AE. Racing Club
28 พฤศจิกายน 2024 15:01:36 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1] 2  »    ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: 2zzgevvtl-i การทำงานเหมือน v-tec ไหมคับ  (อ่าน 6486 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
<<nutt>>
นักแข่งมืออาชีพอันดับหนึ่ง
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,661


<NC.Z> / ถึงจะพังก็ตังค์กรูเฟร้ย!!


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 26 กันยายน 2009 23:51:32 »

อยากรู้จิงๆคับ  คำนับ
บันทึกการเข้า

บ่องตงเครื่องเดิ๊มเดิม+KKT+TD05h ไว้จ่ายกับข้าวจ๊ะ
084.652.4314
>> OaTzy << SZ#013
นักแข่งมืออาชีพอาวุโส
********
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,901


[SZ#013]


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 27 กันยายน 2009 01:18:29 »

VVTL-i น่าจะทำงานแบบปรับองศาแคม พร้อมปรับระยะยกของวาว์ลได้นะ น่าจะคล้าย ๆ กันง่ะ
บันทึกการเข้า

อุบัติเหตุไม่ใช่เวรกรรม . . . . แต่เป็นการกระทำของเทอร์โบ !!!  อ้อน  อ้อน
AE สี กะปิ
นักแข่งมืออาชีพอันดับหนึ่ง
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,938


จัดไป อย่าให้เสีย


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 27 กันยายน 2009 02:14:07 »

เหมือน i-VTEC ครับ
บันทึกการเข้า

ขายของAE-> http://www.aeracingclub.net/forums/index.php?topic=80096.0
081-920-6990
089-053-2666
arTO-TRD
นักแข่งมืออาชีพอาวุโส
********
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 12,360



ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 27 กันยายน 2009 07:16:36 »

รอบกวาเร็ว มากๆๆๆ  จากที่ดู คลิป  ยูทรูป
บันทึกการเข้า
Rong Fuel-Up
นักแข่งมืออาชีพอาวุโส
********
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,276



ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 01 ตุลาคม 2009 09:23:12 »

vtec มัน ยกมาก กับ ยกน้อย อ่ะ โดย ใช้กลไก สลัก เป็นตัว ล๊อคครับ  อธิบายไม่ถูกอ่ะ

ส่วนของโตโยต้า มัน แผรผัน อ่ะ แบบว่า รอบเท่านั้น เปิดเท่านี้  อะไรประมาณนั้น
บันทึกการเข้า
carboys
นักแข่งมืออาชีพอาวุโส
********
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,571


ใช้สำหรับซิ่ง และ ซ่อม เท่านั้น


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 01 ตุลาคม 2009 20:22:10 »

VVTLi นี่เจ๋งกว่า VTec อีกนะ เพราะมันปรับระยะยกได้หลายระยะด้วย เป็น fuzzy น่ะ ส่วน VTec
มันเป็น Step น่ะ แต่ต้นทุนมันสูงไม่คุ้มทำขาย เลยจบลงที่เครื่อง 2ZZ-GE ตัวเดียว ทำแต่ VVTi
ขายก็ใช้ได้แล้ว ถูกกว่าเยอะ ขายได้เหมือนกัน
บันทึกการเข้า


Step Ahead with MasterCRAFT
coolgrep2
นักแข่งมืออาชีพอันดับหนึ่ง
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,223


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 01 ตุลาคม 2009 21:36:55 »

มีใครรู้บ้างว่า advance Vtec มันจะสำเร็จยัง
แต่จะให้ Perfect จริง เชีย Valvematic เห่อ ๆ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 ตุลาคม 2009 21:40:13 โดย coolgrep2 » บันทึกการเข้า

GearIto^OK!
นักแข่งมืออาชีพอันดับหนึ่ง
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,042


ลากให้สุดม้า สับมาให้ถูกทอร์ค 55555555555+


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 02 ตุลาคม 2009 09:26:19 »

มีใครเอา2ZZมาวางในaeม่างไหมครับ

แล้วถ้ามีอยากทราบว่าวางในบอดี้อะไรครับ

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
joun
มือใหม่หัดขับ
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 31


ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: 02 ตุลาคม 2009 11:12:34 »

มีครับแต่ไม่ใช่รถผมนะ ว่างในE100ครับ ถ้าจำไม่ผิดนะครับแก่ ชื่อพี่บิวครับ ผิดถูกยังไงขออภัยคับเพราะมันนานมากแล้ว  แหะ.. แหะ..
บันทึกการเข้า
ajmoo
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #9 เมื่อ: 02 ตุลาคม 2009 11:44:41 »

VVT-I : VARIABLE VALVE TIMING-INTELLIGENCE หนึ่งในระบบแปรผันการเปิด-ปิดวาล์ว เพื่อให้เกิดกำลังสูงอย่างต่อเนื่องในช่วงกว้าง และมีการตอบสนองดีทุกความเร็วรอบของเครื่องยนต์เครื่องยนต์ 4 จังหวะที่ใช้กันทั่วไป มีการทำงานแบ่งเป็น 4 จังหวะ ดูด-อัด-ระเบิด-คาย โดยการหายใจเข้าในจังหวะดูดและการหายใจออกในจังหวะคายของเครื่องยนต์ ทำโดยผ่านตัววาล์วไอดีและไอเสีย ซึ่งมีการควบคุมการเปิด-เปิดด้วยลูกเบี้ยวบนแคมชาฟต์ (เพลาราวลิ้น) ทำหน้าที่กำหนดให้มีช่วงระยะเวลา ความนาน และระยะยกของการเปิดวาล์วตามที่ออกแบบไว้

รอบการหมุนของเครื่องยนต์ที่เป็นช่วงกว้างตั้งแต่รอบเดินเบาเกือบ 1,000 รอบต่อนาที สูงขึ้นไปจนถึงจรดแถบแดงแถวๆ 6,000-7,000 รอบต่อนาที แท้จริงแล้วในแต่ละรอบย่อมต้องการให้หายใจด้วยการเปิดวาล์วที่เริ่มเปิด ความนาน และระยะยกไม่เท่ากัน

แต่ในเมื่อต้องใช้ลูกเบี้ยวบนตัวแคมชาฟต์เป็นตัวกด ในเครื่องยนต์ทั่วไปจึงมีรอบเครื่องยนต์อยู่ช่วงเดียวเป็นช่วงแคบๆ ที่เครื่องยนต์จะทำงานได้ดีที่สุด มีกำลังตอบสนองดีและใช้เชื้อเพลิงได้คุ้มค่า แต่ในช่วงรอบเครื่องยนต์ต่ำกว่าหรือสูงกว่าช่วงนั้น ความสมบูรณ์จะลดลงไป ไม่ใช่เครื่องยนต์จะดับหรือทำงานไม่ได้ แต่ทำได้ไม่ดีเท่ากับช่วงที่วาล์วซึ่งเปิดโดยแคมชาฟต์ทำให้เครื่องยนต์หายใจได้เหมาะสมที่สุด

ลองนึกเปรียบเทียบง่ายๆ กับคนใน 3 ลักษณะ คือ 1.นั่งเฉยๆ 2.วิ่งเหยาะๆ 3.วิ่งเร็ว ถ้ามีการหายใจด้วยความถี่หรือความแรงเท่าเดิมตลอด ก็ต้องมีแค่ช่วงหนึ่งเท่านั้นที่หายใจพอดีกับการใช้แรงใน 3 ลักษณะนั้น หากหายใจถี่หรือนาน แต่นั่งอยู่เฉยๆ ก็ไม่พอดี เพราะไม่ได้ออกแรง แต่ถ้าวิ่งเร็วๆ แล้วหายใจช้าหรือนิดเดียวคล้ายกับตอนที่นั่งเฉยๆ ก็ไม่มีแรงวิ่ง เพราะหายใจไม่ทันได้อากาศไม่พอกับกำลังงานที่ต้องใช้

ในเมื่อคนยังจำเป็นต้องแปรผันการหายใจให้เหมาะกับการออกแรงในขณะนั้น เครื่องยนต์มี่มีรอบการทำงานตั้งแต่เกือบ 1,000 รอบต่อนาทีไปจนถึงแถวๆ 6,000-7,000 รอบต่อนาที ถ้าจะให้ได้ความสมบูรณ์ในการหายใจเพื่อให้ได้ผลออกมาที่ดี ก็จำเป็นต้องมีการแปรผันการหายใจ (หรือการเปิดวาล์วนั่นเอง)ให้เหมาะสมกับรอบของเครื่องยนต์ในแต่ละช่วงการทำงาน

ในรอบต่ำไม่ต้องผลิตกำลังมาก ก็หายใจแบบหนึ่ง รอบปานกลางหรือเร่งฉับพลันต้องการกำลังมาก ก็หายใจแบบหนึ่ง และรอบจัดก็หายใจอีกแบบหนึ่ง วิศวกรเครื่องยนต์ทั่วโลกทราบดีว่า ถ้าเป็นเครื่องยนต์ธรรมดาก็จำเป็นต้องทำใจเลือกแคมชาฟต์ที่มีลูกเบี้ยวเปิดวาล์วที่เหมาะสมในช่วงรอบใดรอบหนึ่ง เช่น จะทำเครื่องยนต์รอบจัดหรือรถแข่งก็เลือกแคมชาฟต์แบบหนึ่ง หากจะทำเครื่องยนต์รอบต่ำใช้งานทั่วไปขับคลานๆ ก็เลือกแคมชาฟต์แบบหนึ่ง ต้องยอมได้อย่างเสียอย่างๆ หลีกเลี่ยงไม่ได้

จึงเห็นว่าเครื่องยนต์ทั่วไปจะมีบุคลิกตายตัว คือ เครื่องยนต์ในรถยนต์ที่ใช้งานทั่วไป ขับรอบต่ำถึงปานกลางจะได้กำลังดี แต่เมื่อต้องการเน้นสมรรถนะโดยเร่งรอบเครื่องยนต์สูงๆ ก็จะไม่แรงสะใจ หรือเครื่องยนต์ในรถสปอร์ตพันธ์แท้แรงจัดในรอบสูง แต่พอขับคลานๆ ในรอบต่ำก็ไม่ค่อยมีแรง เมื่อเร่งรอบเครื่องยนต์ก็มีอาการรอบรอบตอบสนองช้า จนกว่าจะไต่ไปอยู่รอบสูงและก็ต้องเลี้ยงรอบไว้อย่างนั้น ตกมารอบต่ำเมื่อไรเรี่ยวแรงก็ถดถอย ตามที่เห็นในกราฟแสดงแรงม้าแรงบิดของเครื่องยนต์ทั่วไป มักจะเป็นเส้นที่มีทรงคล้ายภูเขา คือ ไต่ขึ้นไปเป็นยอดเขาแล้วมียอดแหลมนิดเดียวก็วูบลงมาอีกด้าน ไม่ใช่ยอดเขาหัวตัดที่มีกำลังสูงในช่วงรอบกว้าง

วิศวกรเครื่องยนต์มีความฝันก็คือ จะทำอย่างไรให้เครื่องยนต์มีกำลังสูงในช่วงรอบกว้างกว่าที่คุ้นเคยกัน กราฟแรงม้าแรงบิดเป็นภูเขาหัวตัด มีแรงดีในช่วงรอบกว้างๆ เหมือนมีแคมชาฟต์หลายแท่งสลับกันทำงานในแต่ละรอบเครื่องยนต์ เปลี่ยนแท่งแคมชาฟต์ได้อย่างฉับไว ความเป็นจริงไม่มีทางเลยที่จะสลับหลายแท่งแคมชาฟต์ในแต่ละรอบเครื่องยนต์ได้ เพราะรอบเครื่องยนต์หมุนเร็วหลายพันรอบต่อนาทีและเปลี่ยนแปลงเร็วมากขึ้นลงหลายพันรอบในช่วงไม่กี่วินาที

คำตอบ คือ ต้องทำให้เครื่องยนต์มีการแปรผันการหายใจโดยเฉพาะการหายใจเข้าผ่านวาล์วไอดี ให้เปลี่ยนแปลงในแต่ละรอบเครื่องยนต์ได้คล้ายคนที่นั่งเฉยๆ ก็หายใจธรรมดา แต่พอวิ่งเหยาะๆ ก็หายใจถี่ขึ้น และเปลี่ยนไปหายใจทั้งถี่ทั้งแรงเมื่อวิ่งเร็วๆ การแปรผันการเปิดวาล์วมีหนึ่งในวิธีที่สามารถทำได้และเห็นผล ชัดเจนต้องทำที่แคมชาฟต์ ซึ่งเป็นชิ้นส่วนที่ทำหน้าที่ในทางกลไกโดยตรงที่จะสั่งให้วาล์วเปิด-ปิด โดยมีการคิดค้นหลายวิธีที่จะแปรผันการเปิดวาล์วโดยทำกันที่แคมชาฟต์

1 ในวิธีนั้น คือ การใช้แคมชาฟต์และลูกเบี้ยวเหมือนปกติ แต่ไปเพิ่มอุปกรณ์พิเศษที่หัวด้านหน้าสุดของแคมชาฟต์ ทำหน้าที่เยื้องไปมาแปรผันกับตำแหน่งของข้อเหวี่ยง ให้แคมชาฟต์เริ่มเปิดวาล์วก่อนหรือล่าช้าไปจากปกติให้เหมาะสมกับรอบสูงรอบต่ำของเครื่องยนต์ เมื่อเปรียบเทียบกับการเปิดวาล์วปกติที่ต้องสัมพันธ์กับตำแหน่งของข้อเหวี่ยง การเยื้องหรือแปรผันช่วงเวลาด้วยชุดหัวแคมชาฟต์แบบพิเศษนี้ จะถูกควบคุมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ รับข้อมูลและสถานะต่างๆ ของเครื่องยนต์และรถยนต์มาประมวลผล แล้วสั่งให้หัวแคมชาฟต์เกิดการเยื้องไปมาอย่างฉับไว แปรผันอย่างเหมาะสมตามรอบของเครื่องยนต์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาโดยอัตโนมัติ เช่น ระบบ VVT-i ของโตโยต้า

ผู้ขับจะไม่ทราบอาการเปลี่ยนแปลงนั้นเลย รอบเครื่องยนต์ไม่มีกระตุก การตอบสนองของกำลังเครื่องยนต์ดีเยี่ยมโดยที่ไม่มีอาการกระชาก ไอเสียสะอาดมลพิษต่ำ แม้แต่จ้องมองรอบของเครื่องยนต์บนมาตรวัด ก็จะไม่ทราบถึงการแปรผันการเปิดวาล์วนั้นเลย ทุกอย่างเป็นไปอย่างนุ่มนวลและทำงานอย่างต่อเนื่องโดยอัตโนมัติ ผู้ขับไม่ต้องกดปุ่มปรับเปลี่ยน ไม่ต้องสั่งงาน เพราะระบบควบคุมจะทำเองทั้งหมด

การแปรผันการเปิด-ปิดวาล์วไอดี ในการหายใจเข้าของเครื่องยนต์ มีความจำเป็นมากกว่าด้านวาล์วไอเสียที่หายใจออก ซึ่งไอเสียจะมีแรงดันไหลออกไปเองเป็นส่วนใหญ่ ระบบนี้จึงมักจะใช้กับชุดวาล์วไอดีเท่านั้น โดยจะเป็นการแปรผันเฉพาะช่วงเวลาที่จะเริ่มต้นเปิดไล่ไปจนถึงปิด โดยความนานและระยะยกของการเปิดวาล์วยังเท่าเดิม เพราะใช้ลูกเบี้ยวเดิมชุดเดียว แต่มีหัวแคมชาฟต์แบบพิเศษที่เยื้องไปมาได้ ซึ่งก็เหลือเฟือสำหรับการใช้งานทั่วไปแล้ว

นอกจากนั้นโตโยต้า ยังมีระบบที่เหนือชั้นขึ้นไปอีก คือ ระบบ VVTL-i = VARIABLE
VALVE TIMING AND LIFT-INTELLIGENCE คือ แท่งแคมชาฟต์จะมีลูกเบี้ยวเพิ่มขึ้น และมีระบบกระเดื่องกดวาล์วแบบพิเศษเพิ่มขึ้นมา คอยสลับชุดลูกเบี้ยวใช้งานในแต่ละรอบ ในช่วงเครื่องยนต์หมุนรอบต่ำถึงปานกลางใช้ลูกเบี้ยวชุดหนึ่ง พอเข้าสู่ช่วงรอบสูงก็สลับกระเดื่องไปใช้ลูกเบี้ยวอีกชุดหนึ่งในการเปิดวาล์ว ใช้ในรถสปอร์ต เช่น เซลิก้า

เปรียบเทียบกับระบบอื่น

ระบบแปรผันการเปิดวาล์ว แยกได้เป็น 3 แบบหลัก ไล่จากความยุ่งยากและผลที่ได้จากได้ผลดีน้อยไปมาก คือ
1. แปรผันช่วงเวลา แต่ความนานและระยะยกเท่าเดิม ใช้ลูกเบี้ยวเดิม โดยไปเยื้องกันที่หัวแคมชาฟต์ เช่น VVT-i, VANOS
2. แปรผันทั้งหมด ทั้งช่วงเวลา ความนาน และระยะยก โดยเปลี่ยนลูกเบี้ยวไปเลย ใช้ระบบกระเดื่องพิเศษคอยสลับลูกเบี้ยว เช่น VTEC, MIVEC
3. แปรผันทั้งหมดและเยื้องช่วงเวลา นำแบบ 1 ทำงานร่วมกับแบบ 2 คือ เยื้องที่หัวแคมชาฟต์และสลับลูกเบี้ยวด้วยกระเดื่องพิเศษ เช่น i-VTEC, VVTL-i
ระบบ VVT-i จัดอยู่ในแบบแรก คือ เยื้องที่หัวแคมชาฟต์เท่านั้น ให้ผลดีน้อยที่สุดใน 3 แบบ แต่ก็มีความยุ่งยากน้อยที่สุด และมีหลายยี่ห้อนิยมใช้ เพราะความง่ายแต่ได้ผลดีพอสมควรนั่นเอง

สรุปง่ายๆ กับการแปรผันการเปิด-ปิดวาล์ว ก็เหมือนคนที่หายใจได้หลายแบบในแต่ละสภาวะที่แตกต่างกัน ทำให้เครื่องยนต์ได้ความสมบูรณ์ในการทำงานทุกช่วงนั่นเอง แต่มีหลายรูปแบบการทำงาน ไม่ใช่เห็นว่าแปรผันได้แล้วจะดีเท่ากันหมดต้องดูว่าแปรผันแบบใดแค่ไหน

VTEC ย่อมาจาก (VARIABLE VALVE TIMING AND VALVE LIFT ELECTRONIC CONTROL SYSTEM) คือ ระบบที่ควบคุมการทำงานของวาล์วไอดี ให้เหมาะสมกับการทำงานของ รอบเครื่องยนต์ในแต่ละช่วง โดยในเครื่องยนต์ปกติทั่วไป ที่ไม่มีระบบ VTEC หรือการควบคุม การทำงานของวาล์วไอดี จะมีระบบและช่วงเวลาของการเปิด-ปิดวาล์วไอดีที่ตายตัว นั่นหมายถึงว่า ปริมาณของอากาศที่ไหลเข้าสู่ห้องเผาไหม้ จะสม่ำเสมอเท่า ๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นรอบเครื่องยนต์ที่สูง หรือต่ำ

โดยปติสัดส่วนอากาศที่เข้าไปผสมเชื้อเพลิงในห้องเผาไหม้นั้น ต้องมีปริมาณที่เหมาะสม เพื่อที่จะให้การเผาไหม้สมบูรณ์หมดจด ดังนั้นเครื่องยนต์ธรรมดาทั่ว ๆ ไป ไม่สามารถทำให้เหมาะสม ได้ คือ ไม่สมบูรณ์ 100% นั่นเอง

ระบบ VTEC หรือระบบควบคุมการทำงานของวาล์วไอดี จะควบคุมระยะและช่วงเวลา ของการเปิด-ปิดวาล์วไอดี ให้เหมาะสมกับการทำงานของรอบเครื่องยนต์ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ ส่วนผสมของอากาศที่เข้าห้องเผาไหม้ จะอยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสมตลอดเวลา และส่งผลต่อเนื่องกับการประหยัดเชื้อเพลิง ตลอดจนกำลังที่เพิ่มขึ้นด้วย

ที่รอบเครื่องยนต์ต่ำ เครื่องยนต์ต้องการอากาศในการเผาไหม้ในปริมาณที่ต่ำกว่า รอบเครื่องยนต์สูง ซึ่งอาจจะเปรียบเทียบได้กับการที่คนเราเดินและวิ่ง ต่างก็ต้องการอากาศในการหายใจที่ไม่เท่ากัน โดยระบบ VTEC จะบังคับให้วาล์วไอดีตัวที่หนึ่ง (ซึ่งปกติจะมีวาล์วไอดี 2 ตัว วาล์วไอเสีย 2 ตัว ต่อ 1 สูบ) เปิดน้อยกว่าวาล์วไอดีอีกตัวหนึ่ง ทำให้อากาศไหลเข้าสู่ห้องเผาไหม้ในปริมาณที่เหมาะสม กับที่เครื่องยนต์ต้องการในการเผาไหม้

สำหรับที่รอบเครื่องยนต์สูง ระบบ VTEC จะบังคับให้วาล์วไอดีทั้ง 2 ตัว เปิดในระยะที่กว้างขึ้น และในช่วงเวลาที่มากขึ้น เพื่อทำให้อากาศที่ไหลเข้าสู่ห้องเผาไหม้ได้มากขึ้น เพียงพอกับการที่เครื่องยนต์ในรอบเครื่องยนต์สูงต้องการ

ด้วยสาเหตุนี้เอง เครื่องยนต์ที่มีระบบ VTEC จึงมีสมรรถนะสูงที่จะทำให้ทุกช่วงของการขับขี่ ไม่ว่าจะเป็นรอบเครื่องยนต์สูงหรือต่ำ มีการตอบสนองที่สมบูรณ์ไม่ว่าจะเป็นการประหยัดเชื้อเพลิง หรือกำลังของเครื่องยนต์ ซึ่งเครื่องยนต์ของรถยนต์ทั่ว ๆ ไป ไม่สามารถทำได้ เพราะไม่มีระบบควบคุมอย่าง VTEC นั่นเอง

ตอนนี้คงหายสงสัยแล้วว่า ทำไมรถที่ใช้เครื่องยนต์ระบบ VTEC ถึงได้แรงขนาดนั้น

หมายเหตุ - การทำงานของเครื่องยนต์ที่มีระบบ VTEC นั้น จะมีตัวเซนเซอร์ 4 ตัว ซึ่งจะส่งสัญญาณไปยังกล่อง EUC (ELECTRONIC CONTROL UNIT) เพื่อทำการประมวลผล และจะสั่งงานให้แรงดันน้ำมันเครื่องทำการควบคุมการเปิด-ปิดวาล์วไอดี
บันทึกการเข้า
GhOST
นักแข่งมืออาชีพอันดับสอง
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 928



ดูรายละเอียด
« ตอบ #10 เมื่อ: 02 ตุลาคม 2009 15:15:22 »

VVT-I : VARIABLE VALVE TIMING-INTELLIGENCE หนึ่งในระบบแปรผันการเปิด-ปิดวาล์ว เพื่อให้เกิดกำลังสูงอย่างต่อเนื่องในช่วงกว้าง และมีการตอบสนองดีทุกความเร็วรอบของเครื่องยนต์เครื่องยนต์ 4 จังหวะที่ใช้กันทั่วไป มีการทำงานแบ่งเป็น 4 จังหวะ ดูด-อัด-ระเบิด-คาย โดยการหายใจเข้าในจังหวะดูดและการหายใจออกในจังหวะคายของเครื่องยนต์ ทำโดยผ่านตัววาล์วไอดีและไอเสีย ซึ่งมีการควบคุมการเปิด-เปิดด้วยลูกเบี้ยวบนแคมชาฟต์ (เพลาราวลิ้น) ทำหน้าที่กำหนดให้มีช่วงระยะเวลา ความนาน และระยะยกของการเปิดวาล์วตามที่ออกแบบไว้

รอบการหมุนของเครื่องยนต์ที่เป็นช่วงกว้างตั้งแต่รอบเดินเบาเกือบ 1,000 รอบต่อนาที สูงขึ้นไปจนถึงจรดแถบแดงแถวๆ 6,000-7,000 รอบต่อนาที แท้จริงแล้วในแต่ละรอบย่อมต้องการให้หายใจด้วยการเปิดวาล์วที่เริ่มเปิด ความนาน และระยะยกไม่เท่ากัน

แต่ในเมื่อต้องใช้ลูกเบี้ยวบนตัวแคมชาฟต์เป็นตัวกด ในเครื่องยนต์ทั่วไปจึงมีรอบเครื่องยนต์อยู่ช่วงเดียวเป็นช่วงแคบๆ ที่เครื่องยนต์จะทำงานได้ดีที่สุด มีกำลังตอบสนองดีและใช้เชื้อเพลิงได้คุ้มค่า แต่ในช่วงรอบเครื่องยนต์ต่ำกว่าหรือสูงกว่าช่วงนั้น ความสมบูรณ์จะลดลงไป ไม่ใช่เครื่องยนต์จะดับหรือทำงานไม่ได้ แต่ทำได้ไม่ดีเท่ากับช่วงที่วาล์วซึ่งเปิดโดยแคมชาฟต์ทำให้เครื่องยนต์หายใจได้เหมาะสมที่สุด

ลองนึกเปรียบเทียบง่ายๆ กับคนใน 3 ลักษณะ คือ 1.นั่งเฉยๆ 2.วิ่งเหยาะๆ 3.วิ่งเร็ว ถ้ามีการหายใจด้วยความถี่หรือความแรงเท่าเดิมตลอด ก็ต้องมีแค่ช่วงหนึ่งเท่านั้นที่หายใจพอดีกับการใช้แรงใน 3 ลักษณะนั้น หากหายใจถี่หรือนาน แต่นั่งอยู่เฉยๆ ก็ไม่พอดี เพราะไม่ได้ออกแรง แต่ถ้าวิ่งเร็วๆ แล้วหายใจช้าหรือนิดเดียวคล้ายกับตอนที่นั่งเฉยๆ ก็ไม่มีแรงวิ่ง เพราะหายใจไม่ทันได้อากาศไม่พอกับกำลังงานที่ต้องใช้

ในเมื่อคนยังจำเป็นต้องแปรผันการหายใจให้เหมาะกับการออกแรงในขณะนั้น เครื่องยนต์มี่มีรอบการทำงานตั้งแต่เกือบ 1,000 รอบต่อนาทีไปจนถึงแถวๆ 6,000-7,000 รอบต่อนาที ถ้าจะให้ได้ความสมบูรณ์ในการหายใจเพื่อให้ได้ผลออกมาที่ดี ก็จำเป็นต้องมีการแปรผันการหายใจ (หรือการเปิดวาล์วนั่นเอง)ให้เหมาะสมกับรอบของเครื่องยนต์ในแต่ละช่วงการทำงาน

ในรอบต่ำไม่ต้องผลิตกำลังมาก ก็หายใจแบบหนึ่ง รอบปานกลางหรือเร่งฉับพลันต้องการกำลังมาก ก็หายใจแบบหนึ่ง และรอบจัดก็หายใจอีกแบบหนึ่ง วิศวกรเครื่องยนต์ทั่วโลกทราบดีว่า ถ้าเป็นเครื่องยนต์ธรรมดาก็จำเป็นต้องทำใจเลือกแคมชาฟต์ที่มีลูกเบี้ยวเปิดวาล์วที่เหมาะสมในช่วงรอบใดรอบหนึ่ง เช่น จะทำเครื่องยนต์รอบจัดหรือรถแข่งก็เลือกแคมชาฟต์แบบหนึ่ง หากจะทำเครื่องยนต์รอบต่ำใช้งานทั่วไปขับคลานๆ ก็เลือกแคมชาฟต์แบบหนึ่ง ต้องยอมได้อย่างเสียอย่างๆ หลีกเลี่ยงไม่ได้

จึงเห็นว่าเครื่องยนต์ทั่วไปจะมีบุคลิกตายตัว คือ เครื่องยนต์ในรถยนต์ที่ใช้งานทั่วไป ขับรอบต่ำถึงปานกลางจะได้กำลังดี แต่เมื่อต้องการเน้นสมรรถนะโดยเร่งรอบเครื่องยนต์สูงๆ ก็จะไม่แรงสะใจ หรือเครื่องยนต์ในรถสปอร์ตพันธ์แท้แรงจัดในรอบสูง แต่พอขับคลานๆ ในรอบต่ำก็ไม่ค่อยมีแรง เมื่อเร่งรอบเครื่องยนต์ก็มีอาการรอบรอบตอบสนองช้า จนกว่าจะไต่ไปอยู่รอบสูงและก็ต้องเลี้ยงรอบไว้อย่างนั้น ตกมารอบต่ำเมื่อไรเรี่ยวแรงก็ถดถอย ตามที่เห็นในกราฟแสดงแรงม้าแรงบิดของเครื่องยนต์ทั่วไป มักจะเป็นเส้นที่มีทรงคล้ายภูเขา คือ ไต่ขึ้นไปเป็นยอดเขาแล้วมียอดแหลมนิดเดียวก็วูบลงมาอีกด้าน ไม่ใช่ยอดเขาหัวตัดที่มีกำลังสูงในช่วงรอบกว้าง

วิศวกรเครื่องยนต์มีความฝันก็คือ จะทำอย่างไรให้เครื่องยนต์มีกำลังสูงในช่วงรอบกว้างกว่าที่คุ้นเคยกัน กราฟแรงม้าแรงบิดเป็นภูเขาหัวตัด มีแรงดีในช่วงรอบกว้างๆ เหมือนมีแคมชาฟต์หลายแท่งสลับกันทำงานในแต่ละรอบเครื่องยนต์ เปลี่ยนแท่งแคมชาฟต์ได้อย่างฉับไว ความเป็นจริงไม่มีทางเลยที่จะสลับหลายแท่งแคมชาฟต์ในแต่ละรอบเครื่องยนต์ได้ เพราะรอบเครื่องยนต์หมุนเร็วหลายพันรอบต่อนาทีและเปลี่ยนแปลงเร็วมากขึ้นลงหลายพันรอบในช่วงไม่กี่วินาที

คำตอบ คือ ต้องทำให้เครื่องยนต์มีการแปรผันการหายใจโดยเฉพาะการหายใจเข้าผ่านวาล์วไอดี ให้เปลี่ยนแปลงในแต่ละรอบเครื่องยนต์ได้คล้ายคนที่นั่งเฉยๆ ก็หายใจธรรมดา แต่พอวิ่งเหยาะๆ ก็หายใจถี่ขึ้น และเปลี่ยนไปหายใจทั้งถี่ทั้งแรงเมื่อวิ่งเร็วๆ การแปรผันการเปิดวาล์วมีหนึ่งในวิธีที่สามารถทำได้และเห็นผล ชัดเจนต้องทำที่แคมชาฟต์ ซึ่งเป็นชิ้นส่วนที่ทำหน้าที่ในทางกลไกโดยตรงที่จะสั่งให้วาล์วเปิด-ปิด โดยมีการคิดค้นหลายวิธีที่จะแปรผันการเปิดวาล์วโดยทำกันที่แคมชาฟต์

1 ในวิธีนั้น คือ การใช้แคมชาฟต์และลูกเบี้ยวเหมือนปกติ แต่ไปเพิ่มอุปกรณ์พิเศษที่หัวด้านหน้าสุดของแคมชาฟต์ ทำหน้าที่เยื้องไปมาแปรผันกับตำแหน่งของข้อเหวี่ยง ให้แคมชาฟต์เริ่มเปิดวาล์วก่อนหรือล่าช้าไปจากปกติให้เหมาะสมกับรอบสูงรอบต่ำของเครื่องยนต์ เมื่อเปรียบเทียบกับการเปิดวาล์วปกติที่ต้องสัมพันธ์กับตำแหน่งของข้อเหวี่ยง การเยื้องหรือแปรผันช่วงเวลาด้วยชุดหัวแคมชาฟต์แบบพิเศษนี้ จะถูกควบคุมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ รับข้อมูลและสถานะต่างๆ ของเครื่องยนต์และรถยนต์มาประมวลผล แล้วสั่งให้หัวแคมชาฟต์เกิดการเยื้องไปมาอย่างฉับไว แปรผันอย่างเหมาะสมตามรอบของเครื่องยนต์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาโดยอัตโนมัติ เช่น ระบบ VVT-i ของโตโยต้า

ผู้ขับจะไม่ทราบอาการเปลี่ยนแปลงนั้นเลย รอบเครื่องยนต์ไม่มีกระตุก การตอบสนองของกำลังเครื่องยนต์ดีเยี่ยมโดยที่ไม่มีอาการกระชาก ไอเสียสะอาดมลพิษต่ำ แม้แต่จ้องมองรอบของเครื่องยนต์บนมาตรวัด ก็จะไม่ทราบถึงการแปรผันการเปิดวาล์วนั้นเลย ทุกอย่างเป็นไปอย่างนุ่มนวลและทำงานอย่างต่อเนื่องโดยอัตโนมัติ ผู้ขับไม่ต้องกดปุ่มปรับเปลี่ยน ไม่ต้องสั่งงาน เพราะระบบควบคุมจะทำเองทั้งหมด

การแปรผันการเปิด-ปิดวาล์วไอดี ในการหายใจเข้าของเครื่องยนต์ มีความจำเป็นมากกว่าด้านวาล์วไอเสียที่หายใจออก ซึ่งไอเสียจะมีแรงดันไหลออกไปเองเป็นส่วนใหญ่ ระบบนี้จึงมักจะใช้กับชุดวาล์วไอดีเท่านั้น โดยจะเป็นการแปรผันเฉพาะช่วงเวลาที่จะเริ่มต้นเปิดไล่ไปจนถึงปิด โดยความนานและระยะยกของการเปิดวาล์วยังเท่าเดิม เพราะใช้ลูกเบี้ยวเดิมชุดเดียว แต่มีหัวแคมชาฟต์แบบพิเศษที่เยื้องไปมาได้ ซึ่งก็เหลือเฟือสำหรับการใช้งานทั่วไปแล้ว

นอกจากนั้นโตโยต้า ยังมีระบบที่เหนือชั้นขึ้นไปอีก คือ ระบบ VVTL-i = VARIABLE
VALVE TIMING AND LIFT-INTELLIGENCE คือ แท่งแคมชาฟต์จะมีลูกเบี้ยวเพิ่มขึ้น และมีระบบกระเดื่องกดวาล์วแบบพิเศษเพิ่มขึ้นมา คอยสลับชุดลูกเบี้ยวใช้งานในแต่ละรอบ ในช่วงเครื่องยนต์หมุนรอบต่ำถึงปานกลางใช้ลูกเบี้ยวชุดหนึ่ง พอเข้าสู่ช่วงรอบสูงก็สลับกระเดื่องไปใช้ลูกเบี้ยวอีกชุดหนึ่งในการเปิดวาล์ว ใช้ในรถสปอร์ต เช่น เซลิก้า

เปรียบเทียบกับระบบอื่น

ระบบแปรผันการเปิดวาล์ว แยกได้เป็น 3 แบบหลัก ไล่จากความยุ่งยากและผลที่ได้จากได้ผลดีน้อยไปมาก คือ
1. แปรผันช่วงเวลา แต่ความนานและระยะยกเท่าเดิม ใช้ลูกเบี้ยวเดิม โดยไปเยื้องกันที่หัวแคมชาฟต์ เช่น VVT-i, VANOS
2. แปรผันทั้งหมด ทั้งช่วงเวลา ความนาน และระยะยก โดยเปลี่ยนลูกเบี้ยวไปเลย ใช้ระบบกระเดื่องพิเศษคอยสลับลูกเบี้ยว เช่น VTEC, MIVEC
3. แปรผันทั้งหมดและเยื้องช่วงเวลา นำแบบ 1 ทำงานร่วมกับแบบ 2 คือ เยื้องที่หัวแคมชาฟต์และสลับลูกเบี้ยวด้วยกระเดื่องพิเศษ เช่น i-VTEC, VVTL-i
ระบบ VVT-i จัดอยู่ในแบบแรก คือ เยื้องที่หัวแคมชาฟต์เท่านั้น ให้ผลดีน้อยที่สุดใน 3 แบบ แต่ก็มีความยุ่งยากน้อยที่สุด และมีหลายยี่ห้อนิยมใช้ เพราะความง่ายแต่ได้ผลดีพอสมควรนั่นเอง

สรุปง่ายๆ กับการแปรผันการเปิด-ปิดวาล์ว ก็เหมือนคนที่หายใจได้หลายแบบในแต่ละสภาวะที่แตกต่างกัน ทำให้เครื่องยนต์ได้ความสมบูรณ์ในการทำงานทุกช่วงนั่นเอง แต่มีหลายรูปแบบการทำงาน ไม่ใช่เห็นว่าแปรผันได้แล้วจะดีเท่ากันหมดต้องดูว่าแปรผันแบบใดแค่ไหน

VTEC ย่อมาจาก (VARIABLE VALVE TIMING AND VALVE LIFT ELECTRONIC CONTROL SYSTEM) คือ ระบบที่ควบคุมการทำงานของวาล์วไอดี ให้เหมาะสมกับการทำงานของ รอบเครื่องยนต์ในแต่ละช่วง โดยในเครื่องยนต์ปกติทั่วไป ที่ไม่มีระบบ VTEC หรือการควบคุม การทำงานของวาล์วไอดี จะมีระบบและช่วงเวลาของการเปิด-ปิดวาล์วไอดีที่ตายตัว นั่นหมายถึงว่า ปริมาณของอากาศที่ไหลเข้าสู่ห้องเผาไหม้ จะสม่ำเสมอเท่า ๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นรอบเครื่องยนต์ที่สูง หรือต่ำ

โดยปติสัดส่วนอากาศที่เข้าไปผสมเชื้อเพลิงในห้องเผาไหม้นั้น ต้องมีปริมาณที่เหมาะสม เพื่อที่จะให้การเผาไหม้สมบูรณ์หมดจด ดังนั้นเครื่องยนต์ธรรมดาทั่ว ๆ ไป ไม่สามารถทำให้เหมาะสม ได้ คือ ไม่สมบูรณ์ 100% นั่นเอง

ระบบ VTEC หรือระบบควบคุมการทำงานของวาล์วไอดี จะควบคุมระยะและช่วงเวลา ของการเปิด-ปิดวาล์วไอดี ให้เหมาะสมกับการทำงานของรอบเครื่องยนต์ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ ส่วนผสมของอากาศที่เข้าห้องเผาไหม้ จะอยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสมตลอดเวลา และส่งผลต่อเนื่องกับการประหยัดเชื้อเพลิง ตลอดจนกำลังที่เพิ่มขึ้นด้วย

ที่รอบเครื่องยนต์ต่ำ เครื่องยนต์ต้องการอากาศในการเผาไหม้ในปริมาณที่ต่ำกว่า รอบเครื่องยนต์สูง ซึ่งอาจจะเปรียบเทียบได้กับการที่คนเราเดินและวิ่ง ต่างก็ต้องการอากาศในการหายใจที่ไม่เท่ากัน โดยระบบ VTEC จะบังคับให้วาล์วไอดีตัวที่หนึ่ง (ซึ่งปกติจะมีวาล์วไอดี 2 ตัว วาล์วไอเสีย 2 ตัว ต่อ 1 สูบ) เปิดน้อยกว่าวาล์วไอดีอีกตัวหนึ่ง ทำให้อากาศไหลเข้าสู่ห้องเผาไหม้ในปริมาณที่เหมาะสม กับที่เครื่องยนต์ต้องการในการเผาไหม้

สำหรับที่รอบเครื่องยนต์สูง ระบบ VTEC จะบังคับให้วาล์วไอดีทั้ง 2 ตัว เปิดในระยะที่กว้างขึ้น และในช่วงเวลาที่มากขึ้น เพื่อทำให้อากาศที่ไหลเข้าสู่ห้องเผาไหม้ได้มากขึ้น เพียงพอกับการที่เครื่องยนต์ในรอบเครื่องยนต์สูงต้องการ

ด้วยสาเหตุนี้เอง เครื่องยนต์ที่มีระบบ VTEC จึงมีสมรรถนะสูงที่จะทำให้ทุกช่วงของการขับขี่ ไม่ว่าจะเป็นรอบเครื่องยนต์สูงหรือต่ำ มีการตอบสนองที่สมบูรณ์ไม่ว่าจะเป็นการประหยัดเชื้อเพลิง หรือกำลังของเครื่องยนต์ ซึ่งเครื่องยนต์ของรถยนต์ทั่ว ๆ ไป ไม่สามารถทำได้ เพราะไม่มีระบบควบคุมอย่าง VTEC นั่นเอง

ตอนนี้คงหายสงสัยแล้วว่า ทำไมรถที่ใช้เครื่องยนต์ระบบ VTEC ถึงได้แรงขนาดนั้น

หมายเหตุ - การทำงานของเครื่องยนต์ที่มีระบบ VTEC นั้น จะมีตัวเซนเซอร์ 4 ตัว ซึ่งจะส่งสัญญาณไปยังกล่อง EUC (ELECTRONIC CONTROL UNIT) เพื่อทำการประมวลผล และจะสั่งงานให้แรงดันน้ำมันเครื่องทำการควบคุมการเปิด-ปิดวาล์วไอดี


กระจ่างเลยคับ
บันทึกการเข้า
jade โซนนนท์
นักแข่งมืออาชีพอันดับสอง
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 810



ดูรายละเอียด
« ตอบ #11 เมื่อ: 02 ตุลาคม 2009 17:42:05 »

VVT-I : VARIABLE VALVE TIMING-INTELLIGENCE หนึ่งในระบบแปรผันการเปิด-ปิดวาล์ว เพื่อให้เกิดกำลังสูงอย่างต่อเนื่องในช่วงกว้าง และมีการตอบสนองดีทุกความเร็วรอบของเครื่องยนต์เครื่องยนต์ 4 จังหวะที่ใช้กันทั่วไป มีการทำงานแบ่งเป็น 4 จังหวะ ดูด-อัด-ระเบิด-คาย โดยการหายใจเข้าในจังหวะดูดและการหายใจออกในจังหวะคายของเครื่องยนต์ ทำโดยผ่านตัววาล์วไอดีและไอเสีย ซึ่งมีการควบคุมการเปิด-เปิดด้วยลูกเบี้ยวบนแคมชาฟต์ (เพลาราวลิ้น) ทำหน้าที่กำหนดให้มีช่วงระยะเวลา ความนาน และระยะยกของการเปิดวาล์วตามที่ออกแบบไว้

รอบการหมุนของเครื่องยนต์ที่เป็นช่วงกว้างตั้งแต่รอบเดินเบาเกือบ 1,000 รอบต่อนาที สูงขึ้นไปจนถึงจรดแถบแดงแถวๆ 6,000-7,000 รอบต่อนาที แท้จริงแล้วในแต่ละรอบย่อมต้องการให้หายใจด้วยการเปิดวาล์วที่เริ่มเปิด ความนาน และระยะยกไม่เท่ากัน

แต่ในเมื่อต้องใช้ลูกเบี้ยวบนตัวแคมชาฟต์เป็นตัวกด ในเครื่องยนต์ทั่วไปจึงมีรอบเครื่องยนต์อยู่ช่วงเดียวเป็นช่วงแคบๆ ที่เครื่องยนต์จะทำงานได้ดีที่สุด มีกำลังตอบสนองดีและใช้เชื้อเพลิงได้คุ้มค่า แต่ในช่วงรอบเครื่องยนต์ต่ำกว่าหรือสูงกว่าช่วงนั้น ความสมบูรณ์จะลดลงไป ไม่ใช่เครื่องยนต์จะดับหรือทำงานไม่ได้ แต่ทำได้ไม่ดีเท่ากับช่วงที่วาล์วซึ่งเปิดโดยแคมชาฟต์ทำให้เครื่องยนต์หายใจได้เหมาะสมที่สุด

ลองนึกเปรียบเทียบง่ายๆ กับคนใน 3 ลักษณะ คือ 1.นั่งเฉยๆ 2.วิ่งเหยาะๆ 3.วิ่งเร็ว ถ้ามีการหายใจด้วยความถี่หรือความแรงเท่าเดิมตลอด ก็ต้องมีแค่ช่วงหนึ่งเท่านั้นที่หายใจพอดีกับการใช้แรงใน 3 ลักษณะนั้น หากหายใจถี่หรือนาน แต่นั่งอยู่เฉยๆ ก็ไม่พอดี เพราะไม่ได้ออกแรง แต่ถ้าวิ่งเร็วๆ แล้วหายใจช้าหรือนิดเดียวคล้ายกับตอนที่นั่งเฉยๆ ก็ไม่มีแรงวิ่ง เพราะหายใจไม่ทันได้อากาศไม่พอกับกำลังงานที่ต้องใช้

ในเมื่อคนยังจำเป็นต้องแปรผันการหายใจให้เหมาะกับการออกแรงในขณะนั้น เครื่องยนต์มี่มีรอบการทำงานตั้งแต่เกือบ 1,000 รอบต่อนาทีไปจนถึงแถวๆ 6,000-7,000 รอบต่อนาที ถ้าจะให้ได้ความสมบูรณ์ในการหายใจเพื่อให้ได้ผลออกมาที่ดี ก็จำเป็นต้องมีการแปรผันการหายใจ (หรือการเปิดวาล์วนั่นเอง)ให้เหมาะสมกับรอบของเครื่องยนต์ในแต่ละช่วงการทำงาน

ในรอบต่ำไม่ต้องผลิตกำลังมาก ก็หายใจแบบหนึ่ง รอบปานกลางหรือเร่งฉับพลันต้องการกำลังมาก ก็หายใจแบบหนึ่ง และรอบจัดก็หายใจอีกแบบหนึ่ง วิศวกรเครื่องยนต์ทั่วโลกทราบดีว่า ถ้าเป็นเครื่องยนต์ธรรมดาก็จำเป็นต้องทำใจเลือกแคมชาฟต์ที่มีลูกเบี้ยวเปิดวาล์วที่เหมาะสมในช่วงรอบใดรอบหนึ่ง เช่น จะทำเครื่องยนต์รอบจัดหรือรถแข่งก็เลือกแคมชาฟต์แบบหนึ่ง หากจะทำเครื่องยนต์รอบต่ำใช้งานทั่วไปขับคลานๆ ก็เลือกแคมชาฟต์แบบหนึ่ง ต้องยอมได้อย่างเสียอย่างๆ หลีกเลี่ยงไม่ได้

จึงเห็นว่าเครื่องยนต์ทั่วไปจะมีบุคลิกตายตัว คือ เครื่องยนต์ในรถยนต์ที่ใช้งานทั่วไป ขับรอบต่ำถึงปานกลางจะได้กำลังดี แต่เมื่อต้องการเน้นสมรรถนะโดยเร่งรอบเครื่องยนต์สูงๆ ก็จะไม่แรงสะใจ หรือเครื่องยนต์ในรถสปอร์ตพันธ์แท้แรงจัดในรอบสูง แต่พอขับคลานๆ ในรอบต่ำก็ไม่ค่อยมีแรง เมื่อเร่งรอบเครื่องยนต์ก็มีอาการรอบรอบตอบสนองช้า จนกว่าจะไต่ไปอยู่รอบสูงและก็ต้องเลี้ยงรอบไว้อย่างนั้น ตกมารอบต่ำเมื่อไรเรี่ยวแรงก็ถดถอย ตามที่เห็นในกราฟแสดงแรงม้าแรงบิดของเครื่องยนต์ทั่วไป มักจะเป็นเส้นที่มีทรงคล้ายภูเขา คือ ไต่ขึ้นไปเป็นยอดเขาแล้วมียอดแหลมนิดเดียวก็วูบลงมาอีกด้าน ไม่ใช่ยอดเขาหัวตัดที่มีกำลังสูงในช่วงรอบกว้าง

วิศวกรเครื่องยนต์มีความฝันก็คือ จะทำอย่างไรให้เครื่องยนต์มีกำลังสูงในช่วงรอบกว้างกว่าที่คุ้นเคยกัน กราฟแรงม้าแรงบิดเป็นภูเขาหัวตัด มีแรงดีในช่วงรอบกว้างๆ เหมือนมีแคมชาฟต์หลายแท่งสลับกันทำงานในแต่ละรอบเครื่องยนต์ เปลี่ยนแท่งแคมชาฟต์ได้อย่างฉับไว ความเป็นจริงไม่มีทางเลยที่จะสลับหลายแท่งแคมชาฟต์ในแต่ละรอบเครื่องยนต์ได้ เพราะรอบเครื่องยนต์หมุนเร็วหลายพันรอบต่อนาทีและเปลี่ยนแปลงเร็วมากขึ้นลงหลายพันรอบในช่วงไม่กี่วินาที

คำตอบ คือ ต้องทำให้เครื่องยนต์มีการแปรผันการหายใจโดยเฉพาะการหายใจเข้าผ่านวาล์วไอดี ให้เปลี่ยนแปลงในแต่ละรอบเครื่องยนต์ได้คล้ายคนที่นั่งเฉยๆ ก็หายใจธรรมดา แต่พอวิ่งเหยาะๆ ก็หายใจถี่ขึ้น และเปลี่ยนไปหายใจทั้งถี่ทั้งแรงเมื่อวิ่งเร็วๆ การแปรผันการเปิดวาล์วมีหนึ่งในวิธีที่สามารถทำได้และเห็นผล ชัดเจนต้องทำที่แคมชาฟต์ ซึ่งเป็นชิ้นส่วนที่ทำหน้าที่ในทางกลไกโดยตรงที่จะสั่งให้วาล์วเปิด-ปิด โดยมีการคิดค้นหลายวิธีที่จะแปรผันการเปิดวาล์วโดยทำกันที่แคมชาฟต์

1 ในวิธีนั้น คือ การใช้แคมชาฟต์และลูกเบี้ยวเหมือนปกติ แต่ไปเพิ่มอุปกรณ์พิเศษที่หัวด้านหน้าสุดของแคมชาฟต์ ทำหน้าที่เยื้องไปมาแปรผันกับตำแหน่งของข้อเหวี่ยง ให้แคมชาฟต์เริ่มเปิดวาล์วก่อนหรือล่าช้าไปจากปกติให้เหมาะสมกับรอบสูงรอบต่ำของเครื่องยนต์ เมื่อเปรียบเทียบกับการเปิดวาล์วปกติที่ต้องสัมพันธ์กับตำแหน่งของข้อเหวี่ยง การเยื้องหรือแปรผันช่วงเวลาด้วยชุดหัวแคมชาฟต์แบบพิเศษนี้ จะถูกควบคุมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ รับข้อมูลและสถานะต่างๆ ของเครื่องยนต์และรถยนต์มาประมวลผล แล้วสั่งให้หัวแคมชาฟต์เกิดการเยื้องไปมาอย่างฉับไว แปรผันอย่างเหมาะสมตามรอบของเครื่องยนต์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาโดยอัตโนมัติ เช่น ระบบ VVT-i ของโตโยต้า

ผู้ขับจะไม่ทราบอาการเปลี่ยนแปลงนั้นเลย รอบเครื่องยนต์ไม่มีกระตุก การตอบสนองของกำลังเครื่องยนต์ดีเยี่ยมโดยที่ไม่มีอาการกระชาก ไอเสียสะอาดมลพิษต่ำ แม้แต่จ้องมองรอบของเครื่องยนต์บนมาตรวัด ก็จะไม่ทราบถึงการแปรผันการเปิดวาล์วนั้นเลย ทุกอย่างเป็นไปอย่างนุ่มนวลและทำงานอย่างต่อเนื่องโดยอัตโนมัติ ผู้ขับไม่ต้องกดปุ่มปรับเปลี่ยน ไม่ต้องสั่งงาน เพราะระบบควบคุมจะทำเองทั้งหมด

การแปรผันการเปิด-ปิดวาล์วไอดี ในการหายใจเข้าของเครื่องยนต์ มีความจำเป็นมากกว่าด้านวาล์วไอเสียที่หายใจออก ซึ่งไอเสียจะมีแรงดันไหลออกไปเองเป็นส่วนใหญ่ ระบบนี้จึงมักจะใช้กับชุดวาล์วไอดีเท่านั้น โดยจะเป็นการแปรผันเฉพาะช่วงเวลาที่จะเริ่มต้นเปิดไล่ไปจนถึงปิด โดยความนานและระยะยกของการเปิดวาล์วยังเท่าเดิม เพราะใช้ลูกเบี้ยวเดิมชุดเดียว แต่มีหัวแคมชาฟต์แบบพิเศษที่เยื้องไปมาได้ ซึ่งก็เหลือเฟือสำหรับการใช้งานทั่วไปแล้ว

นอกจากนั้นโตโยต้า ยังมีระบบที่เหนือชั้นขึ้นไปอีก คือ ระบบ VVTL-i = VARIABLE
VALVE TIMING AND LIFT-INTELLIGENCE คือ แท่งแคมชาฟต์จะมีลูกเบี้ยวเพิ่มขึ้น และมีระบบกระเดื่องกดวาล์วแบบพิเศษเพิ่มขึ้นมา คอยสลับชุดลูกเบี้ยวใช้งานในแต่ละรอบ ในช่วงเครื่องยนต์หมุนรอบต่ำถึงปานกลางใช้ลูกเบี้ยวชุดหนึ่ง พอเข้าสู่ช่วงรอบสูงก็สลับกระเดื่องไปใช้ลูกเบี้ยวอีกชุดหนึ่งในการเปิดวาล์ว ใช้ในรถสปอร์ต เช่น เซลิก้า

เปรียบเทียบกับระบบอื่น

ระบบแปรผันการเปิดวาล์ว แยกได้เป็น 3 แบบหลัก ไล่จากความยุ่งยากและผลที่ได้จากได้ผลดีน้อยไปมาก คือ
1. แปรผันช่วงเวลา แต่ความนานและระยะยกเท่าเดิม ใช้ลูกเบี้ยวเดิม โดยไปเยื้องกันที่หัวแคมชาฟต์ เช่น VVT-i, VANOS
2. แปรผันทั้งหมด ทั้งช่วงเวลา ความนาน และระยะยก โดยเปลี่ยนลูกเบี้ยวไปเลย ใช้ระบบกระเดื่องพิเศษคอยสลับลูกเบี้ยว เช่น VTEC, MIVEC
3. แปรผันทั้งหมดและเยื้องช่วงเวลา นำแบบ 1 ทำงานร่วมกับแบบ 2 คือ เยื้องที่หัวแคมชาฟต์และสลับลูกเบี้ยวด้วยกระเดื่องพิเศษ เช่น i-VTEC, VVTL-i
ระบบ VVT-i จัดอยู่ในแบบแรก คือ เยื้องที่หัวแคมชาฟต์เท่านั้น ให้ผลดีน้อยที่สุดใน 3 แบบ แต่ก็มีความยุ่งยากน้อยที่สุด และมีหลายยี่ห้อนิยมใช้ เพราะความง่ายแต่ได้ผลดีพอสมควรนั่นเอง

สรุปง่ายๆ กับการแปรผันการเปิด-ปิดวาล์ว ก็เหมือนคนที่หายใจได้หลายแบบในแต่ละสภาวะที่แตกต่างกัน ทำให้เครื่องยนต์ได้ความสมบูรณ์ในการทำงานทุกช่วงนั่นเอง แต่มีหลายรูปแบบการทำงาน ไม่ใช่เห็นว่าแปรผันได้แล้วจะดีเท่ากันหมดต้องดูว่าแปรผันแบบใดแค่ไหน

VTEC ย่อมาจาก (VARIABLE VALVE TIMING AND VALVE LIFT ELECTRONIC CONTROL SYSTEM) คือ ระบบที่ควบคุมการทำงานของวาล์วไอดี ให้เหมาะสมกับการทำงานของ รอบเครื่องยนต์ในแต่ละช่วง โดยในเครื่องยนต์ปกติทั่วไป ที่ไม่มีระบบ VTEC หรือการควบคุม การทำงานของวาล์วไอดี จะมีระบบและช่วงเวลาของการเปิด-ปิดวาล์วไอดีที่ตายตัว นั่นหมายถึงว่า ปริมาณของอากาศที่ไหลเข้าสู่ห้องเผาไหม้ จะสม่ำเสมอเท่า ๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นรอบเครื่องยนต์ที่สูง หรือต่ำ

โดยปติสัดส่วนอากาศที่เข้าไปผสมเชื้อเพลิงในห้องเผาไหม้นั้น ต้องมีปริมาณที่เหมาะสม เพื่อที่จะให้การเผาไหม้สมบูรณ์หมดจด ดังนั้นเครื่องยนต์ธรรมดาทั่ว ๆ ไป ไม่สามารถทำให้เหมาะสม ได้ คือ ไม่สมบูรณ์ 100% นั่นเอง

ระบบ VTEC หรือระบบควบคุมการทำงานของวาล์วไอดี จะควบคุมระยะและช่วงเวลา ของการเปิด-ปิดวาล์วไอดี ให้เหมาะสมกับการทำงานของรอบเครื่องยนต์ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ ส่วนผสมของอากาศที่เข้าห้องเผาไหม้ จะอยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสมตลอดเวลา และส่งผลต่อเนื่องกับการประหยัดเชื้อเพลิง ตลอดจนกำลังที่เพิ่มขึ้นด้วย

ที่รอบเครื่องยนต์ต่ำ เครื่องยนต์ต้องการอากาศในการเผาไหม้ในปริมาณที่ต่ำกว่า รอบเครื่องยนต์สูง ซึ่งอาจจะเปรียบเทียบได้กับการที่คนเราเดินและวิ่ง ต่างก็ต้องการอากาศในการหายใจที่ไม่เท่ากัน โดยระบบ VTEC จะบังคับให้วาล์วไอดีตัวที่หนึ่ง (ซึ่งปกติจะมีวาล์วไอดี 2 ตัว วาล์วไอเสีย 2 ตัว ต่อ 1 สูบ) เปิดน้อยกว่าวาล์วไอดีอีกตัวหนึ่ง ทำให้อากาศไหลเข้าสู่ห้องเผาไหม้ในปริมาณที่เหมาะสม กับที่เครื่องยนต์ต้องการในการเผาไหม้

สำหรับที่รอบเครื่องยนต์สูง ระบบ VTEC จะบังคับให้วาล์วไอดีทั้ง 2 ตัว เปิดในระยะที่กว้างขึ้น และในช่วงเวลาที่มากขึ้น เพื่อทำให้อากาศที่ไหลเข้าสู่ห้องเผาไหม้ได้มากขึ้น เพียงพอกับการที่เครื่องยนต์ในรอบเครื่องยนต์สูงต้องการ

ด้วยสาเหตุนี้เอง เครื่องยนต์ที่มีระบบ VTEC จึงมีสมรรถนะสูงที่จะทำให้ทุกช่วงของการขับขี่ ไม่ว่าจะเป็นรอบเครื่องยนต์สูงหรือต่ำ มีการตอบสนองที่สมบูรณ์ไม่ว่าจะเป็นการประหยัดเชื้อเพลิง หรือกำลังของเครื่องยนต์ ซึ่งเครื่องยนต์ของรถยนต์ทั่ว ๆ ไป ไม่สามารถทำได้ เพราะไม่มีระบบควบคุมอย่าง VTEC นั่นเอง

ตอนนี้คงหายสงสัยแล้วว่า ทำไมรถที่ใช้เครื่องยนต์ระบบ VTEC ถึงได้แรงขนาดนั้น

หมายเหตุ - การทำงานของเครื่องยนต์ที่มีระบบ VTEC นั้น จะมีตัวเซนเซอร์ 4 ตัว ซึ่งจะส่งสัญญาณไปยังกล่อง EUC (ELECTRONIC CONTROL UNIT) เพื่อทำการประมวลผล และจะสั่งงานให้แรงดันน้ำมันเครื่องทำการควบคุมการเปิด-ปิดวาล์วไอดี



มาเป็นตำราเลย....เจ๋งสุดๆ
บันทึกการเข้า

benzamg
นักแข่งมือสมัครเล่น
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 370



ดูรายละเอียด
« ตอบ #12 เมื่อ: 02 ตุลาคม 2009 18:18:49 »

สุดยอดเลยครับ เข้าใจเลย สุดยอด
บันทึกการเข้า
MR..LIM
นักแข่งมืออาชีพอาวุโส
********
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,457


ทุกอย่างเปลี่ยนได้ แต่ใจกูเปลี่ยนไม่ได้


ดูรายละเอียด
« ตอบ #13 เมื่อ: 03 ตุลาคม 2009 09:36:26 »

หยักขึ้นสมองอีกเยอะเลยตรูอิอิอิ

ขอบคุงคับ
บันทึกการเข้า

ton ae101
นักแข่งมือสมัครเล่น
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 307


MY LOVE


ดูรายละเอียด
« ตอบ #14 เมื่อ: 03 ตุลาคม 2009 11:07:13 »

เจ๋งจิงๆ กระจ่างเลย
บันทึกการเข้า


    
man@บุญรักษา
นักแข่งมือสมัครเล่น
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 392



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #15 เมื่อ: 04 ตุลาคม 2009 22:08:22 »

เเวะมาอ่าน  เครื่องยนต์สมัยใหม่  ของเรามันเก่าดี
บันทึกการเข้า

สายพ่วงเเบตเตอรี่ พ่วงเเบตเตอรี่รถยนต์ทุกชนิด สายใหญ่ 25-50 SQ.MM. สายทองเเดงเต็มเส้นฉนวนหนาเเข็งเเรง
ทนกระเเสไฟฟ้า DC 150 - 500Amp เเรงดันไฟฟ้า 12-24Volt ของเเท้คุณภาพสูงใช้งานได้จริง
www.syncbattery.com
tee 3s
มือใหม่หัดซิ่ง
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 87


3s-GTR


ดูรายละเอียด
« ตอบ #16 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2011 15:47:31 »

 อ่านหนังสือ
บันทึกการเข้า

ซุ้มโจร
jack@noxious
นักแข่งมืออาชีพอันดับหนึ่ง
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,757


2 ZZ รู้จักป่าว !!!


ดูรายละเอียด
« ตอบ #17 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2011 15:53:21 »

ความรู้เพียบ  สุดยอด สุดยอด สุดยอด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 ธันวาคม 2011 15:55:58 โดย jack_noxious » บันทึกการเข้า

undalus
นักแข่งมือสมัครเล่น
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 402



ดูรายละเอียด
« ตอบ #18 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2011 16:03:41 »

ความรู้เพียบ  สุดยอด สุดยอด สุดยอด

ที่อยู่ในรถไม่เพียบกว่าหรอคับ น้า
บันทึกการเข้า
jack@noxious
นักแข่งมืออาชีพอันดับหนึ่ง
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,757


2 ZZ รู้จักป่าว !!!


ดูรายละเอียด
« ตอบ #19 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2011 16:06:33 »

ความรู้เพียบ  สุดยอด สุดยอด สุดยอด

ที่อยู่ในรถไม่เพียบกว่าหรอคับ น้า
ซุบซิบ ซุบซิบ ซุบซิบ
บันทึกการเข้า

หน้า: [1] 2  »    ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2008, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!