เครื่องยนต์ที่ใช้คาร์บิวเรเตอร์แบบธรรมดา ปริมาณน้ำมันที่ป้อนให้กับเครื่องยนต์ถูกควบคุมด้วยคาร์บิวเรเตอร์ สำหรับเครื่องยนต์สมัยใหม่ที่ใช้ระบบฉีดเชื้อเพลิงแบบอิเล็คทรอนิค ปริมาณของเชื้อเพลิงจะถูกควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์อย่างถูกต้องแน่นอนกว่า ซึ่งจะจ่ายเชื้อเพลิงเข้าสู่กระบอกสูบด้วยหัวฉีด
ระบบอีเอฟไอจัดให้มีการฉีดเชื้อเพลิงได้อย่างสูงสุดตามอุณหภูมิของไอดี ความเร็ว รอบเครื่องยนต์ อุณหภูมิของน้ำหล่อเย็นตำแหน่งของลิ้นเร่ง การจับตัวของอ๊อกซิเจนภายในท่อไอเสีย และสภาวะที่จำเป็น ต่าง ๆคอมพิวเตอร์ของระบบอีเอฟไอควบคุมปริมาณของเชื้อเพลิงที่ถูกส่งเข้าสู่ เครื่องยนต์ ที่จังหวะการฉีด และอัตราส่วนของอากาศและเชื้อเพลิงสูงสุด ซึ่งมีพื้นฐานมาจากคุณ สมบัติการทำงานของเครื่องยนต์
ดังนั้นระบบอีเอฟไอจึงทำให้อัตราส่วนของอากาศและเชื้อเพลิงที่สมบูรณ์ พร้อมทั้งประสิทธิ ภาพสูงของเชื้อเพลิงเกิดขึ้นได้ในทุกรอบของเครื่องยนต์
ระบบอีเอฟไอ ( 4 เอ - อีจี )
ประเภทของระบบอีเอฟไอ
ระบบอีเอฟไอถูกออกแบบเพื่อใช้วัดปริมาณของไอดี เพื่อใช้ควบคุมการฉีดเชื้อเพลิงได้อย่าง สอดคล้องกันปริมาณของไอดีจะถูกวัดได้ทั้งทางอ้อมด้วยแรงดันของอากาศในท่อร่วมไอดี (ระบบอี เอฟไอแบบดี) หรือโดยตรงด้วยมาตรวัดการไหลของอากาศ (ระบบอีเอฟไอแบบแอล)
1. ระบบอีเอฟไอแบบดี
ระบบอีเอฟไอแบบดี จะวัดแรงดันของอากาศภายในท่อร่วมไอดี และจากการวัดนั้นทำให้เรารู้ ปริมาณของอากาศที่เข้าสู่เครื่องยนต์ ถึงอย่างไรก็ดี เนื่องจากแรงดันของอากาศ และปริมาณของอากาศในท่อร่วมไอดี ไม่เป็นอัตราส่วนที่แน่นอน ระบบอีเอฟไอแบบดี จึงไม่มีความแน่นอนเท่ากับระบบอีเอฟไอ แบบแอล
ตัวตรวจจับแรงดันในท่อรวมไอดี
ตัวตรวจจับในท่อรวมไอดี
สำคัญ
อีเอฟไอแบบดี ปกติเรียกว่า ?ดี-เจทรอนิค? ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าของ บ๊อช สัญลักษณ์ ?ดี? เป็นตัวย่อในภาษาเยอรมันว่า ?ดรีค? ซึ่งมีความหมายว่า ?แรงดัน? และคำว่า ?เจทรอนิค? มีความหมายว่าการฉีดเชื้อเพลิง
2.ระบบอีเอฟไอแบบแอล (แบบควบคุมด้วยมาตรวัดการไหลของอากาศ)
ระบบอีเอฟไอแบบแอล มาตรวัดการไหลของอากาศ จะวัดปริมาณของอากาศที่ไหลผ่าน เข้าสู่ท่อร่วมไอดีโดยตรง เนื่องจากว่ามาตรวัดการไหลของอากาศนี้ทำงานได้อย่างเที่ยงตรง ระบบอีเอฟไอแบบแอลจึงสามารถควบคุมปริมาณการฉีดเชื้อเพลิงได้อย่างแม่นยำเท่ากับระบบอีเอฟไอแบบดี
ข้อมูลอ้างอิง
เอฟไอแบบแอลปกติจะเรียกว่า ?แอลเจทรอนิค? คำว่า ?แอล? ย่อมาจากคำในภาษาเยอรมัน ว่า ?ลุฟท์? ซึ่งแปลว่า อากาศ
โครงสร้างพื้นฐานของระบบอีเอฟไอ
ระบบอีเอฟไอประกอบด้วย โครงสร้างการทำงานอยู่สามส่วน คือ ระบบเชื้อเพลิง ระบบอากาศ ไอดี และระบบควบคุมทางอิเล็คทรอนิค นอกเหนือจากนั้นระบบอีเอฟไอ ยังประกอบด้วยระบบฉีดเชื้อ เพลิง และระบบปรับปรุงการฉีดเชื้อเพลิงให้ถูกต้อง รายละเอียดข้างล่างนี้เป็นโครงสร้างพื้นฐานของการ ฉีดเชื้อเพลิงและหน่วยปรับปรุงการแก้ไขการฉีดเชื้อเพลิง
ระบบเชื้อเพลิง
ระบบเชื้อเพลิงถูกดูดมาจากถังเชื้อเพลิงด้วยปั๊มเชื้อเพลิง และถูกส่งด้วยแรงดันไปยังกรอง เชื้อเพลิง เชื้อเพลิงที่ผ่านการกรองจนสะอาดแล้วจะถูกส่งต่อไปยังหัวฉีด และหัวฉีดสตาร์ทเย็น
แรงดันของเชื้อเพลิงที่อยู่ในท่อเชื้อเพลิง จะถูกควบคุมด้วยตัวควบคุมแรงดันเชื้อเพลิง น้ำมัน ส่วนที่เกินความต้องการจะถูกส่งกลับไปยังถังเชื้อเพลิง โดยทางท่อเชื้อเพลิงไหลกลับ ส่วนการกระเพื่อม ของน้ำมันที่เกิดจากการฉีดเชื้อเพลิงจะถูกดูดซับไว้ด้วยตัวกันกระเพื่อม
เชื้อเพลิงถูกฉีดเข้าสู่ท่อร่วมไอดีด้วยหัวฉีด ซึ่งการฉีดนี้จะต้องสอดคล้องกับสัญญาณการฉีด ที่ได้รับจากอีซียู หัวฉีดสตาร์ทเย็นจ่ายเชื้อเพลิงให้กับห้องไอดีโดยตรง ในขณะที่อากาศเย็นเพื่อที่จะทำ ให้เครื่องยนต์สามารถสตาร์ทติดได้ง่ายขึ้น
ระบบนำอากาศ
อากาศบริสุทธิ์จากกรองอากาศ จะไหลเข้าสู่มาตรวัดการไหลของอากาศ และดันแผ่นวัดให้ เปิดออก ขนาดความกว้างของแผ่นวัดนั้นขึ้นอยู่กับความเร็วของอากาศ ขณะที่ไหลเข้าสู่ห้องไอดี ปริมาณ ของอากาศที่ไอดี จะถูกตรวจจับได้โดยการเปิดกว้างของลิ้นเร่ง จากนั้นอากาศจะไหลเข้าสู่ท่อร่วมไอดี และตรงไปยังห้องเผาไหม้
ถ้าในขณะนั้นเครื่องยนต์เย็นอยู่ ลิ้นอากาศจะเปิดเพื่อให้อากาศไหลเข้าสู่ห้องไอดีได้โดยตรง โดยไม่ผ่านลิ้นเร่ง ลิ้นอากาศนั้นป้อนอากาศจำนวนที่เพียงพอเข้าสู่ห้องไอดี เพื่อเพิ่มความเร็วรอบเดินเบา (จนถึงรอบเดินเบาเร็ว) ไม่ว่าขณะนั้นลิ้นเร่งจะเปิดหรือปิดอยู่ ปริมาณของไอดีนั้นถูกตรวจจับได้โดยมาตรวัดการไหลของอากาศ (อีเอฟไอแบบแอล) หรือโดยตัวตรวจจับแรงดันในท่อร่วมไอดี (อีเอฟไอแบบดี)
ระบบนำอากาศของอีเอฟไอแบบดี
ระบบความคุมทางอิเล็คทรอนิค
ระบบควบคุมทางอิเล็คทรอนิค ซึ่งรวมถึงตัวตรวจจับต่างๆ (ตรวจจับสภาพการทำงานของ เครื่องยนต์) คอมพิวเตอร์ซึ่งทำหน้าที่ค้นหาปริมาณการฉีดเชื้อเพลิง และจังหวะการฉีดเชื้อเพลิงที่ เหมาะสม และสอดคล้องกับสัญญาณที่ได้รับจากตัวตรวจจับต่างๆ
ตัวตรวจจับต่างๆ เหล่านี้วัดปริมาณของไอดี สภาวะของเครื่องยนต์ อุณหภูมิน้ำหล่อเย็นและ อากาศ การเร่งเครื่องยนต์ หรือลดความเร็วเครื่องยนต์ ฯลฯ และส่งสัญญาณเหล่านี้ให้กับคอมพิวเตอร์อีกตัวหนึ่ง ที่คอมพิวเตอร์จะคำนวณหาช่วงเวลาการฉีดเชื้อเพลิงที่ถูกต้อง โดยมีพื้นฐานจากสัญญาณ เหล่านี้ จากนั้นจึงส่งสัญญาณการฉีดที่จำเป็นไปยังหัวฉีดต่อไป
ระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็คทรอนิคในเครื่องยนต์บางรุ่นจะมีตัวความต้านทานต่อเข้ากับวงจรการฉีด เชื้อเพลิงอยู่ด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความร้อนสูง และช่วยทำให้หัวฉีดทำงานได้อย่างแน่นอน
หัวฉีดสตาร์ทเย็นจะทำงานในขณะที่ติดเครื่องยนต์ ในขณะที่อากาศเย็น ช่วงเวลาการฉีดของ มันจะถูกควบคุมด้วยสวิทช์ควบคุมเวลา ส่วนวงจรคอมพิวเตอร์ของระบบอีเอฟไอ จะมีการป้องกัน ในกรณีที่แรงเคลื่อนไฟฟ้าตกคร่อมด้วยเมนรีเลย์
เช่นเดียวกันวงจรปั๊มเชื้อเพลิงของระบบอีเอฟไอ ก็มีรีเลย์ประกอบอยู่ด้วย ซึ่งจะเปิดให้ปั๊มเชื้อ เพลิงทำงานในขณะสตาร์ทเครื่องยนต์ หรือในขณะที่เครื่องยนต์ทำงาน และจะปิดปั๊มเมื่อเครื่องยนต์ดับรูปประกอบด้านล่างนี้เป็นวงจรของระบบควบคุมอิเล็คทรอนิค ของเครื่องยนต์อีเอฟไอ
ที่มา:http://www.phithan-toyota.com/article/view_tech.php?id_view=18