--- พวงมาลัย ดึงไปด้านใดด้านหนึ่ง มีสาเหตุมาจากแรงดันลมยางต่ำ หรือแรงดันลมยางไม่เท่ากัน ให้ตรวจเช็คแรงดันลมยางคู่หน้า (จริงๆ ก็ให้ครบ 4 ล้อไปเลยครับ), ดอกยางสึกไม่เท่ากัน ให้เช็คดอกยางว่าสึกสม่ำเสมอหรือไม่ ถ้าหากสึกไม่เท่ากันจนหน้ายางฝั่งใดฝั่งหนึ่งไม่หลงเหลือดอกยาง ก็ต้องเปลี่ยนครับ, ศูนย์ล้อผิดเพี้ยน ต้องให้ร้านยางจัดการตั้งศูนย์ใหม่ครับ, ลูกหมากคันชัก-คันส่งหรือแร็คเสื่อมสภาพ ก็เป็นอีกปัจจัยที่ก่อให้เกิดการดึงพวงมาลัย และประเด็นสุดท้าย กับบู๊ชช่วงล่างเสื่อมสภาพ
---รถสั่นในขณะเคลื่อนที่ อาจมีสาเหตุมาจากล้อหนึ่งล้อใดที่แกว่ง อันเนื่องมาจากล้อไม่ได้สมดุลย์ (ไม่ได้ถ่วงล้อหรือไม่ก็ตะกั่วถ่วงล้อหลุด) และอาจมีสาเหตุมาจากหน้ายางสึกไม่เท่ากัน, ศูนย์ล้อคลาดเคลื่อนหรือไม่ก็อุปกรณ์ในระบบบังคับเลี้ยวเสื่อมสภาพครับ
---รถเด้งขึ้น-ลงเหมือนถนนไม่เรียบตลอดเวลา อาจมีสาเหตุมาจากช็อคอับหรือสปริง เสื่อมสภาพ อันนี้ซ่อมยาก เปลี่ยนดีกว่าครับ หรืออีกกรณีก็อาจจะเป็นที่ยางบวมหรือล้อคดได้เช่นกันครับ
---พวงมาลัยขืนในขณะเลี้ยว/พวงมาลัยหนักหรือเลี้ยวแล้วมีเสียง (ที่ความเร็วต่ำ) อาจมีสาเหตุมาจากน้ำมันในระบบพร่อง, สายพานขับปั๊มเพาเวอร์หย่อน, ปั๊มเพาเวอร์เสื่อมสภาพ, แร็ครั่วหรือขายึดแร็คร้าว-หัก
---พวงมาลัย สั่นที่ความเร็วสูง มักมีต้นเหตุมาจากล้อไม่สมดุลย์ ต้องจับไปถ่วงล้อใหม่ หรือไม่ก็ยางสึกไม่เท่ากัน (ไม่กลม ว่างั้น) อันนี้ต้องเปลี่ยนสถานเดียวครับ แต่ถ้าร้ายแรงอย่างน็อตล้อคลายตัวล่ะก็ อันตรายนะครับ
--- เหยียบเบรคแล้วพวงมาลัยสั่น ส่วนใหญ่จะมีสาเหตุมาจากจานเบรคคดครับ ซึ่งก็จะมาพร้อมเสียงเหมือนเหล็กขูดกันเป็นระยะๆ (ยิ่งเร็วจะยิ่งดังถี่) ต้องถอดจานเบรคไปเจียสถานเดียว ยกเว้นเสียแต่ว่าจานเบรคบางจนเจียอีกไม่ได้ อันนี้ก็ต้องเปลี่ยนใหม่เท่านั้นครับ
---มีเสียงขณะขึ้นเนินหรือตกหลุม เกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นยางเบ้าช็อคหรือบู๊ชหูช็อคล่างเสื่อมสภาพ, ยางรองสปริงฉีกขาด, บู๊ชยางกันโคลงขาด หรือไม่ก็หน้าสัมผัสของคอยล์สปริงแนบไม่สนิทกับเบ้าช็อคอับ (ส่วนใหญ่เกิดจากการเอาสปริงไปตัดมาครับ) หรือพูดง่ายๆ ว่าจากที่เคยมีบู๊ชยางคอยซับแรง กลับกลายเป็นการปะทะกันโดยตรงของโลหะกับโลหะ ก็เลยต้องฟ้องด้วยเสียงไปอย่างนั้น ทางแก้ก็คือต้องเปลี่ยนชิ้นส่วนที่เสื่อท้ายห้อย อันนี้ไม่เกี่ยวกับที่ไปติดแก๊ส LPG หรือ CNG นะครับ (พวกที่ของท้ายรถเยอะๆ ก็เหมือนกัน) แต่นั่นหมายถึงรถที่ผ่านการใช้งานมาจนคอยล์สปริงหรือแหนบล้า จนไม่สามารถรองรับน้ำหนักในส่วนนั้นได้ (แม้ไม่มีผู้โดยสารด้านหลังก็ตาม) กรณีนี้แก้ไม่หาย ต้องเปลี่ยนสถานเดียวครับ แต่นอกจากจะเกิดกับตัวถังด้านหลังแล้ว ด้านหน้าก็เกิดได้เช่นกันครับ หากว่าสปริงหรือแหนบนั้นเสื่อมสภาพจนไม่สามารถรองรับน้ำหนักได้ดังเดิมมสภาพเหล่านั้นครับ
---ถอนคัน เร่งแล้วมีเสียงดังจากใต้ท้องรถ ที่ดังทั้งตอนเร่งและถอน ก็จะเป็นเสียงของลูกปืนราวเกียร์ชำรุด จนทำให้แกนราวเกียร์ไม่ได้ศูนย์ พอเร่งหรือถอนคันเร่ง แกนราวเกียร์ก็จะไปเบียดกับเฟืองเกียร์ภายในเสื้อเกียร์ ก่อเกิดเป็นเสียงให้รำคาญใจได้เช่นกัน ซ่อมยาก เปลี่ยนง่ายกว่าครับ
---เลี้ยว แล้วมีเสียงเหมือนยางครูดกับซุ้มล้อ ส่วนใหญ่เกิดจากการการไปเปลี่ยนเป็นล้ออัลลอยหน้ากว้างกว่าเดิม (มากๆ) หรือถ้าไม่ก็มีค่าอ๊อฟเซ็ทลบกว่าเดิม (ล้อยื่นกว่าเก่า) จนทำให้ในขณะที่ช็อคอับยุบตัว บริเวณไหล่ยางที่ยื่นออกมามากกว่าปกติจึงสบโอกาสเข้าครูดกับซุ้มล้อในทันที หรือบางกรณีก็อาจมีสาเหตุมาจากการที่ช็อคอับเสื่อมสภาพ (ก็รั่วนั่นแหละครับ) จนไม่สามารถยับยั้งการยุบตัวอย่างรวดเร็วของล้อและยางได้อย่างที่ควรจะเป็น ก็จะเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ยางครูดกับซุ้มล้อแล้วเกิดเสียงในขณะเลี้ยวแรงๆ ได้เช่นกันครับ แต่ต้องแยกให้ออกนะครับว่าเป็นเสียงยางครูดกับซุ้มล้อ ไม่ใช่เสียงที่มาจากหัวเพลา
---นอกจากระยะเวลาที่มีผลโดยตรงต่ออายุการใช้งานของชิ้นส่วนต่างๆ แล้ว การขับขี่ของแต่ละคนก็ยังมีผลต่อความช้า-เร็วในการเสื่อมสภาพของชิ้นส่วน ต่างๆ ด้วยนะครับ ยิ่งกับถนนบ้านเราด้วยแล้ว ประเภทที่เจอเนินเจอหลุมแล้วเบรคไม่เป็นเนี่ย ไปไวนักแล การที่ชิ้นส่วนใดชิ้นส่วนหนึ่งเสื่อมสภาพนั้น ก็จะส่งผลให้ชิ้นส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเสื่อมสภาพตามไปในไม่ช้า เพราะฉะนั้นอย่าปล่อยเลยตามเลยนะครับ จากจ่ายน้อยๆ จะกลายเป็นบานปลายโดยไม่รู้ตัวครับ
---เลี้ยวแล้วมีเสียง ในกรณีที่เลี้ยวแล้วมีเสียงดังมาจากช่วงล่าง (ขับทางตรงไม่เป็น) ละก็ พอรถวิ่งตรงก็เงียบหาย สันนิษฐานได้เลยครับว่าอาจจะมาจากหัวเพลาขับเสื่อมสภาพ แนะนำให้เข้าอู่หรือศูนย์บริการเพื่อตรวจเช็คสภาพหัวเพลาได้เลยครับ แต่ถ้ามีเสียงตลอด ไม่ว่าจะตรงหรือเลี้ยวอันนั้นน่าจะมาจากบู๊ชยางต่างๆ เสื่อมสภาพครับ
ตรวจเช็คจากสภาพของยางหุ้มเพลา ทั้งนี้ก็เพราะว่าหากยางหุ้มเพลาเสื่อมสภาพ (แล้วปล่อยทิ้งไว้) โอกาสที่สิ่งสกปรกจะเข้าคลุกวงในจนหัวเพลาเสื่อมสภาพนั้นก็ง่ายดายยิ่ง และเมื่อฝุ่นหรือคราบสกปรกเข้าไปแล้ว สิ่งที่จะพรั่งพรูออกจากหัวเพลาก็คือจาระบี ที่ทำหน้าที่หล่อลื่นและลดแรงเสียดทานให้กับชิ้นส่วนโลหะต่างๆ ภายในหัวเพลา ลองคิดสภาพตามนะครับว่าเมื่อไม่มีจาระบี (หรือมีแต่น้อย) การกระทบกระทั่งของชิ้นส่วนต่างๆ จะเป็นเช่นไร ?
-พวงมาลัยหนักกว่าปกติ ในขณะที่คุณขับรถทางตรงยาวๆ ปัญหาจากหัวเพลาจะไม่มีผลใดๆ ต่อการบังคับควบคุม จวบจนกระทั่งต้องหักเลี้ยวเพื่อเปลี่ยนทิศทางนั่นแหละ หัวเพลาที่มีปัญหาจะส่งสัญญาณให้คุณทราบในทันทีว่าถึงเวลาต้องเช็คช่วงล่าง กันแล้ว โดยพวงมาลัยจะแน่นๆ และหนักผิดปกติ ลักษณะจะคล้ายๆ กำลังวิ่งอยู่บนพื้นถนนที่ขรุขระ (ในขณะที่พื้นถนนราบเรียบนะครับ) ซึ่งหากประสบกับปัญหาดังกล่าว อาจเป็นไปได้ว่าจาระบีภายในหัวเพลาเล็ดรอดออกจนหมดนั่นเองครับ