ส่วนมากช่างที่ซ่อมกล่องมันกเปลี่ยน แค่ C นี้ละครับ 1500 บาท
ถ้าไม่หายมันก็บอกว่าซ่อมไม่ได้ IC พัง นี้ละ ธรรมดา หาซื้อกล่องใหม่
C เสียหรือยึดค่าก็เปลี่ยน แล้วก็หาที่เย็นๆให้มันอยู่ด้วยนะ เพราะไม่นานถ้ามันร้อนมันก็จะปวมอีก
อีกเรื่อง C นะอย่าไปซื้อ C ที่มาจากจีนนะครับไม่นานก็พัง Electrolytic Capacitor ตอนนี้ประเทศที่เขาพัฒนาแล้วเขาเลิกใช้ไปแล้วนะครับ
เขาไปใช้ Solid Capacitor
แทนกันหมดแล้วถ้าจะเอาดีก็แนะนำ ตัวนี้ดีกว่าครับ
แล้วสาเหตุอะไรหละที่ทำให้ Electrolytic capacitor เกิดอาการบวมหรือระเบิด?
ก่อนอื่นต้องมาดูโครงสร้างของ Electrolytic capacitor กันก่อน ... จากรูปข้างล่างคือ
basic capacitor ซึ่งประกอบด้วยแผ่นตัวนำ 2 แผ่น ที่ถูกคั่นกลางด้วยไดอิเล็กทริค
ซึ่งผมจะไม่ขอพูดถึงรายละเอียด ที่มาที่ไป และการคำนวนค่าความจุครับ .... ^_^
แค่จะบอกว่า electrolytic capacitor มีโครงคล้ายกับ basic capacitor มาก
ทีนี้มาดูโครงสร้างของ Electrolytic Capacitor ของจริงกัน ...
นี่แหละหน้าตาของ Electrolytic Capacitor .. ดูแบบนี้อาจจะงงว่าอะไรม้วนๆ
??
จริงแล้วก็ไม่มีอะไร ก็แค่จับ basic capacitor ม้วนก็จะได้เป็น electrolytic capacitor แล้ว
เพียงแต่ไดอิเล็กทริคจะต่างไปคือใช้กระดาษบางๆ(tissue)ชุบสารอิเล็กโตรไลท์แทนที่จะเป็นอากาศ
Electrolytic Capacitor ที่มีคุณภาพไม่ดีก็คือมีน้ำเป็นส่วนผสมอยู่ในสารอิเล็กโตรไลท์ เมื่อน้ำปะปน
อยู่ในสารอิเล็กโตรไลท์จะทำให้ตัวเก็บประจุไม่เสถียร ทำให้ตัวเก็บประจุ leak และ brake down
ทำให้เกิดก๊าซไฮโดรเจนขึ้นในตัวถังของตัวเก็บประจุ และเกิดแรงดันทำให้ตัวเก็บประจุบวมและระเบิด
อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ Electrolytic Capacitor เสียหายก็คือความร้อน ซึ่งเกิดจากรอบข้าง
โดยตัวไปของการจัดวางอุปกรณ์บนเมนบอร์ดตัวเก็บประจุ ขดลวด และมอสเฟตมักจะวงอยู่ใกล้กัน
ตัวเก็บประจุคุณภาพไม่ดีเมื่อใช้ไปสักระยะค่าความจุจะลดลงและ ESR* จะมีค่ามากขึ้น
( ESR หรือ equivalent series resistance คือ ค่าความต้านทานอนุกรมภายในของตัวเก็บประจุ)
เมื่อค่าความจุลดลงและ ESR มีค่ามากขึ้นทำให้ภาคควบคุมของวงจรสวิชชิ่งเพิ่มความถี่ในการสวิตช์
เพื่อชดเชยไฟขาออกให้ได้ตามที่กำหนดไว้ ส่งผลให้มอสเฟตมีความร้อนสูงขึ้นเนื่องจากต้องสวิตช์
ความถี่มากขึ้น ความร้อนจากมอสเฟตมีส่วนทำให้คุณสมบัติต่างๆ ของตัวเก็บประจุผิดเพี้ยนไป เช่น
ค่า ESR เพิ่มมากขึ้น, ค่า EPR ลดลง ส่งผลให้ภายในตัวเก็บประจุ leak มากขึ้นแก๊สไฮโดรเจนเกิด
มากขึ้นและความร้อนทำให้แก๊สขยายตัวมากขึ้น
... ท้ายที่สุดคือระเบิด!!
ด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้ยุคหลังๆ ผู้ผลิตเมนบอร์ดหันมาใส่ใจกับคุณภาพของ electrolytic capacitor มากขึ้น
Solid Capacitor
มาถึงคราว Solid Capacitor กันบ้าง
โครงสร้างของ Solid Capacitor อธิบายแบบง่ายๆ ก็คือการเปลี่ยนโครงสร้างภายในของ Electrolytic capacitor
ที่เป็นกระดาษบางๆชุบสารอิเล็กโตรไลท์เป็นโพลิเมอร์ (highly conductive polymer)
ข้อดีของ Solid Capacitor ...
ESR ต่ำ : อย่างที่อธิบายไปก็คือค่าความต้านทานอนุกรมภายในของตัวเก็บประจุ ซึ่งยิ่งมีค่าน้อย
จะยิ่งดี (ESR มีผลต่อค่าการตอบสนองของตัวเก็บประจุ) ซึ่งค่า ESR จะมีผลอย่างมากต่อวงจร
DC to DC convertor ซึ่งมีอยู่บนเมนบอร์ดทุกตัว ยิ่ง ESR น้อยจะยิ่งทำให้ภาคจ่ายไฟของเมนบอร์ด
มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ค่า Time Constant ลดลง : ข้อดีข้อนี้เป็นผลพวงจากค่า ESR ที่น้อยลง ทำให้ค่า Time Constant
มีค่าน้อยตามลงไปด้วย ผลคือทำให้ัตัวเก็บประจุตอบสนองได้ไวขึ้น หรือชาร์จและึคายประจุได้เร็วขึ้นนั่นเอง
ไม่ระเบิด : อันนี้เป็นข้อดีแบบสุดๆ ของ solid capacitor ไม่ว่าจะด้วยการช๊อต ไฟเกิน ความร้อน
เนื่องจากคุณสมบัติของ polymer ที่เมื่อเกิดความร้อน(จากการช๊อตหรืออะไรก็ตาม)ความร้อนจะ
ทำให้สารประกอบของ polymer มีความต้านทานสูงขึ้นทำให้กระแสไหนน้อยลง (คล้ายกับการลด
กระแสเมื่อความร้อนสูงของมอสเฟต)
สรุป
>> Solid Capacitor มีข้อดี ESR ต่ำ, ไม่ระเบิด
>> Solid Capacitor จำเป็นกับการใช้งานที่มีความถี่สูงโดยเฉพาะภาคจ่ายไฟของเมนบอร์ดและกราฟฟิคการ์ด
>> เมนบอร์ดที่ดีไม่จำเป็นต้อง All Solid Capacitor
>> Solid Capacitor ห่วยๆ ก็มี
>> เมนบอร์ดไม่จำเป็นต้องใช้ Solid Capacitor เสมอไปแต่สามารถใช้ Electrolytic Capacitor คุณภาพสูงแทนได้
>> Solid Capacitor มีผลต่อการ overclock แต่ไม่ทั้งหมด
>> Solid Capacitor อายุการใช้งานนานจริง แต่คุณจะใช้เมนบอร์ดนานขนาดนั้นเหรอ(10ปี)?
>> ซื้อเมนบอร์ดไม่ต้องสนใจว่า Solid Capacitor หรือไม่ ให้ดูผู้ผลิต