อย่างยางyokohama ที่เปลี่ยนมือนี่พอจะทราบบ้าง แรกเริ่มเดิมทีก็มาจากกลุ่มผู้ค้ายางในวงเวียน22นำเข้าอิสระ
ต่อมายางมันทำตลาดได้ก็เลยถือกำเนิดdistributor ภายใต้ชื่อ บริษัท ต.สยาม คอมเมอร์เชียล ในขณะเดียวกันก็
ก็มียางญี่ปุ่นอีก1แบรนด์ ทำตลาดควบคู่กันมา คือยางdunlop (บริษัทที่ข้าน้อยเคยทำงานอยู่ขอรับ) ภายใต้การทำ
ตลาดโดยdistributor ชื่อ ไลฟเซฟเวอร์ เป็นเวลากว่า20ปีที่ยางทั้ง2ยี่ห้อทำตลาดบนแข่งขันกับยางยุโรป แต่ด้วย
เงื่อนไขบางประการของระบบcommercial ทำให้ยางทั้ง2 ต้องเปลี่ยนมือไปเป็นของบริษัทแม่จากญี่ปุ่น ซึ่งเข้ามา
ตั้งโรงงานผลิตยางในนิคมอุตสาหกรรม ที่จ.ระยอง ในเวลาไล่เรี่ยกันทั้งคู่ ประมาณปี 2548 ยางdunlop ผลิตที่ บ.
ซูมิโตโม รับเบอร์ ไทยแลนด์ ส่วนออฟฟิศdunlop thailand ตั้งอยู่ที่ลาดกระบัง ปัจจุบันก็ยังมีเพื่อนๆผมทำงานอยู่
ส่วนyokohama ผลิตที่ บ.โยโกฮาม่า ไทร์ แมนูแฟคเจอริ่ง(ประเทศไทย) ออฟฟิศ อยู่แถวสุขุมวิท ส่วน บ. ต.สยาม
ก็หันมาทำตลาดยาง nitto แทน เมื่อเล่ามาถึงตรงนี้แล้วก็ลุยต่อเลย ก็จะมียางนำเข้าอีกยี่ห้อที่ทุกคนอาจจะเคยใช้คือ
falken ทำตลาดโดยบริษัท สแตมฟอร์ด ไทร์ และนำเข้ายาง continentalด้วย แล้วยังมีโรงงานผลิตล้อแม็ก SSW
อยู่ถนนบางบังทอง-สุพรรณบุรี ส่วนยางpirelli เมื่อก่อนก็เป็นของสยามกลการ ต่อมาเปลี่ยนมือเป็น บ.ไฮเอร์ไทร์
ธุรกิจทุกอย่างต้องเติบโต ผลิดอก ออกผล ถ้าเราจำกัดมันในวงแคบๆ มันก็ไม่โตเท่าที่ควร หรือเกิดการผูกขาด แต่ถ้า
จัดสรรปันส่วนซะใหม่ แบ่งเค็กกันลงตัวก็ทำงานร่วมกันต่อ ไม่ลงตัวก็แยกย้าย เป็นธรรมดาของโลกธุรกิจที่เน้น margin
มากกว่า Brand Loyalty