ไอ้การถ่ายภาพส่วนเว้าส่วนโค้ง ของเพศแม่ แล้วมาบอกว่าอาร์ตเนี้ย มันไม่มักง่ายไปหน่อยหรอ ทั้งๆที่มีให้เห็นกราดเกลื่อน ( อาศัยช่องว่าทางกฏหมายทั้งนั้น ถ้าระเบียบรัตน์พลักดันกฏหมายผ่าน แค่ผู้หญิงนุ่งกางขาสั้น แต่โพสท่าส่อไปทางขายเซ็กซ์ มันจะกลายเป็นภาพลามก อนาจารทันที )
กฏหมายอาญาใหม่ ก็แก้ไขเรื่องเจตนาของผู้กระทำความผิดฐานข่มขืนหรืออนาจารใหม่แล้ว เหลือก็แต่ไอ้ภาพลามกอนาจารนี่แหล่ะ ที่ผู้ประกอบการยังคัดค้าน เพราะจะทำให้เสียดุลการค้า ( มันก็ขายเซ็กซ์แลกเงินดีๆนี่เอง )
อย่าคิดว่าแค่ชุดว่ายน้ำไม่จะดูไม่โป๊นะครับ แค่ผู้หญิงนุ่งกางเกงขาสั้นจู๋ออกจากบ้าน ถ้าเป็นแฟน หรือลูกหลานคุณ คุณจะดุด่าว่ากล่าวเขาหรือป่าว หรือเขาย้อนตอบกับคุณว่า ใครๆเขาก็ใส่กัน แล้วคุณไม่มีปัญญาอบรมสั่งสอนเขาในเรื่องนี้
ที่คุณไปขโมยภาพของเขามาโพสท์ก้คือภาพที่ใส่บิกินี่ทั้งนั้น แถมคลิ๊ปก็ออกแนวหื่นชั้นเลวสุดๆ ครับ
หากใจคนมันไม่แยกว่าสิ่งเหล่านั้นผิด จะหยิบมาให้เปื้อนมือทำใม ไม่ต้องแถแล้วครับ
ภาพงานบิกินี่นั้น สังคมเขายอมรับครับ กฎหมายเขาก็ไม่ได้ระบุไว้ว่าผิด
แต่การละเมิดลิขสิทธิ์นี่ผิดแน่ๆครับ
รูปภาพหรือภาพถ่ายเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2551 ประเภทงานศิลปกรรม เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวในการทำซ้ำ
ดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน อนุญาตให้ผู้อื่นใช้ ให้เช่าต้นฉบับหรือทำสำเนางานดังกล่าว การนำภาพถ่ายที่มีลิขสิทธิ์ออกเผยแพร่ทางเว็บไซด์
โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของ ย่อมมีความผิดตามกฎหมายฐานละเมิดลิขสิทธิ์ด้วยการทำซ้ำ และเผยแพร่ต่อสาธารณชน ซึ่งมีโทษปรับ
ตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท ถ้าการกระทำความผิดนั้นเป็นการ กระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปี
หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงแปดแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อย่างไรก็ดี ความผิดตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์เป็นความผิดอันยอมความได้
ผู้ละเมิดอาจยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่เจ้าของลิขสธิ์เพื่อมิให้เป็นคดีความในชั้นศาลได้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2551
ผู้สร้างสรรค์ หมายความว่า ผู้ทำหรือผู้ก่อให้เกิดงานสร้างสรรค์อย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
ลิขสิทธิ์ หมายความว่า สิทธิแต่ผู้เดียวที่จะทำการใด ๆ ตามพระราชบัญญัตินี้เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น
ศิลปกรรม หมายความว่า งานอันมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้
(5) งานภาพถ่าย ได้แก่ งานสร้างสรรค์ภาพที่เกิดจากการใช้เครื่องมือบันทึกภาพโดยให้แสงผ่านเลนซ์ไปยังฟิล์มหรือกระจก และล้างด้วย
น้ำยาซึ่งมีสูตรเฉพาะ หรือด้วยกรรมวิธีใด ๆ อันทำให้เกิดภาพขึ้น หรือการบันทึกภาพโดยเครื่องมือหรือวิธีการอย่างอื่น
ส่วนที่ ๑
งานอันมีลิขสิทธิ์
มาตรา ๖ งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ ได้แก่งานสร้างสรรค์ประเภทวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ
ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ ของผู้สร้างสรรค์
ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใด
ส่วนที่ ๒
การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์
มาตรา ๘ ให้ผู้สร้างสรรค์เป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานที่ตนได้สร้างสรรค์ขึ้นภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีที่ยังไม่ได้มีการโฆษณางาน ผู้สร้างสรรค์ต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทยหรืออยู่ในราชอาณาจักรหรือเป็นผู้มีสัญชาติหรืออยู่ในประเทศ
ที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย ตลอดระยะเวลาหรือเป็นส่วนใหญ่ในการสร้างสรรค์งานนั้น
ส่วนที่ ๓
การคุ้มครองลิขสิทธิ์
มาตรา ๑๕ ภายใต้บังคับมาตรา ๙ มาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๔ เจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวดังต่อไปนี้
(๑) ทำซ้ำหรือดัดแปลง
(๒) เผยแพร่ต่อสาธารณชน
(๓) ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง
(๔) ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น
(๕) อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิตาม (๑) (๒) หรือ (๓) โดยจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดหรือไม่ก็ได้
แต่เงื่อนไขดังกล่าวจะกำหนดในลักษณะที่เป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรมไม่ได้
ส่วนที่ 4
อายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์
มาตรา 19 ภายใต้บังคับมาตรา 21 และมาตรา 22 ลิขสิทธิ์ตาม
พระราชบัญญัตินี้ให้มีอยู่ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ และมีอยู่ต่อไปอีกเป็นเวลาห้าสิบปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย
ส่วนที่ ๕
การละเมิดลิขสิทธิ์
มาตรา ๒๗ การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๕ (๕)
ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
(๑) ทำซ้ำหรือดัดแปลง
(๒) เผยแพร่ต่อสาธารณชน
มาตรา ๒๘ การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ หรือสิ่งบันทึกเสียงอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้โดยไม่ได้รับอนุญาต
ตามมาตรา ๑๕ (๕) ทั้งนี้ ไม่ว่าในส่วนที่เป็นเสียงและหรือภาพ ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
(๑) ทำซ้ำหรือดัดแปลง
(๒) เผยแพร่ต่อสาธารณชน
(๓) ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานดังกล่าว
มาตรา ๒๙
การ กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานแพร่เสียงแพร่ภาพอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราช บัญญัตินี้โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๕ (๕)
ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
(๑)จัดทำโสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง หรืองานแพร่เสียงแพร่ภาพ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
(๒)แพร่เสียงแพร่ภาพซ้ำ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
(๓)จัดให้ประชาชนฟังและหรือชมงานแพร่เสียงแพร่ภาพ โดยเรียกเก็บเงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่นในทางการค้า
มาตรา ๓๐
การ กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่โปรแกรมคอมพิวเตอร์อันมีลิขสิทธิ์ตามพระราช บัญญัตินี้โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๕ (๕)
ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
(๑)ทำซ้ำหรือดัดแปลง
(๒)เผยแพร่ต่อสาธารณชน
(๓)ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานดังก
มาตรา ๓๑ ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น
กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานนั้นเพื่อหากำไร ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
(๑) ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า ให้เช่าซื้อ หรือเสนอให้เช่าซื้อ
(๒) เผยแพร่ต่อสาธารณชน
(๓) แจกจ่ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์
(๔) นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร
หมวด ๘
บทกำหนดโทษ
มาตรา ๖๙ ผู้ใดกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงตามมาตรา ๒๗ มาตรา ๒๘ มาตรา ๒๙ มาตรา ๓๐ หรือมาตรา ๕๒
ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้า
ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงแปดแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๗๐ ผู้ใดกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา ๓๑ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนถึงสองปี
หรือปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงสี่แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๗๑ ผู้ใดไม่มาให้ถ้อยคำหรือไม่ส่งเอกสารหรือวัตถุใดๆ ตามที่คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการสั่งตามมาตรา ๖๐ วรรคสาม
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๗๒ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๖๗ หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม
คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งสั่งตามมาตรา ๖๗ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๗๓ ผู้ใดกระทำความผิดต้องระวางโทษตามพระราชบัญญัตินี้ เมื่อพ้นโทษแล้วยังไม่ครบกำหนดห้าปี กระทำความผิดต่อพระราชบัญญัตินี้อีก
ต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
มาตรา ๗๔ ในกรณีที่นิติบุคคลกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่ากรรมการหรือผู้จัดการทุกคนของนิติบุคคลนั้นเป็นผู้ร่วมกระทำผิด
กับนิติบุคคลนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำของนิติบุคคลนั้นได้กระทำโดยตนมิได้รู้เห็นหรือยินยอมด้วย
มาตรา ๗๕ บรรดาสิ่งที่ได้ทำขึ้นหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงตามพระราชบัญญัตินี้
และยังเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๖๙ หรือมาตรา ๗๐ ให้ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง
ส่วนสิ่งที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดให้ริบเสียทั้งสิ้น
มาตรา ๗๖ ค่าปรับที่ได้ชำระตามคำพิพากษา ให้จ่ายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงเป็นจำนวนกึ่งหนึ่ง
แต่ทั้งนี้ไม่เป็นการกระทบกระเทือนถึงสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายในทางแพ่ง
สำหรับส่วนที่เกินจำนวนเงินค่าปรับที่เจ้าของลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงได้รับแล้วนั้น
มาตรา ๗๗ ความผิดตามมาตรา ๖๙ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๐ วรรคหนึ่ง ให้อธิบดีมีอำนาจเปรียบเทียบปรับได้