AE. Racing Club
15 พฤศจิกายน 2024 05:02:48 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1] 2 3  »    ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เกี่ยวกับเกียร์ออโต้ ลองอ่านกันดูนะคร้าบบบ  (อ่าน 15813 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
JAKE
นักแข่งมืออาชีพอันดับสาม
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 671


อยากกลับไปเป็นหนุ่มอีกสักครั้ง งุงิงุงิ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 07 สิงหาคม 2008 10:41:15 »

10 หนทางให้คุณวางใจ...เกียร์ออโตเมติก



เกียร์อัตโนมัติ "เกียร์ออโต้" ดูจะเป็นอุปกรณ์สำคัญที่สุดอีกชิ้นหนึ่ง ซึ่งพวกเรามักจะมองหา... หรือเอามือไปคว้าไว้หลังพอๆกับพวงมาลัยรถก็ว่าได้ และแน่นอน เราจะมอง

หามันก่อนที่จะบิดสวิตช์กุญแจเสียอีก..


ยุคนี้เราจะชินกับ Automatic Transmission ซะยิ่งกว่า "เกียร์ธรรมดา" Manual Transmission ไปเสียแล้วละครับ ยิ่งจำพวกเกียร์ออโตเมติกแบบใหม่ๆ Lock-UP

Torque Converter ที่มี CPU 8 BIT- 16 BIT เข้าไปช่วย Calculation การเปลี่ยนเกียร์ด้วยแล้วละก็ อู้ฮู ก็ยิ่งสะดวกไปกันใหญ่



ล่าสุด CVT หรือ Constantly Variable Transmission ยุคปี 2000 เป็นต้นมา ด้วยแล้วละก็ ยิ่งนุ่มนวลแม่นยำ และแสนจะง่ายดายในการทำงาน แถมยังไม่ยุ่ง

ยากอย่างเกียร์ออโต้สมัยคุณลุง คุณน้า คุณอาซะด้วยละครับ


คอลัมน์ DIY คุณก็ทำได้.. มีจุดประสงค์ใหญ่ที่สำคัญคือ การนำเอาเรื่องราวบางเรื่องที่คุณอาจไม่เข้าใจ หรือไม่สนที่จะต้องเข้าใจ มาเล่าแจ้งแถลงไขให้เป็นเรื่องคุยกัน

สนุกๆ ตามประสาผู้ใช้มากกว่าจะให้ต้องลงมือซ่อมเอง (นั่นเป็นเรื่องของช่างเขา) เพื่อเป็นพื้นฐานสู่ความเข้าใจในสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่เราเจ้าของรถไม่ควรมองข้าม และน่าทำ

ความเข้าใจ อย่างน้อยก็เอาไว้คุยกับช่างให้รู้เรื่อง (เขาจะได้หลอก "กินเปล่า" เราไม่ได้) เพราะพอเขาชี้แจงเรื่องอะไรๆ ที่เป็นปัญหา เราเจ้าของรถก็เข้าใจและลำดับขั้นตอน

การซ่อมแซมได้ เวลาจ่ายค่าซ่อมก็สะดวก อย่างน้อยเราก็ช่วยช่างได้อีกวิธีหนึ่งละครับ


"DIY คุณก็ทำได้" ในฉบับที่แล้ว ผมได้พาทุกท่านล้วงลึกลงไปในห้องเกียร์ออโตเมติก โดยนำเอา VB (Valve Body) หรือ "สมองเกียร์" ออกมาให้ชมกันจะจะ พร้อมทั้ง

เพื่อนร่วมงาน อาทิ Torque Converter ชุด Vacuum Control วาล์ว Orifice ไปจนถึงคู่มือประจำรถ กำหนดให้ใช้น้ำมันเกียร์ หรือ ATF (Automatic

Transmission Fluid) เกรดใด นัมเบอร์ไหน ซึ่งก็ควรใช้ตามนั้น สำคัญคือเปลี่ยนถ่ายก่อนกำหนดตามคู่มือสักหน่อย อย่างน้อยควรเปลี่ยนปีละ 2 หน คือต้นปีกับกลางปีก็

จะดีไม่น้อยครับ ว่ากันว่า เกียร์ออโตเมติก หากเราดูแลรักษามันดีๆ จะมีอายุการใช้งานที่ทนทานถึง 20 ปี หรือไม่น้อยกว่า 10 ปี อย่างแน่นอนครับ และเพื่อยืนยันถึงอายุ

ยืนนานของมัน ใน "DIY คุณก็ทำได้" ฉบับนี้ เราจึงควรมาคุยกันถึงหนทางที่เราผู้เป็นเจ้าของจะหาวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องแท้จริง เพื่อความทนทานด้านการใช้งานของมันให้สม

กับที่วิศวกรผู้ผลิตเกียร์ออโต้เขาได้ตั้งใจหวังไว้เถิดครับ







หนทางที่จะนำเราไปสู่อายุขัยยืนนานของการใช้เกียร์ออโตเมติกง่ายๆ ให้มีไว้สัก 10 เถอะนะครับ จำง่ายดี เริ่มกันที่

1. ควรเปลี่ยนถ่าย ATF ให้ได้อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง


แม้ตามกำหนดที่โรงงานได้กำหนดไว้ในสมุดคู่มือถึง 40,000-45,000 km หรือราว 2-2 1/2 ปี ก็อย่าได้วางใจตามนั้น ด้วยว่าการจราจรของกรุงเทพฯ เรา ติดๆ ขัดๆ

ความร้อนสะสมสูงเกือบตลอดการใช้งาน เดี๋ยว ON Gear หรือ OFF Gear อยู่โดยตลอดทั้งวัน นานๆ ทีถึงได้มีโอกาสยืดเส้นยืดสายออกทางไกลหรือขึ้นทางด่วนวันหยุด

กับเขาหน่อยนึง


ความร้อนสะสมจากอุณหภูมิเฉลี่ยที่สูง และการใช้งานวิ่งๆ หยุดๆ ทำให้แรงดันน้ำมัน ATF สูง-ต่ำไม่คงที่ อุณหภูมิมักสูงตลอดเวลาจากแรงดันที่สูงๆ ต่ำๆ ดังนั้นการให้

โอกาส AT (เกียร์ออโตเมติก) ได้ดื่มด่ำกับ ATF ใหม่ๆ สดๆ จึงเป็นเรื่องง่ายๆ ที่เราปฏิบัติได้ไม่ยากครับ อย่าถือว่าสิ้นเปลืองเลยนะ


2. ไม่ควรโยกตำแหน่งเกียร์บ่อย

ควรให้โอกาสมันได้ทำ "หน้าที่อัตโนมัติ" ด้วยตัวของมันเองมากๆ หน่อย เพราะมันถูกออกแบบให้ทำงานตามลำดับขั้นตอนโดยใช้ความเร็วเป็นตัวกำหนดจังหวะการเปลี่ยน

เกียร์อยู่แล้วเป็นปกติวิสัย

มีเจ้าของรถบางท่านที่เชื่อคำโฆษณาว่าเกียร์ออโต้สมัยใหม่สามารถโยกเปลี่ยนได้ตามใจชอบ ก็เลยเอานิสัยเดิมที่เคยใช้รถเกียร์ธรรมดามาใช้กับ AT คือเชนจ์ขึ้น-ลง

ปรากฏว่า อายุเกียร์ไม่ข้ามปีที่ 2 หรือไม่เกิน 40,000 กม. ด้วยซ้ำครับ พัง! สาเหตุก็มาจากการเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ทั้งวันจนเป็นนิสัย ชิ้นส่วนภายในเครียดตลอดเวลา

ความร้อนสูงจากแรงดัน ATF ที่สูงเกินไป ทำให้สึกหรอสูง จนแรงดัน ATF ไม่คงที่ ทุกอย่างพังหมดครับ และพังอย่างเร็วซะด้วยครับ!







บางท่านที่ไม่มากประสบการณ์ก็อาจเผลอกด Overdrive (เกียร์สำหรับลดรอบเครื่องยนต์) ไว้ทั้งวัน โดยมิได้สังเกตอาการก็มีครับ


3. ยุคหนึ่งเชื่อกันว่า ถ้าติดไฟแดงก็ควร "พักเกียร์"

ใช่ครับ ผมเองในอดีต 10 ปีก่อนก็ทำเช่นนี้บ่อยๆ คือเต็มใจปลดเกียร์เป็น N ทุกครั้งที่ติดไฟแดง โดยหวังว่าจะช่วยเป็นการพักเกียร์! แต่ความจริงกลับไม่ต้องทำเช่นนั้น


การใช้งาน AT ให้ยืนนาน ควรเข้าใจว่าทุกครั้งที่เรา "OFF Gear" น้ำมัน ATF จะหยุดแรงดันของมันทันทีครับ จำ "หลุมฉิ่ง" Orifice Valve ที่มีลูกปืนเม็ดเล็กๆ ทนๆ กลิ้ง

อุดและเปิดวาล์ว ATF ได้ไหมครับ ยามใดที่ ON Gear ลูกปืนในหลุมฉิ่งเหล่านี้จะเปิดให้ ATF ผ่านด้วยแรงดันน้ำมัน ATF ที่อัดอยู่เต็ม VB ( Valve body สมอง

เกียร์) เพื่อ hold ตำแหน่งเกียร์ D อยู่


แต่หากเราเข้าตำแหน่ง N เจ้า ATF ก็หยุดเดิน และไม่ "Standby" ลูกปืนเปิด-ปิด Orifice Valve ก็ปิดตัวลงนอนแอ้งแม้งใน "หลุมฉิ่ง" พอเราเข้าเกียร์ D เพื่อออกตัว

ในจังหวะไฟเขียว ...เท่านั้นละครับ ATF มันก็แย่งกันสูบฉีดด้วยแรงดันให้ไหลวกวนใน VB สมองเกียร์ จงคิดเอาเถิดครับว่า วันหนึ่งๆ หรือครั้งหนึ่งที่คุณได้ทำเช่นนี้ แรงดัน

ATF มันจะขึ้นๆ ลงๆ ตลอดเวลา ไม่ Constant สักที ของเหลว (ATF) เมื่อเคลื่อนตัวไหลไป-มาด้วยแรงดันบ่อยๆ ความร้อนก็ไม่คลายแต่กลับเพิ่มขึ้นๆ สี่แยกแล้วสี่แยก

เล่า หยุดแล้วหยุดเล่า Orifice Valve ต้องทำงานตลอดเวลา เดี๋ยวไหลเดี๋ยวหยุดกะปริบกะปรอย มันจะทนไหวหรือครับ ต่อไปนี้ให้ทำอย่างนี้ครับ

หากหยุดในชั่วแค่ 2-3 นาที ก็ควร "Hold D" เอาไว้ โดยเหยียบแป้นเบรกแทน แต่หากหยุดนานเกินกว่านี้ค่อยเข้า OFF Gear เป็น N อย่างน้อยก็ช่วยยืดอายุเกียร์ได้อีก

โขเลยละครับ ด้วยวิธีง่ายๆนี้ จำไว้ต่อไปนี้หยุดแป๊บเดียวไม่ต้องปลดเกียร์



4. อย่าปลดให้เป็น N (ว่าง) เพื่อให้รถไหล เพื่อช่วยประหยัดน้ำมันก่อนหยุดไฟแดง

วิธีช่วยประหยัดน้ำมันเช่นนี้ไม่ดีแน่ แม้จะดีบ้างกับความประหยัดเชื้อเพลิงลิตรละ 10-15 บาท แต่เกียร์ออโต้มันไม่ชอบ ควรปล่อยให้มัน ON Gear ไปจนถึงไฟแดงดีกว่า

ครับ แล้วแตะเบรกหยุดมันจะทนกว่ามากเลยครับ อีกอย่าง ความประหยัดเชื้อเพลิงด้วยวิธีไหลในตำแหน่ง N ก็ช่วยประหยัดแค่ 2-3% เท่านั้นเอง พูดถึงค่าซ่อมเกียร์ราว

2-3 หมื่น จะคุ้มหรือครับ!?







5. การ Take Off แบบในหนัง คือออกรถให้ล้อเอี๊ยดโชว์นั่นน่ะ อย่าทำเป็นอันขาด

สิ่งที่จะพังเร็วคือ FP (Friction Plate) ที่เรียงเป็นตับอยู่ในเรือนเกียร์ไงครับ มันจะสึกจากความร้อนที่เสียดสีฉับพลัน น้ำมัน ATF ก็ร้อนสูง (ฮีต) บ่อยๆ เข้า เจ้า FP ซึ่ง

หนาแค่ 2-3 มิลลิเมตร ก็ไหม้ได้ครับ นึกถึงภาพเบิ้ลคันเร่ง บรื้นๆๆ... ในขณะที่ AT อยู่ในตำแหน่ง N วัดรอบขึ้นไปตั้ง 3,000-5,000 rpm แล้วโยกมาที่ N ทันที "จ๊าก

โชว์" ได้แน่ครับ แต่ตับไตไส้พุงของ AT มันจะพังคาที่ ในการทำเช่นนี้ไม่ถึง 10 ที ลำพังเจ้าของแบบเราๆ คงไม่ทำเช่นนี้ แต่กล่าวเผื่อไว้สำหรับวัยรุ่นรถซิ่งนะครับ แอบเอา

รถคุณพ่อคุณแม่ หรือเด็กอู่บางคนแอบเอารถลูกค้าไปซิ่งเล่น ปรากฏว่าพังครับ พังชั่วไม่ข้ามคืนนี้แหละครับ

ฉะนั้น อย่า Take Off เพื่อ Show Off เป็นอันขาดครับ!



6. ขณะลากจูง หรือใช้ระบบ "Fly in Four" หรือ "Shift on the Fly" ควรศึกษาคู่มือให้ดี

ก่อนอื่นให้ทราบจากผู้ขาย หรือคำโฆษณา หรือคู่มือประจำรถก่อนว่าเขากำหนดความเร็วในการเล่นฟังก์ชันไว้เท่าใด

ในเกียร์ AT ยุคก่อน ในกรณีต้องลากจูงรถ เขาจะกำหนดความเร็วมักไม่เกิน 40 กม./ชม. ซึ่งเร็วแค่นี้จะไม่เป็นการทำลายเกียร์ ในรถรุ่นใหม่ เกียร์ CPU อาจลากได้เร็วขึ้น

ถึง 60-80 กม./ชม. แต่หากไม่แน่ใจ ควรลากไปเรื่อยๆ ที่ความเร็ว 40-50 กม./ชม. แค่นี้ดีมากครับ ไม่ว่าเกียร์ออโต้ของเราจะเป็นยุคไหนๆ ปลอดภัย ถนอมมันเอาไว้

ก่อนจะดีกว่าครับ



ส่วนรถ OFF Road 4x4 ประดามีที่โฆษณากันว่าเปลี่ยนเป็นขับ 4 ล้อได้ ในขณะที่วิ่งเร็วๆ เราเจ้าของรถก็ควรเข้าใจให้ถ่องแท้ว่า ในคู่มือกำหนดไว้เช่นไร ที่ความเร็วไม่เกิน

เท่าไร ก็สมควรปฏิบัติตามนั้นครับ

ฟังก์ชันเปลี่ยนระบบขับเคลื่อนจาก 2 ล้อ มาเป็น 4 ล้อ ขณะรถวิ่งถูกเรียกว่า "Fly in Four" หรือ "Shift on the Fly" จะกำหนดไว้เฉพาะการขับเคลื่อนจาก 2H มาเป็น

4H หรือจากขับเคลื่อนปกติ 2 High เป็น 4 High เท่านั้น ความเร็วที่โฆษณาไว้ก็แถวๆ 60-80 กม./ชม. ไม่ถึง 100 กม./ชม. เพราะอัตราทดเกียร์ของแต่ละยี่ห้อที่

โฆษณา รวมถึงเส้นรอบวงจากขนาดของวงล้อก็อาจมีการเปลี่ยนแปลงและถูกหลงลืม ดังนั้นควร "เมคชัวร์" ในการ Shift on the Fly หรือเปลี่ยนเกียร์จาก 2H มาเป็น

4H ด้วยการใช้ความเร็วต่ำๆ เข้าไว้จะชัวร์กว่า อย่าเปลี่ยนที่ความเร็วระดับ 100 เลยครับ เขาโฆษณาว่าทำได้จริงอยู่ แต่จะทำได้แค่ไหน หรืออายุเกียร์ AT จะทนในอายุการ

ใช้งานเท่าใด เราผู้เป็นเจ้าของรถเท่านั้นที่รับผิดชอบ

หากทำอะไรในความเร็วที่เกินเลยไป บางทีรถอาจพลิกคว่ำในความเร็วขณะที่เปลี่ยน 2H เป็น 4H หรือไม่ก็เกียร์ AT อาจพังเร็วขึ้น


ที่แน่ๆ หากจะใช้ Shift on the Fly (เปลี่ยนจาก 2H เป็น 4H) ขณะรถวิ่ง ควรให้ตำแหน่งเกียร์อยู่ที่ D (อย่าไปที่ D อื่นๆ) และความเร็วแถวๆ 40-50 กม./ชม. ก็จะดี

อย่าเชื่อโฆษณาอย่างเดียว ควรใช้หลักความจริงของเกียร์ AT เข้าไว้ครับ



7. ไม่ควรใส่อะไรผสมลงไปใน ATF ..หัวเชื้อน้ำมันเกียร์ AT ?!

เพราะเกียร์ AT ต่างกับเกียร์ธรรมดา 5 สปีด (Manaul 5 Speed) ที่เราเคยใช้ เจ้าอย่างหลังนี่มีหัวเชื้อดีๆ (Additive Fluid) ก็จะช่วยให้ชุดเกียร์หมุนลื่น หมุนเงียบขึ้น

แน่นอนครับ เกียร์ธรรมดาถ้าหมุนคล่อง ลื่นดี เกียร์เข้าง่าย เชนจ์เกียร์ได้ฉับไว ขับได้สนุก

แต่เกียร์ AT มันไม่สนครับ เพราะ FP Friction Plate ทำหน้าที่ตามชื่อของมันอยู่แล้ว ความลื่นเหลือล้นในน้ำมัน ATF จึงห้ามเด็ดขาด ควรยืนยันใช้เบอร์เดียว มาตรฐาน

เดียวกับที่สมุดคู่มือประจำรถกำหนดไว้เท่านั้น อย่างยิ่ง หรือหย่อนจากที่กำหนดในคู่มือโดยเด็ดขาด


อ้อ คำถามที่ว่าน้ำมัน ATF แบบสังเคราะห์สมัยใหม่ที่เหนือมาตรฐานกำหนด ใช้ได้หรือไม่นั้น ควรสอบถามศูนย์บริการหรือผู้ชำนาญดูก่อนครับ แต่หากเป็นผม ผมยังคงยืน

ยันใช้ตาม spec เดิมครับ เพียงแต่ขยันเปลี่ยนหน่อยเท่านั้นเอง







8. ก่อนเข้า D ควรเหยียบแป้นเบรกไว้ก่อนหรือไม่?

ก็ได้ครับ จะเหยียบก็ได้ หรือไม่ต้องก็ได้ ในกรณีที่เหยียบแป้นเบรกไว้ก็เพื่อไม่ให้รถกระตุกในขณะที่เข้า D เท่านั้นเอง หากเป็นรถเก่า เกียร์รุ่นเก่าๆ เวลา On gear จะ

กระตุกจนตกใจ ก็ควรเหยียบแป้นเบรกให้เป็นนิสัยก่อนเข้า D เพราะเกียร์ AT รุ่นเก่าจะกระตุกมากจนน่ารำคาญ รวมไปถึงเกียร์ AT ที่มีอายุการใช้งานมานมนานหลายปี

อาจมีอาการสึกหรอให้เห็นชัดด้วยอาการกระตุกอย่างแรงน่ารำคาญ การเหยียบแป้นเบรกเพื่อช่วย On gear ด้วยความนุ่มนวลไว้ก่อนเข้า D ก็เป็นสิ่งที่น่าทำ ส่วนจำเป็นมาก

น้อยอย่างไรก็แล้วแต่กรณีครับ แต่ผมเหยียบแป้นเบรกจนเป็นนิสัยก็ไม่ลำบากแต่อย่างใดครับ


9. หมั่นสังเกตอาการกระตุกของ AT

ยามใดที่เรารู้สึกว่าเกียร์ AT ที่เราใช้อยู่ทุกวันมันเกิดกระตุกยิ่งกว่าเดิม อย่าวางใจนะครับ ควรพบช่างเพื่อปรับตั้ง "Vacuum Control : VC" ทันที อย่าแกล้งเมิน บางที

อาการกระตุกของ AT จะหายได้ง่ายๆ ด้วยการปรับตั้ง VC เท่านั้นเอง แป๊บเดียวก็เสร็จ

แต่ถ้าหาก VC ถูกใช้มานานหลายปีดีดักแล้วละก็ สมควรสั่งอะไหล่มาเปลี่ยนใหม่ครับ ไม่ควรซ่อม เพราะชื่อมันก็บอกครับว่าเป็น Vacuum ซึ่งความหมายก็คือ มันทำงาน

ด้วยสุญญากาศเท่านั้น เสียแล้ว เสื่อมแล้ว รั่วแล้วซ่อมไม่ได้ ต้องเปลี่ยนยกชุดของแท้ครับ

แต่หากเปลี่ยน VC ใหม่ยกชุดแล้ว ยังมีอาการ คราวนี้ก็ควรล้างสมองเกียร์ VB ด้วยน้ำยา Flush & Fill สักที หากไม่ปล่อยให้อาการนี้เกิดขึ้นนานจนลำบากยุ่งยากละก็ แค่

ล้างด้วยน้ำมัน Flush & Fill เดี๋ยวเดียว ชุด VB สมองเกียร์ ก็สะอาดเอี่ยมอีกครั้ง ไม่กระตุกอีกต่อไปชั่วระยะเวลาอีกนานปี


10. หลังจากสตาร์ทรถเกียร์ AT แล้ว อย่าผละออกจากรถไปที่อื่น !

บางครั้งเจ้าของรถอาจเผลอเข้าตำแหน่ง D เอาไว้โดยไม่รู้ตัว ลำพังเมื่อเปิด แอร์ เอาไว้ เจ้าอุปกรณ์ Idle UP Speed หรือเรียกกันว่า "Vacuum Air" อาจตัดเอาดื้อๆ

เพราะอุณหภูมิความเย็นหนาวของแอร์แต่ละเวลา เย็นเร็วเย็นช้าไม่เท่ากัน ที่ตำแหน่งเกียร์ D บางครั้งเมื่อมีโหลดแอร์ รถเราถูกโหลดด้วยการเปิดแอร์ รถก็อาจจะหยุดนิ่งได้

แต่พอ Vacuum Air ตัด เครื่องยนต์ก็ปลดโหลดแอร์ไปอีกหน่อย รอบเครื่องยนต์เร่งขึ้นเอง ราว 500-700 rpm ก็อาจจะส่งผลโดยตรงให้เกียร์ ON D ทันที รถอาจวิ่ง

ออกไปได้ดื้อๆ

หรือบางทีโรงจอดรถเป็นเนินลาดขึ้น พอ Vacuum Air ตัด รอบก็เร่ง 500-700 rpm อาจจะทำให้รถวิ่งเองได้ด้วยเกียร์ D ที่เผลอเข้าเอาไว้ เรื่องไม่เป็นเรื่องก็มักเป็นเรื่อง

พาดหัวหนังสือพิมพ์อยู่บ่อยๆ ครับ ผมเคยโดนกับตัวคือ เผลอ ON D เอาไว้ แล้วรถมันวิ่งไปเอง! เร็วเสียด้วยครับ ในระดับความเร็วสัก 15 กม./ชม. ปีนฟุตบาทชนรั้วข้าง

บ้านเฉยเลยครับ ...เฮ้อ...

ยังมีเรื่องราวอีกมากมายหลายหลากที่เป็นเรื่องง่ายดายที่เราควรเข้าใจ ซึ่งใน "DIY คุณก็ทำได้" ฉบับหน้าจะได้นำเอาเรื่อง "วิธีตรวจตราดูแลเครื่องยนต์หัวฉีด" ด้วยตัวคุณ

เอง เนื้อหาเหมือนเดิมครับ
 

ที่มาน่าจะจากหนังสือ "DIY คุณก็ทำได้"  แต่ผมเอามาจากเวปนี้นะครับhttp://www.thebestinsure.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=425584&Ntype=777
บันทึกการเข้า

PED.X
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: 07 สิงหาคม 2008 14:39:34 »

ขอบคุณครับ ตรบมือ
บันทึกการเข้า
6tong9
นักแข่งมือสมัครเล่น
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 466



ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 07 สิงหาคม 2008 15:20:29 »

ฟามรู้อีกแล้ว  ดีเลยครับ

ขอบคุงคับ
บันทึกการเข้า
oougy
นักแข่งมืออาชีพอันดับสาม
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 589



ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 07 สิงหาคม 2008 19:56:13 »

ขอบคุณครับ  คำนับ
บันทึกการเข้า
jnarin
มือเก่าหัดแข่ง
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 235



ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 09 สิงหาคม 2008 02:09:26 »

มีประโยชน์สำหรับผมมากเลย
เพิ่งได้เจ้า AE101 มาประจำการ auto ซะด้วยคร้าบบบบบบบบ
ขอบคุณสำหรับความรู้  คำนับ
บันทึกการเข้า

NonG_<TPZ#02>_<NC.Z>
นักแข่งมืออาชีพอาวุโส
********
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,478



ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 09 สิงหาคม 2008 10:06:09 »

ความรู้คับ
บันทึกการเข้า

Trang-Phattalung Zone / Nongchok Zone
NosDriVe
นักแข่งมืออาชีพอาวุโส
********
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 11,178


พิเรณทีม = มิตรภาพ + ความจริงใจ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 09 สิงหาคม 2008 10:12:05 »

สุดยอดๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
บันทึกการเข้า


ถ้าไม่ทนเหนื่อย ทนลำบากมาด้วยกัน ก็ไม่รู้หรอกว่าแต่ละคนให้ใจกันแค่ไหน ใช่มั้ย พิเรณทีม
bang
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #7 เมื่อ: 09 สิงหาคม 2008 10:34:56 »

 คำนับ คำนับ
บันทึกการเข้า
jnarin
มือเก่าหัดแข่ง
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 235



ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: 11 สิงหาคม 2008 22:00:30 »

มาเก็บความรู้
บันทึกการเข้า

Skyline R92
นักแข่งมืออาชีพอาวุโส
********
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6,567


เจ้าเส้นขอบฟ้าน้อยๆของฉัน.....?


ดูรายละเอียด
« ตอบ #9 เมื่อ: 14 สิงหาคม 2008 10:07:47 »

 ตรบมือ
บันทึกการเข้า

ไมล์ยาว92 เบาะ levin92 ดิจิตอลJ เบาะหลัง92แดง ค้ำเสาบีae92 TAKATA ท่อrsr ไส้ตรง ตูดเป็ดe30 ตู้ซับ โมเดลAE86 Auto light 92 กระจัง levin92
 http://www.aeracingclub.net/forums/index.php?topic=77994.msg1059914#msg1059914
YaSeN
นักแข่งมืออาชีพอันดับหนึ่ง
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,716



ดูรายละเอียด
« ตอบ #10 เมื่อ: 15 สิงหาคม 2008 00:45:24 »

ที่เค้าเตือนมาก ทำเปงประจำ จำไม่ต้องว่าใคร โทดตัวเองเต็มๆๆๆๆ อ้อน
บันทึกการเข้า
AT35 TZ#054
นักแข่งมืออาชีพอาวุโส
********
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,473


หล่อว่ะ................


ดูรายละเอียด
« ตอบ #11 เมื่อ: 18 สิงหาคม 2008 09:56:38 »

เจ๋ง
บันทึกการเข้า

Jay AE
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #12 เมื่อ: 19 สิงหาคม 2008 13:05:56 »

 คำนับ 16000 กม.ผมก็เปลี่ยนแล้ว
บันทึกการเข้า
KA-NAT-NAN
มือเก่าหัดแข่ง
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 231


Smooth Concept


ดูรายละเอียด
« ตอบ #13 เมื่อ: 20 สิงหาคม 2008 13:51:27 »

แหล่มเลยก๊าบ อ่านหนังสือ
บันทึกการเข้า

KA-NAT-NAN
บอลลูน 0303 !RZ!
นักแข่งมืออาชีพอาวุโส
********
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,111


พิเรณทีม ทีมของคนพิเรณคน


ดูรายละเอียด
« ตอบ #14 เมื่อ: 09 มีนาคม 2009 18:18:01 »

เป็นประโยชน์มากเลยครับ ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า

AT35 TZ#054
นักแข่งมืออาชีพอาวุโส
********
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,473


หล่อว่ะ................


ดูรายละเอียด
« ตอบ #15 เมื่อ: 12 มีนาคม 2009 09:33:48 »

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า

BUMP
นักแข่งมือสมัครเล่น
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 302



ดูรายละเอียด
« ตอบ #16 เมื่อ: 15 มีนาคม 2009 19:01:22 »

ขอบคุนความรู้ดีๆคับ
บันทึกการเข้า

ฝากหน่อยนะครับ      
http://www.aeracingclub.net/forums/index.php?topic=130987.msg2774014#msg2774014
m&m autofriends. Kz
นักแข่งมืออาชีพอาวุโส
********
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,515



ดูรายละเอียด
« ตอบ #17 เมื่อ: 19 มีนาคม 2009 12:32:15 »

 สุดยอด สุดยอด
บันทึกการเข้า

เชื่อดิเราทำได้              ปัญหาทุกอย่าง ล้วนอยู่ที่ตัวเราทั้งสิ้น
Gu
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #18 เมื่อ: 23 มีนาคม 2009 16:29:14 »

 คำนับ ขอบคุณมากคับ
บันทึกการเข้า
pbabie
นักแข่งมือสมัครเล่น
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 488


ค่อยเป็น...ค่อยไป...


ดูรายละเอียด
« ตอบ #19 เมื่อ: 27 กรกฎาคม 2009 11:08:32 »

ขอบคุณมากคับ
บันทึกการเข้า

หน้า: [1] 2 3  »    ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2008, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!