เลือกหัวเทียนอย่างไร? ถึงจะเข้ากับรถคุณ!!
เริ่มแรกขอเริ่มที่เบอร์หัวเทียนกันก่อนนะครับ หัวเทียนในแต่ละยี่ห้อนั้น มันบอกเบอร์ไม่ได้ (เพราะมันไม่มีปาก!) ตัวเลขแต่ละแบรนด์ก็ไม่เหมือนกัน ถ้าจะเทียบกันจริง ๆ คงต้องใช้ตารางเทียบว่าแบรนด์นี้ เบอร์นี้ ตรงกับรุ่นอะไร ถึงจะชัวร์ และอย่างที่ใช้กันประจำ ๆ พูดกันติดปากก็ไม่พ้น "NGK" หัวเทียนทั่ว ๆ ไปที่เรียกว่า หัวเทียนร้อน จะเป็นเบอร์ต่ำเสมอ ส่วนหัวเทียนเย็นจะเป็นเบอร์สูง ว่าแต่....ร้อนกับเย็นมันต่างกันยังไง เดี๋ยวจะอ���ิปรายให้ฟัง
หัวเทียนร้อน
"หัวเทียนร้อนเนี่ย....ตัวมันเองจะระบายความร้อนออกได้ช้า" เมื่อเราใช้งานจริง ในห้องเผาไหม้มันมีความร้อนจากการจุดระเบิด เมื่อหัวเทียนรับความร้อนนั้นมา จะส่งผลให้เกิดความร้อนสะสมที่หัวเทียนอยู่อย่างนั้น
หัวเทียนเย็น
"หัวเทียนเย็นก็คือ...ตัวมันสามารถถ่ายเทความร้อนออกไปได้เร็วกว่าหัวเทียนร้อน" แต่ใช่ว่าจะมันจะหายร้อนเลยนะ อย่างนั้นไม่ใช่ จริง ๆ แล้ว หัวเทียนจะมีความร้อนสะสมอยู่ระดับนึงเพื่อให้แห้งตลอดเวลา เป็นทั้งหัวเทียนร้อนและหัวเทียนเย็น เพียงแต่ว่าหัวเทียนเย็นจะถ่ายเทความร้อนได้เร็วกว่าเท่านั้นเอง
มันก็เหมือนกับเหล็กเผาไฟนั่นแหละ เมื่อโดนน้ำมันก็จะดัง "ฟู่" ควันฉุยแล้วก็หายไป แต่เหล็กนั้นก็ยังร้อนอยู่เหมือนเดิม ซึ่งเงื่อนไขมันเป็นอย่างนี้นะ "ไอดี" มันเป็น "ความชื้น" เมื่อความชื้นพ่นมาโดนอะไรสักอย่าง มันก็จะทำให้ของชิ้นนั้นเปียก ดังนั้นถ้าเราเปรียบของชิ้นนั้นเป็นหัวเทียน ถ้ามันเปียก ก็จะส่งผลให้ "หัวเทียนบอด"
ผมลองยกตัวอย่างให้ดูนะ รถที่วิ่งใช้งานในเมืองทุกวัน วิ่งช้าตลอดเวลา คลานกระดึ๊บๆไปเรื่อย "ชิว ชิว" รถจำพวกนี้อุณห���ูมิในห้องเผาไหม้จะต่ำมากเลย ซึ่งถ้าในสถานการณ์นี้ควรเลือกใช้ "หัวเทียนร้อน" เพราะว่าเราต้องการระบายความร้อนช้าๆ เพื่อเก็บความร้อนสะสมไว้ ไม่ให้ "หัวเทียนบอด..!" ไงจ๊ะ
กลับกัน ถ้าเป็นรถที่ใช้ความเร็วสูงมาก ๆ ถ้าเราใช้หัวเทียนร้อน มันจะทำให้ระบายความร้อนไม่ทัน อาจสร้างความ "ชิ...หาย" ได้ ต่าง ๆ นานา เช่น หัวเทียนละลาย กระเบื้องแตก และ เกิดอาการชิงจุด ก็เป็นได้ "คือว่าหัวเทียนมันร้อนเกินไป มันก็เหมือนโละหะเผาไฟร้อนแดง เมื่อมีไอดีเข้ามา มันเป็นเชื้อเพลิงพร้อมที่จะจุดระเบิด พอมากระทบตัวหัวเทียนปุ๊บ ซึ่งมันยังไม่ทันถึงจังหวะจุดระเบิด มันก็จุดระเบิดทันทีจากความร้อนสะสมของหัวเทียน" ซึ่งรถที่ใช้ความเร็วตลอดควรเลือกใช้ "หัวเทียนเย็น" เพื่อการระบายความร้อนจะดีกว่า
แต่ว่า...มันก็ต้องขึ้นอยู่กับการใช้งานให้ถูกประเ���ท (เฉพาะกิจ) ด้วย อย่าง รถแต่งเครื่องซิ่งสุดประเทศ..! มันจะมีความร้อนสูงมากกว่าเครื่องยนต์สแตนดาร์ดทั่ว ๆ ไป และส่วนมากมักเป็นเครื่องยนต์ที่มีระบบอัดอากาศ (TURBO) ซึ่งเครื่องยนต์ประเ���ทนี้เป็นเครื่อง "Over Lap" มาก จุดระเบิดไม่ค่อยดีในรอบต่ำ หัวเทียนที่ใช้จึงเป็นหัวเทียนเย็นเสมอ
แต่ถ้าเรานำเครื่องซิ่งวิ่งผิดที่ (ในเมือง) อันนี้ก็ต้องจบข่าว "ผิดแผน" กันไป เพราะเครื่องประเ���ทนี้มันต้อง "เหนี่ยว" อย่างเดียว แต่ถ้ามาวิ่งผิดที่ รับรองวิ่งไม่ได้เลย เพราะเครื่องซิ่งเหล่านี้ ส่วนมากรอบต่ำมันวิ่ง "สับปะรดหมาไม่แด...กอยู่แล้ว" ยิ่งเจอรถติดในเมืองอีก รับรองแม่เจ้า....ไม่รอด "บอดสนิท" ทุกราย ซึ่งถ้าจะมาใช้ในเมืองจริง ๆ คงต้องเปลี่ยนเป็นหัวเทียนร้อนแทน แต่ถ้าดันทุรังมีหวัง "หลับ" ทุกราย
RECYCLE สนองนโยบายรัฐ
หัวเทียนที่บอดส่วนมากก็จะลงถัง แต่จริง ๆ แล้ว หัวเทียนเหล่านั้นยังใช้งานได้อยู่ เพราะที่หัวเทียนบอดมันเกิดจาก "คราบเขม่า" วิธี "Recycle" ไล่ตั้งแต่ "ฌาปนกิจยันล้างส้วม!" แล้วแต่สะดวกตามกำลังศรัทธา คือ ใช้ไฟลน ก็สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ แต่ใช้ไฟร้อนมากนะ เปลวเพลิงสีเขียว ๆ ฟ้า ๆ นั่นน่ะดี (แต่ก็ระวังด้วยนะ....ร้อนมากไปเดี๋ยวจะโพละ..! เสียก่อน) หรือไม่ก็ใช้วิธีล้างด้วยเบนซิน แล้วใช้แปรงสีฟันขัดให้สะอาด ใส่แล้วพอวิ่งได้ แล้วนำไปใส่รถสแตนดาร์ด ลองออกไป "เหนี่ยว" สัก 1-2 รอบ กลับมาแล้วอย่าปล่อยเดินเบานะ ดับเครื่องแล้วถอดมาดูรับรอง "เนื้อตัวดี" ขาวนวลชวนสยิวเลย จุ๊กกรู จุ๊กกรู... (อ๋อ...มันร้อนนะระวังด้วย) ตบท้ายด้วยวิธี "นังแจ๋ว" กับ "วิกซอล" คู่ชีพ เพียงจุ่มแค่ปลาย ก็โอ...แล้ว เตือนอย่างนึงนะ อย่างทะลึ่งใช้ "กระดาษทราย" หรือ "ปั่นลวดบนเครื่องเจียร์" นะครับ "เสียของ" และก็ "ของเสีย" ด้วยครับ
ทีนี้เรามาสังเกตหัวเทียนที่บอดกันดีกว่า ปกติแล้วไฟมันจะโดดจากแกนหัวเทียนไปหาเขี้ยวหัวเทียน แต่พวกหัวเทียนที่บอด มันจะไม่เป็นอย่างนั้นนะดิ มันจะโดดออกข้างๆ ไม่ไปหาเขี้ยวหัวเทียน ซึ่งมันก็สั่งจุดระเบิดไม่ได้ อาการแบบนี้ทำความสะอาดก็หายแล้ว .
ระบบ"ไฟฟ้า" มันก็เหมือน "น้ำ" นั่นแหละครับ มันจะไหลไปตามจุดต่าง ๆ ที่มันไหลง่าย ดังนั้นเมื่อหัวเทียนบอด สกปรกจากคราบเขม่า แทนที่ไฟจะโดดจากแกนหัวเทียนไปหาเขี้ยวหัวเทียน แต่เขี้ยวมันมีเขม่าจับอยู่ มันก็โดดออกข้าง ๆ ไปตามที่มันสะดวก ไปตามที่ชอบ ที่ชอบ
วิวัฒนาการแกนหัวเทียน
ในปีลึก ๆ ที่ผ่านมา แกนหัวเทียนจะมีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่ ถ้าเป็นพวก "แพลทตินัม" ก็จะมีลักษณะสามเหลี่ยมคล้ายยอด "พีระมิด" (ซึ่งต่างจาก "พีระพงศ์" ที่เป็นทรงกลม ๆ) ซึ่งแกนเนี่ยสำคัญ มันเป็นตัวปล่อยให้กระแสไฟไหลผ่าน ยิ่งปลายยอดแกนยิ่งเล็กก็ยิ่งดี ซึ่งมันมีที่มาที่ไปคือ ในห้องเผาไหม้มันมีกำลังอัดสูง ไฟฟ้ามันจะโดดยากบนเงื่อนไขที่มีแรงดันสูง
แต่ที่เราเห็นตามร้านประดับยนต์ทั่วไป กับชุด "Display" ที่โชว์กระแสไฟแรงๆ นั่นน่ะ ซึ่งถ้ามันอยู่บนเงื่อนไขสถานการณ์จริงๆในห้องเผาไหม้แล้ว มันแทบจะไม่ยิงให้เห็นเลย ยิ่งเครื่องบูสต์หนักๆ นั้น แทบจะไม่ออกเลย
ดังนั้นหัวเทียนรุ่นใหม่ ๆ ผู้ผลิตจึงเน้นผลิตแกนให้เล็กลง เพื่อให้กระแสไฟมาไหลมาอยู่ที่ปลายแกนแบบเข้ม ๆ แล้วค่อยยิงออกไป ซึ่งถ้าเทียบกับสมัยก่อนที่เป็นแกนเบ้อเริ่ม ก็เพราะว่าโลหะสมัยก่อนมันยังพัฒนาไม่เต็มที่เหมือนปัจจุบัน ถ้าทำแกนหัวเทียนออกมาเล็ก ๆ แล้ว ส่วนมากมักทนความร้อนไม่ไหว ก็จะละลายในที่สุด
ยุคปัจจุบันคำว่า "แพลทตินัม" เริ่มบางหูลง เพราะอิทธิพลของ "อิริเดียม" เข้ามายืนแป้นแทน เนื่องจากจุดหลอมเหลวหรือจุดสึกหรอจาการสปาร์คมันแทบจะไม่มี ดังนั้น "อิริเดียม" มันจึงเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน
เขี้ยวหัวเทียน
ก็ว่ากันเรื่องแกนกันไปแล้ว แถมเรื่องของเขี้ยวหัวเทียนกันต่อเลย เขี้ยวหัวเทียนมันก็จะมีขนาดใหญ่ๆ เป็นตัว U บ้าง ตัว V บ้าง สารพัดเลย และบางรุ่นก็ใจปล้ำคือ "ไม่มีเขี้ยว..!!" แต่สุดท้ายเนี่ยก็คือ "ยิ่งเขี้ยวใหญ่ก็ยิ่งขวางทาง" อันนี้เป็นทริคเล็กๆนะ ขณะที่เราขันหัวเทียน ควรให้ฝั่งที่เป็นขาของเขี้ยวหันไปด้านฝั่งไอเสีย ส่วนด้านฝั่งที่เปิดอยู่ก็หันไปหาไอดีเสมอ ซึ่งจุดนี้มันสร้าง "เพาเวอร์" ให้กับรถอีกนิดหน่อยเลยล่ะ สาเหตุมาจาก มวลไอดีมันจะเข้มมากในห้องเผาไหม้ทางฝั่งไอดี พอหัวเทียนสั่งจุดระเบิด มันจะจุดฝั่งที่มีไอดีเข้มและขยายตัวไปจนเต็มห้องเผาไหม้ มันจะเป็นการเผาไหม้ที่สมบูรณ์กว่า
อายุการใช้งาน
สำหรับอายุการใช้งานมันไม่ตายตัว ส่วนมากมันไม่ค่อยสึก เว้นแต่พวก "ไฟแรงทรงเครื่อง" นั่นแหละ ใส่ออปชั่นเสริม MSD ประมาณนี้ ก็อาจจะมีสึกบ้าง ซึ่งถ้าจะให้ชัวร์จริง ๆ ก็ควรตรวจสอบทุกๆ 10,000 กิโลเมตร น่าจะดีกว่า
สายหัวเทียนควรจัดเก็บเป็นที่...ไม่งั้นเศร้า
สายหัวเทียนกับชุด CDI หรือพวกหัวฉีดเนี่ย ในรถแข่งก็จะเป็นลักษณะคอยล์แยก สายหัวเทียนมันก็จะพาดผ่านอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งลักษณะนี้มันสร้าง "ปาฏิหาริย์" มาแล้ว คือ "วิ่งแล้วสะดุด" แล้วหาต้นสายไม่เจอสักที
ทำมาแล้วทุกอย่างก็ดีหมด แต่ก็ไม่หาย ในที่สุดตรวจเช็คเรื่องของระบบจุดระเบิดอีกครั้งจึงรู้ว่า สายหัวเทียนซิ่งที่มีค่าความต้านทานต่ำ ๆ จำพวกไฟแรงมาก ๆ มันไปพาดผ่าน CDI กับ หัวฉีดนะสิ เกิดคลื่นสนามแม่เหล็กรบกวนเพียบทำให้เพี้ยนไปหมด
ดังนั้น เราควรจะให้เป็นระเบียบ อย่าให้มันยุ่ง เพื่อความสวยงามแล้ว ยังช่วยป้องกันปัญหาอาการแก้ไม่ตกอีกด้วย?
Credit By :
http://www.grandprixgroup.com/