AE. Racing Club
06 มกราคม 2025 20:09:51 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วัตถุประสงค์ในการใช้หมอนพิงศีรษะ  (อ่าน 919 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
toyotanon
มือใหม่หัดขับ
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 36



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 30 กันยายน 2013 14:43:48 »



รถยนต์ในปัจจุบันได้พัฒนาอุปกรณ์ ป้องกันให้ดีขึ้น และมีการเสริมเพิ่มเติมเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้ควบคู่กัน ไม่ว่าจะเป็นระบบถุงลมนิรภัย ระบบเซ็นเซอร์ภายนอกรถ การปรับปรุงโครงสร้างตัวถัง แต่ยังมีสิ่งหนึ่งที่แม้จะผ่านไปหลายยุค จะรถกี่รุ่นก็ต้องมีคือ หมองพิงศีรษะ ซึ่งยังคงลักษณะการใช้งานแบบดั้งเดิม และเป็นสิ่งที่ผู้ขับหลายคนใช้กันผิดวัตถุประสงค์
 
ก่อนอื่นขออธิบายเกี่ยวกับการชนกันก่อน โดยส่วนใหญ่การชนมักเกิดขึ้นด้านหน้า เมื่อมีการชนเกิดขึ้นร่างกายจะสะบัดไปหน้ารถตามแรงกระแทก ซึ่งอุปกรณ์ป้องกันการบาดเจ็บในการชนลักษณะนี้ สายคาดนิรภัย ที่จะยึดตัวคนนั่งให้ติดกับเก้าอี้ และถุงลมนิรภัยที่จะป้องกันศีรษะของคนนั่งไม่ให้กระแทกกับคอนโซลและลดพื้นที่ที่ศีรษะจะสะบัดจนเกิดการบาดเจ็บที่คอได้
 
แต่การชนอีกอย่างคือการถูกชนจากด้านหลัง ซึ่งการชนแบบนี้จะส่งผลให้ตัวรถมีการพุ่งไปข้างหน้า ร่างกายโดยเฉพาะศีรษะจะถูกผลักไปด้านหลังจากแรงกระแทก การชนลักษณะนี้จะทำให้คอเงย ซึ่งอาจจะทำให้เกิด การบาดเจ็บของเอ็นยึดที่กระดูกต้นคอได้ ในภาษาแพทย์เรียกว่า Whiplsh Injury การบาดเจ็บที่บริเวณนี้ อาจส่งผลกระทบต่อเส้นประสาทถึงขั้นอัมพฤต ได้เลยทีเดียว
 
อุปกรณ์ที่ป้องกันการบาดเจ็บจากการชนจากด้านหลังมี สายรัดนิรภัย ที่ยังทำหน้าที่ยึดตัวคนนั่งเอาไว้ และ หนอนพิงศีรษะ เพราะแม้ตัวจะถูกยึดกับที่ แต่รถก็ยังพุ่งไปข้างหน้า ขนาดที่ศีรษะจะแกว่งไปข้างหลังอย่างรุนแรง จึงต้องมีหนอนพิงศีรษะมารองรับ
 
แต่ปัญหาคือ คนขับรถส่วนใหญ่มัก จะไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ที่แท้ของหมอนพิงศีรษะ มักเข้าใจว่าไว้หนุนเพื่อความสบาย ปรับหมอนพิงให้หนุนบริเวณต้นคอ ซึ่งกลับเป็นการสร้างความบาดเจ็บมากขึ้นไปอีก เมื่อเกิดอุบัติเหตุ เหตุนี้จึงมีผู้ผลิตบางรายออกแบบหมอนพิงศีรษะไม่ให้ปรับได้ เพื่อตัดปัญหานี้ไป
 
จากการทดสอบพบว่า ระดับความสูงของหมอนพิงศีรษะที่จะช่วยป้องกันการบาดเจ็บได้จะต้องไม่ต่ำกว่าระดับใบหู โดยสามารถทดสอบได้ง่ายๆ โดยเมื่อนั่งพิงพนักเต็มที่ หลังศีรษะของเราส่วนที่นูนที่สุดจะแตะหมอนพอดี แสดงว่าระดับของหมอนถูกต้อง

ข้อมูลจาก
วัตถุประสงค์ในการใช้หมอนพิงศีรษะ
http://www.toyotanon.com/
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2008, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!