http://www2.dede.go.th/hydronet/01Knowledge/02Electrolysis/ElectrolsisMain.htmlการแยกน้ำด้วยไฟฟ้า (Electrolysis)
ในปัจจุบันมีธุรกิจการผลิตอิเลคโตรไลเซอร์และการสร้างโรงงานผลิตไฮโดรเจนด้วยการแยกน้ำด้วยไฟฟ้าอยู่ทั่วโลก เนื่องมาจากประเด็นความท้าทายในการใช้พลังงานงานไฮโดรเจนนั้นคือ การขนส่งไฮโดรเจน ซึ่งถือได้ว่าเป็นประเด็นที่มีผลต่อราคาของไฮโดรเจนโดยรวม ทำให้มีการศึกษาและทำความเข้าใจในโลจิสติกส์และเศรษฐศาสตร์ที่แตกต่างระหว่างการผลิตไฮโดรเจนแบบรวมศูนย์ขนาดใหญ่กับการผลิตแบบกระจายตัวใกล้กับผู้ใช้ โดยจะมีกระบวนการขนส่งที่แตกต่างกัน
หากพิจารณาที่ประสิทธิภาพการผลิต 100 เปอร์เซ็นต์ การผลิตไฮโดรเจน 1 กิโลกรัมต้องใช้พลังงานไฟฟ้า 39 หน่วย (kWh) หากพิจารณาราคาหน่วยไฟฟ้าที่ 2.50 บาท จะพบว่าราคาค่าไฟฟ้าในการผลิตไฮโดรเจน 1 กิโลกรัมประมาณ 100 บาท ดังนั้นจะพบว่าหากพิจารณาเปรียบเทียบกับน้ำมัน 3.8 ลิตรซึ่งให้พลังงานความร้อนเท่ากับไฮโดรเจนประมาณ 1 กิโลกรัมนั้น ในปัจจุบันจะพบว่าน้ำมันเชื้อเพลิงมีราคาเท่ากับ 110 บาท (กำหนดให้ราคา 1 ลิตรเท่ากับ 30 บาท) ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ไฮโดรเจนมีแนวโน้มที่เป็นไปได้อย่างมากที่จะเป็นทางเลือกของพลังงานในอนาคตอันใกล้นี้ได้ อย่างไรก็ตามปัจจัยที่จะมีผลต่อราคาของไฮโดรเจนจากแยกน้ำด้วยไฟฟ้าคือ เทคโนโลยีของการผลิต
...
https://www.youtube.com/watch?v=GVi6cyjPW2Eขอบีบประเด็นให้แคบลงนิดนึงนะครับ
มาว่าเรื่อง การแยกน้ำ นำไฮโดรเจน มาใช้งาน แทน ก๊าซLPG หรือ NGV ของ อ.สุมิตร อิสรางกูล ณ อยุธยา อดีต วิศวกรนาซ่า ที่ใช้เวลา 4 ปี พัฒนาการนำไฮโดรเจน จากน้ำ มาป้อนเครื่องยนต์ โดยตรง มีระบบควบคุม หรือ ปรับจูนส่วนผสม
ซึ่งมีข้อดีคือ อิเล็กโทรไลท์ จะทำงานแยกอ๊อกซิเจน ของจากน้ำ นำไฮโดนเจน ป้อนเครื่องยนต์โดยตรง ไม่มีการ กักเก็บบรรจุก๊าซลงถัง เหมือน LPG,NGV มีความปลอดภัยสูงกว่า
จากข้อมูลกรมพัฒนาพลังงานทดแทน ก.พลังงาน "หากพิจารณาที่ประสิทธิภาพการผลิต 100 เปอร์เซ็นต์ การผลิตไฮโดรเจน 1 กิโลกรัมต้องใช้พลังงานไฟฟ้า 39 หน่วย (kWh)
หากพิจารณาราคาหน่วยไฟฟ้าที่ 2.50 บาท จะพบว่าราคาค่าไฟฟ้าในการผลิตไฮโดรเจน 1 กิโลกรัมประมาณ 100 บาท
ดังนั้นจะพบว่าหากพิจารณาเปรียบเทียบกับน้ำมัน 3.8 ลิตรซึ่งให้พลังงานความร้อนเท่ากับไฮโดรเจนประมาณ 1 กิโลกรัมนั้น ในปัจจุบันจะพบว่าน้ำมันเชื้อเพลิงมีราคาเท่ากับ 110 บาท (กำหนดให้ราคา 1 ลิตรเท่ากับ 30 บาท)
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ไฮโดรเจนมีแนวโน้มที่เป็นไปได้อย่างมากที่จะเป็นทางเลือกของพลังงานในอนาคตอันใกล้นี้ได้"
ข้อมูลดังกล่าว คือ การเปรียบเทียบ กระบวนการผลิตไฮโดรเจนโดยใช้พลังงานไฟฟ้า ยังคุ้มค่ากว่า การใช้น้ำมันเชื้ัอเพลิง (คำนวนจากสมมติฐาน ค่าไฟ หน่วยละ 2.50 บาท และน้ำมันลิตรละ 30)
หากการพัฒนาของ อ.สุมิตร เป็นการทำงาน คล้าย ไฮบริดส์ คือ น้ำพลังงานกล การเครื่องยนต์ มาผลิตไฟ (ไดชาร์จ ที่มีอยู่แล้ว) หมุนเวียนมาใช้ แยก O2 ออกจาก H2O
ยิ่งทำให้เกิดความคุ้มค่ายิงกว่ามาก
ต้องกราบขออภัย ผมไม่ได้ประสงค์ ที่จะทำให้ โตโยต้า เสียหาย หากยังรู้สึกดี ที่โตโยต้า ช่วยจุดประเด็น การใช้ไฮโดรเจน เป็นเชื้อเพลิงรถยนต์ในอนาคต
ระดับ วิศวกร นาซ่า ยังบอกว่า ยังต้องพัฒนาระบบดังกล่าวให้สมบูรณ์ ยิ่งขึ้น เทคโนโลยีนี้ คงยังไม่ถึงขั้นที่จะนำมาผลิตในเชิงอุตสากรรม
แต่เชือว่า ไม่นานครับ โดยเฉพาะสถานการณ์ที่มีความกังวลเกี่ยวกับพลังงานฟอสซิล ที่ไม่มีการเกิดขึ้นตามธรรมชาติ ได้ทัน หรือ เพียงพอต่อการใช้
ขนาด การทับถมตามชั้นหิน ที่ยังไม่ตกตะกอนนอนก้น รวมเป็นแอ่ง เป็นบ่อ ใต้ดิน
ก็๋ แฟร๊กกิ้ง ขึ้นมาใช้กันแล้ว
https://www.youtube.com/watch?v=dEB_Wwe-uBM แก้ไข ลิงค์ไม่ขึ้นครับ