ปชป.โหมหาเสียงล่วงหน้า เตรียมประกาศแคมเปญเลือกตั้ง ปรับค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาท ขึ้นเงินเดือนพนักงานบริษัท เพิ่มราคาสินค้าเกษตร ยกระดับความเป็นอยู่ภาคเกษตรกรรม จัดสรรที่ดินทำกิน ดันจีดีพี 5 % ทวงถามเพื่อแม้วจะยึุดการเมืองในสภาหรือนอกสภา หยั่น "เจ๊มิ่ง" ริชิงเก้าอี้ผู้นำรัฐบาล แค่ปัญหาหมู่แพงยังแก้ไม่ได้สมัยเป็น รมว.พาณิชย์
นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่าช่วงเย็นวันนี้ ทางพรรคประชาธิปัตย์ โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคจะประกาศเดินหน้านโยบายเพื่อประชาชนที่ลานเอนกประสงค์ สวนจตุจักร เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจค่าครองชีพที่สูงขึ้น ด้วยนโยบาย 3 เพิ่ม คือ
1. การเพิ่มค่าแรงของผู้ใช้แรงงานโดยยกระดับค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำซึ่งอยู่ที่ 217 บาท จะให้สูงกว่า 300 บาท และยกระดับค่าแรงในทุกสาขาอาชีพให้เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 25 % ภายในระยะเวลา 2 ปีนับจากประกาศนโยบาย
2. การยกระดับความเป็นอยู่ของภาคเกษตรกรรม โดยประกันราคาสินค้าเกษตรในพืชผลการเกษตรทุกตัว เพื่อให้สอดคล้องกับดัชนีด้านเศรษฐกิจ และราคาสินค้าที่สูงเพิ่มขึ้นให้สอดคล้องกัน
3. เพิ่มเงินเดือนให้กับลูกจ้างพนักงานบริษัท หรือมนุษย์เงินเดือนทั้งภาคเอกชน รัฐวิสาหกิจ และข้าราชการ เพื่อให้สอดคล้องกับรายจ่ายในสินค้าที่แพงขึ้น พร้อมทั้งจะเน้นการผลิตภาคอาชีวศึกษาให้เข้าตลาดแรงงานให้ได้ เกือบ100 % เพื่อรองรับภาคการผลิตที่เพิ่มขึ้น
นอกจากนี้พรรคตั้งเป้าหมายทางเศรษฐกิจ 5 ด้าน ในการขับเคลื่อนพัฒนาประเทศเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในปี 54 ที่คาดหวังและจะทำจีดีพีของประเทศจะอยู่ที่ 4.5-5 % 2. จะเพิ่มรายได้ในครัวเรือนให้มากกว่ารายจ่าย พร้อมทั้งมีนโยบายลดภาระภาคครัวเรือน 3. ยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนรากหญ้า ให้สามารถขยับขึ้นมาเป็นชนชั้นกลางเพื่อเป็นรากฐานของระบบเศรษฐกิจ 4. ตั้งเป้าจะรักษาระดับการว่างงานที่ 2 % ให้คงอยู่ตลอดไป 5. จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคเกษตร ภาคชนบท โดยการจัดสรรที่ดินทำกิน และการเข้าสู่เงินทุน และการประกันรายได้ สินค้าเกษตรจะไม่มีคำว่าขาดทุน
นพ.บุรณัชย์ กล่าวว่า
ทั้งนี้เป้าหมายดังกล่าวทางพรรคจะดำเนินการ 5 ด้าน คือ
1. มุ่งเน้นการจ้างงานในภาคเอกชน พร้อมทั้งลดรายจ่ายของผู้ประกอบการอาทิ ลดภาษีการนำดข้าเครื่องจักร เพื่อส่งเสริมการผลิตให้ผู้ประกอบการได้กำไรมากขึ้น เพื่อเพิ่มเงินเดือนให้พนักงาน
2. การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ในส่วนของภาคบริการและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว รวมทั้งการเกษตร อาทิ ส่งเสริมให้มีการตั้งโรงงานสร้างชิ้นส่วนยานยนต์ ซึ่งปัจจุบันไทยเป็นผู้ผลิตอันดับต้น
3. ส่งเสริมและลงทุนในระบบขนส่งระบบราง และเน้นส่งเลริมระบบลอจิสติค เพื่อลดต้นทุนการผลิต และการขนส่ง
4. ขับเคลื่อนเพิ่มกำลังซื้อภาคครัวเรือนควบคู่กับการปฏิรูปที่ทำกิน
5. แก้ไขปัญหาลดความเหลื่อมล้ำและลดช่องว่างในสังคม โดยการแจกโฉนดชุมชนให้ผประชาชนอีก 2.5 แสนครัวเรือนเพื่อมีที่ทำกิน และแก้ไขปัญหาขาดแคลนที่ทำกิน และภาคการผลิต ซึ่งถือว่าเป็นรากฐานสำคัญ
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่พรรคเพื่อไทยระบุว่าจะประกาศตัวผู้สมัครในวันที่ 1 มี.ค.นี้ว่า ขอให้พรรคเพื่อไทยตอบปัญหาต่อสังคม ถึงความชัดเจนในการทำงานของพรรคว่าจะยึดมั่นและดินหน้าในระบบรัฐสภา หรือเคลื่อนไหว ผ่านกลุ่มการเมืองนอกสภา ซึ่งเห็นได้จากความขัดแย้งในพรรคเพื่อไทยเองกับกลุ่มแกนนำ นปช.ในขณะนี้คือ กลุ่มหนึ่งต้องการต่อสู้ในระบบสภา อีกกลุ่มต้องการสู้นอกระบบโดยคนหมู่มาก และยังมีความขัดแยง้ของแกนนำ นปช.ส่วนหนึ่งที่ต้องการลงสมัครเลือกตั้งในนามพรรคเพื่อไทย ขณะที่ส.ส.และว่าที่ผู้สมัครพรรคเพื่อไทยที่มีจำนวนมากอยู่แล้วไม่เห็นด้วย
นพ.บุรณัชย์ กล่าวว่า ทั้งนี้สังคมตั้งปัญหาต่อความชัดเจนในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลที่เกิดขึ้นว่า พรรคเพื่อไทย มุ่งเน้นตรวจสอบตามทำหน้าที่ฝ่ายค้าน หรือเพียงลากเกมขอวันอภิปรายให้ยาวนานเพื่อสอดรับความเคลื่อนไหวของกลุ่ม นปช. หรือกรณีแกนนำ นปช.ที่หลบหนีการจับกุมซึ่งปัจจุบันบยังไม่มีความชัดเจนว่าจะเข้ามอบตัว หรือความเคลื่อนไหวของส.ส.พรรคเพื่อไทย ที่เคยสนับสนุนให้เกิดความวุ่นวายในสภาว่าคนเหล่านี้จะยังยืนยันเดินในระบบสภาหรือสนับสนุนมวลชนนอกสภา ยังไม่รวมความเคลื่อนไหวจากเครือข่ายในต่างประเทศ ทั้งกรณีนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ทนายความพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่พยายามดึงองค์กรระหว่างประเทศเ ข้ามาแทรกแซงในไทย โดยการใช้ข้อมูลเท็จตีพิมพ์ในสมุดปกขาว ที่สอดรับความเคลื่อนไหวของพ.ต.ท.ทักษิณ ที่บอกชัดเจนว่าจะกลับมาเมืองไทย ซึ่งทั้งหมดไม่มีความชัดเจนว่าจะเกิดเหตุวุ่นวายขึ้นอีกหรือไม่อย่างไร โดยที่ไม่มีใครรับประกันต่อสังคม
นพ.บุรณัชย์ กล่าวต่อว่า ส่วนสำคัญในกระบวนการเลือกตั้งคือบทบาทของผู้นำที่จำเป็นตัวแข่งขันในการแก้ไขปัญหาของประชาชนด้วยนโยบาย ซึ่งทางพรรควิเคราะห์ว่าการที่นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ที่ได้รับบทบาทในการอภิปรายงบกลางและในการอภิปรายไม่ไว้วางใจที่จะถึงนี้เป็นส่วนสำคัญในการกำหนดทิศทางของพรรคเพื่อไทยในขณะนี้ ภายใต้การนำของนายมิ่งขวัญ โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจคือค่าครองชีพที่สูงขึ้น ซึ่งพรรคมองว่าจะเป็นตัวเปรียบเทียบระหว่างนโยบายของพรรคเพื่อไทย และพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งสังคมต้องตั้งคำถามว่าความสามารถในการแก้ไขปัญหาเรื่องดังกล่าวนั้น ผลงานที่ผ่านมาแตกต่างกันหรือไม่ โดยเฉพาะแก้ปัญหาราคาเนื้อหมูแพง ในสมัยที่นายมิ่งขวัญ ดำรงค์ตำแหน่งเป็น รมว.พานิชย์ที่ผิดพลาดนั้น จะสามารถแก้ไขปัญหาราคาสินค้าแพงในขณะนี้ที่รุนแรงมากกว่าได้หรือไม่ ซึ่งประชาชนจะเป็นผู้ตัดสินในการเลือกตั้งครั้งนี้
ลองอ่านแล้ววิเคราห์ดูนะครับ ว่าจะทำนู่นี่ แต่ผมไม่เห็นว่าจะมีโนโยบายที่ทำให้เป็นได้ไงนะครับ แค่บอกว่าจะทำ แต่ไม่มีการร่างแผนการทำ อย่างนี้ก็มีด้วย