ในการติดเครื่องยนต์แต่ละครั้ง ควรจะทำการปิดระบบไฟฟ้าทั้งหมด รวมถึงเครื่องเสียง หรือแม้กระทั่งการปิดประตู เพราะกำลังไฟทั้งหมดจะถูกใช้ในการติดเครื่องยนต์ครั้งแรกก่อน ก็มีอยู่บ่อยหลังรถยนต์ถูกใช้งานมาแล้วจะไม่มีการปิดระบบปรับอากาศ หมายความว่า มีการดับเครื่องยนต์พร้อมการเปิดแอร์ค้างไว้ การปฎิบัติเช่นนี้ถือว่าไม่ถูกต้อง หากกระทำบ่อยๆ อาจนำพาปัญหามาสู่รถยนต์ของท่านได้
ขณะดับเครื่องยนต์คงไม่เกิดปัญหามากนัก แต่ในทางกลับกันขณะติดเครื่องยนต์จะมีการฉุดกันระหว่างสายพานกับสายพาน ( เป็นสายพานเส้นเดียวก็แล้วไป ) ไหนเครื่องยนต์หมุน ปั้มน้ำหมุน ไดชาร์จหมุน คอมเพรชเซอร์ก็จะทำงานอีก ผลก็คือมีการกินกำลัง บางครั้งทำให้ถึงกับสตาร์ทอืด หากกำลังในแบตเตอรี่เหลือน้อยจะไม่สามารถติดเครื่องยนต์ได้ รถยนต์เกียร์ธรรมดายังเข็นกระตุกติดได้แต่ถ้าเป็นเกียร์อัตโนมัติหมดสิทธิ์
แน่นอน อย่างน้อยต้องทำการพ่วงแบตเตอรี่
หากอยากทดสอบอาการด้วยตนเอง โดยการติดเครื่องระหว่างเปิดระบบปรับอากาศกับปิดระบบปรับอากาศ หากแบตเตอรี่มีกำลังไฟดี อาจจะไม่พบสิ่งที่แตกต่างมากนัก หมายถึงว่า แบตเตอรี่ยังใหม่อยู่ แต่ถ้าแบตเตอรี่ถูกใช้งานมาระยะหนึ่งแล้วควรระวังไว้บ้าง นอกจากแบตเตอรี่แล้วยังมีชิ้นส่วนต่อเนื่องอีกคือ มู่เลย์หน้าเครื่อง ( สำหรับมีสายพานหลายเส้น ) เพราะในมู่เล่ย์จะมีซีลยางอยู่ระหว่างร่องสายพานแต่ละเส้น หากมีการกระชากบ่อยๆทำให้ฉีกขาดได้เช่นกัน ตรงจุดนี้อาจถูกมองข้ามกันไป
ไหนๆกล่าวถึงมู่เล่ย์ สำหรับรถยนต์ที่มีสายพานหลายเส้นในตัวเครื่องยนต์ การปรับตั้งสายพานก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มู่เล่ย์เกิดความเสียหายนั่นก็คือการปรับสายพานตึงเกินไป การปรับจะต้องอยู่ในค่ามาตรฐานมิฉะนั้นนอกจากตัวสายพานที่จะเสียหายก่อนเวลาอันควรแล้ว พวกลูกรอก พวกไดชาร์ท และอื่นๆ ดังนั้นอย่ามองข้ามกันนะครับ อะไรต่างๆที่เกี่ยวกับตัวรถยนต์สามารถศึกษาได้จากคู่มือการใช้รถรวมถึงการใช้งานทั่วไป
credit :
http://www.phithan-toyota.com/th/articledetail.php?article_id=618&category_id=2&r=1