AE. Racing Club
04 ธันวาคม 2024 10:32:27 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า:  «  1 [2]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: น้ำมันเบรค...ถ้าดำมากก็เปลี่ยนซะเถอะครับ...แล้วเบรคจะดีขึ้นจริงๆ  (อ่าน 9993 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
dendepapepe
นักแข่งมืออาชีพอันดับสอง
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 805



ดูรายละเอียด
« ตอบ #20 เมื่อ: 10 มีนาคม 2009 21:13:17 »

เอ้ออออออออออ จำไม่ได้แล้วว่าไม่ได้เปลี่ยนมานานเท่าไหร่แล้ว ไปเปลี่ยนมั่กดีก่า ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆคร้าบบบบบบบบ
บันทึกการเข้า

Corolla3Hoop
นักแข่งมือสมัครเล่น
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 298



ดูรายละเอียด
« ตอบ #21 เมื่อ: 11 มีนาคม 2009 01:36:52 »

ซื้อ DOT3 ก็ ลิตร ละ 120 บาท แล้ว  เพิ่งเงินอีกนิด ใช้ DOT 4 ไปเลย ดีกว่า ยี่ห้อ GM ลิตร 150 บาท เอง


รถ ฝรั่ง ยังบังคับ ใช้ขั้นต่ำ Dot4 เลย   และ เห็นหลายๆ คนทีรู้จักใช้ ไม่เห็นเป็นไรสักคนเลย



ถ้าเป็นอย่างที่ว่าลูกยางสึก สงสัย รถเก่าๆ ก็ ใช้น้ำมันเครื่อง20W50ต่อไป  ไม่เคยใช้  น้ำมันเครื่องเกรดดีๆ อย่าง  15W40 หรือ 10W40 ละคับ   ไม่ต้อง อ้างระดับ 0W30 หรอกคับ



ผมไปเจอข้อมูลมาแบบนี้ครับ

ไม่ได้ห้ามให้ใช้ แค่บอกต่อว่าลูกยางมันจะบวมได้

ไม่ต้องลากไปน้ำมันเครื่องก็ได้น่ะ

อ้างถึง
รถยนต์ไม่เพียงแต่ต้องพัฒนาให้แรงเร็วและดูแลให้ทะยานไปได้ ระบบเบรกก็ต้องเยี่ยม และได้รับการดูแล ควบคู่กันเสมอ แล่นได้ก็ต้องหยุดได้

ระบบเบรก - BRAKE
หรือห้ามล้อมีหน้าที่ ชะลอความเร็วหรือหยุดรถยนต์ตามการสั่งงานของผู้ขับ โดยมีพื้นฐาน คือ สร้างแรงเสียดทานขึ้นด้วยผ้าเบรก ซึ่งกดเข้ากับจานหรือดุมเบรกที่หมุนตามล้อ

แรก เริ่มในยุคที่รถยนต์เพิ่งถือกำเนิดขึ้นเมื่อกว่า 100 ปีที่แล้ว การสั่งให้ผ้าเบรกกดหรือคลาย เป็นการใช้ระบบกลไก เช่น ก้านโยกหรือสะลิง คล้ายระบบเบรกของจักรยาน ซึ่งสะดวกในการออกแบบและทำงาน แต่ขาดความแม่นยำในการควบคุมจากผู้ขับ เช่น สะลิงยืดหรือต้องปรับตั้งบ่อย ต่อมาจึงมีการออกแบบให้ระบบเบรกมีการใช้ของเหลว ในการถ่ายทอดการสั่งงานจากผู้ขับไปยังการกดผ้าเบรกเพื่อสร้งแรงเสียดทาน ซึ่งกลายเป็นระบบเบรกพื้นฐานมาจนถึงทุกวันนี้ แล้วจึงพัฒนาส่วนปลีกย่อยกันออกไป แต่ไม่ว่าจะมีรายละเอียดของอุปกรณ์อย่างไร ก็ยังใช้การถ่ายทอดด้วยของเหลว (น้ำมันเบรก) เป็นหลัก

หลักการถ่ายทอดการควบคุมน้ำมันเบรกจากการกด เท้าลงบนแป้นเบรก เพื่อสั่งให้ผ้าเบรก ขยับตัวกดจานหรือดุมเบรก เปรียบเทียบให้เข้าใจง่าย ๆ คือ นำกระบอก เข็มฉีดยามา 2 อัน ดูดน้ำไว้ทั้ง 2 กระบอก แล้วต่อท่อยางขนาดเล็กที่บรรจุน้ำไว้เต็มเข้ากับหัวของ กระบอก ฉีดยาทั้ง 2 น้ำทั้งหมดก็กลายเป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อกดแกนของกระบอกฉีดยา ด้านหนึ่งลง (เสมือนมีการกดแป้นเบรกที่ต่ออยู่กับแม่ปั๊มด้านบน) น้ำก็จะถูกไล่ผ่านท่อยางขนาดเล็ก ทำให้แกนของกระบอกฉีดยาอีกตัวหนึ่งดันออก (เสมือนกระบอกเบรกที่ล้อดันผ้าเบรก ออกไป) จะเห็นว่าของเหลวในระบบต้องไม่มีการรั่วซึม ลูกยางรีดในกระบอกต้องกักน้ำได้ และไม่มีอากาศปะปนในระบบ การถ่ายเทแรงดันจึงจะเป็นไปอย่างสมบูรณ์

พื้นฐานของระบบเบรก
ประกอบ ด้วยอุปกรณ์หลักอย่างน้อยดังนี้ คือ แม่ปั๊มบน-ตัวสร้างแรงดัน ท่อโลหะและ ท่ออ่อน กระบอกเบรกที่ล้ออย่างน้อยล้อละ 1 กระบอก ผ้าเบรก และจานเบรก (ดิสก์) หรือดุมเบรก (ดรัม) แล้วค่อยมีการพัฒนาเสริมอุปกรณ์อื่นเข้ามา เช่น แม่ปั๊มบนตัวเดียวแต่แบ่งเป็น 2 วงจรภายใน เป็นล้อหน้า-หลัง หรือทแยงหน้าซ้าย-หลังขวา หน้าขวา-หลังซ้าย เพื่อเพิ่มความปลอดภัยเมื่อระบบย่อยหนึ่งบกพร่องจะได้ยังเหลือแรงเบรกอยู่ บ้าง, หม้อลมเบรกช่วยผ่อนแรงในการกดแป้นเบรก โดยการใช้แรงดูดสุญญากาศที่จากท่อไอดี ของเครื่องยนต์มีหลายขนาดเล็กหรือใหญ่ไปก็ไม่ดี, วาล์วปรับแรงดันน้ำมันเบรก ติดตั้งต่อจากแม่ปั๊มเบรกตัวบนก่อนที่น้ำมันเบรกจะถูกส่งไปยังล้อต่าง ๆ ช่วยให้แรงดัน น้ำมันเบรกกระจายไปอย่างเหมาะสม, เพิ่มจำนวนกระบอกเบรกเพื่อเพิ่มแรงกดที่ผ้าเบรก, เพิ่มขนาดจาน-ดุมเบรก พร้อมเพิ่มพื้นที่ของผ้าเบรกให้สามารถสร้างแรงเสียดทานได้มากขึ้น, เอบีเอส ป้องกันการล็อกของล้อ ฯลฯ

แม่ปั๊มเบรก
ทำหน้าที่สร้างแรงดัน น้ำมันเบรกเมื่อมีการสั่งจากผู้ขับ ส่วนใหญ่ติดตั้งรวมกับหม้อลมเบรก ภายในประกอบด้วยลูกยางหลายลูก และสปริงโดยจะคืนตัวเองเมื่อไม่มีการกดแป้นเบรก
อาการการเสีย คือ ไม่สามารถสร้างแรงดันได้จากลูกยางที่หมดสภาพ ไม่สามารถดัน รีดน้ำมันได้ หรือรั่วย้อนออกมา หรือเสียทั้งตัวลูกยางพร้อมตัวกระบอกเป็นรอย การซ่อมจึงมีทั้งแบบเปลี่ยนเฉพาะลูกยางพร้อมชุดซ่อม หรือเปลี่ยนทั้งตัว

หม้อลมเบรก
เป็น เพียงอุปกรณ์ที่ช่วยผ่อนแรงกดแป้นเบรกให้เบาเท้าขึ้น กลายเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน ของรถยนต์ยุคใหม่ไปแล้ว ไม่เกี่ยวข้องกับระบบน้ำมันเบรก โดยใช้แรงดูดสุญญากาศ จากท่อร่วมไอดีของเครื่องยนต์มาช่วยดันแผ่นยางไดอะเฟรมและแกนแม่ปั๊มตัวบน เมื่อมีการกดแป้นเบรก โดยที่ประสิทธิภาพที่แท้จริงของระบบเบรกยังขึ้นอยู่กับ อุปกรณ์อื่นไม่ใช่เฉพาะที่ตัวหม้อลม ขนาดของหม้อลมต้องพอเหมาะ ขนาดเล็กไป ก็หนักเท้าเหมือนเบรกไม่ค่อยอยู่ ขนาดใหญ่ไปก็เบาเท้า แต่แรงกดที่มากเกินไป ในขณะที่อุปกรณ์อื่นยังเหมือนเดิม ก็อาจทำให้ล้อล็อกได้ง่ายเมื่อเบรกบนถนนลื่น หรือกะทันหัน
อาการเสีย ที่พบบ่อยคือ ผ้ายางไดอะเฟรมภายในรั่ว เมื่อกดแป้นเบรกจะแข็งขึ้น และเครื่องยนต์จะสั่นเหมือนอาการท่อไอดีรั่ว ทดสอบโดยกดแป้นเบรกในขณะจอด และติดเครื่องยนต์เดินเบาไว้ หม้อลมเบรกนรั่วแต่แม่ปั๊มตัวบนดี ยังสามารถใช้ระบบเบรก ตามปกติได้ แต่จะหนักเท้าในการกดแป้นเบรกเท่านั้น การซ่อมหม้อลมบางรุ่นมีอะไหล่ ให้เปลี่ยนเฉพาะผ้ายางไดอะเฟรมพร้อมชุดซ่อมแต่ส่วนใหญ่มักต้องเปลี่ยนทั้ง ลูก ซึ่งมี 2 ทางเลือก ทั้งของใหม่และเก่าเชียงกง

ท่อน้ำมันเบรก
ประกอบ ด้วยท่อโลหะ (เหล็ก-ทองแดง) ขนาดเล็กในเกือบทุกจุดต่อ แล้วมีท่ออ่อน ที่ให้ตัวได้ต่อจากท่อโลหะบนตัวถังไปยังล้อที่ขยับตลอดเวลาที่ขับ
อาการ เสีย คือ ท่ออ่อนบวมหรือรั่ว ส่วนท่อโลหะนั้นแทบไม่พบว่าเสียเลย ท่ออ่อนทั่วไป ผลิตจากยางทนแรงดันสูงทนทานเพียงพอสำหรับการใช้งานปกติ แต่ก็มีแบบพิเศษ ที่นิยมใช้ในรถแข่งมาจำหน่ายเป็นแบบท่อหุ้มสเตนเลสถักซึ่งทนทั้งการฉีกขาด จากภายนอกหรือแตกด้วยแรงดันจากภายใน ซึ่งไม่จำเป็นนัก แต่ถ้าอยากจะใส่ ก็ไม่มีอะไรเสียหาย และอาจลดอาการหยุ่นเท้าให้การตอบสนองรวดเร็วขึ้นเล็กน้อย ถ้าท่ออ่อนเดิมขยายตัวได้บ้างเมื่อกดเบรก

กระบอกเบรกที่ล้อ
ทำ หน้าที่รับแรงดันน้ำมันเบรกที่ถูกดันมาเพื่อดันลูกสูบเบรกภายในกระบอกแล้วไป กด ผ้าเบรก มีอย่างน้อย 1 กระบอก 1 ลูกสูบ (POT) ต่อ 1 ล้อ ภายในประกอบด้วยลูกสูบ พร้อมลูกยาง หรืออาจมีสปริงด้วย การมีขนาดของกระบอกเบรกใหญ่หรือจำนวน กระบอกเบรก ต่อ 1 ล้อมาก ๆ (2-4 POT) จะทำให้มีแรงกดไปสู่ผ้าเบรกมากขึ้น แต่ก็ต้องใช้แม่ปั๊มตัวบนที่รองรับกันได้ดีด้วย
อาการเสีย คือ ไม่สามารถรับแรงดันจากลูกยางหมดสภาพได้ จนไม่สามารถดันลูกสูบเบรก ออกไปได้เต็มที่ หรือน้ำมันเบรกรั่วซึมออกมา และเสียทั้งตัวลูกยางพร้อมตัวกระบอกเป็นรอย การซ่อมจึงมีทั้งแบบเปลี่ยนเฉพาะลูกยางและชุดซ่อมหรือเปลี่ยนทั้งตัว

ดิสก์ / ดรัม
เป็น ชุดเบรกที่ล้อ คือ อุปกรณ์ชิ้นที่หมุนพร้อมล้อ และรับแรงกดผ้าเบรกผลิตจากวัสดุ เนื้อแข็งเรียบแต่ไม่ลื่นเพื่อให้ผ้าเบรกกดอยู่ได้ ทนความร้อนสูง และไม่สึกหรอง่าย

ดิสก์ / ดรัม มีจุดเด่นและด้อยต่างกัน
พื้นฐาน ดั้งเดิมของรถยนต์ส่วนใหญ่เมื่อหลายสิบปีก่อนนิยมใช้แบบดรัม-DRUM หรือแบบดุมครอบ ต่อมาก็เปลี่ยนมาใช้แบบดิสก์-DISC หรือแบบจาน เพราะความเหนือชั้น ในประสิทธิภาพ แล้วก็ยังพัฒนาตัวดิสก์และอุปกรณ์อื่นให้ดีขึ้นไปอีก
ดรัมเบรก มีลักษณะเป็นฝาครอบทรงกลมมีผ้าเบรกโค้งแบนเป็นรูปเกือบครึ่งวงกลม ติดตั้งภายใน ตัวดรัม ถ้ามองจากภายนอกทะลุกระทะล้อเข้าไปจะเห็นฝาครอบโลหะทรงทึบ โดยไม่เห็นหน้าสัมผัสและชุดเบรกที่ถูกครอบไว้ เมื่อมีการเบรก จะมีการแบ่งผ้าเบรก ออกไปดันกับด้านในของตัวดรัม โดยเปรียบเทียบง่าย ๆ คือ คนเป็นกระบอกเบรก ยืดแขนออกไปแล้วมีผ้าเบรกติดอยู่ที่ฝ่ามือ มีฝาครอบหมุนอยู่ เมื่อมีการเบรกก็ยืดแขน ดันฝ่ามือออกไปให้ฝาครอบหมุนช้าลง
ดรัม เบรกมีจุดเด่น คือ ต้นทุนต่ำ ทนทาน มีพื้นที่ของผ้าเบรกมาก แต่มีจุดด้อยคือ กำจัดฝุ่นออกจากตัวเองได้ไม่ดี อมความร้อน เพราะเป็นเสมือนฝาครอบอยู่ ซึ่งจะทำให้ แรงเสียดทานของผ้าเบรกลดลงหรือผ้าเบรกไหม้ และเมื่อใช้งานไปสักพัก หน้าสัมผัสกับผ้าเบรกหรือดรัมอาจไม่แนบสนิทกัน ต้องตั้งระยะห่างบ่อย หรือแม้แต่มีการปรับตั้งโดยอัตโนมัติก็อาจยังไม่สนิทกันนัก จนขาดความฉับไวในการทำงาน มีผ้าเบรกให้เลือกน้อยรุ่นน้อยยี่ห้อ และเมื่อลุยน้ำจะไล่น้ำออกจากดรัมและผ้าเบรกได้ช้า

ดิสก์เบรก
มี ลัษณะเป็นจานแบนกลม มีผ้าเบรกแผ่นแบนติดตั้งอยู่รวมกับชุดก้านเบรก (คาลิเปอร์) แล้วเสียบคร่อมประกบจานเบรกซ้าย-ขวา ถ้ามองจากภายนอกทะลุ กระทะล้อเข้าไป จะเห็นป็นจานโลหะเงาเพราะถูกผ้าเบรกถูทุกครั้งที่เบรก และมีชุดก้านเบรกคร่อมอยู่ ด้านใดด้านหนึ่ง เมื่อเบรกจะมีการบีบผ้าเบรกเข้าหากัน ดันเข้ากับตัวดิสก์ ต่างจากแบบดรัมที่เเบ่งตัวผ้าเบรกออกโดยเปรียบเทียบง่าย ๆ คือ คนเป็นกระบอกเบรก มีผ้าเบรกอยู่ที่ฝ่ามือ ทำแขนเหมือนกำลังยกมือไหว้แต่ไม่ชิดสนิทกันมีแผ่นกลม หมุนแทรกอยู่ระหว่างมือเมื่อมีการเบรกก็ประกบฝ่ามือเข้าหากัน

ดิสก์เบรก มีจุดเด่นคือ ประสิทธิภาพสูงแม้จะมีพื้นที่สัมผัสของผ้าเบรกแคบกว่าแบบดรัมในขนาดเส้นผ่า ศูนย์กลาง เท่ากัน ทำงานฉับไว ควบคุมระยะห่างและหน้าสัมผัสของผ้าเบรกกับตัวดิสก์ได้ดี โดยไม่ต้องปรับตั้ง ไม่อมฝุ่นเพราะทำความสะอาดตัวเองได้ดี ไล่น้ำออกจากตัวดิสก์ และผ้าเบรกได้เร็ว แต่มีจุดด้อยที่ไม่สามารถนับเป็นจุดด้อยได้เต็มที่นัก เพราะได้ใช้กัน แพร่หลายไปแล้ว คือ ต้นทุนสูง ผ้าเบรกหมดเร็วโดยมีรายละเอียดย่อยออกไปอีกเช่น มีการพัฒนาการระบายความร้อน เพราะยิ่งผ้าเบรกหรือตัวดิสก์ร้อนก็ยิ่งมีแรงเสียดทาน ต่ำลง หรือผ้าเบรกไหม้ ด้วยการทำให้พื้นที่ของจานเบรกสัมผัสกับอากาศมีการถ่ายเทกันมากขึ้น โดยการผลิตเป็นจานหนา แล้วมีร่องระบายความร้อนแทรกอยู่ตรงกลาง เสมือนมีจาน 2 ชิ้น มาประกบไว้ห่าง ๆ กัน โดยรถยนต์ในสายการผลิตส่วนใหญ่นิยมใช้ระบบดิสก์แบบ มีครีบระบายล้อหน้า เพราะเบรกหน้ารับภาระในการเบรกมากกว่า ส่วนการเจาะรู และเซาะร่อง มักนิยมในกลุ่มรถยนต์ตกแต่งหรือรถแข่ง เพราะสร้างแรงเสียดทานได้สูง แต่กินผ้าเบรกและแค่มีครีบระบายก็เพียงพอแล้ว

ส่วนการขยายขนาดของ ดิสก์เบรกให้มีเส้นผ่าศูนย์กลางมากขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการเบรก เพราะสามารถเพิ่มพื้นที่ของผ้าเบรกพร้อมใช้ก้ามเบรกให้ใหญ่ขึ้นได้ ซึ่งมีการระบายความร้อนดีขึ้นจากพื้นที่สัมผัสอากาศที่มากขึ้น นับเป็นหลักการที่เป็นจริง แต่ในการใช้งาน มักมีขีดจำกัดที่ตัวดิสก์และก้ามเบรกต้องไม่ติดกับวงในของกระทะล้อ
รถแข่ง หรือรถยนต์ที่ใช้กระทะล้อใหญ่ ๆ จึงจะเลือกใช้วิธีขยายขนาดของดิสก์เบรกนี้ได้

นับ เป็นเรื่องปกติที่ระบบดิสก์เบรกมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใกล้เคียงกับระบบดรัม เบรก ทั้งที่มีพื้นที่หน้าสัมผัสของผ้าเบรกน้อยกว่า ด้วยจุดเด่นข้างต้น ระบบดิสก์เบรกจะให้ ประสิทธิภาพในการเบรกสูงกว่าดรัมเบรก ตัวดิสก์และดรัมเบรกผลิตจากวัสดุเนื้อแข็งกว่า ผ้าเบรกเพื่อความทนทาน แต่ก็ยังมีการสึกหรอจนไม่เรียบขึ้นได้ เพราะผ้าเบรกก็มีความแข็ง พอสมควร จึงกัดกร่อนตัวดิสก์หรือดรัมเบรกได้ เมื่อผ้าเบรกหมด ไม่ใช่สูตรสำเร็จว่า ต้องเจียร์เรียบตัวดิสก์หรือดรัมเบรกทุกครั้งตามสไตล์ช่างไทยที่ต้องการเงิน เพิ่ม เพราะต้องดูว่ายังเรียบร้อยพอไหม ถ้าเป็นรอยมากค่อยเจียร์เพราะดิสก์หรือดรัมเบรก มีขีดจำกัดในแต่ละรุ่นว่าต้องไม่บางเกินกำหนดเจียร์มาก ๆ ก็เปลืองและถ้าไม่เรียบ ก็จะทำให้ผ้าเบรกสัมผัสได้ไม่สนิท

การเลือก ติดตั้งระบบเบรกของผู้ผลิตรถยนต์ในแต่ละล้อ มีหลักการพื้นฐาน คือ ประสิทธิภาพของระบบเบรกล้อคู่หน้าต้องดีกว่าล้อหลังเสมอ เพราะเมื่อมีการเบรก น้ำหนักจะถ่ายลงด้านหน้า ล้อหลังจะมีน้ำหนักกดลงน้อยกว่า ระบบเบรกหน้าจึงต้อง ทำงานได้ดีกว่า มิฉะนั้น เมื่อกดเบรกแรง ๆ หรือเบรกบนถนนลื่น อาจจะเกิดการปัดเป๋ หรือหมุนได้เสมือนเป็นการดึงเบรกมือ ดังนั้น ถ้าอยากจะตกแต่งระบบเบรกเพิ่มเติม ก็ต้องเน้นว่าประสิทธิภาพของเบรกหลังต้องไม่ดีกว่าเบรกหน้า กลุ่มที่เปลี่ยนเฉพาะ จากดรัมเบรกหลังเป็นดิสก์ โดยไม่ยุ่งกับดิสก์เบรกหน้าเดิม ต้องระวังไว้ด้วย

รถยนต์ในอดีตเลือก ติดตั้งระบบดรัมเบรกทั้ง 4 ล้อ แล้วจึงพัฒนามาสู่ดิสก์เบรกหน้า ดรัมเบรกหลัง และสูงสุดที่ดิสก์เบรก 4 ล้อแต่ก็ยังยึดพื้นฐานเดิมคือ เบรกหน้าต้องดีกว่า เบรกหลังเสมอ แม้จะเป็นดิสก์เบรกทั้งหมดแต่ดิสก์เบรกหน้ามักมีขนาดใหญ่กว่า มีครีบระบายความร้อน มีผ้าเบรกขนาดใหญ่ และมีแรงกดมาก ๆ จากกระบอกเบรก ขนาดใหญ่ โดยดิสก์เบรกหลังมักจะเป็นแค่ขนาดไม่ใหญ่นัก ไม่มีครีบระบาย มีผ้าเบรกขนาดไม่ใหญ่ และมีแรงกดไม่มากจากกระบอกเบรกขนาดเล็กเพื่อมิให้มีประสิทธิภาพสูงเกินเบรก หน้า

ผ้าเบรก
เป็นอุปกรณ์สร้างแรงเสียดทานกดเข้ากับดิสก์หรือดรัม เบรก โดยมีพื้นฐานคือ เนื้อวัสดุของตัวดิสก์หรือดรัมเบรกต้องแข็งเพื่อไม่ให้สึกหรอมาก แต่ต้องมีผิวที่ไม่ลื่น ส่วนผ้าเบรกต้องมีเนื้อนิ่มกว่าตัวดิสก์หรือดรัม เพื่อให้มีแรงเสียดทานสูงหรือสึกหรอมากกว่า เพราะเปลี่ยนได้ง่าย โดยมีการผลิตขึ้นจากวัสดุผสมหลายอย่าง และอาจผสมกับโลหะเนื้อนิ่ม เพื่อให้เบรกในช่วงความเร็วสูงได้ดี ในอดีตใช้แร่ใยหิน แอสเบสตอสเป็นวัสดุหลัก ของผ้าเบรก เมื่อผ้าเบรกสึกจะเป็นผงสีขาวไม่เกาะกระทะล้อแต่สร้างมลพิษในอากาศ ทำลายระบบหายใจของสิ่งมีชีวิต ปัจจุบันจึงหันมาใช้แกรไฟต์คาร์บอนแทน เมื่อผ้าเบรกสึกจะมีผงสีดำออกมาเกาะเป็นคราบ ดูสกปรก แต่ไม่อันตราย

ผ้า เบรกมีหลายระดับ ประสิทธิภาพและความแข็ง ด้วยหลักการง่าย ๆ คือ ยิ่งนิ่มยิ่งสร้างแรงเสียดทานได้ง่าย แต่ไม่ทนความร้อนอาจลื่น หรือไหม้ในการเบรกบ่อย ๆ หรือเบรกในช่วงความเร็วสูง และยิ่งแข็งยิ่งทนร้อน เบรกดีในช่วงความเร็วสูง แต่ต้องการการอุ่นให้ร้อนก่อน หรือเบรกช่วงความเร็วต่ำไม่ค่อยอยู่ จึงต้องเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะการขับและสมรรถนะของรถยนต์

ผ้าเบรก เป็นอุปกรณ์หนึ่ง ถ้าเดิมใช้งานแล้วไม่พึงพอใจก็สามารถเลือกให้แตกต่างจาก ผ้าเบรกมาตรฐานเดิมได้ เพราะผู้ผลิตรถยนต์ไม่จำเป็นต้องผลิตทุกชิ้นส่วนขึ้นเอง สามารถหาผู้ผลิตชิ้นส่วนเฉพาะรายย่อย (SUPPLYER) ผลิตชิ้นส่วนส่งให้ในราคาถูกได้ เพราะมีปริมาณการผลิตสูง เมื่อมีการผลิตส่งให้ผู้ผลิตรถยนต์ ก็อาจจะผลิตอะไหล่ ที่มีคุณภาพใกล้เคียงกัน หรือเหนือกว่า ตีตราบรรจุกล่องเป็นสินค้าอิสระของตนเอง เพื่อจำหน่ายกับผู้ใช้ทั่วไปด้วย
ผู้ผลิตผ้าเบรกที่เชี่ยวชาญและมีผ้าเบรกหลายรุ่นให้เลือก เช่น FERODO, BENDIX, ABEX, AKEBONO, METALIX, REBESTOS ฯลฯ

เกรดประสิทธิภาพผ้าเบรก
มี หลายระดับ แบ่งตามการทนความร้อน เพราะการสร้างแรงเสียดทานในการเบรก ต้องมีความร้อนเกิดขึ้นเมื่อผ้าเบรกร้อนเกินขีดจำกัดประสิทธิภาพจะลดลง ลื่นหรือไหม้ การเลือกต้องขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานและสมรรถนะของรถยนต์

เกรดมาตรฐาน S-STANDARD
ใช้ กับรถยนต์ทั่วไป ยกเว้นรถยนต์สมรรถนะสูงหรือรถสปอร์ต ส่วนผสมของเนื้อผ้าเบรก สร้างความฝืดได้ง่าย สามารถลดความเร็วได้ทันที ไม่ต้องการการอุ่นผ้าเบรกให้ร้อนก่อน ทำงานได้ดีเฉพาะช่วงความเร็วต่ำ-ปานกลาง และมีความร้อนสะสมไม่สูงนัก เมื่อมีการเบรกอย่างต่อเนื่อง อาจลื่นหรือไหม้ได้ง่าย เมื่อต้องเบรกบ่อย ๆ หรือเบรก ในช่วงความเร็วสูงอย่างรวดเร็ว สาเหตุที่รถยนต์ทั่วไปถูกกำหนดให้ใช้ผ้าเบรกเกรด S เนื่องมาจากโรงงานผู้ผลิต เพราะส่วนใหญ่ยังต้องมีการใช้งานในเมือง หรือมีการใช้ ความเร็วไม่จัดจ้านนัก แม้จะขับเร็วบ้างหรือกระแทกเบรกแรง ๆ บ้าง แต่ก็ไม่บ่อย จึงถือว่าเพียงพอในระดับหนึ่ง

เกรดกลาง M-MEDIAM-METAL
รอง รับการเบรกในช่วงความเร็วปานกลาง-สูงได้ดี เพิ่มความทนทานต่อความร้อนโดยตรง และความร้อนสะสมในการเบรกสูงขึ้นกว่าผ้าเบรกเกรด S แต่ยังคงประสิทธิภาพการใช้งาน ช่วงความเร็วต่ำ-ปานกลางได้ดีเพราะเนื้อผ้าเบรกยังไม่แข็งเกินไป ส่วนมากจะมีส่วนผสม ของโลหะอ่อน หรือวัสดุที่สามารถสร้างแรงเสียดทานเมื่อมีความร้อนสูงได้ดี เนื้อของผ้าเบรก อาจเป็นสีเงาจากผงโลหะที่ผสมอยู่ รถยนต์ทั่วไป ถ้าผู้ขับเท้าขวาหนัก แม้ไม่ได้ตกแต่ง เครื่องยนต์ หรือเครื่องยนต์มีพลังแรงสักหน่อย ก็สามารถเลือกใช้ผ้าเบรคเกรด M แทนเกรด S เดิมได้ เพราะยังสามารถรองรับการใช้งานได้ทุกรูปแบบและทุกช่วงความเร็ว โดยอาจมีจุดด้อย ด้านประสิทธิภาพการเบรกในช่วงที่ผ้าเบรกยังเย็นอยู่ใน 2-3 ครั้งแรก และมีราคาแพงกว่า ผ้าเบรกเกรด S เพียง 20-30 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

เกรดกึ่งแข่ง R-RACING
เป็น ผ้าเบรกเกรดพิเศษ ซึ่งถูกผลิตเพื่อรองรับรถยนต์สมรรถนะสูงจัดจ้าน- รถแข่ง เหมาะกับการใช้ความเร็วสูง หรือมีความร้อนสะสมที่ผ้าเบรกจากการเบรกถี่ ๆ เนื้อของผ้าเบรคเกรดนี้มักมีการผสมผงโลหะไว้มากบางรุ่นเกือบจะเป็นโลหะอ่อน เช่น เป็นทองแดงผสมเกือบทั้งชิ้น การใช้งานในเมืองด้วยความเร็วต่ำ จำเป็นต้องมี การอุ่นผ้าเบรกเกรด R ให้ร้อนก่อน และเบรกหยุดได้ระยะทางยาวกว่าผ้าเบรกเนื้อนิ่มเกรด S-M ส่วนในช่วงความเร็วสูง ร้อนแค่ไหนก็ลื่นหรือไหม้ยาก ผ้าเบรกเกรดนี้ ไม่ค่อยเหมาะ กับรถยนต์ที่ใช้งานทั่วไป ยกเว้นพวกรถสปอร์ต หรือรถยนต์ที่มีสมรรถนะสูงจัดจ้านจริง ๆ เพราะไม่เหมาะกับการใช้งานด้วยความเร็วต่ำ ซึ่งลื่นกว่าผ้าเบรกเกรด S อีกทั้งยังมีราคาแพงกว่าผ้าเบรกเกรด S-M ไม่น้อยกว่า 3-5 เท่าด้วย

ใน การจำหน่ายจริงมักไม่มีการแบ่งผ้าเบรกเกรด S-M-R อย่างชัดเจนไว้บนข้างกล่อง ในการเลือกใช้จึงต้องเลือกด้วยการสอบถามระดับของผ้าเบรกในยี่ห้อที่สนใจ ซึ่งมักระบุเพียงว่าเบรกรุ่นนั้นทนความร้อนสูงกว่าอีกรุ่นหนึ่งในยี่ห้อ เดียวกันหรือไม่ หรือดูช่วงตัวเลขของค่าความร้อนที่ผ้าเบรกชุดนั้นสามารถทำงานได้ดี เช่น ผ้าเบรก เกรด S-M ทำงานได้ดีตั้งแต่ 0-20 องศาเซลเซียสขึ้นไป ในขณะที่ผ้าเบรกเกรด R มักมีค่าความร้อน เริ่มต้นที่ 50-100 องศาเซลเซียสขึ้นไป อันหมายถึงการใช้งานในช่วงความร้อนต่ำไม่ดีนั่นเอง ควรเลือกเกรดผ้าเบรกให้ตรงลัษณะการใช้งานอย่างรอบคอบ และโดยทั่วไปเกรด M น่าสนใจที่สุดเพราะคงประสิทธิภาพการเบรกช่วงความเร็วต่ำไว้ใกล้เคียงกับเกรด S แต่รองรับความเร็วสูงดีกว่า และราคาไม่แพง ราคาจริงของผ้าดิสก์เบรก 2 ล้อ (4 ชิ้น) เกรด S-M สำหรับรถยนต์เกือบทุกรุ่น ตั้งแต่ซิตี้คาร์ยันสุดหรูไม่แตกต่างกันมากนัก 800-2,000 บาท คือราคาพื้นฐาน ส่วนดรัมเบรก 2 ล้อ ไม่น่าเกิน 1,000 บาท (ไม่รวมค่าแรงในการเปลี่ยน)

น้ำมันเบรก
ทำหน้าที่เป็นตัวกลางใน การถ่ายทอดแรงดันแม่ปั๊มบนไปยังกระบอกเบรคทุกล้อ ผลิตจากน้ำมันแร่ สาเหตุที่ไม่ใช่น้ำเปล่าเพราะมีความชื้น เกิดสนิมในระบบได้ง่าย และมีจุดเดือดต่ำ ถ้าของเหลวในระบบเบรกร้อนจัด ก็จะเดือดจนเกิดอาการ VAPOUR LOCK เพราะกลายเป็นไอแต่ไม่มีทางออก อยู่แต่ในท่อและพยายามจะดันออก ไม่สามารถถ่ายเทแรงดันได้ตามปกติ
มาตรฐานของน้ำมันเบรก แบ่งตามจุดเดือดและจุดเดือดชื้น สาเหตุที่ต้องมี 2 จุดเดือด เพราะในการใช้งานจริง ต้องมีความชื้นจากอากาศ และการลุยน้ำแทรกเข้ามาผสม ในน้ำมันเบรกได้ จนมีจุดเดือดต่ำลงเรื่อย ๆ โดยมีการแบ่งมาตรฐานของน้ำมันเบรก ด้วยอักษรย่อ DOT แล้วตามด้วยตัวเลขเดี่ยว ระบุไว้ข้างกระป๋อง เช่น DOT3, DOT4 มีจุดเดือดและจุดเดือดชื้นสูงสุดในการใช้งานที่ DOT5
รถยนต์ทั่วไป กำหนดใช้น้ำมันเบรก DOT3-4 แต่ถ้าจะใช้ DOT4 ไว้ก็ดี เพราะไม่มีผลเสียใด ๆ นอกจากราคาของน้ำมันเบรคที่แพงกว่ากันไม่มาก ส่วน DOT5 นั้นสูงเกินกว่าการใช้งานทั่วไป แต่ถ้าคิดว่าระบบเบรกรถยนต์ของตนร้อนมาก ๆ ก็อาจเปลี่ยนไปใช้ DOT5 ได้ แต่ต้องแน่ใจว่าตัวน้ำมันเบรกไม่มีการกัดกร่อนลูกยางเบรก เพราะในบางกระแสบอกว่า ถ้าระบบเบรกเดิมกำหนดให้ใช้แค่ DOT3-4 ถ้าจะใช้ DOT5 อาจมีปัญหานี้ขึ้นได้ จึงควรตรวจสอบให้ดีก่อนการเลือกใช้ การใช้รถยนต์ ถ้าไม่จำเป็นไม่ควรเติมผสมน้ำมันเบรกข้ามรุ่นข้ามยี่ห้อหรือข้าม DOT เพราะถ้าไม่เข้าห้องทดลองทางเคมี จะไม่สามารถทราบได้เลยว่า จะมีปฏิกิริยาทางลบ ต่อกันเมื่อผสมกันหรือไม่ ควรเปลี่ยนน้ำมันเบรกทั้งระบบทุก 1-1.5 ปี แม้ไม่มีการรั่วซึม เพราะจะเป็นการเอาความชื้นที่ผสมอยู่ในน้ำมันเบรกออกจากระบบ เพื่อป้องกันการกัดกร่อน จากสนิทที่เกิดจากความชื้น ซึ่งจะทำให้ลูกยางเบรกรั่วได้ง่าย และจะได้ใช้น้ำมันเบรก จุดเดือดสูงต่อ ๆ ไป กรณีนี้มักถูกมองข้าม เพราะถือว่าน้ำมันเบรกยังไม่รั่ว ทั้งที่ค่าใช้จ่ายไม่กี่ร้อยบาทและทำได้ตามร้านเบรกทั่วไป
เบรกดีแต่เครื่องยนต์ไม่แรง ดีกว่าเครื่องยนต์แรง แต่เบรกไม่ดี

[ คัดลอก จากหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน วันเสาร์-อาทิตย์ที่ 19-20 กันยายน 2541 ]
บันทึกการเข้า
ho_oh
นักแข่งมือสมัครเล่น
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 315



ดูรายละเอียด
« ตอบ #22 เมื่อ: 11 มีนาคม 2009 21:18:28 »

 ตรบมือ
บันทึกการเข้า
<<nutt>>
นักแข่งมืออาชีพอันดับหนึ่ง
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,661


<NC.Z> / ถึงจะพังก็ตังค์กรูเฟร้ย!!


ดูรายละเอียด
« ตอบ #23 เมื่อ: 11 มีนาคม 2009 23:24:00 »

 สุดยอด ความรู้แน่นๆคับ
บันทึกการเข้า

บ่องตงเครื่องเดิ๊มเดิม+KKT+TD05h ไว้จ่ายกับข้าวจ๊ะ
084.652.4314
ลิ้ม โคราช
มือเก่าหัดแข่ง
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 194



ดูรายละเอียด
« ตอบ #24 เมื่อ: 12 มีนาคม 2009 07:39:00 »

เอาเรื่องของจาน เบรค มาฝาก

http://www.jobpub.com/articles/showarticle.asp?id=1696





สำหรับเรื่องน้ำมันเบรค  ถ้าจาก DOT 3 ไป DOT 4 ซึ่งมีค่าใกล้เคียงกัน  ใช้แทนกันได้ และถ้า เป็นขั้นต่ำ DOT 4 แล้วเปลี่ยนไป DOT 5.1 ก็ คงไม่เป็นไรเหมือนกัน เท่าที่ฟังจากคนใช้อยู่ สุดท้าย ไว้ฟังเสียง feed Back จาก ตัวคุณ ละกัน ?

เพราะน้ำมันเบรค DOT4 ผมเปลี่ยนไปใส่ ใน รถ hino รถ6ล้อ และ รถกะบะ ส่งของในที่ทำงานหมดแล้ว ใช้แล้วไม่เกิดปัญหา มานาน มากแล้ว (ราคาไม่ได้แพงอะไร แล้วดีตรงดำช้า )

DOT3 ส่วนใหญ่  ซื้อมาทีละ 200 ลิตร ไว้ใช้ลอกสี ของ พลาสติก ในขั้นตอนการทำงาน เท่านั้นละคับ
บันทึกการเข้า

Chanjaoka
นักแข่งมืออาชีพอันดับสาม
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 572



ดูรายละเอียด
« ตอบ #25 เมื่อ: 12 มีนาคม 2009 15:34:32 »

จะ DOTอะไรก็แล้วแต่ ยังไงแล้วก็อย่าให้เกิน 2 ปีเลย เพื่ออะไรอีกหลายๆอย่างในอนาคตวันข้างหน้าครับ สำหรับผมใช้ 5.1 มาก่อนใช้ AE อีกครับ ใช้ตั้งแต่ KE สมัยกองบิน 2 ลพบุรี แล้วครับ
บันทึกการเข้า


Thanks: ฝากรูป

"ไอ้น้อง ระยะทางเท่ากัน เครื่องยนต์แรงพอๆกัน แพ้ชนะมันวัดกันที่ใจ
    เป็นคำพูดที่หมูบินมักพูดอย
PuRe2โa8.CZ
นักแข่งมืออาชีพอันดับหนึ่ง
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,134


`ไม่หล่อแต่อร่อย ไม่บ่อยแต่นาน`


ดูรายละเอียด
« ตอบ #26 เมื่อ: 14 กันยายน 2009 18:20:46 »

เปลี่ยนที่ไหนดีครับ

ย่านนนบุรี


ขอราคาคร่าวๆด้วยครับ
บันทึกการเข้า
gewall
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #27 เมื่อ: 14 กันยายน 2009 19:01:57 »

เปลี่ยนที่ไหนดีครับ

ย่านนนบุรี


ขอราคาคร่าวๆด้วยครับ

http://www.aeracingclub.net/forums/index.php?topic=37715.0
เคยทำที่อู่ ชื่อ เจริญยนตรภัณฑ์ ประชานิเวศน์ 1 ครับ ราคาก็แพงกว่าที่ไปทำที่อู่เล้งนิดหน่อย แต่อยู่โซนนนทบุรี ก็แนะนำที่นี่ครับ
บันทึกการเข้า
DARKSTAR
Moderator
นักแข่งมืออาชีพอาวุโส
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,369



ดูรายละเอียด
« ตอบ #28 เมื่อ: 14 กันยายน 2009 19:06:05 »

เบรคดีไม่ดี ไม่ใช่อยู่ที่น้ำมันเบรคอย่างเดียวนะครับ ไม่ใช่ว่าเปลี่ยนแล้วจะดีขึ้นทันตาเห็น

ตรวจสอบเรื่องของยางรถยนต์ที่คุณใช้งานดูด้วยนะครับ ว่าควรต้องเปลี่ยนแล้วหรือยัง

ให้เบรคดีแค่ไหน แต่ยางมันรับไม่ไหวแล้ว ก็เอาไม่อยู๋ครับ ยิ่งหน้าฝนอย่างนี้ด้วย หวาดเสียว
บันทึกการเข้า

MR..LIM
นักแข่งมืออาชีพอาวุโส
********
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,457


ทุกอย่างเปลี่ยนได้ แต่ใจกูเปลี่ยนไม่ได้


ดูรายละเอียด
« ตอบ #29 เมื่อ: 14 กันยายน 2009 21:59:48 »

ความรู้แน่ๆ ๆ ๆ
บันทึกการเข้า

pentaro
มือเก่าหัดแข่ง
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 220



ดูรายละเอียด
« ตอบ #30 เมื่อ: 14 กันยายน 2009 22:27:18 »

ผมเคยฟังมาว่าพอเปลี่ยนน้ำมันเบรกแล้วพวกสายยางต่างๆจำเป็นด้วยไหมครับ เคยอ่านเจอเห็นบอกว่า เปลี่ยนน้ำมันเบรกไปแล้วพอขับออกมาจากอู่เบรกหายซะงั้น ผมเลยเสียวเลย ไม่กล้าเปลี่ยน

แล้วราคาสายยางต่างๆในระบบเบรกมันแพงมากไหมครับ เพราะกะว่าจะเปลี่ยนไปพร้อมๆกับน้ำมันเบรกเลย

รถผมAE92ไม่มีABSครับ ถ้าเปลี่ยนเองทำอย่างไรแนะนำทีนะครับ ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
หน้า:  «  1 [2]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2008, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!