ความรู้พื้นฐานของน้ำมันเครื่อง
น้ำมันพื้นฐาน (Base Oil) ที่นำมาผลิตน้ำมันเครื่อง แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม
ตั้งแต่ Group 1 - 3 เป็นน้ำมันพื้นฐานที่ทำมาจาก น้ำมันดิบ หรือ น้ำมันตามธรรมชาติ (Mineral Oil)
Group 1 - น้ำมันพื้นฐานชนิดน้ำมันแร่ (Mineral Oil)
Group 2 - น้ำมันพื้นฐานซึ่งได้จากการนำน้ำมันแร่ (Mineral Oil) ทั่วไปมาผ่านขบวนการปรับปรุง ทำให้มีคุณสมบัติที่ดีขึ้นกว่าน้ำมันพื้นฐาน Group 1
Group 3 - น้ำมันพื้นฐานชนิดใหม่ ที่เรียกว่า Unconventional Base Oil (UCBO) ซึ่งได้จากการนำน้ำมันแร่ (Mineral Oil) ทั่วไปมาผ่านขบวนการปรับปรุงพิเศษขึ้นอีก จนทำให้มีคุณสมบัติเทียบเคียงกับน้ำมันสังเคราะห์แท้ แต่มีราคาต้นทุนที่ถูกกว่าน้ำมันสังเคราะห์แท้มาก บริษัทผู้ผลิตน้ำมันเครื่องส่วนใหญ่ใช้น้ำมันพื้นฐาน Group 3 ผลิตน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ขายในตลาดและสามารถใช้คำว่า Synthetic ในฉลากได้ ถึงแม้จะผลิตจากน้ำมันพื้นฐาน Group 3 และไม่ได้ผลิตจากน้ำมันพื้นฐานสังเคราะห์ Group 4 หรือ 5 ก็ตาม
ตั้งแต่ Group 4 - Group 5 เป็นน้ำมันพื้นฐานสังเคราะห์
เป็นพวก Polyalphaolefin - PAO หรือ Ester Base คือผลิตขึ้นมาจากสารสังเคราะห์แท้ๆ 100 %
Group 4 - น้ำมันพื้นฐานสังเคราะห์ (Full Synthetic) ผลิตมาจากสารสังเคราะห์ล้วนๆ ส่วนใหญ่จะเป็นพวก PAO หรือ Polyalphaolefin คือผลิตขึ้นมาจากสารสังเคราะห์แท้ๆ 100 % ให้การหล่อลื่นและปกป้องได้ดียิ่งกว่า เหนือกว่า คงตัวได้นานกว่า
Gruop 5 - น้ำมันพื้นฐานสังเคราะห์ (Full Synthetic) ผลิตมาจากสารสังเคราะห์ล้วนๆ เช่นกัน ส่วนใหญ่จะเป็น Ester มีความหล่อลื่นมากและอายุการใช้งานสูง แต่ก็แลกมาด้วยราคาต้นทุนที่แพงกว่าน้ำมันพื้นฐานสังเคราะห์ Group 4 ค่อนข้างมาก
ดังนั้น น้ำมันพื้นฐาน Group 4 จึงมีความคุ้มค่าที่จะนำมาผลิตน้ำมันเครื่องสังเคราะห์สำหรับยานยนต์ เนื่องจากให้การปกป้อง การหล่อลื่นที่ดีและได้อายุการใช้งานที่สูง ในราคาต้นทุนที่ไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับ Group 5
ในการผลิตน้ำมันเครื่องเค้าก็ใช้น้ำมันพื้นฐานจาก 1 ใน 5 Group นี่แหละ แล้วนำเอาพวกสารเพิ่มประสิทธิภาพ (Additive) ผสมลงไป โรงงานที่ผสมหรือผลิตน้ำมันเครื่องในบ้านเรามีอยู่ไม่กี่แห่ง พวกบริษัทน้ำมันเครื่องก็จ้างโรงงานเหล่านี้ผลิตให้ ดังนั้นน้ำมันเครื่องหลายยี่ห้อก็ออกมาจากโรงงานเดียวกัน ด้วยเหตุนี้คุณภาพของน้ำมันเครื่องจึงขึ้นอยู่กับการเลือกใช้น้ำมันพื้นฐานกับพวกสารเพิ่มคุณภาพที่เติมผสมลงไป
น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ แท้ /เทียม
Hydro crack คือกระบวนการนำน้ำมันพื้นฐานชนิดน้ำมันแร่หรือปิโตรเลียม (Mineral Oil) ไปจัดเรียงโมเลกุลขึ้นมาใหม่ (คล้ายกับทำ GMO's ในพืช) แลัวจะได้น้ำมันพื้นฐาน Group 2 และ Group 3 ออกมา
สิ่งที่ทำให้เกิดปัญหา เพราะว่าในสหรัฐอเมริกามีบริษัทน้ำมันเครื่องแห่งหนึ่งใช้น้ำมันพื้นฐาน Group 3 เอามาผสมสารเพิ่มคุณภาพเข้าไป แล้วประกาศว่าเป็น น้ำมันเครื่องสังเคราะห์หรือน้ำมันเครื่อง Synthetic และบางทีก็หาทางออกโดยใช้คำว่า Synthetic Technology หรือใช้คำ Synthetic ร่วมกับคำอื่นๆ ขายในราคาที่ถูกกว่าน้ำมันเครื่องสังเคราะห์แท้ยี่ห้ออื่นๆ ซึ่งบริษัทที่ผลิตน้ำมันเครื่องจากน้ำมันพื้นฐาน Group 4 อันเป็นน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ขนานแท้ เห็นว่ามันไม่ถูกต้องที่นำเอาน้ำมันพื้นฐาน Group 3 อันเป็นน้ำมันแร่ธรรมชาติมาทำเป็นน้ำมันเครื่อง แล้วโฆษณาว่าเป็นน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ ทำให้มีการฟ้องร้องกันระหว่าง ผู้ผลิตน้ำมัน Group 4 กับผู้ผลิตน้ำมัน Group 3
สุดท้ายศาลตัดสินให้ ผู้ผลิตน้ำมัน Group 3 สามารถใช้คำว่า Synthetic ได้ถึงแม้จะไม่เป็น Synthetic 100% แต่เนื่องจากส่วนผสมของน้ำมันก็ยังมีสาร Synthetic เป็นตัวหลัก (เป็นส่วนผสมมากที่สุดในอัตราส่วนต่อ 1 หน่วย) แม้จะมี Base Oil ซึ่งเป็นปิโตรเลียม ผสมอยู่ด้วยในอัตรา 10 - 15 % ก็ตาม
ทำให้ปัจจุบันนี้ผู้ผลิตน้ำมันเครื่องส่วนใหญ่หันมาใช้น้ำมันพื้นฐาน Group 3 เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ เพราะสามารถลดต้นทุนได้ชัดเจน และเนื่องจากราคาต้นทุนของน้ำมันพื้นฐานสังเคราะห์ Group 4 - PAO มีแนวโน้วขึ้นราคาไปเรื่อยๆ ประกอบกับผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่มีข้อมูลหรือไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลอันเป็นความลับทางการค้าของผู้ผลิตน้ำมันเครื่องในแต่ละรายได้ เลยเป็นสาเหตุให้น้ำมันพื้นฐาน Group 3 ได้รับความนิยมถูกนำมาผลิตเป็นน้ำมันเครื่องสังเคราะห์มากขึ้นเรื่อยๆ
ถึงแม้คุณภาพของน้ำมันเครื่อง Group 3 จะใกล้เคียงกับน้ำมันเครื่อง Group 4
***แต่ก็เพียงแค่ใกล้เท่านั้น แต่ความเป็นจริงยังไม่สามารถทัดเทียมได้***
ข้างล่างเป็นลิงค์ของกรมธุรกิจพลังงานก็มีกล่าวถึงน้ำมันเครื่อง Group 3 และ Group 4 (PAO) ไว้ค่อนข้างชัดเจนครับ
http://www.doeb.go.th/knowledge/ngv_4.htmการใช้คำว่าสังเคราะห์ หรือ SYNTHETIC กับน้ำมันเครื่อง
น้ำมันเครื่องประกอบด้วยน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานผสมกับสารเคมีเพิ่มคุณภาพ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ตามชนิดของน้ำมันพื้นฐานที่นำมาผลิตเป็นน้ำมันเครื่อง ดังนี้
ประเภทที่ 1 เป็นน้ำมันเครื่องทั่วไปที่ผลิตจากน้ำมันแร่ซึ่งได้จากการกลั่นน้ำมันดิบโดยตรง
ประเภทที่ 2 เป็นน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ (Synthetic) ที่ผลิตจากน้ำมันซึ่งสังเคราะห์ขึ้นเพื่อให้มีคุณสมบัติพิเศษกว่าน้ำมันแร่ทั่วไป เช่น ความคงทนต่อการทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ อายุการเปลี่ยนถ่ายและการใช้งานนานขึ้น มีอัตราการระเหยต่ำลดปัญหาการสิ้นเปลืองหล่อลื่น เป็นต้น
ส่วนประเภทที่ 3 เป็นน้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ (Semi-Synthetic) ที่ผลิตจากการนำน้ำมันแร่มาผสมกับน้ำมันพื้นฐานสังเคราะห์เพื่อเสริมคุณสมบัติให้ดีขึ้นกว่าน้ำมันเครื่องทั่วไป และมีราคาถูกกว่าน้ำมันเครื่องสังเคราะห์
ในช่วงที่ผ่านมาน้ำมันพื้นฐานสังเคราะห์ที่นิยมใช้ในการผลิตน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ ได้แก่ โพลีอัลฟาโอเลฟิน ซึ่งผู้บริโภคจะสังเกตได้ว่าผู้ผลิตจะแสดงคำว่า PAO ในฉลากของน้ำมันเครื่องเพื่อเป็นจุดขายมาโดยตลอด แต่ในปัจจุบันจะเห็นว่ากระแสเริ่มลดลง เนื่องจากได้มีการนำน้ำมันพื้นฐานชนิดใหม่ ที่เรียกว่า Unconventional Base Oil (UCBO) ซึ่งได้จากการนำน้ำมันแร่ทั่วไปมาผ่านขบวนการสังเคราะห์พิเศษ ทำให้มีคุณสมบัติเทียบเท่ากับ PAO มาใช้แทน โดยมีคุณสมบัติเทียบเท่ากับ PAO ในด้านความทนต่อการเกิดปฏิกิริยากับออกซิเจนสูง ความสิ้นเปลืองหล่อลื่นน้อยเนื่องจากอัตราการระเหยต่ำ การเกิดคราบสกปรก เขม่า และโคลนตมในเครื่องยนต์ต่ำ และแม้ว่า PAO จะมีความบริสุทธิ์กว่า แต่ถ้าเปรียบเทียบในด้านการใช้งานแล้ว ก็สามารถยอมรับกันกันโดยทั่วไปทั้งในด้านวิชาการ และการตลาดว่า น้ำมันพื้นฐานชนิดใหม่นี้สามารถใช้ในการผลิตน้ำมันเครื่องได้เทียบเท่ากับ PAO เช่นกันและผู้ผลิตสามารถที่จะแสดงฉลากเป็นน้ำมันสังเคราะห์ได้ และสำหรับน้ำมันกึ่งสังเคราะห์ในปัจจุบันก็ได้มีการเปลี่ยนมาใช้น้ำมันพื้นฐานชนิดใหม่นี้แทน PAO โดยผสมในสัดส่วนที่เท่ากันคือ 10-30 % ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการพัฒนาสูตรการผลิตของแต่ละบริษัทด้วย
แต่ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันพื้นฐานสังเคราะห์ประเภทใด ผู้บริโภคก็จะต้องพิจารณาถึงความจำเป็นที่จะเลือกใช้น้ำมันสังเคราะห์ในการใช้งานด้วย โดยทั่วไปการใช้น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ก็เนื่องจากมีระยะเวลาการเปลี่ยนถ่ายที่นานกว่าน้ำมันเครื่องทั่วไป แต่ก็ควรจะพิจารณาว่าคุ้มค่ากับราคาที่ต้องจ่ายแพงขึ้นหรือไม่ สำหรับการใช้งานจริงในท้องถนนซึ่งรอบและสภาวะการใช้งานเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ก็มีส่วนช่วยได้บ้างเนื่องจากมีความคงตัวสูงกว่า แต่สำหรับการใช้งานในสภาวะปกติและระยะทางไม่มากนัก ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้น้ำมันเครื่องสังเคราะห์
อนึ่งการเลือกซื้อน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ ผู้บริโภคต้องระมัดระวังและสังเกตให้ดี เนื่องจากปัจจุบันมีการใช้คำภาษาอังกฤษ Synthetic บนฉลากน้ำมันเครื่องอย่างแพร่หลาย เช่น Synthetic Technology , Synthetic Performance , Plus Syn , Synthetic Guard , Syntec และ Synthetic Based เป็นต้น ซึ่งข้อความเหล่านี้ไม่ได้สื่อชัดเจนว่าเป็นน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ 100 % หรือกึ่งสังเคราะห์ ดังนั้นจึงควรอ่านฉลากหรือข้อความภาษาไทยประกอบด้วย เพราะบางชนิดก็เป็นน้ำมันเครื่องธรรมดาเท่านั้น แต่ผู้ผลิตต้องการใช้คำว่า Synhtetic เพื่อสื่อถึงองค์ประกอบอื่นในน้ำมันเครื่องที่ไม่ใช่ Base Oil
ในปัจจุบันผู้ผลิตน้ำมันเครื่องมีการแข่งขันสูง มีการใช้กลยุทธ์ต่างๆ เข้ามาช่วยในการจำหน่ายสินค้าและชักจูงผู้บริโภคให้เกิดความพึงพอใจในสินค้าของตน นอกเหนือไปจากการพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ในเชิงวิชาการแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการลดแลกแจกแถม การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การโฆษณาในสื่อต่างๆ ซึ่งก็เป็นการดีที่ผู้บริโภคจะมีสินค้าให้เลือกมากมายหลายชนิดขึ้น แต่ก็ยิ่งต้องใคร่ครวญในการตัดสินใจซื้ออย่างถ้วนถี่และรอบคอบมากขึ้นเช่นกัน
------------------------------------------------------------
สำนักคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิง
กรมธุรกิจพลังงาน
โทร. 0 2547 4319-20
พฤษภาคม 2546
การใช้คำว่าสังเคราะห์ หรือ SYNTHETIC กับน้ำมันเครื่อง
การใช้คำว่าสังเคราะห์ หรือ SYNTHETIC กับน้ำมันเครื่อง
doeb.go.th
ลองอ่านดูครับ