เทคนิคการปฏิบัติ หลังซื้อเครื่องยนต์มือสอง
เทคนิคการปฏิบัติ หลังซื้อเครื่องยนต์จากเชียงกง เป็นเทคนิคจำเป็นที่จะต้องนำไปปฏิบัติเพื่อให้ได้เครื่องยนต์ที่สมบูรณ์ที่สุดต้องมีการปรับแต่งหรือปรับปรุง ไม่ใช่การซ่อมแซม เพื่อให้เครื่องยนต์ที่เลือกซื้อมามีประสิทธิภาพสูง และมีอายุการใช้งานยาวนานที่สุด
เปลี่ยนน้ำมันเครื่อง
เป็นสิ่งแรกที่จำเป็นต้องปฏิบัติ เพราะไม่ทราบถึงอายุการใช้งานของน้ำมันเครื่องก่อนที่เครื่องยนต์จะถูกส่งมา และไม่ทราบว่าเครื่องยนต์ตัวนั้นถูกวางกองไว้กี่วัน กี่เดือนแล้ว
โดยเฉพาะในต่างประเทศที่มีค่าครองชีพสูง อัตราค่าใช้จ่ายการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องแต่ละครั้งจะแพงมาก คนทั่วไปใช้น้ำมันเครื่องกันในระยะทางนับหมื่นกิโลเมตร
เมื่อเครื่องยนต์ตกมาเป็นกรรมสิทธิ์ของเราแล้ว จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องคุณภาพดี (ไม่ต้องใส่หัวเชื้อ) ก่อนนำไปใช้งานทุกครั้ง
เปลี่ยนไส้กรองน้ำมันเครื่อง
ปฏิบัติพร้อมไปกับการเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง ควรใช้ไส้กรองของแท้ และเปลี่ยนครั้งเว้นครั้งในการถ่ายน้ำมันเครื่อง (กรณีใช้น้ำมันเครื่องแบบเดิมตลอด)
เปลี่ยนสายพานไดชาร์จสายพานแอร์
เมื่อไม่ทราบถึงอายุการใช้งานที่ผ่านมา จึงไม่อาจคาดเดาอายุการใช้งานที่เหลืออยู่ได้ ราคาสายพานเส้นละ 100-200 บาท คุ้มค่ากับการใช้งานอย่างมั่นใจ อย่าใช้สายตา
วิเคราะห์อายุการใช้งานของสายพานเส้นเก่า โดยเฉพาะสายพานแบบร่องวีในเครื่องยนต์รุ่นใหม่ ๆ ที่หาซื้อยาก ถ้าไปขาดกลางทางจะลำบาก
ถ้าสายพานเก่าสภาพยังดีอยู่ เมื่อเปลี่ยนแล้ว ให้เก็บไว้เป็นอะไหล่ท้ายรถ
เปลี่ยนสายพานขับแคมชาฟท์ (สายพานไทม์มิง)
เพราะไม่ทราบถึงอายุการใช้งานที่ผ่านมา ตามปกติ สายพานไทม์มิงจะมีอายุการใช้งานประมาณ 50,000-100,000 กม. ถ้าคิดจะประหยัดในส่วนนี้ อาจจะต้องทิ้งทั้งบล็อก
เพราะเมื่อสายพานไทม์มิงขาด วาล์วจะชนกับลูกสูบจนเสียหาย
การเลือกเปลี่ยนสายพานของแท้แม้จะแพง แต่อายุการใช้งานกว่า 50,000 กม. นั้นคุ้มค่าและมั่นใจได้มากกว่า อาจจะต้องเปลี่ยนลูกรอกด้วย
เปลี่ยนหัวเทียน
จำเป็นต้องเปลี่ยนเพื่อสมรรถนะของเครื่องยนต์ ถ้าเป็นเครื่องยนต์ที่ใช้หัวเทียนขนาดธรรมดา ควรใช้หัวเทียนแพลททินัม ND W20 EX-ZU หัวละ 80-100 บาท แม้จะแพง
แต่ประสิทธิภาพสูง และทนทานหลายหมื่นกม.
ถ้าเครื่องยนต์ใช้หัวเทียนบล็อกเล็ก (ส่วนมากพวกทวินแคม 16 วาล์ว) เลือกใช้แบบธรรมดาก็ราคาหัวละ 70-90 บาทเข้าไปแล้ว ถ้าเป็นแพลททินัมจะแพงประมาณเกือบสอง
ร้อยบาทขึ้นไป ถ้าสู้ค่าใช้จ่ายไหวจะเลือกใช้ก็ดี เพราะทนทานและประสิทธิภาพสูง
เปลี่ยนเทอร์โมสตัท
ที่เรียกกันว่า ?วาล์วน้ำ? จำเป็นต้องใช้ ห้ามถอดออก เพื่อให้เครื่องยนต์ปรับตัวให้ร้อนได้รวดเร็ว เพราะเครื่องยนต์ที่อุณหภูมิต่ำเกินไปจะมีสมรรถนะต่ำและการสึกหรอสูง
และอย่าเข้าใจผิดว่าเทอร์โมทตัททำให้เครื่องร้อน เพราะเมื่อถึงอุณหภูมิที่ควบคุมหรือกำหนดไว้ เทอร์โมสตัท ก็จะเปิดให้น้ำผ่านได้ เปรียบเสมือนไม่มีเทอร์โมสตัท
เทอร์โมสตัทจะปิดการไหลเวียนของน้ำก็ต่อเมื่ออุณหภูมิต่ำเกินไปเท่านั้น
เทอร์โมสตัทจะทำให้เครื่องยนต์โอเวอร์ฮีท (ร้อนจัด) ก็ต่อเมื่อ ?เสีย? คือ เมื่อถึงอุณหภูมิที่กำหนด เทอร์โมสตัทก็ไม่ยอมเปิด ทำให้น้ำในระบบระบายความร้อนไม่มีการไหล
เวียน
ในเมื่อเราไม่ทราบว่าเทอร์โมสตัทของเดิมเสียหรือไม่ (นอกจากนำไปต้มและใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิน้ำ ซึ่งเสียเวลา) จึงต้องเปลี่ยนตัวใหม่ จำเป็นต้องซื้อเทอร์โมสตัท ที่มีการควบคุมการเปิด-ปิดที่อุณหภูมิเดียวกัน โดยอ่านดูจากตัวเลขที่มีการปั๊มไว้
เปลี่ยนไส้กรองเบนซิน
ถ้าเป็นเครื่องยนต์ธรรมดาก็แค่ไม่กี่สิบบาท ถ้าเป็นเครื่องหัวฉีดก็ 400-800 บาท เน้นว่าจำเป็นต้องเปลี่ยน
เปลี่ยนผ้าคลัตช์
ถึงแม้ผ้าคลัตช์เดิมจะมีสภาพดีก็ต้องเปลี่ยน จะได้ไม่ต้องเสียค่ายกเกียร์-เปลี่ยนคลัตช์ไปอีกนาน โดยเลือกเปลี่ยนผ้าคลัตช์แพงเท่าที่กระเป๋าจะทนได้ใช้ของแท้จะดีที่สุด
ถ้างบประมาณไม่พอให้นำแผ่นคลัตช์เก่าไปย้ำ (ค่าใช้จ่าย 200-400 บาท) พอใช้ได้ แต่สู้ของแท้ไม่ได้
หวีคลัตช์
ถ้ามีร่องรอยสึกหรอ หน้าสัมผัสไม่เรียบ ต้องเปลี่ยน หรือนำไปเจียรที่โรงกลึง
ฟลายวีล
ถ้ามีร่องรอยสึกหรอ หน้าสัมผัสไม่เรียบ ต้องส่งไปเจียรที่โรงกลึง
เปลี่ยนลูกปืนคลัตช์
ไหน ๆ ยกเครื่องออกมาแล้ว ถือโอกาสเปลี่ยนลูกปืนคลัตช์เลย สำหรับรถญี่ปุ่นก็ 150-300 บาท เท่านั้น รถยุโรปก็ไม่ค่อยเกิน 500 บาท
ท่อหรือสายน้ำมันเชื้อเพลิง
เพิ่มความมั่นใจที่จะไม่รั่วซึมอันเป็นต้นเหตุของเพลิงไหม้ อย่าเสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย
เปลี่ยนไส้กรองอากาศ
แท้หรือเทียมแล้วแต่กระเป๋าจะทนได้ แต่จำเป็นต้องเปลี่ยน
เปลี่ยนทองขาวและคอนเดนเซอร์
จำเป็นต้องเปลี่ยน ค่าใช้จ่าย 100-200 บาทเท่านั้น
ฝาจานจ่ายและหัวนกกระจอก
ถ้าจะไม่เปลี่ยนก็ต้องนำมาขูดตะกรันที่เป็นฉนวนไฟฟ้า
เปลี่ยนซีลข้อเหวี่ยงด้านหน้าและด้านท้าย
จะได้ไม่ต้องเสียเวลาและค่าแรง 2 ต่อ เพราะการเปลี่ยนซีลหลังข้อเหวี่ยง จะต้องเปลี่ยนหลังจากยกเกียร์ ยกคลัตช์ หรือถอดฟลายวีลเท่านั้น
เปลี่ยนยางแท่นเครื่องและยางแท่นเกียร์
ค่าใช้จ่ายไม่สูง แต่ใช้งานได้นาน
เปลี่ยนสายหัวเทียน
ป้องกันปัญหาการ ?ขาดใน? จนเครื่องยนต์ทำงานไม่สมบูรณ์ ค่าใช้จ่าย 200-500 บาทเท่านั้น
เปลี่ยนปะเก็นฝาวาล์ว
เนื่องจากต้องตั้งวาล์วก่อนที่จะนำไปใช้งาน ควรเปลี่ยนปะเก็นฝาวาล์วไปพร้อมกันเลย เพราะราคาไม่แพง
ไขน๊อตยึดฝาสูบใหม่ทุกตัว
ข้อควรระวังตรงจุดนี้ก็คือ ต้องไขให้ได้ตามสเปคของเครื่องยนต์รุ่นนั้นๆ ปัองกันปัญหาน๊อตยึด
เปลี่ยนหรือไล่ไขเข็มขัดรัดท่อ-เปลี่ยนท่อยางหม้อน้ำ
ทั้งด้านบนและด้านล่าง
เปลี่ยนบู๊ชคันเกียร์
ถ้าซื้อเครื่องยนต์มาพร้อมเกียร์ ก็จำเป็นต้องเปลี่ยน เพราะราคาไม่แพง
เปลี่ยนซีลเพลากลาง
ถ้าเครื่องยนต์ซื้อมาพร้อมเกียร์ ก็จำเป็นต้องเปลี่ยน
เปลี่ยนสวิตช์วัดแรงดันน้ำมันเครื่อง
ตัวละไม่เกิน 100 บาท
เปลี่ยนเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิน้ำหล่อเย็น
ต้องเปลี่ยนให้ตรงรุ่นของเครื่องยนต์ เพื่อการวัดที่แม่นยำ กรณีเปลี่ยนเครื่องข้ามรุ่นหรือข้ามตระกูล ควรหาทางติดตั้งเซ็นเซอร์ดีกว่าตัวเก่า (ของเครื่องตัวเก่า)
กับเครื่องตัวใหม่ เพื่อไม่ให้ค่าที่แสดงบนหน้าปัดผิดพลาด
เปลี่ยนประเก็นท่อไอเสีย
ค่าใช้จ่ายไม่น่าเกิน 100-200 บาท
ลูกรอกสายพานแอร์
ถ้างบประมาณเหลือและใช้ระบบลูกรอกตั้งความตึงของสายพาน ควรเปลี่ยนเพื่อความมั่นใจ ถ้าลองหมุนดูแล้วยังดีอยู่ อาจไม่ต้องเปลี่ยน
เช็คปั๊มฟรีใบพัดลมหม้อน้ำ(ถ้ามี)
ถ้าความหนืดน้อยกว่าปกติ ต้องอัดซิลิโคน 1-3 หลอดหรือเปลี่ยนใหม่ (ใช้แล้ว) ค่าใช้จ่าย 300-600 บาท
ใบพัดลม
ถ้าแตกหักหรือบิดเบี้ยว ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในขั้นตอนการขนส่ง ที่แออัดไปด้วยอะไหล่เต็มตู้คอนเทรนเนอร์ ตรวจเช็คดูถ้าแตกหักหรือบิดเบี้ยว ไม่ได้ศูนย์ก็ต้องเปลี่ยน
***ขอบคุณแหล่งข้อมูลที่
www.9yakyai.com ***