f con s นี่ สรรพคุณมันพอๆ กับ e-manage ป่าวคับ
Feature Story: F-CON Series
F-CON for Dummies...
ก่อนอื่นเลยต้องขออภัยที่ดองบทความนี้ไว้นานมากจนแถบบูด เนื่องจากมีข่าวและเหตุการณ์ใหม่ๆเกิดขึ้นมากมายในโลกยานยนต์ ไม่ว่าจะเป็นภาพ version ผลิตจริงๆของ Series 3 E90 หรือการเปิดตัวครั้งแรกของ Ferrari รุ่นต่อของ F360 หรือที่เรียกว่า F430 Modena Evoluzione ทำให้เราอยากจะนำเสนอบทความที่กล่าวมาก่อน เลยทำให้บทความเกี่ยวกับกล่อง ECU นี้ถูกเลื่อนออกไปเรื่อยๆ จนพึ่งมีโอกาศนำมาเสนอนี่แหละ เอาเป็นว่าเพื่อนๆชาว Motortoday คงไม่โกรธกันนะคร้าบ
ข้อมูลเพิ่มเติมครับ.
http://articles.motortoday.com/feature/ECU/โดยข้อแตกต่างของ F-CON S กับ F-CON V Pro สามารถแยกเป็นข้อๆแบบคร่าวๆ ได้ดังนี้ครับ:
1. F-CON S ยังจำเป็นที่จะต้องรับสัญญาณขาเข้าของ sensor มาคำนวนและปรับแต่งค่าตามที่ต้องการก่อน แล้วจึงส่งให้กับ ECU ติดรถ เมื่อ ECU ส่งสัญญาณออกมาที่กล่อง F-CON S เพื่อให้ตรวจสอบค่าที่ถูกต้องรวมไปถึงปรับเปลี่ยนค่า ต่างๆให้เหมาะสม จากนั้นจึงกำหนดองศาการจุดระเบิดและปริมาณการฉีดจ่าย น้ำมันไปยังเครื่องยนต์ พูดง่ายๆก็คือ F-CON S จะทำการดักสัญญาณทั้งขาเข้าและขาออกเพื่อตรวจสอบและป รับแต่งค่าต่างๆให้เหมาะสมที่สุด อย่างไรก็ดี F-CON S ยังจำเป็นที่จะต้องรับค่าต่างๆจากกล่อง ECU เดิมอยู่ดี หรือเป็นได้แค่ Piggy Back
ส่วน F-CON V Pro นั้นจะรับค่าต่างๆจาก sensor โดยจะประมวลผลรวมถึงปรับแต่งค่าเหล่านั้น และส่งค่าต่างๆที่ถูกกำนหดใหม่ออกจากกล่อง F-CON V Pro ไปกำหนดองสาไฟจุดระเบิดและปริมาณการจ่ายน้ำมัน ไปยังเครื่องยนต์โดยไม่จำเป็นที่จะต้องรอรับข้อมูลจา ก ECU เดิมเหมือนกับ F-CON S ส่วนข้อมูลมาตรฐานจะส่งผ่าน กล่อง F-CON V Proกลับไปที่ ECU เดิม(เช่นระบบความคุมแอร์ ) ดังนั้น F-CON V Pro ไม่จำเป้นที่จะต้องพึ่งข้อมูลเดิมจากกล่อง ECU คือสามารถทำงานได้แบบ stand alone หรือเป็นกล่องแบบ Engine Management ซึ่งทำให้ F-CON V Pro สามารถปรับแต่งข้อมูลและกำนหนดค่าต่างๆได้อิสระ กว่า
2. F-CON S จะมีค่า default ที่เป็นโปรแกรมสั่งการในขั้นเริ่มต้นมาให้ โดยจะเป็นค่าที่จะปรับแต่งเครื่องยนต์มาให้แบบ Light Tune ซึ่งค่าที่ให้มาจะเป็นของเครื่องยนต์แต่ละรหัสของรถแ ต่ละรุ่น เช่น 2JZ GTE ในรถ JZA80 เป็นต้น ซึ่งค่าเหล่านี้จะสามารถใช้ได้กับ spec รถและเครื่องยนต์นั้นๆ แม้ว่าจะเป็นเครื่องรหัสเดียวกัน แต่ว่าอยู่ในรถคนละคันก็ไม่สามารถใช้กันได้ นอกจากนี้ค่าที่ set มาใน Step Light Tune นี้จะเป็นค่าที่ถูกกำหนดมาสำหรับรถที่ใช้ octane 100 (เพราะในญี่ปุ่นเบนซินซูเปอร์จะไม่ใช่แค่ 91 ครับแต่เป็น 100 ) รวมไปถึงชุดหัวฉีดที่ใช้ต้องเป็นของเดิม และ บูสท์ไม่เกินค่าที่กำหนดไว้ด้วย ดังนั้นถ้ามีการเปลี่ยนปั้มเบนซิน หรือเปลี่ยนหัวฉีด รวมไปถึง บูสท์เกินกว่าที่กำนหด จำเป็นที่จะต้องไล่จูนป้อนค่าต่างๆที่ต้องการกันใหม่ หมด ไม่สามารถใช้ค่า default ที่กล่อง F-CON S มีมาให้ได้ แต่ถ้าทุกอย่างยังเป็น Standard ก็แค่กำหนดค่าน้ำมัน octane ใหม่ (คือยังไงก็ต้องจูนใหม่ แต่จูนนิดเดียว) ส่วน F-CON V Pro นั้นจะมาแบบว่างเปล่าเลย (เหมือนตอนก่อนเริ่มเรียนหนังสือ) ไม่มีค่า default เริ่มต้นมาให้ทำให้ทุกๆค่าจำเป็นที่จะต้องไล่ป้อนค่า กันใหม่ทั้งหมด ซึ่งจะยุ่งยากสำหรับรถที่มีสภาพ standard ชิ้นส่วนต่างๆทั้งหมดเกือบเดิมสนิท ต้องการแค่แบบ Light Tune นั้นเอง
3. F-CON S มีความฉลาดหรือที่เรียกว่าความละเอียดในการจูนนั้นน้ อยกว่า F-CON V Pro เนื่องจากหน่วยความจำในการควบคุมและสั่งการเครื่องยน ต์ของ F-CON V Pro มีจำนวนมากกว่าของ F-CON S
4. F-CON S มีราคาถูกกว่า F-CON V Pro เนื่องจากมีหน่วยความจำในการสั่งการและควบคุมเครื่อง ยนต์น้อยกว่า แต่ F-CON S สามารถปรับจูนได้ง่ายกว่า เนื่องจากมีค่า default มาให้อยู่แล้วในกล่อง (สำหรับรถที่เป็นแบบ Light Tuning) ส่วน F-CON V Pro นั้นจูนยากกว่าเยอะ เนื่องจากไม่มีค่า default เริ่มต้นมาให้ ทำให้จำเป็นต้องนั่งเขียนค่าทั้งหมดใหม่เลย นอกจากนี้ F-CON V Pro ไม่สามารถบอกทุกๆอย่างเกี่ยวกับตัวรถได้ เพราะรับสัญญาณค่าเข้าจาก sensor แล้วจึงนำค่าที่ได้ไปแปลงแล้วกำหนดองศาการจุดระเบิดแ ละปริมาณการฉีดจ่ายน้ำมันของเครื่องยนต์ แต่ไม่ได้ควบคุมระบบอื่นๆของรถ เช่นการ เปิดแอร์ปิดแอร์ ดังนั้นหากยังต้องการให้รถของคุณสามารถใช้งานได้ทุกว พันยังจำเป็นที่จะต้องพ่วง F-CON V Pro กับกล่อง ECU เดิมติดรถอยู่ดี แต่ถ้าไม่แคร์ว่าไม่มีแอร์ก็ไม่เป็นไร อากาศเมืองไทยมันโคตรเย็น จะใช้ F-CON V Pro แบบ stand alone ก็ได้ไม่มีปัญหา
5. แม้ว่า F-CON S จะมีราคาถูกกว่า และมีหน่วยความจำในการสั่งค่าและควบคุมเครื่องยนต์น้ อยกว่า F-CON V Pro รวมถึงมี range ในการจูนได้น้อยกว่า (พูดง่ายๆก็คือมีข้อจำกัดมากกว่าหากต้องการจะทำเครื่ องเยอะๆ) แต่ถ้าเป็นการจูนแบบใช้งานทั่วไปไม้ได้ boost บ้าพลัง คลั่งแรงม้า มากนัก F-CON S ก็สามารถที่จะสร้างแรงม้าและแรงบิดได้ไม่แพ้ F-CON V Pro สักเท่าไร จากตัวอย่างข้อมูลของ HKS ญี่ปุ่นมีดังนี้ครับ ในการจูน JZA 80 เครื่องยนต์ 2JZ GTE Turbo T04 R ด้วยหัวฉีดขนาด 650 cc. (ของเดิมขนาด 480 cc.) ใช้ F-CON S ในการจูนสามารถสร้างแรงม้าได้ที่ 485 แรงม้า ส่วนของ F-CON V Pro สามารถสร้างแรงม้าออกมาได้ 508 แรงม้าซึ่งจะเห็นว่า F-CON S มีแรงม้าน้อยกว่า F-CON V Pro อยู่ประมาณ 23 ตัว สำหรับบางคนอาจจะมองว่ามันเยอะนะ แต่ว่าถ้ามองในแง่ของเงินที่ต้องจ่ายเพิ่มแล้วล่ะก็ มันก็น่าจะ OK ใช่ไหมครับ ส่วนความสามารถในการสร้างแรงม้าของ F-CON S กับ F-CON V ธรรมดานั้นแถบจะไม่ต่างกันเลยคือ F-CON V สามาถสร้างแรงม้าได้ 487.5 ซึ่งมากกว่า F-CON S เพียง 2.5 ตัวเท่านั้น จุดที่เหมือนกันของ F-CON S กับ F-CON V Pro ก็คือจะมี function ปลดล็อคความเร็ว และปลดล็อคบูสท์มาให้เรียบร้อยแล้วทำให้ไม่มีความจำเ ป็นที่จะต้องติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมเข้าไปอีก เอาละเมื่อเรารู้แล้วว่า กล่อง F-CON S กับ F-CON V Pro แตกต่างกันอย่างไร คราวนี้มาดูกันสิว่าเราจะสามารถใช้กล่อง F-CON S กับ F-CON V Pro ปรับแต่งและ set ค่าต่างๆ ได้อย่างไร ก่อนจะจูนเราก็ต้องติดตั้งก่อนโดยกล่อง F-CON S กับ F-CON V Pro จะมีชุด Harness ที่ใช้สำหรับต่อพ่วงเข้ากับกล่อง ECU เดิมของรถยนต์ถ้าเป็นของ F-CON S จะเป็นแบบ Plug in ได้เลยถ้ากล่องนั้นตรงกับเครื่องยนต์และรถรุ่นนั้นๆ ไม่ต้องเสียเวลาเดินสายไฟให้เมื่อยตุ้ม แต่ถ้าเป็นของ F-CON V Pro แล้วอาจจะต้องไล่สายไฟใหม่บ้างบางจุดไม่ได้เป็นแบบ plug in เหมือนกับ F-CON Sทั้งหมด แหมก็ของมันแพงต้องยุ่างยากในการใช้หน่อยสิ ซึ่งก็คงป็นหน้าที่ของช่างที่จะติดตั้งหรือไม่ก็คนจู น แต่ถ้าอยากจะลองเดินสายไฟเอาเองก็ตามสะดวกครับ แต่ส่วนใหญ่ที่ผมเห็นมักจะเป็นแบบเหมาจ่ายเหมือน Package มือถือ คือจ่ายทีเดียวรวมติดตั้ง จูน แล้วก็เก็บงาน (ส่วนหลังจากนั้นจะพังไม่พังไม่เกี่ยวแล้วนะครับ) สำหรับการปรับแต่งค่าต่างๆ เพื่อ Tune เครื่องยนต์ให้ไปตามที่เราต้องการ นั้นจะใช้ program Power Writer ซึ่งเป็น program ที่ HKS ใช้ในการปรับแต่งค่าต่างๆของ F-CON S กับ F-CON V Pro การใช้ program นี้จะทำให้สามารถควบคุม ปรับแต่งการสั่งจ่ายน้ำมันและองศาไฟจุดระเบิดกันใหม่ หมดเพื่อให้ Match กับเครื่องยนต์ที่ทำmodify ขึ้นมาใหม่ ซึ่งขั้นตอนการปรับแต่งค่าต่างๆ นั้นมีรายละเอียดปลีกย่อยเยอะมาก
F-CON V Pro, F-CON V, F-CON SZ และสุดท้าย F-CON S ซึ่งก็มีคุณสมบัติแตกต่างกันไป แต่ส่วนใหญ่จะเห็นใช้กันอยู่สองรุ่นเป็นหลักนั้นก็คื อ F-CON V Pro กับ F-CON S ไม่ใช่รุ่นอื่นๆเค้าไม่ใช้กันนะ แต่ว่าส่วนใหญ่เห็นจะไป up-grade F-CON V ให้ไปเป็น V-PRO กันหมด (ไอ้กล่องสีทองๆ) หรือไม่ก็เล่น F-CON S เลย เพราะราคาถูกกว่ากันเยอะ คราวนี้ผมเลยจะถือโอกาศนำสองรุ่นยอดฮิตมาเล่าให้ฟังว ่ามันแตกต่างกันอย่างไร บางคนอาจจะรู้แล้ว บางคนอาจจะรู้แล้ว บทความนี้อาจจะน่าเบื่อไปบ้าง แต่ผมพยายามที่จะเรียบเรียงให้เป็นภาษที่อ่านง่ายๆ ยังไงก็ลองอ่านกันดูละกันนะครับหลายคนอาจจะเคยได้ยิน คำว่า Piggy Back มาก่อนซึ่งถูกแล้วล่ะครับ F-CON นี้ทั้งหมดเป็น Piggy Back แต่มีอยู่รุ่นเดียวที่สามารถใช้แทนกล่อง ECU เดิมๆได้เลยโดยไม่ต้องพ่วงนั้นก็คือ F-CON V Pro ซึ่งสามารถเป็น Stand Alone หรือ Engine Management ได้ (เดี๋ยวผมจะกล่าวที่หลังเดี๋ยวหมดมุข) เอาเป็นว่าเราไปทำความรู้จักกับ Piggy Back กันก่อนดีกว่า
Piggy Back เป็นอุปกรณ์ Electronics ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์ไปในลั กษณะต่างๆตามที่ผู้จูนต้องการได้ อย่างไรก็ดี Piggy Back ยังคงต้องต่อพ่วงกับกล่อง ECU เดิมๆ และ Piggy Back ยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้ดังนี้:
1. Piggy Back ประเภทดักสัญญาณขาเข้า (Input) ก่อนเข้ากล่อง ECU
โดยจะทำหน้าที่แปลงสัญญาณหลังการอ่านค่าของ sensor เป็นรูปแบบของแรงดันกระแสไฟฟ้าหรือความถี่ (แล้วแต่ชนิดของ sensor) ก่อนเข้ากล่อง ECU เพื่อเป็นการประมวลผลในการสั่งจ่ายน้ำมัน,ไฟจุดระเบิ ด เป็นไปตามที่ต้องการ (เปลี่ยนไปจากที่โรงงานตั้งมาก่อนที่จะเข้ากล่อง ECU) เช่น ตอนแรก ณ.ระดับ 2500 RPM มีการวัดระดับไฟได้ที่ 1.2V หลังติดตั้ง Piggy Back เข้าไป Piggy Back จะเปลี่ยนค่าไฟจาก 1.2 V ไปเป็น 1.4V ตามที่เราจูนก่อนที่จะส่งสัญญาณไปเข้ากล่อง ECU นั้นเอง หรือเรียกง่ายๆว่าเป็นการหลอก ECU ให้อ่านค่าเป็นไปตามที่เราต้องการ โดยแปลงสัญญาณจาก sensor ที่ส่งมาก่อนที่จะส่งเข้า ECU
อย่างไรก็ดี Piggy Back ประเภทนี้จะมีขีดจำกัดในการปรับแต่ง เนื่องจากเป็นแบบดักสัญญาณก่อนส่งเข้ากล่อง จึงไม่สามารถที่ปลดรอบเครื่อง หรือสั่งให้หัวฉีด ยก ได้เกินกว่าเดิม เพราะทั้งหมดจะถูกล็อคและสั่งการโดยการประมวลผลของ ECU คือออกมาจาก ECU เลยไม่ได้มาจากการอ่านค่าของ sensor แล้วค่อยส่งเข้ามา
ดังนั้นเจ้า Piggy Back แบบนี้ก็หมดสิทธ์ที่จะไปดักสัญญาณก่อนเข้า (เหมือนผมหมดโอกาศที่จะไปดักเจอและหลอก Paula Taylor ระหว่างทางให้เธอหลงเข้าบ้านผมแทน เพราะเธอไม่ได้ผ่านมาแถวนี้) ทำให้กล่องประเภทนี้ ทำได้เพียง ปลดล็อคความเร็ว เพิ่มบูสท์ เปลี่ยนและปรับ Map ของน้ำมันกับไฟ เปลี่ยนจังหวะการเปิดปิดของ Valveแปรผัน (พวก Vtec-VVTi) และลูกเล่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูลหลักของกล่อง ECU เช่นคุมหัวฉีด และอื่นๆ
ส่วนความละเอียดในการปรับจูนนั้นก็ขึ้นอยู่กับชนิดขอ ง Piggy Back ชนิดนั้นๆ บางประเภทถูก Fix ตำแหน่งในการปรับมาได้ไม่กี่ที่เช่น พวก APEXi S-AFC / V-AFC ส่วนที่สามารถปรับได้ละเอียดทุกๆย่านความเร็วและรอบเ ครื่องเช่น Perfect Power ของ Smart Tuner (ซึ่งอันนี้บ้านเราไม่ฮิต) เป็นต้น
2. Piggy Back ประเภทดักสัญญาณขาออก (Out-put) จากกล่อง ECU
โดยกล่องประเภทนี้จะดักสัญญาณที่ส่งออกมาจากกล่อง ECU มาเข้าที่ตัวเองก่อนแล้วปรับแต่งค่าต่างๆของสัญญาณให ้เป็นไปตามที่ต้องการก่อนที่จะส่งค่าแรงดันกระแสไฟฟ้ าที่ปรับแต่งแล้ว ไปสู่หัวฉีดหรือ Ignition Module ทำให้ Piggy Back ประเภทนี้สามารถที่จะปรับแต่งเครื่องยนต์ได้อิสระมาก กว่าแบบแรก (เหมือนกับถ้าผมไปดัก Paula ตั้งแต่หน้าบ้านของเธอ ผมก็มีโอกาศที่จะหลอกเธอให้ไปกับผมและทำตามที่ผมต้อง การได้มากกว่าต้องไปดักรอเธอตอนกลับจากข้างนอก) เช่น Power FC และ F-CON ของ HKS ก็รวมอยู่ในชนิดหลังนี้ด้วย
ส่วน Engine Management จะมีหลักการทำงานโดยอิสระไม่ขึ้นกับ ECU เพราะจะใช้การประมวลผลที่ตรวจวัดโดยตรงของ sensor ซึ่งมีทั้งแบบที่ให้ใช้กับ sensor และสายไฟเดิมได้เลย ไม่ต้องมานั่งเดินสายไฟกันใหม่หมด แต่แบบนี้ก็มีจะมีข้อจำกัดเช่นหาก sensor เดิมรับบูสท์ได้เพียงแค่ 1.0 BAR แต่เราต้องการ Boost 1.5 BAR ก็ต้องมานั่งเปลี่ยน sensor กันใหม่หมด
ส่วนอีกประเภทหนึ่งก็คือใช้ sensor ที่ติดมากับกล่อง Engine Management ซึ่งจะเสียเวลายุ่งยากในการติดตั้งเพราะต้องเดินสายไ ฟและ sensor ใหม่หมด แต่ข้อดีก็คือเราสามารถที่จะเลือกค่าต่างๆในการอ่านค ่าสัญญาณ ได้ตามใจคนจูน ที่นี้จะบูสท์กันกี่ BAR ก็ตามแต่สะดวก นอกจากนี้จุดเด่นของ Engine Management คือการที่มี function ต่างๆที่มีให้เล่นกันหลากลหาย (แล้วแต่ยี่ห้อนะครับ บางยี่ห้อก็เป็น function มาตรฐานบางยี่ห้อก็เป็น option ที่ต้องเสียตังค์เพิ่มเอง) เช่น Anti-Lag
โดยกล่องประเภท Engine Management นั้นส่วนใหญ่จะลงชื่อด้วย tech ทั้งหลายไม่ว่าจะเป็น Motec Haltec Microtech และยังรวมไปถึง Power FC และ F-CON V Pro (เท่านั้นนะครับ F-CON ตัวอื่นๆไม่เกี่ยว) ที่สามารถเป็นได้ทั้ง Piggy Back และ Engine Management ได้ด้วย แล้วแต่จะเลือก
หลังจากที่รู้แล้วว่า Engine Management กับ Piggy Back มีคุณสมบัติแตกต่างกันอย่างไร เราลองมาดูกันดีกว่าว่า เจ้ากล่อง F-CON เนี่ยมันมีประวัติความเป็นมาอย่างไร
กล่อง F-CON เป็นผลผลิตของบริษัท HKS ที่ได้ทำการคิดค้นและพัฒนาอุปกรณ์ที่จะใช้ในการควบคุ มระบบเชื่อเพลิงและการจุดระเบิด โดยปู่ของเจ้า F-CON มีชื่อว่า Programmed Fuel Computer System หรือที่เรารู้จักในชื่อ PFC F-CON โดยมันถือกำเนิดขึ้นมาบนโลกบวมๆใบนี้ตั้งแต่ปี 1985 นู้น โดยมันสามารถปรับจูนปริมาณการฉีดจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิ งฝนแต่ละรอบเครื่องยนต์และความดันในท่อร่วมไอดีทุกๆค ่าได้
อย่างไรก็ดีมันยังไม่มี Function FCD (Fuel Cut Defencer) หรือที่เรารู้จักกันในนามตัวป้องกันการตัดน้ำมัน และตัว GCC (Graphic Control Computer) ซึ่งเป็นตัวทำหน้าที่ปรับค่าการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง และองศาการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ ทำให้ต้องพ่วงอุปกรณ์เสริมทั้งสองอย่างนี้อยู่ตลอด
Feature Story: F-CON Series
F-CON for Dummies...
ก่อนอื่นเลยต้องขออภัยที่ดองบทความนี้ไว้นานมากจนแถบ บูด เนื่องจากมีข่าวและเหตุการณ์ใหม่ๆเกิดขึ้นมากมายในโล กยานยนต์ ไม่ว่าจะเป็นภาพ version ผลิตจริงๆของ Series 3 E90 หรือการเปิดตัวครั้งแรกของ Ferrari รุ่นต่อของ F360 หรือที่เรียกว่า F430 Modena Evoluzione ทำให้เราอยากจะนำเสนอบทความที่กล่าวมาก่อน เลยทำให้บทความเกี่ยวกับกล่อง ECU นี้ถูกเลื่อนออกไปเรื่อยๆ จนพึ่งมีโอกาศนำมาเสนอนี่แหละ เอาเป็นว่าเพื่อนๆชาว Motortoday คงไม่โกรธกันนะคร้าบ
โดยครั้งนี้เราจะเอาใจคนชอบ modify บ้าง เพราะปัจจุบันเห็นฮิตกันเหลือเกินสำหรับการจะตกแต่งร ถสักคันให้สามารถแสดง performance ออกมาได้เต็มที่เหมือนกับกินไวอากร้า แน่นอนว่าสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยในยุคนี้คงไม่พ้นรกล่อง ที่ปรับจูนได้ โดยคราวนี้ผมจะนำเสนอเกี่ยวกับกล่อง ECU ยอดฮิตติดลมบน สำหรับรถญี่ปุ่น แน่นอนว่าคงไม่พ้น F-CON ซึ่งมีหลากหลายรุ่น ไม่ว่าจะเป็น F-CON V Pro, F-CON V, F-CON SZ และสุดท้าย F-CON S ซึ่งก็มีคุณสมบัติแตกต่างกันไป แต่ส่วนใหญ่จะเห็นใช้กันอยู่สองรุ่นเป็นหลักนั้นก็คื อ F-CON V Pro กับ F-CON S ไม่ใช่รุ่นอื่นๆเค้าไม่ใช้กันนะ แต่ว่าส่วนใหญ่เห็นจะไป up-grade F-CON V ให้ไปเป็น V-PRO กันหมด (ไอ้กล่องสีทองๆ) หรือไม่ก็เล่น F-CON S เลย เพราะราคาถูกกว่ากันเยอะ คราวนี้ผมเลยจะถือโอกาศนำสองรุ่นยอดฮิตมาเล่าให้ฟังว ่ามันแตกต่างกันอย่างไร บางคนอาจจะรู้แล้ว บางคนอาจจะรู้แล้ว บทความนี้อาจจะน่าเบื่อไปบ้าง แต่ผมพยายามที่จะเรียบเรียงให้เป็นภาษที่อ่านง่ายๆ ยังไงก็ลองอ่านกันดูละกันนะครับ
หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า Piggy Back มาก่อนซึ่งถูกแล้วล่ะครับ F-CON นี้ทั้งหมดเป็น Piggy Back แต่มีอยู่รุ่นเดียวที่สามารถใช้แทนกล่อง ECU เดิมๆได้เลยโดยไม่ต้องพ่วงนั้นก็คือ F-CON V Pro ซึ่งสามารถเป็น Stand Alone หรือ Engine Management ได้ (เดี๋ยวผมจะกล่าวที่หลังเดี๋ยวหมดมุข) เอาเป็นว่าเราไปทำความรู้จักกับ Piggy Back กันก่อนดีกว่า
Piggy Back เป็นอุปกรณ์ Electronics ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์ไปในลั กษณะต่างๆตามที่ผู้จูนต้องการได้ อย่างไรก็ดี Piggy Back ยังคงต้องต่อพ่วงกับกล่อง ECU เดิมๆ และ Piggy Back