= โช้กอัพ =
โช้กอัพแข็ง-หนืด ความเร็วต่ำกระด้าง ความเร็วสูงหนึบ
โช้กอัพนุ่ม-อ่อน ความเร็วต่ำนุ่มนวล ความเร็วสูงโคลง
โดยมีหลายระดับความแข็ง ไม่ใช่มีแค่แข็งกับอ่อน
= ถ้าต้องการโหลด =
กรณีที่โหลด 1-1.5 นิ้ว สามารถใส่หรือซื้อโช้กอัพความยาวเท่าเดิมได้ แต่ถ้าจะโหลดมากกว่า 2 นิ้ว ต้องใช้โช้กอัพสั้นลง เพื่อไม่ให้มีการยันของแกนโช้กอัพครับ
บทสรุปการเลือกโช้กอัพ แล้วแต่ความชอบและการใช้งานครับ แข็งแค่ไหน อ่อนแค่ไหน อยากหนึบและทนกระด้างได้แค่ไหน
แนะนำถ้าไม่ติดเรื่องงบประมาณควรซื้อโช้กอัพปรับความแข็ง-หนืดได้ สูง-ต่ำได้ เผื่อไม่ถูกใจก็ถอดออกมาปรับได้ หรือ รุ่นใหม่ๆ มีปรับไฟฟ้าได้ในตัว
ไม่ต้องถอดมาปรับก็สะดวกไปอีกแบบครับ
โช้กอัพ เป็นอุปกรณ์หนึ่งของระบบช่วงล่างในรถยนต์ส่วนใหญ่ ยกเว้นบางรุ่น ที่ใช้ระบบช่วงล่างไฮดรอลิกอย่างซีตรองใช้งานง่ายแทบไม่ต้องดูแล อายุการใช้งาน นับแสนกิโลเมตร และมีทางเลือกหลากหลาย
โช้กอัพถูกติดตั้งควบคู่กับอุปกรณ์ที่ต้องรับน้ำหนักและสร้างความยืดหยุ่น คือ สปริง แหนบ หรือทอร์ชั่นบาร์-คานบิด โดยโช้กอัพจะทำหน้าที่ควบคุมการยืดหยุ่น ไม่ให้มีต่อเนื่อง นานเกินไปและช่วยสร้างประสิทธิ���าพการทรงตัวรถยนต์ต้องมีความยืดหยุ่นในการยุบ และคืนตัว เพื่อความสะดวกสบายในการเดินทางโดยเป็นหน้าที่ของสปริง แหนบ หรือทอร์ชั่นบาร์-คานบิด ซึ่งมีความแตกต่างในความแข็งในการยืดหยุ่นออกไปตาม ความเหมาะสมในการใช้งาน หากความยืดหยุ่นไม่ถูกควบคุมให้ชะลอลง จะทำให้ รถยนต์มีแค่ความยืดหยุ่นแต่การทรงตัวแย่มาก เพราะจะกระเด้งขึ้น ลง และโคลงไปมาตลอด นึกถึงตุ๊กตาที่ติดบนยอดสปริงเมื่อถูกกดให้ยุบตัวลงเพียงครั้งเดียวก็จะกระเด้งต่อเนื่องกัน นับ 10 ครั้ง แล้วจะทราบว่า ถ้ารถยนต์มีแค่สปริง แหนบ หรือคอร์ชั่นบาร์ แต่ไม่มีการหน่วง ด้วยโช้กอัพ แล้วจะยวบยาบมากแค่ไหนและในลักษณะใด
โช้กอัพมีหน้าที่หลัก คือ ควบคุมความยืดหยุ่นให้เหมาะสม ไม่มากหรือน้อยเกินไป โดยจะมีความแตกต่างกันในความหนืด หรือความแข็ง ตามลักษณะของรถยนต์ และการใช้งาน เช่น รถยนต์ธรรมดาใช้งานแบบครอบครัวโช้กอัพที่ถูกเลือกใช้ก็อ่อนหน่อย เพื่อความนุ่มนวล โดยยอมให้มีการโคลงบ้างในช่วงความเร็วสูง ๆ ส่วนรถยนต์สมรรถนะสูง โช้กอัพก็หนืดหรือแข็งหน่อย เพื่อการทรงตัวที่ดีในช่วงความเร็วสูงโดยยอมให้มีการ กระด้างบ้างในช่วงความเร็วต่ำถึงปานกลางได้อย่างก็ต้องเสียอย่าง โช้กอัพทุกยี่ห้อมีหลายระดับความแข็งไม่ใช้มีแข็งกับอ่อนเพียง 2 ระดับ จึงจำเป็นต้องเลือกกันให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน
อายุการใช้งาน
แม้มีมาตรฐานของอายุการใช้งานโดยประมาณ แต่ในการใช้งานจริง จะแปรผันมากน้อย ตามคุณ���าพของโช้กอัพ ลักษณะการขับและส���าพถนน เช่น ถ้าถนนแย่ ขรุขระมาก ก็หมดส���าพเร็วหน่อย โดยเฉลี่ยอายุการใช้งานของโช้กอัพอยูที่ประมาณ 50,000-100,000 กิโลเมตร ประสิทธิ���าพของโช้กอัพจะลดลงเรื่อย ๆ ตามอายุการใช้งานที่ผ่านไป ส่วนจะลดลงเร็วหรือน้อย ก็แตกต่างกันออกไป แต่ลดลงเรื่อย ๆ แน่นอน การเสื่อมส���าพของโช้กอัพไม่ได้มีเมื่อโช้กอัพแตกหรือรั่วเท่านั้น แม้ไม่มีการรั่วซึม โช้กอัพก็หมดส���าพลงได้ นอกจากการตรวจสอบการรั่วซึมของโช้กอัพด้วยสายตา ซึ่งแน่นอนว่าถ้ามีส���าพนั้น ก็ต้องเปลี่ยนแน่ ยังต้องตรวจสอบจากวิธีอื่น เช่น จอดรถยนต์นิ่งใช้น้ำหนักร่างกายกดขย่มลงเหนือตัวถังใกล้ ๆ กับล้อของโช้กอัพ ที่ต้องการตรวจสอบ (ระวังตัวถังบุบด้วย)
เมื่อขย่มลงไปสัก 5 ครั้ง แล้วปล่อยตัวออกมา ถ้าโช้กอัพยังดี ตัวรถยนต์ต้องขยับขึ้นลงอีก 1-3 ครั้ง แสดงว่าโช้กอัพยังควบคุมการยืดหยุ่นไว้ได้ แต่ถ้าตัวรถยนต์ยังขยับขึ้นลงมากกว่า 3 ครั้ง แสดงว่าโช้กอัพหมดความหนืดไม่สามารถควบคุมการยืดหยุ่นไว้ได้
หากกดแทบไม่ลง หรือเมื่อปล่อยตัวออกมา แล้วตัวรถยนต์หยุดนิ่งในเกือบจะทันทีหรือทันที แสดงว่าโช้กอัพตาย ไม่สามารถยืดยุบตัวได้ตามปกติในการทดสอบขณะรถยนต์จอดนิ่ง เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการทดสอบเท่านั้น ต้องประกอบกับการขับเคลื่อนจริงด้วย โดยให้พยายามจับอาการในการขับด้วยว่ามีอาการกระด้างมากขึ้น หรือยวบยาบมากขึ้นไหม แต่ก็ไม่ง่ายนัก เพราะอาจมีการเสื่อมส���าพของชิ้นส่วนอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง และการเสื่อมส���าพของโช้กอัพมักเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป จึงเกิดความคุ้นเคย จนจับอาการผิดปกติได้ยาก
หากไม่แน่ใจว่าโช้กอัพหมดอายุหรือยังเมื่อใช้งานเกิน 80,000-100,000 กิโลเมตร (โดยทั่วไป 50,000 กิโลเมตรก็เสื่อมส���าพลงมากแล้ว) หรือ 5 ปี ตัดสินใจเปลี่ยนโช้กอัพไปเลย ก็ไม่ถือว่าสิ้นเปลืองมากนัก