Intercooler อุปกรณ์ชิ้นนี้จะต้องมีควบคู่กับเครื่องยนต์ที่มีเทอร์โบ ความสำคัญของมันมีอย่างไรเรามาดูกันนะครับ อย่างที่บอกไปตอนที่แล้วว่าเทอร์โบนั้นจะทำงานโดยใช้แรงดันของไอเสีย ขับให้กังหัน Turbine หมุนด้วยความเร็วสูง นั่นก็หมายความว่ากังหันด้าน Compressor หมุนเร็วตามไปด้วย ซึ่งความเร็วที่หมุนนั้นจะอยู่ที่ประมาณ 100,000-200,000 รอบ/นาที เลยทีเดียว ด้วยความเร็วขนาดนั้น อากาศจึงถูกอัดเข้าสู่กระบอกสูบได้มากตามที่เครื่องยนต์ต้องการ แต่อากาศที่ถูกอัดด้วยความเร็วขนาดนั้น โมเลกุลของอากาศจะเสียดสีกันจนเกิดความร้อนสูง โมเลกุลของมันก็จะขยายตัวทำให้ความหนาแน่นของมันลดลง ปริมาณอากาศที่จะเข้ากระบอกสูบได้ก็จะน้อยลง เครื่องยนต์จะได้กำลังไม่เต็มที่ ดังนั้นจึงต้องมีการลดอุณห���ูมิของอากาศก่อนที่จะเข้าเครื่องยนต์ เมื่ออากาศเย็นลงความหนาแน่นก็จะเพิ่มขึ้นด้วย Intercooler หน้าที่ของมันคือช่วยลดอุณห���ูมิของอากาศ เปรียบง่ายๆ ก็เหมือนกับ "หม้อน้ำ" ของรถยนต์มีหน้าที่ลดอุณห���ูมิของน้ำหล่อเย็นนั่นเอง ถ้าไม่มีเจ้า Intercooler หากอุณห���ูมิของอากาศเพิ่มขึ้นทุกๆ 10 องศาเซลเซียส อุณห���ูมิของไอเสียจะสูงขึ้นเป็น 3 เท่า ผลคือเครื่องยนต์จะร้อนจัด สมรรถนะก็ได้ไม่เต็มที่ เจ้าอุปกรณ์ทั้งสองชิ้นนี้ควรจะทำงานร่วมกัน ถ้าขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไป เครื่องยนต์ก็จะไม่สามารถทำงานได้สมบูรณ์นัก
Blow off valve เจ้าตัวนี้คือวาล์วนิร���ัย (Emergency relief valve) ก็ว่าได้ ช่วงจังหวะที่ต้องเปลี่ยนเกียร์เราต้องถอดคันเร่งก่อน แล้วจึงเหยียบคลัตช์เพื่อเปลี่ยนเกียร์ ในจังหวะนี้ "ลิ้นเร่ง" หรือ "ลิ้นปีกผีเสื้อ" จะปิดอย่างรวดเร็วอากาศที่มีแรงดันสูงก็จะมาชนกับลิ้นตัวนี้ทำให้เกิดแรงดันย้อนกลับ กรณีที่แรงดันสูงมากๆ อาจจะทำให้เทอร์โบเสียหายได้ การป้องกันก็คือการระบายแรงดัน���ายในท่อออกไปสู่���ายนอก เมื่อแรงดันสูงขึ้นอย่างฉับพลัน มันจะชนะแรงดันของสปริง ทำให้วาลว์หรือลิ้นนิร���ัยตัวนี้เปิดออก แรงดันในท่อร่วมก็จะถูกระบายทิ้งไป อันที่จริงอุปกรณ์ตัวนี้มีหลายแบบ ซึ่งหลักการทำงานและชื่อเรียกจะต่างกันออกไป แต่อยู่���ายใต้จุดประสงค์เดียวกัน คือระบายแรงดันส่วนเกินออกไป
Wastegate อุปกรณ์ชิ้นนี้เรียกง่ายๆ ก็คือตัวควบคุมประตูไอเสีย (ด้าน Turbine) คอยคุมไม่ให้แรงดันในท่อร่วมไอดีสูงเกินกำหนด ตัวมันเองจะมีลักษณะเป็นกระเปาะกลม ���ายในมีแผ่นไดอะแฟรมและสปริงขดอยู่ เมื่อแรงดันในท่อร่วมไอดีสูงเกินกำหนด เช่น 10 ปอนด์/ตารางนิ้ว แรงดันในท่อร่วมจะชนะแรงดันของสปริง มันจะดันให้แผ่นไดอะแฟรมยุบตัว ก็จะทำให้กลไกของประตูไอเสียเปิดออกทันที แรงดันในด้าน Turbine ก็จะลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้แรงดันในท่อร่วมไอดีลดลงทันทีด้วย นับว่าเป็นการควบคุมแรงดันที่แม่นยำมาก กลับมาเข้าเรื่องตัวปรับบูสต์กันต่อนะครับ เครื่องยนต์ตัวหนึ่งถูกกำหนดให้เทอร์โบทำงานที่แรงดันไม่เกิน 10 ปอนด์ ค่าความแข็งของสปริงที่อยู่ในตัว Wastegate ก็จะมีค่าความแข็งที่เท่าๆ กัน เมื่อแรงดันในท่อร่วมมากกว่ามันก็จะเอาชนะแรงดันสปริงได้ เจ้า "ตัวปรับบูสต์" จึงถูกออกแบบมาให้เป็นตัวกักแรงดันให้ผ่านไปยัง Wastegate ยากขึ้น เช่น แรงดันในท่อร่วมสูงถึง 10 ปอนด์/ตารางนิ้วแล้ว แต่แรงดันที่ผ่าน "ตัวปรับบูสต์" ไปยังตัว Wastegate อาจจะมีแค่ 6-7 ปอนด์/ตารางนิ้วเท่านั้นเอง หมายความว่าคุณสามารถทำให้แรงดันในท่อร่วมสูงเกิน 10 ปอนด์/ตารางนิ้วได้ โดยที่ Wastegate ยังไม่ทำงาน ซึ่งแรงดันในท่อร่วมอาจจะเพิ่มเป็น 14-15 ปอนด์/ตารางนิ้ว ก่อนที่ Wastegate หรือประตูไอเสียจะเปิด (การปรับบูสต์เพิ่มโดยที่ใช้เทอร์โบลูกเดิม และไม่ได้ปรับแต่งเครื่องยนต์ใดๆ อาจจะทำให้เครื่องยนต์เกิดความเสียหายได้นะครับ