เขาเรียกว่าHHO หลักการก็คือเอาไฟบวกลบ ปล่อยเข้าไปในน้ำ ซึ่งใส่สารนำไฟฟ้า(มีหลากหลายชนิดนะต้องค่อยๆศึกษาเอา) แล้วน้ำจะเกิดการแตกตัวออกเป็นไฮโดรเจนสองโมเลกุล อ๊อกซิเยนอีกหนึ่งโมเลกุล แล้วนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงรถครับ คนไทยแรกๆที่คิดทำและประสพความสำเร็จในระดับใช้งานจริงได้ ๔๐ ถึง ๕๐ % นั้นมีครับ
แต่คงติดที่พี่แกเผยแพร่เพียงแค่ห้าพันคนแล้วก็ปิดเวปหนีโลดเลย ผมเคยติดตามผลงานของชายคนนี้เมื่อหลายปีก่อนครับ เป็นอะไรที่ทึ่งในฝีมือของคนไทยจริงๆ สาเหตุหลักๆที่พี่แกต้องปิดเวปหนี น่าจะเกี่ยวกับเรื่องสิทธิบัตรอะไรประมาณนี้ล่ะ เพราะพี่แกพัฒนาได้ใกล้เคียงในระดับอีนเตอร์เลยครับ ใครที่ได้ศึกษาผลงานของชายคนนี้ สามารถเอาไปต่อยอดพัฒนาต่อได้อย่างสบายเลยครับ ผมเป็นคนที่ประมาณสองพันในประเทศนี้ที่ได้มีโอกาสเข้าไปดูและศึกษาในเวปของพี่ท่านเมื่อหลายปีก่อน ตามลิงค์นี้ครับ เห็นว่าพี่แกบอกว่า เก็บไว้เป็นแหล่งข้อมูลเหมือน ไม้ขีดไฟก้านสุดท้ายในยามค่ำคืนของฤดูหนาวก็แล้วกัน ข้อมูลหลักๆที่เคยเปิดเผยให้รู้ลบหายเกลี้ยง คนนี้ทำได้ถึงน่าจะเจ็ดสิบเปอร์ด้วยมั๊ง แต่พี่แกจำกัดไว้แค่ห้าสิบห้าสิบเท่านั้น เพื่อความปลอดภัยอะไรทำนองนั้น ก็แมร่งเล่นระเบิดตูมตามยิ่งกว่าไฟแบ็คในรถใช้แอลพีจีอีก ระบบเซฟตี้แทบจะไม่มีนอกจากให้ผ่านน้ำก่อนเท่านั้น ลองตามไปดูครับลิ้งค์นี้ล่ะ
http://www.watercar.ob.tc/ เก็บไว้เป็นแหล่งข้อมูลเหมือน ไม้ขีดไฟก้านสุดท้ายในยามค่ำคืนของฤดูหนาวก็แล้วกัน
แต่วันนี้ได้นำข้อมูลบางส่วนมาเพิ่มเติม ถือว่าเป็นโอกาสดีที่จขกท.อยากศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ครับ แต่ที่ต่างประเทศนั้น เขาทำใช้กันในระดับ ๑๐๐ % กันเลยทีเดียวเชียวนะสิบอกไห่ ไม่ว่าจาเป็น เมกา ตากาล็อก(ฟิลิปปินส์) แคนาดา เยอรมัน หรือแม้แต่ญี่ปุ่นครับ ไม่ใช่ของใหม่ ทำได้มาหลายสิบปีแล้วครับ แต่มันมีข้อเสียตรงที่
๑ เวลาสันดาปแล้ว มันก็จากลับไปเป็นน้ำอีก ท่อไอเสียพ่นน้ำยาวเป็นทางเลยล่ะ วัสดุที่ใช้ในเครื่องต้องเป็นพวกปลอดสนิม ท่อทางต่างๆด้วย ถึงจะดี อันนี้ประการแรก
๒ ประการที่สอง เมื่อเอาไฟตรงเข้าไปแยกน้ำให้ไฮโดรเจน ออกมาเป็นเชื้อเพลิง นั้น มันสูญเสียพลังงานมาเกินไป หรือว่ามากเกินกว่าที่เชื้อเพลิงไฮโดรเยน จะให้พลังทดแทนกลับคืนมาครับ จึงมีการคิดค้นใหม่ ใช้พลังไฮโดรเยนเหมือนกัน แต่เรียกว่าเซลเชื้อเพลงครับ ตัวนี้ล่ะ ที่ทำให้โอเปคร้อนๆหนาวๆ กว่ารถไฟฟ้าซะอีกครับ
ข้อเสียประการที่สามก็คือ อุปกรณ์ที่แยกแก๊สไฮโดรเจน ขนาดมันใหญ่มาก หากเราจะนำมาใช้งานเต็มที่ระดับร้อยเปอร์เซนต์
ข้อเสียอีกข้อแล้วกานที่พอนึกได้นะ ไฮโดรเยนเป็นเชื้อเพลงที่ไวไฟมาก การใช้งานจึงต้องระมัดระวังมากๆ แล้วยังไม่มีระบบอัดในถังเหมือนเช่นแอลพีจี นอกจากระบบเซลเชื้อเพลิง อันนี้จะมีถังไฮโดรเจนเหมือนถังแอลพีจีติดไว้เลย มีสถานีบริการ ในยุโรปเห็นบีเอ็มดับบริวพัฒนาเรื่องนี้ เมกา ญี่ปุ่นก็ด้วยครับ ลองเสริทหาข้อมูลดูครับ(เพียบ)
เป็นพลังงานทางเลือกที่ถูกกั๊ก และไม่มีการสานต่อหรือพัฒนาต่อ คนไทยเก่งๆ ก็ไม่ค่อยได้รับการสนับสนุนที่ดี จากรัฐบาล ยังมีอีกที่หากจำไม่ผิดอยู่ที่ระยองนะ อันนี้ทำมาขายเป็นการค้าเลย ชุดหนึ่งๆในตอนนั้นน่าจะหกเจ็นพันนี่ล่ะหากจำไม่ผิด ที่ใช้ในรถทั่วไปหากเป็นเบนซินใช้แอลพีจีเป็นหลัก ก็ได้ค่าประหยัดอยู่ที่กิโลละ ห้าสิบสตางค์
ขี้เกียจพิมพ์แล้วล่ะ เอาแค่นี้ก่อนเด้อ เด๋วรอเกจิท่านอื่นๆมาคอนเฟิมต่อจร้า