภาพเขียนฝีพระหัตถ์ พระบรมฉายาลักษณ์ แถบบันทึกพระสุรเสียง ฯลฯ ตลอดจนเอกสารการดำเนินงาน ตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และโครงการเฉลิมพระเกียรติต่างๆ หอจดหมายเหตุแห่งชาติแห่งนี้ จึงเป็นสถานที่ให้ความรู้ และให้เยาวชนรุ่นหลังได้ซาบซึ้งถึงพระปรีชาสามารถ ในการปกครองแผ่นดิน รวมไปถึงความจงรักภักดีของพสกนิกรชาวไทย ที่มีต่อพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ ผู้สนใจสามารถเข้าชมได้ในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00-16.30 น. การค้นภาพ, จดหมายเหตุ, เข้าชมเป็นหมู่คณะควรติดต่อล่วงหน้าก่อนเข้าชม โทร. 0 2902 7940, 0 2902 7940 ต่อ 111, 113 หัวข้อ: Re: เข้าพรรษา "ปทุมธานีโซน" เราจะไปถวายเทียนกันมัยที่ไหนดีครับ เริ่มหัวข้อโดย: mawmuay ที่ 16 กรกฎาคม 2010 11:14:00 โครงการสระเก็บน้ำพระราม 9
อำเภอคลองหลวง จ.ปทุมธานีปัญหาน้ำท่วม เป็นภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้ ซึ่งส่งผลให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรทางธรรมชาติ หรือสิ่งปลูกสร้าง สาธารณูปโภคต่างๆรวมถึงเศรษฐกิจ ไปพร้อมกับสายน้ำ ซึ่งหลังจากเกิดน้ำท่วมแต่ละครั้ง ส่งให้สูญเสียงบประมาณในการก่อสร้าง ปรับปรุง ให้กลับฟื้นคืนสู่สภาพปกติ ด้วยเหตุนี้เอง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อพสกนิกรชาวไทย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานแนวพระราชดำริ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาดังกล่าว อาทิ การสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธ์ หรือโครงการแก้มลิงต่างๆ ที่จะช่วยเสริมให้การแก้ไขและบรรเทา เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ หนึ่งในแนวพระราชดำริของโครงการแก้มลิงนั้นคือ "โครงการสระเก็บน้ำพระราม 9"โครงการสระเก็บน้ำพระราม 9 เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ที่ อำเภอคลองหลวง อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี อยู่ระหว่างคลองระบายน้ำรังสิต 5 และ 6 โดยมีพื้นที่โครงการรวม 2827 ไร่ 10 ตารางวา ซึ่งลักษณะของโครงการเป็นสระเก็บน้ำขนาดใหญ่ เนื้อที่รวม 2580 ไร่ แยกออกเป็น 2 สระด้วยกัน คือสระเก็บน้ำที่ 1 พื้นที่ประมาณ 790 ไร่ ความจุประมาณ 6 ล้าน ลบ.ม. เพื่อรับน้ำจากคลองระบายน้ำรังสิต 6 ส่วนสระน้ำที่ 2 มีพื้นที่ประมาณ 1790 ไร่ ความจุประมาณ 11.1 ล้าน ลบ.ม.รองรับน้ำจากคลองรังสิต 5 นอกจากนี้พื้นที่โดยรอบสระเก็บน้ำ ยังจัดให้เป็นพื้นที่ปลูกต้นไม้และจัดแต่งสวน เพื่อให้เป็นสถานที่พักผ่อนของประชาชนทั่วไป ประโยชน์ของโครงการสระเก็บน้ำพระราม 9 นี้ สามารถช่วยเหลือทางด้านการเกษตรกรรมในช่วงฤดูแล้ง และช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ตอนล่างโครงการได้เป็นอย่างดี โครงการดังกล่าวหรือโครงการแก้มลิงต่างๆ ถึงแม้ว่าจะเป็นโครงการที่ใช้งบประมาณสูงหากพิจารณาในระยะยาวแล้ว จะเกิดประโยชน์อย่างมหาศาลในอนาคต ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่าในการดำเนินการ โรงกษาปณ์ รังสิต อำเภอคลองหลวง จ.ปทุมธานีโรงกษาปณ์ รังสิต มีเนื้อที่ประมาณ 128 ไร่ เริ่มดำเนินการก่อสร้างเดือนมีนาคม พ.ศ.2539 โดยการก่อสร้างอาคารและติดตั้งระบบต่างๆ แล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ.2544 กรมธนารักษ์ได้ย้ายโรงกษาปณ์จากประดิพัทธ์ มารังสิตเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2544 และดำเนินการผลิตอย่างเต็มรูปแบบ ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ.2545 เป็นต้นมา สำนักกษาปณ์ เป็นหน่วยงานของกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง มีหน้าที่และความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการผลิตเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนใช้ให้เพียงพอต่อความต้องการ ในระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ. เงินตรา พ.ศ.2501 และผลิตเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ในโอกาสสำคัญทางประวัติศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์หรือเหตุการณ์ระหว่างประเทศ เพื่อเป็นการเผยแพร่เกียรติยศชื่อเสียงและวัฒนธรรมอันดีงามของประเทศ นอกจากนี้สำนักกษาปณ์ยังมีหน้าที่ผลิตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เครื่องหมายตอบแทน และผลิตภัณฑ์สั่งจ่ายต่างๆตามความต้องการของหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจและเอกชน รวมทั้งติดตั้งซ่อมแซมระบบประตูห้องมั่นคง ตู้นิรภัยให้คลังจังหวัดทั่วประเทศ สำนักกษาปณ์ได้กำหนดนโยบายในการพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านคุณภาพและการบริการ ให้ได้มาตราฐานระดับสากลรวมทั้งสืบสานช่างด้านศิลปวัฒนธรรม ที่เป็นเอกลักษณ์ของไทยให้ดำรงสืบต่อไป ล่องเรือแม่น้ำเจ้าพระยา อำเภอเมือง จ.ปทุมธานี แม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านจังหวัดปทุมธานี มีทัศนียภาพชุมชน บ้านเรือน ธรรมชาติที่สวยงาม นักท่องเที่ยวสามารถแวะชมวัดเก่าแก่ริมแม่น้ำหลายแห่ง ในเขตอำเภอเมืองและอำเภอสามโคก ได้แก่ วัดบางนา วัดหงษ์ปทุมาวาส วัดจันทน์กะพ้อ วัดสองพี่น้อง วัดศาลาแดง และวัดไผ่ล้อม รวมทั้งแวะตลาดริมน้ำของปทุมธานี เพื่อซื้อหาอาหารอร่อยเป็นของฝาก นักท่องเที่ยวจากกรุงเทพฯ สามารถเช่าเรือ จากท่าเรือท่าช้างล่องมาตามแม่น้ำเจ้าพระยามายังปทุมธานี หรือจะติดต่อเช่าเรือที่ท่าน้ำเทศบาลปทุมธานีก็ได้ เรือหางยาวขนาดจุ 20 คนที่ท่าน้ำปทุมธานีคิดอัตรา 500(วัดไผ่ล้อม)-2,000 (ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร) บาทต่อชั่วโมง โทร. 0 4135 3893 นอกจากนี้ยังมีเรือนำเที่ยวขนาดจุ 80 คนให้เช่าสำหรับหมู่คณะไปยังศูนย์ศิลปาชีพบางไทรและจังหวัดพระนครศรีอยุธยาราคา 8,000 บาทต่อวัน ติดต่อล่วงหน้าได้ที่ท่าน้ำเทศบาลปทุมธานี โทร. 0 2581 2977, 0 2581 2977 ห้องสมุดเรือและชุมชนบางปรอก อำเภอเมือง จ.ปทุมธานี ชุมชนบางปรอก ตั้งอยู่ติดกับวัดหงส์ปทุมาวาส เป็นชุมชนชาวมอญที่เข้มแข็งในด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูวัฒนธรรม ได้ร่วมกันสร้างห้องสมุดเรือที่ทำจากเรือเก่า ไว้บริเวณใต้ร่มไทรที่มีอายุมากกว่า 100 ปี ซึ่งเป็นศูนย์รวมให้เยาวชนในชุมชนได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ มีการสอนคอมพิวเตอร์ เรียนรำไทย กลองยาว ดนตรีไทย เป็นสถานที่ผลิต-จำหน่ายสินค้าชุมชน สนามเด็กเล่น และเป็นศูนย์ต้อนรับคณะผู้มาเยือน โดยจัดกิจกรรมต้อนรับเช่น การแสดงดนตรี-รำมอญ อาหารพื้นบ้านชาวมอญเช่น ข้าวแช่ กวนกะละแม แสดงวัฒนธรรมชาวมอญ เช่น ประเพณีแห่หางหงษ์-ธงตะขาบ ชมศูนย์แพทย์แผนไทย การทำปุ๋ยชีวภาพ การผลิตของที่ระลึกจากวัสดุเหลือใช้ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณฉลวย กะเหว่านาค ประธานชุมชน โทร. 0 2581 1252 , 0 2581 1252 พิพิธภัณฑ์หินแปลก จ.ปทุมธานี พิพิธภัณฑ์หินแปลก เป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย ซึ่งได้จัดแสดง เก็บรักษา และสะสมหิน เช่น หินแปลก หินหยก หินฟอสซิล หินธรรมชาติ หินย้อย หินแร่ จำนวนมากมายจากที่ต่าง ๆ ภายในประเทศและจากทั่วโลก แต่ละชิ้นมีความสวยงามเป็นเอกลักษณ์ และสามารถจินตนาการเป็นรูปร่างหรือเรื่องราวต่าง ๆ ก่อเกิดความคิดสร้างสรรค์และเปิดโลกทัศน์ให้แก่ผู้เข้าชม นอกจากหินแล้ว ทางพิพิธภัณฑ์ยังมีรูปภาพ แสตมป์ หน้าไม้ขีด ที่เขี่ยบุหรี่เก่า ภาพวาด ภาพเขียน จำนวนมากมาย ที่สามารถสะท้อนคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของไทยได้ในอีกทางหนึ่ง เดิมพิพิธภัณฑ์หินแปลกเปิดดำเนินการที่ถนนเจริญกรุง กรุงเทพฯ มาเป็นระยะเวลานานกว่า 10 ปี จึงได้ย้ายที่ทำการมาที่จังหวัดปทุมธานี ซึ่งสะดวกทั้งการจัดแสดงและที่จอดรถ ซึ่งมีจำนวนมากเพียงพอกับแขกที่มาเยี่ยมชม เปิดให้เข้าชมทุกวัน ระหว่างเวลา 8.00 - 17.00 น. ค่าเข้าชม คนไทย 20 บาท ต่างชาติ 150 บาท ติดต่อ พิพิธภัณฑ์หินแปลก 29/2 หมู่ 1 ถนนสายรังสิต-ท่าน้ำปทุมธานี ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมือง ปทุมธานี 12000 โทรศัพท์ 0 2581 4835 08 7550 0803 08 7015 6629 โทรสาร 0 2975 6943 อีเมล rarestonemuseum@gmail.com (http://www.siamfreestyle.com/forum_classic/uploads/monthly_03_2009/post-1-1238422437.gif) "ก้อนหินเป็นสมบัติล้ำค่า และเป็นกระดูกสันหลังของธรรมชาติ ก้อนหินล้วนแต่หลบซ่อนอยู่ตามขุนเขา ผ่านการกระแทก กัดกร่อน ของน้ำและดิน ค่อย ๆ เกลากลึงจนกลายเป็นวัตถุอันสง่างาม วิจิตรพิศดาร แฉล้มแช่มช้อย ก่อเกิดจินตนาการไม่รู้จบ ชวนให้เกิดความเสน่หาและระทึกใจ มันพูดไม่ได้ก็จริง แต่แฝงไว้ซึ่งคุณลักษณ์แห่งภาษาพูด ที่ดูพร้อมจะสาธยายได้ร้อยแปด ขณะเดียวกัน ความแข็งแกร่ง ความอดทน และความเงียบกริบของมัน ก็กลายเป็นแบบอย่างที่ดีของคนเรา หินแปลก ไม่เพียงแต่ชมได้ แต่ยังถ่ายทอดความรู้สึกได้ และในขณะเดียวกัน มันก็ยังเสมือน ตำราที่ไร้ตัวอักษร แต่ละท่านที่สัมผัส จะได้ความรู้สึกนึกคิดที่แตกต่างกัน ตามมุมมองของแต่ละบุคคล และชวนให้หลงไหลเคลิบเคลิ้มไปตามจินตนาการแห่งชีวิต" :emoq :emoq :emoq :emoq :emoq หัวข้อ: Re: เข้าพรรษา "ปทุมธานีโซน" เราจะไปถวายเทียนกันมัยที่ไหนดีครับ เริ่มหัวข้อโดย: rod@PT.Z#005 ที่ 16 กรกฎาคม 2010 11:36:32 :emotw ,มันเอามาซะครบทั้งจังหวัด..แล้วกรูจะเลือกถูกมั๊ยล่ะทีนี้... :emox
หัวข้อ: Re: เข้าพรรษา "ปทุมธานีโซน" เราจะไปถวายเทียนกันมัยที่ไหนดีครับ เริ่มหัวข้อโดย: Yoshikuni...Sw33t Devil ที่ 16 กรกฎาคม 2010 12:09:25 กรี๊สๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ขอบคุณค่ะพี่ปอ :emol :emol
นู๋ฝึกงานอยู่บอสัดทัวร์ เวลานู๋หาข้อมูลวัดที่ปทุมนี่ไม่ต้องมานั่งเซิตหาเรยอ่ะ ทู้นี้ทู้เดวเรยจบ อิอิ :emom :emo2 หัวข้อ: Re: เข้าพรรษา "ปทุมธานีโซน" เราจะไปถวายเทียนกันมัยที่ไหนดีครับ เริ่มหัวข้อโดย: tatee_ae ที่ 16 กรกฎาคม 2010 13:14:01 คุณ...เจ๋ง..มากครับ
หัวข้อ: Re: เข้าพรรษา "ปทุมธานีโซน" เราจะไปถวายเทียนกันมัยที่ไหนดีครับ เริ่มหัวข้อโดย: Beer-Jamper@Cz ที่ 16 กรกฎาคม 2010 13:28:20 :emo8
หัวข้อ: Re: เข้าพรรษา "ปทุมธานีโซน" เราจะไปถวายเทียนกันมัยที่ไหนดีครับ เริ่มหัวข้อโดย: บอยคุง (PT.Z#021) ที่ 16 กรกฎาคม 2010 13:41:25 :emo2 :emo2 :emo2 เล่นซะหมดปทุมเลย :emotn
หัวข้อ: Re: เข้าพรรษา "ปทุมธานีโซน" เราจะไปถวายเทียนกันมัยที่ไหนดีครับ เริ่มหัวข้อโดย: mawmuay ที่ 16 กรกฎาคม 2010 14:19:45 วัดเจดีย์หอย
น่าสนจัยนะ -0- หัวข้อ: Re: เข้าพรรษา "ปทุมธานีโซน" เราจะไปถวายเทียนกันมัยที่ไหนดีครับ เริ่มหัวข้อโดย: rod@PT.Z#005 ที่ 16 กรกฎาคม 2010 14:30:10 วัดเจดีย์หอย น่าสนจัยนะ -0- บอกกันตรงๆ ในฐานะคนพื้นที่(ใกล้วัดเจดีหอย) ถ้าคิดมาเที่ยวผมยินดีนำทางครับ แต่ถ้าจะทำบุญไปวัดอื่นเหอะ จะเสียความรู้สึกกันปล่าวๆ พูดกันตรงๆคือพุทธพาณิชแบบเต็มตัวครับ หัวข้อ: Re: เข้าพรรษา "ปทุมธานีโซน" เราจะไปถวายเทียนกันมัยที่ไหนดีครับ เริ่มหัวข้อโดย: pormin.nbc @ PT.Z#23 ที่ 16 กรกฎาคม 2010 15:57:44 เลือกไม่ถูกเลยอะ :emotw หัวข้อ: Re: เข้าพรรษา "ปทุมธานีโซน" เราจะไปถวายเทียนกันมัยที่ไหนดีครับ เริ่มหัวข้อโดย: mawmuay ที่ 16 กรกฎาคม 2010 16:04:31 วัดเจดีย์หอย น่าสนจัยนะ -0- บอกกันตรงๆ ในฐานะคนพื้นที่(ใกล้วัดเจดีหอย) ถ้าคิดมาเที่ยวผมยินดีนำทางครับ แต่ถ้าจะทำบุญไปวัดอื่นเหอะ จะเสียความรู้สึกกันปล่าวๆ พูดกันตรงๆคือพุทธพาณิชแบบเต็มตัวครับ น่าสนจัยอะ น่าสนใจไปเที่ยว ไม่ได้จะทำบุญ 555+ หัวข้อ: Re: เข้าพรรษา "ปทุมธานีโซน" เราจะไปถวายเทียนกันมัยที่ไหนดีครับ เริ่มหัวข้อโดย: Ae-RaNgSiT101-Ohana ที่ 16 กรกฎาคม 2010 19:51:01 วัดที่กันดานครับ วัดเทพ วัดพาญิชย์ ไม่เอาครับ บุกป่าฝ่าดงหน่อย พิสูตรศรัทราได้ดียิ่งครับ
หัวข้อ: Re: เข้าพรรษา "ปทุมธานีโซน" เราจะไปถวายเทียนกันมัยที่ไหนดีครับ เริ่มหัวข้อโดย: rod@PT.Z#005 ที่ 16 กรกฎาคม 2010 20:41:01 ต้องหาข้อมูลก่อนครับเพราะวัดกันดานในปทุมเราก็ไม่ค่อยจะมีซะด้วย
หัวข้อ: Re: เข้าพรรษา "ปทุมธานีโซน" เราจะไปถวายเทียนกันมัยที่ไหนดีครับ เริ่มหัวข้อโดย: ram_รังสิต ที่ 16 กรกฎาคม 2010 23:30:59 รอ.....จะไปวัดไหนดีนะ
หัวข้อ: Re: เข้าพรรษา "ปทุมธานีโซน" เราจะไปถวายเทียนกันมัยที่ไหนดีครับ เริ่มหัวข้อโดย: สมถวิล@ปทุมNO.9 ที่ 16 กรกฎาคม 2010 23:42:58 ช่วงสุดสัปดาห์นั้น ไปเมืองกาญอ่ะคับ คงไม่ได้ไป ยังไงก็เอาบุญกลับมาเยอะๆนะคับ :emotv
หัวข้อ: Re: เข้าพรรษา "ปทุมธานีโซน" เราจะไปถวายเทียนกันมัยที่ไหนดีครับ เริ่มหัวข้อโดย: Ae-RaNgSiT101-Ohana ที่ 19 กรกฎาคม 2010 10:57:45 อัฟไปก่อนครับ อืมๆ
หัวข้อ: Re: เข้าพรรษา "ปทุมธานีโซน" เราจะไปถวายเทียนกันมัยที่ไหนดีครับ เริ่มหัวข้อโดย: mawmuay ที่ 19 กรกฎาคม 2010 11:12:23 ถ้าวัดกันดารไม่มี
ก็ขอไปแบบวัด + เที่ยวได้ปะ แต่ก้อคงไปวันเสาร์อีกแล้วใช่ปะ เค้าก้ออดไป ห้า ๆ เที่ยวเผื่อด้วยส์ :D หัวข้อ: Re: เข้าพรรษา "ปทุมธานีโซน" เราจะไปถวายเทียนกันมัยที่ไหนดีครับ เริ่มหัวข้อโดย: กอ เอ๋ย กอ ไก่ ฉึก ฉึก ที่ 19 กรกฎาคม 2010 11:13:34 วัดหน้าไม้คับ อิอิหลังบ้านเลย 5555+ วัดหอย ไปเที่ยวได้อะคับ แต่ถ้าทำบุญก็ตามน้ารอดดีกว่าคับ
วัดเข้าพรรษา ตามโปรแกรมผม จะไปทำบุญที่วัดบางพระอะคับ แต่จะนั่งเรือไปจากตลาดน้ำลำพญาอะคับ เอาอาหารตลาดน้ำไปกินบนเรือได้ด้วยนะ สนนราคาหัวละ 70 บาทอะคับ (ไป-กลับ) แต่อยู่ในวัดบางพระได้ ครึ่งชม.อะ อิอิ ไปให้เจ้าอาวาสเสกมนต์ใส่กระเป๋าตังอะอิอิ (เดิมคือหลวงพ่อเปิ่นไงอะคับ แต่พอท่านมรณะภาพแล้ว ก็เป็นเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันอะคับ อิอิแต่ผมจำชื่อท่านไม่ได้ อิอิ) หัวข้อ: Re: เข้าพรรษา "ปทุมธานีโซน" เราจะไปถวายเทียนกันมัยที่ไหนดีครับ เริ่มหัวข้อโดย: Ae-RaNgSiT101-Ohana ที่ 19 กรกฎาคม 2010 12:08:07 วันอาทิตย์ครับ
หัวข้อ: Re: เข้าพรรษา "ปทุมธานีโซน" เราจะไปถวายเทียนกันมัยที่ไหนดีครับ เริ่มหัวข้อโดย: mawmuay ที่ 19 กรกฎาคม 2010 12:52:49 วันอาทิตย์ครับ :emotl ดีจัง ไม่ได้เข้าวัดมานานหลายปีแล้ว.. ทำบุญล่าสุดนี่ก็เมื่อไหร่ไม่รุจำไม่ได้ :emotm :emotm :emotm หัวข้อ: Re: เข้าพรรษา "ปทุมธานีโซน" เราจะไปถวายเทียนกันมัยที่ไหนดีครับ เริ่มหัวข้อโดย: tatee_ae ที่ 19 กรกฎาคม 2010 14:37:36 จะถึงวันแล้วนะ..สรุปยังครับ..
หัวข้อ: Re: เข้าพรรษา "ปทุมธานีโซน" เราจะไปถวายเทียนกันมัยที่ไหนดีครับ เริ่มหัวข้อโดย: บอยคุง (PT.Z#021) ที่ 19 กรกฎาคม 2010 15:43:00 หัวข้อ: Re: เข้าพรรษา "ปทุมธานีโซน" เราจะไปถวายเทียนกันมัยที่ไหนดีครับ เริ่มหัวข้อโดย: poky ที่ 19 กรกฎาคม 2010 20:37:23 ทำบุญกะเด็กพิการเมื่อไหร่ ก็บอกนะ เด๋วเฮียจัดให้
หัวข้อ: Re: เข้าพรรษา "ปทุมธานีโซน" เราจะไปถวายเทียนกันมัยที่ไหนดีครับ เริ่มหัวข้อโดย: rod@PT.Z#005 ที่ 19 กรกฎาคม 2010 20:52:12 ทำบุญกะเด็กพิการเมื่อไหร่ ก็บอกนะ เด๋วเฮียจัดให้ มีพวกนักเรียน..นักศึกษาที่เดือดร้อนมั๊ยหัวข้อ: Re: เข้าพรรษา "ปทุมธานีโซน" เราจะไปถวายเทียนกันมัยที่ไหนดีครับ เริ่มหัวข้อโดย: poky ที่ 19 กรกฎาคม 2010 20:57:09 ทำบุญกะเด็กพิการเมื่อไหร่ ก็บอกนะ เด๋วเฮียจัดให้ มีพวกนักเรียน..นักศึกษาที่เดือดร้อนมั๊ยหัวข้อ: Re: เข้าพรรษา "ปทุมธานีโซน" เราจะไปถวายเทียนกันมัยที่ไหนดีครับ เริ่มหัวข้อโดย: ram_รังสิต ที่ 20 กรกฎาคม 2010 22:02:43 ทำบุญกะเด็กพิการเมื่อไหร่ ก็บอกนะ เด๋วเฮียจัดให้ มีพวกนักเรียน..นักศึกษาที่เดือดร้อนมั๊ยหัวข้อ: Re: เข้าพรรษา "ปทุมธานีโซน" เราจะไปถวายเทียนกันมัยที่ไหนดีครับ เริ่มหัวข้อโดย: poky ที่ 21 กรกฎาคม 2010 08:35:20 ทำบุญกะเด็กพิการเมื่อไหร่ ก็บอกนะ เด๋วเฮียจัดให้ มีพวกนักเรียน..นักศึกษาที่เดือดร้อนมั๊ยหัวข้อ: Re: เข้าพรรษา "ปทุมธานีโซน" เราจะไปถวายเทียนกันมัยที่ไหนดีครับ เริ่มหัวข้อโดย: tatee_ae ที่ 21 กรกฎาคม 2010 08:39:59 กินมูมมามไม่แบ่งใคร..ระวังนะ..อิอิ(ขอด้วย)
หัวข้อ: Re: เข้าพรรษา "ปทุมธานีโซน" เราจะไปถวายเทียนกันมัยที่ไหนดีครับ เริ่มหัวข้อโดย: poky ที่ 21 กรกฎาคม 2010 10:31:48 กินมูมมามไม่แบ่งใคร..ระวังนะ..อิอิ(ขอด้วย) ฮึ กระทู้ทำธรรมมะ พาออกลงติ่งอีกแระ งิงิหัวข้อ: Re: เข้าพรรษา "ปทุมธานีโซน" เราจะไปถวายเทียนกันมัยที่ไหนดีครับ เริ่มหัวข้อโดย: tatee_ae ที่ 21 กรกฎาคม 2010 11:39:02 กินมูมมามไม่แบ่งใคร..ระวังนะ..อิอิ(ขอด้วย) ฮึ กระทู้ทำธรรมมะ พาออกลงติ่งอีกแระ งิงิแล้วใคร..นำพาละ..อิอิ หัวข้อ: Re: เข้าพรรษา "ปทุมธานีโซน" เราจะไปถวายเทียนกันมัยที่ไหนดีครับ เริ่มหัวข้อโดย: poky ที่ 22 กรกฎาคม 2010 08:37:52 กินมูมมามไม่แบ่งใคร..ระวังนะ..อิอิ(ขอด้วย) ฮึ กระทู้ทำธรรมมะ พาออกลงติ่งอีกแระ งิงิแล้วใคร..นำพาละ..อิอิ หัวข้อ: Re: เข้าพรรษา "ปทุมธานีโซน" เราจะไปถวายเทียนกันมัยที่ไหนดีครับ เริ่มหัวข้อโดย: mawmuay ที่ 22 กรกฎาคม 2010 13:13:39 พี่ที่ทำงานบอกว่า วัดจนๆ กันดานมากๆ ไม่ค่อยจามี :emoti
:emots แต่แถวที่ทำงานเค้ามีอยุ่วัดนึงไม่ค่อยมีคน ชื่อวัดสังลาน แล้วก้อเห็นเวปนี้มามีชื่อวัดเพียบ... ลองดูนะ :emou http://bangkok-guide.z-xxl.com/?p=5409 (http://bangkok-guide.z-xxl.com/?p=5409) หัวข้อ: Re: เข้าพรรษา "ปทุมธานีโซน" เราจะไปถวายเทียนกันมัยที่ไหนดีครับ เริ่มหัวข้อโดย: Ae-RaNgSiT101-Ohana ที่ 22 กรกฎาคม 2010 21:39:24 อัฟไป ผมไม่ไปวันเข้าพรรษานะครับ เดี๋ยวจะเข้าใจกันผิด
คงต้องรอสะดวก วันไหนถึงจะไป เพราะว่าช่วงนี้งานผมฟิตมากๆ อืมๆ ยังไงจะแจ้งวันล่วงหน้านะครับ เหมือนเดิม ใครสะดวกไปก็ไปถวายเทียนร่วมกัน ครับ เรื่องวัดคงไม่ต้องถึงขนาดกันดารมาก ประเด็นคือ เทียนที่เราเอาไปถวายอยากให้ได้จุดใช้จริงในพระพุทธศาสนา เท่านี้ครับคือจุดมุ่งหมาย หรือท่านใดรู้จักวัดแล้วเราสามารถ บอกกับทางวัดได้ว่าของให้ได้จุดเทียนที่เราถวายจริงๆ ก็ได้ครับ แต่...ต้องไม่ใช้วัดพาณิชย์ วัดเกจิอาจารญ์ดัง ประมาณนี้ครับ หัวข้อ: Re: เข้าพรรษา "ปทุมธานีโซน" เราจะไปถวายเทียนกันมัยที่ไหนดีครับ เริ่มหัวข้อโดย: poky ที่ 22 กรกฎาคม 2010 22:15:19 เห็นด้วยมากๆครับ
หัวข้อ: Re: เข้าพรรษา "ปทุมธานีโซน" เราจะไปถวายเทียนกันมัยที่ไหนดีครับ เริ่มหัวข้อโดย: เมียระอา PT.Z#12# ที่ 23 กรกฎาคม 2010 07:08:16 ไปเมื่อไหร่จะเอาหลอดไฟไปถวายด้วย
หัวข้อ: Re: เข้าพรรษา "ปทุมธานีโซน" เราจะไปถวายเทียนกันมัยที่ไหนดีครับ เริ่มหัวข้อโดย: Ae-RaNgSiT101-Ohana ที่ 24 กรกฎาคม 2010 10:36:09 วันและสถานที่จะแจ้งให้ทราบอีกทีครับ อืมๆ
หัวข้อ: Re: เข้าพรรษา "ปทุมธานีโซน" เราจะไปถวายเทียนกันมัยที่ไหนดีครับ เริ่มหัวข้อโดย: tatee_ae ที่ 24 กรกฎาคม 2010 11:01:43 วันและสถานที่จะแจ้งให้ทราบอีกทีครับ อืมๆ รอครับ..ขออย่าติดงานเลยนะ..สาธุ..ไม่ได้ไปหลายงานละกลัวโดนตัดออกจากกองมรดกอะครับ |