การเชื่อมต่อมาตรวัดสุญญากาศ
ต้องวอร์มเครื่องยนต์ให้ได้ก่อน เพราะขณะที่วอร์มเครื่องยนต์อยู่นั้น การอ่านค่าสุญญกาศจากเกจวัดจะได้ค่าสูงเกินไป และคอมพิวเตอร์จะอยู่ในโหมดวอร์มอัพ
การเลือกต่อสายเวค จะต้องต่อตรงไปที่ท่อร่วมไอดี หรือพอร์ตที่ว่างอยู่ ซึ่งทางที่ดีที่สุดคือ ควรจะติดสายนี้กับพอร์ตที่ถูกเว้นไว้สำหรับต่อเกจวัดเวคโดยเฉพาะ แล้วก็ใช้ปลั๊กอุดพอร์ตที่ไม่ได้ใช้ หากไม่แน่ใจในการท่อสายเวคเข้ากับท่อร่วมไอดี สามารถดูได้จาก hose diagram บน emissions sticker ปกติจะแปะติดไว้ที่ด่านล่างของผนังห้องเครื่อง หรือจากคู่มือการซ่อมบำรุง ถ้ายังไม่แน่ใจอีกก็ให้ตัดต่อเอาจากท่อ MAP sensor ที่ต่อกับท่อร่วมไอดีโดยใช้ข้อต่อตัว T
เพื่อให้การอ่านค่าทำได้สะดวกรวดเร็ว ก็ลองมองหาสาย PCV บนฝาครอบวาล์ว มาทำปลั๊กติดกับเกจวัดสุญญากาศ การใช้ท่อ PVC แม้จะไม่เป็นการต่อตรงกับท่อร่วมไอดี และอาจเป็นสาเหตุให้เครื่องเดินเบาได้ช้า แต่มันจะทำให้การอ่านค่าสุญญกาศจากเกจวัดทำได้ง่าย เป็นการซื้ออนาคต เพราะเมื่อมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นกับรถ ก็จะได้ต่อเกจวัดได้ทันที
สตาร์ทเครื่องยนต์แล้วอ่านค่าจากเกจวัดโดยมีหน่วยวัดเป็นนิ้วปรอท (in Hg) การทำการวัดที่สมบูรณ์จะต้องทำดังนี้
1. ตามคำแนะนำของบริษัท Equus
a. ทำการทดสอบขณะเดินเบา
* เปรียบเทียบการอ่านสุญญากาศ กับสเปคของผู้ผลิต
* อ่านค่าได้ต่ำ บ่งชี้ถึงอาการที่เป็นไปได้ว่า ตั้งไฟผิด ตั้งวาล์วผิด ปรับส่วนผสมเดินเบาผิด แหวนลูกสูบชำรุดสึกหรอ หรือมีการรั่วในท่อร่วมไอดี
* อ่านค่าได้ไม่นิ่ง มีการเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ บ่งชี้ถึงอาการที่เป็นไปได้ว่า ปรับส่วนผสมเดินเบาผิด
* อ่านค่าได้ไม่นิ่ง มีการเปลี่ยนแปลงอย่างอย่างรวดเร็ว บ่งชี้ถึงอาการที่เป็นไปได้ว่า เกิดยางเหนียวที่ก้านวาล์ว วาล์วไหม้ หรือมีการรั่วไหลที่ประเก็นฝาสูบ
b. ทำการทดสอบที่ 2,000 รอบต่อนาที
* อ่านค่าได้ต่ำ บ่งชี้ถึงอาการที่เป็นไปได้ว่า มีการอุดตันของไอเสีย
* ค่าวูบขึ้นลง บ่งชี้ถึงอาการที่เป็นไปได้ว่า มีสปริงกดวาล์วล้า
2. ตามคู่มือดูแลรถของบริษัท Chilton
* การอ่านเกจได้นิ่ง คงที่ระหว่าง 17-22 in Hg แสดงว่าเครื่องยนต์ปกติ อยู่ในสภาพดี
* การอ่านเกจได้ต่ำ (15-20 in Hg) แต่คงแสดงจุดระเบิดช้า (ตั้งไฟอ่อน) ตั้งวาล์วผิด กำลังอัดต่ำ ลิ้นปีกผีเสื้อติดขัด คาร์บูเรเตอร์หรือปะเก็นท่อร่วมไอดีรั่ว
* การอ่านเกจตกเป็นจังหวะสม่ำเสมอ แสดงว่า วาล์วไหม้ หรือปรับตั้งระยะห่างวาล์วไม่ถูกต้อง
* การอ่านเกจตกเล็กน้อย ในขณะเดินเบา แสดงว่า มีการอุดตันของท่อพัก หรือไอเสียถูกขัดขวาง
* การอ่านเกจตกช้า ๆ จนเป็นศูนย์ ในขณะที่เครื่องเร่งขึ้น แสดงว่าท่อพักอุดตัน
* การอ่านเกจแกว่งขึ้นลงระหว่าง 15 ถึง 50 in Hg ในขณะเดินเบา แสดงว่า วาล์วติด หรือการจุดระเบิดผิดพลาด
* การอ่านเกจค่อย ๆ ลอยขึ้น แสดงว่า การปรับคาร์บูเรเตอร์ไม่เหมาะสม หรือมีการรั่วไหลที่คาร์บูเรเตอร์ หรือท่อร่วมไอดีเล็กน้อย
* การอ่านเกจแกว่งขึ้นลงขณะที่เร่งเครื่อง แสดงว่าวาล์วกดสปริงล้า หรือก้านวาล์วสึก
* การอ่านเกจสั่นทุกขณะเดินเบา แต่นิ่งที่ความเร็วสูง แสดงว่ารูก้านวาล์วสึก
* การอ่านเกจสั่นทุกจังหวะความเร็ว แสดงว่ามีการรั่วที่ประเก็นฝาสูบ
3. ตามคู่มือควบคุมการปล่อยมลพิษของบริษัท Haynes
a. ทำการทดสอบที่ความเร็วต่างๆ
* การสตาร์ทเครื่องยนต์ ต้องวัดได้ 1 - 4 in Hg ซึ่งจะสตาร์ทโดยไม่มีการจุดระเบิด โดยการปลดสายดินของจากคอล์ยจุดระเบิด และกดลิ้นเร่งค้างไว้ ให้มอเตอร์สตาร์ทจะหมุนเครื่องยนต์ช้า ๆ
* ขณะเดินเบา เครื่องยนต์ที่สภาพดี ควรอ่านเกจได้คงที่ ประมาณ 15 – 20 in Hg
* ขณะเร่งเครื่อง 2000 รอบต่อนาที เครื่องยนต์ที่สภาพดี ควรอ่านเกจได้คงที่ ประมาณ 19 -21 in Hg
* ขณะที่ลิ้นเร่งเปิดสุด เครื่องยนต์ที่สภาพดี ควรอ่านเกจได้เกือบ ๆ 0 in Hg
* ขณะที่ผ่อนลิ้นเร่ง เครื่องยนต์ที่สภาพดี จะอ่านเกจจะกระโดดไปเป็น 21 ถึง 27 in Hg
b. ทำการรทดสอบขณะเดินเบา
* ค่าคงที่ต่ำ ๆ แสดงว่าเกิดการรั่วตรงประเก็น ระหว่างท่อร่วมไอดีกับคาร์บูหรือเรือนลิ้นเร่ง, เกิดการรั่วที่สายเวค หรือตั้งองศาเปิด-ปิดลูกเบี้ยวผิด
* แกว่งไปมาระหว่าง 3 ถึง 8 in Hg (ต่ำกว่าปกติ) แสดงว่ามีการรั่วที่พอร์ทไอดี หรือพอร์ทหัวฉีด
* ลดลงเป็นจังหวะสม่ำเสมอระหว่าง 2 ถึง 4 in Hg น่าจะเป็นวาล์วรั่ว
* ลดลงไม่เป็นจังหวะ ตะกุกตะกัก แสดงว่ามีการติดขัดที่วาล์ว หรือไฟจุดระเบิดขาดหาย
* สั่นอย่างรุนแรง (4 in Hg) และเกิดควันเสีย แสดงว่ารูก้านวาล์วสึก
* แกว่งเล็กน้อย (1 in Hg) แสดงว่ามีปัญหาที่ระบบจุดระเบิด
* แกว่งมาก (10 in Hg) แสดงว่ากระบอกสูบหลวมหรือประเก็นฝาสูบไหม้
* เปลี่ยนไปมาหลายช่วง เป็นไปได้ว่าเกิดการอุดตันตามท่อน้ำมัน หรือส่วนผสมน้ำมันกับอากาศไม่ถูกต้อง หรือเกิดการรั่วตรงประเก็นระหว่างท่อร่วมไอดีกับคาร์บูหรือเรือนลิ้นเร่ง
เกจ์วัดสูญญากาศ (Vacuum guage)
เกจ์ชนิดนี้จะบอกให้ทราบถึงสภาพของเครื่องยนต์ ซึ่งโดยมากจะบอกเป็น นิ้วปรอท (in-Hg)
ซึ่งเป็นค่าความแตกต่างของแรงดันระหว่างอากาศข้ างนอก และภายในท่อไอดี (inlet manifold) เกจ์ชนิดนี้
เมื่อเครื่องยนต์อยู่ในสภาพดีที่ idle speed ( start เครื่องโดยไม่วิ่ง) เข็มจะต้องชี้อยู่ที่ ระหว่าง 17-21 in-Hg
ถ้ารถวิ่งเข็มควรอยู่ที่ช่วง 10-18 in-Hg โดยที่ยิ่งสูงยิ่งดี (ช่วงที่เทอร์โบยังไม่บูสท์)
ในกรณีที่เข็มชี้ต่ำกว่าที่กล่าวมาแสดงว่าตั้งไฟอ่อน ไป หรือ compression ratio ลดลง
แต่ถ้าเข็มส่ายไปมาแสดงว่า การจุดระเบิดผิดพลาด หรือไม่ระเบิด หรือแรงดันของลูกสูบลดลง
ในกรณีที่เข็มต่ำมากๆ แสดงว่า ท่อไอดีรั่ว
รายการด้านล่างนี้จะอธิบายว่า เข็มชี้ในแต่ละช่วงของเกจ์สูญญากาศ จะหมายถึงอะไร
- เข็มสั่นอย่างรวดเร็วไปมาในช่วง 14 และ 19 in-Hg แสดงว่า valve guide สึก
- เข็มชี้ต่ำกว่าประมาณ 3-5 in-Hg แสดงว่าหน้าทองขาว (contact breaker) สึก
- เข็มอ่านได้ต่ำกว่า 5 in-Hg ตลอดโดยเข็มไม่สั่นเลย แสดงว่าท่อไอดี รั่ว
- เข็มชี้ระหว่าง 8 ถึง 14 in-Hg แสดงว่า valve timing ผิดพลาด
- เข็มตกมาที่ 0 และหมุนไปที่ 22 in-Hg แสดงว่าแหวนลูกสูบสึกหรอ
- เข็มสั่นไปมาขณะที่เร่งเครื่อง เกิดเพราะสปริงวาล์วอ่อน
- เข็มแกว่งไปมาในช่วง 5 ถึง 19 in-Hg อาจเกิดจากแรงดันในห้องเผาไหม้ลดลงมากกว่าหนึ่งสูบขึ ้นไป
- เข็มชี้สูงเกินปกติ (เกิน 17-21 in-Hg) แสดงว่ากรองอากาศสกปรก (ตัน)
ระบบ Vacuum และ PCV ,TVV,BVSV ของเครื่อง Toyota รุ่นต่างๆ
http://www.coronathai.com/index.php/topic,1869.0.htmlพอดีเพิ่งใส่มา ลองดูละกันครับเผื่อมีประโยชน์
credit เวปเพื่อนบ้านคับ