เขาถึงบอกกันว่า น้ำมันใกล้หมดถังห้ามซัดครับ (เพราะน้ำมันมาไม่เต็มราง)
ลองดูเล่นๆก็ได้ครับ ใครที่ต่อ A/F ปากกา หรืออะไรก็ได้ สำหรับท่านที่ใช้น้ำมันและแก๊ส พอใกล้จะหมดถัง A/F จะขยับเวอร์ๆเลยครับ
เรื่องการระเหย ไม่มีผลกระทบอะไรขนาดนั้นหรอกครับ
อีกข้อนึงคือลองตรวจสอบตรงท่อเฮดเดอร์ด้วยนะครับ ถ้าเกิดการรั่ว A/F ก็เพี้ยนครับเพราะจะมีอากาศภายนอกโดนดูดเข้าตรงจุดรั่วทำให้จูนไม่ลงตัว
การระเหย มีผล ร้อยเปอรซนต์ ครับ มากน้อยอยู่ที่ระยะเวลาอุณภูมิการถ่ายเทอากาศที่ปล่อยทิ้งไว้
สมมุติ ว่าคุณใช้เครื่องยนต์ ฮอนด้า สามประตู โมรอม ใช้85 คุณจะไม่เห็นถึงความแตกตรงจุดนี้เพราะอะไร คุณยังใช้หลักการอ้างอิงของเซนเซอรตรวจจับไอเสียที่อยู่บริเวณก่อนแรคบริเวณคานหลังของรถ ตำแหน่งถูกต้องไหมครับ
เซนเซอรตัวนี้ไม่ต้องบอกว่าทำหน้าที่อะไร มากมั้งครับ รายงานผลไปยังกล่อง พูดบ้านๆคือ กล่องมันชดเชยได้เล็กน้อย โตต้าเราๆเรียกว่าโครสลูบ ซึ่งเวลาซัด เอเอฟปากกา มันไม่สามารถจับได้ทันหรอกครับ ยิ่งเวลาเดินเบาปกติ มันจะค่อยดึงค่ากลับมาปกติ ที่ประมาณ 14.7 ถ้าไม่หนามากกกก ไป หรือบางมากกกกกกกไป มันจะดึงกลับมาได้ ด้วยการทำงานของการรายงานผลจากเซนเซอรที่ท่อไอเสีย ประมวลผลที่กล่อง แล้วสั่งจ่ายไปยังหัวฉีด
มาถึงในกรณีที่คุนแพนด้าถาม รถ เค้าใช้แสตนอโลน EMS 8850 มันจึงไม่มีตรงจุดนี้ดังที่กล่าวมา ซึ่งทำให้มีผลกระทบแน่นอน
เพราะอะไร มันไม่สามารถปรับค่าด้วยตัวมันเองได้ ไม่มีเซนเซอรท่อไอเสียคอยตรวจจับปริมาตรความหนาแน่นของน้ำมันและอากาศ ครับ
ส่วนกล่องผมที่ใช้ เป็นสแตนอโลน AEM ซึ่งได้มีการต่อเอเอฟไวด์แบนเข้าไปที่กล่อง เพื่อทำดาต้าล้อค และบันทึกข้อมูล จากนั้นตัวมันเองสามารถ ฟิชเจอริ่งกับกล่องคือ อ่านค่าจากเอเอฟ แล้วสร้างตารางชดเชย เมื่อเดินเบา หรือเร่งลอยตัวที่ความเร็วคงที่ได้ ตามที่เราได้ตั้งค่าไว้ในตาราง เรียกในกล่องว่า O2 feed back ถ้าเอเอฟบาง และอยุ่ในเงื่อนไขที่เราตั้ง ไว้ มันจะดึงค่ากลับมาที่ตารางตามที่เซตไว้ เช่น เดินเบาให้ อยู่ 14.7 ลอยตัวความเร็วคงที่ 13 เป็นต้น แต่พอเมื่อเงื่อนไข เปลี่ยนไปเช่น กดคันเร่งเกินที่ตั้งไว้ รอบเกินที่ตั้งไว้ ก็จะกลับมาเป็นตารางตามที่จูนไว้ครับ
ทั้งหมดทั้งมวลเหล่านี้ ผมศึกษาและเล่นไปกับมัน อาจจะไม่ถูกต้องทั้งหมด มั้ง
ปล. ผมไม่ใช่จูนเนอรอาชีพ ไม่ได้ทำรถเป็นอาชีพ แต่เอาข้อมูลมาแชร์กันเฉยๆ ครับ
ผิดถูกโปรดชี้แนะ เพิ่มเิติมเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขและวิเคราะห์ต่อไปครับ ขอบคุณ
การระเหยในที่นี้ผมหมายถึงในห้องเผาไหม้ครับผม มันไม่ทันจะมีผลอะไรมากมายกับการสันดาปครับ (ถ้าน้ำมัน Supply มาทันนะครับ)
ส่วนเรื่อง ฮอนด้า โมรอม OXYGEN SENSOR จะไม่ได้ใช้อีกเลยหลังจากได้รับการจูนแล้วครับ OPEN LOOP ตลอดครับ ส่วนที่ไม่เอาออกก็จะปล่อยค่าสัญญาณออกมาเฉยๆครับ
เวลา ฮอนด้า จูน เขาก็ใช้ Wide band ในการจูนครับ จูนเสร็จก็ปลดออกครับ เพราะรอมฮอนด้าจะมี 2 กราฟครับ LowCam กับ HiCam มันก็จะประมวลผลตามตารางที่จูนเนอร์ใส่เข้าไปครับผม
พูดง่ายๆคือบังคับให้มันรู้ครับ ถ้าสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงก็จะมีผลโดยตรงกับกล่องจูนรอมฮอนด้าครับเพราะมันไม่สามารถชดเชยค่าได้ (ในโปรแกรมชนิดทดลองใช้นะ)
ฉะนั้นจะเห็นได้เลยว่าเวลาแข่งขัน ฮอนด้าต้องไปเกลี่ยข้อมูลใหม่ที่สนามทุกครั้ง
ผมใช้ฮอนด้าครับ และก็ใช้ชุดพ่วงเข้ากล่องที่จูนเนอร์เขาใช้จูนรอม ต่อตรงคุมเป็น Standalone เหมือนกล่อง AEM นั่นแหล่ะครับ (ใช้โปรแกรม CROMEGOLD ควบคุม)
ซึ่งข้อด้อยที่ชุดกล่องฮอนด้าทำไม่ได้คือ การปล่อยสัญญาณแบบ Direct Coil ครับ (ทำไม่ได้เพราะมีช่องสัญญาณแค่ 1 ช่อง)
ผมก็ไม่ใช่จูนเนอร์อาชีพครับ แต่ผมเรียนมาครับ ก็แชร์ๆกันไปครับ
และที่ผมเอ่ยถึง APEXI ปากกา เพราะผมหมายถึงหลายๆท่านที่เขาใช้งานทั่วไป มีกำลังซื้อไม่มาก ก็พอที่จะเอามาดูค่าเพื่อเป็นข้อมูล โดยที่ไม่ต้องลงทุนอะไรมากมายครับ
ผมว่าหลายๆท่านเขาก็รู้นะว่ามันไม่สามารถอ้างอิงอะไรมากมายครับ