AE. Racing Club
29 พฤศจิกายน 2024 07:10:55 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1] 2 3  »    ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: @@ ประวัติ Corolla และ เครื่องยนต์ รุ่นต่างๆ @@  (อ่าน 75089 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
jod87
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: 22 มิถุนายน 2007 21:48:56 »

......ต้องขออนุญาตนะครับ เนื่องจากเห็น เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ สนใจเกี่ยวกับเรื่อง รุ่น เครื่องยนต์ ปีการผลิต ต่างๆ  ผมได้ไปอ่านที่บอร์ด ของ 11X คลับ เห็นกระทู้นี้ และเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อบอร์ด AE Racing Club ของเรา  จึง ขออนุญาตเจ้าของกระทู้  คุณ sompoat นำความรู้อันนี้  มาเผยแพร่แก่เพื่อนๆสมาชิกได้ทราบ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อไป  ผมนำมาแต่ข้อความ  ถ้าผู้สนใจดูรูปภาพเครื่องยนต์  ก็เปิดไปดูตามลิงค์ข้างล่างนี้ นะคร๊าบบบบบ  Cheesy Cheesy Cheesy  ขอบคุณบอร์ด 11X  อีกครั้ง นะครับ Cheesy Cheesy Cheesy

 http://rcweb.net/forums/showthread.php?t=254581

Toyota Corolla  โคโรลล่า เป็นรถยนต์รุ่นสำคัญที่ทำให้โตโยต้าผงาดขึ้นเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมยานยนต์ ด้วยยอดจำหน่ายกว่า 40 ล้านคันทั่วโลกนับตั้งแต่รุ่นแรก และครองยอดจำหน่ายอันดับ 1 ในประเทศญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่อง

ในเมืองไทยอาจคุ้นเฉพาะชื่อของโคโรลล่าเท่านั้น แต่ในประเทศญี่ปุ่น สายพันธุ์ของโคโรลล่า ยังแตกแขนงออกเป็นรุ่นต่างๆ โดยใช้พื้นฐานและชิ้นส่วนตัวถังร่วมกันในบางจุด เช่น เลวินและทรูโน (คูเป้) และสปรินเตอร์ (คูเป้ / ซีดาน / สเตชันแวกอน)

รุ่นแรก KE10
ย้อนกลับไปในเดือนเมษายน 1966 จากความสำเร็จของนิสสัน ซันนี่ 1,000 ซีซี ในตลาดญี่ปุ่น เย้ายวนให้โตโยต้าสนใจตลาดรถยนต์ครอบครัวราคาถูก และอีก 7 เดือนต่อมาก็เปิดตัวโคโรลล่า รุ่นแรก รหัสตัวถัง KE10 ในแบบ 2 ประตู ส่วนรุ่น 4 ประตูตามมาในเดือนพฤษภาคม 1967 และสเตชันแวกอนในปี 1968

KE10 ใช้เครื่องยนต์รหัส K 4 สูบ OHV 1,070 ซีซี 60 แรงม้า (PS) ที่ 4,000 รอบ/นาที และรุ่น 73 แรงม้า (PS) ที่ 6,600 รอบ/นาที ส่งกำลังด้วยเกียร์ธรรมดา 4 จังหวะ

โคโรลล่าได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว จนต้องเปิดตัวรุ่นคูเป้ รหัสตัวถัง KE15 โดยใช้ชื่อโคโรลล่า สปรินเตอร์

รุ่นที่ 2 KE20
เปิดตัวพฤษภาคม 1970 นับเป็นครั้งแรกที่รุ่นสปรินเตอร์เพิ่มตัวถังซีดานในการทำตลาด นอกจากนั้น ยังเปิดตัวรุ่นคูเป้ จีที ในชื่อ เลวินและทรูโน ในปี 1972 ซึ่งเลวิน-LEVIN มาการรวมคำของ COROLLA+TWINCAM ENGINE

เครื่องยนต์ที่ใช้เป็นรหัส 3K 4 สูบ OHV 1,166 ซีซี 73 แรงม้า (PS) ที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 9.24 กก.-ม. ที่ 3,800 รอบ/นาที จนถึงรุ่นแรงสุด 2T-GR 4 สูบ ทวินแคม 1,588 ซีซี 115 แรงม้า (PS) ที่ 6,400 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 14.5 กก.-ม.ที่ 5,200 รอบ/นาที ซึ่งพัฒนามาจากรหัส 2T-G 110 แรงม้า (PS) และเปลี่ยนมาใช้เกียร์ธรรมดา 5 จังหวะเป็นครั้งแรก

เมื่อสายพันธุ์โคโรลล่า ในประเทศญี่ปุ่นมีการแตกแขนงออกมาหลายรุ่น ทำให้โตโยต้าต้องจัดระบบการจำหน่ายใหม่ ด้วยการตั้งเครือข่ายจำหน่ายใหม่ 2 แห่ง คือ ออโต้ ทำตลาดรุ่นสปรินเตอร์ และ โคโรลล่า (ในญี่ปุ่นเรียกว่าคาโรล่า) สำหรับรุ่นโคโรลล่า และเลวิน

นอกจากนั้น ในเดือนพฤศจิกายน 1974 ไดฮัทสุ บริษัทในเครือโตโยต้า นำโคโรลล่าไปแปลงโฉมและทำตลาดในชื่อ ชาร์มังต์ (หรือรุ่น 1200 และ 1400 ในยุโรป) นับเป็นรถยนต์นั่งรุ่นใหญ่สุดของไดฮัทสุ

รุ่นที่ 3 KE30
เปิดตัวในเดือนเมษายน 1974 ทำตลาดด้วยตัวถัง 2 และ 4 ประตู, คูเป้, ลิฟต์แบ็ก 2 ประตู (ใช้รหัส TE37) และสเตชันแวกอน 3 และ 5 ประตู ที่ตัวถังด้านท้ายมีทั้งแบบกระจกโปร่งและแบบตัวถังทึบไม่มีกระจก ส่วนรุ่นเลวินและทรูโนใช้รหัส TE47

การปรับโฉมมีขึ้นในเดือนมกราคม 1977 เปลี่ยนรหัสของโคโรลล่า คูเป้มาเป็น TE51 และ TE55 ในรุ่นลิฟต์แบ็ก ใช้ขุมพลังรหัส 2T-GEU 4 สูบ ทวินแคม 1,588 ซีซี EFI พร้อมระบบ TTC-C 110 แรงม้า (PS) ที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 14.5 กก.-ม.ที่ 4,800 รอบ/นาที

รุ่นที่ 4 KE70
เป็นโคโรลล่าขับเคลื่อนล้อหลังรุ่นสุดท้าย เปิดตัวในเดือนมีนาคม 1979 ทั้งแบบ 2 และ 4 ประตู ลิฟท์แบ็ก สเตชันแวกอน 3 และ 5 ประตู ส่วนรุ่นเลวินและทรูโน มี 2 ตัวถัง คือ คูเป้ และฮาร์ดท็อปคูเป้


การปรับโฉมของโคโรลล่า จากไฟหน้าทรงกลมแบบ 4 ดวงและแบบสี่เหลี่ยมขนาดเล็ก มาเป็น ไฟหน้าสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ มีขึ้นในเดือนสิงหาคม 1981

เครื่องยนต์ของโคโรลล่าตัวถังนี้มี 4 รุ่น คือ 4K-U 4 สูบ OHV 1,290 ซีซี 72 แรงม้า (PS) ที่ 5,600 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 10.5 กก.-ม.ที่ 3,600 รอบ/นาที รหัส 3A-U 4 สูบ OHC 1,452 ซีซี 80 แรงม้า (PS) ที่ 5,600 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 11.8 กก.-ม.ที่ 3,600 รอบ/นาที รหัส 13T-U 4 สูบ OHV 1,770 ซีซี 95 แรงม้า (PS) ที่ 5,400 รอบ/นาที

ปิดท้ายด้วยรหัส 2T-GEU 4 สูบ ทวินแคม 8 วาล์ว EFI 1,600 ซีซี 115 แรงม้า (PS) ที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 15 กก.-ม.ที่ 4,800 รอบ/นาที ส่งกำลังด้วยเกียร์ธรรมดา 4 และ 5 จังหวะ รวมทั้งแบบอัตโนมัติ 2 และ 3 จังหวะ

รุ่นที่ 5 AE80
เผยโฉมในญี่ปุ่นเมื่อพฤษภาคม 1983 ก่อนส่งเข้าเมืองไทยในปีต่อมา นับเป็นรุ่นที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดอีกรุ่น เช่น ใช้ระบบขับเคลื่อนล้อหน้าเป็นครั้งแรก เครื่องยนต์เปลี่ยนมาเป็นตระกูล A

นอกจากนั้น ยังเพิ่มตัวถังใหม่ๆ เข้ามา เช่น ลิฟต์แบ็ก 5 ประตู และแฮทช์แบ็ก 3 และ 5 ประตู (ใช้ชื่อจำหน่าย FX) เปิดตัวในเดือนตุลาคม 1984 และเป็นครั้งแรกโตโยต้าเพิ่มตัวถังสเตชันแวกอนให้กับรุ่นสปรินเตอร์โดยใช้ชื่อ คาริบ

แม้ว่าโคโรลล่ารุ่นที่ 5 เปลี่ยนมาเป็นแบบขับหน้า แต่รุ่นเลวินและทรูโนรหัสตัวถัง AE86 ยังเป็นแบบขับหลัง ใช้ตัวถังต่างจากรุ่นอื่นๆ และวางขุมพลังพันธุ์แรงบล็อกใหม่รหัส 4A-GEU ทวินแคม 16 วาล์ว 1,587 ซีซี EFI T-VIS 130 แรงม้า (PS) ที่ 6,600 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 15.2 กก.-ม.ที่ 5,200 รอบ/นาที ที่ผลิตโดยยามาฮ่า

ด้วยสมรรถนะแรง ขนาดกะทัดรัด และรูปทรงไม่ล้าสมัย ทำให้ AE86 ยังเป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่นนักเลงรถชาวญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ความแตกต่างทางด้านรูปลักษณ์ระหว่างเลวินและทรูโนในรุ่นนี้ คือ ชุดไฟหน้า โดยทรูโนจะใช้แบบ POP-UP

สำหรับสปรินเตอร์ ซีดาน แม้ยังใช้ชิ้นส่วนหลักร่วมกับโคโรลล่า ซีดาน แต่ด้านท้ายได้รับการออกแบบใหม่หมด และส่งไปทำตลาดสหรัฐอเมริกาในชื่อ เชฟโรเล็ต โนวา

รุ่นที่ 6 AE90
เปิดตัวในเดือนพฤษภาคม 1987 ด้วยซีดาน 4 ประตู แต่รุ่น FX เหลือแค่แฮทช์แบ็ก 3 ประตูเท่านั้นที่ทำตลาดญี่ปุ่น ส่วนรุ่น 5 ประตูส่งไปทำตลาดในยุโรปและโอเซียเนีย

สปรินเตอร์ นอกจากตัวถังซีดานซึ่งในรุ่นนี้ออกแบบจนแตกต่างจากโคโรลล่าแล้ว ยังเพิ่มรุ่นลิฟต์แบ็ก 5 ประตูในชื่อ สปรินเตอร์ เซียโล-CIELO และใช้ชื่อโคโรลล่า ลิฟต์แบ็ก คอนเควสต์ ในตลาดยุโรปและโอเซียเนีย

เลวินและทรูโน (รหัสตัวถัง AE92) เผยโฉมพร้อมกันและเปลี่ยนมาเป็นสปอร์ตขับเคลื่อนล้อหน้า โดยไฟหน้า POP-UP ยังสร้างความแตกต่างให้กับคูเป้ทั้ง 2 รุ่นนี้เหมือนเดิม

ขุมพลังของโคโรลล่ารุ่นนี้มีตั้งแต่รหัส 2E 4 สูบ OHC 12 วาล์ว 1,295 ซีซี 72 แรงม้า (PS) ที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 10.3 กก.-ม.ที่ 4,000 รอบ/นาที ตามด้วยแบบทวินแคม 16 วาล์ว เริ่มจากรหัส 5A-F 1,500 ซีซี คาร์บิวเรเตอร์ 85 แรงม้า (PS) ที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 12.5 กก.-ม.ที่ 3,300 รอบ/นาที และ 94 แรงม้า (PS) ที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 13.1 กก.-ม.ที่ 4,400 รอบ/นาทีสำหรับรุ่นหัวฉีด EFI (5A-FE)

5A FE

4A FE

รหัส 4A-G 1,587 ซีซี 120 แรงม้า (PS) ที่ 6,600 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 14.5 กก.-ม.ที่ 5,200 รอบ/นาที แต่เมื่อเพิ่มซูเปอร์ชาร์จในรุ่น 4A-GZE กำลังสูงสุดจะเพิ่มเป็น 145 แรงม้า (PS) ที่ 6,400 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 19 กก.-ม.ที่ 4,400 รอบ/นาที

นอกจากนั้น ยังส่งสปรินเตอร์ ซีดานไปจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาในชื่อ จีโอ พริซึม ยี่ห้อใหม่ของเจนเนอรัล มอเตอร์สที่แยกตัวออกจากเชฟโรเล็ต

ในเมืองไทย เปิดตัวเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 1987 เด่นด้วยเทคโนโลยีเครื่องยนต์ 16 วาล์ว เป็นรายแรกในเมืองไทย ใช้เครื่องยนต์ 2E และ 4A-F 16 วาล์ว 1,587 ซีซี 94 แรงม้า (PS) ที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 13.0 กก.-ม.ที่ 4,000 รอบ/นาที

รวมทั้งรุ่น SPORTY ที่เปลี่ยนคาร์บิวเรเตอร์ของเครื่องยนต์ 4A-F มาเป็นเวบเบอร์ ท่อคู่ดูดข้าง 106 แรงม้า (PS) ที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 14.9 กก.-ม.ที่ 4,200 รอบ/นาที

การปรับโฉมมีขึ้นในเดือนมีนาคม 1990 และเพิ่มรุ่นเกียร์อัตโนมัติ และ GTi ขุมพลัง 4A-GE 130.5 แรงม้า (PS) ที่ 7,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 14.8 กก.-ม.ที่ 6,000 รอบ/นาที

4A GE


4A GZE

รุ่นที่ 7 AE100
เปิดตัวในเดือนมิถุนายน 1991 ด้วยตัวถังซีดาน พร้อมกับเปิดตัวพี่น้องร่วมสายพันธุ์โคโรลล่า เช่น รุ่นสปรินเตอร์ ที่มีความแตกต่างในด้านรูปลักษณ์อย่างชัดเจน และปิดท้ายด้วยรุ่นแฮทช์แบ็ก 3ประตู FX ฮาร์ดท็อป 4 ประตูในชื่อโคโรลล่า เซเรส, สปรินเตอร์ มาริโน และโคโรลล่า ทัวริ่งแวกอน ในปี 1992

นับเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวที่ขุมพลัง 5 วาล์ว/สูบ รหัส 4A-GE 4 สูบ ทวินแคม 20 วาล์ว 1,600 ซีซี 160 แรงม้า (PS) ที่ 7,400 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 16.5 กก.-ม.ที่ 5,200 รอบ/นาที ออกสู่ตลาด

กลางปี 1998 ด้วยสาเหตุที่ความนิยลดต่ำลง ทำให้โคโรลล่า เซเรส, สปรินเตอร์ มาริโน และ FX ถูกปลดออกจากสายการผลิต และยุติการทำตลาดในไตรมาสที่ 3 ของปีเดียวกัน และเหลือรุ่น FX ไว้ทำตลาดต่างประเทศเท่านั้น

เลวินและทรูโน รหัสตัวถัง AE101 ออกสู่ตลาดในเดือนมิถุนายน 1991 และรุ่นสูงสุดใช้ ขุมพลัง 4A-GE ทวินแคม 16 วาล์ว พ่วงกับซุปเปอร์ชาร์จ 170 แรงม้า (PS)

ในเมืองไทย โคโรลล่ารุ่นนี้ สร้างปรากฎการณ์ทันทีที่เปิดตัวเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 1992 ด้วยยอดจองผ่านหลัก 10,000 คันอย่างรวดเร็ว จนโรงงานผลิตไม่ทันกับความต้องการ ทำให้โตโยต้าต้องนำเข้ารุ่น LX-LIMITED จากญี่ปุ่นจำนวน 1,000 คันมาแก้ปัญหานี้ โดยต้องเพิ่มราคาอีก 5,000 บาท การปรับโฉมไมเนอร์เชนจ์มีขึ้นกลางปี 1994 และเพิ่มรุ่น 1,300 ซีซี เกียร์อัตโนมัติ พร้อมรุ่นตกแต่งพิเศษสีเขียวในชื่อ LIME เพียง 300 คันเท่านั้น

4A GE 20 V.
 
4E FE

รุ่นที่ 8 AE110
เผยโฉมในเดือนพฤษภาคม 1995 แต่ก็ได้รับเสียงวิจารณ์จากลูกค้าและสื่อมวลชนในประเทศอย่างมากถึงการลดต้นทุนด้วยการใช้ชิ้นส่วนร่วมกับรุ่นเดิมมากถึง 40%

โคโรลล่ารุ่นที่ 8 ยังมีทางเลือกตัวถังที่มากมาย ทั้งแบบซีดาน คูเป้ และลิฟต์แบ็ก 3 และ 5 ประตู รวมถึงรุ่นเลวินและทรูโน (AE111) และเป็นครั้งแรกที่โคโรลล่ามีตัวถัง มินิ MPV ออกมาให้เลือกในชื่อ โคโรลล่า สปาซิโอ

โคโรลล่า รุ่นนี้เป็นรุ่นสุดท้ายที่ใช้ขุมพลังรหัส A โดยรุ่นที่ทำตลาด คือ รหัส 4E-FE 1,331 ซีซี 85 แรงม้า (PS), 5A-FE 1,498 ซีซี 100 แรงม้า (PS), 4A-FE 1,587 ซีซี 115 แรงม้า (PS) แรงสุดด้วยรหัส 4A-GE 4 สูบ ทวินแคม 20 วาล์ว 1,587 ซีซี 165 แรงม้า (PS) รวมทั้งดีเซล 3C-E 4 สูบ 2,184 ซีซี 79 แรงม้า (PS)

แม้ขุมพลังของโคโรลล่าในตลาดทั่วโลกยังเป็นรหัส A แต่เวอร์ชันสหรัฐอเมริกา วางเครื่องยนต์ 1ZZ-FE พร้อมระบบวาลว์แปรผัน VVT-i มาตั้งแต่ปี 1998 ก่อนที่ตลาดยุโรปจะได้สัมผัส เครื่องยนต์ ZZ ในรุ่นปรับโฉมของโคโรลล่าเมื่อต้นปีนี้

สำหรับเมืองไทย AE112 ซีดาน เปิดตัวในเดือนกุมภาพันธ์ 1996 และมีการปรับโฉมทุกปี เช่น โคโรลล่า ซาลูน ในปี 1997 ตามด้วยรุ่นพิเศษฉลองยอดผลิตรถยนต์ในเมืองไทยครบ 1 ล้านคันด้วยตัวถังสีดำเพียง 300 คัน รุ่นลิมิเต็ด ใช้สีเขียวเป็นสีตัวถัง รุ่นปรับโฉมครั้งใหญ่ โคโรลล่า ไฮทอร์คเพิ่ม ขุมพลังรหัส 7A-FE 1,800 ซีซี ในปี 1998 โคโรลล่า อัลทิส 1,800 ซีซี ในปี 1999 ปิดท้ายกับ อัลทิส ไฟท้ายยุโรปพร้อมรุ่น 1,600 ซีซีเมื่อต้นปี 2000

5E FE
 
7A FE

Toyota New Corolla Altis
โตโยต้า โคโรลล่า อัลติส โฉมใหม่-โมเดลเชนจ์ เปิดตัวพร้อมมิติภายนอกและภายในที่ขยายใหญ่ขึ้น เทียบชั้นรถยนต์ขนาดกลาง อัดแน่นด้วยเทคโนโลยีทันสมัย ขับเคลื่อนด้วยขุมพลังใหม่บล็อก ZZ 1.6 และ 1.8

ภายนอกเด่นด้วยไฟหน้าแบบมัลติรีเฟล็กเตอร์และกระจังโครเมียมแบบซี่ตั้ง (1.6J เป็นซี่นอน) รุ่น 1.8 ติดตั้งสปอตไลต์ทรงเฉี่ยวในกันชน ด้านข้างหรูด้วยชุดที่เปิดประตูชุบโครเมียม (1.6J สีเดียวกับตัวถัง) และคิ้วโครเมียมล้อมรอบกระจกหน้าและหน้าต่าง (1.6J สีดำ) รุ่น 1.6J ให้ล้อแม็กลาย 4 ก้าน ขนาด 6 x 14 นิ้ว ยางขนาด 185/70 R14 รุ่น 1.6E และ 1.8 ให้ล้อแม็กลาย 6 ก้าน ขนาด 6 x 15 นิ้ว ยางขนาด 195/60 R15

SPECIFICATION
ซีดาน 4 ประตู
เครื่องยนต์ 4 สูบ ทวินแคม 16 วาล์ว VVT-i
1,794 ซีซี
กระบอกสูบ x ช่วงชัก 79.0 X 91.5 มม.
อัตราส่วนการอัด 10.0 : 1
136 แรงม้า (PS) ที่ 6,000 รอบ/นาที
แรงบิดสูงสุด 17.4 กก.-ม.ที่ 4,200 รอบ/นาที
ระบบส่งกำลัง ธรรมดา 5 จังหวะ / อัตโนมัติ 4 จังหวะ
ระบบขับเคลื่อน ล้อหน้า
ระบบกันสะเทือนหน้า สตรัตพร้อมคอยล์สปริง
หลัง ทอร์ชั่นบีม

ไฟท้ายแบบมัลติรีเฟล็กเตอร์แบ่งเป็น 2 ส่วน ด้านนอกติดกับตัวถังเป็นไฟเลี้ยวและไฟเบรก ด้านในติดตั้งในฝากระโปรง ฝั่งซ้ายเป็นไฟถอยหลัง ฝั่งขวาเป็นไฟตัดหมอก ปลายท่อไอเสียงุ้มซ่อนหลังกันชน

ภายในรุ่น 1.6J สะดวกสบายด้วยพวงมาลัยยูรีเธน 4 ก้านมีถุงลมนิรภัยพร้อมเพาเวอร์, กระจกไฟฟ้า, กระจกมองข้างปรับด้วยมือจากภายใน, เซ็นทรัลล็อก, ที่ปัดน้ำฝนทำงานเป็นจังหวะร่วมกับที่ฉีดน้ำ, กล่องเก็บของระหว่างเบาะหน้า, ที่วางแก้วน้ำด้านหน้า, เบาะนั่งกำมะหยี่, เสียงเตือนเมื่อลืมกุญแจและลืมปิดไฟหน้า, แอร์แบบปุ่มกดควบคุมด้วยไฟฟ้า และวิทยุเทปแบบ 1 DIN พร้อมลำโพง 4 ตัว และเสาอากาศที่เสาหน้า

ปลอดภัยด้วยกระจกหน้าแบบอัดซ้อนนิรภัย เข็มขัดนิรภัย 3 จุด 4 ตำแหน่ง และ 2 จุด 1 ตำแหน่ง ด้านหน้าปรับระดับได้, ถุงลมนิรภัยฝั่งผู้ขับ, กระจกข้างแบบป้องกันการหนีบ JAM PROTECTION, โครงสร้างภายในแบบครีบ HEAD IMPACT PROTECTION STRUCTURE กระจายแรงกระแทกจากการชน, เบาะนั่งระบบ WIL-WHIPLASH INJURY LESSENING ป้องกันการบาดเจ็บที่กระดูกต้นคอจากการชนด้านหลัง, แป้นเหยียบออกแบบให้ยุบตัวได้ ลดการบาดเจ็บบริเวณเท้า และไฟเบรกดวงที่ 3

1.6E พวงมาลัยเป็นแบบหุ้มหนัง, กล่องเก็บของระหว่างเบาะหน้าแบบ 2 ชั้น, เพิ่มไฟส่องแผนที่นั่งด้านหน้า, ที่ปัดน้ำฝนแบบตั้งเวลาได้, กระจกมองข้างปรับและพับเก็บด้วยไฟฟ้า, เสาอากาศฝังในกระจกหลัง

1.8E แอร์เป็นแบบอัตโนมัติดิจิตอล, มาตรวัดแบบ OPTITRON สีขาว ปรับความสว่างได้, วิทยุเทป ซีดี 6 แผ่นแบบ 2 DIN พร้อมลำโพง 6 ตัว, ระบบปิดไฟหน้าอัตโนมัติ, ที่วางแก้วน้ำด้านหลัง, เบาะหลังพับได้แบบ 60 : 40, ม่านบังแดดหลัง, กระจกหน้าเพิ่ม TOP SHADE เพิ่มความปลอดภัยด้วยถุงลมนิรภัยคู่ สำหรับผู้โดยสารด้านหน้า

รุ่น 1.8G เพิ่มไฟมาตรวัด OPTITRON 3 สี คือ ขาว เหลือง และฟ้า, เปลี่ยนพวงมาลัยเป็นแบบหนังสลับลายไม้, เบาะหนัง, เพิ่มระบบ TVSS-TOYOTA VEHICLE SECURITY CONTROL พร้อมรีโมตคอนโทรล และระบบอิมโมบิไลเซอร์ ตรวจสอบ ID CODE ของกุญแจเครื่องยนต์ใหม่ 2 ระดับความแรง รุ่น 1.6 เป็นบล็อก 3ZZ-FE แบบเบนซิน 4 สูบ ทวินแคม 16 วาล์ว VVT-i ความจุ 1,598 ซีซี กำลังสูงสุด 110 แรงม้า (PS) ที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 15.28 กก.-ม. ที่ 3,800 รอบ/นาที ส่งกำลังผ่านเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ หรืออัตโนมัติ 4 จังหวะ 4 ECT

1ZZ FE

2ZZ GE

รุ่น 1.8 เป็นบล็อก 1ZZ-FE มีความจุ 1,794 ซีซี กำลังสูงสุด 136 แรงม้า (PS) ที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 17.42 กก.-ม. ที่ 4,200 รอบ/นาที มีเฉพาะเกียร์อัตโนมัติ 4 จังหวะ SUPER ECT

ระบบบังคับเลี้ยวแบบแร็กแอนด์พิเนียนพร้อมเพาเวอร์ ระบบกันสะเทือนหน้าแบบแม็กเฟอร์สันสตรัตพร้อมเหล็กกันโคลง ด้านหลังแบบ ETA BEAM พร้อมเหล็กกันโคลง รุ่น 1.8 มีระบบ VSC-VEHICLE STABILITY CONTROL ช่วยการยึดเกาะขณะเข้าโค้ง และ TRC-TRACTION CONTROL ป้องกันล้อหมุนฟรี ระบบเบรกแบบดิสก์ 4 ล้อ (1.6J ดรัมเบรกหลัง) ทุกรุ่นมีเอบีเอสป้องกันล้อล็อก อีบีดีกระจายแรงเบรก และเบรกแอสซิสเพิ่มแรงเบรก ช่วยลดระยะเบรก 10-15 เปอร์เซ็นต์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 มิถุนายน 2007 11:51:12 โดย jod87 » บันทึกการเข้า
AKE naja
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: 24 มิถุนายน 2007 15:21:11 »

ขอบคุณมากครับ พี่จ๊อด.. แหล่มเลยๆๆ จ๊าบจิงๆๆ อิอิ Cheesy Cheesy
บันทึกการเข้า
หนุ่ย @ peerachet_ae5219
มือเก่าหัดแข่ง
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 187


BLACK STRAWBERRY TEAM No.008


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 24 มิถุนายน 2007 15:25:40 »

รายละเอียดเยอะดีครับ.......... Smiley Smiley Smiley
บันทึกการเข้า

benz 92
มือเก่าหัดแข่ง
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 212



ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 25 มิถุนายน 2007 19:53:34 »

ข้อมูล ดีมากๆๆ
บันทึกการเข้า
JawZ
นักแข่งมือสมัครเล่น
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 273


จ๋อครับ ^_^


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 26 มิถุนายน 2007 12:27:31 »

ข้อมูลอมตะนิรันด์กาล +1 ให้เลยครับ
บันทึกการเข้า


ของทุกอย่างในญีปุ่น เราขนมาให้ท่านได้
IT-SYSTEM
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #5 เมื่อ: 26 มิถุนายน 2007 14:52:37 »

สำหรับรถยนต์โตโยต้า รุ่นโคโรลล่า หรือรุ่นสามห่วงนี้ จะมีอยู่ด้วยกันทั้งหมดมากมายหลายเวอร์ชั่นด้วยกัน ทั้งรุ่น GXi, DXi, GL, GLi, LIMITED โอ๊ย! สารพัดสารพันที่จะไล่กันได้ครบทุกรุ่น แม้ว่าจะพยายามเสาะหาข้อมูลของรถรุ่นนี้ไปตามสถานที่ที่ผมพอจะสอบถามได้ ก็จะกลายเป็นว่าทางสถานที่ที่บอกไปนั้น ได้โละทิ้งข้อมูลเก่าๆ กันไปเกือบหมดแล้ว ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะให้ตนเองนั้นอยู่ในมาตรฐานของ ISO 9002 คือเขาจะมีการโละเอาเอกสารเก่าๆ ทิ้งกันทุก 4 ปี จึงทำให้เราไม่สามารถเสาะหาข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับรถรุ่นนี้ได้มากมายแบบหมดเปลือก อุ๊ย...ตายแล้ว...ของบางอย่างก็เก็บไว้บ้างก็ได้นะฮ้าคุณพี่ เพราะมันยังมีคุณค่าต่อบุคคลรุ่นหลังๆ อย่างมากมาย เมื่อก่อนตัวผมเองก็ติดใจเรื่องนี้อยู่นิดนึงก็คือ ทำไมเจ้าตัวอักษรภาษาอังกฤษ 3-4 ตัวนี้ มันถึงได้มีอิทธิพลต่อความคิดของคนไทยนัก ทั้ง ๆ ที่บ้านเรานั้นมันมีหลายๆ สิ่ง หลายๆ อย่าง มีความแตกต่างจากประเทศของเขามาก อย่าหาว่าผมเป็นคนขวางโลกหรือไอ้เข้ขวางคลองเลยครับ เพราะเดี๋ยวนี้ไม่ว่าเราจะเดินทางไปที่ไหนก็ตาม มักจะเจอแต่ป้ายรับรองมาตรฐานต่างๆ มากมายด้วยกัน ว่าสถานที่แห่งนั้นได้ ISO เท่านั้นเท่านี้ โรงงานนี้ได้ ISO สองล้านแปดแสน โรงพยาบาลนั้นได้ ISO เจ็ดหมื่นหก ตลาดสด โรงแรม โอ๊ย!จิปาถะ หรือแม้กระทั่งโรงเรียนอนุบาลยังต้องมี ISO กันเลย เอากับเขาซีครับ! โรงเรียนอนุบาล? เฮ้อ คิดแล้วท้อใจยังไงก็ม่ายรู้ บอกไม่ถูก แล้วยิ่งในช่วงนี้มีการประชุม APEC ภายในประเทศของเรา หมัดแรกก็โดนกันแล้วครับ จับหมาจรจัดเพื่อต้อนรับการประชุมเอเปค !! เท่านั้นยังไม่พอ ยังตามมาถึง "คนจรจัด" ที่อาศัยอยู่ตามสถานที่ต่างๆ ต่อด้วยการทำท้องถนนให้สะอาด และความพยายามที่จะให้การจราจรในช่วงที่มีการประชุมนั้น ไม่แออัดยัดเยียดเหมือนที่เราต้องทนเจอทุกวัน และอีกสารพัดปัญหาที่พยายามจะทำให้มัน(ดู)ดีขึ้น ตัวผมเองไม่ได้มีอคติกับเรื่องนี้นะครับ เพราะถ้าหากว่าเรื่องไหนที่มันดีๆ ล่ะก็ มันน่าจะสนับสนุนกันเต็มที่อยู่แล้วใช่ไหมล่ะ แล้วจริงๆ มันก็ไม่ได้เกี่ยวกับอาชีพของผมโดยตรงนัก แต่เพราะผมเป็นคนไทย 100% ถึงได้ทักท้วงในสิ่งที่เห็น และต้องมีส่วนในการรับผิดชอบเมืองไทยนี้ด้วยเช่นกัน แม้จะเป็นเพียงกระบอกเสียงส่วนเล็กๆ ก็ตาม และจากที่ดูๆ ไปแล้ว ไอ้วิธีการทำแบบเนี้ย มันเหมือนกับการ "แก้ผ้าเอาหน้ารอด" ไปทีนึง แขกบ้านแขกเมืองหรือว่าใครมาเยือนกันครั้งนึง ก็ต้องรีบทำกันเพื่อความเป็นหน้าเป็นตาของประเทศ ไม่เห็นว่าใครจะมีทีท่าที่จะเข้ามาจัดการ หรือแก้ไขปัญหานั้นๆ อย่างจริงจังเต็มที่ซะที ขอบอกเลยนะครับว่า ไอ้ข่าวการจับหมาจรจัด เพื่อต้อนรับการประชุมทูตการค้าของบ้านเราเนี้ย มันเป็นข่าวดังไปเกือบทั่วโลกเลยนะครับ ยังไงก็ขอให้ทำกันแบบตลอดรอดฝั่งนะครับ?เจ้านาย อย่าให้ประชาชนต้องเสียใจกับการสร้างภาพ(พจน์ที่ดี)ครั้งยิ่งใหญ่นี้เลย?สาธุ!


 

     แต่เอาเถอะ! ไม่ว่าใครจะเป็นยังไงก็ตามที ผมก็ยังพอที่จะตามหาข้อมูลของเจ้าสามห่วงนี้ได้บ้าง แต่ผมขออนุญาตไม่บอกถึงรายละเอียดกันแบบยิบย่อย เพราะว่าคุณๆผู้อ่านจะเกิดอาการพิศวง-งงงวยกันไปซะก่อน เพราะว่าเจ้ารถรุ่นเนี้ยมันแตกรุ่นสาขาเยอะแยะไปหมด แม้แต่ตัวผมเองก็แทบลมจับ (ในห้องน้ำ) อยู่หลายครั้ง เมื่อต้องนั่งเรียบเรียงค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับรถรุ่นนี้ ถ้านับดูกันแบบคร่าวๆ มันก็ฟาดไปประมาณ 10 รุ่นกันแล้ว ซึ่งตัวถังของรถรุ่นนี้จะแบ่งออกเป็น 3 รุ่นใหญ่ๆ คือ ตัวถังรหัส EE 100, EE 101 และ AE 101 โดยทางโรงงานจะแบ่งตัวถังไปตามรหัสหน้าคือ รหัส E คือ EE และรหัส A คือ AE ซึ่งเจ้าสามห่วงที่ได้ออกมาจำหน่ายกันเป็นตัวแรกนั้น จะเป็นตัวถัง EE 100 ไล่กันตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 เป็นต้นมา ซึ่งจะมีแค่เฉพาะเครื่องยนต์ขนาด 1,295 ซี.ซี. หรือ 1.3 ลิตร ในรหัส 2E-L ที่จะเป็นการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงด้วยคาร์บูเรเตอร์เท่านั้น


TECH SPEC
2E-L คาร์บูเรเตอร์   
ขนาดความจุกระบอกสูบ 1,295 ซี.ซี.
ความกว้างกระบอกสูบ 73.0 มม.
ช่วงชักกระบอกสูบ 77.4 มม.
ความดันในกระบอกสูบ 13.0 บาร์
กำลังสูงสุด 73.7 แรงม้า ที่ 6,200 รอบ/นาที
แรงบิดสูงสุด 10.3 กก.-ม. ที่ 4,200 รอบ/นาที
 

     หลังจากนั้นไม่นาน ทางโรงงานก็ได้เข็นเอาเจ้าสามห่วงออกมาจำหน่ายกันอีกครั้งหนึ่ง โดยได้ใช้ชื่อรหัสตัวถังว่า EE 101 พร้อมกับได้เปลี่ยนเครื่องยนต์กันใหม่ มาเป็นเครื่องยนต์แบบหัวฉีดอิเล็กทรอนิกส์ EFI ที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ TCCS ในชื่อรหัส 4E-FE แทนเครื่องยนต์แบบคาร์บูเรเตอร์ รหัส 2E ที่ได้เคยใช้อยู่ในตอนแรก แต่จะยังคงปริมาตรหรือความจุกระบอกสูบไว้ที่ 1.3 ลิตรเหมือนเดิม


TECH SPEC
4E-FE แบบ DOHC 16 VALVE
ขนาดความจุกระบอกสูบ 1,331 ซี.ซี.
ความกว้างกระบอกสูบ 74.0 มม.
ช่วงชักกระบอกสูบ 77.4 มม.
อัตราส่วนกำลังอัด 9.8 ต่อ 1
กำลังสูงสุด 88.4 แรงม้า ที่ 6,000 รอบ/นาที
แรงบิดสูงสุด 11.3 กก.-ม. ที่ 5,200 รอบ/นาที
 

     ด้วยความที่สามห่วงเป็นรถยนต์นั่งขนาดเล็ก ที่มีประสิทธิภาพเกินตัวทั้งเรื่องสมรรถนะและความแรง(ในยุคนั้น) แบบที่คู่แข่งมองค้อนควับกันเกือบทุกครั้ง หากว่ามีการขยับเขยื้อนตัวในตลาดรถยนต์ในบ้านเรา จึงทำให้หลังจากที่จัดจำหน่าย EE 101 กันมาได้ระยะหนึ่ง ทางผู้ผลิตก็ได้ผลักดันสามห่วงในรหัสตัวถัง AE 101 ออกมาจำหน่ายในท้องตลาดรถยนต์บ้านเรากันอีกครั้งหนึ่ง แต่จะเป็นการเปลี่ยนแปลงเครื่องยนต์ที่ใช้กันครั้งใหญ่ โดยได้เลือกใช้เครื่องยนต์ความจุขนาด 1,587 ซี.ซี. หรือ 1.6 ลิตร ที่จะมีชื่อรหัสเครื่องยนต์ว่า 4A-FE แทนเครื่องยนต์ขนาด 1.3 ลิตรของเดิม ซึ่งรูปแบบการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์รุ่นนี้ ก็จะเป็นแบบหัวฉีดอิเล็กทรอนิกส์ EFI เหมือนกับเครื่อง 1.3 ลิตร


TECH SPEC
4E-FE แบบ DOHC 16 VALVE
ขนาดความจุกระบอกสูบ 1,587 ซี.ซี.
ความกว้างกระบอกสูบ 81.0 มม.
ช่วงชักกระบอกสูบ 77.4 มม.
อัตราส่วนกำลังอัด 9.5 ต่อ 1
กำลังสูงสุด 110 แรงม้า ที่ 6,000 รอบ/นาที
แรงบิดสูงสุด 14.5 ก.ก.-ม. ที่ 4,600 รอบ/นาที
ระบบจ่ายเชื้อเพลิงแบบ หัวฉีดอิเล็กทรอนิกส์ EFI ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ TCCS
 

     อย่างที่ผมได้บอกไปในตอนต้นว่า รถยนต์รุ่นโคโรลล่า หรือว่าเจ้าสามห่วงนี้ได้ถูกทางโรงงานแต่งองค์ทรงเครื่องออกมาจำหน่ายกันมากมายหลายรุ่น ซึ่งถ้าหากว่าเราอยากจะมองถึงความแตกต่างกันนั้น ก็คงจะดูและเรียบเรียงรุ่นกันได้ยากสักหน่อย แต่เท่าที่ตัวผมเซาะหาข้อมูลของเจ้าสามห่วงมาได้นั้น มันก็จะมีความแตกต่างกันหลายๆ จุดด้วยกัน อย่างเช่น ถ้าเป็นตัวถังภายนอก เราจะสามารถสังเกตความแตกต่างของรุ่นนี้ได้จากส่วนต่างๆ เริ่มจาก ตัวถังรหัส EE ถ้าเป็น EE 100 ที่ใช้เครื่องยนต์แบบคาร์บูเรเตอร์นั้น จะมีแผงไฟทับทิมด้านหลังเป็นแบบพลาสติก ภายในห้องโดยสารนั้นก็จะไม่ค่อยมีอุปกรณ์เสริมอะไรกันนัก ที่แผงหน้าปัดก็จะไม่มีมาตรวัดรอบเครื่องยนต์ พวงมาลัยเป็นแบบสองก้านธรรมดาไม่มีเพาเวอร์เข้ามาช่วย เบาะที่นั่งนั้นจะเป็นแบบหนังเทียม กันชนด้านหน้า-หลังนั้นจะเป็นสีดำ ล้อที่ใช้จะเป็นล้อขอบ 13 นิ้ว ควบคู่ไปกับยางขนาด 165/70 (ความสูงของยาง 607 มม.) ทั้งสี่ล้อ ซึ่งถ้าหากว่าเป็นรุ่น AE 101 นั้น จะประกอบไปด้วย มาตรวัดรอบเครื่องยนต์ พวงมาลัยเพาเวอร์แบบสามก้าน เบาะกำมะหยี่ กระจกไฟฟ้า เซ็นทรัลล็อก กันชนหน้า-หลัง สีเดียวกับตัวรถ และใช้ยางที่มีขนาดกว้างขึ้นคือ 175/70 ความสูงของยางที่ใช้นั้นก็คือ 590 มม. จึงทำให้รุ่นนี้มีความเตี้ยกว่าตัวถังรุ่น EE เล็กน้อย แต่ก็ยังใช้ขนาดล้อเท่าเดิมคือ 13 นิ้ว แต่ถ้าเป็นตัวถัง EE 101 ที่ใช้เครื่องยนต์แบบหัวฉีดนั้น จะมีแผงทับทิมด้านหลังที่แตกต่างกันออกไป คือจะไปเหมือนกับตัวถังรหัส AE 101 แทน ซึ่งจะเลือกใช้วัสดุอีกประเภทหนึ่งแทนพลาสติกธรรมดา

     หากลองนับๆ อายุดูกันตั้งแต่สามห่วงรุ่นแรกแล้วนั้น มันก็มีอายุอยู่ในระดับที่เกิน 10 ปีกันแล้ว และจากสเป็กข้อมูลเครื่องยนต์ที่ได้มานั้นจะพบว่า เครื่องยนต์ก็ไม่ได้มีพละกำลังที่มากมายอะไรกันนักหนาเลย ไม่ว่าจะเป็นเครื่องยนต์ของเจ้าสามห่วงรุ่นไหนก็ตามที ดังนั้นการปรับปรุงให้สมรรถนะดีขึ้นจึงเป็นเรื่องธรรมดา ซึ่งส่วนใหญ่มักจะมุ่งตรงไปที่เรื่องของเครื่องยนต์กันก่อน สำหรับตัวเลือกนั้นก็มีให้เราสามารถเลือกใช้ได้มากมาย โดยเฉพาะเครื่องยนต์จากในค่ายเดียวกันคือโตโยต้า ไล่ตั้งแต่ เครื่องยนต์บล็อกหรือตระกูล E ทั้งหลาย เริ่มจาก 2E, 3E, 4E ไปจนถึง 5E รุ่นต่อมาก็จะเป็นเครื่องยนต์ตระกูล A ต่างๆ และเท่าที่ดูนั้น เครื่องยนต์ที่เหมาะสมที่สุด คงจะหนีไม่พ้นเครื่องยนต์ 4A ในรหัสต่างๆ ซึ่งมันจะมีข้อดีประการหนึ่งสำหรับตัวถังรุ่นสามห่วงนี้ คือบริเวณจุดยึดเครื่องตรงด้านหัวเครื่องยนต์นั้น ทางโรงงานได้สร้างรูเพื่อยึดแท่นเครื่องยนต์ (หัวเครื่อง) เผื่อมาให้เรากันอีกจุดหรือรูหนึ่งแล้ว จึงทำให้การดัดแปลงเอาเครื่องยนต์ตระกูล A ลงไปในตัวถัง E นั้น เป็นเรื่องที่ง่ายดายกว่าที่หลายคนคิดเอาไว้ ซึ่งแน่นอนเลยว่าจุดยึดนั้นๆ จะมีความแข็งแรงอยู่ในระดับดี เพราะได้ถูกออกแบบมาให้เผื่อการวางเครื่องใหม่เช่นกัน และสำหรับเครื่องยนต์ตัวเลือกสุดท้ายของความน่าจะเป็น ก็คือเครื่องยนต์ขนาดความจุ 2.0 ลิตรในรหัส 3S-GTE ทั้งนี้ก็เพราะว่าเครื่องยนต์ในตระกูลหรือว่ารหัสเดียวกันนี้ จะเป็นเครื่องยนต์ที่มีกำลังมากที่สุดแล้ว ในบรรดาเครื่องยนต์ตัวเลือกทั้งหมด คือจะอยู่ในระดับที่กว่า 200 แรงม้าขึ้นไปทั้งนั้น แต่ไม่ได้หมายความว่าเราไม่สามารถเลือกใช้เครื่องยนต์ที่มาจากค่ายรถยนต์อื่นๆ กันได้เลยนะครับ เพียงแต่เครื่องยนต์จากค่ายโตโยต้านั้นจะเหมาะกว่าหลายเรื่อง เช่น จุดยึดแท่นเครื่อง-แท่นเกียร์ต่างๆ ที่ไม่ต้องดัดแปลงอะไรกันมากนัก สมรรถนะที่ได้กลับมาภายหลังจากวางเครื่องเสร็จ ก็จะได้ออกมาใกล้เคียงกับสเป็กโรงงานมาก รวมไปถึงเรื่องอะไหล่ต่างๆ เวลาไปซื้อ ในเดือนนี้เรามีโคโรลล่าที่เลือกใช้เครื่องยนต์แบบต่างๆ มาให้กับคุณๆ ผู้อ่านทุกท่านที่ใช้สามห่วงรุ่นนี้อยู่ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงรถตัวเองให้ดี
บันทึกการเข้า
IT-SYSTEM
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #6 เมื่อ: 26 มิถุนายน 2007 14:53:17 »

4A-GZE SET TURBO 203 hp @ 15.81 sec.
      เรามาเริ่มกันที่สามห่วงคันแรกของ "แบงค์" หรือ อุกฤษฎ์ สร้อยระย้า โดยจะเป็นการเลือกใช้เครื่องยนต์ใหม่ ในรหัส 4A SUPERCHARGER ปี 96 ที่เป็นรุ่นสุดท้าย ซึ่งจะเป็น4A ซุป'รุ่นที่มีแรงม้าสูงสุดอยู่ 175 แรงม้า สำหรับการโมดิฟายก็ออกมาในระดับที่ดีพอสมควร เพราะถ้านำไปเฉลี่ยกับซี.ซี.แล้ว ก็จะพบว่ามีจำนวนที่สูง สำหรับการวางเครื่องยนต์รุ่นนี้ลงไปใน EE 101 นั้น จะต้องมีการดัดแปลงจุดยึดแท่นเครื่องยนต์กันเล็กน้อย โดยจะต้องแก้ไขจุดยึดบริเวณด้านหัวของเครื่องยนต์ เพราะเครื่องเดิมนั้นเป็นเครื่องยนต์ตระกูล E ส่วนจุดยึดในจุดอื่นๆ อีกสามจุดนั้นจะสามารถวางลงไปได้พอดี ทั้งนี้ก็เพราะว่าเครื่องยนต์ในตระกูล A ทั้งหลายนั้น จะมีพื้นฐานของเครื่องยนต์ที่เหมือนๆ กันหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของชิ้นส่วนเครื่องยนต์หรือว่าจุดยึดต่างๆ จึงทำให้การวางเครื่องยนต์ตระกูล A ลงไปไม่ยากอะไรกันนัก
 
 กราฟแรงม้า

     จากการที่นำเอารถคันนี้ไปวัดพละกำลัง ที่ได้จากเครื่องยนต์ 4A ซุป' ที่นำมาเซ็ตเทอร์โบของรถคันนี้ด้วยบูสต์สแตนดาร์ด 0.7 บาร์นั้น ก็ออกมาสมบูรณ์พอสมควร หน้าตาของเส้นกราฟทั้งแรงม้าและแรงบิดนั้นดูดีไม่ขี้เหร่ เส้นกราฟพุ่งเป็นแนวเฉียงขึ้นไปประมาณ 45 องศา ตั้งแต่ได้เริ่มต้นการทดสอบคือ 2,000 รอบ/นาที ไปจนถึงช่วงที่หยุดการทดสอบคือประมาณเกือบ 6,000 รอบ/นาที ซึ่งถึงแม้ว่าเส้นกราฟจะพุ่งขึ้นไปในมุมที่ตั้งชันก็ตาม แต่ในช่วง 4,200 รอบ/นาทีนั้น เครื่องยนต์จะมีอาการห้อยเล็กน้อย แต่เส้นกราฟก็ดันตัวเองกลับขึ้นไปอยู่ในระดับเดิมในช่วง 5,200 รอบอีกที ก็ยังไม่ทันที่จะได้ดีใจ เส้นกราฟได้แผ่วลงไปอีกครั้ง คราวนี้อาการวูบวาบของมันจะชัดเจนกว่ารอบแรกมาก อาการแผ่วของเครื่องยนต์นั้นจะเหมือนกับลูกคลื่น ซึ่งลักษณะแบบนี้จะดูคล้ายกับว่าการส่งสัญญาณความถี่จากเซ็นเซอร์บางจุด (หรืออาจจะหลายจุด) ไปยังกล่องควบคุมนั้น ไม่มีความสม่ำเสมอต่อเนื่องหรืออาจจะผิดเพี้ยน จึงทำให้เครื่องยนต์สร้างพละกำลังออกมาอย่างที่พวกเราได้เห็นกันจากเส้นกราฟแรงม้า-แรงบิดนั่นเอง โดยจะสามารถสร้างแรงบิดได้ 236 Nm @ 5,202 รอบ/นาที ส่วนกำลังสูงสุดจะได้ถึง 203 แรงม้า ที่ 6,566 รอบ/นาที ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนแรงม้าที่สูงเลยทีเดียว หลายคนคงจะบอกว่า "ไม่เห็นน่าสนใจตรงไหนเลย มันก็แค่ 200 กว่าแรงม้าเท่านั้นเอง" ไอ้เรื่องจำนวนแรงม้าน่ะ มันไม่ค่อยน่าสนใจหรอกครับ แต่ไม่รู้ว่าลืมกันไปหรือยังว่า พละกำลังที่ได้ออกมานั้น มันมาจากเครื่องยนต์ 4A-GZE เดิมๆ ที่เซ็ตชุดอัพเทอร์โบ เข้าไปแทนที่ซูเปอร์ชาร์จของเดิมเท่านั้น ส่วนที่เหลือนั้นยังเป็นชิ้นส่วนเดิมๆ ทั้งหมด !?! 
 กราฟ VC 3000

     เมื่อเรานำเอารถคันนี้ไปทดสอบด้วยการวิ่งจริง แบบจับเวลาเพื่อหาอัตราเร่งที่แท้จริงของรถคันนี้ ปรากฏว่าผลที่ได้ออกมาจะอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก เพราะตัวเลขที่ได้จากการจับเวลาเพื่อหาอัตราเร่งนั้น อยู่ในระดับที่ดีกว่าเครื่องยนต์ที่เป็นแบบเดียวกัน อัตราเร่ง 0-100 กม./ชม.นั้น จะใช้เวลาไป 7.86 วินาทีบนเกียร์สาม แรง G หรืออัตราเร่งสูงสุดที่สามารถทำได้คือ 0.491 G ที่ปลายเกียร์หนึ่ง การขับขี่ของเจ้าของรถนั้นทำได้ดีเกือบสมบูรณ์แบบ ทั้งเรื่องของการเลี้ยงคันเร่ง-คลัตช์และการเปลี่ยนเกียร์ เหมือนกับว่าเจ้าของรถรู้จักเครื่องยนต์ของตนเองได้เป็นอย่างดี จะมีที่พลาดกันบ้างก็จะอยู่ตรงช่วงต้นๆ ของเกียร์สอง ที่เราจะสังเกตได้ว่าเส้นกราฟอัตราเร่งของรถคันนี้ มีลักษณะตกลงมาอย่างชัดเจน หลังจากที่เปลี่ยนมาใช้เกียร์สอง ตอนแรกก็นึกว่าเกิดขึ้นจากการขับขี่ของตัวเจ้าของรถอย่างเดียว แต่พอได้ลองวิเคราะห์เส้นกราฟแบบถี่ถ้วนกันอีกครั้งหนึ่ง ก็ปรากฏว่าปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นมาจากระบบส่งกำลังด้วย ที่ไม่สามารถรองรับกับแรงบิดของเครื่องยนต์ในช่วงนั้นได้ดี แล้วยังมีในเรื่องของอัตราทดเฟืองระหว่างเกียร์ 1 กับ 2 ด้วย มันจึงส่งผลให้เส้นกราฟของอัตราเร่งนั้นตกลงมาบ้าง แต่ด้วยเจ้าของรถคันนี้มีการเปลี่ยนเกียร์ที่รวดเร็วพอสมควร คือจะอยู่ที่ประมาณ 0.30 วินาทีของการเปลี่ยนเกียร์เกือบจะทุกครั้ง จึงทำให้อัตราเร่งของตัวรถยังคงความต่อเนื่องไปได้ด้วยดี ผนวกกับเครื่องยนต์ที่ได้ถูกเซ็ตอัพมากันได้อย่างลงตัว เลยสามารถวิ่งผ่านเข้าเส้นชัยที่กลางๆ เกียร์สี่ ด้วยเวลาแค่เพียง 15.81 วินาที บนความเร็ว 145.44 กม./ชม. พละกำลังนั้นมีให้เรียกใช้กันได้ทุกช่วงเวลาและรอบเครื่อง อัตราเร่งของรถไม่มีอาการแผ่วลงไปให้เห็นกันเลย ซึ่งถ้าหากเกียร์ลูกที่ใช้อยู่มีอัตราทดที่ยาวกว่านี้ แล้วสามารถลากรอบเครื่องยนต์ได้สูงกว่าอีกหน่อยล่ะก็ สงสัยมันคงวิ่งเข้าเส้นที่สุดเกียร์สามแบบพอดิบพอดี แล้วก็คงจะขับได้มันส์กว่านี้แน่ๆเลย เพราะเท่าที่ได้ทดสอบไปนั้นสมรรถนะที่ได้ออกมาใกล้เคียงกับเครื่องยนต์ขนาด 2.0 ลิตรมากเลย 
TECH SPEC

ภายนอก ไฟหน้าแบบมัลติรีเฟล็กเตอร์ (โคมดำตัวนอก)
ภายใน เบาะนั่งของมิตซูบิชิ FTO, หัวเกียร์ RAZO, เครื่องเสียง SONY, มาตรวัดรอบของ APEXi
เครื่องยนต์ 4A-GZE ( สเป็กอเมริกัน) ซูเปอร์ชาร์จ โมดิฟายด้วยการเซ็ตเทอร์โบรุ่น TD 04 ของเครื่อง EJ20 คอแดง, อินเตอร์คูลเลอร์ VR-4, โบลว์ออฟวาล์ว GREDDY Type-R , ท่อไอเสียขนาด 2 นิ้ว 3 หุน, หัวเทียน NGK No. 7, กรองอากาศ K&N, อัตราบูสต์ 0.7 บาร์ ระบบส่งกำลังเดิม (4A-GZE)
ช่วงล่าง โช้คหน้า-หลัง TRD, สปริงหน้า-หลัง TRD, ล้อหน้า-หลัง OZ RACING ขนาด 16 x 7 นิ้วทั้งสี่ล้อ, ยางหน้า-หลังขนาด 205/45-16 ทั้งสี่เส้น

 
MODS ชอบ เซ็ตอัพเครื่องยนต์ได้เหมาะสม แรงดี...ชอบ , อัตราเร่งที่ยอดเยี่ยมไม่มีอาการแผ่วลงให้เห็นเลย, แถมท้ายด้วยการขับขี่ของเจ้าของรถ ที่มีการเปลี่ยนเกียร์ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้อัตราเร่งมีความต่อเนื่องทุกเกียร์, เจ้าของรถรู้จักนิสัยใจคอเครื่องยนต์ของตนเองได้อย่างทะลุปรุโปร่ง จึงทำให้การขับขี่เพื่อหาสมรรถนะรถคันนี้ ออกมาในระดับที่ดี
MODS ไม่ชอบ น้ำมันเกียร์ที่ไหลซึมออกมา ซึ่งอาจทำให้เกียร์พังได้ หากขาดการตรวจเช็คระดับน้ำมัน, ระบบส่งกำลังของเครื่องยังไม่สมบูรณ์ที่สุด หากทำในส่วนนี้กันให้ดีแล้วล่ะก็ เอาไปเล่นกับเครื่อง 2.0 ลิตรได้อย่างสบายๆ เลย
 
บันทึกการเข้า
IT-SYSTEM
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #7 เมื่อ: 26 มิถุนายน 2007 14:53:39 »

3S-GTE # 1996 313 hp @ 14.64 sec.
      เมื่อมีรถคันที่เลือกใช้เครื่องยนต์ขนาดเล็กๆ แล้ว ก็จะต้องมีคันที่เลือกใช้เครื่องยนต์ที่มีความจุเยอะๆ อย่างเช่น คันนี้ที่เลือกใช้เครื่องยนต์ในรหัส 3S-GTE ที่จะมีขนาดความจุกระบอกสูบอยู่ 1,998 ซี.ซี. (2.0 ลิตร) แต่จะเป็นเครื่องยนต์ 3S-GTE ปี 1996 ที่อยู่ใน MR 2 ซึ่งจะไม่มี AIR FLOW METER มาเป็นตัววัดปริมาณอากาศ แต่จะใช้ MAP SENSOR มาเป็นตัววัดอากาศหรือไอดีแทน ซึ่งการดัดแปลงวางเครื่องยนต์รุ่นนี้ลงไปในสามห่วงนั้น ค่อนข้างจะต้องมีการดัดแปลงกันมากพอสมควร เพราะจุดแท่นเครื่อง-แท่นเกียร์ต่างๆ นั้นจะไม่ตรงกันเอาซะเลย ต้องทำการดัดแปลงกันเกือบทุกจุด สาเหตุที่เจ้าของรถคันนี้ก็คือ บอล หรือ กฤตพจน์ หมีปาน เลือกใช้นั้น ก็เพราะว่าต้องการสมรรถนะที่มากหรือสูงกว่าเครื่องยนต์ขนาดเล็กๆ อย่าง 4A ทั้งหลาย เนื่องจากว่ามันจะมีอัตราเร่งที่ดีกว่าเครื่องยนต์ขนาด 1.6 ลิตรมาก แถมยังมีการโมดิฟายเครื่องยนต์จากเจ้าของรถอีกด้วย ซึ่งถ้าหากว่าใครที่จะเลือกใช้เครื่องยนต์บล็อก 3S-GTE บ้างนั้น นอกจากจะต้องใส่ใจในเรื่องความแข็งแรงของจุดยึดต่างๆ แล้วนั้น ก็อย่าลืมนึกถึงเรื่องของน้ำหนักที่จะเพิ่มขึ้นมาด้วยนะครับ เพราะชุดช่วงล่างของเดิมนั้น ทำมาเพื่อรองรับกับน้ำหนักที่ไม่มากนัก แถมไม่ได้ทำมาเพื่อรองรับม้าเยอะๆ อีกด้วย พอเราเอาเครื่องยนต์ที่มีน้ำหนักและกำลังที่มากกว่ามาใช้ อาจจะเกิดปัญหาขึ้นมากับรถของทุกๆ ท่านกันได้เช่นกัน
 
 กราฟแรงม้า

     สำหรับพละกำลังสูงสุดที่เราได้เห็นกันจากเส้นกราฟนั้น จะพบว่าเครื่องยนต์มีการทำงานที่ไม่ค่อยจะดีเท่าไหร่ อาการสวิงของเครื่องยนต์จะมีความชัดเจน จนในบางช่วงนั้นจะสามารถสังเกตได้จากเสียงเครื่องยนต์ขณะทดสอบกันได้เลย คำสั่งการทำงานของกล่องควบคุมที่เจ้าของรถโปรแกรมเองนั้น จะอยู่ในระดับที่ยังไม่ค่อยน่าพอใจนัก การสั่งจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงของกล่องยังไม่มีความสมบูรณ์เพียงพอ แถมยังมีเรื่องของจังหวะไฟจุดระเบิดที่จะต้องเข้ามาเกี่ยวข้องอีกด้วย รอยหยักขึ้นลงไปมาของเส้นกราฟแรงม้าและแรงบิดเครื่องยนต์นั้น เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาที่มีการทดสอบ ซึ่งกำลังสูงสุดที่เครื่องยนต์ตัวนี้สามารถทำได้นั้น ก็จะได้ออกมาที่ 313 แรงม้า ด้วยการหมุนของรอบเครื่องยนต์ 6,785 รอบ/นาที ส่วนแรงบิดที่ทำได้นั้นคือ 351 Nm. ที่รอบเครื่อง 5,258 รอบ/นาที ค่า Wheel Drag ที่เกิดขึ้นกับล้อของรถคันนี้จะมีค่อนข้างสูง คือกว่า 50 แรงม้าที่เครื่องยนต์จะต้องสูญเสียไปกับระบบส่งกำลังและส่วนต่างๆ ซึ่งหมายความว่าแรงม้าที่ได้ออกมานั้นจะต้องหดหายไปบ้าง หากว่าจะวัดแรงม้ากันที่ขั้นตอนสุดท้ายของระบบส่งกำลัง นั่นคือล้อและยางหรือที่นิยมเรียกกันว่า "แรงม้าใช้งานจริง" เพราะการวัดพละกำลังหรือแรงม้าของเราในครั้งนี้ จะเป็นการวัดพละกำลังกันที่ FLY WHEEL หรือล้อช่วยแรงของเครื่องยนต์ แต่เราก็จะเห็นถึงความอุตสาหะของเจ้าของรถคันนี้ ที่กล้าจะทดลองพร้อมกับการค้นหาความรู้ใส่ตัวเอง จากบรรดาผู้รู้คนอื่นที่เก่งๆ กว่าอยู่เสมอ ทั้งในเรื่องของการศึกษาหาข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับเครื่องยนต์ และที่เกี่ยวกับการโปรแกรมกล่องควบคุมเครื่องยนต์เองก็ตามที และการที่เครื่องยนต์ไม่สามารถทำแรงม้าได้ดีนั้น ส่วนหนึ่งอาจจะมาจาก MAP SENSOR ที่นำมาใช้เป็นของเครื่อง 2JZ-GTE หาได้เป็นของเครื่องยนต์ 3S ที่ได้ใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งสัญญาณไปยังกล่องผิดเพี้ยนไปบ้าง 
 กราฟ VC 3000

     สำหรับอัตราเร่งที่รถคันนี้สามารถทำได้ หลังจากที่ไปทดสอบการจับเวลากันแล้วนั้น ก็ปรากฏว่าทำเวลาออกมาได้ไม่ดีนัก แรงดึงสูงสุดที่ทำได้นั้นคือ 0.450 G ที่กลางเกียร์ 1 และน่าเสียดายที่คนขับเลี้ยงแป้นคลัตช์-คันเร่งไม่ดี ในช่วงที่ออกตัวขณะที่ลากเกียร์ 1 ออกมาจากเส้นสตาร์ท จึงทำให้อัตราเร่งตกลงมาอย่างฮวบฮาบจนสังเกตได้จากเส้นกราฟ ตรงระยะทางที่ 14.53 เมตรแรกกับเวลา 2.61 วินาที พอคนขับจับอาการได้จึงกดคันเร่งต่อไปทันที ที่ระยะทาง 23.119 เมตรในช่วงเวลา 3.28 วินาทีหลังจากนั้น แต่ก็เสียเวลาไปกับตรงนี้มากถึง 0.67 วินาที หากว่าไม่มีข้อผิดพลาดตรงนี้ก็อาจทำอัตราเร่งได้ต่อเนื่องกว่านี้แน่ อัตราเร่ง 0-100 กม./ชม.นั้นใช้เวลาไปทั้งหมด 6.58 วินาที บนระยะทาง 91.662 เมตรแบบสุดเกียร์ 3 พอดิบพอดี ส่วนอัตราเร่งในช่วง 0-150 กม./ชม.ที่รถคันนี้ทำได้นั้น คือเวลา 11.75 วินาทีช่วงต้นๆ ของเกียร์ 4 เหตุที่ทำให้รถคันนี้สามารถทำอัตราเร่งได้ถึง 0-150 กม./ชม.นั้น ก็เพราะว่ามีข้อได้เปรียบกว่าเครื่องยนต์ของรถคันอื่นๆ อย่างความจุหรือปริมาตรกระบอกสูบ, กล่องควบคุม และการโมดิฟายเครื่องยนต์ จึงทำให้รถคันนี้สามารถทำอัตราเร่งได้เหนือกว่าคันอื่น แม้ว่าเจ้าของรถคันอื่นนั้นจะขับขี่ได้ดีกว่าก็ตามที ส่วนการตัดต่อกำลังของรถคันนี้ยังทำได้อย่างไม่น่าพอใจนัก เพราะทุกครั้งที่กดคันเร่งเพื่อเทคตัวนั้น เหมือนกับว่าล้อสองข้างหมุนส่งกำลังออกมาไม่เท่ากัน ซึ่งอันที่จริงแล้วรถคันนี้น่าจะทำอัตราเร่งได้ดีกว่านี้อีกนิด เพราะว่าได้มีการโมดิฟายเครื่องยนต์และส่วนอื่นๆ หลายแห่ง สมรรถนะที่ได้นั้นย่อมที่จะเหนือกว่าเครื่อง 3S ธรรมดาทั่วไป สำหรับความเร็วที่วิ่งเข้าเส้นจะอยู่ที่ 170.950 กม./ชม. ในช่วงกลางๆ เกียร์ 4 ด้วยการใช้เวลาไปทั้งหมด 14.63 วินาที ซึ่งถือว่าเป็นการใช้เวลาในการวิ่งมากไปนิดนึง หากมองถึงสิ่งต่างๆ ที่เจ้าของได้ลงมือทำไปทั้งหมด แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่เจ้าของรถได้เซ็ตอัพกันลงตัวแล้ว อาจจะมีสมรรถนะที่สูงมากกว่านี้ได้อย่างแน่นอน เพราะสิ่งต่างๆ ที่เจ้าของรถได้ใส่เข้าไปทั้งหมดนั้น จะมีคุณภาพที่ค่อนข้างดีและลงตัวอยู่เกือบจะทุกอย่างแล้ว 
TECH SPEC
ภายนอก ไฟหน้าแบบมัลติรีเฟล็กเตอร์, ติดตั้งสคู้ปดักลมที่ฝากระโปรงหน้า, กระจกมองข้างคาร์บอนไฟเบอร์, กระจังหน้าของรุ่น SPINTER

ภายใน เบาะคู่หน้า RECARO รุ่น SR III, พวงมาลัย SPARCO, หัวเกียร์ IMPUL, ปรับบูสต์ของ TURBONATIC, แผงหน้าปัดของรุ่นที่จำหน่ายในญี่ปุ่น, มาตรวัดบูสต์ SARD, มาตรวัดอุณหภูมิไอเสีย SARD, มาตรวัดแรงดันเชื้อเพลิง SARD, เทอร์โบไทเมอร์ APEXi

เครื่องยนต์ 3S-GTE ปี 96 แบบไม่มีแอร์โฟล์ว ลูกสูบของเครื่องยนต์ 2JZ-GTE ขนาด 86.0 มม., แคมชาฟท์ของ HKS เปิด-ปิดที่ 272 องศา ฝั่งไอดี และฝั่งไอเสียก็ 272 องศาเช่นกัน ใช้ระยะยก 10.4 มม. ทั้งสองฝั่ง, เทอร์โบเดิม, เวสต์เกตแบบแยกของ TRD, อินเตอร์คูลเลอร์ BLITZ, ลิ้นเร่งของเครื่องยนต์ VH 45 DE ขนาด 80 มม., หัวฉีดเดิมขนาด 540 ซี.ซี., หัวเทียน SARD เบอร์ 9, ชุดเพิ่มกำลังไฟจุดระเบิด HKS TWIN POWER,โบลว์ออฟวาล์ว HKS, เร็กกูเลเตอร์ HKS, ปั๊มติ๊กนอกถังของ BOSCH 2 ตัว, กรองอากาศ K&N, กล่องควบคุม POWER FC & FC COMMANDER ปรับจูนโดย นายบอล เจ้าของรถ

ระบบส่งกำลัง เกียร์เดิมติดเครื่อง 3S-GTE, ชุดคลัตช์ของ OS GIKEN แบบ 2 แผ่น ช่วงล่าง โช้คอัพหน้า-หลังของ CUSCO, สปริงหน้า-หลังของ CUSCO, ค้ำโช้คหน้าคาร์บอนไฟเบอร์,

ระบบห้ามล้อ คาลิเปอร์เบรกหน้าแบบ 4 POT ของ TRD, ล้อหน้า-หลังของ ENKAI ขนาด 17 x 7 ? นิ้วทั้งสี่ล้อ, ยางขนาด 215/45-17 ทั้งสี่ล้อ

 
MODS ชอบ แต่งรถของตัวเองได้สวยและดุดันมากทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอก

MODS ไม่ชอบ การจูนกล่องของเจ้าของรถยังทำได้ไม่ดีนัก จึงทำให้กราฟแรงม้าที่ได้ออกมานั้น ดูไม่ค่อยราบเรียบและไม่มีความ SMOOTH เอาเลย, เวลาเปลี่ยนเกียร์ถ้า TAKE ตัวแรงๆ มักจะออกอาการ "แถ" ออกข้างแบบชัดเจน แม้ว่าจะพยายามตั้งพวงมาลัยให้ตรงๆ แล้วก็ตามที

 
บันทึกการเข้า
IT-SYSTEM
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #8 เมื่อ: 26 มิถุนายน 2007 14:54:02 »

4A-GE 20 VALVE BLACK-HEAD @ 17.02 sec.
      คราวนี้ก็มาถึงคันที่เครื่องยนต์มีวาล์วเยอะ-แคมฯแยะกันบ้าง โดยรถคันนี้จะเลือกใช้เครื่องยนต์รหัส 4AG เช่นกัน แต่จะเป็นรุ่นที่มีวาล์วไอดีเพิ่มขึ้นมาอีก 1 ตัวของแต่ละสูบ นับรวมๆ แล้วก็มีวาล์วไอดี-ไอเสียทั้งหมด 20 ตัวพอดิบพอดี ซึ่งพละกำลังของ 4A-G 20 วาล์วรุ่นนี้จะอยู่ที่ 165 แรงม้า และจะเป็นเกียร์แบบเดินหน้า 6 จังหวะอีกด้วย แต่ถ้าเป็นรุ่นฝาครอบวาล์วสีบรอนซ์แล้วล่ะก็ จะมีน้อยกว่าคือ 160 แรงม้า กับเกียร์ 5 จังหวะ ซึ่งการเอาเครื่องรุ่นนี้วางลงไปในสามห่วงนั้น ก็จะมีการแก้ไขจุดยึดแค่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น อย่างที่ผมบอกไปแล้วในตอนต้น สำหรับเครื่องยนต์รุ่นนี้ถ้าจะถามว่าเหมาะสมแล้วหรือเปล่านั้น สามารถตอบได้แบบที่แทบไม่ได้คิดเลยว่า ชัวร์! ครับ สบายอยู่แล้ว สำหรับเครื่องรุ่นนี้กับสามห่วง ทั้งเรื่องน้ำหนักของเครื่องยนต์ที่มีไม่มาก และพละกำลังที่เครื่องรุ่นนี้สามารถทำได้ก็ค่อนข้างสูง แม้ว่าจะไม่ใช่เครื่องที่มีระบบอัดอากาศอย่าง เทอร์โบ, ซูเปอร์ชาร์จ หรืออื่นๆ ก็ตามที แต่เครื่องรุ่นนี้ก็สามารถตอบสนองเจ้าของรถได้อย่างเต็มที่ ซึ่งถ้าวางเครื่องกันได้สมบูรณ์แบบเต็มที่ ไล่ตั้งแต่เรื่อง การวายริ่งสายไฟ, ระบบส่งกำลังและอื่นๆ นั้น รับรองเลยครับว่า มันจะยังคงความ "หล่อ" กันไปได้อีกหลายปีเลยทีเดียว
 
 กราฟแรงม้า

     ผมต้องบอกว่าเสียดายและเสียใจในเวลาเดียวกัน เพราะหลังจากที่เราได้นำเอารถคันนี้ไปวิ่งทดสอบ เพื่อจับเวลาหาอัตราเร่งได้ไม่นานนัก รถคันนี้ก็ได้เกิดประสบอุบัติเหตุอย่างรุนแรงขึ้นมา จนไม่สามารถนำเอารถคันนี้มาขึ้นแท่นวัดพละกำลังกันได้ ไม่อย่างนั้นเราอาจได้เห็นกันว่าเครื่อง 20 วาล์วเดิมๆ ที่ได้พ่วงกล่อง E-manage เข้าไปแค่อย่างเดียวนั้น มันจะได้ม้าออกยังไงรูปแบบไหนและมีมากน้อยเท่าใด แต่ยังไงซะ ทางทีมงานของเราก็ต้องขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย ที่เสียสละเวลานำเอารถของตนเองมาร่วมวิ่งทดสอบ ทีมงานของเราทุกคนขอให้ "ตั่ว" หายเป็นปกติเร็วๆ ก็แล้วกันครับ
 กราฟ VC 3000

     จากการนำเอารถไปวิ่งจับเวลานั้น ปรากฏว่า สามารถสร้างแรงดึงสูงสุดได้ 0.437 G ที่กลางๆ เกียร์หนึ่ง ความต่อเนื่องของอัตราเร่งในทุกๆ เกียร์นั้นออกมาดี แม้ว่าแรงดึงหรืออัตราเร่งที่ได้ออกมานั้นจะไม่สูงมากก็ตาม ส่วนหนึ่งอาจมาจากเกียร์ 6 จังหวะที่ใช้อยู่ก็ได้ ซึ่งมันจะมีอัตราทดเกียร์ที่ค่อนข้างชิดเหมือนกัน แต่อัตราทดคงไม่ถึงขนาดที่เป็นเกียร์โคลสของรถแข่ง อีกส่วนหนึ่งนั้นมาจากการขับขี่ของตัวเจ้าของรถเอง เพราะทำออกมาอยู่ในระดับที่ดี แต่ยังด้อยในเรื่องของการเปลี่ยนเกียร์ที่ยังช้าไปหน่อยนึงเท่านั้น และส่วนสุดท้ายอาจมาจากกล่อง PIGGY BACK รุ่น E-manage ของ GREDDY ที่เจ้าของรถเลือกใช้อยู่ก็ได้ อัตราเร่ง 0-100 กม./ชม.นั้น ใช้เวลาไป 9.38 วินาทีที่กลางเกียร์ 3 การเซ็ตอัพช่วงล่างหรือระบบรองรับต่างๆ นั้นยังไม่ดีเท่าที่ควร ออกอาการนิ่มและยวบยาบกันไปเล็กน้อย แต่ไม่ใช่ว่าเป็นเพราะชุดสตรัทช่วงล่างสำเร็จรูปที่เจ้าของรถได้เลือกซื้อหาและนำมาใช้กันนั้นไม่มีคุณภาพ หากแต่เจ้าของรถคันนี้ยังไม่ได้มีการปรับตั้งค่าต่างๆ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับรถยนต์ของตนเองเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่คนเล่นรถบ้านเราก็มักจะทำกันแบบนี้ทั้งสิ้น คือแค่เลือกซื้อชุดสตรัทสำเร็จรูปที่มีแบรนด์เนมดังๆ มา แล้วก็จับยัดใส่เข้าไปกับรถยนต์ของตัวเอง เสร็จแล้วก็จบเลย อย่างน้อยก็เพื่อจะได้ไม่ต้องอายเวลาที่มีคนมาติว่า ทำไมทำเครื่องแล้วไม่ยอมทำช่วงล่างให้ดี แต่ไม่เคยได้ตรวจเช็คดูเลยว่าชุดสตรัทที่ตัวเองซื้อมาใช้นั้น เขาทำมาเพื่อใช้งานในรูปแบบธรรมดาหรือเพื่อแข่งขัน แล้วทำมาเพื่อให้ใช้กับเครื่องยนต์บล็อกไหน น้ำหนักเท่าไร ซึ่งถึงแม้ว่ามันจะถูกทำมาเพื่อการแข่งขันกันก็ตาม แต่การแข่งขันรถยนต์นั้นมันก็มีหลายรูปแบบ อย่าคิดว่าพอเลือกใช้ช่วงล่างที่มีแบรนด์เนมดังๆแล้ว มันจะจบนะครับ เพราะว่ามันยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากมาย ศาสตร์ของช่วงล่างนี้ก็ค่อนข้างละเอียดอ่อนอีกด้วย มันจึงไม่ได้จบง่ายๆ เหมือนอย่างที่หลายคนคิดกัน และสำหรับระยะเวลาที่รถคันนี้ทำได้หลังเข้าเส้นนั้น ก็คือเวลา 17.02 วินาที ด้วยการใช้กำลังที่กลางๆ เกียร์ 4 ซึ่งน่าเสียดายมากที่ช่วงสุดท้ายของการวิ่งทดสอบนั้น เจ้าของรถดันเข้าใจผิดกับเครื่องมือจับเวลากับกรวยไพล่อนที่วางอยู่ ได้ตัดสินใจยกคันเร่งก่อนที่รถจะเข้าเส้นตั้งแต่ช่วง 346.099 เมตร แต่พอรู้ตัวจึงกดคันเร่งต่อที่ระยะทาง 384.741 เมตรหลังจากนั้น แต่ก็สายไปเสียแล้ว เพราะเหลือระยะทางให้เขาวิ่งนั้น ไม่ถึง 20 เมตร กับเวลาที่เหลือประมาณครึ่งวินาทีเท่านั้น เราจึงจำเป็นต้องเอาเวลาที่ได้นี้มาใช้แทนเวลาที่แท้จริง ถ้าไม่มีข้อผิดพลาดนี้เราอาจได้เห็นตัวเลขที่สวยกว่านี้แน่นอน
TECH SPEC
ภายนอก ชุดกันชนหน้า-หลังจากร้าน YATT, ฝากระโปรงหน้าคาร์บอนไฟเบอร์, กระจกมองข้าง BOMEX ผสมกับของร้าน YATT, ไฟท้ายสไตล์มิลเลนเนียม (แบบเพชร)

ภายใน เบาะคู่หน้า RECARO SR III, พวงมาลัย MOMO, แผงหน้าปัดของรุ่นที่อยู่ในญี่ปุ่น คอนโซลเดิม, มาตรวัดบูสต์-มาตรวัดอุณหภูมิไอเสีย-มาตรวัดอุณหภูมิและแรงดันของน้ำมันเครื่อง-มาตรวัดอุณหภูมิน้ำหล่อเย็น, มาตรวัดแรงดันเชื้อเพลิง เป็นของ DEFi ทั้งหมด, เทอร์โบไทเมอร์ BLITZ

เครื่องยนต์ รหัส 4A-GE 20 วาล์ว ฝาดำ โมดิฟาย ท่อเฮดเดอร์วัสดุไทเทเนียมของ FGK, หม้อพักไอเสีย APEXi, คอยล์จุดระเบิด MSD รุ่น 6A, สายหัวเทียน SPLITFIRE, หัวเทียน HKS เบอร์ 7, กล่องควบคุมแบบ PIGGY BACK รุ่น E-manage ของ GREDDY

ระบบส่งกำลัง เกียร์แบบเดินหน้า 6 จังหวะของเครื่องยนต์ 4A-GE 20 วาล์ว รุ่นฝาดำ, ผ้าคลัตช์ TRD

ระบบห้ามล้อ เบรกหน้าคาลิเปอร์แบบ 2 POT ส่วนเบรกหลังคาลิเปอร์แบบ 1 POT, ผ้าเบรก Bendix Metal King สี่ล้อ

 
MODS ชอบ อัตราเร่งที่อยู่ในระดับดี อาจเป็นเพราะเครื่องยนต์มีความสมบูรณ์ก็เป็นได้, ความต่อเนื่องของอัตราทดเกียร์

MODS ไม่ชอบ เสียดายที่รถคันนี้มาร่วมทำการทดสอบด้วยการวัดพละกำลังบนเครื่องไดโนเจ็ตไม่ได้, ผ้าคลัตช์ที่ใช้อยู่นั้นเริ่มหมดสมรรถภาพกันแล้ว จึงทำให้การส่งกำลังนั้นไม่ดีอย่างที่ควรจะได้กลับมา

 
บันทึกการเข้า
IT-SYSTEM
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #9 เมื่อ: 26 มิถุนายน 2007 14:54:20 »

4A-GZE SUPERCHARGER 150 hp @ 17.31 sec.
      คันสุดท้ายนี้จะเป็นเครื่อง 4A-GZE ซูเปอร์ชาร์จ ปี 96 เหมือนกับคันแรก แต่จะเป็นเครื่องยนต์ที่ยังไม่ได้ตกแต่งอะไรกันมากนัก เพราะว่าแรงม้าของเครื่องรุ่นนี้ก็มีจำนวนที่มากอยู่แล้ว ซึ่งข้อแตกต่างระหว่างเครื่องยนต์ 4A ซูเปอร์ชาร์จรุ่นใหม่และรุ่นเก่านั้น ก็จะมีตั้งแต่ MAP SENSOR ที่ใช้วัดอากาศนั้น รุ่นเก่าจะใช้สติ๊กเกอร์สีส้มแปะทับลงไป ถ้าเป็นรุ่นใหม่นั้นแผ่นสติ๊กเกอร์ที่ MAP นั้นจะเป็นสีเขียว แล้วยังมีในส่วนของระบบจุดระเบิดอย่างตัว CDI ด้วย ที่รุ่นเก่าจะใช้เบอร์ 120 ถ้ารุ่นใหม่จะเป็นเบอร์ 202 แทน สำหรับรถคันนี้ยังไม่ได้ทำการตกแต่งอะไรทั้งนั้น ยังคงใช้ระบบอัดอากาศแบบซูเปอร์ชาร์จเหมือนเช่นเดิม ไม่ได้เปลี่ยนมาใช้ระบบอัดอากาศที่เป็นเทอร์โบ เหมือนอย่างคันแรกและเหมือนที่มีหลายๆ คันทำกันไป ทั้งนี้ก็เพราะว่าเจ้าของรถคือ แชมป์ หรือ เอกรัตน์ ศาสนสุนทรชัย ยังพอใจกับเครื่องยนต์แบบเดิมนี้อยู่ แน่นอนเลยว่า ความแตกต่างของรถทั้งสองคันนั้นย่อมจะมีเป็นธรรมดา ดังนั้นผมจึงอยากจะให้มองกันไปที่จุดประสงค์ของตัวเจ้าของรถ มากกว่าที่จะไปมองถึงจำนวนของแรงม้าแรงบิดที่ได้ออกมา เพราะการนำเสนอก็ไม่ได้มุ่งหวังว่าจะเอามาเปรียบเทียบกันว่าใครจะแรงกว่า แต่จะเป็นการนำเสนอรูปแบบการตกแต่งในแบบต่างๆ มาให้กับทุกๆ ท่านได้รับทราบกัน ว่ารถยนต์แต่ละรุ่นนั้นสามารถปรับปรุงในส่วนไหนได้บ้าง
 
 กราฟแรงม้า

     จากสเป็กเดิมๆ ของเครื่องรุ่นนี้นั้นจะมีแรงม้าถึง 175 แรงม้าด้วยกัน เนื่องจากเป็นเครื่องยนต์รุ่นสุดท้ายในปี ค.ศ. 1996 ซึ่งการที่เรานำเอารถคันนี้ไปขึ้นแท่นวัดกำลังนั้น ในช่วงแรกๆ นั้นเส้นกราฟพุ่งตัวขึ้นไปอยู่ในระดับที่ดีพอสมควร เรียกกันว่าตั้งแต่ก่อนถึง 2,500 รอบ ไปจนถึงที่กว่า 5,300 รอบนั้น เส้นกราฟพุ่งขึ้นไปแบบที่ไม่มีอาการแผ่วลงไปได้เห็นกันเลย ลักษณะของเส้นกราฟที่ได้บ่งบอกถึงความสดสมบูรณ์ของเครื่องยนต์ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบลักษณะการทำงานของชิ้นส่วนต่างๆ ภายในเครื่องยนต์ รวมทั้งการสั่งงานหรือการควบคุมระบบต่างๆ ของกล่อง ECU แรงม้าสูงสุดนั้นจะได้ออกมาที่จำนวน 150 แรงม้า ด้วยการหมุนของรอบเครื่องยนต์ที่ 5,378 รอบ/นาที ส่วนแรงบิดนั้นจะได้ออกมามากสุด 209 Nm. ที่ 4,159 รอบ/นาที ซึ่งถือว่ามีลักษณะที่เจ้าของรถสามารถเรียกพละกำลังเอาออกมาใช้งานกันได้เต็มที่แบบหนักๆ ตั้งแต่เริ่มจนถึง 5,500 รอบ ลักษณะแบบนี้เหมาะสมกับการนำไปใช้งานแบบธรรมดาทั่วๆ ไปมาก จะมีที่ผิดปกติบ้างก็จะเป็นเรื่องการสั่งจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ที่สัดส่วนจะค่อยๆ หนาเพิ่มขึ้นมากจนเกินไป สัดส่วนเชื้อเพลิงบางสุดนั้นอยู่ที่ 15.28 ต่อ 1 ส่วนที่ 2,500 รอบ/นาที และสัดส่วนน้ำมันเชื้อเพลิงที่หนาสุดนั้นจะมากถึง 9.0 ต่อ 1 ส่วน แต่ถ้าเรามองกันอีกด้านนั้นก็จะเห็นว่ามันเป็นเรื่องดีประการหนึ่ง ที่น้ำมันเชื้อเพลิงเข้าไปช่วยระบายความร้อนที่บริเวณด้านบนของหัวลูกสูบในจำนวนที่มากขึ้น และสำหรับในช่วง 5,500 รอบ ที่เส้นกราฟมีลักษณะตกลงมานั้น อาจจะเป็นเพราะรถคันนี้ยังวายริ่งและต่อระบบต่างๆ ไม่ครบ อย่างเช่น SPEED SENSOR ที่อาจทำให้กล่องควบคุมเกิดความสับสนแล้วสั่งงานออกมาในแบบที่ผิดเพี้ยนไปก็เป็นได้ จึงทำให้รถคันนี้ไม่สามารถสร้างพละกำลังแรงม้าออกมาในจำนวนอย่างที่ควรจะเป็นไปได้นั่นเอง
 กราฟ VC 3000

     เมื่อเรานำเอารถคันนี้ไปวิ่งทดสอบเพื่อจับเวลานั้น ผลที่ได้ออกมานั้นยังไม่ดีเท่าที่ควรจะเป็นและตั้งใจ เพราะตัวเจ้าของรถเองก็ขับพลาดอยู่หลายจังหวะ อย่างเช่น ช่วงที่มีการเปลี่ยนเกียร์จาก 1 ไปเป็นเกียร์ 2 นั้น คนขับใส่เกียร์พลาดถึง 2 ครั้งในช่วงเวลาเดียวกัน คือความต้องการจะเปลี่ยนจากเกียร์ 1 ไปเกียร์ 2 แต่กลายเป็นใส่เกียร์ 4 แทนถึงสองครั้ง จึงทำให้อัตราเร่งของตัวรถนั้นตกลงมามากพอสมควร แล้วช่วงเวลาในการเปลี่ยนเกียร์นั้นยังมากอยู่ คือใช้เวลาไปเกือบจะ 1 วินาทีทุกครั้งที่เปลี่ยนเกียร์ จึงสามารถทำอัตราเร่งสูงสุดออกมาได้ 0.4542 G ที่เกียร์ 1 เกียร์เดียว ส่วนความต่อเนื่องของอัตราเร่งช่วงเกียร์ 2 ไปเกียร์ 3 นั้น ก็ค่อนข้างดีอยู่ในระดับหนึ่งเท่านั้นเพราะไปพลาดท่าในช่วงแรก อัตราเร่ง 0-100 กม./ชม.นั้น ใช้ไป 10.07 วินาทีที่ต้นๆ เกียร์ 3 พอหลังจากเปลี่ยนเป็นเกียร์ 3 แล้ว คนขับลากยาวจนเข้าเส้น ซึ่งถือว่ายาวมากคือตั้งแต่ช่วง 144.687 เมตรกันเลยทีเดียว...ยาวพอไหมล่ะ แหมก็เล่นวิ่งกันยาวไปกว่า 250 เมตรเลยนี่ครับ ซึ่งช่วงที่ใช้เกียร์ 3 นี้ อัตราเร่งมีความสม่ำเสมอตั้งแต่ต้น ไม่เ..เซนเซอร์..่ยวแล้วแผ่วลงมาเหมือนกับช่วงที่เป็นเกียร์ 2 โดยรวมแล้วก็ถือว่า O.K. นะ เพราะทุกๆ ส่วนยังความสแตนดาร์ดอยู่ ถ้ามีระบบส่งกำลังที่ดีกว่านี้อีกนิด และคนขับไม่พลาดไปอย่างที่บอกไปตอนต้นนั้น รับรองเลยว่าคงใช้เวลาในการวิ่งได้น้อยกว่านี้แน่ๆ แต่ที่ผ่านมาหลังจากการทดสอบมาทั้งหมดก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์พอใช้ ความเร็วที่วิ่งผ่านเส้นนั้นจะอยู่ที่ 130.868 กม./ชม.ด้วยเวลา 17.31 วินาที ซึ่งถ้าไม่พลาดกันแล้ว ตัวเลข 16 วินาทีต้องมีให้เห็นกันอยู่แล้ว
TECH SPEC
ภายนอก ไฟหน้าแบบมัลติรีเฟล็กเตอร์ (ตาเพชร-โคมดำ), ไฟท้ายสไตล์มิลเลนเนียม, กระจกสีชารอบคัน, กระจังหน้ารุ่น SPINTER

ภายใน แผงข้างประตูซ้าย-ขวา สีน้ำตาล (ตัวนอก), เบาะคู่หน้า D&W, พวงมาลัย PERSONAL, มาตรวัดบูสต์ BLITZ, ชุดเครื่องเสียง PIONEER

เครื่องยนต์ 4A-GZE SUPERCHARGER รุ่นสุดท้ายปี 1996

โมดิฟาย ท่อเฮดเดอร์ของ FGK รุ่น LIMIT AX แบบ 4-2-1, ปลายท่อพักรุ่น NUR SPEC รุ่น BLITZ, ปั๊มติ๊กแบบแช่ถังของเครื่องยนต์ 1JZ-GTE, หัวเทียน NGK เบอร์ 6, กรองอากาศ HKS แบบแผ่น อัตราบูสต์ 0.7 kg/cm2

ช่วงล่าง โช้คหน้า-หลังของ TIEN, สปริงหน้า-หลังของ TIEN, ค้ำโช้คหน้า SPARCO, ล้อหน้า-หลังของ ENKAI ขนาด 16 x 7? นิ้ว สี่ล้อ, ยาง FALKEN รุ่น ZIEX ขนาด 205/45-17 ทั้งสี่ล้อ ระบบเบรกหน้าและหลังของ LEVIN ผ้าเบรก Bendix รุ่น Metal King หน้า-หลัง

 
MODS ชอบ ความสดสมบูรณ์ของเครื่องยนต์ตัวนี้, แรงบิดที่มีให้เรียกใช้ได้ตลอดเวลาตั้งแต่ต้น, ตกแต่งตัวได้ดีไม่หวือหวาจนเกินไปนัก

MODS ไม่ชอบ เส้นกราฟแรงม้าได้ออกมาไม่มากอย่างที่คิดไว้, เจ้าของใช้เวลาในช่วงที่วิ่งทดสอบมากไปนิด..ด...ด นึง ไม่แน่ถ้ามีรอบแก้ตัว เจ้าของรถอาจทำเวลาได้ดีกว่านี้

 
บันทึกการเข้า
IT-SYSTEM
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #10 เมื่อ: 26 มิถุนายน 2007 14:54:54 »

คือว่า ก๊อบเขามาหนะ ไม่ว่ากานนะ
บันทึกการเข้า
JawZ
นักแข่งมือสมัครเล่น
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 273


จ๋อครับ ^_^


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: 26 มิถุนายน 2007 15:13:29 »

คือว่า ก๊อบเขามาหนะ ไม่ว่ากานนะ

น่าจะมีรูปให้ดูด้วย จะเยี่ยมเลยครับ
ปล. ให้เครดิตเจ้าของบทความด้วยก็จะดีนะครับ Wink
บันทึกการเข้า


ของทุกอย่างในญีปุ่น เราขนมาให้ท่านได้
IT-SYSTEM
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #12 เมื่อ: 27 มิถุนายน 2007 08:51:17 »

ครับผม คราวหน้าจะปรับปรุงครับ พอดีผมมือใหม่
บันทึกการเข้า
Mote-Tmb
มือใหม่หัดซิ่ง
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 63


ดูรายละเอียด
« ตอบ #13 เมื่อ: 27 มิถุนายน 2007 14:55:43 »

แล้วใครมีข้อมูลเครื่อง 5E อย่างละเอียดแบบนี้อีกบ้างไหมครับ ปล่อยพลัง
บันทึกการเข้า
wasabi
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #14 เมื่อ: 28 มิถุนายน 2007 15:48:42 »

พี่จ๊อด รู้สึกว่า 101 LX-Limited  เนี่ย จะนำเข้ามาจาก อินโดนีเซีย นะ  ไม่ใช่ ญี่ปุ่น เพราะ  คาร์บอย ใช้อยู่  บอยเคยบอกมา
บันทึกการเข้า
New.
Web Administrator
นักแข่งมืออาชีพอาวุโส
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6,024


Love me, love my AE


ดูรายละเอียด
« ตอบ #15 เมื่อ: 04 กรกฎาคม 2007 14:08:38 »

ได้ยินว่ามาจากอินโดนีเซียเหมือนกันครับ  Smiley
บันทึกการเข้า

AE92 เดิมๆ เครื่องก็ไม่แรง เชิญแซงได้เลย...
Handyman
Moderator
นักแข่งมืออาชีพอาวุโส
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,473


You are alway all my mine


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #16 เมื่อ: 09 กรกฎาคม 2007 00:05:00 »

พี่จ๊อด รู้สึกว่า 101 LX-Limited  เนี่ย จะนำเข้ามาจาก อินโดนีเซีย นะ  ไม่ใช่ ญี่ปุ่น เพราะ  คาร์บอย ใช้อยู่  บอยเคยบอกมา
ผลิตที่ญี่ปุ่นครับยืนยัน  ผมมีรายละเอียดครบทุกModel
บันทึกการเข้า

++ รถยนต์เป็นวิทยาศาสตร์ ไม่ได้แรงด้วยพลังแห่งเวทย์มนต์ ++ http://www.facebook.com/handyman.aoud

รับซื้อรถมือสอง , รับจำนำรถ ,รับปรึกษาปัญหาของรถยนต์ ฟรี
yotsky
นักแข่งมือสมัครเล่น
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 274



ดูรายละเอียด
« ตอบ #17 เมื่อ: 21 กรกฎาคม 2007 09:40:05 »

 สุดยอด
บันทึกการเข้า
wirot29
นักแข่งมืออาชีพอันดับสาม
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 600



ดูรายละเอียด
« ตอบ #18 เมื่อ: 21 กรกฎาคม 2007 17:48:03 »

ขอบพระคุณผู้หาข้อมูลทั้งหมด
บันทึกการเข้า
Kritsadathitiset
นักแข่งมืออาชีพอันดับหนึ่ง
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,902


AMT


ดูรายละเอียด
« ตอบ #19 เมื่อ: 23 กรกฎาคม 2007 15:08:22 »

 สุดยอด สุดยอด สุดยอด
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3  »    ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2008, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!