ไม่รู้ว่าเกี่ยวกับเจ้าของกระทู้รึป่าวนะครับ อ่านเจอเเล้ว ok ดีเลยเอามาโพส
ที่มา http://www.vcharkarn.com/varticle/39116.
การผลิตทุก 200 ชิ้นจะสุ่มหยิบมาทดสอบมาตรฐานชิ้นหนึ่ง ผ่านก็คือใช้ได้ทั้งล็อต ถ้าไม่ผ่านก็โดนสอบทีละชิ้นถังก๊าซนี้ได้รับการออกแบบให้รับแรงดันใช้งาน 2.55 เมกะปาสกาล
ฉบับนี้เราจะพาท่านไปสำรวจท้ายรถยนต์ที่ใช้ก๊าซหุงต้มเป็นเชื้อเพลิงกันบ้าง เปลี่ยนบรรยากาศจากถังก๊าซกันครัวและโรงบรรจุฯ กับร้านค้าก๊าซที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เมื่อเปิดฝากกระโปรงหลัง(รถ) จะพบถังก๊าซที่ปลอดภัยตามมาตรฐาน มอก.370-2525 เรื่อง ก๊าซปิโตรเลียมเหลวสำหรับเครื่องยนต์สันดาปภายใน (แก้ไขครั้งที่ 1) สังเกตที่สัญลักษณ์มาตรฐาน มอก.370-2525 ตอกที่ตัวถังก๊าซมีความจุไม่เกิน 500 ลูกบาศก์เดซิเมตร อันแปลได้ว่าถังก๊าซที่ได้มาตรฐานตามนี้จะมีความจุไม่เกิน 50 ลิตร หรือประมาณน้ำหนักก๊าซหุงต้ม 25 กิโลกรัม รูปทรงกึ่งทรงกลม (Hemispherical) หรือรูปวงรี (Ellipsoidal) ซึ่งแปลไทยเป็นไทยแบบง่ายๆ ว่า ถังทรงเม็ดยา เพราะมีทรวดทรงละม้ายเม็ดยาแคปซูลยาวๆ รีๆ ที่เราคุ้นตากัน ดังนั้น ถ้าพบถังรุปทรงโดนัท จึงเป็นถังที่ยังไม่มีมาตรฐานของไทยรับรอง
มีข้อกำหนดให้มีการสุ่มตัวอย่างถังที่ผลิตในโรงงานมาทดสอบตามาตรฐานทางทหารของอเมริกา (Military Standard- ปลแบบทื่อๆ จ้า ยังนึกคำศัพท์ที่หเมาะสมกว่านี้ไม่ออก) การผลิตทุก 200 ชิ้นจะสุ่มหยิบมาทดสอบมาตรฐานชิ้นหนึ่งผ่านก็คือใช้ทั้งล็อต ถ้าไม่ผ่านก็โดนสอบทีละชิ้น ถังก๊าซนี้ได้รับการออกแบบให้รับแรงดันใช้งาน 2.55 เมกะปาสกาล (370 psi) โดยสุ่มทดสอบความดันที่เรียกว่า ความดันไฮดรอลิกพิสูจน์และความดันไฮดรอลิกขยายตัว ด้วยการเติมน้ำเข้าถังจนเต็ม เพิ่มแรงดันเป็น 3.30 เมกะปาสกาล (475 psi) ทิ้งไว้ 30 วินาที ถ้าแรงดันในถังไม่ตกก็แสดงว่าถังไม่รั่ว ให้เทน้ำออกแล้วไล่ความชื้นโดยใช้อากาศแห้งหรือไนโตรเจนหรือความร้อนไม่เกิน 200 องศาเซลเซียสแล้วนำไป ทดสอบการรั่วซึ่ม โดยการอัดอากาศด้วยความดัน 690 กิโลปาสกาล (100 psi) จุ่มลงในน้ำทั้งใบเพื่อตรวจหารอยรั่ว ถ้าไม่พบก็สามารถนำมาจำหน่ายได้ เวลาออกจากโรงงาน ถังก็จะได้มาตรฐาน แต่พอติดตั้งแล้วโกร่งกำบังหรือฝาครอบลิ้นมักจะหายไปตามกาลเวลา (ดังรูปด้านล่าง) โดยที่คนขับรถมักจะไม่ทราบว่า มาตรฐาน มอก370-2525 ข้อ 4.4 ระบุว่าในกรณีที่ยานพาหนะเก็บถังไว้ภายในส่วนหน้า หรือส่วนท้ายของตัวรถ ต้องมีการป้องกันการระบายหรือการรั่วซึมของก๊าซจากลิ้นเครื่องวัดและกลอุปกรณ์นิรภัย อันเนื่องมาจากความดันเกินกำหนด หรือเกิดการชำระรั่วซึมขึ้น ทั้งนี้ต้องระบายก๊าซออกนอกตัวรถเพื่อป้องกันก๊าซแทรกวึมเข้าไปภายในห้องคนขับ การป้องกันทำได้โดยทำโกร่งกำบังลิ้น หรือฝาครอบลิ้นให้มีรูปร่างลักษณะเป็นกล่องครอบปิดและเครื่องวัดต่างๆ ส่วนฝาปิดด้านบนให้ใช้แผ่นกระจกใสหรือแผ่นพลาสติกใสปิดไว้ เพื่อสามารถตรวจดูเครื่องวัดต่างๆ ได้ และที่ฝาปิดอาจเจาะรูต่อแกนออกมานอกกล่องสำหรับปิด-เปิดลิ้นบรรจุและลิ้นใช้งาน หรือต่อท่อสำหรับลิ้นบรรจุไว้นอกตัวรถได้
ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการใช้งาน บริเวณรอบขอบกล่องและรูที่เจาะนี้ต้องหุ้มปิดด้วยยางกันรั่วโดยรอบ โครงกล่องต้องเจาะรูขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 50 มิลลิเมตร หรือมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 2,00 ตารางมิลลิเมตร แล้วต่อท่อระบายก๊าซลงสู่ใต้ท้องรถ และอยู่ห่างจากท่อไอเสียไม่น้อยกว่า 250 มิลลิเมตร ทีมงานเราแอบเห็นรถหลายๆ คันกระจกครอบแตกบ้างฝากครอบหายบ้าง รถใครใช้ก๊าซหุงต้มอยู่ก็ลองไปเปิดท้ายดูเองนะ เพราะถ้าเกิดก๊าซรั่วสะสมเดี๋ยวจะวูปในรถทำให้เดือดร้อนทั้งตัวเองและคนใกล้ชิด