เครื่อง ตรวจจับความเร็ว อัตโนมัติ การทำงานของเครื่องตรวจจับความเร็วด้วยแสงเลเซอร์นี้สามารถใช้งานได้ทั้ง
ระบบควบคุมเองและระบบอัตโนมัติ โดยเมื่อรถที่ใช้ความเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนดผ่านจุดตรวจกล้องก็จะทำการถ่าย
ภาพโดยอัตโนมัติ จากนั้นความเร็วและภาพรถ จะถูกส่งมาจัดเก็บและแสดงที่ชุดประมวลผลพร้อมแสดง
วัน เดือน ปี เวลา สถานที่ จากนั้นข้อมูลเหล่านี้จะถูกส่งต่อมายังศูนย์อำนวยการตำรวจทางหลวงเพื่อที่จะ
ตรวจสอบทะเบียนรถและ ออกใบสั่งส่งไปยังที่อยู่ของผู้ครอบครองรถตามทะเบียน ต่อไป
และหากผู้ได้รับใบสั่งไม่ไปชำระค่าปรับภายในเวลา 7 วัน กองบังคับการตำรวจทางหลวงจะส่งข้อมูลไปยัง
กรมการขน ส่ง เพื่ออายัดการต่อทะเบียนรถด้วย สำหรับความเม่นยำของเครื่องเป็นไปตามมาตรฐานขององค์กร
International Association of Chiefs of Police (The IACP) ทั้งยังประสานสำนักมาตรวิทยาแห่งชาติ
เพื่อทำการคาริเบธเครื่องเป็นประจำทุกปีและก่อนที่จะนำไปตรวจจับตามจุดต่างๆ
ก็จะมีการทดสอบก่อนทุกครั้งด้วยจึงมั่นใจได้ว่าเครื่องจะสามารถตรวจจับได้อ ย่างแม่นยำ
เส้นทางที่ตั้งกล้องตรวจจับความเร็วอัตโนมัตินี้ มีอยู่หลายจุดทั่วประเทศ ได้แก่
1. เส้นทางสายพหลโยธิน ช่วงรังสิต ถึง สระบุรี 2 จุด
2. เส้นทางสายมิตรภาพ ระหว่าง สระบุรี ถึง นครราชสีมา 2 จุด
3. เส้นทางสายมิตรภาพ ระหว่าง นครราชสีมา ถึง ขอนแก่น 2 จุด
4. เส้นทางสายเอเชีย ระหว่าง อยุธยา ถึ ง นครสวรรค์ 1 จุด
5. เส้นทางสายเอเชีย ระหว่าง นครสวรรค์ ถึง ตาก 1 จุด
6. เส้นทางสายเอเชีย ระหว่าง ตาก ถึง เชียงใหม่ 1 จุด
7. เส้นทางสายกรุงเทพ นครปฐม วังมะนาว 1 จุด
8. เส้นทางสายกรุงเทพ วังมะนาว 1 จุด
9. เส้นทางสาย วังมะนาว ถึง หัวหิน 1 จุด
10. เส้นทางสายเพชรเกษม ( เลี่ยงเมือง ) ชะอำ ถึง ปราณบุรี 1 จุด
11. เส้นทางสายเพชรเกษม ประจวบคีรีขันธ์ ถึง ชุมพร 1 จุด
12. เส้นทางสายเพชรเกษม ชุมพรถึง สุราษฎร์ธานี 1 จุด
13. เส้นทางสายบางนา - ตราด ระหว่าง กรุงเทพ ถึง บางปะกง 1 จุด
14. เส้นทางสายสุขุมวิท ระหว่าง ชลบุรี ถึง พัทยา 1 จุด
15. เส้นทางสายมอเตอร์เวย์ ชลบุรี ถึง ระยอง 2 จุด
16. และเส้นทางสายสุขุมวิท ระหว่าง ระยอง ถึง จันทบุรี 1 จุด
ซึ่งตำรวจทางหลวงจะทำการสุ่มเปลี่ยนจุดตรวจทุกครั้งที่มีการติดตั้งด้วย หลังจากตำรวจทางหลวง
จึงได้จัดหาเครื่องตรวจจับความเร็วด้วยแสงเลเซอร์ จำนวน 45 ชุด แจกจ่ายให้กับสถานีตำรวจทางหลวงกองกำกับการ
และกองบังคับการตำรวจทางหลวงทั่วประเทศได้ใช้ติดตั้งเพื่อปรามบรรดาตีนผี เหล่านี้
โดยข้อมูลจากหน่วยตรวจจับความเร็วไฮเทคทั่วประเทศที่ถูกส่งมายังศูนย์อำนวยการตำรวจทางหลวงพบว่า
เพียงแค่ 3 เดือนแรกที่มีการติดตั้งเครื่องก็ได้จ่ายใบสั่งให้ผู้ที่ขับรถเร็วเกินกำหนดไปแล้วจำนวนมากถึง 42,304 ราย
ซึ่งจะนำไปสู่การปรามผู้ขับรถเร็วได้ในอนาคต โดยตำรวจทางหลวงยังได้มีแผนที่
จะติดตั้งเครื่องตรวจจับความเร็วเพิ่มอีก 45 ชุด เพื่อให้แต่ละหน่วยงานมี 2 ชุดคลอบคลุมพื้นที่การใช้งานในอนาคตด้วย
หลักฐานที่แสดงให้เห็นประสิทธิภาพของเครื่องตรวจจับความเร็วอัตโนมัติ คือ ใบสั่งที่ส่งให้ทางไปรษณีย์
เพื่อเป็นการลดอุบัติเหตุบนท้องถนน ควรขับรถด้วยความเร็วตามกฎหมายกำหนด
บนทางหลวง ในเขตเทศบาล
รถเก๋งหรือรถปิกอัพ ใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 80 กม./ชม.
รถบรรทุกหรือรถโดยสาร ไม่เกิน 60 กม./ชม.
บนทางหลวง นอกเขตเทศบาล
ให้รถเก๋งหรือปิกอัพ ใช้ความเร็วไม่เกิน 90 กม./ชม.
รถบรรทุกหรือรถโดยสาร ไม่เกิน 80 กม./ชม.
บนมอเตอร์เวย์
รถเก๋งหรือปิกอัพ ไม่เกิน 120 กม./ชม.
รถบรรทุกหรือรถโดยสาร ไม่เกิน 100 กม./ชม.
ทั้งนี้ในเชิงเทคนิค ได้รับการพิสูจน์และยืนยันจากทั่วโลก การขับขี่รถที่ ความเร็วไม่เกิน 90 กม./ชม.
นอกจากช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงได้ 15-20% ยังช่วยลดการตายบนถนนได้ 12-24%
แต่ความเร็วดังกล่าว ไม่สามารถลดอุบัติเหตุได้ หากทุกคน ประมาท เมามายขณะขับรถ
และการไม่ร่วมมือกันปฏิบัติตามกฎหมาย
ข้อมูลจากกองบัญชาการตำรวจนครบาลและสำนักงานนโยบาย
ตามนี้อ่ะครับ พอดีรถที่บริษัทไปโดนมาเหมือนกัน ตรงเส้นพระราม2 ประมาณ กม.40-กม.50 อ่ะครับ
ก็เลยมีพี่เค้าหาข้อมูลให้ ผิดถูกอย่างไรขออภัยด้วยน่ะครับ