หลังจากที่อ่านมาหลายกระทู้เกี่ยวกับการตัด หรือไม่ตัด ปั้มติ๊ก ดี บ้างก็ว่ามีผลเสียอย่างโน้นอย่างนี้ ว่ากันไปต่างๆนาๆ บ้างก็จะเอารายได้กับการตัดปั้ม กันเลย ลองมาอ่านบทความนี้ดูนะครับ เผื่อจะเป็นข้อมูลในการตัดสินใจครับ
ข้อมูลจะเป็นของ TOYOTA ครับแต่หลักการหัวฉีด คงไม่ต่างกันมาก
1 เริ่มจากปั้มติ๊กครับ
ส่วนใหญ่ จะเป็นปั้มแบบ Turbine pump ชึ่งจะจุ่มอยู่ในถังน้ำมัน ที่ท่อทางออกจะมี วาวล์กันกลับ ครับ และก่อน วาวล์กันกลับจะมี ลิ้นระบายความดัน ชึ่งจะรักษาแรงดันอยู่ที่ประมาณ 2.5 บาร์ (Toyota 4A FE)
2 ตัวควบคุมความดัน (Pressure Regulator)
ตัวควบคุมความดัน เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมค่าความแตกต่างระหว่าง ความดันน้ำมันในกระบบ กับค่าความดันของอากาศในท่อร่วมไอดีให้คงที่ตลอดเวลาจากการที่ความดันของ อากาศในที่ร่วมไอดีมีการเปลี่ยนไปตามความเร็วรอบ และภาระของเครื่องยนต์ดังนั้นถ้าหากความดันของน้ำมันถูกควบคุมไห้คงที่เพียง ค่าเดียวจะทำให้ค่าความแตกต่างระหว่างความดันน้ำมันเชื้อเพลิง กับความดันอากาศในท่อร่วมไอดีมีค่าไม่คงที่แน่นอนซึ่งเป็นเหตุให้น้ำมัน เชื้อเพลิงฉีดเข้าไปผสมกับอากาศในท่อไกดีมีปริมาณไม่เที่ยงตรง ตามระยะเวลาในการฉีดที่กำหนดโดยECU
กราฟแสดงความสัมพันธ์ของความดันน้ำมันเชื้อเพลิง กับความดันอากาศ ในท่อไอดี ซึ่งจะรักษา ความดัน น้ำมันให้มีค่าความแตกต่างเท่ากันตลอดเวลา( Differential pressure)
ถ้าไม่เหยียบคันเร่ง ความดันในท่อไอดีจะต่ำ(เป็นสูญญากาศมาก) ความดันน้ำมันก็จะถูกควบคุมให้ต่ำลง ถ้าเหยียบคันเร่ง ความดันในท่อไอดีจะสูง(เป็นสูญญากาศน้อย) ความดันน้ำมันก็จะถูกควบคุมให้สูงขึ้น
สรุปคือ
ความดันในท่อน้ำมันจะถูกรักษาให้มีความดันสูงๆ ต่ำๆ ตามความดันในท่อไอดี ซึ่งก็คือการเหยียบคันเร่งนั่นเอง ถ้ารถวิ่งเร็วๆ ความดันน้ำมันก็จะสูง (ซึ่งจะไม่เกิน 2.55 bar) ถ้ารถวิ่งช้า หรือเครื่องเดินเบา ความดันของน้ำมันก็จะถูกควบคุมให้ต่ำลง (น้อยกว่า 2 bar) ดังนั้น ขณะที่รถวิ่งด้วย GAS ถ้าไม่ตัดปั้มติ๊ก ตัวควบคุมความดัน(Pressure regulator) ก็จะยังทำงานอยู่เหมือนเดิม เพราะ เรายังเหยีบคันเร่งเหมือนเดิม และความดันในท่อไอดีก็ยังมีเหมือนเดิม น้ำมันจากปั้มถูกปั้มมา และจะถูกควบคุมให้สูงๆต่ำๆ เหมือนขณะที่ใช้น้ำมันทุกประการ ไม่ได้อยู่ที่ความดันสูงตลอดเวลาอย่างที่คิด น้ำมันก็จะไหลหมุนเวียนผ่าน ปั้มติ๊ก, ท่อ, รางหัวฉีดน้ำมัน และกลับถัง ถ้าตัดปั้มติ๊ก ปั้มจะหยุดทำงานแต่น้ำมันจะถูกกักไว้ด้วย วาวล์กันกลับที่ตัวปั้ม แต่ ตัวควบคุมความดันก็ยังทำหน้าที่ มันเหมือนเดิม คือเปิดให้น้ำมันไหลกลับถัง ถ้าความดันในท่อไอดีเปลี่ยนไป ทำให้ความดันในรางหัวฉีดน้ำมันต่ำลง(เรื่อยๆ)เพราะปั้มถูกตัดไปแล้ว ถ้าวิ่งระยะทางไกลๆทำให้ความร้อนในห้องเครื่องสูงขึ้น รางหัวฉีดน้ำมัน ท่อน้ำมันในห้องเครื่อง(บางส่วน) มีความร้อนสูงขึ้น น้ำมันบางส่วนที่ค้างอยู่ในท่อ ก็จะถูกต้มให้มีอุณหภูมิสูงขึ้น เพราะน้ำมันหยุดไหลจากความดันที่ลดต่ำลง แต่จะไม่ทำให้ความดันสูงขึ้นได้ เพราะ ตัว ควบคุมความดันยังทำงานอยู่แต่สิ่งที่น่าจะเป็นไปได้คือความร้อนที่สะสมอยู่ กับรางหัวฉีด และท่อน้ำมันบางส่วน ซึ่งจะมีน้ำมันร้อนๆ ที่ค้างอยู่ข้างในนั่นเอง ซึ่งคงจะไม่ทำให้ท่ออ่อนแตกหรือแห้งกรอบได้ ดังนั้นไม่ว่าท่านใดจะตัดหรือไม่ตัดปั้มติ๊กก็ตาม คงไม่ทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้ แต่ ถ้า ท่อน้ำมัน,สายอ่อนน้ำมันที่เสื่อมตามสภาพและอายุการใช้งาน และขาดการบำรุงรักษาที่ดี ขาการตรวจเช็ค(ด้วยตัวท่านเอง)อย่างสม่ำเสมอ นั่นแหละท่านกำลังทำให้เกิดความเสี่ยงแล้ว ท่านที่ตัดปั้มไปแล้วอย่างน้อยท่านก็ช่วยยืดอายุของปั้ม แต่อย่าตัดขาดครับ ต้องใช้งานบ้างครับ ถ้าไม่ใช้งานเลยก็เสียครับ ท่านที่ยังไม่ได้ตัดปั้ม อย่างน้อยท่านก็ยังไม่เสียเงินค่าแรงในการตัด ข้อมูลทั้งหมดนี้หวังว่าคงเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจนะครับ ส่วนตัวผมเองไม่ตัดครับ ให้มันทำงานของมันไป ไม่กลัวปั้มจะพังเร็ว เพราะเชื่อการ design ว่าทำมาให้มั่นใจแล้วแต่ผมกลัวสิ่งที่คาดเดาได้ยากจากสิ่งที่นอกหนือการ design อย่างน้อยขณะที่เราเปลี่ยนจาก แก๊สเป็นน้ำมัน จะได้ smooth ครับ
ข้อมูล จากหนังสือ เครื่องยนต์หัวฉีด EFI โดย ....นพดล เวชวิฐาน
การตัดปั้มติ๊กนั้นที่ช่างส่วนใหญ่ไม่ได้ตัดกันก็เพราะว่าจะมีอาการกระตุกและสตาร์ทติดยากตามมาครับ เพราะว่าระบบecuของแก๊สไม่ได้ออกแบบมาครับถ้าเราไม่ตัดปั้มติ๊กการเปลี่ยนเชื้อเพลิงระหว่างแก๊สกับน้ำมันจะราบรื่นไม่กระตุกส่วนข้อเสียมันก็มีครับถ้าขณะขับขี่ในโหมดแก๊สแล้วปั้มติ๊กยังทำงานอยู่ถึงแม้ว่าจจะมีระบบระบายแรงดันและควบคุมแรงดันเกินถ้าเกิดสายน้ำมันแตกขึ้นมาในห้องเครื่องยนต์แล้วฟุ้งกระจายถ้าไม่มีประกายไฟก็ไม่เป็นไรครับแต่ถ้าเกิดมีประกายไฟมันก็ยุ่ง ถ้าเราใช้โหมดน้ำมันเมื่อท่อแตกเราก็จะรู้ครับเครื่องจะสั่นและดับเองหลังจากเครื่องยนต์ดับecuเครื่องยนต์ก็จะตัดการทำงานของปั้มติ๊ก แต่ถ้าเราอยู่ในโหมดแก๊สเครื่องมันไม่ดับนะครับท่อน้ำมันแตกเราก็ไม่รู้เรื่องครับนอกจากจะได้กลิ่นของน้ำมันเข้ามาห้องโดยสารครับ
ถ้าไม่ตัด ก็อย่าให้น้ำมันในถังเหลืออยูุ่น้อนจนเกินไปนานๆนะครับ เพราะคิดว่าปั้มติ๊กจะร้อน เพราะขณะที่มันดูดน้ำมันเข้าไป แต่น้ำมันที่มีอยู่น้อยอาจทำให้ไม่มีน้ำมันช่วยหล่อลื่นปั้มติ๊ก ทำให้ปั้มพังไวขึ้น คิดว่าพอไฟเตือนน้ำมันโชว์ก็ควรรีบเติมโดยเร็ว จะดี
ถ้าไม่ตัด น้ำมันก็อาจจะหายหรือรั่วที่หัวฉีด เข้าไปในเครื่องยนต์ได้