คงมีเพื่อนๆอีกเป็นจำนวนไม่น้อย ที่ยังสับสนกับค่า K (degrees kelvin = K = only Colour)
ซึ่งหมายถึงค่าอุณหภูมิสีม่วงครามน้ำเงินเขียวเหลืองแสดแดง
โดยนำค่านั้นไปผูกติดกับค่าความสว่าง (Lumen=Brightness) ที่มากน้อยแตกต่าง
โดยเชื่อกันไปเองแบบผิดๆว่า ยิ่งมี ค่า K สูงมาก ก็ยิ่งสว่าง(Brightness) มาก
ซึ่งนั่นเป็นความคิดที่ผิดทั้งหมด
ในความเป็นจริงแล้ว ค่าอุณหภูมิสี ที่มีหน่วยเป็นองศา K นั้น เป็นเพียง หน่วยที่แยกสีสันต่างๆออกจากกันเท่านั้น
ว่าสี ต่างๆที่อยู่ในโทนร้อน โทนเย็น นั้นมีค่าองศา K เท่าไร เช่นแสงแดดตอนกลางวัน ก็จะอยู่ในช่วง 5000 กว่าๆ ไปจนถึง 6500 องสา K
ซึ่งเป็นแสงสีขาวแบบในเวลากลางวัน ส่วนแสงทังสเตนหลอดไฟใส้ที่เราใช้กันนั้นก็จะมีสีออกเหลืองๆ ส้มๆ และมี K ต่ำๆ
ส่วนความสว่างนั้น ไม่เกี่ยวกัน ตามรูปที่นำมาแสดง

Degrees K = ONLY COLOUR
Lumen= BRIGHTNESS
แล้วคราวนี้หายสงสัยกันหรือยัง ว่าทำไมพอใส่ไฟซีน่อนที่มีค่า K สูงๆ ในระดับเกิน 10,000 K แล้ว ไฟหน้ารถเราจึงไม่สว่างเหมือนแต่ก่อน
ทำไมขับรถที่ใช้ไฟ K สูงในเวลกลางคืนที่ฝนตกหันแล้วจึงมองไม่เห็นทาง
ก็เพราะค่าองศา K ที่สูงๆ นั้น เป็นแสงในกลุ่มฝ้า ม่วง ซึ่งยากแก่การมองเห็นด้วยตามนุษย์นั่นเอง
ไว้จะมาเล่าต่อ ว่าทำไมไฟเตือนต่างๆ จึงออกมาในโทนสีร้อน อย่างแดง เหลืองส้ม มัสตาด ไม่ใช้สีกลุ่มฟ้า
ทำไมสปอตไลท์ ไฟแบรคจึงเป็นสีเหลือง ส้มแดง
รถฉุกเฉิน ทำไมพ่นสีเหลือง สีส้ม Wink

ตามอ่านต่อได้จาก
http://www.volvomania.com/forum/index.php?topic=147.0