จากข้อมูลของ อ.หมู พอจะสรุปได้ว่า
1.ช่วงเราสตาร์ทเครื่อง VVTจะทำงาน เพื่อให้ได้อากาศมากกว่าเดิมในการติดเครื่องยนต์
2.หลังจากสตาร์ท VVT จะไม่ทำงานจนกว่าอุณหภูมิจะถึงตั้งแต่ 50 องศาขึ้นไป (ทำแค่ตอนสตาร์ทเท่านั้น)
3.ช่วงการทำงานของ VVT จะอยู่ระหว่าง 1500-7200 ผิดเพี้ยนจากนี้ไม่มาก แต่จะทำหรือไม่ทำ ขึ้นอยู่กับ pressure ใน inlet manifold คิดว่ามาจาก vac sensor หรือ map นั่นแหล่ะ)
4.คล้ายๆข้อ3 แต่ยกตัวอย่างในเชิง load ของการทำงาน คือให้เห็นภาพว่า ขึ้นอยู่กับการกดคันเร่งของแต่ละช่วง rpm ด้วย แต่ถ้ากดลึกถึงขนาด 3/4 สภาพของ pressure จะเข้าไกล้ maximum load ก็จะทำให้ VVT ทำงานเช่นกัน (ระหว่าง 1500-7200 อยู่ดี )
5.การทำงานของ VVT ไม่ขึ้นอยู่กับ input อย่าง speed sensor
ปล. จากข้อมูลข้างต้นเป็นเพียงข้อมูลที่บอกว่า VVT ทำงานยังไงเท่านั้น แต่ไม่ได้บอกว่า ทำไม.. ทำแล้วได้อะไรในรอบ 1500-7200 ทำไมไม่ให้ทำแต่เดินเบา .. ทำไมต้องตัดตอน7200
มันอยู่ที่ องศาแคม และ ระยะ ลิฟ ด้วยแหละ ทำให้ มีข้อจำกัดในการ เปิดและปิดตัว vvt ต้องสัมพันธ์กัน ซึ่งอาศัยระบบแมคคานิค + ระบบควบคุมไฟฟ้าทำงานให้สัมพันธ์กันโดยระบบแบบนี้ค่า error สะสมมันก็มีอยู่ครับ จึงทำให้รอยต่อมันไม่เนียนพอ เพราะระบบมันยังเป็นระบบเก่า อันนี้เป็นความคิดในเชิงช่างที่ผมคิดเองนะครับ

ไม่รู้มันจะเป็นอย่างที่คิดมั้ยน้อ....

VVT มันต้องเกี่ยวข้องกับ แคม(องศา/ระยะยก) อยู่แล้วครับ ไม่ไช่แค่นั้น ความยาวระบบไอดี/ไอเสีย ขนาดพอร์ทไอดีไอเสีย วาวล์ และ บลาๆๆ ฯลฯ ก็เกี่ยว
ซึ่งแน่นอนครับ มันเกี่ยวข้องกับหลายๆสิ่งของเครื่องอยู่แล้วครับ แต่คำถามคือ ไอ้ที่เกี่ยวหน่ะ ยังไง? เพราะอะไรทำไม?ถึงต้อง แบ่งเป็น 3 ช่วง ?
สุดท้าย..จุดประสงค์หลัก ก็คงต้องการทำให้ได้ Volumetric Efficiency มากที่สุดในแต่ละรอบเครื่อง แต่มันเพราะอะไรทำไม VVT ถึงทำแบบนั้นได้ ?
การลด/เพิ่ม overlab มีผลยังไงในแต่ละรอบเครื่องยนต์ อะไรประมาณนี้ ?
ปล. คำถามผมคงพิมพ์ออกมาเข้าใจยากครับ ขอโทษด้วยครับ -/|\- ช่วยๆกันครับ