จริงๆสัมปทานมันจะหมดนานละ
แต่มี ยุคนึงที่ไปเซ็นสัญญาใหม่ต่ออีก20ปีเพื่อแลกกับค่าทางด่วน20บาทตลอดสายเป็นเวลา 1 ปี(ยุคใครจำมะได้)
(ปรกติต่อกันที่ละ10ปี)โดยโทลเวลอ้างว่าในสัญญารัฐบาลจะไม่สร้างถนน Local Road แต่รัฐบาลกับสร้างถนน จึงขึ้นราคา
ฟังข่าวไม่แน่ใจเท่าไรเหมือนตอนนี้รัฐบาลกำลังจะจัดการกับสัญญาต่อไปอีก20ปีนี้อะที่มันไม่เป็นธรรม
เลยปล่อยให้มันขึ้นไปก่อนเดียวมันจะมีผลกับคดี
สรุปก็คือมันเน่ามาตั้งแต่ยุคก่อนๆฟ้องร้องกันมานานมากแล้วตั้งแต่ค่าโง่6000ล้านมั่งจำมะได้
สัญญาที่เอาหน้าเอาผลงานที่จะไม่ส่งผลต่อยุคที่ตัวเองเป็นรัฐบาล
แต่จะส่งต่อรุ่นต่อไป กินกันเป็นแถว
น่าเศร้าใจ
เป็นความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ
อาศัยจังหวะรัฐบาลกำลังติดพันศึกรถไฟ รถตู้เถื่อน ไปจนถึงศึกเขมร สมบัติ พานิชชีวะ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) หรือโทล์ลเวย์ ทวงสัญญากรมทางหลวง ขอขึ้นค่าผ่านจาก 55 บาทเป็น 85 บาท ตั้งแต่หลังเที่ยงคืนวันที่ 21 ธันวาคม 2552
หลังข่าวแพร่กระจายออกไป ประชาชนผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้บริการ ถึงกับร้องจ๊ากราวถูกปล้น ก็ไม่ปาน ทั้งๆ ที่รัฐก็มีหุ้นอยู่ด้วย
ขณะที่เจ้าพ่อทางด่วนโทล์ลเวย์ เปิดใจยอมรับว่าราคาที่จะปรับใหม่อีก 30 บาทนั้นค่อนข้างสูง เพราะอั้นมานาน แต่ก็เป็นไปตามบันทึกข้อตกลง หรือ เอ็มโอยู เมื่อปี 2550 ที่บริษัทได้ทำร่วมกับกรมทางหลวง สำหรับค่าผ่านทางตามอายุสัมปทาน 27 ปี เมื่อปรับขึ้นราคาในครั้งนี้แล้ว ต่อไปจะปรับขึ้นราคาทุกๆ 5 ปี จนกว่าจะหมดอายุสัมปทานในวันที่ 12 ก.ย. 2577
ตามสัญญาสัมปทานในครั้งต่อไป จะปรับขึ้นในวันที่ 22 ธ.ค.2557 ช่วงดินแดง-ดอนเมือง รถ 4 ล้อ จาก 60 บาท เป็น 70 บาท รถมากกว่า 4 ล้อ จาก 90 บาท เป็น 100 บาท ช่วงดอนเมือง-อนุสรณ์สถาน รถ 4 ล้อ จาก 25 บาท เป็น 30 บาท รถมากกว่า 4 ล้อ จาก 35 บาท เป็น 40 บาท
ถ้าหากรัฐจะเจรจาทางบริษัทก็ยินดี แต่ต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมด้วย ซึ่งมีหลายแนวทางที่จะแลกเปลี่ยน ทางหนึ่ง รัฐบาลชดเชยรายได้ให้ หรืออีกทางหนึ่ง ขยายอายุสัมปทานออกไปอีก ซึ่งอายุสัมปทานที่จะสิ้นสุดในปี 2557
ย้อนไปเมื่อเดือนธันวาคม 2547 ในสมัยรัฐบาลไทยรักไทย มี สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ นั่งเป็น รมว.คมนาคม ได้เจรจากับทางด่วนโทล์ลเวย์ ให้ลดค่าบริการเหลือ 20 บาทตลอดเส้นทาง เป็นเวลา 1 ปี 4 เดือน โดยอ้างเพื่อเป็นของขวัญปีใหม่แก่คนกรุงเทพฯ แต่แฝงนัยแห่งการหาเสียงเลือกตั้งซะมากกว่า ครั้งนั้น รัฐบาลควักกระเป๋าจ่ายชดเชยให้เอกชนวันละ 3.3 ล้านบาท หลังจากนั้น โทล์ลเวย์ก็ยืนราคา 30 บาทตลอดสายอีกเป็นเวลา 1 ปี 8 เดือน กระทั่งธันวาคม ปี 2550 ปรับราคาขึ้นเป็น 55 บาท
สำหรับการปรับราคาใหม่เป็น 85 บาท บริษัทคาดหมายว่าช่วงแรกจำนวนรถจะลดลงจากปัจจุบัน เฉลี่ย 8 หมื่นคันต่อวัน จะลดเหลือประมาณ 5-6 หมื่นคันต่อวัน หรือลดลงประมาณ 30-40% แต่เม็ดเงินจะเพิ่มขึ้นเพราะราคาสูงขึ้น จากที่มีรายได้เฉลี่ย 4 ล้านบาทต่อวัน หรือ 1,460 ล้านบาทต่อเดือน เป็น 5-6 ล้านบาทต่อวัน หรือ 2,190 ล้านบาทต่อเดือน
ด้วยเหตุนี้ กระแสสังคมต่างมองว่า สมบัติ ยื่นเงื่อนไขขอขึ้นค่าทางด่วนโทล์ลเวย์ หวังต่อรองขอยืดสัญญาสัมปทานออกไปอีกนั่นเอง