มีคำถามครับ
ถ้ารถเดิมๆ 4age เปลี่ยนหัวฉีดใหญ่ขึ้น เปลี่ยนปั๊มติ๊กแรงขึ้น แล้วใช้เบนซิน 95 เหมือนเดิมมันจะมีผลอะไรมั้ยครับ เปลีองมากกว่าเดิมมั้ย ในกรณีที่กล่องเดิมนะครับ
ผมอยากจะลองเปลี่ยนลองดูก่อนทำ e85 ครับ
มันมีข้อสงสัยถ้าเลิกใช้กล่องจูนตัวอย่างกล่อง kkt ที่จูน E85 ถ้าเกิดไม่ใช้แล้วถอดออกได้เลยมัั้ยครับ แล้วหัวฉีดต้องเปลี่ยนคืนไหม ปั๊มติ๊กต้องเปลี่ยนคืนแบบเดิมไหม
ถ้าต้องเปลี่ยนกลับจะได้เก็บของเก่าไว้ครับ
งงคำถามมั้ยครับ ผมอ่านผมยังงงเลย มาแชร์หน่อยนะครับ
ตามความเข้าใจที่ได้หาข้อมูลมานะครับ
กรณี เปลี่ยนหัวฉีด ปั๊มติ๊ก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบจ่ายเชื้อเพลิง ให้การใช้ e 85 ที่ต้องจ่ายเชื้อเพลิงสูงกว่าค่ามาตาฐาน 30% โดยไม่ติดกล่อง
แล้ว ถามว่า ถ้ามาใช้ 95 จะเป็นอย่างไร
ตอบได้ว่า ถ้าเป็นเครื่องรุ่นเก่า กล่อง ecu ยังจะจำค่าเดิม จากการใช้ e85 ผลที่เกิดขึ้น อาจจะเป็น น้ำมันหนา ไฟแก่ขึ้น
ซึ่ง หากกล่องไฟรุ่นใหม่ๆ จะปรับเปลี่ยนให้จ่ายเชื้อเพลิงเหมาะสม โดยคำนวนค่าจากเซนเซอร์ตรวจสอบจุดต่างๆ
และนี่ยังเป็นคำตอบว่า รถรุ่นใหม่ๆ เติม e85 ได้เลย แต่ รุ่นเ่ก่า ควรเพิ่่มกล่องจูน เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพของการเผาใหม้เชื้อเพลิงอย่างเต็มที่
กลับมาที่คำถามแรก หากเติม 95 ลงไป อาจจะทำให้น้ำมันหนา ไฟแก่ขึ้นจนอาจจะได้ยินเสียงเข๊ก
ซึ่งเกิดจาก "กล่องรุ่นเก่า" ไม่ได้เกิดจาก ระบบจ่ายเชื้อเพลิง เป็นต้นเหตุ
หากกล่องไฟ ยังจำค่าเดิมอยู่ ก็แค่ รีเซต กล่องไฟ รถก็จะเติม 95 ได้ แถมด้วยระบบจ่ายเชื้อเพลิงที่อัพเกรตแล้ว
เข้าใจว่า ยังมี กรณี กล่องไฟ บางรุ่น (กลางเก่ากลางใหม่) ที่มีความสามารถปรับเปลี่ยนค่าต่างๆในการสั่งจ่ายเชื้อเพลิง อากาศ และ ไฟ ให้เครื่องยนต์ หลังจากตรวจพบความเปลี่ยนแปลงไปแล้วในระยะเวลาหรือความถี่ที่โปรแกรมไว้
ตย.เช่น เมื่อ ecu ได้รับค่า o2 หรือ อุณหถูมิไอเสีย ที่ผิดเพี้่ยนไปจากเดิม จะไม่ปรับเปลี่ยนค่าการจ่ายเชื้อเพลงในทันที แต่จะเก็บข้อมูลไว้
เมื่อได้รับค่าเดิม ในระยะเวลา ที่กำหนด จึงจะเปลี่ยนค่าให้
ทำให้รถรุ่นดังกล่าว มีอาการในช่วงแรกๆ ที่เปลี่ยนชนิดของเชื้อเพลิง (ผิดถูกอย่างไร ขอคำแนะนำด้วย)
ทั้งนี้ เพราะเคยเจอข้อมูล โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือ ซอฟแวร์ที่ใช้ใน การอ่าน และจัดการค่าที่กล่องบันทึกข้อมูลการทำงาน
ซึ่งมีการอ่านบันทึกการเปลี่ยนแปลงค่าต่างๆจากเซนเซอร์และระบบประมวลผล
สำหรับคำถาม เมื่อกลับไปใช้ 95 จะสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงมาขึ้นหรือไม่ ในกรณีที่ติดตั้ง ระบบจ่ายเชื้อเพลิงที่อัพเกรดแล้ว
ตรงนี้ ส่วนตัวยังไม่ค่อยเข้าใจ และ แน่ใจว่าระบบการทำงานของ ecu ในรุ่นไหน จะมีการสั่งปรับค่าแรงดันน้ำมันตามรอบเครื่องยนต์หรือไม่
ซึ่งหากเข้าใจไม่ผิด การอัพเกรตระบบจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อใช้งาน e 85 จำช่วยให้ไม่เกิดอาการ over load ของกล่องไฟ
เนื่องจาก กล่องไฟ หรือ ecu มีการสั่งงาน และอ่านค่า ด้วย กระแสไฟฟ้า
หรืออ่านค่าและสังการ ด้วยการปรับขึ้นและลดลงของกระแสไฟ นั่นเอง
เมื่อเกิดสถาวะที่มีค่าต่างๆเปลี่ยนแปลงไปมากๆ เช่น กรณีใช้ e85 ทำให้จำเป็นต้องใช้กระแสไฟมาก
หรือ กรณี แรงดันน้ำมัน หาก ecu ต้องสั่งเพิ่มแรงดันน้ำมันในรอบสูง ด้วยกระแสไฟสูงสุด ต่อเนื่อง และเป็นเวลานานกว่าปกติ
แน่นอนว่า การทำงานของ ecu ที่หนักกว่าเดิม ก็จะบั่นทอนอายุการทำงานของชิพ หรือชิ้นส่วนใน ecu ให้เสียเร็วขึ้น
แต่ในกรณี อัพเกรตระบบจ่ายเชื้อเพลิง เราจะได้ "ปริมาณเชื้อเพลิง" และ "แรงดัน" ที่ "ดีกว่าเดิม" เพื่อเหมาะสมกับ e85
ปริมาณเชื้อเพลิง ที่ ดีกว่าเดิม จาก การเปลี่ยน หัวฉีด ย่อมช่วยลดภาระการทำงานของตัวสั่งจ่ายน้ำมันของ ecu
เพราะ ecu ทำงานเท่าเดิม แต่ได้ ปริมาณมากขึ้นและเพียงพอต่อ e85
แรงดัน ที่ ดีกว่าเดิม จากการเปลี่ยน ปั๊มติ๊ก ก็ย่อมช่วยลดภาระการทำงานของตัวสั่งเพิ่มแรงดันน้ำมัน
เพราะ ecu ทำงานเท่าเดิม แต่ได้ แรงดันที่มากขึ้น และ เพียงพอต่อ e85
ผลจากการอัพเกรตระบบจ่ายเชื้อเพลิง จึงช่วยลดภาระของ ecu ได้
เห็นได้ว่า แม้ กล่องไฟ หรือ ecu รุ่นเก่าๆ เฉียด 20 ปีมาแล้ว ก็มี ระบบการทำงาน อ่านค่าและปรับเปลี่ยน ภายในกรอบขีดความสามารถ อยู่ตลอดเวลา
"ระบบการอ่านค่าและปรับเปลี่ยน ภายในกรอบขีดความสามารถ อยู่ตลอดเวลา"
เหมือนจะ เข้าใจยากเนอะ จะบอกอย่างไรดีล่ะ
ประมาณว่า ระบบมีความสามารถที่ยืดหยุ่นได้ ระดับหนึ่ง
แต่การทำงาน ที่ต้อง ยืดสุดๆ หรือ หยุ่นสุดๆ เป็นเวลานาน นั่นคือ ภาระที่หนักอึ้ง ของ ecu
ความสามารถดังกล่าวนี้ ก็เพื่อเพื่อตอบสนองในสถานการณ์ ที่ประกอบด้วย ปัจจัย ที่มีค่า เปลี่ยนแปลงได้
เช่น อุณหภูมิอากาศที่รับเข้ามาป้อนสู่ห้องเผาไหม้ อากาศร้อน-เย็น ระบบไฟ อุณหภูมิเชื้อเพลิง
หรือ แม้แต่ ค่าออกเทน และ องศาความร้อนที่ติดไฟ ของเชื้อเพลิงแต่ละชนิด
กล่าวคือ กล่องไฟรุ่นเก่า (เครื่องยนต์รุ่นเก่า) ก็สามารถตอบสนองค่าน้ำมันเชื้อเพลิงที่เปลี่ยนไปได้ ในระดับหนึ่งอยู่แล้ว
เช่น แก๊สโซฮอล e10 e20 มีความแตกต่าง ที่อยู่ในกรอบความสามารถของ ecu ที่ยังคงสามารถปรับแต่งค่าต่างๆให้เหมาะสมกับเชื้อเพลิง
แต่ 95 กับ e85 เป็นเหมือน สุดโต่งสองฝั่ง ค่าแตกต่าง หรือห่างกันมาก หากไม่มีกล่องเสริม อย่างไรเสีย ก็ควรต้อง รีเซต ecu
อันที่จริง ผมว่าควร รีเซตทุกครั้ง ที่มีการเปลี่ยนแปลง เชื้อเพลิง หรือแม้แต่อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น หัวเทียน สายหัวเทียน ฯลฯ
กลับมาเข้าคำถาม ว่า การอัพเกรตระบบจ่ายเชื้อเพลิง ทำให้รถ กินน้ำมันขึ้นหรือไม่ กรณีที่ เปลี่ยนมาใช้ 95 ?
กรณีนี้ เข้าใจว่า ระบบจ่ายเชื้อเพลิง ที่แม้อัพเกรต ให้ฉีดได้มากขึ้น แรงขึ้นแล้ว ยังคงอยู่ภายในการสั่งงานของกล่องไฟ ที่ควบคุมให้เกิดการเผาไม้ที่สมบูรณ์
การเพิ่มมาตรฐานการทำงานของระบบจ่าย น่าจะไปช่วยให้ กล่องควบคุมทำงานเบาลง ในแง่ของ การสั่งการด้วยกระแสไฟฟ้า
อย่างน้อยก็ไม่ได้ไปเพิ่มภาระให้ ecu
แง่ดี อาจจะทำให้เกิดการเผาไหม้ที่ดีกว่าเดิม เพราะ การอัดฉีดเชื้อเพลิงที่ดีขึ้น ตรงนี้สำคัญ
สำคัญเพราะ หัวฉีดแต่ละรุ่น ถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับแรงดันที่ต่างกัน
เอาปั๊มน้ำ 1 แรงม้า สูบออกมาผ่านสายยาง 1 นิ้ว
ความแรง ย่อมไม่เท่ากับ
ปั๊มน้ำ 1 แรงม้า สูบออกมาผ่านสายยาง 1.5 นิ้ว
ความแรงของการฉีดเชื้อเพลิงเข้าห้องเผาไหม้ และ รูหัวฉีด ที่มีผลต่อทิศทางการฟุ้งกระจายของเชื้อเพลิงและอากาศ
มีผลต่อการเผาไหม้และการทำงานของเครื่องยนต์อย่างแน่นอน
ซึ่งเป็นหลักวิศวกรรมชั้นสูง ที่มีการพัฒนาให้เกิดการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงที่น้อยลง
คำตอบสุดท้าย จะใช้ 95 ไม่ต้องถอดหัวฉีดปั๊มติ๊ก ก็ได้ครับ
ทั้งหมดเรียบเรียงจากข้อมูลที่พบเจอ ค้นหา และ จำได้ ซึ่งอาจจะมีคลาดเคลื่อน ผิดพลาด
จึงควรใช้วิจารณญาณในการอ่าน หากเกิดความผิดพลาด ยินดีรับคำแนะนำครับ