AE. Racing Club
02 พฤศจิกายน 2024 09:26:37 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า:  «  1 [2] 3 4 ... 9  »  [5»]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: 20 v Black top ถ้าอยากมีหอยหรือท่อนล่าง7Aต้องทำไรมั่ง  (อ่าน 55582 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 37 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ae1553
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #20 เมื่อ: 23 ธันวาคม 2007 06:32:44 »

20 วาวล์ เดิมๆเซ็ตเทอร์โบก็ได้นะครับ ง่ายดีครับไม่ต้องทำเครื่อง ทำแต่ท่อไอดีกับอีกนิดหน่อยไม่กี่รายการ เดี๋ยวสายๆมาเล่าให้ฟังครับ
บันทึกการเข้า
ae1553
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #21 เมื่อ: 23 ธันวาคม 2007 08:06:02 »

แสดงว่ามีสมาชิกชอบอ่านกันแบบต่อเนื่อง ไม่เบื่อนะครับ แต่ต้องขอความร่วมมือจากเพื่อนๆสมาชิกก่อนนะครับว่า จะไม่การวิจาร์ณใดๆทั้งสิ้นนะครับ เนื่องจากสิ่งที่ผมเขียนนี้ ผิดหรือถูกผมขอรับไว้แก้ไขและหาข้อมูลเพิ่มเติมให้ก็แล้วกันครับ ไม่ได้นำการทำงานของอู่ใดอู่หนึ่ง-บุคคลใดบุคคลหนึ่ง มาวิจาร์ณในแง่บวกหรือแง่ลบและก็ไม่ได้เชียร์อู่ใครทั้งนั้นครับ เป็นบทความพื้นๆมีประสบการณ์และเทคนิคปะปนนิดหน่อยครับ ขอความร่วมมือด้วยนะครับ แต่ผมเข้าใจว่าอยู่ในกลุ่มคนหมู่มาก เราไม่อาจที่จะปรับเปลี่ยนหรือละลายพฤติกรรมทางความคิดของใครได้ให้มาในทางเดียวกันได้ ถือเสียว่าอ่านอย่างเดียว แต่ได้ประโยชน์สูงสุดดีกว่าเน๊อะ ผมว่างๆจะลงมาให้อ่านกันเรื่อยๆครับ อันนี้ยังแบบพื้นฐานยังมมีแบบโมดิฟายระดับสูงอีกครับ 
มาเข้าเรื่องกันดีกว่า 20 วาวล์เซตโบนั้นต้องแยกออกไปอีกครับว่าเป็น ฝาขาวหรือฝาดำ
1. 20วาวล์ ฝาขาว
1.1 เช็คความพร้อมของตัวเครื่องและอื่นๆ
-เช็คดูว่าเครื่องเรามีแรงอัดกระบอกสูบอยู่ที่เท่าไหร่ครับ โดยรวมแล้ว20 วาวล์ฝาขาวจะอยู่ที่190-210 โดยเฉลี่ย แล้วแต่ว่าเครื่องใครสมบูรณ์มาก-น้อยต่างกันครับ
  ขั้นตอนในการเช็ค
-ต้องวัดในอุณหภูมิเครื่องที่พอเหมาะคือ วอมล์เครื่องเดิมเบาซัก 20 นาทีหรือออกไปวิ่งซักรอบนึง เพื่อให้แหวน-ลูกสูบ-เสื้อสูบ เกิดการขยายตัวในสภาพการใช้งานจริง เนื่องจากทางทฤษฎีของทางโลหะวิทยา กำหนดไว้ว่าการขยายตัวของโลหะจะทำงานได้ดีต้องที่อุณหภมิเกินกว่า 70 องศาขึ้นไป
-ดึงปลั๊กที่ข้างจานจ่ายออกที่มาจากกล่อง ecu เนื่องจากเราไม่ต้องการให้เครื่องติด
-ถอดหัวเทียนออกทุกหัว ทำการวัดโดยเราใส่เกจ์วัดแรงอัดกระบอกสูบลงไปหมุนลงไปให้แน่นพอตึงๆมือ กดปุ่มที่ทางด้านข้างของเกจ์วัด( ปุ่มresetลม)เพื่อเป็นการเคลียร์ลมที่ค้างอยู่ในสายให้หมดไป จากนั้นเหยียบคันเร่งให้สุดเพื่อให้ลิ้นปีกผีเสื้อเปิดสุด ลมได้เข้าสูงสุดเป็นกำลังอัดจริง ทำการสตาร์ทเครื่องให้เครื่องหมุนซัก 5-10 รอบสังเกตที่เกจ์วัดแรงอัดกระบอกสูบว่ามีลมเข้าเต็มเกจ์วัดหรือยังโดยดูที่เข็มว่าค่อนข้างนิ่งและไม่ไปต่อแล้ว ก็พอทำการอ่านและจดบันทึก แล้วก็ทำแบบนี้ทั้ง 4 สูบ จดบันทึกแล้วดูค่าที่ได้ทั้ง 4 สูบว่าใกล้เคียงกันมั้ยครับ ในกรณีกำลังอัดแต่ห่างกันนิดหน่อยไม่เป็นไรครับ แต่ถ้าห่างกันซักประมาณ 20 ปอนด์อันนี้ไม่ควรครับ ต้องเรียบหาสาเหตุว่าอาการมาจากไหน เอาเป็นว่าได้มาเท่าไหร่ถามกันมาอีกทีดีกว่าเดี๋ยว 20 วาวล์เซทโบเราจะไม่ได้วิ่ง 5555  ถึงไหนแล้วเนี่ย
-เช็คแรงดันเบนซิลด้วยว่าอยู่ที่เดินเบา 2.55-2.8 บาร์หรือเปล่า ถ้าต่ำกว่านี้ก็ทําการแก้ไขก่อนครับ ว่ามาจาก ปั๊มติ๊ก-กรองเบนซิล-เรคกูเรเตอร์และท่อทางต่างๆครับ
-เช็คทร๊อตเทิ้ลเซ็นเซอร์ ว่าตั้งไว้ถูกหรือเปล่า และแล้วมันก็แยกกันอีกทั้ง ฝาดำ-ฝาขาว
  ฝาขาวมี 4 เส้น ( IDL,VC,VTA,กราด์ )
  ฝาดำมี 3 เส้น ( VC,VTA,กราด์ ) 

            เดี๋ยวมาต่อน่ะไปเลือกตั้งก่อน เดี๋ยวเอาสีสายไฟและวิธีปรับตั้งลิ้นปีกผีเสื้อมาลงให้อ่านด้วยครับ ใจเย็นๆๆๆๆครับ
บันทึกการเข้า
AE สี กะปิ
นักแข่งมืออาชีพอันดับหนึ่ง
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,938


จัดไป อย่าให้เสีย


ดูรายละเอียด
« ตอบ #22 เมื่อ: 23 ธันวาคม 2007 10:43:36 »

แสดงว่ามีสมาชิกชอบอ่านกันแบบต่อเนื่อง ไม่เบื่อนะครับ แต่ต้องขอความร่วมมือจากเพื่อนๆสมาชิกก่อนนะครับว่า จะไม่การวิจาร์ณใดๆทั้งสิ้นนะครับ เนื่องจากสิ่งที่ผมเขียนนี้ ผิดหรือถูกผมขอรับไว้แก้ไขและหาข้อมูลเพิ่มเติมให้ก็แล้วกันครับ ไม่ได้นำการทำงานของอู่ใดอู่หนึ่ง-บุคคลใดบุคคลหนึ่ง มาวิจาร์ณในแง่บวกหรือแง่ลบและก็ไม่ได้เชียร์อู่ใครทั้งนั้นครับ เป็นบทความพื้นๆมีประสบการณ์และเทคนิคปะปนนิดหน่อยครับ ขอความร่วมมือด้วยนะครับ แต่ผมเข้าใจว่าอยู่ในกลุ่มคนหมู่มาก เราไม่อาจที่จะปรับเปลี่ยนหรือละลายพฤติกรรมทางความคิดของใครได้ให้มาในทางเดียวกันได้ ถือเสียว่าอ่านอย่างเดียว แต่ได้ประโยชน์สูงสุดดีกว่าเน๊อะ ผมว่างๆจะลงมาให้อ่านกันเรื่อยๆครับ อันนี้ยังแบบพื้นฐานยังมมีแบบโมดิฟายระดับสูงอีกครับ 
มาเข้าเรื่องกันดีกว่า 20 วาวล์เซตโบนั้นต้องแยกออกไปอีกครับว่าเป็น ฝาขาวหรือฝาดำ
1. 20วาวล์ ฝาขาว
1.1 เช็คความพร้อมของตัวเครื่องและอื่นๆ
-เช็คดูว่าเครื่องเรามีแรงอัดกระบอกสูบอยู่ที่เท่าไหร่ครับ โดยรวมแล้ว20 วาวล์ฝาขาวจะอยู่ที่190-210 โดยเฉลี่ย แล้วแต่ว่าเครื่องใครสมบูรณ์มาก-น้อยต่างกันครับ
  ขั้นตอนในการเช็ค
-ต้องวัดในอุณหภูมิเครื่องที่พอเหมาะคือ วอมล์เครื่องเดิมเบาซัก 20 นาทีหรือออกไปวิ่งซักรอบนึง เพื่อให้แหวน-ลูกสูบ-เสื้อสูบ เกิดการขยายตัวในสภาพการใช้งานจริง เนื่องจากทางทฤษฎีของทางโลหะวิทยา กำหนดไว้ว่าการขยายตัวของโลหะจะทำงานได้ดีต้องที่อุณหภมิเกินกว่า 70 องศาขึ้นไป
-ดึงปลั๊กที่ข้างจานจ่ายออกที่มาจากกล่อง ecu เนื่องจากเราไม่ต้องการให้เครื่องติด
-ถอดหัวเทียนออกทุกหัว ทำการวัดโดยเราใส่เกจ์วัดแรงอัดกระบอกสูบลงไปหมุนลงไปให้แน่นพอตึงๆมือ กดปุ่มที่ทางด้านข้างของเกจ์วัด( ปุ่มresetลม)เพื่อเป็นการเคลียร์ลมที่ค้างอยู่ในสายให้หมดไป จากนั้นเหยียบคันเร่งให้สุดเพื่อให้ลิ้นปีกผีเสื้อเปิดสุด ลมได้เข้าสูงสุดเป็นกำลังอัดจริง ทำการสตาร์ทเครื่องให้เครื่องหมุนซัก 5-10 รอบสังเกตที่เกจ์วัดแรงอัดกระบอกสูบว่ามีลมเข้าเต็มเกจ์วัดหรือยังโดยดูที่เข็มว่าค่อนข้างนิ่งและไม่ไปต่อแล้ว ก็พอทำการอ่านและจดบันทึก แล้วก็ทำแบบนี้ทั้ง 4 สูบ จดบันทึกแล้วดูค่าที่ได้ทั้ง 4 สูบว่าใกล้เคียงกันมั้ยครับ ในกรณีกำลังอัดแต่ห่างกันนิดหน่อยไม่เป็นไรครับ แต่ถ้าห่างกันซักประมาณ 20 ปอนด์อันนี้ไม่ควรครับ ต้องเรียบหาสาเหตุว่าอาการมาจากไหน เอาเป็นว่าได้มาเท่าไหร่ถามกันมาอีกทีดีกว่าเดี๋ยว 20 วาวล์เซทโบเราจะไม่ได้วิ่ง 5555  ถึงไหนแล้วเนี่ย
-เช็คแรงดันเบนซิลด้วยว่าอยู่ที่เดินเบา 2.55-2.8 บาร์หรือเปล่า ถ้าต่ำกว่านี้ก็ทําการแก้ไขก่อนครับ ว่ามาจาก ปั๊มติ๊ก-กรองเบนซิล-เรคกูเรเตอร์และท่อทางต่างๆครับ
-เช็คทร๊อตเทิ้ลเซ็นเซอร์ ว่าตั้งไว้ถูกหรือเปล่า และแล้วมันก็แยกกันอีกทั้ง ฝาดำ-ฝาขาว
  ฝาขาวมี 4 เส้น ( IDL,VC,VTA,กราด์ )
  ฝาดำมี 3 เส้น ( VC,VTA,กราด์ ) 

            เดี๋ยวมาต่อน่ะไปเลือกตั้งก่อน เดี๋ยวเอาสีสายไฟและวิธีปรับตั้งลิ้นปีกผีเสื้อมาลงให้อ่านด้วยครับ ใจเย็นๆๆๆๆครับ

แน่นอนจิงๆเลยพี่คนนี้ อิอิ +ไป
บันทึกการเข้า

ขายของAE-> http://www.aeracingclub.net/forums/index.php?topic=80096.0
081-920-6990
089-053-2666
COROLLABOY
นักแข่งมืออาชีพอาวุโส
********
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,467


I มิถุนา ing = ฉันกำลัง JUN งงปะ กิกิ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #23 เมื่อ: 23 ธันวาคม 2007 11:13:10 »

แสดงว่ามีสมาชิกชอบอ่านกันแบบต่อเนื่อง ไม่เบื่อนะครับ แต่ต้องขอความร่วมมือจากเพื่อนๆสมาชิกก่อนนะครับว่า จะไม่การวิจาร์ณใดๆทั้งสิ้นนะครับ เนื่องจากสิ่งที่ผมเขียนนี้ ผิดหรือถูกผมขอรับไว้แก้ไขและหาข้อมูลเพิ่มเติมให้ก็แล้วกันครับ ไม่ได้นำการทำงานของอู่ใดอู่หนึ่ง-บุคคลใดบุคคลหนึ่ง มาวิจาร์ณในแง่บวกหรือแง่ลบและก็ไม่ได้เชียร์อู่ใครทั้งนั้นครับ เป็นบทความพื้นๆมีประสบการณ์และเทคนิคปะปนนิดหน่อยครับ ขอความร่วมมือด้วยนะครับ แต่ผมเข้าใจว่าอยู่ในกลุ่มคนหมู่มาก เราไม่อาจที่จะปรับเปลี่ยนหรือละลายพฤติกรรมทางความคิดของใครได้ให้มาในทางเดียวกันได้ ถือเสียว่าอ่านอย่างเดียว แต่ได้ประโยชน์สูงสุดดีกว่าเน๊อะ ผมว่างๆจะลงมาให้อ่านกันเรื่อยๆครับ อันนี้ยังแบบพื้นฐานยังมมีแบบโมดิฟายระดับสูงอีกครับ 
มาเข้าเรื่องกันดีกว่า 20 วาวล์เซตโบนั้นต้องแยกออกไปอีกครับว่าเป็น ฝาขาวหรือฝาดำ
1. 20วาวล์ ฝาขาว
1.1 เช็คความพร้อมของตัวเครื่องและอื่นๆ
-เช็คดูว่าเครื่องเรามีแรงอัดกระบอกสูบอยู่ที่เท่าไหร่ครับ โดยรวมแล้ว20 วาวล์ฝาขาวจะอยู่ที่190-210 โดยเฉลี่ย แล้วแต่ว่าเครื่องใครสมบูรณ์มาก-น้อยต่างกันครับ
  ขั้นตอนในการเช็ค
-ต้องวัดในอุณหภูมิเครื่องที่พอเหมาะคือ วอมล์เครื่องเดิมเบาซัก 20 นาทีหรือออกไปวิ่งซักรอบนึง เพื่อให้แหวน-ลูกสูบ-เสื้อสูบ เกิดการขยายตัวในสภาพการใช้งานจริง เนื่องจากทางทฤษฎีของทางโลหะวิทยา กำหนดไว้ว่าการขยายตัวของโลหะจะทำงานได้ดีต้องที่อุณหภมิเกินกว่า 70 องศาขึ้นไป
-ดึงปลั๊กที่ข้างจานจ่ายออกที่มาจากกล่อง ecu เนื่องจากเราไม่ต้องการให้เครื่องติด
-ถอดหัวเทียนออกทุกหัว ทำการวัดโดยเราใส่เกจ์วัดแรงอัดกระบอกสูบลงไปหมุนลงไปให้แน่นพอตึงๆมือ กดปุ่มที่ทางด้านข้างของเกจ์วัด( ปุ่มresetลม)เพื่อเป็นการเคลียร์ลมที่ค้างอยู่ในสายให้หมดไป จากนั้นเหยียบคันเร่งให้สุดเพื่อให้ลิ้นปีกผีเสื้อเปิดสุด ลมได้เข้าสูงสุดเป็นกำลังอัดจริง ทำการสตาร์ทเครื่องให้เครื่องหมุนซัก 5-10 รอบสังเกตที่เกจ์วัดแรงอัดกระบอกสูบว่ามีลมเข้าเต็มเกจ์วัดหรือยังโดยดูที่เข็มว่าค่อนข้างนิ่งและไม่ไปต่อแล้ว ก็พอทำการอ่านและจดบันทึก แล้วก็ทำแบบนี้ทั้ง 4 สูบ จดบันทึกแล้วดูค่าที่ได้ทั้ง 4 สูบว่าใกล้เคียงกันมั้ยครับ ในกรณีกำลังอัดแต่ห่างกันนิดหน่อยไม่เป็นไรครับ แต่ถ้าห่างกันซักประมาณ 20 ปอนด์อันนี้ไม่ควรครับ ต้องเรียบหาสาเหตุว่าอาการมาจากไหน เอาเป็นว่าได้มาเท่าไหร่ถามกันมาอีกทีดีกว่าเดี๋ยว 20 วาวล์เซทโบเราจะไม่ได้วิ่ง 5555  ถึงไหนแล้วเนี่ย
-เช็คแรงดันเบนซิลด้วยว่าอยู่ที่เดินเบา 2.55-2.8 บาร์หรือเปล่า ถ้าต่ำกว่านี้ก็ทําการแก้ไขก่อนครับ ว่ามาจาก ปั๊มติ๊ก-กรองเบนซิล-เรคกูเรเตอร์และท่อทางต่างๆครับ
-เช็คทร๊อตเทิ้ลเซ็นเซอร์ ว่าตั้งไว้ถูกหรือเปล่า และแล้วมันก็แยกกันอีกทั้ง ฝาดำ-ฝาขาว
  ฝาขาวมี 4 เส้น ( IDL,VC,VTA,กราด์ )
  ฝาดำมี 3 เส้น ( VC,VTA,กราด์ ) 

            เดี๋ยวมาต่อน่ะไปเลือกตั้งก่อน เดี๋ยวเอาสีสายไฟและวิธีปรับตั้งลิ้นปีกผีเสื้อมาลงให้อ่านด้วยครับ ใจเย็นๆๆๆๆครับ

 สุดยอด  แน่นอนมากๆ  คำนับ คำนับ คำนับ
บันทึกการเข้า

อยากได้ท่อไอเสียโทรมา 084-3608339
https://www.facebook.com/BestThorThep
http://www.aeracingclub.net/forums/index.php?topic=108304.0
Nan Trueno
นักแข่งมืออาชีพอันดับหนึ่ง
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,292


AE ช่างมัน บ้า Wagon R ดีกว่า


ดูรายละเอียด
« ตอบ #24 เมื่อ: 23 ธันวาคม 2007 16:45:07 »

อัพไปครับ

ความรุ้ดีๆ
บันทึกการเข้า




http://www.facebook.com/NanWagonR

ถ้าคุณชอบ K-Car กดเลยครับ
ae1553
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #25 เมื่อ: 23 ธันวาคม 2007 22:31:49 »

เอ้า....มาต่อกันเลยครับ ผมว่าวิธีการปรับแต่งๆต่างๆเอาไว้อยู่ในขั้่นตอนการเซ็ทเครื่องอีกทีดีกว่าครับ เข้าเรื่องเลยดีกว่า
1.หลังจากเช็็คความพร้อมของเครื่องแล้ว ต่อไปก็เป็นการอุปกรณ์ที่จะประกอบเป็นเทอร์โบ
1.1 หัวฉีด ของเดิมอยู๋ที่ 295 ซีซี ที่แรงดันเบนซิลเดินเบา 2.55-2.8 บาร์
- ถ้า้้ต้องการบูสที่ประมาณ 7-10 ปอนด์ ใช้หัวฉีดของ 1j turbo สีเหลืองเป็นแบบน้ำมันเข้าด้านข้าง ขนาด 380 ซีซี แบบ hi ohm
- ถ้าต้องการบูสที่ประมาณ 10-20 ปอนด์ ใช้หัวฉีดของ 2j turbo สีดำ(ธรรมดา) สีชมพู ( vvt-i )ขนาด 440 ซีซี แบบ hi ohm
1.2 เทอร์โบ มีทั้งแบบบูทและบอลแบริ่ง
- ขนาดที่เหมาะสมและมีความน่าใช้น่าจะมีขนาดที่ค่อนข้างใหญ๋หน่อยครับ เช่น td05h,rhf5 vf22-29,td06-1,td06-7 เนื่องจากว่า 4ag   
  เป็นเครื่องที่มีไอเสียค่อนข้างมากในรอบสูงๆและกำลังเครื่องอยู่ที่รอบสูงด้วย จึงจำเป็นที่ต้องใช้เทอร์โบขนาดใหญ่ครับ ถ้าเราใช้เทอร์โบขนาดเล็ก
  จะทำให้บูสมาเร็วในรอบต่ำและเกิดแรงบิดที่มากในรอบต่ำด้วย อาจ่ทำให้เกิดการสึกหรอและสูญเสียกับระบบส่งกำลัง เช่น ครัชและเกียร์อาจจะเสียหาย
  ก่อนเวลาอันควรและอาจเกิดความร้อนสะสมที่รอบสูงๆด้วย ในกรณีที่แช่รอบยาวๆโข่งไอเสียอาจร้อนแดง ถ้าร้อนมากอาจเกิดการแตกร้าวได้หรือร้อนมากๆและมีอาการน้ำมันบางในรอบปลายๆด้วยอาจถึงขั้นทำให้วาวล์ไอเสียแตกด้วยครับ มีผลให้เกิดการเสียหายการตัวเครื่อง ถึงกับเอาตัวเข้าแลกเลยนะครับเนี่ย
1.3 อินเตอร์ ขนาดที่เหมาะสมไม่เล็กและก็ไม่ใหญ่ ติดตั้งในที่ระบายอากาศได้ดี ถ้าอินเตอร์ดติดตั้งในที่ที่ีระบายได้ไม่ดีก็เป็นหม้อต้มอากาศดีๆนี่แหละครับ จริงมั้ย
1.4 ทำหัวเฮดเดอร์เป็นเหล็กหรือสแตนเลสก็แล้วแต่กำลังทรัพย์ มันก็ขึ้นอยู่กับความทนทานและความลื่นของตัวท่อโลหะเองด้วยครับและถ้าราคาต่างกันไม่มากเลือกเป็นสแตนเลสดีกว่าครับ อย่างน้อยก็สวยกว่าครับ
1.5 ท่ออินเตอร์ เลือกเอาเลยครับว่าต้องการแบบเหล็กหรืออลูมิเนียมดัดทราย แล้วปัดเงาหรือต้องการแบบดิบๆไม่ปัดเงาก็ได้ครับโหดดี
1.6 ท่อร่วมไอดีที่ต้องสร้างขึ้นใหม่ ต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลางอย่างน้อยก็ต้อง 4 นิ้ว เนื่องจากถ้าทำเล็กเกินไปในกรณีที่ขับในรอบต่ำๆแล้วยังไม่บูสแล้วเปลี่ยนเกียร์ จะทำให้รอรอบเพราะว่าตัวท่อไอดีมันเล็กไม่สามารถจะเก็บอากาศไว้ได้อย่างพอเพียงในช่วงที่เราเปลี่ยนเกียร์ แต่ในรอบสูงๆอาการนี้อาจลดน้อยลงแทบจะสัมผัสไม่ได้จากอาการนี้ที่เกิดขึ้น เพราะมีบูสเทอร์โบต่อเนื่องตลอดครับ

    เดี๋ยวเท่านี้ก่อนนะ ง่วงแล้วพรุ่งเราว่ากันน่ะครับ โชคดีครับ
บันทึกการเข้า
poo110
มือเก่าหัดแข่ง
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 240


N/A STEP ...


ดูรายละเอียด
« ตอบ #26 เมื่อ: 23 ธันวาคม 2007 23:04:30 »

เข้ามาเก็บเกี่ยวความรู้ บวกไปครับ กิน
บันทึกการเข้า

นู๋อยากแรง
jen@171
นักแข่งมืออาชีพอาวุโส
********
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4,966


Wanna be...!!!


ดูรายละเอียด
« ตอบ #27 เมื่อ: 23 ธันวาคม 2007 23:52:56 »

เยี่ยมๆๆครับ  ความรู้ทั้งน๊าน
บันทึกการเข้า

TunedByJen
พรชัย เฮดเดอร์
CORONA CLUB
Club JZ
Mercedes Mania
กะเรกะราด
DorAEmon Power
นักแข่งมืออาชีพอันดับสาม
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 642


อยู่อย่างเพียงพอและพอเพียง


ดูรายละเอียด
« ตอบ #28 เมื่อ: 24 ธันวาคม 2007 01:09:13 »

เปนกระทู้ติดหนึบแน่ๆ
บันทึกการเข้า

Garage N1
Making it
DorAEmon Power
Fuel-Up "คลับโรคจิต"
Federation Of "K L O N G J E K"
"การบินไทย...รักคุณเท่าฟ้า"
A'_Chai
มือเก่าหัดแข่ง
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 217



ดูรายละเอียด
« ตอบ #29 เมื่อ: 24 ธันวาคม 2007 18:53:30 »

เอ้า....มาต่อกันเลยครับ ผมว่าวิธีการปรับแต่งๆต่างๆเอาไว้อยู่ในขั้่นตอนการเซ็ทเครื่องอีกทีดีกว่าครับ เข้าเรื่องเลยดีกว่า
1.หลังจากเช็็คความพร้อมของเครื่องแล้ว ต่อไปก็เป็นการอุปกรณ์ที่จะประกอบเป็นเทอร์โบ
1.1 หัวฉีด ของเดิมอยู๋ที่ 295 ซีซี ที่แรงดันเบนซิลเดินเบา 2.55-2.8 บาร์
- ถ้า้้ต้องการบูสที่ประมาณ 7-10 ปอนด์ ใช้หัวฉีดของ 1j turbo สีเหลืองเป็นแบบน้ำมันเข้าด้านข้าง ขนาด 380 ซีซี แบบ hi ohm
- ถ้าต้องการบูสที่ประมาณ 10-20 ปอนด์ ใช้หัวฉีดของ 2j turbo สีดำ(ธรรมดา) สีชมพู ( vvt-i )ขนาด 440 ซีซี แบบ hi ohm
1.2 เทอร์โบ มีทั้งแบบบูทและบอลแบริ่ง
- ขนาดที่เหมาะสมและมีความน่าใช้น่าจะมีขนาดที่ค่อนข้างใหญ๋หน่อยครับ เช่น td05h,rhf5 vf22-29,td06-1,td06-7 เนื่องจากว่า 4ag   
  เป็นเครื่องที่มีไอเสียค่อนข้างมากในรอบสูงๆและกำลังเครื่องอยู่ที่รอบสูงด้วย จึงจำเป็นที่ต้องใช้เทอร์โบขนาดใหญ่ครับ ถ้าเราใช้เทอร์โบขนาดเล็ก
  จะทำให้บูสมาเร็วในรอบต่ำและเกิดแรงบิดที่มากในรอบต่ำด้วย อาจ่ทำให้เกิดการสึกหรอและสูญเสียกับระบบส่งกำลัง เช่น ครัชและเกียร์อาจจะเสียหาย
  ก่อนเวลาอันควรและอาจเกิดความร้อนสะสมที่รอบสูงๆด้วย ในกรณีที่แช่รอบยาวๆโข่งไอเสียอาจร้อนแดง ถ้าร้อนมากอาจเกิดการแตกร้าวได้หรือร้อนมากๆและมีอาการน้ำมันบางในรอบปลายๆด้วยอาจถึงขั้นทำให้วาวล์ไอเสียแตกด้วยครับ มีผลให้เกิดการเสียหายการตัวเครื่อง ถึงกับเอาตัวเข้าแลกเลยนะครับเนี่ย
1.3 อินเตอร์ ขนาดที่เหมาะสมไม่เล็กและก็ไม่ใหญ่ ติดตั้งในที่ระบายอากาศได้ดี ถ้าอินเตอร์ดติดตั้งในที่ที่ีระบายได้ไม่ดีก็เป็นหม้อต้มอากาศดีๆนี่แหละครับ จริงมั้ย
1.4 ทำหัวเฮดเดอร์เป็นเหล็กหรือสแตนเลสก็แล้วแต่กำลังทรัพย์ มันก็ขึ้นอยู่กับความทนทานและความลื่นของตัวท่อโลหะเองด้วยครับและถ้าราคาต่างกันไม่มากเลือกเป็นสแตนเลสดีกว่าครับ อย่างน้อยก็สวยกว่าครับ
1.5 ท่ออินเตอร์ เลือกเอาเลยครับว่าต้องการแบบเหล็กหรืออลูมิเนียมดัดทราย แล้วปัดเงาหรือต้องการแบบดิบๆไม่ปัดเงาก็ได้ครับโหดดี
1.6 ท่อร่วมไอดีที่ต้องสร้างขึ้นใหม่ ต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลางอย่างน้อยก็ต้อง 4 นิ้ว เนื่องจากถ้าทำเล็กเกินไปในกรณีที่ขับในรอบต่ำๆแล้วยังไม่บูสแล้วเปลี่ยนเกียร์ จะทำให้รอรอบเพราะว่าตัวท่อไอดีมันเล็กไม่สามารถจะเก็บอากาศไว้ได้อย่างพอเพียงในช่วงที่เราเปลี่ยนเกียร์ แต่ในรอบสูงๆอาการนี้อาจลดน้อยลงแทบจะสัมผัสไม่ได้จากอาการนี้ที่เกิดขึ้น เพราะมีบูสเทอร์โบต่อเนื่องตลอดครับ

    เดี๋ยวเท่านี้ก่อนนะ ง่วงแล้วพรุ่งเราว่ากันน่ะครับ โชคดีครับ
ขอบคุณครับเอาบวกไปอีก
กำลังจะไปทำท่อไอดีพนุ่งนี้พอดีเลย สเก็ตแบบอยู่ดีนะที่อ่านก่อนไม่งั้นซัด3นิ้วแล้ว
บันทึกการเข้า
ae1553
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #30 เมื่อ: 24 ธันวาคม 2007 20:15:07 »

คุณee100_top เป็นเครื่อง 20วาวล์ฝาดำหรือครับ มีเฮดเดอร์หรือยังครับถ้ามีแล้วก็ทำท่อแบบ 2 ขนาดซิครับ หลังจากออกจากท่อชุดแรกที่เป็น4-2-1 แล้วเข้าหม้อพักใบแรกเอาท่อที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางรูในของท่อซัก2 นิ้ว ดัดยาวมาพอถึงซักหม้อพักใบสุดท้ายให้ใช้เส้นผ่าศูนย์ของท่อขนาดรูในที่2.2 นิ้วครับจนถึงปลายท่อเลยครับ เราจะได้ความรู้สึกที่มีทั้งรอบต้นและรอบปลายครับ คือท่อมันจะรีดออกมา แต่ถ้าชอบปลายๆหรือเดินทางต่างจังหวัดแล้วแช่รอบสูงนานๆ เปลี่ยนช่วงท้ายอย่างเดียวเป็นขนาด 2.5 นิ้วก็ได้ครับ อย่าลืมนะครับว่าเส้นผ่าศูนย์กลางรูในของท่อน่ะครับ ขอให้โชคดีครับ
บันทึกการเข้า
PonD
นักแข่งมืออาชีพอาวุโส
********
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,554


zc72s


ดูรายละเอียด
« ตอบ #31 เมื่อ: 24 ธันวาคม 2007 21:11:44 »

 สุดยอด สุดยอดเลยพี่ ข้อมูลเจ๋งจริง +ไปครับ
บันทึกการเข้า
ae1553
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #32 เมื่อ: 24 ธันวาคม 2007 21:31:20 »

เรามาว่ากันต่อเรื่อง 20 วาวล์เทอร์โบกันต่อดีกว่าครับ ต่อไปเราก็หาร้านที่ติดตั้งตามที่เราเตรียมอุปกรณ์ไว้แล้วก็คุยภาษาเดียวกับเรารู้เรื่องครับ
สิ่งที่ควรดูเพิ่มเติมระหว่างติดตั้งครับ
-ท่อไอเสีย ควรมีผ้าพันท่อไอเสียครับ ผมว่ามันช่วยลดความร้อนได้ดีทีเดียวครับ เนื่องจากว่าผ้าแบบนี้มีคุณสมบัติในการกันความร้อนออกมาข้างนอกในระดับที่ดีมากครับ มันช่วยให้ระบบแอร์ดีขึ้นความร้อนจากท่อไม่กระทบกับท่อเย็นของระบบแอร์ครับ ไม่กระทบกับระบบสายไฟและอุปกรณ์ที่เป็นพลาสติกที่อยู่ในห้องเครื่อง รวมถึงสีบนฝากระโปรงรถด้วยครับ แต่อาจมีผลเสียบ้างครับ ท่อที่เป็นเหล็กมักจะผุ- กร่อนค่อนข้างเร็ว ส่วนสแตนเลสก็มักจะแตกร้าวตามรอยเชื่อม เนื่องผ้ามันอมความร้อน ทำให้ความร้อนสะสมบริเวณท่อค่อนข้างสูงครับ
-การเดินท่ออินเตอร์ ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบอื่นๆด้วย เช่นทางออกของท่ออินเตอร์บริเวณท่อของคอมแอร์ ต้องมีการแก้ไขท่อแอร์ด้วยครับว่าต้องตัด-ต่อ เชื่อม-ดัด อย่างไงมันจะได้ไม่เกิดปัญหาเวลาทํางานและเซอร์วิส รวมถึงการติดตั้งอินเตอร์บริเวณหน้ากันชน พยายามให้อิืนเตอร์รับลมได้ดีที่สุด ตัด-เลาะ-เจาะ-ปาด ชุดใหญ่ใส่เข้าไปครับ อย่าให้บังลมที่จะเข้าอินเตอร์ครับ หลังจากออกจากอินเตอร์มักจะติดพัดลมหม้อน้ำที่เป็นพัดลมดูด ส่วนมักแก้ไขงานด้วยการเปลี่ยนพัดลมตัวใหม่ มักเปลี่ยนเป็นพัดลมตัวบางๆและเป็นแบบพัดลม 2 สเตปแบบ 4 สาย แล้วเราก็รวมเป็นแบบสเตปเดียว จาก 4 สายเหลือแค่ 2 สาย เป็นสเตป hi ส่วนมากมักเป็นของ mitsu e-car,nissan b13,b14,b15 และรุ่นอื่นๆ ถ้าจะให้ดีผมว่า เรื้อโคลงพัดลมออกแล้วตีเป็นบังลมแบบสวยๆและได้ขนาดที่ต้องการด้วยครับ ดูดลมได้ดีกว่าในเนื้อที่ที่เท่ากันครับ
-การติดตั้ง blow off value ส่วนใหญ่มักจะติดที่หน้าลิ้นปีกผีเสื้อบริเวณก่อนเข้าลิ้นปีก ประมาณ 1 ฟุต แต่ในต่างประเทศเค้าไม่ติดกันที่บริเวณนี้นะครับ เค้าจะติดกันที่บริเวณท่อหน้าทางก่อนเข้าอินเตอร ด้วยเหตุผลอะไรเหรอครับ เค้าบอกว่าการที่เราติดโบว์อ๊อฟที่หลังอินเตอร์ก่อนเข้าลิ้นปีกผีเสื้อ ทำให้เวลามันคายลม มันจะคายลมที่เย็นทิ้งโดยเปล่าประโยชน์ ถ้าเราคายที่ลมด้านหน้าก่อนเข้าอินเตอร์มันเป็นการคายลมที่ร้อนออกก่อนเข้าอินเตอร์และก็คายได้ดีด้วยเนื่องจากเป็นต้นกำเนิดลมจริงๆที่มีความเร็วลมที่ต่อเนื่อง
ทำให้ป้องกันการเซิร์ทกลับของลมที่จะทำร้ายเทอร์โบไดีคุ้มค่าที่สุดครับ
-ควรคำนึงถึงท่อไหลกลับของเทอร์โบและตำแหน่งการติดตั้งของเทอร์โบ เทอร์โบควรอยู่สูงกว่าแคร้งน้ำมันเครื่องให้สูงในระดับนึง โดยไม่สูงขึ้นจนไปชนฝากระโปรง ควรทิ้งระยะห่างพอสมควร เพื่อที่ท่อไหลกลับของเทอร์โบจะได้อยู่สูงกว่าระดับของแคร้งน้ำมันเครื่องและขนาดของไหลกลับควรจะมีขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางเท่่ากับความโตของรูไหลกลับที่เทอร์โบครับ
หรือถ้าพื้นที่มันอำนวยก็จะทำให้มีขนาดใหญ่กว่ารูไหลกลับที่เทอร์โบก็ได้ครับ รวมถึงการเจาะท่อไหลกลับที่แคร้งน้ำมันเครื่องด้วย ควรให้การไหลกลับของน้ำมันเครื่องอยู่ในระดับที่สูงกว่าระดับน้ำมันเครื่องปกติ เพื่อป้องกันการเกิดฟองของน้ำมันเครื่อง ซึ่งมันไม่เป็นผลดีต่อระบบหล่อลื่น ถ้าปั๊มน้ำมันเครื่องวิดเอาฟองอากาศปนกับน้ำมันเครื่องขึ้นไป อาจทำให้ชาร์ฟแตกและละลายได้ครับ เนื่องจากน้ำเครื่องเราเป็นแบบระบบปิด ไม่ควรมีฟองอากาศครับ


    เดี๋ยวมาต่อเรื่องการเซ็ทว่ามันจะบูสได้ยังไง ทั้งที่เป็นแบบแอร์โฟว์และแม๊ปเซ็นเซอร์ ไม่ตัดบูสเหรอครับ เดี๋ยวเจอกัน
บันทึกการเข้า
A'_Chai
มือเก่าหัดแข่ง
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 217



ดูรายละเอียด
« ตอบ #33 เมื่อ: 24 ธันวาคม 2007 21:56:25 »

 คำนับ
รอครับรอ.. ลิงจั๊กๆ
บันทึกการเข้า
ae1553
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #34 เมื่อ: 24 ธันวาคม 2007 23:09:10 »

เดี๋ยวจัดให้ยาวๆครับ ช่วงนี้งานเยอะนิดนึงขอเวลาหน่อยครับ
บันทึกการเข้า
ToyoZa
นักแข่งมืออาชีพอันดับหนึ่ง
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,155

Cheap, Fast, Reliable . . . you can only pick two!


ดูรายละเอียด
« ตอบ #35 เมื่อ: 25 ธันวาคม 2007 01:43:16 »

แน่นสุดยอดครับพี่ ไว้ว่างๆรบกวนพี่ทำบทความให้สาวกซุปเซ็ทโบอยากเปลี่ยนท่อนล่างเป็น 7a บ้างนะครับ...บวกให้ครับ สุดยอด
บันทึกการเข้า

A'_Chai
มือเก่าหัดแข่ง
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 217



ดูรายละเอียด
« ตอบ #36 เมื่อ: 26 ธันวาคม 2007 04:11:03 »

อยากทำก็หาท่อนล่าง 7aมา แล้วก็รื้อท่อนบนฝาดำมาประกบ ใช้ประเก็นเหล็กของ 7aก็ได้ครับ ถึงประเก็นเหล็ก 7aจะบาง 05 มม. แต่หลุมบนหัวลูกสูบของ 7a ก็เว้าลดกำลังอัดพอสมควร รวมถึงหลุมบนฝาสูบก็กว้างอยู่แล้ว ปิดฝาสูบแล้ววัดกำลังอัดก็จะได้ประมาณ 180 เทียบเป็นกำลังอัดก็ประมาณ 9.0 ครับ เปลี่ยนสายพานไทม์มิ่งเป็นเบอร์ 114 ฟัน เดี๋ยวแค่นี้ก่อนงานเข้าครับ เดี๋ยวเล่าให้ฟังใหม่ครับ 
ยังรอข้อมูลของพี่อยู่ครับ เลือกแบบ NA
ส่วนพี่ ae1553  มีข้อสงสัยนิดหน่อยครับ
-ไฟล์วีลใช้ของ20 V ได้ใหม เพราะเครื่องเดิมเน20 V
-ในกรณีใช้ลูกสูบของ 20 v ต้องทำBoot เหมือนกับ 4a ซุบ หรือเปล่า
โดยสรุปแล้วในเรื่องอุปกรณ์ต้องใช้ของอะไรมั่งครับ
เช่น ชุดฝาสูบ 20 V
     ลูกสูบ20 V
     เสื้อสูบ 7A
     ประเก็นฝาสูบ 7A
     ก้านสูบ 7A
     เพลาข้อเหวี่ยง...?
     ....?
     มีไรอีกมั่งนะ
กะว่าจะหาเครื่อง7A ยกลงซักตัว.. ตาปริบๆ
    
    

-ไฟล์วีลใช้ของ20 V ได้ใหม เพราะเครื่องเดิมเน20 V

ได้แต่ต้องเจาะรูใหม่เป็น 6 รู

-ในกรณีใช้ลูกสูบของ 20 v ต้องทำBoot เหมือนกับ 4a ซุบ หรือเปล่า

ไม่ต้องครับใช้ได้

ซื้อเครื่อง 7A มา 1 ตัวหรือเล่นแต่เสื้อก็พอแล้วครับ

ถ้า na ทำไปอย่างไรก็โดนเทคอยู่ดี ทำโบดีกว่า บูชไม่ต้องเยอะ เอาพอประมาณจะได้อยู่นานๆ บูชเยอะอู่รวยครับ
น้าแฟร์แล้วถ้าบูสไม่เยอะนี่ต้องเปลี่ยนใส้หรือเปล่าครับ
ยกชุดโบใส่ได้เลยใหม
แช่ยาวแบบปรกติของ 20V ได้ใช่ใหม
บันทึกการเข้า
A'_Chai
มือเก่าหัดแข่ง
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 217



ดูรายละเอียด
« ตอบ #37 เมื่อ: 27 ธันวาคม 2007 04:58:01 »

20 วาวล์ เดิมๆเซ็ตเทอร์โบก็ได้นะครับ ง่ายดีครับไม่ต้องทำเครื่อง ทำแต่ท่อไอดีกับอีกนิดหน่อยไม่กี่รายการ เดี๋ยวสายๆมาเล่าให้ฟังครับ
พึ่งสังเกตุเจอหุๆ อ่านอยู่หลายรอบ
บันทึกการเข้า
akegg
มือเก่าหัดแข่ง
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 249


power by TROOPS SERVICE


ดูรายละเอียด
« ตอบ #38 เมื่อ: 27 ธันวาคม 2007 07:47:58 »

ได้ความรูเพียบเลยครับ ขอถามเป็ฯความรู้ครับถ้าเป็ฯ ฝาดำเซ็ทโบ  + แคมองศาซัก 272 ทั้ง 2 ฝั่ง มันจะวิ่งดีมั๊ยครับ
บันทึกการเข้า


TROOPS SERVICE
INNER LINE
FUEL UP
ToyoZa
นักแข่งมืออาชีพอันดับหนึ่ง
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,155

Cheap, Fast, Reliable . . . you can only pick two!


ดูรายละเอียด
« ตอบ #39 เมื่อ: 27 ธันวาคม 2007 16:10:30 »

ได้ความรูเพียบเลยครับ ขอถามเป็ฯความรู้ครับถ้าเป็ฯ ฝาดำเซ็ทโบ  + แคมองศาซัก 272 ทั้ง 2 ฝั่ง มันจะวิ่งดีมั๊ยครับ



อย่าแค่ถามพี่ ทำเลย เร็วๆด้วย วัยรุ่นใจร้อน อยากเห็น สบาย สบาย
บันทึกการเข้า

หน้า:  «  1 [2] 3 4 ... 9  »  [5»]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2008, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!