1จอดรถทางลาดเอียง เครื่องดับ เข้าเกียไว้ รถจอดไม่ขยับ เหยียบครัช รถจะไหล ปรกติ
2จอดรถทางลาดเอียง เครื่องดับ เข้าเกียไว้ รถจอดไม่ขยับ เหยียบครัช รถจะนิ่งไม่ไหล ผิดปรกติ ตรวจ เบรกค้าง หรือครัชหมดสายอ่อนครัชรั่ว หรือน้ำมันคัช เก่า หรือซีลกระบอกครัชตาย ครัชกดไม่เต็มหน้า แรงดันสายน้ำมันรั่ว
3จอดรถบนถนนปรกติแนวระนาบ ติดเครื่อง เหยียบครัช เข้าเกีย1 รถจอดไม่ขยับ ปล่อยครัช รถเรื่อมขยับ ปรกติ
4จอดรถบนถนนปรกติแนวระนาบ ติดเครื่อง เหยียบครัช เข้าเกีย1ยาก มีเสียงแกรกๆ รถขยับทั้งๆยังไม่ปล่อยครัช เหยียบครัชจนสุดแล้ว รถก็ยังขยับ ผิดปรกติครัชหมด หรือสายอ่อนน้ำมันครัชรั่ว หรือน้ำมันคัช เก่า หรือซีลกระบอกครัชตาย
5จอดรถบนถนนปรกติแนวระนาบ ติดเครื่อง เหยียบครัช เข้าเกีย1ได้ปรกติ ไม่มีเสียงแกรกๆ รถไม่ขยับทั้งๆยังไม่ปล่อยครัชและยังคงเหยียบครัชจนสุดแล้วไม่ได้ปล่อยนับจากการเข้าเกีย จู่ๆ รถก็เริ่มขยับไปข้างหน้าและเพิ่มความเร็วขึ้นทั้งที่ เท้ายังกดครัชจรสุด ผิดปรกติ สายอ่อนครัชรั่ว หรือน้ำมันคัช เก่า หรือซีลกระบอกครัชตาย ครัชกดไม่เต็มหน้า แรงดันสายน้ำมันครัชรั่ว
สำหรับคนที่เพิ่งขับรถอาจจะหลงๆลืมๆ หรือคนที่นั่งข้างๆ ไม่เคยขับ แต่สงสัย ก็อ่านจากด้านล่างก่อนนะครับ
****เครื่องรถคิดอยู่ เกียว่างอยู่ ไม่เหยียบครัช ไส่เกีย ไม่ได้ ถ้าได้ ไม่เครื่องดับก็กระโดดเป็นกบไปเลยละมั่ง****
***เครื่องดับ ไม่ต้องเหยียบครัช ก็สามารถ เข้าเกียได้ทุกเกีย แต่เมื่อเข้าเกียขณะเครื่องดับแล้ว จะทำไห้ รถLOCK ไม่สามารถเข็นหรือใหลได้ จนกว่าจะปลดเกีย หรือ เหยียบครัช*****
เพิ่มเติมอีกนิสนึง อ่านเจอจาก google สำหรังเกียAUTO +V ลิ๊ง และข้อความ ปล ด้านล่างไม่ไช่ข้อความของผมนะครับ จากเน็ตล้วนๆนะ ผิดพลาดประการไดขออภัยด้วยนะครับ
http://www.civicfdthailand.com/ipb_forum/index.php?showtopic=39192การขับรถเกียรออโตนั้นควรเรียนรู้ว่าเกียรออโตถูกออกแบบมาเพื่อจุดประสงค์อะไร ทำไมถึงมีตำแหน่งเกียรเดินหน้าหลายตำแหน่ง แต่ละจุดใช้ในโอกาสแตกต่างกันอย่างไร
การขับรถเกียรออโตในภาวะปกติ กับภาวะรถติต ฝนตก เบรกกระทันหัน การขับรถขึ้นลงภูเขา ควรทำอย่างไร หากติดหล่มทำอย่างไร
ลองดูทั้งทางทฤษฎีและประสบการณ์ของผมดูครับ
อันดับแรกต้องรู้ว่าเกียรออโตมันเป็นอย่างไร จะใช้อย่างไรก่อน
1. เกียรออโตระบบการทำงานก็เหมือนกับเกียรธรรมดาแหละครับ เพียงแต่การเปลี่ยนเกียรก็มีระบบอิเล็กทรอนิกมาควบคุมแทนเรา
แต่ในความเป็นจริงจะขับรถเกียรออโตแบบธรรมดาก็ขับได้ เพราะเกียรออโตถูกออกแบบมาให้สามารถขับได้ทั้งแบบธรรมดาและให้มันปรับเกียรเองแบบอัตโนมัติ
ทำความรู้จักกับมันก่อนครับ
เกียรออโตของ FD มีเกียร 1 , 2 , D3 , D ที่เป็นเกียรขับเดินหน้า ( R เป็นเกียรถอย และ P เป็นตำแหน่งจอดรถ รู้กันดีอยู่แล้ว)
เกียรออโตเกียร 1 ก็คือเกียร 1 ของเกียรแบบกระปุก (ธรรมดา)
เกียรออโตเกียร 2 ก็คือเกียร 2 ของเกียรแบบกระปุก (ธรรมดา)
เกียรรออโตเกียร D3 ก็คือเกียรกระปุก (ธรรมดา) ที่มีอัตราทด 1:1 โดยปกติก็คือเกียร 4
เกียรรออโตเกียร D ก็คือเกียรกระปุก (ธรรมดา) ที่มีอัตราทดต่ำกว่าหนึ่ง ที่เราเรียกกันว่า โอเวอร์ไดรฟ์ โดยปกติก็คือเกียร 5 นั่นเอง
ดังนั้นเราสามารถขับรถเกียรออโตแบบ ออโตโหมด ก็ได้ หรือแบบแมนนัวลก็ได้
2. ขับรถเกียรออโตแบบ ออโตโหมด ท่านสามารถเลือกตำแหน่งเกียรไปที D , D3 หรือ 2 ได้ตามสภาพดังนี้
การขับแบบออโตโดยเลือกตำแหน่ง D หากสภาพถนนปกติ ทางเรียบ รถไม่ติด ฝนไม่ตก เมื่ออยู่ตำแหน่งนี้ รถจะเปลี่ยนเกียรเอง จากเกียร 1 => 2 => D3 ( 1:1 ) => D ( เกียร Over Drive เทียบเท่าเกียร 5)
การขับแบบออโตโดยเลือกตำแหน่ง D3 หากสภาพถนนเป็นทางชัน ทางขึ้นเขา ลงเขา รถติด ฝนตก เมื่ออยู่ตำแหน่งนี้ รถจะเปลี่ยนเกียรเอง จากเกียร 1 => 2 => D3 ( 1:1 ) เท่านั้น จะไม่ขึ้นไปเกียร Over Drive
ระบบโปรแกรมควบคุมจะสั่งจ่ายน้ำมันเกียรไปที่แผ่นคลัชมากกว่า ทำให้มีแรงบิดส่งไปมากกว่า รถมีกำลังขึ้นเขา ในขณะเดียวกันระบบเบรกก็จะทำงานได้มีประสิทธิภาพมากกว่า ข้อควรรู้ระบบเบรกจะมีประสิทธิภาพมากเมื่อเกียรต่ำลง
ในสภาพรถติด(ติดไม่มาก แบบพอเคลื่อนตัวได้) หากใช้ D3 จะควบคุมรถได้ง่ายขึ้น เบรกอยู่แน่นอน ไม่ชนตูดคันหน้า
ในสภาพฝนตก ทำให้รถเสถียร เครื่องยนต์ส่งกำลังไปที่ล้อคลัชจับแน่นกว่า จังหวะการเปลี่ยนเกียรไปขั้นสูงขั้นต้องรอรอบมากกว่าตำแหน่ง D ไม่ทำให้รถไถลลื่น
การขับแบบออโตโดยเลือกตำแหน่ง 2 หากสภาพถนนเป็นทางชันมากๆ ทั้งทางขึ้นเขา ลงเขา รถติดมากๆ เลื่อนทีละหน่อย ๆ เมื่ออยู่ตำแหน่งนี้ รถจะเปลี่ยนเกียรเอง จากเกียร 1 => 2 เท่านั้น จะไม่ขึ้นไปเกียรที่สูงกว่า
ระบบโปรแกรมควบคุมจะสั่งจ่ายน้ำมันเกียรไปที่แผ่นคลัชมากกว่าอีก ทำให้มีแรงบิดส่งไปมากกว่าอีก รถมีกำลังขึ้นเขามาก ในขณะเดียวกันระบบเบรกก็จะทำงานได้มีประสิทธิภาพมากกว่า ลงเขาควบคุมรถได้สบาย (ข้อควรรู้ระบบเบรกจะมีประสิทธิภาพมากเมื่อเกียรต่ำลง)
ในสภาพรถติดมากๆ เลื่อนที่ละหน่อย ๆ ๆ หากใช้ ตำแหน่ง 2 จะควบคุมรถได้อย่างดี เบรกอยู่ทุกครั้ง ไม่ชนตูดคันหน้าแน่นอน
ในสภาพฝนตกมากๆ ก็เช่นเดียวกัน
ข้อควรจำ
หากรถของท่านอยู่ในตำแหน่งที่จอดนิ่งอยู่ท่านสามารถเลื่อนคันเกียรไปตำแหน่ง D , D3 หรือ 2 ได้ หลังจากที่เหยียบเบรกแล้วตามปกติ
แต่หากรถท่านวิ่งด้วยความเร็วอยู่ท่านสามารถเปลี่ยนตำแหน่งเกียรได้ระหว่าง D กับ D3 เท่านั้น
หากจะเลื่อนจาก D3ไปตำแหน่ง 2 แล้วต่อไป 1 ในกรณีเบรกแบบฉุกเฉิน ท่านต้องจงใจเปลี่ยนเท่านั้น โดยท่านต้องกดปุ่มที่คันเกียรแล้วเลื่อนลง
อีกกรณีหนึ่งคือทางลงเขาที่ชันมากๆ ท่านตัดสินใจเปลี่ยนเกียรต่ำลงจาก D3ไปตำแหน่ง 2 ท่านก็ต้องกดปุ่ม จึงจะเลื่อนได้
การขับแบบออโตก็คือการให้รถเปลี่ยนเกียรเอง ดังนั้น จึงอยู่ที่ท่านจะเลือกใช้ แค่เกียร 2 คือเปลี่ยนเกียรแบบออโตระหว่าง 1=>2 / หรือ D3 คือการเปลี่ยนเกียรแบบออโตระหว่าง 1=>2=>3 / หรือ D คือการเปลี่ยนเกียรแบบออโตระหว่าง 1=>2=>3=>Over Drive รถจะเปลี่ยนเกียรสูงขึ้นเองถ้าเราเร่งคันเร่ง และจะเปลี่ยนเป็นเกียรต่ำเองเมื่อเราเหยียบเบรก
การเลือกตำแหน่ง เกียรอยู่ที่ 1 รถจะไม่มีการเปลี่ยนเกียรใดๆ เป็นเกียร 1 ตลอด เพราะไม่มี step ให้เลื่อนสูงกว่า
3. การขับรถเกียรออโตแบบแมนนัวล ก็เหมือนเป็นเกียรธรรมดามี 4 จังหวะละครับ คือมีเกียร 1 => 2 =>3 (D3) => 4 (D)
จากสภาพหยุดนิ่ง ก็เหยียบเบรกเลื่อนตำแหน่งเกียรไปที่เกียร 1 เร่งเครื่องออกไป ท่านจะลากรอบเครื่องยนต์ไปเท่าใดก็ตามใจท่าน อยากเปลี่ยนเกียรท่านก็ดันคันเกียรไปที่เลข 2 มันก็เป็นเกียร 2 เร่งคันเร่งจนพอใจอยากเปลี่ยนเป็นเกียร 3 ก็เลื่อนไป ตำแหน่ง D3 เร่งเครื่องต่อไป อยากเปลี่ยนเป็นเกียร 4 ก็เลื่อนไป ตำแหน่ง D ซึ่งเป็นเกียรสุดท้ายของเจ้า FD นี่ (หากเป็น ซูบารุ หรือAudi หรือบางยี่ห้ออาจมีเกียรออโต 6 เกียรก็ทำเหมือนกัน)
หากเบาเครื่องลง ลดความเร็วท่านก็เลื่อนจากเกียรสูงกว่าไปต่ำ เช่นจาก D ไป D3 (พอความเร็วลดลงระบบมันจะเปลี่ยนเกียรลงมาเองถ้าท่านเหยียบเบรก หรือลดความเร็วลง ) แต่ท่านอยากขับแบบธรรมดาให้สมบูรณ์แบบ ท่านก็เลื่อนคันเกียรตามมาเป็น เกียร 2 ( ต้องกดปุ่มด้วยนะ ไม่งั้นเลื่อนไม่ได้ )เป็น 1 ตามลำดับ
เห็นไหม ถ้าท่านเข้าใจว่าระบบเกียรถูกออกแบบมาให้ใช้งานอย่างไร ท่านก็จะขับรถสนุก ปลอดภัย ไม่เกิดอุบัติเหตุแน่นอน
ผมลงแข่งทางพัทยาเซอร์กิต ควอเตอร์ไมล์ แรลลี่ ขับทางไกลเป็นพันๆ กิโล มามากว่ายี่สิบปี ไม่เคยเกิดอุบัติเหตุเลย เคยขับถนนธรรมดาความเร็วมากกว่า 200 ก็เคย
แต่ต้องรู้จักเกียร รู้จักระบบเบรก รู้จักฟังเสียงของรถเราว่า มันสนุก หรือมันร้องไห้ หากมันร้องไห้คือมีเสียงผิดปกติต้องเบา หยุดตรวจสอบก่อน
4 การเบรกแบบฉุกเฉิน ต้องใช้เกียรช่วย เบรกอย่างเดียวเอาไม่อยู่ครับ
ท่านต้องรู้และทำให้เป็นนิสัย หากขับรถเร็วตาท่านต้องมองไกล รับรู้ความเคลื่อนไหวข้างทาง อาจมีมอเตอร์ไซด์ สนัข อื่นๆ ต้องสำรวจขอบข้างทางว่าหากมีสภาพฉุกเฉินลงได้แค่ไหน ต้องคอยสำรวจครับ
การเบรกให้มีประสิทธิภาพ ต้องใช้ทั้งระบบเบรก บวกกับใช้เกียร (เครื่องยนต์)เบรกด้วยครับ ไม่ต้องกลัวเกียรพัง ผมขับรถมาหลายปี ยังไม่เคยมีรถยี่ห้อไหนคันไหนเกียรพังเลย เวลาเบรกหากเบรกธรรมดาก็กดแป้นเบรกไปตามสภาพ ไม่มีปัญหาอะไร
แต่หากเบรกเอาไม่อยู่ ต้องทำอย่างรวดเร็วเปลี่ยนเกียรต่ำลงเช่น จาก D มา D3 ในขณะที่เหยียบเบรกอยู่ด้วย ระบบ ABS จะทำงานต่อเมื่อท่านกดเบรกสุดๆนะครับ หากกดปกติมันก็ไม่ทำงานนะ จะบอกให้รู้ สังเกตุง่ายหากระบบเบรก ABS ทำงาน จะได้ยินเสียงล้อดังกึก กึก กึก กึก ๆๆๆๆๆๆ คือระบบจะจับ ปล่อย ที่จานเบรก เพื่อป้องกันล้อล๊อกตายนะ ดังนั้นหากท่านเบรกไม่สุด กระทืบไม่แรงละก้อมี ABS ก้อเหมือนไม่มีละครับ
การใช้เกียรหรือเครื่องช่วยเบรกจึงมีความสำคัญ ท่านสมารถเปลี่ยนเกียร (เชนเกียร)ได้เร็วเท่าไรขณะเบรกเมื่อรถท่านวิ่งด้วยความเร็วสูง จากความเร็ว 180 ที่เกียร D มี ABS ด้วย พอฉุกเฉินต้องหยุดรถให้ได้ไม่ไถล พวงมาลัยต้องนิ่งตรง และเบรกพร้อมเชนเกียรจาก D ไป D3 ความเร็วจะลดมาเหลือประมาณ 120 ในเสียววินาที และเปลี่ยนต่อมา 2 รถจะลงมาเหลือ60 และหยุดนิ่งได้อย่างดี แต่หากไม่อยู่ก็ดึงจนเกียร 1 เลยครับ พวงมาลัยตรง รับรองไม่คว่ำอยู่แน่นอน
(การฝึกให้ขับรถด้วยมือเดียว มือขวาที่พวงมาลัย บวกเขาซ้ายช่วยถ้าจำเป็น มือซ้ายอยู่ที่คันเกียรตลอดไม่ว่าจะเป็นเกียรธรรมดาหรือเกียรออโต นะจะช่วยท่านได้ในการควบคุมรถ แต่ต้องฝึกให้ชำนาญนะ)
ทำไมผมต้องพูดเรื่องเบรก เพราะเบรกคือชีวิตครับ ขับรกหากระบบเบรกมีปัญหา คนขับเบรกไม่เป็นไม่รู้เทคนิค อันตรายครับ เวลาท่านลงเขาต้องใช้แน่นอน
เวลาลงเขาท่านใช้เกียรถูกหรือไม่ สังเกตุได้ง่าย หากรถกำลังลงเขา ท่านใช้ตำแหน่ง D3 แล้ว แต่ว่าเมื่อท่านถอนเบาคันเร่งรถไม่ชลอความเร็วลง ยังคงวิ่งลงเขาเร็วขึ้นทั้งๆ ที่ถอนคันเร่งแล้ว แล้วท่านต้องมาเหยียบเบรกละก้อ ท่านใช้เกียรผิดครับ เกียรที่ท่านใช้สูงไป หากอยูที่ D3 ก็ลดลงมาเป็น 2 เลยครับ
และทุกครั้งที่ท่านถอนคันเร่ง เครื่องยนต์จะช่วยท่านเบรกรถให้ความเร็วลดลงอยู่แล้ว
5. ถ้ารถเกียรออโตติดหล่ม ทำไงดี
ก็ใช้เกียรตำแหน่งเกียร 1 ครับ ทำแบบเดียวกับเกียรธรรมดา จะเดินหน้า หรือถอย R ตามสภาพ
หากหล่มลึกก็ต้องหาไม้กระดานมาช่วย หรือหาสิ่งอื่นใดที่ทำให้ล้อหน้าตะกุยขึ้นได้
หากจมไปเลย ก็โทรหาผู้ช่วยที่มีระบบรอกลากดึงเป็นทางสุดท้าย
หากท่านทำจนชำนาญท่านก็จะขับมันอย่างสนุก อย่างลืมเราคือรถ รถคือเรา รถไปได้เราไปได้ครับท่าน
ด้วยความปราถนาดี
ไปเจอมาอ่ะครับ
1. ควรเปลี่ยนถ่าย ATF ให้ได้อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
แม้ตามกำหนดที่โรงงานได้กำหนดไว ้ในสมุดคู่มือถึง 40,000-45,000 km หรือราว 2-2 1/2 ปี ก็อย่าได้วางใจตามนั้น ด้วยว่าการจราจรของกรุงเทพฯ เรา ติดๆ ขัดๆ ความร้อนสะสมสูงเกือบตลอดการใช้งาน เดี๋ยว ON Gear หรือ OFF Gear อยู่โดยตลอดทั้งวัน นานๆ ทีถึงได้มีโอกาสยืดเส้นยืดสายออกทางไกลหรือขึ้นทางด่วนวันหยุดก ับเขาหน่อยนึง
ความร้อนสะสมจากอุณหภูมิเฉลี่ยท ี่สูง และการใช้งานวิ่งๆ หยุดๆ ทำให้แรงดันน้ำมัน ATF สูง-ต่ำไม่คงที่ อุณหภูมิมักสูงตลอดเวลาจากแรงดันที่สูงๆ ต่ำๆ ดังนั้นการให้โอกาส AT (เกียร์ออโตเมติก) ได้ดื่มด่ำกับ ATF ใหม่ๆ สดๆ จึงเป็นเรื่องง่ายๆ ที่เราปฏิบัติได้ไม่ยากครับ อย่าถือว่าสิ้นเปลืองเลยนะ
2. ไม่ควรโยกตำแหน่งเกียร์บ่อย
ควรให้โอกาสมันได้ทำ "หน้าที่อัตโนมัติ" ด้วยตัวของมันเองมากๆ หน่อย เพราะมันถูกออกแบบให้ทำงานตามลำดับขั้นตอนโดยใช้ความเร็วเป็นตั วกำหนดจังหวะการเปลี่ยนเกียร์อยู่แล้วเป็นปกติวิสัย
มีเจ้าของรถบางท่านที่เชื่อคำโฆ ษณาว่าเกียร์ออโต้สมัยใหม่สามารถโยกเปลี่ยนได้ตามใจชอบ ก็เลยเอานิสัยเดิมที่เคยใช้รถเกียร์ธรรมดามาใช้กับ AT คือเชนจ์ขึ้น-ลง ปรากฏว่า อายุเกียร์ไม่ข้ามปีที่ 2 หรือไม่เกิน 40,000 กม. ด้วยซ้ำครับ พัง! สาเหตุก็มาจากการเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ทั้งวันจนเป็นนิสัย ชิ้นส่วนภายในเครียดตลอดเวลา ความร้อนสูงจากแรงดัน ATF ที่สูงเกินไป ทำให้สึกหรอสูง จนแรงดัน ATF ไม่คงที่ ทุกอย่างพังหมดครับ และพังอย่างเร็วซะด้วยครับ!
บางท่านที่ไม่มากประสบการณ์ก็อา จเผลอกด Overdrive (เกียร์สำหรับลดรอบเครื่องยนต์) ไว้ทั้งวัน โดยมิได้สังเกตอาการก็มีครับ
3. ยุคหนึ่งเชื่อกันว่า ถ้าติดไฟแดงก็ควร "พักเกียร์"
ใช่ ครับ ผมเองในอดีต 10 ปีก่อนก็ทำเช่นนี้บ่อยๆ คือเต็มใจปลดเกียร์เป็น N ทุกครั้งที่ติดไฟแดง โดยหวังว่าจะช่วยเป็นการพักเกียร์! แต่ความจริงกลับไม่ต้องทำเช่นนั้น
การใช้งาน AT ให้ยืนนาน ควรเข้าใจว่าทุกครั้งที่เรา "OFF Gear" น้ำมัน ATF จะหยุดแรงดันของมันทันทีครับ จำ "หลุมฉิ่ง" Orifice Valve ที่มีลูกปืนเม็ดเล็กๆ ทนๆ กลิ้งอุดและเปิดวาล์ว ATF ได้ไหมครับ ยามใดที่ ON Gear ลูกปืนในหลุมฉิ่งเหล่านี้จะเปิดให้ ATF ผ่านด้วยแรงดันน้ำมัน ATF ที่อัดอยู่เต็ม VB ( Valve body สมองเกียร์) เพื่อ hold ตำแหน่งเกียร์ D อยู่
แต่หากเราเข้าตำแหน่ง N เจ้า ATF ก็หยุดเดิน และไม่ "Standby" ลูกปืนเปิด-ปิด Orifice Valve ก็ปิดตัวลงนอนแอ้งแม้งใน "หลุมฉิ่ง" พอเราเข้าเกียร์ D เพื่อออกตัวในจังหวะไฟเขียว ...เท่านั้นละครับ ATF มันก็แย่งกันสูบฉีดด้วยแรงดันให้ไหลวกวนใน VB สมองเกียร์ จงคิดเอาเถิดครับว่า วันหนึ่งๆ หรือครั้งหนึ่งที่คุณได้ทำเช่นนี้ แรงดัน ATF มันจะขึ้นๆ ลงๆ ตลอดเวลา ไม่ Constant สักที ของเหลว (ATF) เมื่อเคลื่อนตัวไหลไป-มาด้วยแรงดันบ่อยๆ ความร้อนก็ไม่คลายแต่กลับเพิ่มขึ้นๆ สี่แยกแล้วสี่แยกเล่า หยุดแล้วหยุดเล่า Orifice Valve ต้องทำงานตลอดเวลา เดี๋ยวไหลเดี๋ยวหยุดกะปริบกะปรอย มันจะทนไหวหรือครับ ต่อไปนี้ให้ทำอย่างนี้ครับ
หากหยุดในชั่วแค่ 2-3 นาที ก็ควร "Hold D" เอาไว้ โดยเหยียบแป้นเบรกแทน แต่หากหยุดนานเกินกว่านี้ค่อยเข้า OFF Gear เป็น N อย่างน้อยก็ช่วยยืดอายุเกียร์ได้อีกโขเลยละครับ ด้วยวิธีง่ายๆนี้ จำไว้ต่อไปนี้หยุดแป๊บเดียวไม่ต้องปลดเกียร์
4. อย่าปลดให้เป็น N (ว่าง) เพื่อให้รถไหล เพื่อช่วยประหยัดน้ำมันก่อนหยุดไฟแดง
วิธีช่วยประหยัดน้ำมันเช่นนี้ไม ่ดีแน่ แม้จะดีบ้างกับความประหยัดเชื้อเพลิงลิตรละ 10-15 บาท แต่เกียร์ออโต้มันไม่ชอบ ควรปล่อยให้มัน ON Gear ไปจนถึงไฟแดงดีกว่าครับ แล้วแตะเบรกหยุดมันจะทนกว่ามากเลยครับ อีกอย่าง ความประหยัดเชื้อเพลิงด้วยวิธีไหลในตำแหน่ง N ก็ช่วยประหยัดแค่ 2-3% เท่านั้นเอง พูดถึงค่าซ่อมเกียร์ราว 2-3 หมื่น จะคุ้มหรือครับ!?
5. การ Take Off แบบในหนัง คือออกรถให้ล้อเอี๊ยดโชว์นั่นน่ะ อย่าทำเป็นอันขาด
สิ่ง ที่จะพังเร็วคือ FP (Friction Plate) ที่เรียงเป็นตับอยู่ในเรือนเกียร์ไงครับ มันจะสึกจากความร้อนที่เสียดสีฉับพลัน น้ำมัน ATF ก็ร้อนสูง (ฮีต) บ่อยๆ เข้า เจ้า FP ซึ่งหนาแค่ 2-3 มิลลิเมตร ก็ไหม้ได้ครับ นึกถึงภาพเบิ้ลคันเร่ง บรื้นๆๆ... ในขณะที่ AT อยู่ในตำแหน่ง N วัดรอบขึ้นไปตั้ง 3,000-5,000 rpm แล้วโยกมาที่ N ทันที "จ๊ากโชว์" ได้แน่ครับ แต่ตับไตไส้พุงของ AT มันจะพังคาที่ ในการทำเช่นนี้ไม่ถึง 10 ที ลำพังเจ้าของแบบเราๆ คงไม่ทำเช่นนี้ แต่กล่าวเผื่อไว้สำหรับวัยรุ่นรถซิ่งนะครับ แอบเอารถคุณพ่อคุณแม่ หรือเด็กอู่บางคนแอบเอารถลูกค้าไปซิ่งเล่น ปรากฏว่าพังครับ พังชั่วไม่ข้ามคืนนี้แหละครับ
ฉะนั้น อย่า Take Off เพื่อ Show Off เป็นอันขาดครับ!
6. ขณะลากจูง หรือใช้ระบบ "Fly in Four" หรือ "Shift on the Fly" ควรศึกษาคู่มือให้ดี
ก่อนอื่นให้ทราบจากผู้ขาย หรือคำโฆษณา หรือคู่มือประจำรถก่อนว่าเขากำหนดความเร็วในการเล่นฟังก์ชันไว้ เท่าใด
ใน เกียร์ AT ยุคก่อน ในกรณีต้องลากจูงรถ เขาจะกำหนดความเร็วมักไม่เกิน 40 กม./ชม. ซึ่งเร็วแค่นี้จะไม่เป็นการทำลายเกียร์ ในรถรุ่นใหม่ เกียร์ CPU อาจลากได้เร็วขึ้นถึง 60-80 กม./ชม. แต่หากไม่แน่ใจ ควรลากไปเรื่อยๆ ที่ความเร็ว 40-50 กม./ชม. แค่นี้ดีมากครับ ไม่ว่าเกียร์ออโต้ของเราจะเป็นยุคไหนๆ ปลอดภัย ถนอมมันเอาไว้ก่อนจะดีกว่าครับ
ส่วนรถ OFF Road 4x4 ประดามีที่โฆษณากันว่าเปลี่ยนเป็นขับ 4 ล้อได้ ในขณะที่วิ่งเร็วๆ เราเจ้าของรถก็ควรเข้าใจให้ถ่องแท้ว่า ในคู่มือกำหนดไว้เช่นไร ที่ความเร็วไม่เกินเท่าไร ก็สมควรปฏิบัติตามนั้นครับ
ฟังก์ชันเปลี่ยนระบบขับเคลื่อนจ าก 2 ล้อ มาเป็น 4 ล้อ ขณะรถวิ่งถูกเรียกว่า "Fly in Four" หรือ "Shift on the Fly" จะกำหนดไว้เฉพาะการขับเคลื่อนจาก 2H มาเป็น 4H หรือจากขับเคลื่อนปกติ 2 High เป็น 4 High เท่านั้น ความเร็วที่โฆษณาไว้ก็แถวๆ 60-80 กม./ชม. ไม่ถึง 100 กม./ชม. เพราะอัตราทดเกียร์ของแต่ละยี่ห้อที่โฆษณา รวมถึงเส้นรอบวงจากขนาดของวงล้อก็อาจมีการเปลี่ยนแปลงและถูกหลง ลืม ดังนั้นควร "เมคชัวร์" ในการ Shift on the Fly หรือเปลี่ยนเกียร์จาก 2H มาเป็น 4H ด้วยการใช้ความเร็วต่ำๆ เข้าไว้จะชัวร์กว่า อย่าเปลี่ยนที่ความเร็วระดับ 100 เลยครับ เขาโฆษณาว่าทำได้จริงอยู่ แต่จะทำได้แค่ไหน หรืออายุเกียร์ AT จะทนในอายุการใช้งานเท่าใด เราผู้เป็นเจ้าของรถเท่านั้นที่รับผิดชอบ
หากทำอะไรในความเร็วที่เกินเลยไ ป บางทีรถอาจพลิกคว่ำในความเร็วขณะที่เปลี่ยน 2H เป็น 4H หรือไม่ก็เกียร์ AT อาจพังเร็วขึ้น
ที่ แน่ๆ หากจะใช้ Shift on the Fly (เปลี่ยนจาก 2H เป็น 4H) ขณะรถวิ่ง ควรให้ตำแหน่งเกียร์อยู่ที่ D (อย่าไปที่ D อื่นๆ) และความเร็วแถวๆ 40-50 กม./ชม. ก็จะดี อย่าเชื่อโฆษณาอย่างเดียว ควรใช้หลักความจริงของเกียร์ AT เข้าไว้ครับ
7. ไม่ควรใส่อะไรผสมลงไปใน ATF ..หัวเชื้อน้ำมันเกียร์ AT ?!
เพราะ เกียร์ AT ต่างกับเกียร์ธรรมดา 5 สปีด (Manaul 5 Speed) ที่เราเคยใช้ เจ้าอย่างหลังนี่มีหัวเชื้อดีๆ (Additive Fluid) ก็จะช่วยให้ชุดเกียร์หมุนลื่น หมุนเงียบขึ้น แน่นอนครับ เกียร์ธรรมดาถ้าหมุนคล่อง ลื่นดี เกียร์เข้าง่าย เชนจ์เกียร์ได้ฉับไว ขับได้สนุก
แต่เกียร์ AT มันไม่สนครับ เพราะ FP Friction Plate ทำหน้าที่ตามชื่อของมันอยู่แล้ว ความลื่นเหลือล้นในน้ำมัน ATF จึงห้ามเด็ดขาด ควรยืนยันใช้เบอร์เดียว มาตรฐานเดียวกับที่สมุดคู่มือประจำรถกำหนดไว้เท่านั้น อย่างยิ่ง หรือหย่อนจากที่กำหนดในคู่มือโดยเด็ดขาด
อ้อ คำถามที่ว่าน้ำมัน ATF แบบสังเคราะห์สมัยใหม่ที่เหนือมาตรฐานกำหนด ใช้ได้หรือไม่นั้น ควรสอบถามศูนย์บริการหรือผู้ชำนาญดูก่อนครับ แต่หากเป็นผม ผมยังคงยืนยันใช้ตาม spec เดิมครับ เพียงแต่ขยันเปลี่ยนหน่อยเท่านั้นเอง
8. ก่อนเข้า D ควรเหยียบแป้นเบรกไว้ก่อนหรือไม่?
ก็ ได้ครับ จะเหยียบก็ได้ หรือไม่ต้องก็ได้ ในกรณีที่เหยียบแป้นเบรกไว้ก็เพื่อไม่ให้รถกระตุกในขณะที่เข้า D เท่านั้นเอง หากเป็นรถเก่า เกียร์รุ่นเก่าๆ เวลา On gear จะกระตุกจนตกใจ ก็ควรเหยียบแป้นเบรกให้เป็นนิสัยก่อนเข้า D เพราะเกียร์ AT รุ่นเก่าจะกระตุกมากจนน่ารำคาญ รวมไปถึงเกียร์ AT ที่มีอายุการใช้งานมานมนานหลายปีอาจมีอาการสึกหรอให้เห็นชัดด้ว ยอาการกระตุกอย่างแรงน่ารำคาญ การเหยียบแป้นเบรกเพื่อช่วย On gear ด้วยความนุ่มนวลไว้ก่อนเข้า D ก็เป็นสิ่งที่น่าทำ ส่วนจำเป็นมากน้อยอย่างไรก็แล้วแต่กรณีครับ แต่ผมเหยียบแป้นเบรกจนเป็นนิสัยก็ไม่ลำบากแต่อย่างใดครับ
9. หมั่นสังเกตอาการกระตุกของ AT
ยามใดที่เรารู้สึกว่าเกียร์ AT ที่เราใช้อยู่ทุกวันมันเกิดกระตุกยิ่งกว่าเดิม อย่าวางใจนะครับ ควรพบช่างเพื่อปรับตั้ง "Vacuum Control : VC" ทันที อย่าแกล้งเมิน บางทีอาการกระตุกของ AT จะหายได้ง่ายๆ ด้วยการปรับตั้ง VC เท่านั้นเอง แป๊บเดียวก็เสร็จ
แต่ ถ้าหาก VC ถูกใช้มานานหลายปีดีดักแล้วละก็ สมควรสั่งอะไหล่มาเปลี่ยนใหม่ครับ ไม่ควรซ่อม เพราะชื่อมันก็บอกครับว่าเป็น Vacuum ซึ่งความหมายก็คือ มันทำงานด้วยสุญญากาศเท่านั้น เสียแล้ว เสื่อมแล้ว รั่วแล้วซ่อมไม่ได้ ต้องเปลี่ยนยกชุดของแท้ครับ
แต่หากเปลี่ยน VC ใหม่ยกชุดแล้ว ยังมีอาการ คราวนี้ก็ควรล้างสมองเกียร์ VB ด้วยน้ำยา Flush & Fill สักที หากไม่ปล่อยให้อาการนี้เกิดขึ้นนานจนลำบากยุ่งยากละก็ แค่ล้างด้วยน้ำมัน Flush & Fill เดี๋ยวเดียว ชุด VB สมองเกียร์ ก็สะอาดเอี่ยมอีกครั้ง ไม่กระตุกอีกต่อไปชั่วระยะเวลาอีกนานปี
10. หลังจากสตาร์ทรถเกียร์ AT แล้ว อย่าผละออกจากรถไปที่อื่น !
บางครั้งเจ้าของรถอาจเผลอเข้าตำ แหน่ง D เอาไว้โดยไม่รู้ตัว ลำพังเมื่อเปิด แอร์ เอาไว้ เจ้าอุปกรณ์ Idle UP Speed หรือเรียกกันว่า "Vacuum Air" อาจตัดเอาดื้อๆ เพราะอุณหภูมิความเย็นหนาวของแอร์แต่ละเวลา เย็นเร็วเย็นช้าไม่เท่ากัน ที่ตำแหน่งเกียร์ D บางครั้งเมื่อมีโหลดแอร์ รถเราถูกโหลดด้วยการเปิดแอร์ รถก็อาจจะหยุดนิ่งได้ แต่พอ Vacuum Air ตัด เครื่องยนต์ก็ปลดโหลดแอร์ไปอีกหน่อย รอบเครื่องยนต์เร่งขึ้นเอง ราว 500-700 rpm ก็อาจจะส่งผลโดยตรงให้เกียร์ ON D ทันที รถอาจวิ่งออกไปได้ดื้อๆ
หรือบางทีโรงจอดรถเป็นเนินลาดขึ ้น พอ Vacuum Air ตัด รอบก็เร่ง 500-700 rpm อาจจะทำให้รถวิ่งเองได้ด้วยเกียร์ D ที่เผลอเข้าเอาไว้ เรื่องไม่เป็นเรื่องก็มักเป็นเรื่องพาดหัวหนังสือพิมพ์อยู่บ่อย ๆ ครับ ผมเคยโดนกับตัวคือ เผลอ ON D เอาไว้ แล้วรถมันวิ่งไปเอง! เร็วเสียด้วยครับ ในระดับความเร็วสัก 15 กม./ชม. ปีนฟุตบาทชนรั้วข้างบ้านเฉยเลยครับ ...เฮ้อ...
ข้อมูลจาก
http://www.grandprixgroup.com/gpi/maggrandprix/detail.asp?news_id=461