งั้นถ้ากรณี ที่ลูกค้าค้างจ่ายค่าสินค้า
โดนที่เอาสินค้าไปใช้ เกินระยะเวลาที่รับประกัน รับเปลี่ยนคืน (7วัน)
โดนไม่มีการแจ้งว่าสินค้ามีปัญหาใดๆ จนวางบิลไปเรียบร้อย แต่ถึงเวลาครบรอบเก็บเช็ค กลับบอกว่าสินค้าล๊อตแรกมีปัญหา ขอลดราคา
แล้วไม่ยอม จ่ายค่าสินค้าแต่อย่างใด เป็นจำนวนเงิน 200,000 บาท (มันจะเบี้ยวหา ข้ออ้าง)
แบบนี้สามารถให้กฏหมาย หรือ วิธีใด บังคับให้ลูกหนี้ จ่ายเงินได้หรือป่าวครับ
พอดี ผมไม่รู้เรื่องกฏหมายเท่าไร แต่ตอนนี้พึ่งมีกรณีนี้เกิดขึ้น ถามเป็นความรู้เผื่อจะเป็นประโยชน์ด้วยครับ
ขอบคุณครับ
เรื่องนี้เป็นเรื่องซื้อขายธรรมดาครับ แต่ปัจจุบันกรณีร้านค้าหรือผู้ประกอบกิจการขายสินค้าและบริการให้ลูกค้า(ประชาชนทั่วไป) จะเป็นคดีผู้บริโภค (คดีผบ.)จะมีขั้นตอนการดำนเนินคดีที่รวบรัดหว่าคดีแพ่งทั่วไป (โดยหลักการโคตรดีแต่ปฎิบัติไม่ได้เรื่องเลย) ขอตอบปัญหาดังนี้ครับ
เรื่องซื้อขายสังหาริมทรัพย์กรรมสิทธิ์โอนไปยังผู้ซื้อนับแต่เวลาที่ได้ตกลงกัน (แม้ยังไม่ได้จ่ายตังและแม้ไม่มีหนังสือสัญญา) ดังนั้นเราไม่สามารถทวงคืนสินค้าได้ หรือนำคนไปเอาสินค้ากลับคืนเพราะจะโดนคดีอื่นๆ ตามมานะครับ เช่น ลักทรัพย์ ชิงทรัพย์(ถ้ามีการใช้กำลังระหว่างขนทรัพย์) หรืออาจโดนข้อหาหนักปล้นทรัพย์(หากพากันไป3คนขึ้นไป)และอาจจะโดนข้อหากรรโชกด้วย ซึ่งผมไม่แนะนำอย่างยิ่งให้ทำ ผมจะให้วิธีดังนี้นะแล้วแต่จะเลือก
1.ทวงหนี้เต็ม ตามที่ตกลงกัน (แบบทั่วๆไป)
2.ถ้าเห้นว่ามันไม่น่าจะมีปัญญาจ่าย หากลดราคาให้มันแล้วได้เช็คมาผมว่าโอเคนะ เกิดเช็คมันเด้งขึ้นมา เล่นเป็นคดีอาญาได้เลยครับ(อันนี้แนะนำเพราะคดีอาญาได้ตังแน่มีหมายจับบีบแน่นๆเอาให้อวก) แนะนำนะครับถ้าไม่ได้รับเป้นเงินสดผมว่ารับเป็นเช็คปลอดภัยกว่าอย่างน้อยเล่นงานคดีอาญาตาม พรบ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2354 แม้โทษไม่มากแต่ก้เป็นคดีอาญา
3.ส้งหนังสือทวงถามแล้วดำเนินคดีตามกฎหมาย โดยฟ้องเป็นคดีผู้บริโภคตามที่ผมว่าอ่ะนะ
แล้วแต่จะเลือกครับส่วนเรื่องศาลเตี้ยไม่แนะนำนะครับ ถ้าขายสินค้าให้กับผู้ประกอปกิจการด้วยกัน(คือขายให้ร้านค้าที่นำไปขายต่ออีกทอดไม่ได้ใช้เอง)จะเป็นดีคแพ่งทั่วไปครับหากจะฟ้องเสีนค่าขึ้นศาลร้อยละ 2 ขอจำนวนทุนทรัพย์