เห็นสนใจเรื่องเกียร์ ลองอ่านดูละกัน เข้าใจยากหน่อย แต่ถ้าเข้าใจแล้ว จะเรียงเฟืองเกียร์ใหม่ ก็จะทำได้อย่างถูกต้องตรงความต้องการ
http://www.thaidriver.com/PDF_files/no_91/91_siriboon.pdfเรื่อง : ศิริบูรณ์ เนาว์ถิ่นสุข และ กองบรรณาธิการ
THAIDRIVER ขอไปทางรถบ้านสักนิด อัตราทดเกียร์และเฟืองท้ายของรถบ้านแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อที่แตกต่างกัน มีความสำคัญมากน้อยแค่ไหน
อ. ศิริบูรณ์ ในกรณีของรถบ้านที่เอาไว้ขับไปช็อปปิ้ง ขับไปเรียนหนังสือ หรือขับไปทำงานด้วยงบประมาณค่าน้ำมันที่เมียจัดสรรให้เดือนละ 3,000 บาท รถจะพุ่งไม่แรงก็คงไม่เป็นไร
เกียร์ 1 ออกตัวได้โดยไม่สะอึก เกียร์สุดท้ายวิ่งความเร็วสูงตามกฎหมายโดยไม่ต้องใช้รอบจัดให้จั๊กกะจี้รูหู อัตราทดเกียร์แบบไหนก็ขับได้ทั้งนั้น ขับให้คุ้นเคยก็ใช้ได้คล่อง
ถ้าเป็นรถกระบะ โจทย์ของ GEAR DESIGNER ก็ต่างจากรถเก๋งเพราะรถกระบะที่มีพิกัดบรรทุก 1 ตัน เฉพาะรถเปล่าก็หนักเกือบ 2ตันเข้าไปแล้ว
พอบรรทุกน้ำหนักใส่กระบะหลังเพิ่มเข้าไป น้ำหนักรวมทั้งคันก็ประมาณ 3 ตันรถกระบะจึงต้องมีอัตราทดของเกียร์ 1 จัดมาก ไม่อย่างนั้นออก
ตัวไม่ไหว และยิ่งเป็นเครื่องดีเซลที่มีรอบฯ ต่ำกว่าเครื่องเบนซินเกือบครึ่งอัตราทดเกียร์สำหรับ ตีนปลาย ก็ต้องต่างไปจากรถเก๋ง
ส่วนรถแข่งทางเรียบน้ำหนักเบาจะใช้อัตราทดเกียร์ 1 ยาวเหยียด ให้ชิดเข้าไปหาเกียร์ 2 ก็ไม่ว่ากันเพราะเปลี่ยนชุดคลัตช์ใหม่ทุกสนามอยู่แล้ว
เกียร์ 5 หรือเกียร์สูงสุดมีความสำคัญในการใช้งานเฉพาะเมื่อต้องขับทางไกล รถบางรุ่นขับทางไกลแล้วกินน้ำมันมากเพราะเฟืองท้ายจัด
หรือเกียร์ 5 ซึ่งเป็นเกียร์โอเวอร์ไดร์ฟ มีอัตราทดต่ำลงมานิดเดียว (ยังใกล้ 1.00) เช่น เกียร์ 5 = 0.86 เฟืองท้าย 4.3 ย่อมกินน้ำมันมากกว่า
อีกคันที่มีอัตราทดเกียร์ 5 = 0.80 และเฟืองท้าย 4.1
ในรถแข่งควอเตอร์ไมล์ หรือแข่งแบบเซอร์กิต อัตราทดเกียร์ก็ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับรูปร่างหน้าตาของสนาม POWER-BAND ของเครื่อง
และฝีมือของคนขับ ถ้าเลือกอัตราทดเกียร์และเฟืองท้ายได้เหมาะสม ก็พอทดแทนฝีมือให้กลายเป็นเก่งกว่าตัวจริง
ยกตัวอย่างฝีมือคนขับที่มีผลต่อการเลือกใช้อัตราทดเกียร์ รถคันเดียวกัน สนามเดียวกัน โค้งเดียวกัน อาจต้องใช้อัตราทดเกียร์ต่างกัน
คนขับ A ถึงโค้งแล้วย่องเหมือนมือใหม่ เนื่องจากรับมรดกมาเยอะ กลัวตายก่อนจะได้ใช้เงิน (ให้หมด)
คนขับ B เข้าโค้งด้วยความเร็วสูงกว่า เนื่องจากที่บ้านไม่มีสมบัติตายก็ไม่หนักหัวใคร (หรือพูดอีกอย่างว่าฝีมือดีกว่า) เมื่อเข้าโค้งด้วย
ความเร็วต่างกัน เวลาออกจากโค้งรอบเครื่องยนต์ก็ต้องต่างกัน อัตราทดเกียร์หรือเฟืองท้ายก็ต้องต่างกันด้วย
อัตราทดเกียร์และเฟืองท้ายมีความสำคัญมากสำหรับรถแข่ง มันเป็นวิธีทำให้รถเร็วขึ้นโดยเสียเงินน้อยกว่าการทำเครื่องยนต์ ซื้อเทอร์โบ
ลูกละแสนกว่าบาท ยกเครื่องออกมาเปิดแล้วเปิดอีก ถอดฝาสูบมาเปิดพอร์ต เปลี่ยนวาล์ว เปลี่ยนแคมฯ เปลี่ยนลูกสูบ หมดเงินไปครึ่งล้าน
จับยัดใส่รถลองวิ่งดูแล้วก็ยังไม่ได้เวลาสมใจอยากถ้าเปลี่ยนไส้เกียร์ไม่กี่บาท แล้วแต่คุณภาพของเกียร์ ถ้าสั่งจากอังกฤษอาจสองแสนบาท ถ้าสั่งจากสำนัก แหกตา ในหลายประเทศ
ผมไม่ค่อยแน่ใจว่าจะดีจริงหรือเปล่า เพราะทำจากไต้หวันและจีนแผ่นดินใหญ่เสียเยอะ
แม้กระทั่งไส้เกียร์ที่ผมทำเป็น MASTERPIECE ก็ยังถูกเอาไปก็อปปี้แถวๆ นั้นออกมาขายในราคาถูกจนไม่น่าเชื่อว่าคนทำต้องกินข้าววันละ 3 มื้อ
THAIDRIVER อัตราทดเกียร์ 1 = 3.273 หมายความว่าอย่างไร
อ. ศิริบูรณ์ เราพูดกันถึงเกียร์ธรรมดาที่เปลี่ยนด้วยมือ (MANUAL)ของรถขับล้อหน้าก็แล้วกันนะ...มันแปลว่าอย่างนี้คือ เมื่อคลัตช์
จับเต็มตัว (และไม่ลื่น) ข้อเหวี่ยงของเครื่องหมุนไป 3,273 รอบฯ ส่งผ่านคลัตช์ซึ่งหมุนด้วยความเร็วเท่ากัน ส่งไปที่ INPUT-SHAFT
(จำปา) หน้าห้องเกียร์ เฟืองส่ง ตัวเล็ก (ฟันน้อยเพียง 11 ฟัน) หมุน3,273 รอบฯ แต่ขบอยู่กับ เฟืองรับ ตัวใหญ่(36 ฟัน) บนแกนล่าง
ซึ่งมีจำนวนเฟืองมากกว่า 3.273 เท่า (36/11 = 3.273) แกนล่างซึ่งเป็น OUTPUT จึงส่งออกจากเกียร์เพียง 1,000 รอบฯ เพราะฉะนั้น
เราจึงเรียกว่า 3.273
เกียร์ 2,3,4,5 ก็จะมีฟันบนเฟืองส่งมากขึ้นเป็นลำดับ ส่วนฟันบนเฟืองรับจะน้อยลงลดหลั่นกันไป จนกระทั่งบางทีเฟืองส่งมีฟันมากกว่า
เฟืองรับ เช่น เฟืองส่ง 25 ฟัน เฟืองรับ 22 ฟัน อัตราทดคือ 22/25 =0.88 เมื่อนั้น ชาวบ้าน จะเรียกว่าเป็น OVERDRIVE (แต่ผมเปล่า)
THAIDRIVER รู้อัตราทดเกียร์ เฟืองท้าย และเส้นรอบวงยาง จะคำนวณความเร็วสูงสุดในแต่ละเกียร์ได้อย่างไร
อ. ศิริบูรณ์ KPH PER 1000 RPM = DIA (IN.) X 4.787 /FDR/GRi DIA คือเส้นผ่าศูนย์กลาง (DIAMETER) ของยาง (ไม่ใช่ของล้อ)
ใช่หน่วยเป็นนิ้ว (ไม่ใช่มิลลิเมตร ถึงแม้ว่าผมจะคำนวณออกมาเป็นความเร็ว KPH เพราะ 4.787 มันเป็น CONSTANT CONVERSION
FACTOR ข้ามหน่วยที่ผมคิดไว้ให้เรียบร้อยแล้ว)FDR คือ อัตราทดเฟืองท้าย (FINAL-DRIVE RATIO)
แม้จะขับล้อหน้าก็เรียกว่าเฟืองท้าย เพราะ FINAL แปลว่าท้ายสุดก่อนจะถึงล้อขับเคลื่อน
GRi คืออัตราทดของแต่ละเกียร์ (GEAR-RATIO) ในห้องเกียร์ i เป็นสัญลักษณ์ตามธรรมเนียมทางคณิตศาสตร์ที่ใช้แทนตัวเลขใดๆ ก็ได้
GR1, GR2, GR3, GR4, GR5 คืออัตราทดของเกียร์ 1,2,3,4,5
เรานิยมคิด KPH PER 1000 RPM เพราะบนมาตรวัดรอบฯ(TACHOMETER) มักจะเขียนเอาไว้ด้วยเลขหลัก 1, 2, 3, 4, 5, 6,7, 8, 9 แล้วแอบตัวเล็กๆ ว่า x1000 ไว้บนจอ KPH PER 1000
RPM จึงเอามาคูณกับตัวเลขที่เข็มชี้บนมาตรวัดรอบฯเพื่อให้กลายเป็นความเร็ว (SPEED) ได้โดยสะดวก
ถ้าอยากรู้ว่าลากแต่ละเกียร์สุดๆ จนเครื่องกำลังจะกระจายเป็นเสี่ยงๆ แล้วได้ความเร็วเท่ากับเท่าไรก็ใช้สูตรนี้คำนวณ เมื่อถึงเกียร์สุดท้าย ถ้าเห็นความเร็วสูงมากกรุณาอย่าตกใจหรือดีใจ
เครื่องของคุณมันอาจจะ ตื้อ หมดแรงทะลวงอากาศไปก่อนหน้านั้นตั้งนานแล้ว นั่นละ...ความหมายที่แท้จริงของ OVERDRIVE ที่ผมพูดไม่เหมือนชาวบ้าน
ถ้าความเร็วสูงสุดที่วิ่งได้จริงในเกียร์ 5 แช่อยู่ที่รอบฯ ต่ำกว่าที่เครื่องมีแรงม้าสูงสุด แสดงว่าใช้เฟืองท้ายเลขน้อยหรือยาวเกินไป (ตรงข้ามกับเฟืองท้ายจัดซึ่งมีเลขมาก)
แสดงว่าเกียร์ 5 เป็นโอเวอร์ไดร์ฟ คือขืนใจเด็กให้ทำงานผู้ใหญ่ รอบไม่สูง กินน้ำมันน้อย เสียงเครื่องไม่ดัง บริษัทรถแต่ละยี่ห้อเลือกใช้อัตราทดเกียร์ไม่เหมือนกัน
บางยี่ห้อทำเกียร์ 5 จังหวะ โดยให้ทำความเร็วสูงสุดได้ในเกียร์ 4 ส่วนเกียร์ 5 เป็นเกียร์ประหยัด
บางยี่ห้อทำ 6 จังหวะ แล้วให้ทั้งเกียร์ 5 และ 6 เป็นโอเวอร์ไดรฟ์ตามตัวเลข เช่น รถสปอร์ตเครื่องโตทั้ง 2 รุ่นของอเมริกา
คือคอร์เว็ตต์และไวเปอร์ ซึ่งใช้เกียร์ 6 สปีดของ TREMEC T56 มีอัตราทดเกียร์ 5 = 0.84 เกียร์ 6 = 0.56 เข้าเกียร์ 6 เดินทางไกลเครื่องหมุนเหนือรอบเดินเบานิดเดียว
รถญี่ปุ่น 6 เกียร์ มีเกียร์ 5 = 1.00 เกียร์ 6 เป็นโอเวอร์ไดรฟ์ตามตัวเลข มักออกแบบให้เกียร์ก่อนสุดท้ายเป็นเกียร์ที่ทำความเร็วได้สูงสุด
และเกียร์สุดท้ายเป็นเกียร์ประหยัด อัตราทดในเกียร์สูงๆ จะกระโดดห่างกัน เปลี่ยนลงเกียร์สุดท้ายแล้วรอบตกวูบ
ดูกราฟ A ประกอบ แกนนอน คือ ความเร็วหน่วยเป็นกม./ชม. KPH แกนตั้ง คือ รอบเครื่อง ประกอบด้วยรอบแรงม้าสูงสุดและเรดไลน์
ออกตัวด้วยเกียร์ 1 ลากไปถึงเรดไลน์แล้วเปลี่ยนเป็นเกียร์ 2 ไล่ไปจนถึงเกียร์ 5
ได้กราฟเป็นเส้นตรง ทั้ง 5 เส้น สังเกตว่ารอบแรงม้าสูงสุดอยู่ใกล้กับเรดไลน์ แบบนี้เกียร์ 5 ทำความเร็วสูงสุดได้มากกว่าเกียร์ 4
เช่น บริษัทรถโฆษณาว่าเครื่องดีเซล 3,000 ซีซีของตัวเองมี 200แรงม้า ที่ 5,500 รอบฯ แต่เรดไลน์อยู่ที่ 4,500 รอบฯ
ถ้าลากรอบเกินจากนี้ไม่รับรอง ไอ้ 200 แรงม้า ที่ 5,500 รอบฯ นั้นคงเคยเสี่ยงบนแท่นไดโนฯ ที่ห้องทดสอบเพียงครั้งเดียว
ก็เลยเอาตัวเลข 200 แรงม้ามาโฆษณา แบบนี้ต้องโดนชกให้เข็ด เพราะรอบแรงม้าสูงสุดต้องอยู่ต่ำกว่ารอบที่เครื่องจะหลุดเป็นชิ้น คนซื้อไปแล้วจึงจะใช้งานได้จริง
THAIDRIVER เปลี่ยนล้อขับเคลื่อนเส้นรอบวงต่างจากเดิม เสมือนเปลี่ยนอัตราทดเฟืองท้าย
อ. ศิริบูรณ์ หมายถึงเปลี่ยนเส้นรอบวงของยาง ไม่ใช่เปลี่ยนล้อใหญ่แต่ใช่ยางเตี้ย...ถ้าพูดภาษาเดียวกันก็แน่นอน
ถ้ายางเดิมสูง 26 นิ้วเช่น 215/65R15 แล้วเปลี่ยนเป็นยาง 265/60R17 (29.5 นิ้ว)แต่ละก้าวก็ยาวขึ้น เสมือนเปลี่ยนเฟืองท้ายให้ยาวขึ้นรถบางคันเปลี่ยนล้อใหญ่ยางโตกว่าเดิมแล้วความเร็วปลายลดลง
แต่ถ้ารอบแรงม้าสูงสุดกับเรดไลน์อยู่ห่างกันมาก เช่น แรงม้าสูงสุด6,000 รอบฯ เรดไลน์ 7,500 รอบฯ อาจพบว่าในเกียร์ 5 ทำความเร็ว
ได้แค่เส้นประ (เพราะเกียร์ 5 ลากถึงเรดไลน์ไม่ไหว) แต่เกียร์ 4สามารถลากถึงเรดไลน์ ก็จะได้ความเร็วสูงสุดมากกว่าเกียร์ 5
ความเร็วสูงสุดจะทำได้ด้วยเกียร์ไหน ขึ้นอยู่กับว่ารอบแรงม้าสูงสุดและเรดไลน์อยู่ที่ไหน ถ้าอยู่ห่างกันมาก แสดงว่าเกินจากรอบแรงม้า
สูงสุดไปแล้วยังมีรอบอีกมากที่เครื่องยังไม่พัง แต่ถ้าแรงม้าสูงสุดกับรอบที่เครื่องจะพังอยู่ใกล้กัน เกียร์สุดท้ายมักทำความเร็วสูงสุดได้มากกว่าเกียร์รองสุดท้าย
ถ้าผู้ผลิตเลือกเฟืองท้ายได้ถูกต้องนอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับรูปทรงของตัวรถ (ดูกราฟ B ประกอบ) รถ2 คัน cd.40 อาจทำความเร็วสูงสุดได้ในเกียร์ 4 ส่วนคันที่ลู่ลมกว่า
cd.30 อาจได้ความเร็วสูงสุดในเกียร์ 5 เพราะรถวิ่งทะลุลมง่ายกว่าเครื่องใช้แรงน้อยกว่า
THAIDRIVER ขอให้ขยายความเรื่องรอบแรงม้าสูงสุดและเรดไลน์
อ. ศิริบูรณ์ เป็นความเข้าใจปกติอยู่แล้วว่า แรงม้าสูงสุดที่เครื่องทำได้ จะต้องอยู่ต่ำกว่ารอบที่เครื่องจะพัง เพราะถ้าแรงม้าสูงสุดอยู่ใน
รอบสูงกว่ารอบที่เครื่องพัง แล้วชาติไหนจะได้ใช้แรงม้าสูงสุด?!เพราะเสมือนเปลี่ยนเฟืองท้ายยาวขึ้น (เลขน้อยลง) ทุกๆ รอบเครื่องจะได้ความเร็วมากขึ้น
หรือพูดอีกอย่างว่าทุกๆ ความเร็วที่ได้ รอบเครื่องจะลดลง เมื่อรอบลดลงแรงม้าก็น้อยกว่า เครื่องนั้นอาจจะพารถวิ่งทะลุลมไม่ไหว ความเร็วปลายก็เลยลดลง
THAIDRIVER ต่างจากความเข้าใจของบางคนว่า ใส่ยางใหญ่เส้นรอบวงมากขึ้นแล้วจะได้ความเร็วสูงขึ้น
อ. ศิริบูรณ์ ความเร็วปลายจากการคำนวณบนกระดาษจะสูงขึ้น
แน่นอน แต่ความเร็วปลายจากการขับทะลวงลมจริงอาจจะลดลงเพราะคุณกำลังขืนใจให้เด็กทำงานเกินกำลัง
THAIDRIVER เปลี่ยนยางเส้นรอบวงเล็กลง อัตราเร่งดีขึ้น แต่ความเร็วปลายหาย
อ. ศิริบูรณ์ เมื่อเส้นรอบวงยางน้อยลง ความเร็วต่อพันรอบฯ ของแต่ละเกียร์ก็จะลดลง อัตราเร่งดีขึ้นเพราะแต่ละก้าวสั้นลง
เครื่องพาล้อให้หมุนได้ง่ายขึ้น แต่เกียร์ 1 อาจจะออกตัวแล้วล้อฟรี เพราะที่หน้าสัมผัสมีแรงบิดเกินกว่าที่ยางจะรับได้ถ้าเป็นรถที่ออกตัวด้วยเกียร์ 1 แล้วล้อฟรีเป็นประจำ
เมื่อเปลี่ยนยางเส้นรอบวงน้อยลงก็จะฟรีมากขึ้น
THAIDRIVER เกียร์อัตโนมัติของรถบางรุ่นมี 5 จังหวะ อัตราทดต่ำกว่า 1.000 ตั้งแต่เกียร์ 4 หมายความว่ามีโอเวอร์ไดรฟ์ 2 เกียร์ใช่หรือไม่
อ. ศิริบูรณ์ ถ้าเป็นคนไม่คิดมาก เมื่อไรก็ตามที่เห็นตัวเลขของรอบเครื่องที่ส่งเข้าเกียร์ ต่ำกว่ารอบที่เกียร์ส่งออฆกไปขับเฟืองท้าย (น้อยกว่า 1.00) ก็เรียกกันว่าโอเวอร์ไดร์ฟ
ถ้าเป็นคนคิดมากเห็นอัตราทดเกียร์ต่ำกว่า 1.00 แล้วยังไม่สรุปว่าเป็นเกียร์โอเวอร์ไดร์ฟ
แต่จะคิดต่อไปว่าอัตราทดนั้นเป็นการให้เด็กทำงานผู้ใหญ่ คือ เกียร์สูงกว่าทำความเร็วสูงสุดจริงได้น้อยกว่าเกียร์ที่ต่ำกว่า
เช่น เกียร์ 5 ทำความเร็วสูงสุดจริงน้อยกว่าเกียร์ 4 จึงจะบอกว่าเกียร์ 5 ว่าเป็นโอเวอร์ไดรฟ์ แต่เกียร์ 4 ที่มีอัตราทดต่ำกว่า 1.00 อาจจะไม่ใช่โอเวอร์ไดร์ฟ ต้องพิสูจน์แบบเดียวกัน
คนคิดมากจะดูที่ผลงานสุดท้าย ถ้าเกียร์นั้นทำความเร็วสูงสุดไม่ได้เพราะรอบต่ำกว่ารอบแรงม้าสูงสุด ถึงจะเรียกว่าโอเวอร์ไดรฟ์ หรือพูดอีกอย่างว่าเกียร์ใดก็ตามซึ่งให้ความเร็วสูงสุดจริง
ที่รอบต่ำกว่ารอบแรงม้าสูงสุด เกียร์นั้นเป็นโอเวอร์ไดรฟ์ส่วนแรงม้าสูงกว่ากราฟผอมชันยอดแหลม อาจแพ้รถที่มีแรงม้าน้อยกว่าใน 2-3 เกียร์แรก และชนะในเกียร์ท้ายๆ
ถ้าเครื่องแรงม้าสูงกว่ากราฟแรงม้ายอดแหลม แต่มีเกียร์หลายจังหวะ ก็สามารถวางอัตราทดเกียร์ให้ชิดกันได้มากขึ้น แทนที่ตอนเปลี่ยนจากเกียร์ 1 ไปเกียร์ 2 รอบฯ จะตกเหลือแค่ 70% ก็ทำให้รอบ
ตกน้อยลงเหลือ 75% จากนั้นก็ให้รอบฯ ตกแค่ 80...85...89...92การเลือกอัตราทดแต่ละเกียร์ให้ชิดกันมากๆ ก็เพื่อเปลี่ยนเกียร์แต่ละครั้งรอบฯ จะได้ไม่ตกมาก
หรือพูดอีกอย่างว่าพยายามรักษารอบฯให้อยู่ใกล้รอบฯ แรงม้าสูงสุด ถ้าแบบนี้เครื่องแรงม้าสูงกว่าที่รอบฯสูงกว่าชนะแน่นอน แต่นี่ไม่ใช่เกมของเรา
เพราะเกมของเราบอกว่าทุกอย่างเหมือนกันหมด ซึ่งรวมทั้งอัตราทดเกียร์และเฟืองท้ายด้วยถ้าใช้เกียร์ลูกเดียวกันตามเงื่อนไข
แต่เลือกใช้เกียร์ที่มีอัตราทดชิดรถแรงม้ามากกว่าที่รอบสูงกว่า กราฟแรงม้ายอดแหลมก็อาจชนะ แต่ถ้าเนื่องจากรถแข่งมีน้ำหนักเบา
และออกตัวด้วยรอบฯ สูงโดยไม่ต้องสงสารคลัตช์จึงไม่จำเป็นต้องใช้อัตราทดเกียร์ 1 ให้จัด
เหมือนเกียร์รถบ้าน สรุปว่าเกียร์ 1 ของรถแข่งไม่ต้องทดจัดหรือสั้นมากนัก ฟันธงได้ว่าเกียร์ CLOSE-RATIO เอาไว้ใช้ในรถ
แข่งเถอะ GR1/GR5 < 3.00 เมื่อใด ให้เริ่มเรียกมันว่า CLOSE-RATIO ได้เลย เกียร์ CLOSE-RATIO ของรถแข่งไม่ได้มีลูกเดียวแล้วจะ
ใช้ได้ครอบจักรวาล แต่มีหลายระดับความชิด MENU เกียร์ที่ผมคำนวณเองทั้งหมดสำหรับเกียร์ทุกยี่ห้อที่พวกเรานิยมใช้เครื่องของมัน
แข่งๆ กันอยู่มีประมาณ 200 ชุด ความห่างความชิดระหว่างคู่เกียร์แล้วแต่ว่าใช้กับสนามแข่งไหน รถหนักหรือรถเบา...ถ้าเป็นคนไม่คิดมาก
ดูตัวเลขอัตราทดต่ำกว่า 1.00 แล้วจะบอกว่าเกียร์นั้นเป็นโอเวอร์ไดรฟ์ก็เรื่องของคุณ อยู่ในโลกของคุณ แต่ถ้าไปคุยกับคนคิดมาก เช่นวิศวกรทีมแข่งรถ
ก็จะคุยกันไม่รู้เรื่อง เพราะอยู่คนละโลก พูดคนละภาษา
THAIDRIVER ถามแบบคนไม่คิดมาก รถ 5 เกียร์ เป็นโอเวอร์ไดรฟ์โดยตัวเลขตั้งแต่เกียร์ 4 ความเร็วสูงสุดจะทำได้ในเกียร์ไหน
อ. ศิริบูรณ์ ผมตอบไม่ได้ เพราะไม่รู้ว่าเฟืองท้ายเบอร์อะไร รถกินลมแค่ไหน แรงม้าสูงสุดอยู่ตรงไหน ถ้าอยากถามต้องเอากราฟการกิน
ลมของตัวรถมาให้ผมดู จะได้รู้ว่ารถมีแรงต้านเท่าไร ต้องรู้พื้นที่หน้าตัดของรถ รู้ค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานอากาศ (CD)
จากนั้นผมจะแปลงเป็น DRAG เพื่อคำนวณแรงบิดที่หน้าสัมผัสของยาง ย้อนกลับไปหาแรงบิดที่เครื่อง ณ รอบฯ ที่มี ถ้าไม่ให้ตัวเลขอะไรเลย ขับรถมาจอดไว้เฉยๆ
ผมตอบไม่ได้ คุณต้องเอารถไปเข้าอุโมงค์ลมเสียก่อน
THAIDRIVER รถ 2 คัน ทุกอย่างเหมือนกันหมด ต่างกันที่แรงม้า วิ่งควอเตอร์ไมล์คันที่แรงม้ามากกว่าจะชนะตลอดหรือไม่ (แรงม้ามากกว่าที่รอบฯ สูงกว่า)
อ. ศิริบูรณ์ เกือบจะตอบไปแล้วว่ารถคันที่แรงกว่ากินตลอด แต่ดันมีวงเล็บว่าแรงม้าสูงกว่าที่รอบฯ ปลายดูกราฟ C ประกอบ แกนตั้งคือ แรงม้า แกนนอนคือ รอบฯ เครื่อง
รถสีเทาแรงที่รอบฯ ต้น รถดำแรงกว่าที่รอบฯ ปลาย เมื่อดูจากรูปร่างของกราฟจะพบว่าตั้งแต่รอบฯ ต่ำถึงประมาณ 5,000 รอบฯ รถสีเทากินตลอด แต่เมื่อเกิน 5,000 รอบฯ
รถสีดำเริ่มแรงและแซงในที่สุดถ้าดูจากกราฟ รถสีเทามีโอกาสชนะเท่ากับพื้นที่ A ช่องว่างใต้เส้นกราฟสีเทาเหนือกราฟเส้นสีดำ
ส่วนรถสีดำมีโอกาสชนะเท่ากับพื้นที่ Bออกตัวเกียร์ 1 เข้าเกียร์ 2 รถสีเทายังนำหน้า สับลงเกียร์ 3 รถสีดำเริ่มไล่ขึ้นมา ยัดเข้าเกียร์ 4 สีดำอาจตีคู่ขึ้นมา จากนั้นลงเกียร์ 5 จะ
ทันและแซงได้หรือเปล่าต้องดูพื้นที่กราฟถ้าไม่มีเงื่อนไขในวงเล็บที่ว่าแรงม้าสูงกว่าอยู่ที่รอบฯ สูงกว่า แต่สมมุติว่าแรงม้าอยู่ที่ 7,000 รอบฯ เท่ากัน แบบนี้แรงม้าน้อยกว่าแพ้
แบบไม่มีทางเลือก แต่ถ้าแรงม้าน้อยกว่าแต่เยื้องมาอยู่ในรอบฯ ต่ำและกราฟมีลักษณะอ้วนเลือกใช้เกียร์ห่าง รถแรงม้าน้อยกว่าที่รอบต่ำกว่า กราฟแรงม้าอ้วนๆ ก็อาจชนะได้
ถ้ากราฟ 2 เส้นขี่กันอยู่ตลอด...ฟันธงได้ แต่ถ้ากราฟ 2 เส้นมีจุดตัดกันเหมือนในภาพประกอบ...ฟันธงไม่ได้