พิษมาบตาพุดทำหญิงท้องเสี่ยงคลอดก่อนกำหนดสูงเผยผลการศึกษาผลกระทบ ต่อสุขภาพ จากนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด มีความเสี่ยงทำผู้หญิงท้อง คลอดก่อนกำหนดสูงถึง 16%...
เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2553 ดร.นันทวรรณ วิจิตรวาทการ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยผลการศึกษาผล
กระทบต่อสุขภาพจากอุตสาหกรรม ซึ่งนับเป็นการศึกษาทางระบาดวิทยาขนาดใหญ่ชิ้นแรกในประเทศไทยที่ได้แสดงให้เห็นความเชื่อม
โยงระหว่างการอาศัยอยู่ในระยะใกล้พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด กับภาวะสุขภาพหลายระบบ ที่ทีมวิจัยมาตั้งแต่ปี 2549-2552
โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดยศึกษากลุ่มตัวอย่างที่เป็นเด็ก และ ผู้ใหญ่จำนวน 24,890 คน
ที่อยู่อาศัยภายในรัศมี 10 กิโลเมตร จากศูนย์กลางนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด โดยมีข้อสรุปว่า ผู้ที่อาศัยใกล้นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
มีความเสี่ยงต่อภาวะสุขภาพที่ผิดปกติมากกว่า ผู้ที่อาศัยไกลนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ดังนี้ หญิงตั้งครรภ์อาศัยอยู่ใกล้แหล่งอุตสาหกรรมมาบตาพุด
มีความเสี่ยงต่อการให้กำเนิดบุตรก่อนกำหนด น้ำหนักต่ำกว่าปกติ และ น้ำหนักต่ำกว่าอายุครรภ์มากกว่า ผู้ที่อยู่ไกลแหล่งนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
การอาศัยในแนวทิศทางลมหลักมีขนาดความเสี่ยงต่อผลการตั้งครรภ์มากว่าผู้ที่อาศัยนอกทิศทางลมหลัก ขนาดของผลกระทบที่เกิดจากการอาศัยบริเวณรอบนิคม
ผลการวิจัย พบว่าในจำนวนนี้มีหญิงที่มีประวัติการตั้งครรภ์ผิดปกติทั้งหมด จำนวน 229 ราย เสี่ยงต่อการคลอดบุตรก่อนกำหนด กล่าวคือ
รัศมีน้อยกว่า 4 กม.อัตราเสี่ยง 15.98% ส่วนรัศมี 4-7 กม.เสี่ยง 1.04% มากกว่า นอกจากนี้ ยังได้ประเมินภาวะสุขภาพ ที่เป็นอาการ
ทางระบบทางเดินหายใจ โดยใช้แบบสอบถามมาตรฐานของ American Thoracic Society และสัมภาษณ์อาการทางประสาทจิตวิทยาด้วยแบบ
สอบถาม รวมทั้งมีการสุ่มตัวอย่าง ที่มีอายุตั้งแต่ 13 ปี ขึ้นไป แบบอิสระ เป็นจำนวนทั้งหมด 6,800 คน เพราะความผิดปกติจากการตั้งครรภ์
จะมีผลสุขภาพในระยะยาวต่อเด็ก และอาการหลายด้านที่อาจมีความเกี่ยวข้องกับการทำหน้าที่ของระบบประสาท นักวิจัย ระบุ
ดร.นันทวรรณ กล่าวอีกว่า การศึกษาครั้งนี้ได้ ประเมินการสัมผัสมลพิษในอากาศของผู้ที่เข้าร่วมในการศึกษาโดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์
ใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจวัดของกรมควบคุมมลพิษ ที่ติดตั้งในพื้นที่มาบตาพุด ทั้งนี้ ยังพบด้วยว่า ผลกระทบด้านการได้กลิ่นมลพิษมีมากที่สุดอย่าง
ชัดเจน ส่วน อาการแสบตามีความสัมพันธ์แบบผกผัน กับระยะทางจากนิคม ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ส่วนข้อบ่งชี้ผลกระทบของสารอินทรีย์ระเหยง่าย
ในบรรยากาศ (วีโอซี) ที่มีกลิ่นสูงชัดเจน เช่น styrene ผลกระทบบางอาการที่อาจเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของระบบประสาทส่วนกลาง อย่างไรก็ตาม
งานวิจัยชิ้นนี้ น่าจะใช้ในการสนับสนุนข้อมูลทางระบาดวิทยา เพื่อการศึกษาผลกระทบทางสุขภาพ ให้มีความถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น รวมทั้งนำไป
กำหนดบัฟเฟอร์โซน รวมทั้งควรมีมาตรการในการดูแลหญิงตั้งครรภ์เป็นพิเศษ เพราะมีผลกระทบระยะยาว นอกจากนี้ ควรมีการศึกษาผลกระทบ
ในอำเภออื่นๆในจ.ระยอง ที่มีโรงงานอุตสาหกรรมที่ปล่อย วีโอซีจำนวน 297 แห่ง
>>>
http://www.thairath.co.th/content/edu/86748