มีเรื่องเสื้อเกราะมาฝาก เครดิตเพื่อน ณ เว็บแห่งหนึ่ง
มีหลายระดับครับ เรียงตามความสามารถในการหยุดยั้งกระสุนปืน จากน้อยไปมาก:
Class I - กันกระสุน .22 LR, กระสุนปืนสั้นแบบพกซ่อน (เสื้อเกราะระดับนี้ตกรุ่น ไม่มีใครใช้กันแล้วครับ เรียงมาให้ดูเฉยๆ)
Class IIa - กันกระสุน .38 Special, .45 ACP, กระสุนปืนสั้นแบบไม่หุ้มทองแดง, ลูกซองแบบลูกปราย (ระดับนี้ก็ไม่ค่อยมีแล้ว)
Class II - กันกระสุน .357 Magnum (แต่บางทีลูกแรงๆ ก็ทะลุ), กระสุน 9mm ความเร็วมาตรฐาน
Class IIIa - กันกระสุน .44 Magnum, กระสุน 9mm ความเร็วสูง, กระสุนปืนสั้นทุกชนิด, ลูกซองแบบลูกโดด
ชุดเกราะทหารทั่วไป ที่เห็นเป็นเหมือนแจ็กเก็ตทับอยู่ ก็ระดับนี้ครับ (ชุดแบบ PASGT)
Class III - เสื้อเกราะระดับนี้ จะมีเพลทเหล็กข้างในเสื้อ เพื่อกันกระสุนปืนยาวครับ กันกระสุน 7.62x39mm (ปืนอาก้า),
กระสุน 5.56x45mm แบบ M193 (แบบ M855 หัวเขียว มีโอกาสทะลุ), กระสุน 7.62x51mm (และ .308 Winchester),
กระสุน 7.62x54mmR (ปืน Dragunov; ยิงใกล้ๆ บางทีก็เข้า), กระสุนปืนยาวขนาดเล็กอื่นๆ
Class IV - ในระดับนี้ จะใช้เพลทเซรามิก ซึ่งแข็ง แต่เปราะ ทำให้ไม่สามารถกันกระสุนได้หลายๆนัดครับ
กันกระสุนปืนยาวเจาะเกราะ เกือบทุกชนิด(กระสุนเจาะเกราะ ที่หัวกระสุนจะแต้มสีดำไว้), กระสุนปืนยาวขนาดกลางอื่นๆ
ถ้ายิงด้วยกระสุนล่าสัตว์ขนาดใหญ่ ตั้งแต่ .375 H&H Magnum (ที่ยิงลำตัวเสือ สิงโต นัดเดียวล้มได้) ขึ้นไป
ด้วยแรงปะทะมหาศาล ก็ทำให้บาดเจ็บสาหัสได้ครับ แม้จะไม่ทะลุก็ตาม
เสื้อที่มีเพลทข้างใน จะพองอย่างเห็นได้ชัด ถ้าสวมไว้ใต้ชุด ก็จะสังเกตเห็นทันทีครับ ตัวจะบวมมาก เพลทมันหนาประมาณ 1-3 cm.
เรื่องน้ำหนัก ก็ตั้งแต่ 2-3 กิโลกรัมในระดับเกราะอ่อน ไปจนถึงประมาณ 10 กิโลกรัม ในเกราะระดับสูงสุดครับ (หนักไม่หนัก ดูหน้าคนสวม)
(จริงๆ น่าจะเรียกว่า เสื้อเกราะชลอกระสุนนะ เพราะบางทีมันก็ยิงทะลุได้ แล้วแต่โอกาส ไม่ได้กันได้ 100% ยิ่งโดนยิงซ้ำ เกราะก็ยิ่งเสื่อม)
อีกอย่างคือ เสื้อเกราะส่วนใหญ่ จะเสื่อมสมรรถภาพอย่างมาก เมื่อเปียกน้ำครับ (แต่ส่วนใหญ่จะเย็บหุ้มด้วยผ้ากันน้ำ)
ต้องทำให้แฉะก่อน ถึงจะเจาะทะลุเข้าได้ :bn46: