ถามว่ากี่โลลิตรคงตอบยากเน้อ เพราะราคาแก๊สมันต่างกัน กรุงเทพก็ราคาหนึ่ง วังน้อยก็ราคาหนึ่ง กลางดงก็ราคาหนึ่ง โคราชก็ราคาหนึ่ง ทุกที่ไกลใกล้ราคามันไม่เท่ากัน แต่พอบอกได้ว่า อุบล แม่สาย วิ่งงานด้วยประมาณห้าถึงเจ็ดวัน ไปกลับ วิ่งไปประมาณสองพันสี่ร้อย(เกือบห้า)กว่าโล เติมสามพันหก หารแล้วตกโลละ ๑.๔ บาท อุบลกระบี่ (ตอนนั้นแก๊สยังไม่ขึ้นราคามากเน้อ) ไปกลับ สามพันสามร้อยกิโล เติมไปสี่พันสองร้อย ตกโลละ ๑.๒๗ บาท อุบล โคราช ไปกลับ วิ่งประมาณแปดร้อยโล เติมประมาณ พันหนึ่งร้อยบาท ตกโลละ ๑.๓ บาท
สี่เอเอฟอี โอโต้ ยาง ๑๘๕-๑๔-๖๐ มิกซ์โมดิฟรายนิดหน่อย ขยายเป็น ๓๐ มิล น้ำหนักบรรทุกเกินสามร้อยกิโลทุกเที่ยว ยิ่งเชียงรายเกินห้าร้อยกิโล ความเร็วที่ใช้ร้อยสี่สิบแช่โลด ทางตรงบางครั้งก็จัดร้อยแปดสิบครับ ได้ค่าเฉลี่ยเท่านี้ล่ะ เครื่องยนต์สมบูรณ์ยังรับใช้ไปได้อีกนาน แต่เกียรเริ่มเตือนแล้ว เด๋วจัดปฏิทินใหม่จัดวันว่างซักสองสามวันจัดเต็มให้มันซักที คราวนี้ได้เกียรใหม่(เรา) เก่าเขาประจำการนับอายุหนึ่งใหม่ใช้ยาวๆอีกรอบซักสามสี่แสนกิโลเน้อ
ตอบไม่ยากดอกน้า ถ้าใส่ใจเพิ่ม จดทุกครั้งที่เติมแก็สหลังใบเสร็จ ว่าระยะไมล์ และ ราคา/ลิตร แล้วกลับมาคำนวน ง่ายมาก ไม่งั้นอนาคต แก็สขึ้นราคา ก็จะคิดว่ากินแก็สมากขึ้น ทั้งที่ วัดเป็น กิโล/ลิตรจะได้เท่าเดิมก็ตาม ฉะนั้นการวัด อัตราสิ้นเปลือง ก็วัดกันที่ กิโลเมตร/ลิตร จะแม่นยำที่สุด
อย่างผมไป-กลับ กรุงเทพ-หนองคาย เติมแก็สทุกครั้งจด เลขไมล์และ ราคา/หน่วย ของแก็สที่เติมป๊มนั้นทุกครั้งหลังใบเสร็จ กลับมาคำนวนออกมาเป็นแบบนี้
กรุงเทพ 184649 กลับถึงกรุงเทพ 185938 ลบกันก๊ได้ระยะทาง 1289กิโลเมตร
เติมแก็สไป 137.31ลิตร รวมเป็นเงิน1830 (ราคาแต่ละที่ไม่เท่ากันนะครับ รวมจาดใบเสร็จ)
1. 1289 กิโลเมตร หารด้วย 137.31ลิตร เท่ากับ 9.39 กิโลเมตร/ลิตร
2. 1830 บาท หารด้วย 1289 กิโลเมตรเท่ากับ 1.43 บาท/ลิตร
มีเรื่องน่าคิด ถ้าเอาราคาแก็สในกรุงเทพเป็นหลัก ถ้าเกินจาก กิโลละ 1.5บาท ผมถือว่ากิน เพราะมันจะตก 8-8.5โล/ลิตรเลย
แต่พอดูข้อมูลข้างต้น 9.39โล/ลิตร ก็ไม่กิน ปกติ ถ้าได้เกิน10 ก็ถือว่าประหยัดแล้ว
ฉนั้น การวัดเป็น กิโล/บาท ไม่แม่น ไม่แน่อน
ต้องวัดเป็น กิโล/ลิตร แม่นยำกว่า แน่นอนกว่า
จริงๆแล้วที่ทำมานานหลายสิบปีก็จดบันทึกไว้อย่างละเอียดโดยตลอดครับ ไม่งั้นคงตอบไม่ได้ ที่ตอบเพราะอาศัยจดจำเอาตอบกระทูกันสดๆ หากเอาแบบละเอียดก็ต้องลงไปเปิดดูสมุดบันทึกในรถแต่ละคันครับ เป็นเรื่องรายละเอียดทางลึกผมเลยไม่ได้กล่าวถึง แต่ไหนๆมีการทักท้วงขึ้นมา ก็เลยสื่อให้ฟังให้อ่านหน่อยก็น่าจะเป็นประโยชน์ครับ นอกจากแก๊ส น้ำมัน ที่จดบันทึกในรถแต่ละคัน การดูแลบำรุงรักษาก็จะมีสมุดอีกเล่มจดบันทึกไว้ครับ ว่าได้ทำอะไร เปลี่ยนอะไหล่ชิ้นไหน ซ่อมตรงไหน หรือถ่ายนมค.เมื่อไร ที่ไหน แม้แต่รายรับรายจ่ายทุกวัน ผมยังให้ภรรยาทำบัญชีไว้มาน่าจะเกือบสามสิบปีแล้วครับ ละเอียดขนาดซื้อผักห้าบาทยังลงบัญชีไว้เลยครับ
ส่วนเรื่องจดบันทึกการเติมแก๊ส น้ำมัน ก็ทำแบบนี้ครับ สมมุติ เดินทางไปเชียงราย ถังแรกเติมที่ มหาสารคาม ก็จะจดว่า ๕/๓/๕๖ มหาสารคาม วิ่ง(ตั้งทริปจากครั้งที่แล้ว) ๓๕๐ กิโล เติมเต็มถัง ๕๐๐ บาท ระยะ ๓๗๕๙๐๐ แล้วก็เซ็ทเป็นศูนย์ ไปต่อ พอถึงอุตรดิตถ์ ก็แวะเติมอีกก็จด อุตรดิตถ์ ๕/๓/๕๖ วิ่ง ๔๓๕ กิโล เต็มถัง ๕๕๐ บาทระยะ ๓๗๖๓๓๕ แล้วก็ไปเรื่อยๆในแต่ละทริ๊ปครับ พอกลับมาถึงอุบล ก็เอายอดเติมทั้งหมดมารวม ผมถึงบอกโดยประมาณได้ว่าเท่าที่บอกไงครับ แต่ในทางปฏิบัติที่ทำละเอียดกว่าที่ท่านบอกมาเยอะเลยครับ เพราะผมเป็นคนละเอียดมากๆ จดบันทึกไว้หมด
ยิ่งเจ้าจัมโบ้(ไทยรุ่งดีแม็คแอดแวนเจอร์มาสเตอร์)จะจดละเอียดกว่า มีทริ๊ปเอกะบี เอคือดีเซล บีคือแก๊ส ซึ่งหมดไม่เท่ากัน ดีเซลหนึ่งถังวิ่งได้พันกว่าโลนิดๆ(ดีเซลอย่างเดียว ๖๐๐ โลก็เกลี้ยงถังแล้วครับ) แก๊สหนึ่งถังวิ่งได้ประมาณสามร้อยห้าสิบถึงสี่ร้อยกิโล(ถัง ๓๕ ลิตร) ผมก็ต้องจดว่าถึงที่นี่ สมมุติว่าเติมแก๊ส ก็จะจดวดป. สถานที่ที่เติม แล้วก็วิ่งน้ำมันเท่าไร วิ่งแก๊สเท่าไร เลขไมลเท่าไร ใช้เชื้อเพลิงร่วม ดีเซลบวกแอบพีจี
ขอบคุณครับที่แนะนำ แต่ผมทำอยู่ที่สือบอกก็คือโดยประมาณครับ ระยะทางที่เท่ากัน แต่หากทางเหนือก็มีแต่เขาสลับกับทางราบ และวิ่งบนที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลโดยตลอด แต่หากลงใต้ บาที่ต่ำกว่าลบยี่สิบเมตรครับ เป็นทางราบโดยตลอด การสิ้นเปลือนย่อมต่างกันครับ ผมเลยให้ค่าเฉลี่ยครับเป็นการประมาณ หากจะบอกแบบละเอียด เจ้าเจดีย์สามห่วง ซดประมาณ ๗ ถึง ๑๑ กิโลลิตรครับ เป็นค่าเฉลี่ยนทั้งในมืองและนอกเมืองครับ
ผมทำแบบนี้ก็สะดวกนะครับน้า ทุกครั้งเติมน้ำมัน/แก็ส พกแค่ปากกา ตวัดปากาลงในหลังใบเสร็จทุกคาั้ง 2รายการ 1.เลขไมล์ในตอนนั้น 2. ราคา/หน่วย ของเชื้อเพลิง แล้วพับใบเสร็จเก็บกระเป๋า แค่นั้นเอง จด2รายการ หลังใบเสร็จ
เมื่อถึงบ้าน หรือ จบการเดินทาง เอาใบเสร็จ กรอกมาลงในคอม ใน Excel แล้วเขียนสูตร ให้มันคำนวนเอง ทุกอย่างก็จะออกมาเอง แม่นด้วย ไม่บวกผิดลนถูก
ตัวอย่าง
กุมภาพันธ์
วันที่ เลขไมล์ ซ่อม เงิน แก็ส น้ำมัน ลิตร เงิน ก.ม./ลิตร ก.ม./บาท
1 ก.พ. 13 184,649 คาสตอล 530 12.99 46.19 600.00 8.47 1.53
2 ก.พ. 13 184,801 13.99 17.16 240.00 8.86 1.58 ไป-กลับ หนองคาย
185,077 12.50 28.00 350.00 9.86 1.27
185,313 14.05 27.05 380.00 8.73 1.61
185,715 13.40 40.30 540.00 9.98 1.34
185,938 12.90 24.81 320.00 8.99 1.43 1,830.00
6 ก.พ. 13 186,240 12.90 40.31 520.00 7.49 1.72
7 ก.พ. 13 186,558 12.90 40.31 520.00 7.89 1.64
8 ก.พ. 13 186,972 12.90 47.29 610.00 8.76 1.47
13 ก.พ. 13 187,321 12.97 47.03 610.00 7.42 1.75
15 ก.พ. 13 187,663 12.89 38.79 500.00 8.82 1.46