AE. Racing Club
08 พฤศจิกายน 2024 22:56:21 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: รถ เติมน้ำ  (อ่าน 3855 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ray007
มือเก่าหัดแข่ง
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 141



ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 26 มกราคม 2015 14:17:51 »

กระบวนการผลิต ไฮโดรเจน ใช้พลังงานในการผลิต มากกว่า พลังงานไฟฟ้า ที่ได้จาก ไฮโดรเจน ในการขับเคลื่อนรถไฟฟ้า รุ่นล่ามาแรง
ตามทฤษฎีแล้ว หากนำ ไฮโดรเจน มาใช้ในรูป ค่าความร้อน จะได้พลังงานมากกว่า นำไปเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า

คำถามคือ ทำไม ไม่ผลิต รถ(เครื่อง)ยนต์ไฮโดรเจน หากมันคุ้มค่ากว่า นำไฮโดรเจนไปผลิตไฟฟ้า

เห็น ดร.ผลิต รถเติมน้ำ ใช้ไฟฟ้า 12 โวลท์ ผลิต ไฮโดรเจน ไปทดแทน น้ำมัน ได้ถึง 60%
ถ้าใช้ 24 หรือ 48 โวลท์ น่าจะไม่ต้องง้อ น้ำมัน และ แก๊ส
ตามหลักการแล้ว หากมีตัวควบคุมแรงดัน และ กล่องจูน เหมือน ติดแก๊ส ก็ทำงานได้แล้ว
ติดอยู่ที่ ชิ้นส่วน จะไม่ทนการกัดกร่อน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 มกราคม 2015 23:34:11 โดย ray007 » บันทึกการเข้า
smilegames
นักแข่งมืออาชีพอาวุโส
********
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6,978



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 26 มกราคม 2015 15:21:53 »

toyota เอาไปใช้ร่วมกับระบบ ปลั๊กอินไฮบริต ซึ่งจะใช้ไฟฟ้าในการขับเคลื่อนเป็นส่วนใหญ่ ไฮโดรเจน ช่วยเสริม ให้การทำงานได้ไกลขึ้น
บันทึกการเข้า

AE-Drift
นักแข่งมืออาชีพอาวุโส
********
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,088



ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 26 มกราคม 2015 16:36:55 »

ผมว่าน่าจะเป็นเหตุผลเรื่องความปลอดภัย
บันทึกการเข้า
bboy357
นักแข่งมือสมัครเล่น
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 300



ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 26 มกราคม 2015 16:49:41 »

ผมก็ว่างั้นแหละครับ ทำให้พลังงานสูญเสียไปกับการเปลี่ยนรูปพลังงานตามหลักการเปลี่ยนรูปพลังงาน  ใช้ไฟฟ้าแยกน้ำเป็น ไฮโดรเจน แล้วใช้ไฮโดรเจนแปลงเป็นไฟฟ้า  แต่ท่านลืมไปหรือเปล่าว่าการได้มาซึ่งไฮโดรเจนไม่ใช่แค่การใช้ไฟฟ้าแยกเท่านั้น ยังมีวิธีการผลิตที่หลากหลาย เช่นการใช้สารเคมีผลิตเสร็จแล้วก็นำสารเคมีนั้นมาใช้ใหม่ได้ หรือการใช้ความร้อนจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ หรือแม้แต่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ผลิตไฟฟ้าออกมาต่อหน่วยได้ถูกมากว่าบ้านเรามากๆๆๆ เวลาเอาไฟฟ้ามาผลิตไฮโดรเจนมันจึงคุ้มกว่าบ้านเราไง แต่การจัดเก็บและความปลอดภัยนี่สิ ทั้งในรถ ในปั้ม และการขนส่ง  แต่มาตรฐานยี่ปุ่นน่าจะเอาอยู่  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%84%E0%B8%AE%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%99
มิราอิ ดูไปแล้วก็เหมือนกับเอารถไฟฟ้ามาเปลี่ยนแหล่งจ่ายพลังงาน จากแบตที่เป็นขยะอันตรายเพราะแบตจากรถไฟฟ้าหรือรถไฮบริดมีรังสีอะไรก็ไม่รู้ได้ยินเขาบอกมา อิๆ  เปลี่ยนจากแบตเป็นถังเติมไฮโดรเจนเพื่อลดมลพิษไปในตัว  บ้านเราแค่ไฟฟ้าใช้กันก็ไม่พออยู่แล้วต้องไปซื้อจากลาว ถ้าเอามาผลิตไฮโดรเจน
ส่วนรถไฮโดรเจนที่ทำกันเล่นๆนั้น ตอนนี้ยังมีเหลือยู่สักคันไหมล่ะครับ  ผมไม่เจอแล้วนะ เมื่อสามสี่ปีก่อนนั้นบูมกันเชียวขายกันแพงกว่าติดแก๊สหัวฉีดอีก ทั้งที่ต้นทุนไม่เท่าไร  ไฮโดรเจนมีการจุดระเบิดที่รุนแรงกว่ามั้งเขาถึงไม่ทำมา เพราะถ้าทำเครื่องยนต์มารองรับไฮโดรเจนต้นทุนคงสูง และระบบความปลอดภัยอีก ชนกันทีคงไฟไหม้ทั้งคัน ไฮโครเจนเพียงน้อยนิดก็สามารถติดไฟได้  ส่วนมิราอิถูกวางไว้ในตำแหน่งที่ปลอดภัยไว่า ไม่ต้องเดินสายไกล ออกมาจากถังก็เข้า fule cell เลย แล้วส่งเป็นไฟฟ้า 
แต่ที่แน่ๆ ผมว่ามันเป็นการกระตุ้นให้รถทุกค่ายหันมาผลิตรถ และพัฒนาเทคโนโลยีให้ดีกว่านี้ เพื่อการใช้พลังงานที่คุ้มค่า สังเกตุจากรถรุ่นนี้มีประสิทธิภาพในการแยกเป็นไฟฟ้ามากกว่ารุ่นก่อนหน้าถึง 20 เปอร์เซ็นต์  ไม่แน่ถ้าทุกค่ายหันมาพัฒนาอาจจะมีประสิทธิภาพกว่านี้เป็นแน่แท้ ไม่มีปล่อยมลพิษ เวลาขี่มันคงจะเงียบเนาะ 
อาจเป็นจุดเปลี่ยนของโลกเราก็ได้  ถึงแม้ว่าค่ายอื่นจะทำมาเป็นสิบปีแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่ได้มีการโปรโมตหรือบูมกันขนาดนี้ บางคนยังไม่รู้เลยว่าเขามีรถแบบนี้กันมาตั้งนานแล้ว แต่ที่ผมสงสัยต่างกับคุณคือทำไมค่ายรถยนต์ถึงผลิตรถ fule cell ก่อนบ้านเราทำรถ ไฮโดรเจนมาจุดระเบิดอีก  ทำไมไม่มีค่ายไหนคิดเอาไฮโดรเจนมาจุดระเบิดเหมือนวิศวกรบ้านเรา (เพื่อนที่ทำงานผมก็ทำเองโดยหาอ่านจากเน็ต ปัญหาการแยกน้ำจากไฟฟ้ามันอยุ่ที่ตะกอน ใช้ได้หนอ่ยเดียวถอดทิ้งแระ )
ถือเป็นการแลกเปลี่ยนพูดคุยกันนะครับ สนุกดี
บันทึกการเข้า

ความตั้งใจ :  สักวันผมจะทำเองเป็น  (ในเรื่องเล็กๆน้อย)
ตอนนี้เริ่มเป็นแล้ว อยู่ด้วยกันสามปีกว่าเป็นหลายอย่างเลยครับ ซ่อมตลอด
plew_ch
นักแข่งมืออาชีพอาวุโส
********
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,245


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 26 มกราคม 2015 18:48:15 »

คงไม่มีใครอยากขับรถที่มี ระเบิด ติดอยู่นะ ระเบิด ไฮโดรเจน ไง อันตรายมหาศาล ชนกันที่ ระเบิดราบไปเลย ทั้งถนน หรือ ทั้งหมู่บ้าน น่ากลัวไหม
บันทึกการเข้า
smilegames
นักแข่งมืออาชีพอาวุโส
********
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6,978



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 27 มกราคม 2015 08:04:19 »

อีกอย่าง เป็นการลดใช้ C คาร์บอน หันมาใช้ H ไฮโดรเจน โดยสมบูรณ์ กว่าการสันดาป ตอนนี้ พี่โต พยายามให้เกิดเร็วที่สุด โดยการประกาศสนับสนุนการแจกสิทธิบัตรการใช้เทคโนโลยี ด้วย
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/global/20150107/627111/%E0%B9%82%E0%B8%95%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%A5%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%87.html
บันทึกการเข้า

doraemonarak
นักแข่งมืออาชีพอันดับหนึ่ง
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,087



ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 27 มกราคม 2015 09:16:51 »

ความเห็นส่วนตัว : รถประหยัดพลังงานมีอีกหลายรูปแบบ ทั้งไฟฟ้า,ไฟฟ้าไฮบริด,ไฟฟ้าขับเคลื่อนใช้เครื่องสันดาปปั่นไฟให้,ไฮโดรเจน และอื่นๆ ที่สามารถนำเข้ามาจำหน่าย หรือผลิตในไทย
ผมว่าบางทีราคารถก็ไม่ได้สูงมากเมื่อเทียบกับความคุ้มค่าของคนที่ใช้รถยาวๆเยอะๆ แต่อาจจะติดปัญหาการซ่อมบำรุง และการเมือง

ถ้ามีการสนับสนุนจริงจัง ผมว่ามหาวิทยาลัยของไทยคงทำต้นแบบรถประหยัดออกมาเพียบแล้วครับ
บันทึกการเข้า

หลงใหล AE
Hunter_JIK.CZ48
AE Racing Club Staff
นักแข่งมืออาชีพอาวุโส
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 8,158


3S-GE Doraemonster 9X


ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: 27 มกราคม 2015 09:19:01 »

มันคือธุรกิจ
บันทึกการเข้า

Aj.Moo
นักแข่งมืออาชีพอันดับหนึ่ง
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,899



ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: 28 มกราคม 2015 14:05:23 »

“Fuel Cell” รถยนต์พลังงาน Hydrogen : เทคโนโลยีในจิตนาการ ที่ใช้ได้จริงแล้วในยุคปัจจุบัน

ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.xo-autosport.com/site/fuel-cell-%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99-hydrogen-%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82/
บันทึกการเข้า
ray007
มือเก่าหัดแข่ง
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 141



ดูรายละเอียด
« ตอบ #9 เมื่อ: 29 มกราคม 2015 20:43:22 »

http://www2.dede.go.th/hydronet/01Knowledge/02Electrolysis/ElectrolsisMain.html
การแยกน้ำด้วยไฟฟ้า (Electrolysis)

ในปัจจุบันมีธุรกิจการผลิตอิเลคโตรไลเซอร์และการสร้างโรงงานผลิตไฮโดรเจนด้วยการแยกน้ำด้วยไฟฟ้าอยู่ทั่วโลก เนื่องมาจากประเด็นความท้าทายในการใช้พลังงานงานไฮโดรเจนนั้นคือ การขนส่งไฮโดรเจน ซึ่งถือได้ว่าเป็นประเด็นที่มีผลต่อราคาของไฮโดรเจนโดยรวม ทำให้มีการศึกษาและทำความเข้าใจในโลจิสติกส์และเศรษฐศาสตร์ที่แตกต่างระหว่างการผลิตไฮโดรเจนแบบรวมศูนย์ขนาดใหญ่กับการผลิตแบบกระจายตัวใกล้กับผู้ใช้ โดยจะมีกระบวนการขนส่งที่แตกต่างกัน

หากพิจารณาที่ประสิทธิภาพการผลิต 100 เปอร์เซ็นต์ การผลิตไฮโดรเจน 1 กิโลกรัมต้องใช้พลังงานไฟฟ้า 39 หน่วย (kWh) หากพิจารณาราคาหน่วยไฟฟ้าที่ 2.50 บาท จะพบว่าราคาค่าไฟฟ้าในการผลิตไฮโดรเจน 1 กิโลกรัมประมาณ 100 บาท ดังนั้นจะพบว่าหากพิจารณาเปรียบเทียบกับน้ำมัน 3.8 ลิตรซึ่งให้พลังงานความร้อนเท่ากับไฮโดรเจนประมาณ 1 กิโลกรัมนั้น ในปัจจุบันจะพบว่าน้ำมันเชื้อเพลิงมีราคาเท่ากับ 110 บาท (กำหนดให้ราคา 1 ลิตรเท่ากับ 30 บาท) ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ไฮโดรเจนมีแนวโน้มที่เป็นไปได้อย่างมากที่จะเป็นทางเลือกของพลังงานในอนาคตอันใกล้นี้ได้ อย่างไรก็ตามปัจจัยที่จะมีผลต่อราคาของไฮโดรเจนจากแยกน้ำด้วยไฟฟ้าคือ เทคโนโลยีของการผลิต

...
https://www.youtube.com/watch?v=GVi6cyjPW2E


ขอบีบประเด็นให้แคบลงนิดนึงนะครับ
มาว่าเรื่อง การแยกน้ำ นำไฮโดรเจน มาใช้งาน แทน ก๊าซLPG หรือ NGV ของ อ.สุมิตร อิสรางกูล ณ อยุธยา อดีต วิศวกรนาซ่า ที่ใช้เวลา 4 ปี พัฒนาการนำไฮโดรเจน จากน้ำ มาป้อนเครื่องยนต์ โดยตรง มีระบบควบคุม หรือ ปรับจูนส่วนผสม

ซึ่งมีข้อดีคือ อิเล็กโทรไลท์ จะทำงานแยกอ๊อกซิเจน ของจากน้ำ นำไฮโดนเจน ป้อนเครื่องยนต์โดยตรง ไม่มีการ กักเก็บบรรจุก๊าซลงถัง เหมือน LPG,NGV มีความปลอดภัยสูงกว่า

จากข้อมูลกรมพัฒนาพลังงานทดแทน ก.พลังงาน "หากพิจารณาที่ประสิทธิภาพการผลิต 100 เปอร์เซ็นต์ การผลิตไฮโดรเจน 1 กิโลกรัมต้องใช้พลังงานไฟฟ้า 39 หน่วย (kWh)
หากพิจารณาราคาหน่วยไฟฟ้าที่ 2.50 บาท จะพบว่าราคาค่าไฟฟ้าในการผลิตไฮโดรเจน 1 กิโลกรัมประมาณ 100 บาท
ดังนั้นจะพบว่าหากพิจารณาเปรียบเทียบกับน้ำมัน 3.8 ลิตรซึ่งให้พลังงานความร้อนเท่ากับไฮโดรเจนประมาณ 1 กิโลกรัมนั้น ในปัจจุบันจะพบว่าน้ำมันเชื้อเพลิงมีราคาเท่ากับ 110 บาท (กำหนดให้ราคา 1 ลิตรเท่ากับ 30 บาท)
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ไฮโดรเจนมีแนวโน้มที่เป็นไปได้อย่างมากที่จะเป็นทางเลือกของพลังงานในอนาคตอันใกล้นี้ได้"

ข้อมูลดังกล่าว คือ การเปรียบเทียบ กระบวนการผลิตไฮโดรเจนโดยใช้พลังงานไฟฟ้า ยังคุ้มค่ากว่า การใช้น้ำมันเชื้ัอเพลิง (คำนวนจากสมมติฐาน ค่าไฟ หน่วยละ 2.50 บาท และน้ำมันลิตรละ 30)

หากการพัฒนาของ อ.สุมิตร เป็นการทำงาน คล้าย ไฮบริดส์ คือ น้ำพลังงานกล การเครื่องยนต์ มาผลิตไฟ (ไดชาร์จ ที่มีอยู่แล้ว) หมุนเวียนมาใช้ แยก O2 ออกจาก H2O
ยิ่งทำให้เกิดความคุ้มค่ายิงกว่ามาก

ต้องกราบขออภัย ผมไม่ได้ประสงค์ ที่จะทำให้ โตโยต้า เสียหาย หากยังรู้สึกดี ที่โตโยต้า ช่วยจุดประเด็น การใช้ไฮโดรเจน เป็นเชื้อเพลิงรถยนต์ในอนาคต

ระดับ วิศวกร นาซ่า ยังบอกว่า ยังต้องพัฒนาระบบดังกล่าวให้สมบูรณ์ ยิ่งขึ้น เทคโนโลยีนี้ คงยังไม่ถึงขั้นที่จะนำมาผลิตในเชิงอุตสากรรม

แต่เชือว่า ไม่นานครับ โดยเฉพาะสถานการณ์ที่มีความกังวลเกี่ยวกับพลังงานฟอสซิล ที่ไม่มีการเกิดขึ้นตามธรรมชาติ ได้ทัน หรือ เพียงพอต่อการใช้
ขนาด การทับถมตามชั้นหิน ที่ยังไม่ตกตะกอนนอนก้น รวมเป็นแอ่ง เป็นบ่อ ใต้ดิน
ก็๋ แฟร๊กกิ้ง ขึ้นมาใช้กันแล้ว



https://www.youtube.com/watch?v=dEB_Wwe-uBM แก้ไข ลิงค์ไม่ขึ้นครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 มกราคม 2015 20:46:02 โดย ray007 » บันทึกการเข้า
Jay หมอศรี @ WZ Zone
นักแข่งมืออาชีพอาวุโส
********
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,819



ดูรายละเอียด
« ตอบ #10 เมื่อ: 30 มกราคม 2015 23:52:05 »

ตอนนี้ผมหาอยู่เหมือนกัน จะไปติดครับ รู้สึกว่า เมื่อก่อนจะมี เดี๋ยวต้องไปเปิดหนังสือ นักเลงรถดู ผมเห็นโฆษณาอยู่

ผมยังไม่สนใจว่า มันจะทำงานยังไง เอาเป็น เสียบ A/F ถ้าใส่เพิ่มแล้วหนา แสดงว่ามันก็เป็นเชื้อเพลิงได้

ส่วนกล่องที่ใช้ควบคุม เห็นว่าใช้ลดน้ำมันลดได้เลย แต่ไม่แน่ใจว่าต่อที่หัวฉีด หรือว่าที่กล่องควบคุม แต่ผมว่าน่าจะต่อคล่อมหัวฉีด

เพราะจะใช้ลดปริมาณน้ำมัน เวลา HGV ทำงาน
บันทึกการเข้า
ray007
มือเก่าหัดแข่ง
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 141



ดูรายละเอียด
« ตอบ #11 เมื่อ: 31 มกราคม 2015 01:25:54 »

ตอนนี้ผมหาอยู่เหมือนกัน จะไปติดครับ รู้สึกว่า เมื่อก่อนจะมี เดี๋ยวต้องไปเปิดหนังสือ นักเลงรถดู ผมเห็นโฆษณาอยู่

ผมยังไม่สนใจว่า มันจะทำงานยังไง เอาเป็น เสียบ A/F ถ้าใส่เพิ่มแล้วหนา แสดงว่ามันก็เป็นเชื้อเพลิงได้

ส่วนกล่องที่ใช้ควบคุม เห็นว่าใช้ลดน้ำมันลดได้เลย แต่ไม่แน่ใจว่าต่อที่หัวฉีด หรือว่าที่กล่องควบคุม แต่ผมว่าน่าจะต่อคล่อมหัวฉีด

เพราะจะใช้ลดปริมาณน้ำมัน เวลา HGV ทำงาน

บางรุ่น ใช้ วงจรควบคุมการจ่ายน้ำมัน ด้วยการ คล่อม วงจร map เซนเซอร์ เพิ่มกระแสไฟ ให้ ECU ลดการจ่ายน้ำมัน
ส่วนอุปกรณ์แยกน้ำ มีแรงดันในตัว และควบคุมแรงดัน และ ปริมาณด้วยกระแสไฟฟ้าที่ป้อนเข้าอุปกรณ์แยกน้ำ
บันทึกการเข้า
taidin
มือเก่าหัดแข่ง
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 148



ดูรายละเอียด
« ตอบ #12 เมื่อ: 17 มีนาคม 2015 10:50:21 »

OPEC เสียผลประโยชน์มากมายมหาสานจากการขายน้ำมัน กดดันนักวิทยาศาสตร์ และประเทศที่สนับสนุนนักวิทยาศาสตร์....
แต่เขมร เริ่มผลิตใช้ในประเทศแล้ว อิอิ
บันทึกการเข้า
ray007
มือเก่าหัดแข่ง
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 141



ดูรายละเอียด
« ตอบ #13 เมื่อ: 31 พฤษภาคม 2015 21:10:54 »

ของเขมร และ โตโยต้า น่าจะเป็น รถไฟฟ้า ระบบ มอเตอร์
แต่ ของเรา เป็นรถระบบ เครื่องยนต์ (แม็คชีน ไม่ใช่มอเตอร์) ด้วยเชื้อเพลิง ไฮโดเจน(จากการกลั่นน้ำด้วย พลังงานแบตเตอรรี่ ที่ ถูกปั่นกระแสด้วยแรงจากเครื่องยนต์เอง)
ต้นทุนเชื้อเพลิง ถูกกว่า เยอะๆๆๆมากๆๆๆ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2008, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!