โดยปกติรถยนต์ทั่วไปจะมีชุดเฟืองท้ายเป็นเฟืองดอกจอก (Differential) ซึ่งทำหน้าที่รับแรงจากเฟืองบายศรี
แล้วเฉลื่ยแรงไปให้เพลาซ้าย-ขวาแยกกัน เพราะเวลาที่รถเลี้ยว ล้อซ้าย-ขวาจะมีระยะทางวิ่งไม่เท่ากัน
ดังนั้นถ้าทำให้เพลาซ้าย-ขวาหมุนเท่ากันจะทำให้มีการลื่นไถลที่ ยางได้และจะทำให้รถเลี้ยวเป็นวงกว้าง
แต่ถ้าล้อข้างใดข้างหนึ่งเกิดหมุนฟรีจะทำให้ล้อที่มีความฝืดมาก ไม่หมุน เช่น
กรณีที่ล้อตกหล่มข้างเดียวหรือเลี้ยวโค้งแรงๆนํ้าหนักรถจะถูกถ่ายไปข้างเดียว ซึ่งจะทำให้การส่งกำลังไปพื้นถนนไม่ดีเท่าที่ควร
L.S.D. (Limited slip differential) จึงมีความจำเป็นขึ้นมาในกรณีที่กล่าวมา โดยที่ชุด L.S.D จะทำหน้าที่เหมือนDifferential
ทั่วไปคือการเฉลื่ยกำลังแบ่งส่งไปให้เพลาข้างซ้าย-ขวาในสภาพการ ใช้งานปกติ ในขณะที่มีแรงกระชากเครื่องแรงหมุนจากเครื่องไม่รุนแรง
แต่เมื่อความเร็วของเพลาข้างซ้าย-ขวาต่างกันมากและมีแรงกระชากท ี่รุนแรง ชุดคลัตซ์ที่อยู่ภายใน Differential จะถูกกดให้
ชุดเฟืองดอกจอกล็อค ทำให้ความเร็วของเพลาข้างซ้าย-ขวาต่างกันน้อยลง ซึ่งการที่คลัตช์จะจับมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความแรง
ของการกระชากคือ ยิ่งกระชากแรง (เร่งเครื่องมาก) คลัตช์ยิ่งจับแรง
รู้จักก่อนกับเฟืองขับ (Differential ) กันก่อน
เป็นส่วนที่สำคัญในระบบส่งกำลัง ทำหน้าที่รับกำลังจากเกียร ส่งต่อมายังเฟืองขับตัวนี้ ทำหน้าที่เปลี่ยนแนวการหมุนในแนวมุมฉาก เป็นแนวขนานผ่านเพลาขับไปยังล้อทั้ง 2 ด้าน เฟืองขับนั้นในระบบขับเคลื่อนล้อหน้าจะถูกติดตั้งมาใ นห้องเกียร ส่งกำลังจากเฟืองเกียรมายังเฟืองขับ โดยตรงเรียกว่า Front Differentias Gear แล้วจึงส่งกำลังผ่านเพลาข้างไปยังล้อทั้ง 2 ข้าง ส่วนในระบบขับเคลื่อนล้อหลังเฟืองขับจะได้รับการส่งก ำลังมาจากเพลากลาง ต่อมายังเฟืองขับแล้วจึงส่งกำลังมายังเพลาข้างและล้อ อีกทีเรียกว่า Rear Differential Gear
ส่วนประกอบของเฟืองขับ ( Differential )
1.เฟืองเดือยหมู ( Worm Gear ) มีลักษณะคล้ายเฟืองรูปกรวย โคนเฟืองมีขนาดโตกว่าส่วนด้านยอดจะมีขนาดเล็ก ทำหน้าที่รับแรงบิดจากเพลากลางในแนวตั้งฉากมาขับเคลื่อนให้เกิดการหมุนตัว
เมื่อเฟืองหมุนตัวจะไปขบกับเฟืองบายศรีทั้ง 2 ด้านให้หมุนตาม
2.เฟืองบายศรี ( Ring Gear ) มีลักษณะเป็นเฟืองวงแหวนมีฟันเฟืองอยู่ด้านข้าง เฟืองตัวนี้จะมีอยู่ 2 ตัว ส่วนอีก 2 ตัวด้านในจะมีเฟืองต่อมายังเพลาขับทั้ง 2 ด้าน มีหน้าที่เปลี่ยนมุมการหมุนให้เป็นแนวขนาน
3.เฟืองดอกจอก ( Planet Gear ) เป็นเฟืองวงแหวน 2 ตัว ทำหน้าที่แยกการหมุนของเพลาขับทั้ง 2 ด้านเมื่อขณะรถวิ่งตรง เฟืองจะรับแรงกดให้ไปขับเพลาทั้ง 2 ด้านเท่ากัน แต่เมื่อเกิดการเลี้ยวเฟืองดอกจอกจะทำหน้าที่แยกการหมุนของล้อให้ส่งกำลังไปเพียงด้านเดียว
คุณสมบัติของเจ้าเฟืองขับแบบธรรมดานี้ คือการส่งกำลังจะส่งไปยังล้อที่รับภาระสูงสุดเพียงล้อเดียว สังเกตุเวลาขึ้นแม่แรงแล้วหมุน ล้อจะหมุนเพียงล้อเดียว อีกล้อฟรีทิ้งอยู่เฉยๆ หรือเวลารถติดหลุม เมื่อเข้าเกียรเร่งเครื่อง ล้อจะหมุนล้อเดียว คุณสมบัตินี้ใช้ในเวลารถเข้าโค้งจะทำให้ล้อที่อยู่ด้านในโค้งหมุนช้ากว่าล้อที่อยู่นอกโค้งรถจึงเข้าโค้งไ ด้อย่างนุ่มนวล
มารู้จักกับ Limited Slip Differential
บางคนเรียกกันสั้นๆว่า เต็ด หรือชื่อย่อๆคือ LSD เจ้าเฟืองท้ายแบบนี้ได้รับการพัฒนามาจาก Differential แบบธรรมดาเพื่อป้องกันล้อหมุนฟรีในขณะรถติดหลุ่มแ เจ้ากลไกในตัว LSD จะทำหน้าที่ล็อคล้อที่หมุนฟรีให้หมุนตามนิยมในพวกรถแ บบ 4WD และในรถแข่งที่ต้องอาศัยการส่งกำลังจากเครื่องยนต์ไป ยังล้อทั้ง 2 ด้านให้ใกล้เคียงกัน ภายในมักจะมีส่วนประกอบคล้ายกับเฟืองขับแบบธรรมดา แต่จะเพิ่มชุดฟันเฟืองพิเศษ ชุดสปริงกด และชุดครัชแบบเปียกที่จะคอยรับแรงกดจากจานกดที่เกิดจ ากแรงบิดจากเครื่องยนต์ และการทำงานของชุดกลไกภายในของ LSD มากดให้จานกดและครัชให้จับตัวกัน ยิ่งมีแรงบิดมากก็จะมีแรงกดมาก เปอร์เซ็นต์การจับตัวก็จะมาก แรงบิดน้อยแรงกดน้อยเปอร์เซ็นต์การจับตัวก็จะน้อยลง แรงกดนี้จะมีฟันเฟืองต่อไปยังเพลาขับเพื่อไปขับล้อแล ะยางให้หมุนตามกัน
ชนิดต่างๆของ LSD
1) 1 way LSD หรือระบบ limited Slip แบบทางเดียว LSD แบบนี้จะทำหน้าที่ส่งกำลังไปยังล้อทั้ง 2 ด้านได้ใกล้เคียงเวลาเฉพาะเหยียบคันเร่ง จะทำให้เกิดแรงบิดไปพลักดันกลไกลภายในให้ทำงาน แต่พอถอนคันเร่งก็หยุดการทำงานล้อที่ไม่ได้รับภาระก็ จะหมุนฟรีเป็นปกติ LSD แบบนี้มักจะติดตั้งมากับรถโรงงาน พวกนี้เวลารถเข้าโค้งแล้วถอนคันเร่งการทำงานจะมีลักษณะเหมือนเฟืองขับปกติ นิยมใช้กับรถทุกประเภทสามารถบังคับได้ง่าย เหมาะกับมือใหม่และการใช้งานบนท้องถนน L.S.D แบบนี้คลัตช์จะจับเฉพาะตอนเร่งเครื่อง
2) 1.5 way LSD พัฒนาการใช้งานระหว่าง 1 way และ 2 way แบบนี้จะทำงานเต็มที่เมื่อเหยียบคันเร่งแต่พอถอนคันเ ร่งจะทำงานน้อยกว่า ลดอาการ Understree ได้มาก
เหมาะกับรถขับเคลื่อนล้อหน้าโดยที่ L.S.D ชนิดนี้ คลัตช์จะจับตอนเร่งและเมื่อถอนคันเร่งจะจับแค่เพียงครึ่งเดียว ทำให้ออกจากโค้งได้เร็ว
ซึ่งเหมาะกับการแข่งขัน เช่น จิมคาน่า ซึ่งเป็นที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน
3) 2 way LSD หรือระบบ limied Slip แบบสองทาง แบบนี้จะทำงานทั้งในขณะเหยียบคันเร่งและยกคันเร่ง แบบนี้จะทำให้เวลาเข้าโค้งเกิดความยากลำบาก เพราะล้อด้านในโค้งจะหมุนตามด้วยความเร็วใกล้เคียงกั บล้อด้านนอกโค้ง ส่งผลให้เกิดการฟรีทิ้งของยางจนเกิดการควบคุมรถได้ยา กกว่า แต่ในทางตรงจะสามารถส่งกำลังไปยังล้อได้ดีกว่า LSD แบบนี้มักจะต้องซื้อมาติดตั้งที่เรียกกันว่า เต็ดซิ่ง ที่หลายสำนักผลิตกันออกมาจำหน่ายกัน แบบนี้เวลาเข้าโค้งรถจะเกิดอาการ Understree
เหมาะกับแข่งขันนิยมใช้กับรถขับเคลื่อนล้อหลัง และ ขับเคลื่อน 4ล้อ L.S.D. ชนิดนี้ จะจับทั้งตอนเร่งและถอนคันเร่ง
ทำให้ควบคุมรถในการเข้าโค้งได้อย่างมั่นใจ
ข้อดีเมื่อทียบกับเฟืองท้ายแบบธรรมดา1. ช่วยแก้ปัญหาเวลารถตกหล่ม ทำให้ล้ออีกด้านไม่หมุนฟรีสามารถใช้กับเส้นทางทุรกันดารได้ดีกว่า
2. ช่วยให้การออกตัวดีขึ้น ลดอาการฟรีของล้อ เหมาะสำหรับรถควอเตอร์ไมล์
3. ช่วยในการออกโค้งได้ดีกว่า ลดอาการหมุนกลับ และสามารถใช้เทคนิคจนควบคุมรถได้
4. เพิ่มลูกเล่นและเทคนิคการขับรถได้มากขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบฝึกฝนหรือหาเทคนิคใหม่ๆ
ข้อเสีย1. การเข้าโค้งจะยากกว่าและต้องระวังมากกว่า เพราะอาจทำให้รถเกิดการ Understeer ได้ง่าย
2. ยางสึกหรอเร็ว เพราะล้อที่ไม่หมุนฟรีต้องอาศัยการหมุนฟรีของยางที่สัมผัสกับถนนยางจะสึกหรออย่างรวดเร็ว และมีเสียงดัง
3. อายุการใช้งานของเพลาขับและลูกปืนล้อสั้นลงอย่างรวดเ ร็ว เพราะต้องรับแรงบิดเพิ่มขึ้น เพลาอาจขาดหรือลูกปืนแตกได้ง่าย
4. ดูแลรักษายาก ต้องดูแลอยู่เสมอ และมีการสึกหรอค่อนข้างสูง
5. ในรถแบบขับเคลื่อนล้อหน้าจะมีการขัดขืนเวลาเข้าโค้ง อาจเกิดการ 0ver streer ได้ง่าย
การติดตั้งและการเลือกใช้
มีรถส่วนน้อยที่ได้ติดตั้ง LSD มาจากโรงงาน รถส่วนใหญ่ที่ติดตั้ง LSD มักจะเป็นรถจำพวก 4wd และรถที่เครื่องยนต์แรงเพื่อช่วยในการออกตัวที่ดี
สำหรับการติดตั้งในรถยนต์ขับเคลื่อนล้อหน้าต้องทำการ ยกเกียร์ทั้งลูกลงมาแล้วทำการผ่าเกียรออกมาแล้วยกชิ้น ส่วน และถอดเฟืองขับแบบธรรมดาออกมา
แล้วจึงเอาชุด LSD ติดตั้งประกอบกับเฟืองขับเดิม หรือบางรุ่นจะมีเฟืองขับที่มีอัตราทดใหม่มาติดตั้งแทนได้เลย ในรถขับเคลื่อนล้อหลังแบบคานแข็งต้องทำการถอดเพลากลาง เพลาข้าง เฟืองเดือยหมู
หรือบางรุ่นมีหน้าแปลนถอดเปลี่ยนได้เลย ในรุ่นที่เป็นคานอิสระถอดเพลาข้างและเพลากลางออก แล้วจึงถอดชุดเฟืองท้าย ออกมาแล้วเปลี่ยนชุดใหม่ทั้งเฟืองท้ายหรือถอดมาเปลี่ยนเฉพาะชุด LSD
แต่เฟืองท้ายเดิม การควบคุมการทำงานบางรุ่นใช้การควบคุมด้วยระบบลม และบางรุ่น การเลือกใช้ต้องคำนึงถึงรูปแบบการขับขี่เป็นสำคัญว่า จะใช้แบบ 1 way - 1.5 way หรือ 2 way
ขึ้นอยู่กับการใช้งาน และการแข่งขันที่แตกต่างกัน การเลือกยี่ห้อต้องดูที่
โครงสร้างภายในบางรุ่นใช้ระบบฟันเฟือง ( Helical LSD )ในการทำงาน บางรุ่นใช้ระบบผ้าครัช ( Multiplate LSD ) ที่มีจำนวนแตกต่างกันเช่น 4 แผ่น 8 แผ่น หรือ 12 แผ่น
ยิ่งมีผ้าครัชมากก็สามารลดอาการฟรีของล้อได้มาก สามารถกระจายแรงม้าลงพื้นได้มากกว่าเดิม
ในรถขับเคลื่อน 4 ล้อมักจะมี LSD ติดตั้งมาแล้ว แต่อาจเปลี่ยนใหม่ในรูปแบบแตกต่างกันได้เช่นด้านหน้า เป็นแบบ 1.5 way และด้านหลัง 2 way จะทำให้ขับขี่สนุกขึ้น
การดูแลรักษา
เนื่องจาก LSD มีระบบการทำงานที่ซับซ้อนกว่าเฟืองขับแบบปกติ เช่นบางรุ่นมีฟันเฟืองพิเศษ ที่ต้องอาศัยเบอร์น้ำมันที่ไม่เหมือนกับเฟืองท้ายปกติ และบางรุ่นส่วนใหญ่จะมีผ้าครัชแบบเปียก จึงต้องใช้น้ำมันพิเศษที่ออกแบบมาสำหรับ LSD โดยเฉพาะ ไม่ควรใช้น้ำมันเฟืองท้ายหรือผสมหัวเชื้อใดๆเพราะอาจจะทำให้ผ้าครัชลื่น น้ำมัน LSD ต้องได้รับการเปลี่ยนถ่ายไวกว่า เพราะจะมีเศษของชิ้นส่วนที่สึกหรอปนออกมามากกว่าและอาจจะไปทำอันตรายต่อชิ้นส่วนอื่น หรือทำให้สึกหรอเร็วยิ่งขึ้น ต้องป้องกันน้ำอย่างเด็ดขาด เพราะผ้าครัชและสปริงกลัวน้ำมากจะเสียหายอย่างรวดเร็ ว ถ้าสงสัยว่าน้ำอาจเข้าต้องรีบเช็คหรือรีบเปลี่ยนถ่ายทันที
++ ไปหาจากหลาย ๆ เวปแล้วรวมมาให้อ่าน ++