เคยสงสัยกันบ้างไหมว่า รถยนต์ที่เราซื้อไปแต่ละคันนั้น เราได้จ่ายภาษีต่างๆ ที่รวมอยู่ในราคารถยนต์นั้นเป็นจำนวนเท่าไร คราวนี้เรามีข้อมูลการเก็บภาษีของภาครัฐที่จัดเก็บจากสินค้าประเภทรถยนต์(เฉพาะรถยนต์นั่งส่วนบุคคล)มานำเสนอ ซึ่งเมื่อดูแล้วจะทราบถึงสาเหตุที่เราต้องซื้อรถยนต์ที่ราคาสูงกว่าประเทศอื่นเขา
โครงสร้างการคิดภาษีรถยนต์ในประเทศไทยจะแบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้
เฟอรารี่ 612 สคาเลียตติ ในเมืองไทยราคาประมาณ 28 ล้านบาท ขณะที่ในอังกฤษราคาประมาณ 10 ล้านบาท
กรณีที่ 1 รถนำเข้าสำเร็จรูปจากต่างประเทศ
การคิดภาษีสำหรับรถนำเข้านั้น จะคิดจากราคา CIF (Cost + Insurance + Freight) ซึ่งก็คือ ราคาขายของรถ บวกด้วยค่าอากร ค่าประกันภัย และค่าขนส่งจากต่างประเทศ มาถึงที่ท่าเรื่อที่ประเทศไทย ราคา CIF นี้จะถูกระบุไว้ในเอกสารการนำเข้า ในที่นี้สมมติให้ราคา CIF เท่ากับ 100 บาท ภาษีที่ต้องจ่ายจะประกอบไปด้วย
1. อากรขาเข้า ภาษีแรกที่ผู้นำเข้าต้องจ่าย ณ ท่าเรือก่อนนำรถออกจากท่าเรือเข้ามาในประเทศในอัตรา 80% ของราคา CIF ซึ่งเท่ากับ 80 บาท
2. ภาษีสรรพสามิต ซึ่งกรมศุลกากรจะทำการเก็บภาษีนี้ พร้อมกับอากรขาเข้า ภาษีสรรพสามิตนี้จะถูกเก็บในอัตราต่างกันตั้งแต่ 30-50% ขึ้นอยู่กับความจุกระบอกสูบ หรือขนาดเครื่องยนต์ (ดูตารางการคำนวณภาษีประกอบ) เช่น รถยนต์ขนาดไม่เกิน 2000 ซีซี ที่ถูกจัดเก็บในอัตรา 30%ของราคา CIF รวมกับภาษีอากรขาเข้า โดยใช้สูตรการคำนวณการจัดเก็บที่เรียกว่า ?ฝังใน? คือ
= {(100+80)x30%}
1 ? (1.1x30%)
3. ภาษีมหาดไทย ชื่อภาษีมีที่มาจากภาษีที่เก็บได้นี้ถูกนำไปบริหารประเทศโดยกระทรวงมหาดไทย ซึ่งภาษีมหาดไทยจะคิดที่อัตรา 10% ของภาษีสรรพสามิต เพื่อส่งให้กระทรวงมหาดไทย
4. ภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตรา 7% ของราคา CIF + อากรขาเข้า + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีมหาดไทย
ซึ่งเมื่อรวมภาษีทั้ง 4 ชนิดเข้าด้วยกันแล้ว จากราคารถสมมุติที่ 100 บาทจะกลายเป็น 287.5-428.0 บาท(ขึ้นอยู่กับความจุกระบอกสูบ) ซึ่งมูลค่าดังกล่าวนี้ยังไม่รวมอัตรากำไร และค่าดำเนินการอื่นๆ ของบริษัทผู้จำหน่าย ฉะนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่เราจะเห็นรถราคา 1 ล้านในเมืองนอกมาขายที่บ้านเราในราคา 3-4 ล้านบาท เพราะภาระภาษีมันสูงเช่นนี้นี่เอง
* และมีกำลังเครื่องยนต์ไม่เกิน 220 แรงม้า
** และมีกำลังเครื่องยนต์เกิน 220 แรงม้า
*** สูตรคำนวณการจัดเก็บแบบ ?ฝังใน?
ฮอนด้า แจ๊ส รุ่นท๊อป ราคา 705,000 บาท มูลค่าภาษีประมาณ 2.8-3 แสนบาท
กรณีที่ 2 รถที่ผลิตในประเทศไทย
ผู้ผลิตจะนำชิ้นส่วนรถยนต์เข้ามาจากต่างประเทศเป็นบางรายการ ซึ่งปริมาณและสัดส่วนการนำเข้า มากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของบริษัทผู้ผลิต โดยรถแต่ละรุ่นภาระภาษีของผู้ผลิตจะมีความแตกต่างจากการนำเข้ารถทั้งคัน ดังนี้
1. อากรขาเข้า จะถูกจัดเก็บตามอัตราที่กรมศุลกากรกำหนด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิด หรือพิกัดของชิ้นส่วนนั้น ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 30% ของราคา CIF ถ้าใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศทั้งหมดก็จะไม่เสียภาษีในส่วนนี้
2. ภาษีสรรพสามิต จะถูกจัดเก็บอัตราเดียวกับการนำเข้ารถทั้งคันจากต่างประเทศ โดยคำนวณจากราคาหน้าโรงงาน และกรมสรรพสามิตจะพิจารณารับราคาหน้าโรงงานนี้ไม่ต่ำกว่า 76% ของราคาขายปลีกที่ขายให้กับผู้บริโภค คือ ถ้าราคาขายปลีกอยู่ที่ 100 บาท (รถยนต์ไม่เกิน 2000 ซีซี) ก็จะใช้ราคาหน้าโรงงานที่ 76 บาท มาคำนวณตามสูตร ?ฝังใน? เพื่อให้ได้ภาษีสรรพสามิต
3. ภาษีมหาดไทย คิดที่อัตรา 10% ของภาษีสรรพสามิต เพื่อส่งให้กระทรวงมหาดไทย
4. ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% กรมสรรพากรเป็น ผู้จัดเก็บ เหมือนกรณีที่ 1
สมมุติให้รถขนาดไม่เกิน 2,000 ซีซี ราคารถหน้าโรงงานอยู่ที่ 100 บาท ภาษีสรรพสามิตก็จะอยู่ที่ 80.60 บาท บวกด้วยภาษีมหาดไทย 8.1 บาทและภาษีมูลค่าเพิ่ม 13.2 บาท ก็จะได้ราคาขายปลีกเท่ากับ 201.9 บาท หรือถ้าคิดในมุมกลับภาษีรวมของรถที่ผลิตในประเทศจะมีมูลค่าประมาณ 40-70% ของราคาขายปลีก ซึ่งจะขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องยนต์ ยิ่งปริมาตรกระบอกสูบมาก มูลค่าภาษีก็จะสูงตาม
ตัวอย่างเช่น ถ้าซื้อรถที่ผลิตในประเทศ เครื่องยนต์ 1800 ซีซี ในราคา 7 แสนบาท หมายความว่า เราได้จ่ายภาษีให้รัฐประมาณ 2.8-3 แสนบาท
ในขณะที่ภาษีรวมของรถนำเข้าจะคิดจากราคาขายปลีกไม่ได้เพราะยังไม่ได้รวมกำไรและค่าดำเนินการของผู้นำเข้า ฉะนั้นต้องคิดจากราคาทุน ซึ่งจะมูลค่าภาษีอยู่ที่ประมาณ 200-300 % ของราคาต้นทุน ตัวอย่าง เช่น ถ้ารถราคา 1 ล้านบาทในต่างประเทศ เมื่อนำเข้ามาขายที่เมืองไทย ต้องเสียภาษีรวมประมาณ 2 ล้านบาท ดังนั้น ผู้นำเข้าจึงต้องขายที่ราคา 3 ล้านขึ้นไปเพราะต้นทุนภาระภาษีที่สูงนี่เอง เพียงเท่านี้พอจะทำให้เข้าใจกันได้ว่า ทำไมเราถึงต้องซื้อรถที่แพงกว่าประเทศอื่นๆ อย่างมากมาย
แล้วภาษีทั้งหมดเป็นจำนวนเท่าไหร่?
ตัวเลขแท้จริงเราไม่อาจทราบได้ แต่เมื่อมองถึงมูลค่าตลาดรวมเฉพาะที่รถขายในประเทศ สมมุติยอดขายรถทั้งปีที่ 600,000 คัน (ในความจริงขายมากกว่านี้) ทุกคันราคาคันละ 500,000 บาท (ห้าแสนบาท ราคาสมมุติ) มูลค่าตลาดจะเท่ากับ 300,000,000,000 บาท (สามแสนล้านบาท ยอดสมมติแต่ยอดจริงมากกว่านี้) และคิดภาษีที่ยอดต่ำสุดที่ 40% ของราคาขายปลีกเท่ากับว่ารัฐจะได้ภาษีจากประชาชนที่ซื้อรถไปทั้งสิ้น 120,000,000,000 บาท (หนึ่งแสนสองหมื่นล้านบาท)
ขณะที่งบประมาณรายจ่ายประจำปี49อยู่ที่ 1.36 ล้านล้านบาทดังนั้นแล้วประมาณ 10% ของรายได้ภาษีที่จะนำมาจ่ายในงบประมาณมาจากเงินที่ประชาชนซื้อรถ แล้วรัฐเอาเงินภาษีของเราไปทำอะไรหว่า ประเทศถึงได้เจริญ ฮวบ ฮวบ อย่างนี้?