บ้านเด็กพระคุณ จ.จันทรบุรี บ้านเด็กกำพร้าจากภัยโรคเอดส์
ประวัติความเป็นมา
บ้านเด็กพระคุณดำเนินงานให้ความช่วยเหลือเด็กที่ได้รับผลกระทบจากเอดส์ผ่านงานเยี่ยมบ้านสมาชิกของคริสตจักรพระกิตติคุณสมบูรณ์จันทบุรี ตั้งอยู่เลขที่ 15/25 ถ.เทศบาล 2 ต.วัดใหม่ อ.เมือง จ.จันทบุรี ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2539 โดยในขณะนั้นอาจารย์กิตติศักดิ์ ลิมป์ธนกุลชัย เป็นอาจารย์ประจำคริสตจักร ได้ให้ความช่วยเหลือโดยรับสองสามีภรรยาที่ติดชื้อ HIV และบุตรจำนวน 1 คน ให้มาพักอาศัยที่คริสตจักรฯ จนกระทั่งสองสามีภรรยาเสียชีวิตลง เด็กจึงขาดที่พึ่งพิง เนื่องจากญาติไม่ต้องการเพราะกลัวติดเชื้อ ทางคริสตจักรจึงตกลงรับอุปกรระบุตรของผู้ป่วย 1 คน และหลังจากนั้นทางคริสตจักร นำโดยอาจารย์กิตติศักดิ์ได้มีโอกาสไปเยี่ยมบ้านผู้ป่วยที่ติดเชื้อในอำเภอท่าใหม่ ตำบลอัมพวา ตำบลคลองขุด ตำบลป่าแดง ประมาณ 15 ครัวเรือน ต่อมาเมื่อผู้ป่วยได้เสียชีวิตลง สมาชิกใครอบครัวคงเหลือแต่คนชรา และเด็กกำพร้า แต่ด้วยเหตุผลอันเนื่องมาจากการขาดความรู้ความาเข้าใจในเรื่องโรคเอดส์ ทำให้ญาติพี่น้องเพื่อนบ้านรู้สึกกลัว และไม่ยอมรับอุปการะเด็กเหล่านี้ไว้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของช่วยเหลือเด็กที่ได้รับผลกระทบจากเอดส์ ตั้งแต่ ปี 2541 เป็นต้นมา
โดยในเริ่มแรกอาจารย์กิตติศักดิ์และภรรยา ได้อุปการะเด็กที่รับผลกระทบจากโรคเอดส์มาดูแลด้วยตนเองในคริสตจักรพระกิตติคุณสมบูรณ์ โดยได้รับความร่วมมือกับหน่วยงาน ภาครัฐ เช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานประชาสงเคราะห์จังหวัด โรงพยาบาลในจังหวัดจันทบุรี และองค์กรเอกชนด้วนเอดส์ เพื่อส่งต่อกลุ่มเป้าหมายที่มีฐานยากจนเข้ารับการรักษาและเด็กที่ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์ที่ประสบปัญหาขาดที่พักพิงหรือถูกทอดทิ้ง
เมื่อเวลาผ่านระยะหนึ่งเด็กในความอุปการะได้เพิ่มมากขึ้น ใน ปี พ.ศ. 2545 ได้รับการอนุเคราะห์จากสำนักงานประถมศึกษาจังหวัดจันทบุรี ให้ใช่โรงเรียนสระแก้ว (เดิม) ซึ่งยุบการเรียนการสอนแล้ว ปรับปรุงเป็นบ้านพักแม่และเด็กที่ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์ ใช้เป็นที่ทำการสำนักงานบ้านเด็กพระคุณในปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. 2546 ได้รับการจดทะเบียนเป็นสถานสงเคราะห์เด็กเอกชน ใช้ชื่อว่า มูลนิธิบ้านเด็กพระคุณ เมื่อปี พ.ศ. 2548 เป็นสถานรองรับเด็กกำพร้าที่ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์ ในเขตจังหวัดจันทบุรีและพื้นที่ใกล้เคียง โดยส่งเสริมให้เด็กได้รับทุนการศึกษาควบคู่ไปกับการพัฒนาการด้านสุขภาพ อารมณ์ จิตใจ เพื่อปรับความคิดพฤติกรรมเด็กกลุ่มนี้ให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีศักยภาพเหมือนเด็กทั่วไป มีคุณภาพชีวิตที่ดี และอยู่ในสังคมอย่างมีศักดิ์ศรี
นโยบายมูลนิธิ
1. ปฏิบัติต่อผู้อื่นตามหลักคำสอนของคริสตชนที่ดีงาม
2. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยโรคเอดส์ในชุมชนและครอบครัว
3. สนับสนุนเผยแพร่ความรู้แก่ชุมชนและครอบครัวให้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโรคเอดส์
4. ให้ความช่วยเหลือสงเคราะห์แก่ผู้ติดเชื้อเอดส์ตามความเหมาะสม
5. จัดหาทุนการศึกษาแก่เด็กที่ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์แลเด็กยากไร้
6. จัดหาที่พักให้แก่เด็กที่ไม่มีอุปการะเนื่องจากพ่อแม่ของเด็กเสียชีวิตด้วยโรคเอดส์และเด็กยากไร้
7. ประสานงานกับภาครัฐบาลและเอกชนในการดำเนินงานที่เกี่ยวกับเด็กที่ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์และเด็กยากไร้
8. ส่งเสริมให้ความรู้แก่เด็กที่ขาดผู้อุปการะเนื่องจากพ่อแม่เสียชีวิตด้วยโรคเอดส์ และเด็กยากไร้ให้ได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย จิตใจ แลจิตวิญญาณ
9. เพื่อดำเนินการหรือร่วมมือกับองค์กรสาธารณสุขกุศลอื่น ๆ
10. ไม่ดำเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเมือง
วัตถุประสงค์มูลนิธิ
1. อุปการะเด็กเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาการแก่เด็กกำพร้าที่ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์ ให้มีสุขภาพกายและจิตที่ดี
2. ปลูกฝังจิตสำนึกแก่เด็กด้านคุณธรรม จริยธรรม
3. ส่งเสริมเด็กให้ได้รับการศึกษาตามวัย
4. ให้ความรู้เรื่องเอดส์แก่เยาวชนที่อยู่ในสถานศึกษา และประชาชนในชุมชนทั่วไป
5. ส่งเสริมให้เด็กที่ได้รับผลกระทบจากเอดส์ได้อยู่ในการดูแลของญาติในชุมชน
6. ช่วยส่งต่อผู้ป่วยเอดส์เข้าสถานบำบัดรักษา
กิจกรรมหลัก
1. จัดหาที่พักให้แก่เด็กที่ไม่มีผู้อุปการะอันเนื่องจากพ่อแม่ของเด็กเสียชีวิตด้วยโรคเอดส์
2. สนับสนุนให้เด็กได้รับการศึกษาอย่างต่ำขั้นพื้นฐานตามที่กฎหมายกำหนด หรือในระดับที่สูงขึ้นตาม ความสามารถและความถนัดของเด็กโดยจัดหาทุนการศึกษา อุปกรณ์การเรียนที่จำเป็น
3. จัดให้เด็กได้รับการดูแลด้านสุขภาพอนามัยและอาหารที่เหมาะสม บริโภค อาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ มีน้ำดื่มที่สะอาด อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่ติดเชื้อ HIV โดยผลักดันให้เด็กให้เข้าถึงบริการด้านสุขภาพจากรัฐ ให้ได้รับการรักษาและการให้ยาอย่างต่อเนื่อง
4. รณรงค์ให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์แก่เยาวชนในสถานศึกษา มุ่งให้เด็กมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโรคเอดส์ เพื่อป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรคเอดส์ สามารถยอมรับและอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อในครอบครัว ชุมชน สังคมได้
5. สนับสนุนให้เกิดการรวมตัวของผู้ติดเชื้อ โดยใช้ชื่อว่า ชมรมปันรัก มีวัตถุ ประสงค์เพื่อให้ผู้ติดเชื้อมีโอกาสได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ประชาสัมพันธ์ข่าวสารที่เป็นประโยชน์แก่สมาชิก เยี่ยมเยียน
หลักการและเหตุผล
สิ่งท้าทายที่น่าเศร้ามากที่สุดของการระบาดของเชื้อเอชไอวี/เอดส์ประการหนึ่ง ก็คือ จำนวนเด็กที่สูญเสียบิดามารดาอันเนื่องมาจากโรคเอดส์ หรือเด็กที่มีชีวิตที่เปลี่ยนไปโดยไม่มีวันเหมือนเดิม อันเป็นปัญหาที่ยิ่งใหญ่และซับซ้อนที่ส่งผลกระทบกับเด็กจำนวนหลายล้านคน แม้ว่าการแพร่ระบาดของโรคนจะทำให้คนรู้จักโรคเอดส์มากขึ้น แต่การเข้าถึงความเข้าใจธรรมชาติของโรคที่แท้จริงยังไม่เป็นที่แพร่หลายทำให้คนส่วนใหญ่ในสังคมมองว่าเป็นโรคติดต่อที่ร้ายแรง และผู้ติดเชื้อก็จะถูกสังคมตัดสินว่าเป็นผู้ผิด ทั้งที่แท้จริงแล้วเขาอาจเป็นแค่แม่บ้านที่ดูแลสามีและลูกอยู่ที่บ้านเท่านั้น การที่สังคมรอบข้างตัดสินคนเหล่านี้ด้วยความรู้สึกและอารมณ์ส่วนตัวไม่ใช่เหตุผลหรือข้อมูลที่ถูกต้อง ทำให้เด็ก ครอบครัว ของผู้ติดเชื้อกลายเป็นกลุ่มด้อยโอกาสในสังคมไปโดยปริยาย
มูลนิธิบ้านเด็กพระคุณ ทำงานด้านการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์ 2 กรณี คือ เด็กกำพร้าบิดา (แม่ติดเชื้อไม่สามารถเลี้ยงดูบุตรได้) เด็กกำพร้าซ้ำซ้อน (บิดา มารดาเสียชีวิต) และให้ที่พักพิงกับหญิงติดเชื้อที่ไม่มีที่ขาดที่พักพิง ซึ่งคือกลุ่มด้อยโอกาสในสังคมนั้นเอง แม้ว่าปัจจุบันเด็กที่อยู่ในความดูแลจำนวน 65 คน หญิงผู้ติดเชื้อ (อาสาสมัคร) จำนวน 6 คน แต่สถิติในภาพรวมของประเทศทำให้เราจำเป็นต้องวางแผนเพื่อรับปัญหาในอนาคตมากขึ้น เพราะเมื่อไรก็ตามที่คนในชุมชน สังคม ยังไม่สามารถปรับความคิดและทัศนคติที่มีกับผู้ติดเชื้อได้ การที่ผู้ติดเชื้อทั้งเด็กและผู้ใหญ่จะถูกดูแล ช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชุมชนก็คงเป็นไปได้ยาก หรือยังต้องใช้เวลา ซึ่งมูลนิธิฯเล็งเห็นว่าแม้การสร้างสถานรับเลี้ยงเด็กเป็นปัญหาปลายเหตุก็ตาม และต้นเหตุของปัญหาก็ยิ่งใหญ่เกินกว่าที่จะใช้เวลาแรมเดือนหรือแรมปีแก้ไขให้หมดไปได้
ผลกระทบจากเอชไอวี/เอดส์ จะสะท้อนให้เห็นได้ถึงวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปของเด็กและครอบครัวอย่างไม่มีวันกลับคืนได้ ซึ่งหลายสาเหตุของปมปัญหาเหล่านี้ที่บีบบังคับให้เกิดขึ้น โดยปัญหาที่ขึ้นกับครอบครัวผู้ติดเชื้อและส่งผลกระทบถึงเด็ก มีลักษณะของปัญหาที่แบ่งแยกได้ ดังนี้
1. ความยากลำบากทางเศรษฐกิจ การขาดผู้นำครอบครัว ทำให้เกิดความสั่นคลอนทางเศรษฐกิจมากที่เดียว ดังนั้นเด็กจะได้รับการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานลดลง รวมถึงการถูกผลักภาระให้รับผิดชอบครอบครัวเร็วขึ้น
2. ขาดความรัก การดูแลเอาใจใส่ การขาดบิดาหรือมารดา หมายถึง การขาดความดูแลเอาใจใส่ที่ลดลงนั่นเอง ส่งผลถึงอารมณ์ของเด็กในการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นในสังคมด้วยเช่นกัน
3. ออกจากโรงเรียน อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากเศรษฐกิจก็ดี หรือการรับภาระรับ ผิดชอบต่อบิดามารดาที่ยังมีชีวิตอยู่ก็ดีส่งผลต่ออนาคตของเด็กทั้งสิ้น
4. ภาวะจิตใจซึมเศร้า ไม่ว่าจะเกิดจากการสูญเสียบุคคลในครอบครัว หรือการถูกมองว่าไม่เป็นที่ต้องการของสังคม รวมถึงการซึมซับความยากลำบากทางร่างกายและการไม่ได้รับการตอบสนองด้านจิตใจของเด็ก ส่งผลต่อภาวะทางอารมณ์ ขาดความมั่นใจในการดำรงชีวิต ความเชื่อมั่นในตนเอง
5. ความเสี่ยงจากการถูกทารุณกรรม ครอบครัวที่ได้รับผลกระทบเด็กมักถูกผลักดันให้อยู่ในตลาดแรงงาน ไม่ได้รับความเป็นธรรมในการจ้างงาน การทารุณกรรม รวมถึงเสี่ยงต่อการถูกล่วงละเมิดทางเพศ โดยกลุ่มผู้แสวงหากำไรโดยขาดมนุษยธรรมและจิตสำนึก
6. ภาวะโภชนาการและความเจ็บป่วย อันเกิดจากโรคที่เด็กเป็นอยู่ ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ พัฒนาการทั้งทางร่างกาย อารมณ์ สังคม จิตใจ ไม่เป็นไปตามปกติ เด็กจำเป็นต้องได้รับการดูแลด้านโภชนาการที่ดีเพื่อให้ร่างกายสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้ต่อสู้กับโรคได้ และการดูแลเรื่องการรับยาต้านอันจะส่งผลต่อทางเลือกในการรักษาในอนาคตของเด็กโดยตรง
7. การถูกรังเกียจ หรือความไม่เข้าใจของสังคม ไม่ว่าจะด้วยความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ดี มีผลต่อความรู้สึกของเด็ก ทำให้เด็กรู้สึกว่าตนเองถูกปฏิเสธจากสังคม ถูกเลือกปฏิบัติและถูกทิ้งให้โดดเดี่ยวโดยเด็กไม่สามารถเลือกได้
วัตถุประสงค์การใช้เงินบริจาค
1. เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายอาหารกลางวัน สำหรับเด็กที่อยู่ในความดูแลของมูลนิธิฯ ทั้งเด็กที่อาศัยในมูลนิธิฯ และเด็กในชุมชนที่มูลนิธิฯช่วยเหลือให้เด็กได้รับประทานอาหารครบทุกมื้อ อันส่งผลกับสุขภาพร่างกายของเด็กติดเชื้อโดยตรง
2. เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา เช่น ค่าบำรุงการศึกษา ค่าอุปกรณ์เครื่องใช้ เครื่องแบบนักเรียน
3. เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดูแลหญิงติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ เช่น การเยี่ยมบ้าน ฯลฯ
กลุ่มเป้าหมาย
1. เด็กที่ได้รับผลกระทบจากเชื้อเอชไอวี/เอดส์ แบ่งแยกได้ดังนี้
- เด็กกำพร้าที่พ่อแม่เสียชีวิตโรคเอดส์ ภายใต้การอุปการะ จำนวน65 คน
- เด็กที่ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์ในชุมชน จำนวน 32 คน
2. หญิงผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ แบ่งแยกได้ดังนี้
- ผู้หญิงที่ติดเชื้อที่อาศัยอยู่ในการดูแลของมูลนิธิ จำนวน 5 ราย
- ครอบครัวผู้ติดเชื้อที่ยากจนในชุมชน จำนวน 12 ราย
รวมหญิงติดเชื้อที่ได้รับการช่วยเหลือ จำนวน 17 ราย
แผนการใช้งบประมาณ
1. เพื่ออาหารกลางวัน
- จัดสรรเป็นค่าอาหารกลางวันให้เด็กให้เหมาะสมกับวัย
- เพื่อให้เด็กได้มีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ตามวัยเจริญเติบโต
- เพื่อให้เด็กได้รับโภชนาการที่ดีและได้รับการเลี้ยงดูให้ได้ตามมาตราฐานเท่าที่ทำได้
-เด็กได้รับประทานอาหารครบทุกมื้อ ได้รับสารอาหารครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ ทำให้มีภูมิคุ้มกันของร่างกายสูงขึ้น สามารถต่อสู้กับเชื้อไวรัสที่มีอยู่ในร่างกาย เป็นการส่งเสริมให้เด็กได้รับการพัฒนาด้านร่างกายให้เหมาะสมกับวัย สิทธิเด็ก เด็กมีสิทธิที่จะอยู่รอดปลอดภัย ควรได้รับโภชการที่ดี ตามมาตรฐานสูงสุดของสาธารณสุข
2. เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา
- จัดสรรเป็นค่าอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์การเรียน/เครื่องเขียน เครื่องแบบนักเรียนในช่วงเปิดเทอม บางส่วนได้จากการบริจาค เช่น ดินสอ ปากกา สมุด ยางลบ แต่อุปกรณ์บางอย่าง เช่น กระดาษสี สีเมจิก สีโปสเตอร์ อุปกรณ์ทำงานฝีมือต้องจัดซื้อเองทุกรายการ
- ค่าใช้จ่ายดำเนินกิจกรรม เช่น ทัศนศึกษา เข้าค่าย ปัจจุบันใช้งบประมาณจากการวางกล่องบริจาค
1. เด็กได้รับการส่งเสริมการศึกษาอย่างเหมาะสม ตามสิทธิที่เด็กควรจะได้รับ
2. เด็กรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าทัดเทียมกับเพื่อน ๆ สามารถดำรงชีวิต มีสังคมในโรงเรียน สังคมกับเพื่อนอย่างภาคภูมิใจ
สิทธิเด็ก เด็กมีสิทธิได้รับการพัฒนาและมีโอกาสได้รับการศึกษาในมาตรฐานการดำรงชีวิตที่พอเพียง และมีสิทธิได้ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน ๆ
3. เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดูแลหญิงติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์
- งานสงเคราะห์ เป็นเงินช่วยเหลือค่าครองชีพ พิจารณาเป็นกรณี เช่น บางรายสุขภาพไม่แข็งแรงไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ไม่มีค่าใช้จ่ายเพื่อไปเดินทางไปพบแพทย์ ลักษณะการช่วยเหลือ เช่น ให้เป็นค่าเดินทางไปพบแพทย์ สงเคราะห์ช่วยเหลือด้านการศึกษาแก่บุตร ค่าครองชีพ ปัจจุบันในชุมชนช่วยเหลืออยู่
- การพบกลุ่ม เป็นการรวมกลุ่มของผู้ติดเชื้อเพื่อให้กำลังใจซึ่งกันและกัน มีการประชุมแลกเปลี่ยนปัญหาประสบการณ์และให้ข่าวสารใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ซึ่งกันและกันด้านการรักษา ปัจจุบันได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากมูลนิธิรักษ์ไทย ซึ่งปิดโครงการ แล้วในปี2551 จึงขาดงบประมาณในการทำกิจกรรมของผู้ติดเชื้อ
- การเยี่ยมบ้าน มีการออกเยี่ยมสมาชิกในกลุ่มตามบ้าน
1. หญิงติดเชื้อได้รับการดูแลด้านการดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม เพื่อสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี
2. ผู้ติดเชื้อได้รับการดูแล อย่างไม่ถูกเลือกปฏิบัติหรือแบ่งแยก
ติดต่อบริจาคได้ โดย..
1. โดยตรงที่สถานสงเคราะห์บ้านเด็กพระคุณ ต.พลอยแหวน อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี
2. โอนผ่านบัญชี ธนาคารกรุงไทย สาขาจันทบุรี ชื่อบัญชี สถานสงเคราะห์บ้านเด็กพระคุณ เลขที่บัญชี 204-1832916
ติดต่อ
คุณกิติศักดิ์ ลิมป์ธนกุลชัย ผู้อำนวยการมูลนิธิโทร.081-7238380
ผู้ประสานงาน คุณเหมียว 08-2255-4448
47 หมู่ 1 ตำบลเขาวัว อำเภอท่าใหม่ จันทบุรี 22120 Tel.039339818 Fax.039339817
สถานสงเคราะห์เด็กบ้านเด็กพระคุณ
47 ม.1 ต.เขาวัว อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี 039-339818,082-2554448,086-1434984
สถานที่ตั้ง
47 ม.1 ต.เขาวัว อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี
โทรศัพท์ 039-339818 โทรสาร 039-339617
มือถือ.086-146-4984/082-255-4448(พี่เหมียว)
![](http://image.ohozaa.com/i/1bd/AJJCDS.jpg)
สถานสงเคราะห์เด็กบ้านเด็กพระคุณ
จำนวนเด็กทั้งหมด 72 คน
เป็นชายทั้งหมด 49 คน
เป็นหญิงทั้งหมด 23 คน
รายการสิ่งของที่ขาดแคลนและต้องการความช่วยเหลือ
ตามแต่ท่านจะสะดวกช่วยเหลือค่ะ
อุปกรณ์การเรียน
- ลิขวิดลบคำผิดจำนวนมาก ,กิ๊ปลวดหนีบกระดาษ
- รองเท้านักเรียนผ้าใบสีน้ำตาลตราโกลซิตี้ ไซด์ 27 ,28, 29, 30, 33, 35, 36, 37, 39, 40, 42
- ถุงเท้านักเรียนสีขาว และสีน้ำตาล ไซด์ 5-7, 7-9 , 9-11 , ฟรีไซด์
- กะดาษปกรายงาน / สันปกรายงาน/ มีดคัตเตอร์/ปากกาแดง/ ปากกาหมึกซึม/สีโปสเตอร์ / พู่กัน
-กระดาษถ่ายเอกสารขนด 80 แกรม,สก็อตเทปใส ขนาด 1 นิ้ว,กาวสองหน้าแบบหนา
-ปากกาไวท์บอร์ด,อุปกรณ์ตกแต่งบอร์ด,กรรไกรเล็ก/ใหญ่ (ตัดกระดาษ)
เครื่องใช้ส่วนตัวเด็ก
- แพมเพอร์ส ไซด์XL (ขณะนี้มีเด็กอ่อนผู้หญิง 2 คน)
- ผลิตภัณฑ์ซักผ้า(โฮม)และน้ำยาปรับผ้านุ่ม
- ขันตักน้ำ -แก้วน้ำพลาสติกแบบมีหู
- นมผงอแล็คต้า สำหรับเด็ก 2 ปีขึ้นไป( ชนิดจืด )
- แชมพูสระผม (ยกเว้นยี่ห้อแฟซ่าเพราะเด็กมีอาการแพ้)
- เสื้อทับในเด็กชาย-หญิงทุกขนาด(อายุ 5 ปีขึ้นไป) /
-เสื้อผ้าชาย-หญิง ทุกขนาด
ยาและอุปกรณ์การแพทย์
ยาใส่แผลอักเสบ
- ถุงมือยางใส่ทำแผล - พลาสเตอร์ยา
- ยาแก้ไอ / ลดไข้ ชนิดน้ำ (เด็กและผู้ใหญ่) -ขี้ผึ้งแซมบัค
-ยานวดบรรเทาปวด เคาเตอร์เพน วิตามินซี ผ้าเตปพันแผล-สก็อตเทปปิดผ้าพันแผล(3 M)
-ปรอทวัดไข้
เครื่องใช้ในบ้าน
-ตะกร้าใส่ผ้า ที่ตักขยะ-พวงสำหรับตากชุดชั้นใน-ยาฉีดกันยุง
- ผงซักฟอก - ถุงขยะดำขนาด 36*45,30*40
- ยาฉีดกันยุง - น้ำยาล้างห้องน้ำ -กาละมังซักผ้า
- ครามชนิดน้ำ -ไม้กวาด -ไม้ม็อบถูพื้น-ตู้ลิ้นชักใส่เสื้อผ้าเด็ก
ชุดชั้นในเด็กชาย-หญิงทุกขนาด
อาหาร
-เกลือ น้ำตาลทรายแดง น้ำตาลปีบ(ทำขนม)-กะทิกล่อง-ข้าวสาร
- เต้าเจี้ยว - น้ำส้มสายชู - ซ้อสมะเขือเทศ
- ซีอิ้วขาว - ซอสปรุงรส -น้ำปลา - น้ำมันหอย - ไข่
รายการสิ่งของที่ต้องการเพิ่มเติม
1. อุปกรณ์กีฬาสำหรับใช้ในโรงยิม
2. เน็ตตาข่ายสำหรับเล่นแบตมินตัน
3. ไม้ตีปิงปองและอุปกรณ์สำหรับเล่นปิงปอง
4. ลูกบาสเก็ตบอลและตะกร้อห่วง
5. ตะกร้อและเน็ตตาข่ายครบชุด
6. ลูกเปตอง
7. ชุดกีฬาสำหรับใส่เล่นกีฬา
8. ลูกบอล
9. ตาข่ายสำหรับเก็บใส่อุปกรณ์กีฬา (ถ้ามี)
หมายเหตุ* อุปกรณ์การกีฬาทุกประเภท บ้านเด็กพระคุณมีความต้องการ
เพื่อให้เด็กได้ออกกำลังกาย และตามความสะดวกของผู้ให้นะครับ*