ขนมหวาน
อย่าหาว่า ผมหัวหมอเลยน๊ะครับ
มาตรา 11 รถที่จดทะเบียนแล้ว ต้องมีและแสดงแผ่นป้ายและเครื่องหมายครบถ้วนถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
กฎกระทรวง พ.ศ. 2547 ออกมา 4 ฉบับคือ
-ฉบับที่ 41 พูดถึงระบบสตาร์ตเครื่องกำเนิดพลังงานพร้อมสวิตช์ที่เมื่อเครื่องกำเนิดพลังงานทำงานโคมไฟแสงพุ่งไกลตาม
http://www.krisdika.go.th/lawContent.jsp?LType=2B&fromPage=lawContent&vID=34&formatFile=htm-ฉบับที่ 42 พูดถึงเครื่องปรับอากาศภายในรถ ที่มีระบบการทำงาน คุณลักษณะเฉพาะ
http://www.krisdika.go.th/lawContent.jsp?LType=2B&fromPage=lawContent&vID=33&formatFile=htm-ฉบับที่พูดถึงกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน
http://www.krisdika.go.th/lawContent.jsp?LType=2B&fromPage=lawContent&vID=35&formatFile=htm-ฉบับที่เกี่ยวข้องครับ (ที่ตำหนวดเอามาใช้ครับ)http://www.krisdika.go.th/lawContent.jsp?LType=2B&fromPage=lawContent&vID=36&formatFile=htm กฎกระทรวง
กำหนดลักษณะ ขนาด และสีของแผ่นป้ายทะเบียนรถ
พ.ศ. ๒๕๔๗
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ (๔) แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๔๒ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๕ มาตรา ๓๖ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(๑) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๕ (พ.ศ. ๒๕๓๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒
(๒) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๗ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒
ข้อ ๒ แผ่นป้ายทะเบียนรถที่นายทะเบียนออกให้ซึ่งมีหมายเลขตรงกับใบคู่มือจดทะเบียนรถให้เป็นรูปสี่เหลี่ยม มีลักษณะ ขนาด และสี ดังนี้
(ก) ลักษณะและขนาด
(๑) แผ่นป้ายทะเบียนรถสำหรับรถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน รถยนต์รับจ้างสามล้อ รถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง รถยนต์บริการธุรกิจ รถยนต์บริการทัศนาจร รถยนต์บริการให้เช่า รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล รถพ่วง รถบดถนน รถแทรกเตอร์และรถใช้งานเกษตรกรรมมีขนาดกว้าง ๑๕ เซนติเมตร ยาว ๓๔ เซนติเมตร แผ่นป้ายแบ่งออกเป็นสองบรรทัด บรรทัดที่หนึ่งเป็นตัวอักษรประจำหมวดตัวที่หนึ่ง ตัวอักษรประจำหมวดตัวที่สองและหมายเลขทะเบียน บรรทัดที่สองเป็นตัวอักษรบอกชื่อกรุงเทพมหานครหรือจังหวัด เว้นแต่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ให้ใช้คำว่า เบตง
ลักษณะของตัวอักษรประจำหมวด หมายเลขทะเบียน ตัวอักษรบอกชื่อกรุงเทพมหานครหรือจังหวัด และขอบแผ่นป้ายอัดเป็นรอยดุน ตัวอักษรประจำหมวด และหมายเลขทะเบียนมีขนาดสูงไม่น้อยกว่า ๖.๕ เซนติเมตร กว้างไม่น้อยกว่า ๓.๕ เซนติเมตร ตัวอักษรบอกชื่อกรุงเทพมหานครหรือจังหวัดมีขนาดสูงไม่น้อยกว่า ๒ เซนติเมตร กว้างไม่น้อยกว่า ๑.๕ เซนติเมตร เว้นแต่ตัวอักษรประจำหมวดและชื่อของจังหวัดที่ใช้อักษร ข ง ช ซ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฒ ณ ป ฝ ฟ ศ ษ ส ฬ ฮ สระ วรรณยุกต์ และหมายเลข ๑ อาจมีขนาดสูงหรือกว้างมากหรือน้อยกว่าที่กำหนดไว้ได้ตามความเหมาะสม ในแผ่นป้ายมีเครื่องหมายเป็นตัวอักษร ขส อยู่ภายในวงกลมอันเป็นรอยดุนที่มุมล่างด้านขวาของแผ่นป้าย สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้
ตัว อักษรประจำหมวดให้ใช้อักษรไทย โดยจะใช้ตัวอักษรใดเป็นตัวอักษรประจำหมวดตัวที่หนึ่งให้เป็นไปตามที่กรมการ ขนส่งทางบกประกาศกำหนด ตัวอักษรประจำหมวดตัวที่สองให้เริ่มตั้งแต่ ก ถึง ฮ หมายเลขทะเบียนให้ใช้เลขอารบิคและให้เริ่มตั้งแต่ ๑ ถึง ๙๙๙๙ เมื่อใช้หมายเลขทะเบียนจนถึงหมายเลข ๙๙๙๙ แล้ว ให้เปลี่ยนตัวอักษรประจำหมวดตัวที่สองโดยให้ใช้พยัญชนะตัวถัดไป เว้นแต่กรณีที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนดให้ใช้พยัญชนะตัวอื่น และให้เริ่มหมายเลขทะเบียนตั้งแต่ ๑ ถึง ๙๙๙๙ ใหม่ เมื่อใช้หมายเลขทะเบียนจนถึงหมายเลข ๙๙๙๙ แล้ว ให้ใช้วิธีดังกล่าวซ้ำอีกจนครบพยัญชนะตัวสุดท้ายของตัวอักษรประจำหมวดตัวที่ สอง ทั้งนี้ เว้นแต่หมายเลขทะเบียนที่มีกฎกระทรวงกำหนดให้เป็นหมายเลขทะเบียนซึ่งเป็นที่ ต้องการหรือเป็นที่นิยม และเมื่อใช้ตัวอักษรประจำหมวดตัวที่หนึ่งแก่รถประเภทหรือชนิดใดแล้ว ให้ใช้ตัวอักษรนั้นสำหรับรถประเภท หรือชนิดนั้นจนกว่าจะครบพยัญชนะตัวสุดท้ายของตัวอักษรประจำหมวดตัวที่สอง แล้วจึงให้ใช้ตัวอักษรประจำหมวดตัวที่หนึ่งตัวอื่นสำหรับรถประเภทหรือชนิด นั้นต่อไปได้
(๒) แผ่นป้ายทะเบียนรถสำหรับรถจักรยานยนต์มีขนาดกว้าง ๑๗.๒๐ เซนติเมตร ยาว ๒๒ เซนติเมตร แผ่นป้ายแบ่งออกเป็นสามบรรทัด บรรทัดที่หนึ่งเป็นตัวอักษรประจำหมวดตัวที่หนึ่ง ตัวอักษรประจำหมวดตัวที่สอง และตัวอักษรประจำหมวดตัวที่สาม บรรทัดที่สองเป็นตัวอักษรบอกชื่อกรุงเทพมหานครหรือจังหวัด เว้นแต่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ให้ใช้คำว่า เบตง บรรทัดที่สามเป็นหมายเลขทะเบียน
ลักษณะของตัวอักษรประจำหมวด ตัวอักษรบอกชื่อกรุงเทพมหานครหรือจังหวัด หมายเลขทะเบียนและขอบแผ่นป้ายอัดเป็นรอยดุน ตัวอักษรประจำหมวดและหมายเลขทะเบียนมีขนาดสูงไม่น้อยกว่า ๔ เซนติเมตร กว้างไม่น้อยกว่า ๓ เซนติเมตร ตัวอักษรบอกชื่อกรุงเทพมหานครหรือจังหวัดมีขนาดสูงไม่น้อยกว่า ๒ เซนติเมตร กว้างไม่น้อยกว่า ๑.๓ เซนติเมตร เว้นแต่ตัวอักษรประจำหมวดและชื่อของจังหวัดที่ใช้อักษร ข ง ช ซ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฒ ณ ป ฝ ฟ ศ ษ ส ฬ ฮ สระ วรรณยุกต์ และหมายเลข ๑ อาจมีขนาดสูงหรือกว้างมากหรือน้อยกว่าที่กำหนดไว้ได้ตามความเหมาะสม ในแผ่นป้ายมีเครื่องหมายเป็นตัวอักษร ขส อยู่ภายในวงกลมอัดเป็นรอยดุนที่มุมล่างด้านขวาของแผ่นป้าย สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้
ตัวอักษรประจำหมวดทุกตัวให้ใช้อักษรไทย โดยให้เริ่มตั้งแต่ ก ถึง ฮ หมายเลขทะเบียนให้ใช้เลขอารบิค และให้เริ่มตั้งแต่ ๑ ถึง ๙๙๙ เมื่อใช้หมายเลขทะเบียนจนถึงหมายเลข ๙๙๙ แล้ว ให้เปลี่ยนตัวอักษรประจำหมวดตัวที่สามโดยให้ใช้พยัญชนะตัวถัดไป เว้นแต่กรณีที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนดให้ใช้พยัญชนะตัวอื่น และให้เริ่มหมายเลขทะเบียนตั้งแต่ ๑ ถึง ๙๙๙ ใหม่ เมื่อใช้หมายเลขทะเบียนจนถึงหมายเลข ๙๙๙ แล้ว ให้ใช้วิธีดังกล่าวซ้ำอีกจนครบพยัญชนะตัวสุดท้ายของตัวอักษรประจำหมวดตัวที่สาม แล้วจึงให้เปลี่ยนตัวอักษรประจำหมวดตัวที่สองโดยใช้พยัญชนะตัวถัดไป เว้นแต่กรณีที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนดให้ใช้พยัญชนะตัวอื่นและให้เริ่มหมายเลขทะเบียนตั้งแต่ ๑ ถึง ๙๙๙ ใหม่ เมื่อใช้หมายเลขทะเบียนจนถึงหมายเลข ๙๙๙ แล้ว ก็ให้ใช้วิธีดังกล่าวซ้ำอีกจนครบพยัญชนะตัวสุดท้ายของตัวอักษรประจำหมวดตัวที่สอง แล้วจึงให้เปลี่ยนตัวอักษรประจำหมวดตัวที่หนึ่งโดยใช้พยัญชนะตัวถัดไป เมื่อใช้หมายเลขทะเบียนจนถึงหมายเลข ๙๙๙ หรือตัวอักษรประจำหมวดตัวที่สามหรือตัวอักษรประจำหมวดตัวที่สองจนครบพยัญชนะตัวสุดท้าย แล้วแต่กรณีก็ให้ใช้วิธีดังกล่าวซ้ำอีก
(๓) แผ่นป้ายทะเบียนรถสำหรับรถยนต์ของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูตให้มีขนาดกว้าง ๑๑ เซนติเมตร ยาว ๓๘.๗ เซนติเมตร ตัวอักษร ตัวเลข และขีดเป็นรอยดุน ตอนหน้าแถวบนมีตัวอักษร ท ขนาดสูง ๔ เซนติเมตร ใต้ตัวอักษร ท มีตัวเลขอารบิคเริ่มตั้งแต่ ๑ ขนาดสูง ๔ เซนติเมตร เป็นรหัสแทนชื่อประเทศ ระหว่างตัวอักษรและตัวเลขดังกล่าวมีขีดตามทางยาว ขนาดกว้าง ๑.๑ เซนติเมตร ยาว ๔ เซนติเมตร เหนือขีดมีเครื่องหมายเป็นตัวอักษร ขส อยู่ภายในวงกลมอัดเป็นรอยดุน สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ หลังขีดมีหมายเลขทะเบียนเป็นเลขอารบิค ขนาดสูง ๗.๒ เซนติเมตร หมายเลขทะเบียนให้เริ่มตั้งแต่ ๑ ถึง ๙๙๙๙
(๔) แผ่นป้ายทะเบียนรถสำหรับรถยนต์ของบุคคลในหน่วยงานพิเศษของสถานทูตต่างๆ ให้มีลักษณะและขนาดเช่นเดียวกับแผ่นป้ายตาม (๓) เว้นแต่ตัวอักษรให้ใช้ตัวอักษร พ
(๕) แผ่นป้ายทะเบียนรถสำหรับรถยนต์ของบุคคลในคณะผู้แทนทางกงสุลให้มีลักษณะและขนาดเช่นเดียวกับแผ่นป้ายตาม (๓) เว้นแต่ตัวอักษรให้ใช้ตัวอักษร ก
(๖) แผ่นป้ายทะเบียนรถสำหรับรถยนต์ของบุคคลในองค์การระหว่างประเทศหรือทบวงการ ชำนัญพิเศษแห่งสหประชาชาติซึ่งประจำอยู่ในประเทศไทยให้มีลักษณะและขนาดเช่น เดียวกับแผ่นป้ายตาม (๓) เว้นแต่ตัวอักษรให้ใช้ตัวอักษร อ ตัวเลขอารบิคใต้ตัวอักษร อ เป็นรหัสแทนชื่อองค์การหรือทบวงการชำนัญพิเศษ
(๗) แผ่นป้ายทะเบียนรถสำหรับรถจักรยานยนต์ของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูตบุคคลในหน่วยงานพิเศษของสถานทูตต่างๆ บุคคลในคณะผู้แทนทางกงสุลและบุคคลในองค์การระหว่างประเทศหรือทบวงการชำนัญพิเศษแห่งสหประชาชาติ ซึ่งประจำอยู่ในประเทศไทยให้มีลักษณะและตัวอักษรเช่นเดียวกับแผ่นป้ายตาม (๓)(๔)(๕) หรือ (๖) แล้วแต่กรณี เว้นแต่ขนาดของแผ่นป้ายให้มีขนาดกว้าง ๙ เซนติเมตร ยาว ๒๗ เซนติเมตร ตัวอักษรและตัวเลขรหัสแทนชื่อประเทศ องค์การหรือทบวงการชำนัญพิเศษ มีขนาดสูง ๓.๕ เซนติเมตร กว้าง ๐.๕ เซนติเมตร หมายเลขทะเบียนหลังขีดมีขนาดสูง ๕ เซนติเมตร กว้าง ๐.๕ เซนติเมตร
(ข) สี
(๑) แผ่นป้ายทะเบียนรถสำหรับรถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน รถยนต์รับจ้างสามล้อ และรถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง พื้นแผ่นป้ายเป็นสีเหลืองสะท้อนแสง ตัวอักษรประจำหมวด หมายเลขทะเบียน ตัวอักษรบอกชื่อกรุงเทพมหานครหรือจังหวัดและขอบแผ่นป้ายของรถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัดเป็นสีแดง รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคนเป็นสีดำ รถยนต์รับจ้างสามล้อเป็นสีเขียว และรถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้างเป็นสีน้ำเงิน
(๒) แผ่นป้ายทะเบียนรถสำหรับรถยนต์บริการธุรกิจ รถยนต์บริการทัศนาจรและรถยนต์บริการให้เช่า พื้นแผ่นป้ายเป็นสีเขียวสะท้อนแสง ตัวอักษรประจำหมวด หมายเลขทะเบียน ตัวอักษรบอกชื่อกรุงเทพมหานครหรือจังหวัด และขอบแผ่นป้ายเป็นสีขาว
(๓) แผ่นป้ายทะเบียนรถสำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล และรถยนต์สามล้อส่วนบุคคล พื้นแผ่นป้ายเป็นสีขาวสะท้อนแสงตัวอักษรประจำหมวด หมายเลขทะเบียน ตัวอักษรบอกชื่อกรุงเทพมหานครหรือจังหวัด และขอบแผ่นป้ายของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคนเป็นสีดำ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคนเป็นสีน้ำเงิน รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลเป็นสีเขียว และรถยนต์สามล้อส่วนบุคคลเป็นสีแดง ส่วนแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน และรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่ใช้หมายเลขทะเบียนที่มีกฎกระทรวงกำหนดให้เป็นหมายเลขทะเบียนซึ่งเป็นที่ต้องการหรือเป็นที่นิยม จะมีสีของพื้นแผ่นป้าย ตัวอักษรประจำหมวด หมายเลขทะเบียน ตัวอักษรบอกชื่อกรุงเทพมหานครหรือจังหวัด และขอบแผ่นป้ายแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ก็ได้ ทั้งนี้ ตามที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด
(๔) แผ่นป้ายทะเบียนรถสำหรับรถพ่วง รถบดถนน รถแทรกเตอร์ และรถใช้งานเกษตรกรรม พื้นแผ่นป้ายเป็นสีส้มสะท้อนแสง ตัวอักษรประจำหมวด หมายเลขทะเบียน ตัวอักษรบอกชื่อกรุงเทพมหานครหรือจังหวัด และขอบแผ่นป้ายเป็นสีดำ
(๕) แผ่นป้ายทะเบียนรถสำหรับรถจักรยานยนต์ พื้นแผ่นป้ายเป็นสีขาว ตัวอักษรประจำหมวด หมายเลขทะเบียน ตัวอักษรบอกชื่อกรุงเทพมหานครหรือจังหวัด และขอบแผ่นป้ายเป็นสีดำ
(๖) แผ่นป้ายทะเบียนรถสำหรับรถจักรยานยนต์ที่ใช้รับจ้างบรรทุกคนโดยสาร พื้นแผ่นป้ายเป็นสีเหลืองสะท้อนแสง ตัวอักษรประจำหมวด หมายเลขทะเบียน ตัวอักษรบอกชื่อกรุงเทพมหานครหรือจังหวัด และขอบแผ่นป้ายเป็นสีดำ
(๗) แผ่นป้ายทะเบียนรถสำหรับรถยนต์ของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต พื้นแผ่นป้ายเป็นสีขาว ตัวอักษร ตัวเลข และขีดเป็นสีดำ
(๘) แผ่นป้ายทะเบียนรถสำหรับรถยนต์ของบุคคลในหน่วยงานพิเศษของสถานทูตต่างๆ รถยนต์ของบุคคลในคณะผู้แทนทางกงสุล และรถยนต์ของบุคคลในองค์การระหว่างประเทศหรือทบวงการชำนัญพิเศษแห่งสหประชาชาติซึ่งประจำอยู่ในประเทศไทย พื้นแผ่นป้ายเป็นสีฟ้า ตัวอักษร ตัวเลขและขีดเป็นสีขาว
(๙) แผ่นป้ายทะเบียนรถสำหรับรถจักรยานยนต์ของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูตบุคคลในหน่วยงานพิเศษของสถานทูตต่างๆ บุคคลในคณะผู้แทนทางกงสุล และบุคคลในองค์การระหว่างประเทศหรือทบวงการชำนัญพิเศษแห่งสหประชาชาติซึ่งประจำอยู่ในประเทศไทย ให้มีสีเช่นเดียวกับ (๗) หรือ (๘) แล้วแต่กรณี
พื้นแผ่นป้ายทะเบียนรถประเภทใดจะมีรูปภาพที่สามารถอธิบายหรือมองเห็นความหมายในภาพที่ปรากฏเสมือนของแท้จริง (Graphic) นั้นเองได้ ให้เป็นไปตามที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด
ข้อ ๓ แผ่นป้ายทะเบียนรถให้ติดตรึงไว้ในที่ที่เห็นได้ง่ายที่หน้ารถหนึ่งแผ่น และที่ท้ายรถหนึ่งแผ่น เว้นแต่รถจักรยานยนต์หรือรถพ่วงให้ติดตรึงที่ท้ายรถหนึ่งแผ่น การติดตรึงแผ่นป้ายต้องไม่กระทำในลักษณะที่วัสดุที่ยึดแผ่นป้ายนั้นอาจปิดบังหรือปิดทับตัวอักษรประจำหมวด หมายเลขทะเบียน และตัวอักษรบอกชื่อกรุงเทพมหานครหรือจังหวัด และต้องไม่นำวัสดุหรือสิ่งอื่นใดไม่ว่าจะก่อให้เกิดแสงสว่างหรือเรืองแสงหรือไม่ก็ตาม มาปิดทับ บัง หรือติดไว้ในบริเวณใกล้เคียงกับแผ่นป้ายทะเบียนรถจนไม่สามารถมองเห็นตัวอักษรประจำหมวด หมายเลขทะเบียน หรือตัวอักษรบอกชื่อกรุงเทพมหานครหรือจังหวัด ข้อ ๔ เครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปีให้ติดที่ด้านในของกระจกกันลมด้าน หน้ารถโดยหันข้อความด้านหน้าของเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปีออกด้าน นอกรถ เว้นแต่รถจักรยานยนต์ รถพ่วง รถบดถนน รถแทรกเตอร์ รถใช้งานเกษตรกรรม และรถอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงให้ติดในที่ที่สามารถมองเห็นข้อความด้าน หน้าของเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปีได้ชัดเจน
ข้อ ๕ แผ่น ป้ายทะเบียนรถจักรยานยนต์ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๕ (พ.ศ. ๒๕๓๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่ทางราชการได้จัดทำไว้แล้วก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ นายทะเบียนจะออกให้แก่รถที่จดทะเบียนแล้วในวันหรือหลังจากวันที่กฎกระทรวง นี้ใช้บังคับได้ต่อไปไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้ บังคับ
ข้อ ๖ บรรดาแผ่นป้ายทะเบียนรถที่นายทะเบียนออกให้ไว้ก่อนวันที่กฎกระทรวง นี้ใช้บังคับและที่นายทะเบียนจะออกให้แก่รถที่จดทะเบียนแล้วตามข้อ ๕ แห่งกฎกระทรวงนี้ ให้ใช้ได้ต่อไป เว้นแต่เจ้าของรถมีความประสงค์จะขอเปลี่ยนแผ่นป้ายทะเบียนรถหรือมาแจ้ง ดำเนินการทางทะเบียนต่อนายทะเบียนเกี่ยวกับการโอน เปลี่ยนสี หรือเปลี่ยนเครื่องยนต์ ให้นายทะเบียนเปลี่ยนแผ่นป้ายทะเบียนรถเป็นแผ่นป้ายทะเบียนรถตามกฎกระทรวง นี้โดยให้เจ้าของรถเสียค่าธรรมเนียมแผ่นป้ายทะเบียนรถตามอัตราที่กฎหมาย กำหนด
ข้อ ๗[๑] กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๗
นิกร จำนง
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันแผ่นป้ายทะเบียนรถจักรยานยนต์ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๕ (พ.ศ. ๒๕๓๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ มีลักษณะ ขนาด และรูปแบบที่ไม่เหมาะสม ทำให้ไม่สามารถมองเห็นตัวอักษรบอกชื่อจังหวัดได้ชัดเจนและยากแก่การตรวจสอบ ประกอบกับยังมิได้มีการกำหนดแผ่นป้ายทะเบียนรถจักรยานยนต์สำหรับใช้รับจ้าง บรรทุกคนโดยสารให้มีลักษณะแตกต่างไปจากแผ่นป้ายทะเบียนรถจักรยานยนต์โดยทั่ว ไป และยังมิได้มีการกำหนดลักษณะ ขนาด และรูปแบบของแผ่นป้ายทะเบียนรถสำหรับหมายเลขทะเบียนที่ได้จากการประมูล ดังนั้น จึงสมควรปรับปรุงลักษณะ ขนาด และรูปแบบของแผ่นป้ายทะเบียนรถเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และสมควรปรับปรุงรูปแบบของกฎกระทรวงเสียใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบกฎ กระทรวงในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
พรพิมล/พิมพ์
๒๑ เมษายน ๒๕๔๗
จีระ/อรดา/ตรวจ
๒๗ เมษายน ๒๕๔๗
A+B
[๑] รก.๒๕๔๗/พ๖ก/๑/๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
@@ว่ากันตามเอกสาร.....ไม่มีการระบุ ถึงป้ายพับ ป้ายเอียงสักนิด ถ้าจะชวนทะเลาะน๊ะครับ...ให้ตีความตามตัวหนังสือในนี้ครับ ห้ามดิ้นออกนอกเอกสาร@@