หลักการแต่งกลอนแปด กลอนสุภาพ-ฉันทลักษณ์
๑. ในวรรคหนึ่ง ๆ มีอยู่ ๘ คำ จะใช้คำเกินกว่ากำหนดได้บ้าง แต่ต้องเป็นคำที่ประกอบด้วยเสียงสั้น
๒. การส่งสัมผัส คำที่ ๘ ของวรรคแรก สัมผัสกับคำที่ ๓ หรือคำที่ ๕ ของวรรคที่สอง คำที่ ๘ ของวรรคที่ ๒ สัมผัสกับคำที่ ๘ ของวรรคที่ ๓
คำ ที่ ๘ ของวรรคที่ ๓ สัมผัสกับคำที่ ๓ หรือที่ ๕ ของวรรคที่ ๔ และคำสุดท้ายของวรรคที่ ๔ ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ของบทต่อไป
๓. วรรคสดับ หรือวรรคแรก คำสุดท้ายใช้คำเต้น คือ เว้นคำสามัญใช้ได้หมด แต่ถ้าจำเป็นจะใช้เป็นเสียงสามัญก็อนุญาตให้ใช้ได้บ้าง แต่อย่าบ่อยนักพยายามหลีกเลี่ยง
๔. วรรครับ หรือวรรคสอง คำสุดท้ายนิยมใช้เสียงจัตวา ส่วน เอก โท ตรี ได้บ้าง ห้ามเด็ดขาดคือ เสียงสามัญ
๕. วรรครอง หรือวรรคสาม คำสุดท้ายนิยมใช้เสียงสามัญ ห้ามใช้เสียงจัตวา หรือคำที่มีรูปวรรณยุกต์
๖. วรรคส่งหรือวรรคสี่ คำสุดท้ายนิยมใช้เสียงสามัญ ห้ามใช้คำตายและคำที่มีรูปวรรณยุกต์
๗. คำที่ ๓ ของวรรครองและวรรคส่ง ใช้ได้ทุกเสียง
๘. นิยมสัมผัสในระหว่างคำที่ ๕-๖-๗ ของทุก ๆ วรรค
๙. นิยมสัมผัสชิดในระหว่างคำที่ ๓-๔ ของวรรคสดับและวรรครอง
๑๐. อย่าให้มีสัมผัสเลือน, สัมผัสซ้ำ, สัมผัสเกิน, สัมผัสแย่ง, สัมผัสเผลอ, และสัมผัสเพี้ยน
โป่ง-โต้ง จัดหั้ยแผนผังกลอนสุภาพจำนวน ๑ บท
เมื่อแต่งมากกว่า ๑ บท ต้องมีสัมผัสระหว่างบท สังเกตสัมผัสระหว่างบทจากแผนผังด้านล่าง
ตัวอย่างบทประพันธ์ที่ควรจำ
กลอนสุภาพพึงจำมีกำหนด กลอนหนึ่งบทสี่วรรคกรองอักษร
วรรคละแปดพยางค์นับศัพท์สุนทร อาจยิ่งหย่อนเจ็ดหรือเก้าเข้าหลักการ
ห้าแห่งคำคล้องจองต้องสัมผัส สลับจัดรับรองส่งประสงค์สมาน
เสียงสูงต่ำต้องเรียงเยี่ยงโบราณ เป็นกลอนกานท์ครบครันฉันท์นี้เอย
คณะของกลอนสุภาพหนึ่งบทมี ๔ วรรค วรรคละ ๘- ๙ พยางค์
๘ พยางค์ไพเราะที่สุดสัมผัสบังคับของ
กลอนสุภาพเป็นสัมผัสสระตามแผนผัง
สัมผัสระหว่างวรรคพยางค์สุดท้ายของวรรคที่ ๑ สัมผัสกับพยางค์ที่ ๓
หรือ ๕ ในวรรคที่ ๒ พยางค์สุดท้ายของวรรคที่ ๒ สัมผัสกับพยางค์สุดท้ายของวรรคที่ ๓
และสัมผัสกับพยางค์ที่ ๓ หรือ ๕ ในวรรคที่ ๔สัมผัสระหว่างบท
พยางค์สุดท้ายของบทต้น สัมผัสกับพยางค์สุดท้ายของวรรคที่ ๒ของบทถัดไป