ที่เรียกกันว่า สตรัท นั้น เต็มๆ คือ แมคเฟอร์สันสตรัท นะครับ เป็นรูปแบบของระบบกันสะเทือน
ที่รวมเอา Shock Absorber และ Coil Spring ไว้ในชิ้นส่วนเดียวกัน เพื่อทำให้การ service
ทำได้ง่ายขึ้นและประหยัดต้นทุน ในขณะที่ยังได้คุณภาพที่ดีอยู่ (ไม่ใช่ว่าดีมากที่สุดนะ)
มีการต่อยอดเพื่อปรับปรุงคุณภาพ เพราะ แมคเฟอร์สันสตรัทแบบดั้งเดิม มีจุดอ่อนเมื่อช่วงล่างมีภาระ
เพิ่มขึ้น ที่เรียกกันว่า load ซึ่งหมายถึงการบรรทุก แต่นักแต่งรถใช้กันผิดๆ ไปในทำนองที่ว่าการปรับ
ช่วงล่างให้ต่ำลง เรียกว่าโหลดต่ำ เพราะนั่นมันไม่ได้บรรทุกน้ำหนักเพิ่ม แต่การที่รถดูต่ำลงเหมือนบรรทุก
ของหนัก (ซึ่งรถที่บรรทุกหนักจริงๆ ก็ไม่ได้ทำให้รถมันต่ำลงสักเท่าไหร่) เอาเถอะคงแก้ไขไม่ให้ใช้กัน
ไม่ได้แล้ว เพราะถ้าเรียกไปแบบถูกต้อง กลายเป็นแปลก และคุยกันไม่รู้เรื่องเข้าไปอีก
Toyota ได้พัฒนาต่อยอดมาเป็นแบบมีจุดหมุนเพิ่มเติม เพื่อทำให้หน้ายางสัมผัสกับพื้นได้เต็มที่ขึ้นเมื่อ
มุม Camber เปลี่ยนไป ซึ่งแบบดั้งเดิมนั้น เมื่อ camber เปลี่ยนไปหน้าสัมผัสจะลดลง จะสังเกตุเห็นได้
ว่ากินหน้ายางด้านใน แต่ Super Macpherson strut จะมีจุดหมุนเพิ่มเติมในส่วนที่ใกล้กับคอม้า
รถที่จะได้ประโยชนจากระบบดังกล่าว คือรถที่ใช้ล้อหน้าในการขับเคลื่อน จึงมีรถ High Performance ไม่กี่รุ่น
ของ Toyota ที่มีช่วงล่างระบบนี้ เพราะมันไม่จำเป็นสำหรับรถยนต์ขับเคลื่อนล้อหลัง ที่มีทำกันก็มีแค่
Toyota Corolla Levin/Trueno AE101/AE111 และ Toyota Celica ST205/ZZT231 เท่านั้นเอง
และด้วยการมีต้นทุนที่สูง จังไม่ได้มีการผลิตต่อไปอีกในรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ในตอนนี้ แต่อะไรก็ไม่แน่นอน
Toyota อาจเอากลับมาใช้ใหม่ตอนหลังเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของรถยนต์ในอนาคตบางรุ่นก็ได้
แต่รถแข่งแบบ Stock Market ของ Toyota ยังคงใช้ในการแข่งขันอยู่ แต่เป็นการหยิบยืมมาจาก Celica
เพราะว่า ใช้เบรคของเค้าด้วยไปเลยในตัว ไม่ต้องแปลงอีก
และสำนักแต่งต่างๆ ก็ต่อยอดไปในทางที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถปรับระดับความสูงของรถยนต์ได้ ซึ่งจริงๆ
แล้วเทคนิคนี้ใช้เพื่อการ balance น้ำหนักและความสมดุลย์ตัวถังและการ setup ช่วงล่างของรถแข่งมาก่อน
เมื่อได้รับความนิยมสูงขึ้น ต้นทุนต่ำลง และคนทั่วไปก็อยากใช้งานบ้าง ก็มีออกมาจำหน่ายอย่างที่เห็น
เมื่อก่อนถือเป็นของแพงมาก เพราะมันมีจำนวนน้อยและใช้เฉพาะในวงการ การแข่งรถยนต์เท่านั้น ปัจจุบัน
สินค้าแบบ Pro Consumer ก็มีมากขึ้นเลยเห็นกันดาดดื่น หลากยี่ห้อ หลายเกรด
สำหรับที่เรียกกันว่า จอยซ์ น่าจะมาจากโบว์จอยซ์ TK เพราะคำนี้เริ่มพูดกันตอน alum duo คู่นี้วางแผง (ดูท่าทางจะไม่ใช่ซะแระ)
เอาจริงๆ เลยนะเรียกว่า Ball Joints ครับ โปรดสังเกตุ ว่าไม่มีอักษรตัวไหนที่จะเขียนได้เป็น ส์ หรือว่า ซ์ เลย นอกจาก s ที่
ใช้ลงท้ายเพื่อให้เป็นพหูพจน์เท่านั้นเอง ทีถูกควรเขียนว่า จอยท์ มากกว่าครับ บอล จอยท์ เป็น ข้อต่อแบบลูกบอลสามารถเคลื่อนไหวได้
รอบตัว (แต่ไม่ได้เรียกว่า 360องศาหรอกนะ และอย่าไปเทียบอย่างนั้นด้วย เพราะมันไม่ใช่)
ภาพประกอบ Ball Jointลักษณะนี้ก็มีในรถเราอยู่แล้วตรงที่เรียกว่า ลูกหมาก นั่นแหล่ะครับ (ที่เรียกว่าลูกหมากก็เพราะมันเหมือนลูกหมากในคนนั่นแหล่ะครับ)
ทีนี้ ภาพที่ผมให้คุณดูเป็นตัวอย่างนั้น อาจจะนึกไม่ออกว่าเอามาทำไม ผมรู้ว่าคุณถามถึงอะไร ถ้าเรียกกันให้ถูกต้องเลย
เรียกกันว่า Pillow Ball Joint Upper Mount ครับ พูดเป็นไทยแบบถูกๆ ก็ต้องบอกว่า เบ้าฯ แบบ ลูกบอล (ยาวอย่างนี้กว่าจะเรียกจบ
ช่างเค้ารำคาญแหง) ดังนั้น เอาไว้รู้ แต่คงไม่ได้เอาไว้พูดกัน
ภาพชุดซ่อม Ball Joint ของ CUSCOข้างในสิ่งที่ว่านี้ ก็เป็นหัวลูกบอลโลหะ เจาะรูผ่านตรงกลาง และหัวลูกบอลที่ว่าก็อยู่ในเบ้าอีกทีนึง และเบ้านี้ ก็ติดกับ
ตัวเสื้อเบ้าหัว Shock Absorber (จะได้เอาไว้ขันติดกับรถได้ไง) ด้วยความที่มันเคลื่อนที่เพิ่มขึ้นได้ ต่างจากแบบเดิมๆ
ที่มาจากโรงงานคือมันแค่หมุน ตามเข็ม/ทวนเข็ม นาฬิกาได้ เมื่อยามรถเลี้ยว ซ้าย/ขวา แต่นี่ สามารถโยกเข้าๆ ออกๆ
ไปในแนวหน้า/หลัง และ นอก/ใน ได้อีกด้วย ถ้าขึ้นลงได้ รีบเปลี่ยนด่วน เดี๋ยวมันหลุดออกมา
ด้วยประโยชน์ที่มันโยกไป หน้า/หลัง ได้เค้าเลยเอาไว้ปรับมุม Caster ของข้อ และที่มันโยก นอก/ในได้
ก็เอาไว้ปรับ Camber ครับ แต่ที่ญี่ปุ่นทำขาย ก็มีแต่แบบปรับ Camber ได้อย่างเดียว แบบปรับได้สองอย่าง
มักจะทำขึ้นมาเพื่อการแข่งขัน ส่วนมากทำขึ้นกันเอง แต่ตอนนี้ผมเห็นมีสำนักแต่งทำมาขายกันบ้างแล้ว แต่
ไม่ค่อยได้รับความนิยม เพราะราคาสูง คนซื้อน้อย เพราะมีข้อจำกัดและก่อให้เกิดความรำคาญสูง