อีกประเด็นหลักๆ ที่ร่ำลือกันว่าแก๊สทำร้ายเครื่อง ก็คือ ‘บ่า
วาล์ว’ หรือว่า ‘ร้อนจนกรอบไปหมด’ การทำความเข้าใจเรื่องนี้อย่างแท้จริง ผู้ที่ไม่ใช่ช่างยนต์ ต้องมี
จินตนาการ ตามไปด้วย ถ้ามโนภาพได้ จะเข้าใจได้แน่ๆ เชื้อเพลิงเครื่องยนต์ที่เราๆ ใช้กันอยู่นั้น มีชื่อเรียกจริงๆ ว่า‘GASOLINE’ ซึ่งเป็นอีกชื่อเรียกของ ‘น้ำมันเบนซิน’ไม่ว่าจะเป็นเครื่องยนต์คาร์บูเรเตอร์หรือหัวฉีด (ไม่นับหัวฉีดตรงเข้าห้องเผาไหม้ จีดีไอ) การจ่ายเชื้อเพลิงเข้าสู่กระบอกสูบ ‘ต้องทำจบก่อนวาล์วไอดีปิด’
ในจังหวะ ที่ลูกสูบเลื่อนขึ้นในจังหวะอัด เตรียมเจอกับประกาย ไฟของหัวเทียนในจังหวะระเบิด รูปทรงของหัวลูกสูบและห้องเผา ไหม้ของฝาสูบ รวมทั้งการเคลื่อนตัวของลูกสูบให้เกิดแรงดันสูง ย่อม
เกิดความปั่นป่วน ของอากาศและเชื้อเพลิงที่ ‘ผสม’ กันอยู่ ให้เกิดการคลุกเคล้าเป็น ‘ไอดี’
นั่น คือเป็นไอของอากาศที่ผสมเชื้อเพลิงอย่างสม่ำเสมอ ไม่ใช่เป็นอากาศที่มีเม็ดเชื้อเพลิงผสมอยู่เป็นหยดๆ
ไม่ว่าจะใช้เชื้อ เพลิงอะไรก็ตาม ในจังหวะอัด ผู้ผลิตเครื่องล้วนพยายามทำให้เป็น...ไอดี มีสถานะเป็นไอ ที่พร้อมจุดไฟติดจนลุกไหม้ได้รวดเร็ว เครื่องยนต์ ‘รังเกียจ’ ไอดีที่ผสมระหว่างอากาศกับเชื้อ
เพลิงที่มีสภาพเป็นหยดของเหลวผสมอยู่ ดั้งนั้นแม้การจ่ายเข้าไปจะเป็นของเหลว อย่างน้ำมันเบนซิน
แต่ ในจังหวะ อัดที่เตรียมจุดระเบิด ก็จะกลายเป็น...ไอ! ไม่ว่าเชื้อเพลิงใด เดิมจะเป็นของเหลวจับต้องได้อย่างเบนซิน หรือเป็นไออย่างแก๊ส เมื่อเข้าไปในกระบอกสูบ และในจังหวะอัดก็ ต้องถูกคลุกเคล้าให้เป็น...ไอดี ที่พร้อมจุดระเบิด ดังนั้นเครื่องยนต์และหัวเทียนจึง ‘ไม่รู้สึกถึงความแตกต่างของสถานะเชื้อเพลิงในช่วงจ่ายเข้ามา’ เพราะยังไงก็ต้องคลุกเคล้าจนเป็นไอวาล์วไอดีที่เชื้อเพลิงต้องถูกฉีดหรือไหล ผ่าน มีความร้อนต่ำ
เพราะมีอากาศและเชื้อเพลิงไหลผ่านบ่อยๆ ทุกครั้งที่เป็นจังหวะดูด ของเครื่อง ดังจะเห็นได้ว่า...ราคาของวาล์วไอดีที่มีขนาดใหญ่กว่า จะถูกกว่าวาล์วไอเสียที่ขนาดเล็กกว่าอยู่เสมอ นั่นเพราะไม่ต้องทำให้ทนทานเท่า การที่เชื้อเพลิงจะเป็นไอหรือ ละอองของเหลว ไหลผ่านวาล์วและบ่าวาล์วไอดี จึงไม่ได้มีความแตกต่างด้านการสึกหรอของบ่าวาล์วเลย
ประเด็นที่เข้าใจ ผิดว่า ‘ใช้แก๊สแล้วแห้ง ส่งผลให้บ่าวาล์วแห้ง และสึกหรอเร็วขึ้น’ จึงไม่ใช่ บ่าวาล์วไอดี ที่ภาระน้อย ไม่ต้องการเบาะกันกระแทกระหว่างวาล์วกับบ่า บ่าวาล์วไอเสีย เป็นชิ้นส่วนที่ถูกเพ่งเล็งว่า เมื่อใช้แก๊ส
แล้วบ่าวาล์วจะสึกเร็วลอง คิดดูว่า เมื่อเผาไหม้แล้ว ไม่ว่าเชื้อเพลิงอะไรก็ต้องมีความร้อนสูงและกลายเป็นไอเสียไหลผ่านบ่าและ วาล์วไอเสีย
ซึ่งนั่นเป็น ที่มาของภาระที่หนักกว่าวาล์วและบ่าวาล์วไอดี หนีไม่พ้นที่จะมี
ความ แห้งในตัวเอง ไม่ว่าจะใช้เชื้อเพลิงของเหลวหรือแก๊สถ้าจะมีอะไรที่เปียกหรือสามารถทำตัว เป็นเบาะ นั่นคือ ‘สารตะกั่ว’ ซึ่งในไทยกับน้ำมันเบนซินไม่มีสารตะกั่วมากว่า 15 ปีแล้ว
ส่วนพวกที่เข้า ใจผิดใส่น้ำมันออโต้ลูปสำหรับเครื่องยนต์ 2จังหวะมาใส่ในเครื่องที่ใช้แก๊ส ก็เป็น ‘ความเข้าใจผิด และมีผลเสียล้วนๆ’ เพราะห้องเผาไหม้ หัวลูกสูบ และหัวเทียนจะเลอะเปียกไปหมด ในขณะที่ตัวน้ำมันออโตลูป ก็ไม่ได้ทำตัวเป็นเบาะรองบ่าวาล์วได้ดีนัก จึงไม่จำเป็นต้องใส่ดังนั้นการที่บอกว่า ‘ใช้แก๊สแล้ว บ่าวาล์วสึก เพราะความแห้ง จึงไม่เป็นจริง’และที่เข้าใจผิดกันว่า ‘ใช้แก๊สแล้วเครื่องยนต์ร้อน เพราะแก๊สร้อนกว่า...ก็ไม่จริง’ เพราะถ้าแก๊สให้ความร้อนกว่าจริง การใช้แก๊สก็ต้องให้พลังงานแรงขึ้น มีแรงม้า-แรงบิด มากว่าตอนใช้น้ำมันเบนซิน เพราะความร้อนก็คือพลังงานที่จะดันลูกสูบหลังการเผาไหม้ ถ้าไม่ได้ทำให้เครื่องยนต์แรงขึ้น ก็แสดงว่าแก๊สไม่ได้ร้อนกว่าน้ำมันเบนซิน
ต้อง คำนึงถึงปัจจัยที่ ‘เป็นจริง’
• การใช้แก๊สก็มีโอกาสที่เครื่องยนต์จะร้อนกว่าได้ใน 2 กรณี คือมีการปรับจูนให้จ่ายแก๊สบาง โดยเน้นความประหยัด จนค่าไอเสียวัดได้สูงกว่าแลมบ์ดา 1.0 ตามที่ควรจะเป็น และอีกกรณีคือ ค่าออกเทนของแก๊สที่มีมากกว่าเบนซิน (แอลพีจี ออกเทน 105-110 และเอ็นจีวี 120)เมื่อนำมาใช้ โดยไม่มีการปรับไฟจุดระเบิดให้ ‘แก่’ กว่าเดิม
(จุด ล่วงหน้า) ก็จะเป็นการทำงานด้วยไฟจุดระเบิด ‘อ่อน’ (ล่าช้า)ทำให้การลามของไฟไม่ได้ถีบลูกสูบเต็มที่ แต่ลามไปสู่ช่วงวาล์วไอเสียเปิดในจังหวะคายด้วย ความร้อนที่ไม่ถูกใช้ถีบลูกสูบเต็มที่ถ่ายทอดผ่านวาล์วไอเสีย ต่อไปยังบ่าวาล์วและฝาสูบอย่างต่อเนื่องในกรณีจูนให้จ่ายแก๊สบางกว่าปกติ มีผลทำให้เครื่องร้อนและ
แรงตก มากกว่าในกรณีที่แก๊สมีออกเทนสูงกว่าเบนซิน แล้วต้องการไฟแก่ เพราะอย่างแอลพีจีก็มีออกเทนสูงกว่าเบนซิน 95 อยู่ประมาณ 10 เท่านั้น ไฟจุดระเบิดเดิมๆ ก็รองรับได้ โดยรวมคือ แท็กซี่อายุ 3-5 ปีล้วนเครื่องพัง...จริง แต่พวกเขาขับกันวันละ 600 กิโลเมตร...ปีละ 180,000 กิโลเมตรรวมแล้วล้วนเกิน 400,000 กิโลเมตรถึงจะพัง ทั้งยังใช้น้ำมันเครื่องและไส้กรองด้อยคุณภาพ ยังทนได้ขนาดนี้ แล้วรถบ้านใช้งานวันละไม่ถึง 100 กิโลเมตร ปีละ 30,000 กิโลเมตร ถ้าเครื่องจะพังที่ 300,000 กิโลเมตร กี่ปีจึงจะพัง? ใช้ไป 7-12 ปีระยะทางและนานขนาดนั้น ไม่ต้องใช้แก๊ส...ก็พังครับ
ที่มาของบทความ “คุยเรื่องแก๊สกับวรพล”