หลายหน่วยปวดหัวครับ ผมไม่ค่อยสนเท่าไหล่นะ จะมากจะน้อย
Dyno ปกติเค้าไปหาองศาไฟกันตอนจูนอะครับ ว่าดันได้แค่ไหน มันทำให้จูนเนอร์ทำงานง้ายและปลอดภัยกว่ามาเดาบนถนน (ผมกะพี่ที่จูนให้ผมชอบเดาเป็นการส่วนตัวเพราะไม่อยากเสียค่า Dyno เลยจูนถนน อิอิ) ส่วนมากก็เอาไว้ประมาณนี้อะครับ เพราะวัดแต่ละ Dyno ค่าที่ได้ไม่เคยจะเท่ากันเลย เลยไม่ค่อยสนใจว่าไครมากไครน้อยเพราะเวลาจะลองกันจริงๆคือวิ่งจริงรู้เรื่องกว่าครับ กราฟส่วนบางที่ก็วิ่งไม่ดี กราฟกากๆบางทีมันก็วิ่งอร่อยนะ เรื่องพวกนี้ตอบยากครับ
(ปกติที่อาจารย์ผมสอนมานะคือให้ดูที่กราฟแรงบิดครับแล้วค่อยๆดันไฟพร้อมกับแต่งส่วนผสมตามองศาไฟไปเลื่อยๆจนถึงจุดนึงถ้ากราฟแรงบิดมันไม่ขยับขึ้นแล้วให้ลดไฟลงนิดนึงแล้วไปแต่งส่วนผสมในจุดที่ยังไม่ดีให้พอดีครับนี้คือขอดีขอ Dyno)
อ่อ.....คือจะบอกว่าการจูนบน Dyno บางครั้งที่ผมเจอพอมาวิ่งจริงต้องมาลดไฟกันอีกทำให้ไปวัดม้าอีกรอบได้น้อยกว่าจูนรอบแรกอะครับ เลยไม่รู้ว่าอะไรตรงไหนดี
ที่เบสว่ามา ผมเห็นด้วยทั้งหมดเลยนะ ทุก ๆ เรื่องเลย
แต่ Dyno มันทำให้จูนเนอร์ขายงานได้ง่ายนะ เพราะมันเป็นเครื่องมือวัด วิทยาศาสตร์ที่ทุกคนเชื่อถือ การไปพูดด้วย Feeling มันใช้กับลูกค้าระดับที่เล่นรถมาเยอะ ๆ แล้วเท่านั้น แต่ใครจะตีความกราฟบนไดโน่ที่เห็นมันก็เป็นอีกเรื่องนึง
เล่นรถแบบไทย ๆ เวลาไปขึ้น Dyno ต้องดูที่ แรงม้าสูงสุดครับ แรงบิด หรือ ดูว่ากราฟสวยไม่สวยไม่ได้สนใจกันหรอก คือแรงม้าสูงสุดเอาไว้โม้ หรือขายงานได้
ส่วนเวลาดันองศาไฟจุดระเบิดเยอะ ๆ แล้วแรงม้าแรงบิด ได้เยอะเวลาลงถนนต้องจูนลดลงเพราะว่า
โหลดถนนจริงมันหนักกว่าโหลด Dyno ครับพอโหลดเยอะ องศาไฟจุดระเบิดจะเยอะไม่ได้ แรงต้านจากโหลดเยอะ ลูกสูบจะเคลื่อนตัวช้าลง
ไปจูนองศาไฟเยอะ ๆ มันได้แรงดันไม่ดี เลยต้องยอมลดองศาไฟจุดระเบิดลง
บางคนสงสัย เรื่องจูนไฟจุดระเบิดทำไมไม่ใช้ Knock monitor ฟังเสียง Knock เอาล่ะ จะได้รู้ว่าเพิ่มไฟ ok หรือเปล่า
ผมขอตอบแทนเลยครับ กรณีน้ำมัน octance สูง ๆ เช่น E85 เราไม่สามารถจับเสียง knock ได้เลยครับ ในช่วงที่ไฟเริ่มแก่ ไฟต้องแก่มาก ๆ จริง ๆ จึงจะมีเสียง knock คือ E85 ไฟแก่มาก ๆ ยังไงก็ไม่ knock แต่ว่าแรงบิดร่วงลงไปแล้ว
จูนเนอร์ใหม่ ๆ มักจะหลงประเด็นเรื่ององศาไฟกับ E85 เพิ่ม ๆ ๆ ๆ เข้าไปเพราะยังไม่ knock สุดท้ายรถวิ่งไม่ได้เรื่องเพราะองศาไฟจุดเยอะไปนี่ล่ะ